"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
21 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
พระราชประสงค์ที่แท้จริงในการเสด็จฯ ยุโรปครั้งที่ ๒ ของรัชกาลที่ ๕ โดย พ.อ.ผศ.ดร.ศรศักร ชูสวัสดิ์ (3)



สำหรับหนังสือซึ่งสถานทูตไทยมีไปยังประเทศและแคว้นต่างๆ ในยุโรปนั้น แจ้งแค่ว่า รัชกาลที่ ๕ จะเสด็จฯ ทรงรักษาพระองค์ แต่ไม่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระอาการประชวร

...Having been suffering for some time past from an indifferent health and in order to effect a radical cure, my physicians advised me to go out of the tropics to a terperate and dry climate. I have therefore decided to proceed strictly incognito to Europe about the end of March next...

ข้อเท็จจริงข้างต้นยืนยันว่า รัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จฯ ทรงรักษาพระองค์อย่างแท้จริง ยังไม่มีเรื่องการเมืองใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง

โดยสรุป หลักฐานชั้นต้นของไทยยืนยันว่า การเตรียมการเสด็จฯ ยุโรปของรัชกาลที่ ๕ ในเรื่องต่างๆ นั้นมุ่งที่การรักษาพระองค์ โดยเฉพาะการเตรียมจัดหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้ล่วงหน้า เตรียมถวายการตรวจรักษาทันทีที่เสด็จฯ ถึงเมืองซันเรโม ประเทศอิตาลี ที่ประทับแห่งแรกที่จะประทับรักษาพระองค์

ดังนั้น พระราชประสงค์ที่แท้จริงของรัชกาลที่ ๕ เมื่อตกลงพระทัยเสด็จฯ ยุโรปนั้นเพื่อรักษาพระองค์


การรักษาพระองค์ในยุโรป

หลักฐานชั้นต้นของไทย โดยเฉพาะพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ต่างๆ ยืนยันชัดเจนว่า การรักษาพระองค์คือพระราชประสงค์ที่แท้จริงของรัชกาลที่ ๕ ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ และเป็นสาเหตุให้รัชกาลที่ ๕ ตกลงพระทัยเสด็จฯ ยุโรป ดังได้กล่าวมาแล้ว

อย่างไรก็ดี จากการถวายการรักษาของนายแพทย์โบห์แมร์ ทำให้พระอาการดีขึ้นมาก ไม่นานก่อนที่จะเสด็จฯ ออกจากกรุงเทพฯ ทรงเขียนเล่าว่า พระอาการประชวรดีขึ้นเป็นลำดับกว่าที่เคยทรงรักษาพระองค์ ′ในเวลานี้ฉันรู้สึกตัวฉันว่า สบายกว่า ๓ ปีที่ล่วงมาแล้ว เสมอชั้น ๔ ปี ๕ ปีก่อนหน้านั้น′ กระนั้นก็ตาม

เมื่อเสด็จฯ ถึงยุโรป รัชกาลที่ ๕ ก็ทรงรักษาพระองค์ตามที่ตั้งพระทัยไว้ เมื่อศึกษาพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน อย่างละเอียดพบว่า ตลอดระยะเวลาที่ประทับอยู่ในยุโรป พระองค์ทรงให้ความสำคัญแก่การรักษาพระองค์มาก และทรงปฏิบัติตามคำกราบบังคมทูลของแพทย์ อย่างตั้งพระทัยและเคร่งครัด


รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ ออกจากกรุงเทพฯ ในวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ถึงเมืองเนเปิลส์ ประเทศอิตาลีในวันที่ ๒๕ เมษายน เมื่อเสด็จฯ ถึงเมืองซันเรโมในวันที่ ๒๘ เมษายน โปรดให้คณะแพทย์ที่ทรงนัดไว้ถวายการตรวจพระวรกายเกือบจะทันทีในวันที่ ๒๙ และ ๓๐ เมษายน

ข้อเท็จจริงนี้ยืนยันอีกครั้งว่า การเสด็จฯ ประทับที่เมืองซันเรโมเป็นไปตามที่แพทย์ชาวตะวันตกที่กรุงเทพฯ กราบบังคมทูลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ และอยู่ในหมายกำหนดการเสด็จฯ ตั้งแต่แรก เยอรมนี โดยเฉพาะเมืองบาดฮัมบูร์ก ไม่ใช่ที่หมายแรกที่รัชกาลที่ ๕ จะเสด็จฯ ทรงรักษาพระองค์แต่อย่างใด

หลังจากการตรวจรักษาที่เมืองซันเรโมแล้ว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้แพทย์ถวายการตรวจพระวรกายครั้งใหญ่ อีก ๓ ครั้ง ณ สถานที่ต่างกัน รวมเป็น ๔ ครั้ง๘๗ สรุปการตรวจพระวรกายครั้งใหญ่ ๔ ครั้งดังกล่าวได้ดังนี้

ครั้งแรก วันที่ ๒๙ และ ๓๐ เมษายน ที่วิลลาโนเบล เมืองซันเรโม แพทย์ที่ถวายการตรวจได้แก่ นายแพทย์ไฟลเนอร์ (Fleiner) มีนายแพทย์ฟิสเตอร์ (Pfister) เป็นผู้ช่วย นายแพทย์ไฟลเนอร์เป็นแพทย์เยอรมันประจำพระองค์แกรนด์ดุ๊กแห่งบาเดน และผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมนี

ทั้งคู่ถวายการตรวจพระวรกายในวันที่ ๒๙ เมษายน และเช้าวันที่ ๓๐ เมษายน ต่อมา เซอร์แพตทริก แมนซัน (Sir Patrick Manson) แพทย์ชาวอังกฤษ ผู้เชี่ยวชาญโรคเขตร้อนและโรคมาลาเรียถวายการตรวจในวันที่ ๓๐ เมษายนตอนบ่าย


วันรุ่งขึ้นคณะแพทย์มีคำวินิจฉัยว่า ไม่มีพระอาการประชวรร้ายแรงประการใด นอกจากพระโลหิตจาง อ่อนพระกำลัง พระกระเพาะอาหารพิการเรื้อรัง และมีพระสิงฆานิกา (เสมหะ) ทางพระศอและพระนาสิกออกมามากและเรื้อรัง การบรรทมไม่หลับมานานหลายปีมีสาเหตุมาจากทรงงานหนัก

แพทย์จึงกราบบังคมทูลว่า ควรเสด็จฯ ประทับรักษาพระองค์ที่เมืองบาเดน-บาเดน (Baden-Baden) เมืองอาบน้ำแร่ทางใต้ของเยอรมนี ดังที่มีพระราชโทรเลขถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ดังนี้

′หมอทั้งนี้ [ทางนี้] แนะนำให้พ่อไปที่เมืองบาเดนบาเดนซึ่งมีบ่อน้ำแร่เปนที่รักษาโรคอย่างนี้ เพื่อไปพักรักษาตัวที่นั้นให้เต็มตามวิธีที่เขารักษากัน′ การเสด็จฯ เมืองบาเดน-บาเดนนี้ทำให้ทรงต้องปรับหมายกำหนดการ ′โปรแครมจำต้องเปลี่ยนไปตามคำแนะนำของหมอ′ ทั้งนี้เป็นไปตามที่ทรงคาดไว้ตั้งแต่แรกดังได้กล่าวมาแล้ว


ครั้งที่ ๒ วันที่ ๖ มิถุนายน ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก ไฮเดลแบร์ก ระหว่างประทับรักษาพระองค์ที่เมืองบาเดน-บาเดน (๒๙ พฤษภาคม-๑๘ มิถุนายน) รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเมืองไฮเดลแบร์ก และเสด็จฯ ไปโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย

ซึ่งมีนายแพทย์ไฟลเนอร์ ผู้ถวายการตรวจที่เมืองซันเรโมเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล นายแพทย์ไฟลเนอร์ถวายการตรวจพระวรกาย ได้แก่ พระศอ พระโลหิต และพระหทัย มีการถวายการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ด้วย แพทย์พบว่าพระอาการดีขึ้นเป็นที่น่าพอใจ

จากนั้นเสด็จฯ กลับบาเดน-บาเดนเพื่อรักษาพระองค์ต่อ แล้วเสด็จฯ ต่อไปฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยียม เยอรมนี เดนมาร์ก นอร์เวย์ ตามลำดับ (๒๑ มิถุนายน-๑ สิงหาคม)


ครั้งที่ ๓ วันที่ ๔ สิงหาคม ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี หลังจากรัชกาลที่ ๕ เสร็จสิ้นการเสด็จประพาสนอร์เวย์เพื่อทอดพระเนตรพระอาทิตย์เที่ยงคืนแล้ว เสด็จฯ ลงยุโรปใต้ ระหว่างเสด็จประพาสเยอรมนี (๒-๑๔ สิงหาคม) และประทับที่กรุงเบอร์ลินในวันที่ ๔ สิงหาคม รัชกาลที่ ๕ โปรดให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ๔ คน ซึ่งทรงนัดไว้ล่วงหน้า ถวายการตรวจพระวรกายอีกครั้ง

พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทรงทราบว่า จะทรงต้องรักษาพระองค์อีกหรือไม่ คณะแพทย์มีคำวินิจฉัยว่า พระอาการยังไม่ปกติดี ขอให้ทรงงดเสด็จประพาส และเสด็จฯ ทรงรักษาพระองค์ที่เมืองบาดฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี


ครั้งสุดท้าย วันที่ ๑๒ กันยายน ระหว่างประทับรักษาพระองค์ที่เมืองบาดฮัมบูร์ก (๒๓ สิงหาคม-๒๒ กันยายน) รัชกาลที่ ๕ เกิดมีพระโรคแทรกในวันที่ ๒ กันยายน คือ พระกล้ามเนื้อคัด ทั้งนี้เป็นผลข้างเคียงจากพระโอสถถวาย

วันรุ่งขึ้น ทรงปวดพระนาภีอย่างหนัก และวันที่ ๘ กันยายน ทรงพระประชวรด้วยพระโรคบิด วันที่ ๑๒ กันยายน แพทย์ถวายการตรวจพระวรกายอย่างละเอียด หลังจากทรงหายจากพระอาการประชวรแล้ว รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ ออกจากบาดฮัมบูร์ก ลงยุโรปใต้ (ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลี, ๒๓ กันยายน-๑๔ ตุลาคม) เพื่อเสด็จฯ กลับไทย

จุดหมายสุดท้ายในยุโรปคือ เกาะมอลตาของอังกฤษในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (๑๕-๑๗ ตุลาคม) พระองค์เสด็จฯ ถึงกรุงเทพฯ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน


โดยสรุป ตลอดระยะเวลาประทับอยู่ในยุโรป รัชกาลที่ ๕ ทรงให้ความสำคัญกับการตรวจและรักษาพระองค์ การถวายการตรวจและรักษามีขึ้นเกือบจะทันทีเมื่อเสด็จฯ ถึงเมืองซันเรโมของอิตาลี หลังจากนั้น โปรดให้มีการตรวจครั้งใหญ่อีก ๓ ครั้งในเวลาและสถานที่ต่างกัน

คำวินิจฉัยของแพทย์ในครั้งแรกและครั้งที่ ๓ ทำให้เสด็จฯ ไปประทับรักษาพระองค์ด้วยวิธีวารีบำบัด (สปา) ที่เมืองอาบน้ำแร่ในเยอรมนี ๒ ครั้งด้วยกัน เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ได้แก่ เมืองบาเดน-บาเดน (๒๙ พฤษภาคม-๑๗ มิถุนายน) และเมืองบาดฮัมบูร์ก (๒๓ สิงหาคม-๒๒ กันยายน)

ในการรักษาพระองค์ รัชกาลที่ ๕ ตั้งพระทัยและทรงปฏิบัติตามคำกราบบังคมทูลแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ข้อเท็จจริงเหล่านี้ยืนยันว่า การรักษาพระองค์ คือพระราชประสงค์ที่แท้จริงของรัชกาลที่ ๕ ในการเสด็จฯ ครั้งที่ ๒


สรุป

จากหลักฐานชั้นต้นของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ ๕ ยืนยันชัดเจนว่า สาเหตุที่ทำให้รัชกาลที่ ๕ ต้องเสด็จฯ ยุโรปครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๔๙-๕๐ นั้นมาจากพระอาการประชวรเรื้อรัง ซึ่งกำเริบขึ้นประมาณกลางเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙

ทั้งนี้แพทย์ชาวตะวันตกมีคำวินิจฉัยว่า ทรงเป็นพระโรคมาลาเรียเรื้อรัง ซึ่งมีผลต่อพระอวัยวะภายในพระวรกาย หากไม่ทรงรีบรักษา พระโรคอาจร้ายแรงขึ้นได้ แพทย์จึงกราบบังคมทูลว่า ควรเสด็จฯ เขตที่มีอากาศแห้งเพื่อเปลี่ยนอากาศ นั่นคือยุโรป

และที่หมายแรกที่ควรเสด็จฯ คือเมืองซันเรโม ประเทศอิตาลี การเตรียมการเสด็จฯ ตั้งแต่ต้นยืนยันว่า เพื่อการรักษาพระองค์เป็นสำคัญ ข้อเท็จจริงสำคัญก็คือการติดต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้ล่วงหน้าเพื่อถวายการตรวจรักษาที่เมืองซันเรโม

และเมื่อเสด็จฯ ถึงยุโรป รัชกาลที่ ๕ ก็ทรงให้แพทย์ถวายการตรวจพระวรกายเกือบจะทันที หลังจากนั้น โปรดให้แพทย์ถวายการตรวจครั้งใหญ่อีก ๓ ครั้ง คำวินิจฉัยของแพทย์ในครั้งแรกและครั้งที่ ๓ ทำให้รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ ไปประทับรักษาพระองค์ที่เมืองอาบน้ำแร่ของเยอรมนี ๒ เมือง ตามลำดับ

ได้แก่ เมืองบาเดน-บาเดน เมืองอาบน้ำแร่ของเยอรมนี (๒๙ พฤษภาคม-๑๗ มิถุนายน) และเมืองบาดฮัมบูร์ก เยอรมนี (๒๓ สิงหาคม-๒๒ กันยายน) ระหว่างรักษาพระองค์ทั้ง ๒ แห่ง ก็ตั้งพระทัยปฏิบัติตามการรักษาอย่างเคร่งครัด


นอกจากนั้น หลักฐานของไทยยังยืนยันว่า เยอรมนีไม่ใช่ที่หมายแรกที่รัชกาลที่ ๕ จะเสด็จฯ ไปประทับรักษาพระองค์แต่อย่างใด การเสด็จฯ ทรงรักษาพระองค์ที่เยอรมนีทั้งที่เมืองบาเดน-บาเดนและเมืองบาดฮัมบูร์ก มีที่มาจากคำกราบบังคมทูลของแพทย์ ซึ่งถวายการตรวจรักษาในยุโรป

ไม่ใช่แพทย์ชาวตะวันตกในเมืองไทย หรือมาจากคำทูลเชิญของพระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ ๒ แห่งเยอรมนี เพราะฉะนั้น การเสด็จฯ เยอรมนีของรัชกาลที่ ๕ ไม่น่าจะเป็นเรื่องการเมือง อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ต้องศึกษาในรายละเอียด

กระนั้นก็ตาม ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การเสด็จฯ ยุโรปครั้งที่ ๒ ของรัชกาลที่ ๕ มีงานราชการเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยคือ การลงพระปรมาภิไธยให้สัตยาบันสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๔๔๙ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๐ เพื่อยุติปัญหาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่ยืดเยื้อมานาน

โดยเฉพาะความต้องการของฝรั่งเศส ที่จะได้มณฑลบูรพาหรือเขมรส่วนใน อย่างไรก็ตาม การเจรจาจริงจังกระทั่งมีการทำสนธิสัญญาเกิดขึ้นระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เป็นเรื่องที่เข้ามาหลังจากตกลงพระทัยเสด็จฯ ยุโรปแล้ว

แท้ที่จริง ข่าวว่า รัชกาลที่ ๕ จะเสด็จฯ ยุโรปซึ่งเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ อาจเป็นตัวเร่งให้ฝรั่งเศสเริ่มรุกเพื่อเจรจากับไทย กัมพูชาก็เร่งรัดฝรั่งเศสด้วย

พบหลักฐานว่า ไม่กี่วันหลังจากหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ารัชกาลที่ ๕ จะเสด็จฯ ยุโรป พระเจ้าศรีสวัสดิ์มีพระราชหัตถเลขา ถึงผู้ว่าราชการฝรั่งเศสในกัมพูชาลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๙ แสดงความต้องการ ให้การปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่กำลังดำเนินการอยู่คำนึงดินแดนของไทยที่มีชาวกัมพูชาอาศัยอยู่ ไม่ใช่แค่มณฑลบูรพา เช่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ ตราด จันทบุรี

กล่าวอีกทางหนึ่งก็คือ พระเจ้าศรีสวัสดิ์ต้องการได้ดินแดนที่มีชาวกัมพูชาอาศัยอยู่จากไทย

อีก ๒-๓ เดือนต่อมาจึงมีการเจรจาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส กระทั่งมีการลงนามในสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๔๙ อย่างไรก็ดี การเจรจาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสกระทั่งมีทำสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๔๙ ไม่ได้มีขึ้นระหว่างที่พระเจ้าศรีสวัสดิ์เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๔๔๙ เช่นที่มีผู้สรุปไว้แต่อย่างใด

เพราะฉะนั้น เรื่องการทำสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสข้างต้น จึงเป็นเรื่องที่เข้ามาภายหลังจากที่รัชกาลที่ ๕ ตกลงพระทัยว่าจะเสด็จฯ ยุโรปแล้ว


นอกจากนั้น มีหลักฐานยืนยันว่า เมื่อตกลงพระทัยที่จะเสด็จฯ ยุโรปนั้น รัชกาลที่ ๕ ทรงคาดว่า จะไม่มีงานราชการเข้ามาเกี่ยวข้อง "ฉันให้เข็ดหลาบในการที่ไปครั้งก่อนที่ต้องเกี่ยวในราชการ เกือบชีวิตรจะออกจากร่าง ซึ่งได้พิเคราะห์ดูเวลาที่จะไปครั้งนี้ เห็นว่าปลอดโปร่งดีนักหนา"

แสดงว่า ในเวลานั้นยังไม่มีเรื่องราชการสำคัญใด ที่จะต้องทรงทำในยุโรป กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า พระองค์จะไม่ทรงห่วงกังวลถึงความเป็นไปของบ้านเมือง ระหว่างที่พระองค์ไม่ประทับอยู่ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

เพราะในเวลานั้น คณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมไทย-ฝรั่งเศสกำลังปักปันเขตแดนระหว่างชายแดนไทยกับตราด ซึ่งฝรั่งเศสได้ไปแทนจันทบุรีตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗

แต่สนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๔๔๙ มีความสำคัญต่อการเสด็จฯ เนื่องจากสนธิสัญญาดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อทั้ง ๒ ฝ่ายแลกเปลี่ยนสัตยาบันกันก่อน

กรณีของฝรั่งเศส ต้องให้รัฐสภาให้สัตยาบันก่อนจึงจะดำเนินการได้ เนื่องจากการพิจารณาให้สัตยาบันของรัฐสภาฝรั่งเศสอาจจะมีขึ้นในระหว่างที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ ยุโรป

ถ้ารัฐสภาฝรั่งเศสให้ความเห็นชอบกับสนธิสัญญาดังกล่าว รัชกาลที่ ๕ ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยให้สัตยาบันได้ในยุโรป การพิจารณาให้สัตยาบันสนธิสัญญาดังกล่าวของรัฐสภาฝรั่งเศส จึงกลายเป็นงานราชการสำคัญที่ทำให้รัชกาลที่ ๕ ต้องทรงติดตามระหว่างเสด็จประพาสยุโรปในช่วงแรก

กล่าวอีกทางหนึ่งก็คือ หากรัชกาลที่ ๕ ไม่ทรงพระประชวร ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเสด็จฯ ยุโรปเพียงเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยให้สัตยาบันสนธิสัญญาดังกล่าว มีหลักฐานชัดเจนว่า รัชกาลที่ ๕ เคยตั้งพระทัยว่า จะไม่เสด็จฯ ยุโรปอีก ยกเว้นทรงพระประชวร

ดังความในพระราชหัตถเลขา พระราชทานหม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร หลังตกลงพระทัยเสด็จฯ ยุโรปครั้งที่ ๒ ว่า "ถ้าหากว่าไม่จำเปน ข้าจะไม่ไปอีกเลย ได้พูดไว้แต่คราวก่อนแล้วว่า เว้นไว้แต่ที่เจ็บไข้จำเปนจึงจะไป" ดังนั้น การเสด็จฯ ยุโรปครั้งที่ ๒ จึงเป็นเรื่องการรักษาพระองค์โดยแท้ แต่เมื่อจะเสด็จฯ จริงๆ ก็ทรงมีงานราชการให้ทรงต้องติดตาม


กระนั้นก็ตาม รัชกาลที่ ๕ ยังทรงดำรงความมุ่งหมายที่จะรักษาพระองค์ไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเสด็จฯ ไปประทับรักษาพระองค์ที่เมืองซันเรโม และการทรงปฏิบัติตามคำกราบบังคมทูลของแพทย์ต่างๆ เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจตีความได้ว่า รัชกาลที่ ๕ ไม่ให้ความสำคัญแก่การรักษาพระองค์ หรือทรงอ้างพระอาการประชวรเป็นการลวงในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ


เมื่อพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ โดยรวมแล้ว สรุปได้แน่นอนว่า พระอาการประชวรเรื้อรังซึ่งกำเริบขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ กระทั่งทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงวิตกว่า อาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นเหตุให้เสด็จสวรรคตได้ เช่นกรณีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว คือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้รัชกาลที่ ๕ ตัดสินพระทัยเสด็จฯ ยุโรปครั้งที่ ๒

ดังนั้น พระราชประสงค์ที่แท้จริง คือการรักษาพระองค์ให้หายขาดจากพระอาการประชวรที่เรื้อรังมานาน

อย่างไรก็ตาม หลังจากเสด็จฯ กลับจากยุโรปได้เพียง ๓ ปี รัชกาลที่ ๕ ก็เสด็จสวรรคตด้วยพระวักกะพิการ (ไต) พระโรคนี้เกี่ยวโยงกับพระโรคเมื่อเสด็จฯ ยุโรปครั้งที่ ๒ หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาในรายละเอียดต่อไป

คำตอบที่ได้อาจตอบคำถามที่ว่า แพทย์ซึ่งถวายการตรวจรักษาที่เมืองซันเรโม เป็นครั้งแรกที่ยุโรปนั้น วินิจฉัยพระอาการประชวรผิดหรือไม่ หรือแพทย์วินิจฉัยถูก แต่รัชกาลที่ ๕ ไม่โปรดให้เผยแพร่คำวินิจฉัยทั้งหมด เช่นที่รัชกาลที่ ๖ ทรงเล่าไว้ว่า

...แต่ในรายงานที่โปรดเกล้าฯ ให้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษานั้น หาได้ลงตลอดตามที่หมอตรวจและออกความเห็นไม่, มีแต่ว่ามีพระอาการประชวรเล็กน้อยที่ช่องพระนาสิกและพระศอ, กับว่าพระเส้นประสาทไม่ค่อยจะแขงแรงเพราะทรงทำงานกลางคืน และทรงพระโอสถสูบมากเกิน,

ส่วนความเห็นของหมอที่ว่ามีพระอาการพระวักกะพิการเรื้อรัง, ซึ่งแท้จริงเป็นพระอาการสำคัญอันต้องวิตกนั้น, หาได้ลงพิมพ์ให้ผู้ใดทราบไม่


ขอขอบคุณ

ข่าวสดออนไลน์
พ.อ.ผศ.ดร. ศรศักร ชูสวัสดิ์


ภุมวารสวัสดิ์วัฒนาค่ะ



Create Date : 21 มิถุนายน 2554
Last Update : 21 มิถุนายน 2554 22:26:22 น. 0 comments
Counter : 891 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.