Private Gang 4 U & Me

ไทย - เขมร ช่วงพ.ศ. 1900-2300

ความสัมพันธ์ทางวรรณคดี ไทย-เขมร


ช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๓
เป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการเกิดขึ้นของแคว้นสุโขทัย ในลุ่มแม่น้ำยมนั้น รัฐละโว้ได้แยกตัวออกจากอำนาจ การปกครองของอาณาจักรกัมพูชาสมัยพระนคร แต่อิทธิพลของอาณาจักร กัมพูชายังคงมีอยู่ในราชสำนักละโว้ โดยเฉพาะในด้านภาษาและวัฒนธรรมในราชสำนัก รวมทั้งศิลปกรรม สถาปัตยกรรม อันส่งอิทธิพลสืบต่อมายังกรุงศรีอยุธยา เช่น อิทธิพลของการสร้างพระปรางค์ ที่รูปแบบทางศิลปะมีพัฒนาการมาจาก ปราสาทเขมรสมัยบายน มาเป็นปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเมืองลพบุรี และส่งอิทธิพลมายังปรางค์รุ่นแรกในอยุธยา เช่น พระปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ และพระปรางค์วัดราชบูรณะ ฯลฯ
พระปรางค์วัดไชยวัฒนาราม


พระปรางค์วัดพุทไธสวรรย์

ลักษณะเด่นของวรรณคดีกรุงศรีอยุธยา ประการหนึ่งคือ เป็นวรรณคดีที่มีความสัมพันธ์กับวรรณคดีเขมรโบราณ และวรรณคดีของกลุ่มคนไท ตัวอย่างของเรื่องนี้ปรากฏอย่างชัดเจนใน "โองการแช่งน้ำโคลงห้า" หรือ "ลิลิตโองการแช่งน้ำ"


โองการแช่งน้ำโคลงห้า เป็นความสัมพันธ์ทางด้านพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ของราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ที่ได้รับอิทธิพลความคิดเรื่องนี้มาจากอาณาจักรกัมพูชา สมัยพระนคร ซึ่งปรากฏลักษณะของการสาบานตนของข้าราชการสังกัด พระตำรวจในรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ที่ได้ "กัดไดถวายอายุ" คือ "การเชือดแขนถวายชีวิต (สาบาน)" ดังข้อความในจารึกภาษาเขมรโบราณว่า


๙๓๓ ศก นวมี เกต ภทฺรหท อาทิตฺยวาร ๐ เนะ คิ โระ วทฺธ ปฺรติชฺญา ๐ เยง ต อมฺปาล เนะ นา ภาค ตมฺรฺวาจ เอก (โท, ตฺรีณิ, จตฺวารี) สฺยง ต ศปถเวลา กาต ไต ถฺวาย อายุะ ยุ กฤตชฺญาภกฺติ เยง ต ศุทฺธ ต ธูลิ วฺระ ปาท กมฺรเตง กมฺตฺวน อญ ศฺรีสูรยฺยวรฺมฺมเทว ต สกล เสวย วฺระ ธรฺมฺมราชฺย...


คำแปล
๙๓๓ ศก ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนภัทรบท อาทิตยวาร ๐ นี้คือ พัทธประติชญา ๐ เราเหล่านี้ ณ ภาคตำรวจเอก (โท, ตรี, จัตวา) ซึ่ง สบถเวลาเชือดแขนถวายอายุ (ชีวิต) ด้วย กฤตัชญาภักดีของเราอันบริสุทธิ์ ต่อธุลีพระบาทกัมรเตง กัมตวนอัญ ศรีสูรยวรรมเทวะ ซึ่งสกลเสวยพระธรรมราชย์....


ดังนั้น ความคิดเรื่องการถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา (พัทธประติชญา) จึงน่าจะเป็นอิทธิพลทางวัฒนธรรม ซึ่งกรุงศรีอยุธยาได้รับสืบทอดมาจาก อาณาจักรกัมพูชา สมัยพระนคร


ส่วนความสัมพันธ์กับวรรณคดีของกลุ่มฅนไท คือ การนำลักษณะของโคลงห้า (โคลงโบราณ) มาใช้ โคลงเป็นรูปแบบคำประพันธ์โบราณของกลุ่มฅนไท ที่ปรากฏทั้งในล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา (แต่ไม่ปรากฏในวรรณคดีเขมรโบราณ) รวมทั้งการนำชื่อเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ มาเปลี่ยนเป็นภาษาไทย และเรียกด้วยความคุ้นเคย ย่อมแสดงให้เห็นถึงการบูรณาการทางวัฒนธรรมที่ได้ผสมผสาน อิทธิพลศาสนาพราหมณ์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวรรณคดีกลุ่มฅนไทแล้ว*
_____________________
*ดูรายละเอียดของเรื่องนี้จาก จิตร ภูมิศักดิ์, โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ ในประวัติศาสตร์ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, (กรุงเทพฯ: ดวงกมล,๒๕๒๔)
----------------------

การสาบานกันในลักษณะนี้ ยังปรากฏในวรรณคดีจารึกสุโขทัยด้วย เช่น จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด (สาบานเป็นมิตรกันระหว่างกษัตริย์สุโขทัย กับกษัตริย์เมืองน่าน) จารึกคำปู่สบถ (การทำสัตย์สาบานระหว่างพระญาฦๅไทย กับปู่พระญาเป็นเจ้า แห่งเมืองน่าน.....ว่า..ถ้าเมืองใดมีอันตรายต้องช่วยเหลือกัน) อาจกล่าวได้ว่านี่คือลักษณะร่วมที่สอดคล้องกันระหว่างวรรณคดีกับจารึกทั้งนี้.....เนื่องจากตั้งอยู่บนระบบความคิดทางวัฒนธรรม ที่คล้ายคลึงกันระหว่างกรุงศรีอยุธยาและสุโขทัย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของอาณาจักรกัมพูชา สมัยพระนครนั่นเอง
จึงอาจกล่าวได้ว่า ระยะนี้เป็นอีกช่วงหนึ่งที่วรรณคดีเขมรน่าจะส่งอิทธิพล ต่อวรรณคดีกรุงศรีอยุธยาอย่างมากอีกยุคสมัยหนึ่ง ดังปรากฏในวรรณคดีอยุธยาชื่อ "จารึกอยุธยา" มีความสัมพันธ์กับภาษาเขมรโบราณโดยตรง จารึกนี้แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มคือ
๑. จารึกภาษาเขมรโบราณ....มักจะเป็นจารึกลานเงิน หรือจารึกลานทอง เนื้อหากล่าวถึงการแต่งตั้งหรือสถาปนาพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ หรือจารึกชื่อและบรรดาศักดิ์ผู้สร้างแผ่นทองคำถวายพระพุทธศาสนา เพื่อบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์
๒. จารึกภาษาไทย.....มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำบุญ หรือเกี่ยวกับการสร้างวัด
๓. จารึกภาษาบาลี.....จารึกกลุ่มนี้มีไม่มาก เนื้อหาโดยมากเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูป ๑๐,๐๐๐ องค์ ถวาย, คำกล่าวอธิษฐาน, คาถาภาษาบาลีในการนมัสการพระบามสารีริกธาตุ
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า จารึกของกรุงศรีอยุธยานั้นประกอบด้วย จารึกที่แต่งด้วยภาษาไทย ภาษาบาลี และภาษาเขมรโบราณ ซึ่งในส่วนภาษาเขมรโบราณนั้นแสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีเขมรสมัยพระนครที่มีกับวรรณคดีประเภทจารึกของราชสำนักกรุงศรีอยุธยาได้เป็นอย่างดี


|การเล่นหนังใหญ่ในวรรณคดีในเรื่อง สมุทรโฆษคำฉันท์ เรียกว่า "ซฺแบก" (សែ្បក) ซึ่งเป็นภาษาเขมรแปลว่า "หนัง" และในกัมพูชาปัจจุบันเรียกการเล่นหนังใหญ่ว่า "ซฺแบกธม" (សែ្បកធំ) แปลเป็นภาษาไทยว่า "หนังใหญ่" เป็นสิ่งยืนยันว่าการเล่นหนังใหญ่ของไทย น่าจะมีความสัมพันธ์กับการแสดงประเภท "ซฺแบกธม (หนังใหญ่)" ของกัมพูชา ดังข้อความในสมุทรโฆษคำฉันท์ว่า
.......ให้ฉลักสแบกภาพอันชระ เปนบรรพบุรณะ
นเรนทรราชบรรหาร
.......ให้ทวยนักคนผู้ชาญ กลเล่นโดยการ
ยเปนบำเทิงธรณี



ที่มา : หนังสือความสัมพันธ์วรรณคดีไทย-เขมร, ศานติ ภักดีคำ (ฉบับ คณะกรรมการสมาคมวัฒนธรรมไทย-เขมร)






 

Create Date : 09 ตุลาคม 2551
2 comments
Last Update : 5 พฤษภาคม 2553 1:30:56 น.
Counter : 2776 Pageviews.

 

จ๊า .......................................

 

โดย: c (chaiwatmsu ) 1 พฤศจิกายน 2551 22:36:54 น.  

 

เป็น blog เขมร และแปลภาษาเขมรได้ดีจริงๆครับ

 

โดย: ต้าโก่ว 12 กรกฎาคม 2554 9:57:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


i'm jaya
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Born to Be Free



Photobucket



Photobucket



New Comments
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
9 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add i'm jaya's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.