<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
24 สิงหาคม 2552

คารวาลัย : คุรุกรุณา กุศลาสัย




ทราบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ว่า
ศิลปินแห่งชาติอาวุโสท่านนี้
อาจารย์กรุณา กุศลาศัย ได้ละลมหายใจจากโลกนี้ไปแล้ว
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552
ในวัย 89 ปี อย่างสงบ
จึงขอน้อมกราบคารวะและไว้อาลัยอาจารย์มา ณ โอกาสนี้

มองไปในตู้กระจกที่เรียงรายหนังสือสารพัด
"คีตาญชลี" คือผลงานแปลเล่มเอกของอาจารย์ที่มีเก้บไว้นานนมแล้ว
อีกทั้งเรื่องสั้น โศลกอินเดียอีกสารพัด
รวมทั้ง"เมฆฑูต" คำกลอนอันแสนสละสลวย
ว่าด้วยการฝากถ้อยจำนรรจาร่ำลาอาลัย
ของยักษ์ตนหนึ่งที่มีต่อนางอันเป็นรัก
ผ่านก้อนเมฆผู้ลอยเลื่อนอย่างอิสระเสรีบนท้องฟ้า

งดงามและบรรเจิดมาก




Create Date : 24 สิงหาคม 2552
Last Update : 24 สิงหาคม 2552 20:15:45 น. 8 comments
Counter : 1349 Pageviews.  

 
ยิ่งได้รู้ความเป็นมาของชีวประวัติอาจารย์ก็ยิ่งควรค่าแก่การคารวะนัก

"นายกรุณา กุศลาสัย เดิมเชื่อ กิมฮง แซ่โค้ว
เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 ในเรือกระแชง หน้าวัดตะแบก
ตำบลแควใหญ่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีเชื้อสายเป็นจีนแต้จิ๋ว ปู่และตาเป็นเจ้าสัวทำการค้าขาย
เดินเรือขายสินค้าในย่านแควใหญ่ – ปากน้ำโพ
บ้านที่อาศัยอยู่ก็คือเรือนแพที่ใช้ทำการค้า มีพี่น้อง 2 คน คือพี่สาวและตนเอง
บิดาเสียชีวิตด้วยไข้ป่าเมื่อกิมฮงอายุได้ 5 ขวบ
อีกประมาณ 3 ปีต่อมา มารดาเสียชีวิตไปอีกด้วยวัณโรค
กิมฮงกับพี่สาวกลายเป็นเด็กกำพร้า
ภาระการเลี้ยงดูจึงตกที่น้าสาวชื่อนุ่ม ซึ่งยากจนขัดสนมากอยู่แล้ว
ทรัพย์สมบัติของครอบครัวกิมฮงก็ค่อยๆ หมดไปตั้งแต่มารดาติดการพนันและล้มป่วย

พออายุได้ 9 ขวบ ญาติผู้ใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
ได้รับตัวไปเรียนหนังสือที่วัดตรีทศเทพ โดยพักอาศัยอยู่ที่วัดในฐานะเด็กวัด
อีก 2 ปีต่อมา ย้ายไปอาศัยอยู่กับลุงและป้าที่ถนนพะเนียง
และเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนพญาไท เชิงสะพานยมราช
พออายุ 12 ขวบ น้านุ่มให้สามีรับกลับไปอยู่กับพี่สาวและครอบครัวของน้านุ่ม
แต่อีกไม่นานน้านุ่มก็ถึงแก่กรรม ทำให้ครอบครัวนี้แพแตก
เรือนแพถูกรื้อไปถวายวัด กิมฮงถูกฝากให้อยู่กับพ่อค้าที่มีชื่อเสียงฐานะดี ต้องอยู่ในฐานะเด็กรับใช้ คอยรับใช้ทุกคนในบ้าน
ระหว่างนี้ได้เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 ที่โรงเรียนประจำมณฑลนครสวรรค์ (ต่อมาเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด)

งานบ้านที่กิมฮงทำเป็นประจำคือ ตักน้ำจากแม่น้ำใส่ปี๊บหาบ
ด้วยไม้คานวันละ 5-6 เที่ยวๆ ละ 3 ใบ ไปใส่ตุ่มในบ้านให้เต็มตุ่มทุกวัน (เป็นเหตุให้หลังโก่งจนถึงปัจจุบัน)
หลังจากเลิกเรียนทุกวันต้องรีบกลับไปส่งหนังสือพิมพ์ตามบ้านและร้านค้า แล้วรีบไปกวาดถูพื้นไม้ของตึกแถวสามชั้น
กว่าจะได้นอนก็ถึง 21.30 – 22.00 น. ไม่มีเวลาดูหนังสือ
เป็นอย่างนี้อยู่ 3 ปี แต่ผลการเรียนก็ยังดีมาก

ปี พ.ศ. 2476 ถูกนายจ้างไล่ออกเพราะทำถ้วยชามแตก
ทำให้ไม่ได้เรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 3

กลางปี พ.ศ. 2476 ด้วยความที่รักเรียน
ในยามขาดที่พึ่งจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรตามคำชักชวนของพระโลกนาถ (เดิมเป็นฆราวาสชื่อ SALVOTORE CIPFFI)
พระภิกษุสัญชาติอิตาลี ซึ่งเดินทางเข้ามาประเทศไทยในโครงการนำภิกษุสามเณรจากประเทศไทย พม่าและศรีลังกา
ไปศึกษาและฝึกอบรมในประเทศอินเดียให้มีความสามารถพอ
แล้วจะให้เดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศตะวันตกต่อไป
พระโลกนาถให้ฉายาสามเณรกิมฮงว่า “กรุณากุศลาสัย”
และได้ใช้นามนี้จนถึงปัจจุบัน

วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2476 ได้ร่วมกับคณะพระโลกนาถ ประมาณ 200 กว่ารูป
เดินทางเข้าไปประเทศอินเดียจากนครสวรรค์ผ่านสวรรคโลก สุโขทัย ตาก แม่สอด
ข้ามแม่น้ำเมียวดีผ่านเมืองมะละแหม่ง หรือหงสาวดี และย่างกุ้ง
เมื่อถึงเมืองย่างกุ้ง เกิดแตกคอกันด้วยสาเหตุหลายประการ
จึงเหลือผู้เดินทางไปกับพระโลกนาถเพียง 10 รูป
รวมทั้งสามเณรกรุณา เดินทางต่อโดยเรือโดยสารคู่นครกัลกัตตา

สามเณรได้เรียนภาษาฮินดี อังกฤษ และบาลี ประมาณ 2 ปี
สอบได้เป็นที่ 1 (ในบรรดาผู้ที่มิได้ใช้ภาษาฮินดีเป็นภาษาพูดแต่กำเนิด) และสมัครเรียนภาษาอังกฤษทางไปรษณีย์ที่ Bonnet College ในเมือง Sheffield ประเทศอังกฤษ ได้ Diploma ทางภาษาอังกฤษ

ในปลายปี พ.ศ. 2481 ได้รับทุนเรียนจากจอมพลสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเสด็จประพาสอินเดีย

ปลายปี พ.ศ. 2482 ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวิศวภารติ ศานตินิเกตัน แคว้นเบงกอลตะวันออก
เป็นสถาบันอันลือชื่อของมหากวีรพินทรนาถฐากูร
ชาวเอเซียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม
ขณะเรียนทำงานกับศาสตราจารย์ตันหยุน- ฉาน (Tan Yun Chan)
ผู้อำนวยการคณะจีนศึกษาในฐานะเลขานุการส่วนตัว

ระหว่างที่อยู่สารนาถ แขวงเมืองพาราณสี ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของพุทธศาสนาในประเทศอินเดียวและประเทศอื่น ใช้นามปากกาว่า “สามเณรไทยในสารนาถ”
มาลงตีพิมพ์ในวารสาน “ธรรมจักษุ” และ “พุทธศาสนา”
ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุได้ให้กำลังใจและมอบหนังสือ “พุทธประวัติจากพระโอษฐ์” พร้อมเขียนคำชมเชยด้วย

ปลายปี พ.ศ. 2483 ได้เข้าศึกษาวิชาภารตวิทยา (Indology หรือ Indian Studies)
คือวิชาที่ว่าด้วยวัฒนธรรมของอินเดีย มีวรรณคดี ศาสนา และปรัชญาเป็นหลัก

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 เกิดมหาสงครามเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นบุกประเทศไทย
ส่งผลให้ประเทศไทยประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร
ขณะนั้นอินเดียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ สามเณรกรุณา
ในฐานะพลเมืองไทยจึงถูกจับกุมขังตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ที่ค่ายกักกันในนครนิวเดลี พร้อมกับอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์
ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิศวภารติ ศานตินิเกตัน
สามเณรกรุณาจึงลาสิกขากับพระมหาแสวง ณ อ่างทอง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2485
และถูกย้ายไปอยู่ที่ค่ายกักกันในแคว้นราชสถาน ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2486

เมื่อสงครามสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 ศาสตราจารย์ตันหยุน – ฉาน
ได้ติดต่อให้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวิศวภารติ ศานตินิเกตัน
แต่ด้วยความคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน จึงตัดสินใจกลับเมืองไทย
แทนการศึกษาให้จบปริญญา รวมเวลาอยู่ที่อินเดีย 12 ปี
อยู่ในค่ายเชลย 4 ปี ขณะนั้นนายกรุณา อายุ 26 ปี

นายกรุณา ขณะอายุ 29 ปี ได้สมรสกับนางเรืองอุไร หิญชีระนันท์
ผู้เป็นดัง “อรธางคินี” หรือผู้เป็นครึ่งหนึ่งของสามีเสมอมา



โดย: กูรูขอบสนาม วันที่: 24 สิงหาคม 2552 เวลา:20:08:44 น.  

 
การทำงาน

- ปี พ.ศ. 2487 พระยาอนุมานราชธน รับเข้าทำงานที่หอสมุดแห่งชาติ เนื่องจากมีความแตกฉานทางภาษาต่างๆ และได้รับการฝากฝังจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต

- วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2489 เริ่มสอนภาษาสันสกฤตและฮินดีแก่คนไทย และสอนภาษาไทยแก่คนต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวอินเดียว ที่อาศรมวัฒนธรรมไทยภารตะซึ่งตั้งอยู่ย่านสีลม

- วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ได้บรรจุเข้าทำงานในสถานกงสุลอินเดีย ในฐานะล่าม พนักงานแปลและเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ นอกจากนั้น ยังช่วยงานพระพุทธศาสนาด้วย เช่น บรรยายวิชาธรรมภาคภาษาอังกฤษ ถวายแด่พระนิสิตมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์

- วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 พระพิมลธรรมได้เมตตาเลือกนายกรุณา เป็นมัคคุเทศก์และล่ามประจำคณะเดินทางไปร่วมสังคายนาพระไตรปิฎกในนครย่างกุ้ง ประเทศพม่า และไปนมัสการสังเวชนียสถานในชมภูทวีป

- ปลายปี พ.ศ. 2496- 2497 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มีความร่วมมือระหว่างไทยกับยุโรป ในการฟื้นฟูศีลธรรม (Moral Rearmament)

นายกรุณา ได้ถูกเรียกตัวไปใช้งานด้านการสื่อสารซึ่งใช้ภาษาอังกฤษ
ทำให้ได้รู้จักกับนายสังข์ พัธโนทัย บุคคลใกล้ชิดและไว้วางใจของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก่อให้เกิดความเข้าใจความสนิทสนม และมีส่วนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของนายกรุณาอย่างใหญ่หลวง ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสี่ของคณะทูตใต้ดินไปปรับความเข้าใจกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถือเป็นงานที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต โดยมีคุณอารีย์ ภิรมย์ เป็นหัวหน้าคณะ แต่นายกรุณา ก็ยินดีทำเพื่อชาติบ้านเมือง

- วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ลาออกจากงานสถานทูตเดิมมาดำรงตำแหน่งบรรณาธิการต่างประเทศของหนังสือพิมพ์ “เสถียรภาพ” ซึ่งนายสังข์ พัธโนทัย เป็นบรรณาธิการอยู่ในขณะนั้น

- วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เกิดรัฐประหารโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจการปกครองและขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เช้าวันรุ่งขึ้นนายสังข์ พัธโนทัย นายอารีย์ ภิรมย์ และนายกรุณา ถูกตำรวจสันติบาลจับกุมในข้อหา “มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ” ถูกจำคุกอยู่นานถึง 9 ปี ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “คดีขังแช่เย็น”

นายกรุณาได้ล้มป่วยด้วยโรคเครียดทางสมอง ศาลอนุญาตให้ประกันตัว เพื่อรักษาตัวที่บ้าน และได้รับการถอนฟ้องเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2512

เช่นเดียวกับนักคิดนักเขียนหลายสิบคน ที่ลูกกรงเหล็กไม่สามารถกีดกั้นการคิดการเขียนได้ ตรงข้ามการถูกจำกัดที่อยู่กลับทำให้มีโอกาสผลิตวรรณกรรมออกสู่ภายนอกได้อย่างสม่ำเสมอ

ในระหว่างการฝากขังที่สถานีตำรวจปทุมวันและสามยอด นายกรุณาได้เขียนบทความเกี่ยวกับวรรณคดี ศาสนาและวัฒนธรรมอินเดีย เมื่อถูกย้ายเข้าสู่เรือนจำลาดยาว ถูกขังนานถึง 9 ปี นายกรุณาก็ตั้งใจศึกษาความรู้และเขียนหนังสืออย่างจริงจังจนเกิดผลงานอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก

รายชื่อหนังสือที่นายกรุณาได้แปลในขณะถูกจำคุก และได้จัดพิมพ์เป็นเล่มภายหลังโดยย่อมีดังนี้

1. คีตาญชลี ของ รพินทรนาถ ฐากูร
2. พบถิ่นอินเดีย ของ ยวาหระลาล เนห์รู
3. ชีวประวัติของข้าพเจ้า ของ มหาตนา คานธี
4. การศึกษาในอินเดียในสมัยโบราณ
5. ภารตะวิทยา
6. พุทธศาสนาในชีวิตและความนึกคิดของชาวอินเดีย
7. ประวัติศาสตร์ของอินเดียโดยย่อ
8. ข้าพเจ้าทดลองความจริง อัตชีวประวัติฉบับสมบูรณ์ ของมหาตมา คานธี
9. แด่นักศึกษา ของมหาตมา คานธี
10. รวมเรื่องเอกของ รพินทรนาถ ฐากูร
11. ชุมนุมนิทานภารตะ
12. วาทะคานธี ฯลฯ

งานเหล่านี้ ศาสตราจารย์เรืองอุไร กุศลาสัย ศรีภรรยาของนายกรุณา เป็นผู้ให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิด งานแปลทางด้านวรรณคดีพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและวรรณกรรมสันสกฤตที่สำคัญ ได้แก่ มหากาพย์พุทธจริต มหากาพย์ภารตะ เมฆทูต ฯลฯ

งานเขียนของนายกรุณาหลายเรื่อง ได้รับการพิจารณาว่าเป็นประโยชน์แก่วงการศึกษาและเสนอให้เป็นหนังสือประกอบการเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ

เช่น “ชีวประวัติของข้าพเจ้า ของ มหาตมา คานธี”
ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนังสือแปลดีเด่น

“โลกทั้งผองพี่น้องกัน”ของมหาตมา คานธี ได้รับคัดเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

และหนังสือ “ชีวิตที่เลือกไม่ได้” อันเป็นอัตชีวประวัติของนายกรุณา
ก็ได้รับรางวัลชมเชย ประจำปี 2530 และเป็นหนังสืออ่านประกอบของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย

ปี พ.ศ. 2538 นายกรุณาได้รับรางวัลเสมาธรรมจักร ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา

ปี พ.ศ. 2539 ได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม
สาขาวรรณศิลป์ (แปลสารคดี ความเรียง) และได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ปี พ.ศ. 2541 ได้รับพระราชทานปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
และปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยบูรพา

นายกรุณา กุศลาสัย เป็นปูชนียบุคคลผู้มีคุณูปการด้านวรรณศิลป์
มีผลงานด้านวรรณกรรมที่เป็นศรีแห่งวรรณศิลป์และเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยแท้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายทอดภารตวิทยาให้แก่ชาวไทยได้ศึกษา
อย่างลุ่มลึกกว้างขวาง ด้วยภาษาที่มีความไพเราะน่าอ่าน

ปัจจุบัน (พ.ศ. 2542) นายกรุณา กุศลาสัย อายุ 79 ปี
พักอาศัยอยู่กับภรรยาที่บ้านเลขที่ 599 สี่แยกพรานนก เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

หน่วยงานทางการศึกษาต่างๆ ยังเรียนเชิญท่านไปบรรยายให้ความรู้
ซึ่งท่านก็ได้ให้ความร่วมมือด้วยดีเสมอมา นอกจากนี้ผู้ใฝ่รู้ในวิชาภารตวิทยา
และภูมิปัญญาของปราชญ์อินเดียก็ไปมาหาสุ่ความรู้จากท่านที่บ้านอยู่เสมอ ๆ

ข้อมูลจากเวป

////www.nsru.ac.th/culture/nwculture/lesson6/lesson615.html


โดย: กูรูขอบสนาม วันที่: 24 สิงหาคม 2552 เวลา:20:09:36 น.  

 
คำขอร้องเกี่ยวกับการตายของพ่อ

ถึง เกษ ยุ้ย และ กือ ลูกรักทั้งสามคน

ด้วยพ่อได้คำนึงถึงวัยและสังขารของตนเองเห็นว่า
ความชราได้เข้ามาครอบงำพ่อทั้งในด้านรูปธรรมและนามธรรม
ไม่ควรจะตั้งอยู่ในความประมาท จึงใคร่ขอร้องลูกทั้งสามคน
ทั้งโดยส่วนตัวแต่ละคนและโดยส่วนรวมร่วมกันทั้งสามคน ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ ในกรณีที่พ่อถึงแก่ความตาย

๑.ให้รีบติดต่อแจ้งการตายต่อเขตท้องที่ภายใน ๒๔ ชั่วโมง เพื่อขอมรณบัตร การขอมรณบัตรต้องนำทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของพ่อไปแสดง
(พ่อได้ถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนไว้เรียบร้อย และได้มอบไว้กับลูกแต่ละคน คนละ ๑ ชุดแล้ว)

๒.โดยที่พ่อได้อุทิศตนเป็นวิทยาทาน ขอให้แจ้งการตายให้เจ้าหน้าที่ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ทราบ-ภายใน ๒๔ ชั่วโมง
(โทรศัพท์หมายเลข ๔๑๑-๒๐๐๗ หรือ ๔๑๑-๐๖๔๑-๙ ต่อ ๓๐๕, ๓๐๗, ๓๑๒) เจ้าหน้าที่จะมาฉีดยารักษาศพ และรับศพไปเก็บไว้ที่โรงพยาบาล

๓.หากจะทำพิธีทางศ่าสนาให้พ่อ ขอให้ใช้สถานที่วัด
ซึ่งจะเป็นวัดใดก็แล้วแต่จะสะดวก พิธีนั้นขอให้เรียบง่าย ไม่ต้องนำศพมาจากโรงพยาบาล หากให้ใช้รูปถ่ายของพ่อซึ่งพ่อได้จัดพิมพ์ขยายไว้เรียบร้อยแล้ว ตั้งแทนหีบศพ พิธีไม่ควรจะยืดเยื้อเกิน ๓ วัน และควรจะสิ้นสุดลงด้วยการฟังเทศน์และทำบุญเลี้ยงพระตามประเพณี

๔.หลังจากเสร็จพิธีทางศาสนาแล้ว ขอให้ลงแจ้งความข่าวการตายของพ่อในหนังสือพิมพ์รายวันเป็นเวลา ๗ วันติดต่อกัน โดยมีข้อความต่อไปนี้ "นายกรุณา กุศลาสัย ถึงแก่กรรมด้วยโรค...เมื่อวันที่...เดือน...พ.ศ...รวมอายุได้...ปี เจ้าภาพได้จัดการศพเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่...เดือน...พ.ศ...ผู้ตาย ประสงค์ให้เรียนให้ผู้เคารพนับถือทราบทั่วกันโดยแจ้งความนี้ และขอประทานอภัย หากได้ล่วงเกินท่านผู้ใดด้วยกาย วาจา และใจ ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่"

หวังว่าลูกทั้งสามคนคงจะช่วยสงเคราะห์พ่อเป็นครั้งสุดท้ายด้วยการปฏิบัติให้คำขอร้องข้างต้นของพ่อลุล่วงไปโดยดี

กรุณา กุศลาสัย

(นายกรุณา กุศลาสัย)

วันที่ ๑๓ เดือน มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๙

ช่างเป็นคำสั่งเสียที่แสนเรียบง่าย ทว่ายิ่งใหญ่เสียเหลือเกิน
อดนึกถึงคำสั่งเสียแบบเดียวกันของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ไม่ได้


โดย: กูรูขอบสนาม วันที่: 24 สิงหาคม 2552 เวลา:20:27:19 น.  

 
สวัสดีค่ะ

ขอร่วมไว้อาลัยท่านด้วยค่ะ
ในฐานะผู้ชื่นชอบงานประพันธ์ของท่าน

น่าทึ่งประวัติของท่านมาก
ขอบคุณที่กรุณานำมาแบ่งปันค่ะ

ขออนุญาตก๊อปไปไว้ในบล็อกดิฉันได้ไหมคะ
จะกลับมาอ่านคำตอบค่ะ


จันทรวารสิริสวัสดิ์-มานมนัสรมณีย์ค่ะ


โดย: sirivinit วันที่: 24 สิงหาคม 2552 เวลา:20:55:06 น.  

 
ยินดีเลย คุณ sirivinit
เพราะกูรูก็คัดลอกมาเวปที่ระบุไว้นั่นแหละ
อ้อ กับน้องวิกี้คนเก่งด้วย
ให้เครดิต เวปทั้งสองแล้วกัน


โดย: กูรูขอบสนาม วันที่: 24 สิงหาคม 2552 เวลา:21:00:47 น.  

 
ขอบพระคุณค่ะ กลับมาอ่าน บล็อกตามมาจนจบ
จึงเห็นที่มาค่ะ
ดิฉันไปคอมเมนท์ไว้ที่ รัสเซียรำลึก-รักเลียบเคร็มลินด้วยค่ะ


สิริจันทรวารสวัสดิ์-โสมนัสสวัสดิศรีค่ะ


โดย: sirivinit วันที่: 24 สิงหาคม 2552 เวลา:21:11:20 น.  

 
คารวาลัยจาก ส.ศิวรักษ์
หนังสือพิมพ์ BKK Post ฉบับวีนที่ 8 กันยายน 2552

A virtuous life in the service of humanity
Writer: SULAK SIVARAKSA
Published: 8/09/2009 at 12:00 AM
Newspaper section: News

Karuna Kusalasaya passed away peacefully due to old age on Aug 13, 2009 at his son's house in Thon Buri. He was 89 years old. As expected, people in the mainstream did not pay much attention to his death. They had (long) forgotten about him.


A virtuous life lived in the service of others: Karuna Kusalasaya and his wife Ruang Urai.
Karuna however had benefited his country in numerous ways. His lifestyle was also worthy of emulation.

People in the mainstream tend to worship or respect the high-born, the rich, the famous, the powers-that-be, etc. This is not to say that Karuna craved the limelight or wanted to see monuments erected on his behalf after his death.

The opposite seems to be the case. Karuna always preferred being backstage, quietly playing an indispensable supporting role.

In actuality, he wanted his reputation to gradually fade away according to the principle of non-self. He was the least self-attached and was always ready to praise others. Karuna was honoured more in India than in his birthplace. The latter not only betrayed him but also imprisoned him for many years - without ever proving his misdemeanours. Several institutions also took part in this tragedy, including the ones he had helped cultivate, such as the Mahachulalongkorn Buddhist University and the Ashram Thai-Bharat.

His autobiography, Life Without A Choice, was written in a humble and pleasant tone. He also translated it into English to reach a wider audience. But if we read between the lines, we'll notice that he actually chose his life. He endeavoured to overcome poverty and obstacles in life by heeding the path of a righteous person. He always had kalyanamitta (good friends) throughout his life. He always saw the goodness in people, while acknowledging their shortcomings. Thus he was always understanding, forgiving, tolerant and compassionate. Small wonder that he dropped the name "Kim Heng" and renamed himself "Karuna" which means compassion. His new last name means wholesome or meritorious manners.

Born on May 10, 1920, Karuna entered the monkhood as a novice at the age of 13. He soon followed Bhikkhu Lokanatha (an American monk of Italian descent) on a pilgrimage to India. This was no small feat, to say the least. Most of the other monks on this pilgrimage such as Panyanandha gave up halfway through the journey. The monks quarrelled during the trip. They accused Lokanatha of being biased. They lacked solidarity and tolerance, and so on. But Karuna never boasted about reaching India on foot nor the fact that during the journey a Burmese layperson requested him to disrobe and marry his daughter.

Karuna held a positive view of Lokanatha. Throughout his life, he was full of respect for the latter. In general, Thai monks did not have high regard for Lokanatha. Farang monks were often not deemed equal to Thai monks. It was only recently that farang monks who were disciples of the Venerable Ajarn Cha came to be admired by the general public. But monks in this lineage focus almost exclusively on meditation and creating inner peace, not on social critique, engagement or emancipation. This may be the reason why many among the elite are interested in the teachings of these monks. The elite want to live under structural violence with inner peace and good conscience. They don't want (radical) social change or emancipation. There's something terribly reactionary about this position.

As a novice in India, Karuna learned Hindi, Sanskrit and English painstakingly and with great effort. No doubt he also possessed a brilliant mind. Ultimately, he won first place in the national examination for the Hindi language and was enrolled in Rabindranath Tagore's school at Shanti Niketan. Karuna was a contemporary of national artist Fua Haripitak who was also studying in India. None of the Thai students who graduated from India after Karuna could match his understanding of the subcontinent.

Prior to World War Two, Thai elites rarely visited India. However, there were two exceptions. Prince Paribhatra of Nagor Savarga and Prince Patriarch Wachirayanawong went to India and met the novice Karuna there. They both held Karuna in high esteem. Prince Paribhatra became Karuna's patron while Prince Patriarch invited the novice Karuna to return to his temple at Wat Boworniwes.

The late Buddhadasa Bhikkhu also corresponded with the novice Karuna. Subsequently, they became lifelong kalyanamitta to one another.

Karuna was forced to disrobe when Thailand declared war on England. Of course, India was a British colony and Karuna, along with other Thais such as Fua Haripitak, were rounded up and incarcerated in a camp since they were considered nationals of an enemy state.

At the camp, Karuna met his first love, a Japanese lady (also a national of another enemy state). But the two were ultimately separated from one another. Likewise, Fua Haripitak was separated from his wife, MR Thanomsak Kridakara, and suffered a crisis of faith. He eventually came to worship the Hindu gods. (His last name means "protected by Vishnu".)

When World War Two ended, the British dropped off the Thai nationals in Singapore since the Gulf of Siam was still infested with sea mines.

Karuna travelled back to Bangkok on foot, following the railway tracks through Malaya. He said Muslim friends along the way treated him very well.

Karuna began his first work at the Indian embassy in Bangkok when the two countries forged diplomatic relations after India's independence.

He was also involved in the teaching of Sanskrit and Hindi at the Ashram Thai-Bharat. It was through the teaching of the Hindi language that he met Ruang Urai who later became his wife. They were a model couple. When she turned blind, he served her faithfully and devotedly. He sent her off and picked her up when she attended conferences at the Royal Academy. The two however refused to apply to be elected as Academicians. They simply felt that it was very pretentious. The two often refrained from open criticism in order not to create any uproar. Rather, they preferred to confide their true feelings to their kalyanamitta.

Few people realised that Karuna was a confidant of the late Phra Vimaladhamma (Ard) since the time the latter was pioneering the Mahachulalongkorn Buddhist University. Ajarn Kao was a meditation master at Mahachulalongkorn.

Phra Vimaladhamma (Ard) and Karuna were not only master and disciple but also one another's kalyanamitta. Karuna courageously warned his master about various issues. I had also relied on Karuna to convey messages (including strong criticisms) to Phra Vimaladhamma (Ard). Most high-ranking monks these days do not have kalyanamitta. How then could they successfully cultivate critical self-reflection? It is therefore not surprising that many of them are showing characteristics of immoral and fake monks.

Throughout his life, Karuna was a virtuous person with virtuous companions, e.g., Bhikkhu Lokanatha, Ruang Urai, etc. He had two important colleagues who became his kalyanamitta: Sang Phathanothai and Ari Pirom. Both worked for the Government Publicity Department (which is now known as the Government Public Relations Department). Sang was also close to Field Marshal P Pibulsongkram, and his reputation was subsequently tarnished by this association. Out of honesty and loyalty, however, Sang successfully convinced the Field Marshal to pay interest to the labour movement. The Field Marshal also eventually used him as a middleman to create links with China.

To carry out this task, Sang had to ask for assistance from Karuna and Ari, who owned a Chinese language school and had connections with members of the Chinese Communist Party. Karuna and Ari soon became the first Thai "ambassadors" to China, meeting both Zhou Enlai and Mao Zedong.

However, as it turned out, Field Marshal Sarit Thanarat rewarded them for this feat by imprisoning them in Lad Yao Prison for a long time. And when the kingdom officially opened diplomatic relations with China, MR Kukrit Pramoj took all the credit. No one remembered the involvement of Karuna and Ari.

Apropos of Indian studies, Karuna and Ruang Urai produced many works. They were always helpful to anyone who wanted to learn more about the subcontinent. I myself benefited a lot from their expertise.

Karuna was also my wife's relative. He and his wife had always supported our family. Further, Karuna aided the activities of the Sathirakoses-Nagapradipa Foundation and the Komol Keemthong Foundation. Karuna and Ruang Urai deeply admired the late scholars Sathirakoses and Nagapradipa. It can be said that they continued and built on the legacy of Sathirakoses and Nagapradipa for another generation.

Karuna lived simply and practised yoga daily. He suffered a mild senility towards the end of his life. He stayed briefly in a nursing home before moving in to live with his son till his last breath.

The death of Karuna leaves us with an important question: What should we do to ensure that there will be individuals like Karuna in contemporary Thai society and in the future?

Here I am referring to individuals who are good, knowledgeable, and devoted to the public good while shunning the limelight. If we cannot find individuals who can serve as role models, then the future of Thai society is bleak.

People who respected Karuna and Ruang Urai decided to create a fund bearing their names. It will be used to support the freedom and emancipation of our children and future generations.



โดย: กูรูขอบสนาม วันที่: 8 กันยายน 2552 เวลา:10:11:23 น.  

 
ให้เครดิตที่มา :

//www.bangkokpost.com/opinion/opinion/23450/a-virtuous-life-in-the-service-of-humanity


โดย: กูรูขอบสนาม วันที่: 8 กันยายน 2552 เวลา:10:12:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รุ้งพลบ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ใช้ชีวิตแสวงหามาหลายปี ปัจจุบันก็ยังแสวงหาไม่รู้จักเสร็จ
บางอารมณ์เหนื่อยๆ ก็หยุดพัก แล้วตรองนิ่งเขียนบันทึกในสิ่งที่พบเห็น

บางอารมณ์ที่โมแรนติค ชอบดูสายรุ้งตอนโพล้เพล้
New Comments
[Add รุ้งพลบ's blog to your web]