เมษายน 2564

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
 
 
All Blog
กรดทรานเอกซามิก (tranexamic acid)กับการรักษาฝ้า
ข้อมูลวิชาการเรื่อง “การใช้กรดทรานเอกซามิก (tranexamic acid) ในการรักษาฝ้า”

กรดทรานเอกซามิก มีฤทธิ์ในการห้ามเลือด
ในประเทศไทยขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาผู้ป่วยโรคเลือดไหลหยุดยากหรือเลือดออกมากผิดปกติ 

ต่อมาแพทย์ชาวญี่ปุ่นเป็นผู้ค้นพบว่า การรับประทานยากรดทรานเอกซามิกในขนาดยาที่ต่ำ (500-1,000 มิลลิกรัม/วัน) สามารถทำให้ฝ้าจางหายได้ชั่วคราว

ในปัจจุบันมีการใช้กรดทรานเอกซามิกแบบนอกข้อบ่งใช้ (off-label) ในการรักษาฝ้าอย่างแพร่หลาย จากการสืบค้นข้อมูลทางการแพทย์พบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 มีงานวิจัยทางการแพทย์ไม่ต่ำกว่า 20 งานวิจัยที่รายงานถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้กรดทรานเอกซามิกชนิดรับประทานในการรักษาฝ้า 

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 วารสารของสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตีพิมพ์งานวิจัย 4 เรื่องเกี่ยวกับการใช้กรดทรานเอกซามิกในการรักษาฝ้า และ 1 ใน 4 งานวิจัยดังกล่าวทางบรรณาธิการของวารสารในหัวเรื่องว่า “การใช้กรดทรานเอกซามิกชนิดรับประทานเพื่อใช้ในการรักษาฝ้า: จุดเปลี่ยนของแนวทางการรักษาฝ้า (JAAD Game Changers: Oral tranexamic acid (TA) in the treatment of melasma: A retrospective analysis)”

ในปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดของกรดทรานเอกซามิกในการรักษาฝ้า

แต่ข้อมูลจากงานวิจัยหลายฉบับสันนิษฐานว่ากรดทรานเอกซามิก
ออกฤทธิ์ในการรักษาฝ้า โดยการยับยั้งขนวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน

รายงานทางการแพทย์โดยการศึกษาแบบ Meta-analysis (การวิเคราะห์อภิมาน) และการศึกษาแบบงานปริทัศน์แบบทั้งระบบ (Systematic review) จำนวน 2 ฉบับซึ่งตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2560 และ 2561

สรุปผลว่า สำหรับในผู้ป่วยซึ่งไม่มีข้อห้ามใช้กรดทรานเอกซามิก การใช้กรดทรานเอกซามิกชนิดรับประทานในขนาดยาต่ำ (500-1,000 มิลลิกรัม/วัน) เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันประมาณ 3 เดือน สามารถทำให้ฝ้าจางลงได้และมีความปลอดภัยสูง 

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ เช่น การมีประจำเดือนน้อยลง
การปวดมวนท้องหรือการเกิดผื่นแพ้ การรับประทานกรดทรานเอกซามิกในขนาดยาดังกล่าว ไม่มีการรายงานว่ามีผู้ป่วยที่เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันในสมอง ปอด หัวใจ หรืออวัยวะอื่นๆ

ผู้ป่วยที่ไม่ควรรับประทานกรดทรานเอกซามิกได้แก่
- ผู้ป่วยที่ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันของหลอดเลือด เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดขอดหรือมีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Deep vein thrombosis)
- สตรีมีครรภ์
- สตรีให้นมบุตร
- ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้กรดทรานเอกซามิก

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาฝ้าให้หายขาดได้ 
การรับประทานกรดทรานเอกซามิกสามารถทำให้ฝ้าจางลงชั่วคราวเท่านั้น 

ผู้ป่วยยังต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้การเกิดฝ้า เช่น แสงแดด และการใช้ยาบางชนิดที่กระตุ้นให้เกิดฝ้า เช่น ยาคุมกำเนิด

เพื่อความปลอดภัย ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยซื้อกรดทรานเอกซามิก
มารับประทานเอง การรักษาควรอยู่ในการควบคุมและดุลยพินิจของแพทย์เป็นสำคัญ




ที่มา
Page Prof Dr Worapong



Create Date : 30 เมษายน 2564
Last Update : 30 เมษายน 2564 22:14:29 น.
Counter : 924 Pageviews.

0 comments

แป้งปังปอนด์
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 878 คน [?]



เริ่มเขียนblog 20ก.ค55
ปัจจุบัน ( 3 มี.ค 57 ) แป้งได้มีเพจแป้งปังปอนด์ สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์แชร์ข้อมูลจาก blog ให้ท่านที่สนใจได้ติดตามอ่านอย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาโหลดเนื้อหาจาก blog ดังนั้นขออนุญาตงดตอบคำถามใดๆทางเพจและ facebook ค่ะ






หากท่านใดมีคำถามเกี่ยวกับการกินวิตามินเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและบำรุงผิวพรรณ รบกวนส่งคำถามไปยัง blog แป้งปังปอนด์ นานาสารพันปัญหา volume 5 อย่างเดียวเท่านั้นค่ะ


ขออนุญาตฝากกด like เพจแป้งปังปอนด์ เพื่อเป็นกำลังใจในการสรรค์สร้างผลงานด้วยมันสมองและสองมือพยาบาลสาวภูไท คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จบการศึกษา ปี พ.ศ 2539 จากที่ราบสูงคนนี้ด้วยนะคะ


สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการนำชื่อ " แป้งปังปอนด์ " ไปใช้เพื่ออ้างอิงหรือติดป้ายสินค้าในเวปไซด์หรือที่ใดๆหรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน " Blog แป้งปังปอนด์ " แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยการเผยแพร่เพื่อการอ้างอิงหรือนำรูปภาพไปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด




New Comments
MY VIP Friend