นานาสาระ
<<
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
24 มกราคม 2551

*+* อัฉริยะสร้างได้ *+*

แบ่งปันการเรียนรู้ “อัจฉริยะสร้างได้”
จาก คอร์ส “อัจฉริยะสร้างได้” และหนังสือ “อัจฉริยะสร้างได้” ของคุณวนิษา เรซ


ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับสมอง
 ส่วนประกอบของสมอง
 โปรตีน
 ไขมัน
 น้ำ
ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับสมอง
 น้ำที่ดีที่สุดสำหรับสมอง
 น้ำเปล่าอุณหภูมิห้อง
ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับสมอง
 ความฉลาดของสมองขึ้นอยู่กับ
 รอยยัก
 ขนาด
 จำนวนเซลล์สมอง
เส้นใยสมอง – สร้างใหม่ได้ทุกวัน ไม่ใช้จะตัดออก
การริดทิ้ง (Pruning)
 ผู้ใหญ่จะมีเส้นใยสมอง = 14 ปี
 สมองเป็นอวัยวะที่ขี้เกียจมาก ถ้าไม่ใช้ก็จะหยุดทำงาน ถูกตัดทิ้งไป
 สมองที่ฝึกฝนและจัดกิจกรรมให้ทำต่อเนื่อง จะขยายเส้นใยสมองในด้านนั้นๆ
พัฒนาการของสมอง
 สมองของเด็กมีความยืดหยุ่นกว่าผู้ใหญ่
 เด็กแต่ละวัยจะเปิดรับต่างกัน เด็กพัฒนาการเรียนรู้ ด้านภาษา และด้านร่างกายได้ดีกว่าผู้ใหญ่ (บัลเล่ต์)
 ส่วนที่พัฒนาช้าที่สุดของสมองคือ ส่วนการคิด และการตัดสินใจ ซึ่งจะพัฒนาเต็มครบส่วนตอนอายุ 25 ปี
สมองซีกซ้าย กับ สมองซีกขวา
 การวางแผน
 ไวยากรณ์
 การหาข้อมูล
 การใช้สัญลักษณ์
อัจฉริยะภาพ 8 ประการ
 ด้านภาษาและการสื่อสาร
 ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
 ด้านมิติสัมพันธ์และจินตภาพ
 ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
 ด้านการเข้าใจตน
 ด้านการเข้าใจผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์
 ด้านธรรมชาติ
 ด้านดนตรี
“อัจฉริยะภาพด้านภาษา”
อัจฉริยภาพด้านภาษา ดีอย่างไร
 จำเป็นสำหรับทุกอาชีพ เพราะต้องติดต่อสื่อสาร
 ไม่ได้เก่งเฉพาะการพูด แต่ต้องเก่งด้านการฟังด้วย จึงทำให้ได้เรียนรู้จากคนอื่นๆ
 มีเครือข่ายเยอะ จากการที่เป็นคนเก่งในการพูดคุย จึงไม่มีคำว่า “ขาดทุน”
ตรวจสอบ อัจฉริยภาพด้านภาษา
 พกหนังสือติดตัว
 แวะร้านหนังสือ
 ฟังเพลงไม่จำกัดภาษา
 ชอบฟังรายการวิทยุ
 อ่านนสพ. และสรุปให้คนอื่นฟัง
 สบายใจเมื่อสนทนากับต่างชาติ แม้ว่าไม่ถนัดก็ตาม
 เขียนบันทึกประจำวัน
 จดบันทึกตารางต่างๆในสมุด
การพัฒนาอัจฉริยภาพด้านภาษา
กิจกรรมส่งเสริม อัจฉริยภาพด้านภาษา
 ฟังอย่างลึกซึ้ง จับประเด็น สรุปประเด็น
 ฟังและออกเสียงตามภาษาต่างประเทศ
 ถาม หรือ ค้นหา ความหมายศัพท์ ที่ไม่เข้าใจ
 ฟังเพลงหลายภาษา
 เล่าเรื่องขำขัน
 หัดทำ My Maps
“อัจฉริยะภาพ
ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว”
อัจฉริยภาพด้านร่างกาย ดีอย่างไร
 สมองและร่างกายคือสิ่งเดียวกัน สมองสั่งให้สารเคมีหลั่งออกมาสู่ร่างกาย ร่างกายส่งข้อมูลจากสภาพแวดล้อมให้สมอง เมื่อเรามีความสุข สมองจะหลั่งสารเคมีแห่งความสุข เรียกว่า เอนดอร์ฟิน ออกมา
 เอนดอร์ฟิน จะหลั่งออกมาเมื่อเราได้ทำในสิ่งที่ชอบ
เช่นใช้เวลากับสิ่งที่เรารัก, ออกกำลังกาย, เต้นรำ เป็นต้น
ตรวจสอบ อัจฉริยภาพด้านร่างกาย
 ชอบเล่นกีฬา
 สนุกกับการเต้นรำ
 ร่วมกิจกรรมการแสดง
 ทำงานฝีมือ สิ่งประดิษฐ์
 ชอบผจญภัย
 ชอบกระดิกเท้า เคาะโต๊ะ
 ชอบล้อเลียนท่าทางของเพื่อน ดารา คนดังๆ
 ใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารได้ดี
การพัฒนา อัจฉริยภาพด้านร่างกาย
ฝึกการใช้ “จินตภาพ” ให้ร่างกายทำงานดีขึ้น
 มีการวิจัยหลายชิ้น ทดลอง นักบิน นักกอล์ฟ นักเทนนิส ไม่ให้ซ้อมในสนามจริง ให้ฝึกซ้อมในสมอง ด้วย“จินตภาพ”
 สองสัปดาห์ผ่านไป เปรียบเทียบ กลุ่มที่ได้ฝึกจริง กับกลุ่มที่ฝึก ด้วย“จินตภาพ” ฝีมือและทักษะของทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกัน
กิจกรรมส่งเสริม อัจฉริยภาพด้านร่างกาย
 ออกกำลังกาย เพื่อพัฒนาความแข็งแรง ทนทาน คล่องแคล่วของกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหว และ เพื่อพัฒนาความยืดหยุ่นของร่างกาย
 จัดกระดูกสันหลังให้ตรง
 กินอาหารให้ครบส่วน เลือกกินอาหารสุขภาพ
“อัจฉริยะภาพ
ด้านมิติสัมพันธ์และการจินตภาพ”
อัจฉริยภาพด้านมิติสัมพันธ์และจินตภาพ ดีอย่างไร
 เมื่อต้องคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ออกแบบศิลปะ ต้องใช้ทักษะด้านมิติสัมพันธ์
 จินตภาพเป็นเสมือนแผนที่ส่วนตัวในสมอง แทนที่จะคิดอะไรยาวๆ ยาก เราสามารถแทนที่ ด้วยแผนภูมิ แผนภาพ ตาราง ซึ่งทำให้เรื่องยากๆ เข้าใจง่ายขึ้น
ตรวจสอบ อัจฉริยภาพด้านมิติสัมพันธ์และจินตภาพ
 ชอบวาดรูป
 จำหน้าคนได้ดีกว่า แม่นกว่า จำชื่อ
 แม่นยำเรื่องเส้นทาง
 จัดกระเป๋าเดินทางเป็นระเบียบเรียบร้อย
 นึกภาพในหัวสมองได้แจ่มชัด
 ประกอบ หรือลื้ออุปกรณ์ต่างๆ ได้ง่ายดาย
กิจกรรมส่งเสริม อัจฉริยภาพด้านมิติสัมพันธ์และจินตภาพ
 พัฒนาทักษะการสังเกตุ ด้วยสายตา
 พัฒนาทักษะการใช้ภาพสี เส้นสาย หรือรูปทรงเพิ่มเติม
 พัฒนาความแม่นยำเรื่องทิศทาง
 พัฒนาเรื่องการจัดวาง การใช้พื้นที่
“อัจฉริยะภาพ
ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์”
อัจฉริยภาพด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ดีอย่างไร
 เราต้องใช้ทักษะคณิตศาสตร์และตรรกะเยอะมาก ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว เช่น เลือกถนนที่ทำให้เราถึงที่หมายเร็วที่สุด ซื้ออาหารที่ทานแล้วไม่อ้วน ซื้อรถคันใหม่ไหม
 งานวิจัยหลายชิ้น บอกว่า การบริหารรายได้และการมีเงินเก็บของบุคคลในช่วงสิบปีแรกของการทำงาน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ที่เรียนมาในโรงเรียน เช่น การซื้อของแพง เกินความจำเป็น การลงทุนในพอร์ตที่ไม่เหมาะสม
ตรวจสอบ อัจฉริยภาพด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
 คิดเลขในใจได้เร็ว
 สนุกกับการคำนวณค่าใช้จ่ายภายในบ้าน วางแผนการเงิน
 จำเบอร์โทรศัพท์แม่น
 คาดคะเน น้ำหนัก ส่วนสูง หรือระยะทางได้ถูก
 ชอบวางแผนให้ชัดเจนก่อนลงมือปฏิบัติ
 ชอบทดลองและทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
การพัฒนา อัจฉริยภาพด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
 ทำบัญชี ค่าใช้จ่ายส่วนตัว
กิจกรรมส่งเสริม อัจฉริยภาพด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
 บวกค่าอาหาร ลองจำราคาอาหารของแต่ละจาน และลองคำนวณค่าอาหารของวันนั้น ว่าต่างจากราคาจริงเท่าใด
 บวกเลขทะเบียนรถ
 อ่านหนังสือเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์
 ติดตามข่าววิทยาศาตร์และ เทคโนโลยี
“อัจฉริยะภาพ
ด้านการเข้าใจตนเอง”
อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจตนเอง ดีอย่างไร
 คุณหนูดีเชื่อว่า “อัจฉริยภาพด้านนี้ สำคัญที่สุดในกระบวนอัจฉริยภาพทั้งหมด”
 เก่งและฉลาดไปทุกเรื่อง แต่ไม่รู้อยู่เรื่องเดียว คือเรื่องชีวิตตัวเอง จะไม่สามารถมีความสุขได้
 ยิ่งคุณเก่ง ยิ่งต้องมีทักษะในการจัดการดูแลอารมณ์ตนเองให้ดียิ่งกว่าคนทั่วๆไป เพราะยิ่งคุณเก่ง คุณยิ่งมีโอกาสดูแลคนจำนวนมาก ซึ่งอารมณ์มีผลต่อคนมหาศาล
ตรวจสอบ อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจตนเอง
 ชอบทำงานให้เสร็จด้วยฝีมือตนเอง
 มั่นใจในตนเอง
 ยืนยันความคิดของตนเอง
 วาดฝันอนาคตตนเองอย่างชัดเจน
 ชอบวางแผน ตั้งเป้าหมายในชีวิต
 มีเทคนิคผ่อนคลายความเครียด
รู้จักตนเอง - ทำอาชีพอะไรดี
กิจกรรมส่งเสริมอัจฉริยภาพด้านการเข้าใจตนเอง
 Begin w/ the end in Mind เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ
 ทบทวนชีวิตใน 1 วัน แล้วพรุ่งนี้จะมีชีวิตที่สดใสขึ้นอย่างไร
 Self SWOT Analysis วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเอง
 เขียนชีวประวัติตนเอง
“อัจฉริยะภาพด้านมนุษยสัมพันธ์
ด้านการเข้าใจผู้อื่น”
อัจฉริยภาพด้านมุษษยสัมพันธ์การเข้าใจผู้อื่น ดีอย่างไร
 อัจฉริยภาพด้านนี้ คือตัวแปรสำคัญ ที่จะกำหนดว่าเรา จะไปถึงจุดไหนในชีวิต ชีวิตเราจะหาความสุขได้ยากหรือง่าย
 ความสุขในหน้าที่การงาน ความสุขในชีวิตสมรส สารพัดความสุขในชีวิตมนุษย์ มาจากตัวแปรของอัจฉริยภาพนี้ เป็นส่วนใหญ่
ตรวจสอบอัจฉริยภาพด้านมนุษยสัมพันธ์
และการเข้าใจผู้อื่น
 มีเพื่อนหลายกลุ่ม หลายคน
 สนทนากับผู้อื่นเป็นเวลานานๆ
 เพื่อนๆ วางใจ และขอความคิดเห็น
 ชอบนั่งดูผู้คน
 ทักทายผู้อื่นก่อน
 เปิดโอกาสให้คนอื่นพูดคุยด้วยเสมอ
 ชอบอาสาสมัคร
กิจกรรมส่งเสริมอัจฉริยภาพด้านมนุษยสัมพันธ์
และการเข้าใจผู้อื่น
 ยิ้ม
 อ่านความหมายจากใบหน้า คู่สนทนา
 ฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังอย่างแท้จริง ไม่คิดขัดแย้ง ไม่ตอบโต้ ฟังให้รู้ว่าเขาต้องการสื่อสารอะไร
 ชวนคุยเรื่องของเขา บอกเล่าเรื่องของเรา
“อัจฉริยะภาพด้านการเข้าใจธรรมชาติ”
อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจธรรมชาติ ดีอย่างไร
 อัจฉริยภาพด้านธรรมชาติ มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน ถึงแม้เราจะยังไม่รู้ตัวก็ตาม และเป็นปัญญาด้านที่พัฒนาได้ง่าย และเป็น“ธรรมชาติ” มากที่สุด
 สมองของเรา ถูกสร้างมาให้ชอบธรรมชาติ ถึงจะไม่ได้คลุกคลีกับธรรมชาติมากมายนัก แต่หน่วยความจำที่ตกทอดมาในสมองเรา ซึ่งอยู่ในส่วนจิตใต้สำนึก จำได้เสมอ
 เมื่อเราเข้าใจสรรพสิ่งรอบตัวแล้ว เราจะมีความนิ่ง สุขุม มีความใสสว่าง และมีปัญญาเฉียบแหลมลุ่มลึก

ตรวจสอบ อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจธรรมชาติ
 ชอบท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ
 คาดเดาภูมิอากาศในวันนั้นๆได้
 รักสัตว์ เล่นกับสัตว์เลี้ยง ได้นานๆ
 มักได้กลิ่นดิน แดด ฝน
 รู้จักชนิดของต้นไม้
 ปลูกต้นไม้ได้งอกงาม
กิจกรรมส่งเสริมอัจฉริยภาพด้านการเข้าใจธรรมชาติ
 ออกไปอยู่นอกห้องปรับอากาศ มองไกลๆ ใกล้ชิดต้นไม้ที่ให้ร่มเงา
 ไปดูดาวท้องฟ้าจำลอง
 จิบชา สัมผัสรสชา ไม่แค่เพียงวัตถุดิบ แต่ให้เห็นความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ และความรักที่ผสานอยู่
 หัดทำอาหารเลือกวัตถุดิบ
“อัจฉริยะภาพด้านดนตรีและจังหวะ”
อัจฉริยภาพด้านดนตรีและจังหวะ ดีอย่างไร
 ดนตรีและจังหวะ ช่วยจัดระบบคลื่นสมองของเรา ให้เข้าสู่ภาวะผ่อนคลาย เหมาะกับการเรียนรู้และพักผ่อน
 ดนตรีกลุ่มนี้มักเป็นกลุ่มนุ่มๆ เบาๆ ซึ่งมีแพทเทิร์นเสียงที่ซ้ำ ทำให้เรารู้สึกคล้ายถูกสะกดจิต
ตรวจสอบอัจฉริยภาพด้านดนตรีและจังหวะ
 ชอบฮัมเพลง
 ชอบร้องเพลงหรือร้อง คาราโอเกะ
 ชอบฟังเพลง หรือชมคอนเสิร์ต
 เล่นเครื่องดนตรีได้
 รับรู้เสียงของธรรมชาติได้ เช่นเสียงนก เสียงลม
กิจกรรมส่งเสริมอัจฉริยภาพด้านดนตรีและจังหวะ
 ร้องเพลงในห้องน้ำ ควบคุมลมหายใจ
 ร้องคาราโอเกะ
 ฝึกอ่านออกเสียงเป็นจังหวะจะโคน
 เพิ่มสไตล์ หลายแนวเพลง
 เปิดเพลงบรรเลงเบาๆ คลอระหว่างอ่านหนังสือ
ทำคนเราไม่ต้องเก่งด้านเดียว
 คนเราทำอย่างเดียวให้ดี...ไม่ดีหรอก
แต่ควรทำอย่างหนึ่งให้ดีเลิศไปเลย แล้วทำอย่างที่เหลือให้ดี จะดีกว่า
 อาชีพเดียว ใช้อัจฉริยภาพด้านเดียวคงน่าเบื่อ
 ตัวคุณหนูดี – จบฮาเวิร์ด, เป็นที่ปรึกษาด้านสมอง, สอนยิงธนู, สอนโยคะ, เล่นละครอาสาสมัคร, เขียนบท
“อัจฉริยะสร้างได้” จริงหรือ ?
สมองของเรามีเซลล์สมอง เท่ากับ ไอน์สไตล์ ดังนั้น ไอน์สไตล์ ฉลาดเท่าไหน เราก็ฉลาดได้เท่านั้น


********************
ข้อมูลเพิ่มเติม

การบริหารสมอง

น้ำเปล่าใสปิ๊ง หล่อเลี้ยงสมองให้สดใส

วางขวดน้ำไว้ประจำโต๊ะ สำหรับคอยจิบทีละน้อย วิธีนี้จะช่วยให้จิตใจและร่างกายคุณตื่นตัวตลอดเวลา และสมองก็จะเปิดว่าง สามารถรับข่าวสาร
และข้อมูลได้ดี เพราะน้ำช่วยปรับสารเคมีที่สำคัญในสมอง และ ระบบประสาท และเวลาที่เรารู้สึกเคร่งเครียด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ร่างกายของเรา
ขาดน้ำ เราจึงควรจิบน้ำเปล่า อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำ เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงระบบของร่างกาย
บริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่

ใช้มือซ้ายจับไหล่ขวา บีบกล้ามเนื้อให้แน่น พร้อมกับหายใจเข้า ลำดับต่อไป ให้หายใจออก และ หันศีรษะไปทางซ้าย จนกระทั่งคุณสามารถมอง
ข้ามไหล่ซ้ายของตัวเองไปได้ จากนั้น ให้สูดลมหายใจลึกๆ วางแขนซ้าย ลงบนไหล่ขวา พร้อมกับห่อไหล่ ค่อยๆ หันศีรษะกลับไปตรงกลาง และ
เลยไปด้านขวา จนกระทั่งคุณสามารถมองข้ามไหล่ขวาของตัวคุณเองได้ ยืดไหล่ทั้ง 2 ข้างออก ก้มคางลง จรดหน้าอก พร้อมกับ สูดหายใจลึกๆ
เพื่อให้กล้ามเนื้อของคุณได้ ผ่อนคลาย เปลี่ยนมาใช้มือขวาจับไหล่ซ้ายบ้าง และทำซ้ำกัน ข้างละ 2 ครั้ง

วิธีบริหารแบบนี้ จะช่วยกระตุ้นความชำนาญด้านการฟังและการได้ยิน โดยการเหยียดกล้ามเนื้อ ตรงส่วนลำคอและไหล่ทั้ง 2 ข้าง เพราะกล้ามเนื้อ
ดังกล่าวเชื่อมต่อกับเส้นประสาทในสมองที่ควบคุมหู และ ดวงตาทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้ ยังช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ อันเกิดจากการนั่ง
ทำงานที่โต๊ะเป็นเวลานานอีกด้วย

บริหารขาสวย ส่งผลดีต่อสมอง

ยืนตรงให้เท้าชิดกัน ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง โดยยกส้นเท้าขึ้น งอเข่าขวาเล็กน้อย แล้วโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย ก้นของคุณจะอยู่ในแนวเดียวกับ
ส้นเท้าขวา สูดลมหายใจเข้า และ ผ่อนออก ในขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนี้ ค่อยๆ กดส้นเท้าซ้าย ให้วางลงบนพื้นพร้อมกับ งอเข่าขวาเพิ่มขึ้น
หลังเหยียดตรง สูดลมหายใจเข้า แล้วกลับไปตั้งต้นใหม่อีกครั้ง เปลี่ยนจากขาข้างซ้ายเป็นขาข้างขวา โดยออกกำลังในท่านี้ทั้งหมด 3 ครั้งด้วยกัน

การบริหารในท่านี้จะดีสำหรับการปรับปรุงสมาธิ รวมทั้งจะช่วยเพิ่ม อัตราความเร็วในการอ่านหนังสือ และช่วยให้กระบวนการขบคิดข้อมูลดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังจะช่วยให้กล้ามเนื้อต้นขา และ กล้ามเนื้อน่องผ่อนคลาย ช่วยคลายความตึงเครียดตรงส่วนหลังตลอดทั้งแนว

ขีดๆ เขียนๆ บริหารสมอง

เขียนเส้นขยุกขยิก หรือ อะไรก็ได้ลงบนกระดาษ โดยเขียนด้วยมือทั้งสองข้างพร้อมกัน ลายเส้นที่ได้อาจจะดูเพี้ยนๆ แต่ได้ผลดี ต่อระบบสมองมาก

วิธีนี้จะช่วยปรับปรุง ระบบการประสานงานของสมอง ด้วยการทำให้สมองทั้ง 2 ซีก ทำงานพร้อมกัน ผลดีที่ได้ก็คือทำให้การประสานงานของ
สมองดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพความทรงจำในเรื่องทิศทาง และทำให้ความชำนาญด้านการสะกดคำ และ คำนวณ ดีและรวดเร็วขึ้นอีกด้วย

เสริมสร้างความเป็นทีม ให้กับสมอง

วิธีที่ว่า ก็คือการเขียนเลข 8 ในอากาศนั่นเอง อาจจะเขียนด้วยนิ้ว หรือ ด้วยสายตาก็ได้ ถ้าเขียนด้วยนิ้ว ให้ยื่นแขนออกไปข้างหน้า เริ่มเขียนจาก
ด้านซ้ายของเลข 8 โค้งจากข้างบนลงมา ผ่านกึ่งกลางของตัวเลข เลี้ยวไปทางขวา โค้งลงหาแนวกึ่งกลางอีกครั้ง คราวนี้โค้งวนซ้ายไปหากึ่งกลาง
โค้งขวาไปจรดจุดเริ่มต้น ได้เลข 8 พอดี ทำซ้ำกัน 5 ครั้ง ( สลับแขนคนละข้างด้วยนะจ๊ะ.. ก็บอกแล้วว่า " เสริมสร้างความเป็นทีม " )

วิธีนี้จะช่วยให้ประสิทธิภาพ ในด้านการอ่าน และ การทำความเข้าใจดีขึ้น เพราะเป็นการเชื่อมต่อการทำงานของสมองด้านซ้ายและด้านขวา
ให้ประสานกัน ลองทำตามข้อนี้ก่อนการอ่านเอกสาร รายงานใด ๆ จะช่วยให้คุณสามารถจับใจความสำคัญของรายงานนั้นได้เป็นอย่างดี และ
จะไม่ทำให้เกิดอาการง่วงง่ายด้วย

นวดใบหู กระตุ้นความเข้าใจ

นั่งพักสบายๆ แตะปลายนิ้วทั้ง 2 ข้างที่ใบหู เคลื่อนนิ้วไปยังส่วนบนของหู จากนั้นบีบนวด และ คลี่รอยพับของใบหูทั้ง 2 ข้างออก ค่อยๆ เคลื่อนนิ้ว
ลงมานวดบริเวณอื่น ๆ ของใบหู ดึงเบาๆ เมื่อถึงติ่งหู ดึงลง ให้ทำซ้ำกัน 2 ครั้ง

วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการได้ยิน และ ทำให้ความเข้าใจดีขึ้น เพราะเป็นการคลายเส้นประสาทบริเวณใบหูที่เชื่อมสมอง รวมทั้งยัง
จะช่วยนวดเยื่อแก้วหูอีกด้วย นอกจากนี้ การที่ขากรรไกร และ ลิ้น ผ่อนคลาย ยังช่วยปรับปรุง ความชำนาญทางด้านการพูดได้มากทีเดียว

นวดจุดเชื่อมสมอง

วางมือข้างหนึ่งไว้บนสะดือ ส่วนมืออีกข้างหนึ่ง ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือ และ นิ้วชี้ วางบนกระดูกหน้าอกบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า
ค่อยๆ นวดทั้ง 2 ตำแหน่งประมาณ 10 วินาที

วิธีการนี้จะช่วยลดความงง หรือความสับสน และกระตุ้นพลังงาน ช่วยให้มีความคิดแจ่มใส

กดจุด คลายเครียด

ใช้นิ้ว 2 นิ้วกดลงบนหน้าผากทั้ง 2 ด้าน ประมาณกึ่งกลางระหว่างขนคิ้ว และ ตีนผม กดค้างไว้ประมาณ 3 - 10 นาที

วิธีนี้จะช่วยคลายความตึงเครียด และ เพิ่มการหมุนเวียนโลหิตเข้าสู่สมอง

ลองให้เวลากับตัวเองสัก 10-20 นาที กับการบริหารสมองดูบ้างนะคะ บางทีผลที่คุณได้รับ อาจจะทำให้คุณแปลกใจไปเลย


การบริหารสมองนั้นแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มท่า คือ

1. การเคลื่อนไหวสลับข้าง ( Cross Over Movement )

เป็นท่าที่ช่วยให้การทำงานของสมองสองซีกถ่ายโยงข้อมูลกันได้ เช่น สมองซีกซ้ายสามารถนำจินตนา การ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จาก สมองซีกขวามาใช้ช่วยในการอ่าน เขียน และช่วยให้กล้ามเนื้อ ทำงานประสานกันได้ดี การให้เด็กทำท่าเหล่านี้ จะทำให้ทราบว่าเด็กมีปัญหาในเรื่องการทำงาน ประสานกันของตา มือ และเท้าหรือไม่ หากพบจะได้ช่วยเหลือเด็กได้ทันท่วงที

1.1 ยกขาขวางอให้ตั้งฉากกับพื้นพร้อมกับยื่นแขนทั้งสองออกไปด้านหน้า คว่ำมือลงขนานกับพื้น แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัว
ตรงข้ามกับขาที่ยกขึ้น แกว่งแขนทั้งสองกลับมาอยู่ที่ด้านหน้า พร้อมกับวางเท้าขวาไว้ที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนขา ทำเช่นเดียวกัน

1.2 ก้าวเท้าขวาวางหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองข้างออกไปด้านหน้า มือคว่ำลงขนานกับพื้น แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัว ตรงข้ามกับขาที่ก้าวออกไป แกว่งแขนทั้งสองข้างกลับมาอยู่ด้านหน้า พร้อมกับชักเท้าขวาวางที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนเท้า ทำเช่นเดียวกัน

1.3 ยกขาขวางอไปด้านหลัง พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองออกไปด้านหน้า มือคว่ำลง แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัวตรงข้ามกับขา ที่ยกขึ้น ให้มือซ้ายแตะส้นเท้าขวา แกว่งแขนทั้งสองกลับมาอยู่ด้านหน้า พร้อมกับวางเท้าขวาไว้ที่เดิม เอามือลง เปลี่ยนขา ทำซ้ำ เช่นเดียวกัน

1.4 วิ่งเหยาะๆ อยู่กับที่ช้าๆ

1.5 นั่งชันเข่า มือสองข้างประสานกันที่ท้ายทอย เอียงข้อศอกซ้ายแตะที่หัวเข่าขวา ยกข้อศอกซ้ายกลับไปที่เดิม เปลี่ยนเป็นเอียง ข้อศอกขวา ทำเช่นเดียวกัน

1.6 กำมือซ้ายขวาไขว้กันระดับหน้าอก กางแขนทั้งสองข้างออกห่างกันเป็นวงกลมแล้วเอามือกลับมาไขว้กันเหมือนเดิม

1.7 กำมือสองข้าง ยื่นแขนตรงไปข้างหน้า ให้แขนคู่กัน เคลื่อนแขนทั้งสองข้างพร้อมๆกัน หมุนเป็นวงกลมสองวงต่อกันคล้ายเลข 8 ในแนวนอน

1.8 ยื่นแขนขวาออกไปข้างหน้า กำมือชูนิ้วโป่งขึ้น ตามองที่นิ้วโป่ง ศีรษะตรงและนิ่ง หมุนแขนเป็นวงกลม 2 วงต่อกันคล้ายเลข 8 ในแนวนอน ขณะหมุนแขนตามองที่นิ้วโป้งตลอดเวลา เปลี่ยนแขน ทำเช่นเดียวกัน



2. การยืดส่วนต่างๆของร่างกาย (Lengthening Movement)
เป็นท่าที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของสมองส่วนหน้าและส่วนหลัง ทำให้มีสมาธิในการเรียนรู้และการทำงาน

2.1 ยืนหันหน้าเข้าผนัง เว้นระยะห่างเล็กน้อย ยกมือสองข้างดันฝาผนัง งอขาขวา ขาซ้ายยืดตรง ยกส้นเท้าขึ้น เอนตัวไปข้างหน้า เล็กน้อย พร้อมกับหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ วางส้นเท้าลง ตัวตรงหายใจออกช้าๆ งอขาซ้าย ทำเหมือนขาขวา

2.2 ยืนไขว้ขาทั้งสองข้าง ยื่นทรงตัวให้ดี หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ ก้มตัวลงไขว้แขน หายใจออกช้าๆ ยืดตัวขึ้น เปลี่ยนขาทำเช่นเดียวกัน

2.3 นั่งไขว่ห้าง กระดกปลายเท้าขึ้น-ลง พร้อมกับนวดขาช่วงหัวเข่าถึงข้อเท้า เปลี่ยนขาทำเช่นเดียวกัน

2.4 มือขวาจับไหล่ซ้าย พร้อมกับหายใจเข้าช้าๆ ตามองมือขวา ดึงหัวไหลเข้าหาตัว พร้อมกับหันหน้าไปทางขวา ทำเสียง “ อู ” ยาวๆ เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน

2.5 ใช้มือทั้งสองข้างทำท่ารูดซิปขึ้น (สุดแขนด้านล่าง แล้วยกขึ้นเหนือศีรษะ) หายใจเข้าช้าๆ ทำท่ารูดซิปลง หายใจออกข้าๆ



3. การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น ( Energizing Movement )
เป็นท่าที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระแสประสาท ทำให้เกิดการกระตุ้นความรู้สึกทางอารมณ์ เกิดแรงจูงใจเพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น

3.1 ใช้นิ้วชี้นวดขมับเบาๆ ทั้งสองข้างวนเป็นวงกลม

3.2 จุดตำแหน่งต่างๆ ในร่างกายที่จะกระตุ้นการทำงานของสมอง

3.2.1 ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้วางบริเวณกระดูกคอ ลูบเบาๆ อีกมือวางที่ตำแหน่งสะดือ กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้น ขึ้นเพดาน เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน
3.2.2 ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางแตะเหนือริมฝีปาก อีกมือวางที่ตำแหน่งกระดูกก้นกบ กวาดตามองจากพื้นขึ้นเพดาน หายใจเข้า-ออก
ช้าๆ ลึกๆ เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน
3.2.3 ใช้มือนวดกระดูกหลังใบหูเบาๆ อีกมือวางที่ตำแหน่งสะดือ ตามองตรงไปข้างหน้าไกลๆ จินตนาการวาดรูปวงกลม
ด้วยจมูก เปลี่ยนมือ ทำเช่นเดียวกัน
3.2.4 ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางที่ใต้คาง อีกมืออยู่ที่ตำแหน่งสะดือ หายใจเข้า-ออก ช้าๆ ลึกๆ สายตามองจากไกลเข้ามาใกล้ เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน

3.3 นวดใบหูด้านนอกเบาๆ ทั้งสองข้าง แล้วใช้มือปิดหูเบาๆ ทำช้าๆ หลายๆครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือ

3.4 ใช้มือทั้งสองเคาะที่ตำแหน่งกระดูกหน้าอก โดยสลับมือกันเคาะเบาๆ

4. ท่าบริหารร่างกายง่ายๆ ( Useful )

4.1 นั่งบนเก้าอี้ ยกเท้าขวาขึ้นพาดบนขาซ้าย มือกุมฝ่าเท้าขวา หายใจเข้า ออกช้าๆ ลึกๆ 1 นาที แล้ววางเท้าลงบนพื้นเหมือนเดิม ให้เท้า ทั้งสองข้างแตะพื้น กำมือเข้าด้วยกัน แล้วใช้ปลายลิ้นกดที่ฐานฟันล่างประมาณ 1 นาที จะเป็นท่าทีมีประสิทธิภาพสูงมาก ช่วยลด ความเครียด ความอึดอัด และความคับข้องใจ เปลี่ยนขา ทำซ้ำเช่นเดียวกัน

4.2 กำมือทั้งสองข้าง ยกขึ้นไขว้กันระดับตา ตามองมือที่อยู่ด้านนอก เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน

4.3 วางมือซ้อนกันที่ด้านหน้า หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ คว่ำมือลง หายใจออกช้าๆ แล้ววาดมือออกเป็นวงกลม วางมือ ไว้ที่เดิม

4.4 ใช้มือทั้งสองปิดตาที่ลืมอยู่เบาๆ ให้สนิท จนมองเห็นเป็นสีดำมืดสนิทสักพัก แล้วค่อยๆเอามือออก เริ่มปิดตาใหม่ ควรจะทำ ก่อนอ่านหนังสือ

4.5 ใช้นิ้วมือทั้งสองข้างเคาะเบาๆทั่วศีรษะ จากกลางศีรษะออกมา ด้านขวาและซ้ายพร้อมๆกัน







Create Date : 24 มกราคม 2551
Last Update : 24 มกราคม 2551 17:25:32 น. 3 comments
Counter : 1260 Pageviews.  

 
สสุดดยอดมากกก


โดย: อ่อน ภูดิน IP: 125.26.125.118 วันที่: 9 กรกฎาคม 2551 เวลา:12:31:57 น.  

 
หวาดดี


โดย: กวาง IP: 117.47.55.160 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:37:00 น.  

 
หนุกปะ


โดย: กวาง IP: 117.47.55.160 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:41:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

mydreamwhite
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




[Add mydreamwhite's blog to your web]