เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
10 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 
คุยเรื่องกฎหมาย ในประเทศเยอรมันนี้

อายุครบ 65 ไม่ถูกปลดเกษียณ

โดย “ ว. สุชาวดี ”

ตามกฎหมายสังคมใหม่ฉบับที่ 6 (Sozialgesetzbuch VI) ลูกจ้างที่อายุครบ 65 จะไม่ถูกนายจ้างปลดเกษียณโดยอัตโนมัติ ถ้าจะยังคงทำงานต่อไปก็ไม่ต้องยื่นคำร้องขอรับเงินเกษียณ จากสถาบันประกัน (Rentenversicherung) และไม่ได้รับเงินเกษียณ (Rente) และก็จะได้รับเงินเกษียณมากขึ้นตามจำนวนปีที่ทำงานต่อ

นายจ้างมีสิทธิปลดลูกจ้างที่ครบเกษียณอายุแล้วหรือไม่

นายจ้างไม่มีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างที่อายุครบ 65 ปีด้วยเหตุผลอายุครบเกษียณแล้วเป็นอันขาด เพราะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายสังคมฉบับที่ 6 มาตรา 41 (SGB VI)

แต่นายจ้างสามารถเขียนระบุลงในสัญญาจ้างได้ว่าเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดอายุ และสามารถให้ลูกจ้างออกได้เมื่ออายุครบ 65 ปี สัญญาแบบนี้เรียกว่าสัญญาจ้างซึ่งมีกำหนดเวลา (Befristungsgrund) แต่ทั้งนี้ตามกฎหมายการกำหนดเวลาจ้างจะต้องมีเหตุผล และเหตุผลก็จะต้องเกี่ยวกับความจำเป็นของลักษณะงาน ไม่ใช่เพราะความชราภาพของลูกจ้าง ถึงกระนั้น ในกิจการหลายแห่งมักจะมีการโต้แย้งขึ้นศาลกันบ่อย ๆ เมื่อจะเลิกจ้าง ศาลแรงงานสมาพันธรัฐจะพิจารณาเป็นประโยชน์แก่นายจ้าง ถ้าเห็นว่าลูกจ้างที่อายุครบ 65 แล้วเมื่อออกจากงานมีเงินเกษียณพอเพียงที่จะเลี้ยงชีพได้ (คำตัดสินวันที่ 6 สิงหาคม 2003 หมายเลขคคี 7 ARZ 9/03)

ในกรณีที่มีสัญญาจ้างซึ่งมีกำหนดเวลา (Befristungsgrund) แต่ลูกจ้างยังไม่อยากออกเพราะยังมีแรงทำงานอยู่และอยากจะสะสมเงินเกษียณให้มากขึ้น ศาลแรงงานก็ย่อมเห็นด้วยกับความจำเป็นนี้ แต่ถ้าจะเป็นเหตุให้นายจ้างต้องเสียหายในเรื่องการจัดระบบและแผนงานของกิจการ เนื่องจากคนเก่าไม่ยอมออกทำให้ไม่สามารถปรับสายงานใหม่ได้ ศาลแรงงานก็จะให้ต้องให้ความคุ้มครองกิจการของนายจ้างก่อน

ถ้าลูกจ้างขอลาออกก่อนครบอายุเกษียณ

ลูกจ้างที่ทำงานภายใต้สัญญาจ้างซึ่งมีกำหนดเวลาต้องการลาออกก่อนอายุเกษียณ คือระหว่างอายุ 62 หรือ 63 เพราะมีปัญหาทางสุขภาพ ลูกจ้างมีสิทธิออกได้และได้รับเงินเกษียณเต็มที่โดยไม่ถูกหัก (กฎหมายสังคม 6 มาตรา 41) แต่มี เงื่อนไขคือ ลูกจ้างจะต้องตกลงกับนายจ้างหรือได้รับการยินยอมจากนายจ้างก่อนที่จะลาออก 3 ปี (เช่น แจ้งเมื่ออายุ 60 เพื่อจะลาออกเมื่ออายุ 63) ก่อนจะออกจากงาน แต่ถ้าลูกจ้างแจ้งความจำนงเร็วกว่านั้น คือเมื่ออายุ 59 ปีเพื่อจะออกเมื่ออายุ 63 ก็จะไม่ได้รับสิทธิให้ออกก่อนอายุ 65 ปี

ถ้าไม่กำหนดเวลาเลิกจ้างในสัญญาจ้าง

ถ้าลูกจ้างทำงานภายใต้สัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลา ลูกจ้างก็สามารถทำงานไปได้เรื่อยๆจนแก่หง่อม ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างคนหนึ่งทำงานจนถึง 70 ปีแล้วก็ยังไม่ยอมออก นายจ้างพยายามจะเอาออกแต่ศาลตัดสินเข้าข้างลูกจ้าง (คำตัดสินหมายเลข AZ 3 Ca1947/05) และยังแถมตัดสินให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองในการทำงานมากกว่าลูกจ้างอายุน้อยอื่นๆด้วย

เมื่อกฎหมายเลื่อนอายุเกษียณขึ้นเป็น 67 ปี

ถ้ากฎหมายสังคมเลื่อนอายุเกษียณขึ้นเป็น 67 ปี นายจ้างควรทำอย่างไรจึงจะไม่เสียเปรียบ คำตอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงานคือ ให้นายจ้างเขียนลงในสัญญาจ้างว่า ให้ระยะการทำงานสิ้นสุดลงเมื่อครบอายุเกษียณตามที่กฎหมายกำหนด (สำหรับปัจจุบันคือ 65 และอนาคตคือ 67)

(ที่มา หนังสือ Süddeutsche Zeitung ฉบับวันที่ 25 ตุลาคม 2006)



Create Date : 10 มิถุนายน 2550
Last Update : 10 มิถุนายน 2550 19:12:42 น. 1 comments
Counter : 2118 Pageviews.

 
แม่อยู่กินกับสามีเยอรมันมา6ปีสามีแกเสียแล้วไม่ได้จดทะเบียน แต่เสียค่ารักษาจนเป็นหนี้มาก กฏหมายเยอรมันคุ้มครองแบบไหนคะและเราสามารถเรียกร้องอะไรได้มั๊
ยคะ


โดย: วิภารัตน์ IP: 1.2.141.166 วันที่: 12 ธันวาคม 2555 เวลา:11:00:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.