เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
5 เมษายน 2550
 
All Blogs
 
คำไท - คำถิ่น


codebase="//download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab
#version=6,0,29,0" width="210" height="147">



quality="high" pluginspage="//www.macromedia.com/go/getflashplayer"
type="application/x-shockwave-flash" bgcolor="#000000">






คำศัพท์แบ่งตามหมวดหมู่


พืช
ผัก
กระถิน = (ใต้ = สะตอเบา ) บางถิ่นเรียก ผักหนอง (ลำปาง เชียงราย)
กำบิด = ??
คอมค่อขาว (กอมก้อขาว) = แมงลัก (อีสาน = ผักอิตู่ )
คอมค่อดำ (กอมก้อดำ) = กะเพรา (โคราช ใช้ คอมค่อ เหมือนกัน)
จีคุก (จี๋กุ๊ก) = กะทือ, กะทือดง, ดอกข่าแดง
จีจ้อ (จี๋จ้อ) = จิงจ้อ
ชักไคร (จั๊กไค) = ตะไคร้
ดอกอาวแดง = กระเจียว
ถั่วดิน = ถั่วลิสง (เหนือ = อีสาน)
ถั่วน้อย = ถั่วลันเตา
ถั่วเน่า = ถั่วเหลือง
ทองดี (ตองดี) = ทองหลางใบมน
ทูน (ตูน) = คูน (อีสาน = คูน ใต้ = เอาะดิบ, ออกดิบ )
ผักกะพึน,กำพึน (กะปึน) = คึ่นช่าย
ผักขี้ขวง = สะเดาดิน
ผักฅาวทอง (คาวตอง) = พลูคาว
ผักแฅ = ชะพลู (อีสาน = อีเลิด )
ผักแฅบ = ผักตำลึง (ใต้ = ผักหมึง )
ผักชอยนาง (จอยนาง) = ย่านาง
ผักชี (ผักจี) = ยี่หร่า
ผักชีฝรั่ง = ผักชีฝรั่ง (อีสาน = หอมเป , ใต้ = ผักเหม็น )
ผักเซียงดา = ผัก?
ผักเต้า มะเถ้า = ชำมะเลียง (อีสาน = หวดข้าใหญ่ )
ผักปลัง (อ่าน ผักปั๋ง) = ผักปลัง ไม้เถาชนิด Basella alba Linn. ใบอวบน้ำ มียางเป็นเมือก ผลสุกสีม่วงดำ..
ผักป้อม = ผักชี
ผักปู่ย่า = ช้าเลือด
ผักเผ็ด = ผักคราด
ผักไผ่, ผักไฝ ่ = ผักกะเสิม, ผักแพว (อีสาน = ผักแผ้ว )
ผักพ่อค้าตีเมีย = ผักเฟือยนก
ผักแพม (ผักแปม) = ผัก?
ผักลิงแลว = นางแลว บางครั้งเรียก ดอกลิงแลว
ผักแว่น = ผักพรรณเพินน้ำ
ผักสาบ = เถานางนูน, เถาอีนูน (อีสาน = กระสาบ )
ผักเสี้ยว = ยอดอ่อนต้นชงโคขาว
ผักส่องแสง = โสน
ผักหนอก = บัวบก (เหนือ = อีสาน)
ผักหนอง, ผักหละหนอง, ผักหนองโป้ง = ผักกะเฉด (บางครั้งได้ยินเรียก ผักหยืดน้ำ แต่ยังไม่ได้สืบค้น)
ผักหละ = ชะอม (อีสาน = ผักขา )
ผักหม, ผักโหม = ผักขม, ผักโขม
ผักฮ้วนหมู = กระทุงหมาบ้า (ใต้ = เถาคัน )
ผักเฮือด, ผักฮี้ = ผักเลียบ
พริก = พริก (ใต้ = ดีปลี นครศรีธรรมราช, ลูกเผ็ด สุราษฏร์ธานี) พริกแต้ = พริกขี้หนู พริกน้อย = พริกไทย พริกหนุ่ม = พริกสด
พูเลย (ปูเลย) = ไพล (่คำเดิมน่าจะเป็น พลูเลย ?)
หมากเขือเครือ = ?
หมากเขือปู่ = มะอึก (อีสาน = หมากอืก )
หมากเขือมื่น = กระเจี๊ยบเขียว
หมากเขือส้ม = มะเขือเทศ (เหนือ = อีสาน)
หมากฅ้อนก้อม = มะรุม
หมากแฅว้ง = มะเขือพวง (อีสาน = หมากแค่ง )
หมากถั่วแปบ = ถั่วแปบ
หมากนอย = บวบงู
หมากแป (แป๋) = ถั่วแป
หมากแพยี (แปยี) = ถั่ว…
หมากแพหล่อ (แปหล่อ) = ถั่ว…
หมากห่อย = มะระ
หมากแฮะ = ถั่วแม่ตาย
หอมขาว,หอมเทียม (หอมเตียม) = กระเทียม
หอมด่วน = สะระแหน่ (อีสาน = ขะแยะ ) (ใต้ = แซแหน่ )
หอมบั่ว = หอมแดง (เหนือ = อีสาน)
หอมป้อม = ผักชี
หอมแป้น = กุ้ยช่าย
หอมย้าว (มักเขียนผิดเป็น เย้า) = กระเทียมที่ผึ่งให้พอแห้งหมาด ๆ ย้าว = หมาด
หัวละแอน = กระชาย (อีสาน = ?)
เห็ด
เห็ดไข่ห่าน = เห็ด (อีสาน = เห็ดละโงก )
เห็ดฅน = เห็ดโคน
เห็ดถั่วเน่า = เห็ดที่ขึ้นตามกองขยะจากต้นถั่วเหลือง ปัจจุบันเรียก เห็ดโคนน้อย
เห็ดถอบ = เห็ดเผาะ
เห็ดเฟือง = เห็ดฟาง (เหนือ = อีสาน)
เห็ดหล่ม = (อีสาน = เห็ดไคล )

ดอกไม้
ดอกกาแกด = ดอกการะเกด
ดอกกาสะลอง = ดอกปีบ
ดอกแก้ว = ดอกพิกุล
ดอกฅะยอม = ดอกพยอม
ดอกฅำปู้จู้ = ดอกดาวเรือง
ดอกจุมปา (จุ๋มป๋า) = ดอกจำปา
ดอกจุมปาลาว (จุ๋มป๋าลาว) = ดอกลั่นทม (ลีลาวดี)
ดอกช่อล่อ (จ้อล่อ) = ดอกตะแบก เรียกเต็มว่า ช่อล่อควายไห้ บานในหน้าฝนต้นฤดูทำนา
ดอกซอมภอ = ดอกหางนกยูงไทย
ดอกด้าย = ดอกหงอนไก่
ดอกตะหล้อม = ดอกบานไม่รู้โรย
ดอกบัวระวง = ดอกพุทธรักษา
ดอกป่านเถื่อน = ดอกรัก
ดอกส้ม = ดอกโศก?
ดอกสลิด = ดอกขจร
ดอกสะบันงา = ดอกกระดังงา
ดอกหอมไกล (หอมไก๋) = ดอกซ่อนกลิ่น?
ดอกใหม่ = ดอกชบา


ว่าน (หวาน) สมุนไพร
ชะฅ่าน ชักฅ่าน (จ๊ะค่าน, จั๊กค่าน) = สะค้าน
หวานเข้าใหม่ = เตย
หวานไฟไหม้ = หางจระเข้


หญ้า้
หญ้าก่อน = หญ้าเจ้าชู้
หญ้าจิยอบ = หญ้าไมยราพ
หญ้าเมืองวาย, หญ้าเม็งวาย = หญ้าสาบเสือ
หญ้าหนิ้วหมู = หญ้าแห้วหมู
หญ้าหานไก่ = ตำแย
หมาเหยือง = หมามุ่ย


ต้นไม้
เคียะี้ (เกี๊ยะ) = สน
จี้ = ต้นคนทา ไม้พุ่มใบคล้ายมะขวิด ต้นมีหนาม มักพบหมู่บ้านชื่อ ป่าจี้, เหมืองจี้
ตาว (ต๋าว) = ลูกชิด (ใต้ = ฉก , ชก )
ทึง (ตึง) = พลวง ใบกว้างนำมาห่ออาหารเรียก ตองทึง หรือถักเป็นไพสำหรับมุงหลังคา
ปวย (ป๋วย) = ตะแบก (อีสาน= เปลือย เปือย )
ศรี (สะหลี) = โพธิ์ , ศรีมหาโพธิ์
สะเลียม = สะเดา (อีสาน = กะเดา ) (ใต้ = เทียม )
สา = กระสา, ปอสา (เหนือ = อีสาน )
หมากแขว่น = กำจัด (เหนือ เคยได้ยินจากรายการโทรทัศน์เรียก 'พริกไทยหอม' ?ไม่แน่ใจ หรืออาจบัญญัติขึ้นมาใหม่)
ไฮ = ไทร
ฮี้, เฮือด =
ไผ่ - ไม้ซาง = ไผ่ซาง ไม้ซางฅำ = ไผ่สีทอง ไม้บง = ไผ่ตง ไม้ป้าง = ไม้ไผ่ข้าวหลาม ไม้รวก (ฮวก) = ไผ่รวก ไม้ไล่ = ไผ่ในวงศ์ Gramineae แตกแขนงไม่มีหนาม นิยมใช้หน่อเป็นอาหารเรียก หน่อไล่ ไม้สีสุก = ไผ่สีสุก (เขมร-ฤสฺสีสฺรุก) ไม้หก = ไม้ไผ่ชนิดหนึ่งมีขนาดลำต้นใหญ่กว่าไผ่ทั่วไป ไม้เฮี้ย = ไม้ผาก ไผ่ปล้องยาวชนิดหนึ่ง ไม่มีหนาม นิยมใช้ทำเครื่องดนตรี เช่น แคน


ผลไม้
หมาก = ใช้เรียกนำหน้าผลไม้ เป็นภาษาเก่า ภาษาพูดมักออกเสียงเป็น หมะ บะ บ่า (อีสาน = บัก ) (ใต้ = ลูก )
กล้วย กล้วยฅ้าว = กล้วยหอม กล้วยใต้ = กล้วยน้ำว้า กล้วยส้ม = กล้วยหักมุก
หมากกล้วย = ฝรั่ง บางถิ่นเรียก หมากกล้วยกา, หมากกล้วยจันทน์, หมากหมั้น (อีสาน = หมากสีดา )
หมากกล้วยเทศ (หมากก้วยเต้ด) = มะละกอ คำว่า เทศ = exotic แสดงว่าเป็นสิ่งที่มาจากต่างถิ่นแดน) (อีสาน = หมากหุ่ง )
หมากกอกแภะ = มะกอกบ้าน หรือมะกอกป่าขึ้นตามป่าแภะ ใช้บีบใส่น้ำพริก หมากกุก, หมากกอกใต้ = มะกอกฝรั่ง
หมากเกวน (เกว๋น) = ลูกหว้า
หมากเกียง (อ่าน เกี๋ยง) = ลูกหว้าชนิดหนึ่ง
หมากขนัด ,หมากเขือหนัด = สับปะรด (เหนือ = หมากขนัด , อีสาน = บักนัด ,ใต้ = ยานัด,มะลิ )
หมากขามเกิ้ม (เหนือ = หมากขามเกิ้ม , กลาง = มะขามหมู ,ใต้ = มะขามบอน , อีสาน = บักขามเหิ่ม ? )
หมากเขือเครือ = ?
หมากค้อ (ก๊อ) = ทับทิม
หมากคับทอง (กั๊บตอง) = พลับ ต้นไม้คล้ายตะโก ผลดิบมียางฝาดเมื่อสุกกินได้
หมากฅอแลน = ผลไม้พื้นเมืองคล้ายลิ้นจี่แต่มีขนาดเล็กกว่า (อีสาน = หมากฅอแลน, หมากแงว )
หมากชมพ ู (จมปู) = ชมพู่
หมากโชก (โจ้ก) = มะ ? หมากโชกขี้ไกล หมากไฟขี้ใกล้
หมากตากบ = ตะขบ (เหนือ = อีสาน)
หมากตาเสือ = ลูกยอ (เหนือ = อีสาน)
หมากตืน (อ่าน = หมากตื๋น) = กะท้อน บางท้องที่เรียก หมากต้อง
หมากเต้า = แตงโม (อีสาน = หมากโม )
หมากแตงลาย = แตงไทย
หมากทัน (หมากตัน) = พุดซา (เหนือ = อีสาน)
หมากนะ = ลูกสมอ
หมากปราง (อ่าน ผาง) = มะปราง
หมากพ้าว (อ่าน ป๊าว) = มะพร้าว
หมากฟักแก้ว = ฟักทอง (อีสาน = หมากอึ๋ )
หมากฟักหม่น = ฟักเขียว (อีสาน = หมากฟัก )
หมากลิ้นไม้้ = เพกา มักเรียกเพี้ยนเป็น หมากลิดไม ้ (อีสาน = หมากลิ้นไม้, หมากลิ้นฟ้า )
หมากหน้อยแหน้, หน้อแหน้, น้อยแหน้ = น้อยหน่า (อีสาน = หมากเขียบ )
หมากหนุน = ขนุน (อีสาน = หมากม ี่ )
หมากเหนียงแร้ง , หมากเอิ๋งเทิง = น้อยโหน่ง


สัตว์
หอย หอยละแง็บ = หอยกาบชนิดหนึ่ง หอยเหล็กจาร = หอยที่มีรูปร่างยาวคล้ายเจดีย์


แมลง, แมง
กว่าง = ด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง นิยมนำตัวผู้มาชนกันเป็นการกีฬา กว่างกิ = กว่างตัวผู้ขนาดย่อม กว่างซาง = ด้วงกว่างชนิดห้าเขา เกิดในไผ่ซาง กว่างแซม = กว่างตัวผู้ขนาดกลางปีกออกสีแดง กว่างโซ้ง = กว่างตัวผู้ขนาดใหญ่ เขาโง้ง กว่างแม่อู้ด, กว่างอี่หลุ้ม = กวางตัวเมีย ตัวค่อนข้างเล็ก ไม่มีเขา กว่างรัก (ฮัก) = ตัวผู้ที่มีปีกสีดำเข้มเป็นมันเหมือนลงด้วยรัก
กะบี้, กำบี้ = แมลงปอ (เหนือ = อีสาน, ใต้ = แมงบี้ )
กะเบื้อ กะเบ้อ กำเบ้อ = ผีเสื้อ (อีสาน = กะเบื้อ แมงกาบเบื้อ )
จักกุ = ตั๊กแตนตำข้าว
จัักขาบ = ตะขาบ (อีสาน = ขี้ขาบ )
จัักเข็บ = ตะเข็บ (อีสาน = ขี้เข็บ )
จักจั่น = จักจั่น
จักแตน (จั๊กแต๋น) = ตั๊กแตน
จิิกุ่ง, ขี้กุ่ง = จิ้งหรีดชนิดหนึ่ง จิ้งโกร่ง (อีสาน = จิโป่ม)
จิหีด = จิ้งหรีด
จิหลอบ = แมงขี้ควาย
มดส้ม = มดแดง
แมงกะพุ้ง, กำพุ้ง (กะปุ๊ง, ก๋ำปุ๊.) = แมงมุม
แมงขี้เบ้า,แมงบะขี้เบ้า = แมงกุดจี่ขี้ควาย
แมงขี้เยี่ยว = แมลงเหนี่ยง
แมงคอม (แมงกอม) = แมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง
แมงแคง (แมงแกง)= มวนชนิดหนึ่งมีกลิ่นเหม็นจัด
แมงฅอลั่น = แมลงดีดขัน
แมงงอด = แมงป่อง (อีสาน)
แมงงุน, แมงงน = แมลงวัน
แมงชอน (แมงจอน) = แมงกระชอน
แมงบ้ง = ตัวบุ้ง
แมงใบ้ = หมาร่า
แมงพู่ (ปู้) = แมลงภู่
แมงภิ้ง, แมงหมี่ = แมลงหวี่ (อีสาน = แมงหมี่ ใต้ = แมงโลม )
แมงมัน = มดชนิดหนึ่ง นิยมใช้เป็นอาหาร บินออกจากรังใต้ดินเพื่อผสมพันธุ์ต้นฤดูฝน
แมงไย,แมงจั่น = เรไร
แมงว้าง = แม่ม่ายลองใน
แมงเวา = แมงป่องช้าง
แมงแสนตีน = กิ้งกือ
แมงแส็บ = แมงสาบที่มีปีกบินได้
อี่เหนี้ยว = ตัวอ่อนแมลงปอ อาศัยอยู่ในน้ำ มักช้อนมาทำอาหาร



แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล 77.180.24.134

--------------------------------------------------------------------------------
" ชั่วชีวิตคนเรา พบคนมากหน้าหลายตา….แต่อาจมีเพียงหนึ่ง
หรือสองคนที่จะประทับไว้ในใจเราตลอดเวลา…."


ดวงตะวันของใจ
มัธยมศึกษา

กระทู้: 60


มนุษย์มีดีที่ใจสูงเปรียบนกยุงมีดีที่แววขน


Re: คำไท - คำถิ่น
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 03, 2007, 14:38:06 » อ้างถึง แก้ไข ลบทิ้ง

--------------------------------------------------------------------------------
ปลา (อ่าน ป๋า)
ปลาก่อ = ปลาชะโด
ปลากับ = ปลากระป๋อง
ปลาแกด = ปลาแขยง
ปลาแกดขี้หมู = ปลากดหิน
ปลาขาว = กลุ่มปลาตะเพียน (อีสาน = ปลาปาก )
ปลาขาวปก = ปลาแก้มช้ำ? (ใต้ = ปลาปก )
ปลาคัง (ป๋ากัง) = ปลากดคัง
ปลาเฅีียง = ปลาหลด
ปลาแฅ่ = ปลาแค้
ปลาชอน (ป๋าจอน) = ปลาช่อนทราย
ปลาดุกกิโล = ปลาดุกอุย (ใต้ = ปลาดุกเนื้ออ่อน )
ปลาดุกด้อง = ปลาดุกด้าน (ใต้ = ปลาดุกด้าง )
ปลาแดง = ปลาเนื้ออ่อน (อีสาน = ปลานาง ใต้ = ปลาโอน )
ปลาตอง = ปลากราย (เหนือ = อีสาน ใต้ = ปลาดหลาด )
ปลาเทาะ (ป๋าเต๊าะ) = ปลาเทโพ
ปลาบ้วง = ปลาเค็มตากแห้ง
ปลาปีกแดง = ปลาตะเพียนชนิดหนึ่ง
ปลาฝา = ตะพาบน้ำ (เหนือ = อีสาน)
ปลาเภี้ย = ปลากา (อีสาน = ปลาอีตู๋)
ปลาไม = ปลากระเบน
ปลาส้ม = ปลาหมักเกลือ กระเทียม ข้าวสุก ดินประสิว
ปลาสะเด็ด = ปลาหมอ (อีสาน = ปลาเข็ง )
ปลาสะพาก (ป๋าสะป้าก) = ปลาตะพาก
ปลาสะลาก = ปลากระดี่นาง (ใต้ ปลาเด = ปลากระดี่)
ปลาสะวาด = ปลาสังกะวาด
ปลาสะวาย = ปลาสวาย
ปลาสิก = ปลากระสูบ
ปลาหลาด = ปลากระทิง?
ปลาหลิม = ปลาช่อน (อีสาน = ปลาข่อ )
ปลาเหยี่ยน = ปลาไหล (อีสาน = เอี่ยน )
ปลาแห้ง = ปลาย่าง, ปลารมควัน
ปลาแหล็ด = ปลา?
ปลาเอิน = ปลายี่สก(อีสาน)
ปลาแอ็บ (ป๋าแอ๋บ) = งบปลา (คล้ายห่อหมก)


สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
อี่ฮวก = ลูกอ๊อด
ฅันฅาก, ฅางฅาก = คางคก (อีสาน = ขี้คันคาก )
อึ่ง = อึ่งอ่าง
เขียดตะพาบ (เขียดตะป้าบ) = ปาด


สัตว์เลื้อยคลาน
งูจอง (งูจ๋อง) = งูจงอาง
งูชืน (งูจืน) = งูดิน
งูสา = (อีสาน-ชื่อเรียกงูหลายชนิดในหลายวงศ์เช่น สาเหลือง = งูลายสอบ้าน สาขาว = งูทับสมิงคลา สาคอแดง = งูลายสาบคอแดง)
งูเห่าพาก (งูเห่าป้าก) = งูเห่าชนิดหนึ่ง เมื่อชูคอแผ่แม่เบี้ยมีลักษณะคล้าย พาก คือจวักตักแกง
จักก่า = กิ้งก่า (อีสาน = กะปอม ใต้ = ผึ้งก่า )
จักกิ้ม = จิ้งจก (อีสาน = ขี้เจี้ยม,ขี้เกี้ยม ใต้ = ตีนจก )
จักเข้ = จระเข้
จักโท, ทกโท (จักโต,ต๊กโต) = ตุ๊กแก (อีสาน = กับแก้ )
แลน = ตะกวด



นก
กาแก (ก๋าแก๋) = พิราบ
ตุ่งทุง (ตุ่งตุง)= กระทุง
เขียน = กระเรียน
กวิด, ปิดจะลิว = ปรอด,กรอดหัวโขน (ใต้ = กรงหัวจุก )
จีแช็บ (จี๋แจ๊บ) = นกกางเขน
แล = นกแก้ว
แหลว = เหยี่ยว (เหนือ = อีสาน) (ใต้ = หยิว )
ฮุ้ง = เหยี่ยวรุ้ง (เหนือ = อีสาน) (ใต้ = หยิวรุ้ง )



สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
จ่อน = พังพอน (อีสาน = จอนฟอน )
บ้วน = ตัวนาก
รุ้งฅาว (ฮุ้งคาว) = ค้างคาว
หมา หมาโก้ง = สุนัขลายด่างโต ๆ หมาตาสี่ = สุนัขที่มีขนเป็นดวงขาว ๆ เหนือตาทั้งสองข้าง หมาตีนเท้า (หมาตี๋นเต๊า)= สุนัขที่มีขนสีขาวที่ปลายเท้าทั้งสี่ หมายุย = สุนัขขนปุย หมาเลน = สุนัขลายเสือ หมาเขียว = สุนัขขนสีน้ำตาลเหลื่อมดำ หมาแดง = สุนัขขนสีน้ำตาลแดง
อี่กุด, อี่ฮุย = ชะนี
อี่คิ้น (อี่กิ๊น) = กระแต
อี่วอก, วอก = ลิง
อี่ไหน่ =
อี่ฮอก, ฮอก = กระรอก





Create Date : 05 เมษายน 2550
Last Update : 27 พฤษภาคม 2550 18:04:57 น. 5 comments
Counter : 7741 Pageviews.

 
เทียบคำไทถิ่น เรียงลำดับอักษร
ไทเหนือ (เหนือ) = ไทกลาง (กลาง) = ไทอีสาน (อีสาน) = ไทใต้ (ใต้)




กก (ก๋ก)= สับ มีดกกชิ้น (มีดก๋กจิ๊น) = มีดสับเนื้อ (อีสาน กก = โคน, ต้น, เค้า ลูกกก = ลูกคนแรก, กกขา = โคนขา )
กง (ก๋ง)= หนังสะติ๊ก แต่เดิม หมายถึง คันกระสุนรูปร่างคล้ายธนู กงเข้าเย็น = กงที่ใช้ลูกกระสุนทำด้วยก้อนข้าวเหนียวตากแห้ง (ใต้ = ปางนู เข้าใจว่าจะมาจากคำว่า ธนู ปาง = ง่ามไม้ กระสุน เรียกว่า ลูกนู )
ก้นทู (ก้นตู) = ส่วนท้ายของอาคาร ส่วนที่อยู่ลึกที่สุด, ก้นครัว
กล่าวต้าน = พูดจา สนทนา (เหนือ = อีสาน มีเฉพาะภาษาเก่า)
กวย (ก๋วย)= กระบุง กวยสลาก = กระบุงหรือตะกร้าบรรจุด้วยเครื่องถวายทานสลากภัตต์
ก่อ = ลงท้ายคำถามมีความหมายเท่ากับ ไหม เช่น จะไปทวยก่อ? = จะไปด้วยไหม? ลำก่อ? = อร่อยไหม?
ก็อก (ก๋อก) = จอก, ขัน
ก้อม = ท่อนสั้น ๆ ปืนก้อม = ปืนสั้น,ปืนพก นิทานก้อม = นิทานสั้น ๆ จดหมายก้อม = โน้ตส่งข้อความสั้น ๆ ใจก้อม = ขี้หงุดหงิด โมโหร้าย
ก่ะ, ก่า = ลงท้ายประโยค มีความหมาย = สิ เช่น อย่างอี้ก่า = อย่างนี้สิ ไปก่ะ = ไปสิ
กะง็อก = พยัก, ผงก เช่น กะง็อกหัว กะง็อกหน้า
กะโงะกะโง่น = พะเนินเทินทึก เป็นภูเขาเลากา
กะหลก = เกราะสำหรับตีบอกเหตุหรือเรียกประชุม (อีสาน = กะลอ )
กะหลิ้ง = รักแร้
กั้ง = ปิด บัง ผ้ากั้ง = ผ้าม่าน
กัด = ด้าน (เช่น สายนวนกัด = สายชนวนด้าน)
กัด = หนาว เย็นจัด (ไทใหญ่)
กับ = กล่อง, กลัก กับข้าว = กล่องข้าวกลางวันแบบของเด็กนักเรียน กับไฟ = กลักไม้ขีด บางพื้นที่เรียก แพม (อ่าน แปม) เช่น ทางลำปาง ปลากับ = ปลากระป๋อง
กาด = ตลาด มักใช้คู่กับ ลี (ตลาด = คำเก่า) เช่น ไปกาดไปลี
กาย (ก๋าย) = กราย เฉียดผ่าน
กาละสับ (ก๋าละสับ) = ระนาด
กาโปก (ก๋าโปก) = กาบไผ่ มักนำมาใช้ทำ ถืม หรือ แผงกั้นหรือฝากระท่อม
กำกิน (ก๋ำกิน) = การควบคุมงดอาหารบางประเภทเพื่อระมัดระวังไม่ให้แสลงโรค
กำพอ (ก๋ำปอ) = พอดี พอเหมาะ (รสชาติ)กำลังดี
กิ = สั้น เล็กและสั้น เช่น กว่างก ิ = กว่างเขาสั้น (เหนือ = อีสาน กิ,จิ )
กีด = แคบ คองกีด = ซอยกีด ห้องกีด = ห้องแคบ
กุด = ด้วน (อีสาน = ร่องน้ำเก่าที่เกิดจากการเปลี่ยนเส้นทางเดินของแม่น้ำ หรือ oxbow lake)
กุบ = หมวก, งอบ
กู่ = เจดีย์ สถูปที่เก็บอัฐิ
เกิ้ง = บัง ป้อง (เหนือ = อีสาน)
เกิบ, เกือบ = เกือก รองเท้า (เหนือ = อีสาน)
เกิ้ม = คราบหมู หมากขามเกิ้ม = คือมะขามที่กำลังจะสุกอยู่ระหว่างดิบกับเปียก ไทกลางเรียก มะขามคราบหมู
แก่, แก่บ้าน = ผู้ใหญ่บ้าน (บางครั้งเรียก พ่อหลวง )
แก้มบ่อง = ลักยิ้ม
แกนครก (แก๋นคก) = สากกระเบือ
แกว (แก๋ว) = ญวน, ชนชาติเวียตนาม
แก่ว = ลูกเต๋า มักเรียก บะแก่ว
แก้วมาลูน = คนมาทีหลังแต่ชุบมือเปิบ แก้ว ฅำ ฯลฯ เป็นชื่อสามัญทั่วไป มาลูน = มาทีหลัง แก้วมาลูนจึงเป็นชื่อสมมุติของใครก็ได้ซึ่งอาจจะมาแต่งงานกับคู่สมรสหลังจากที่ฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตไปก่อน นายหรือนางแก้ว ผู้มาทีหลังจึงได้ครอบครองเสวยสุขจากทรัพย์สมบัติน้ำพักน้ำแรงไปอย่างสบายโดยไม่ต้องลงทุนเหนื่อยยาก
เกี้ยว = อ้อม
ไก่- ไก่เขื่อง = ไก่รุ่น ไก่ชง (ไก่จง) = ไก่อู



ขวดพัน (ขวดปัน) = ขวดขนาด ๑,๐๐๐ ซีซี. ขวดห้าฮ้อย = ขวดขนาด ๕๐๐ ซีซี.
ขวากซุย = เฝือกที่ใช้ดามแขนขาที่หัก
ขอชก (ขอจ๊ก) = จอบ เรียกอีกอย่างว่า ขอบก
ขอชาง (ขอจาง) = คราด
ข้อย = ข้าน้อย ฉัน (สรรพนาม บุรุษที่ ๑) (ไทยอง) = (อีสาน)
ขอย = อิจฉา (ใต้ = หึงสา)
ขัด = ล้า,เคล็ด เช่น ขัดแขน,ขัดขา = อาการล้าหรือเคล็ดที่แขนหรือขา ร่องรอยในภาษากลางคือ ขัดยอก
ขัว = สะพาน (เหนือ = อีสาน)
ข่าง = ระบาย เปิดทางน้ำออก
ขาง = หวง, หึงหวง
ขาโด๊ะ,แฅ่งโด๊ะ = ขาเสีย,ขากระเผลก (เหนือ = ใต้) บางครั้งใช้ แฅ่งโฅะ
ขาบ = กบดาน, นิ่งเงียบไม่กระโตกกระตาก
ข้าเสิก = ข้าศึก (เหนือ = อีสาน) ในภาษาล้านนามักจะออกเสียง"อึ" เป็นเสียง"เออะ" เช่น ลึก = เลิ๋ก , ดึก = เดิ๋ก , ศึก = เสิ๋ก , ซึ่ง = เซิ่ง , ขึง = เขิง , พึงใจ = เพิงใจ , รำพึง = ร่ำเพิง ปรึกษา = เปิ๋กษา เป็นต้น แต่บางคำก็ออกเป็นเสียงสระ อิ เช่น จึ่ง = จิ่ง , คะนึง = ฅะนิง
ขำ = ติดคาอยู่ รถขำ = รถติด(หล่ม) ชิ้นขำเขี้ยว = เนื้อติดฟัน ขำเหล้า, เมาขำ = เมาค้าง
ขิ่ว = ฉุน ขิ่วแค็ก (ขิ่วแก๊ก) = กลิ่นฉุนจัด, คนเค็ม (อีสาน = ขิว )
ขี้- ขี้กราก (อ่าน = ขี้ขาก) = กรากเกลื้อน ขี้ข้าง = สีข้าง ขี้ขุ้น = ตะกอนที่แขวนลอยในน้ำ ขี้แข้น = ท้องผูก ขี้ฅอก = ขี้คุก ขี้ฅู่ = โรคหืดหอบ ขี้ฅู้ = ไส้เดือนชนิดหนึ่งสีคล้ำ ตัวเหนียว มักใช้ทำเหยื่อตกปลา ขี้ชะ (ขี้จ๊ะ) = น่ารังเกียจ น่าขยะแขยง (อีสาน = ขี้เดียด) ขี้ชิ (ขี้จิ๊) = ขี้เหนียว ตระหนี่ ขี้ซ่อ = ขี้ขลาด น่าจะมาจากคำ ขี้ฉ้อ และความหมายเพี้ยนไปจากเดิม ขี้ซาก = เหลือเดน ขี้เดียม = ขี้จั๊กจี้
ขี้ตะแหล้ = ไส้เดือนฝอยชนิดหนึ่ง ขี้ตืก = ตัวตืด ขี้เปลี้ย = ขี้โรค ขี้เปอะ = โคลน ขี้แร้ (ขี้แฮ้) = ขี้เต่า ขี้ลักขี้จก = ขี้ขโมย,มือไว ขี้ลักแหมะ = เล่นซ่อนหา ขี้เล่า = ชอบนินทา ขี้หม่า = น้ำครำใต้ถุนบ้าน (อาจจะเกิดจากการเทน้ำหม่าข้าวทิ้งลงไป หม่า คือ การแช่ข้าวเหนียวในน้ำประมาณ ๑ คืนให้อ่อนตัวก่อนนึ่ง) ขี้หย้องหมองแซ = กระจอกงอกง่อย ไม่สมประกอบ ขี้โรค ขี้หลึ้ม = (มีด)ขี้ทื่อ ขี้เหมี้ยง = สนิมเหล็ก (เหนือ = อีสาน) ขี้เฮอะ = ของเหลือเดน, (อีสาน = สวะที่ลอยตามน้ำหรือติดค้างตามต้นไม้ ) ขี้ตังนี (ขี้ตั๋งนี) = ชันโรง
ขึด = เสนียดจัญไร อัปมงคล (อีสาน = คะลำ )
ขุ้น = ขุ่น
เข = บังคับ, เคี่ยวเข็ญ
เข็ด = มีความหมายคล้าย ๆ งืด เช่น ก็เข็ดเหมือนกัน = ก็แปลกเหมือนกัน
เข้า = ข้าว (เหนือ = อีสาน) เข้าก่ำ = ข้าวเหนียวดำ (เหนือ = อีสาน) เข้าฅวบ = ข้าวเกรียบว่าว เข้าแฅบ = ข้าวเกรียบ เข้าแตน (เข้าแต๋น) = ขนมนางเล็ด เข้าป้าง, เข้าสาลี (เชียงใหม่) = เข้าโพด (น่าน = ออกเสียง เข้าโป้ด )(ใต้ = คง ) เข้าหนม = ขนม (เหนือ = อีสาน) เข้าหนมจ็อก (จ๋อก) = ขนมเทียน เข้าหนมเส้น = ขนมจีน (อีสาน = เข้าปุ้น ) เข้าหนึ้ง = ข้าวเหนียวนึ่งสุก เข้าหม่า = ข้าวเหนียวแช่น้ำหมักไว้เพื่อให้อ่อนตัวก่อนนึ่ง (เหนือ = อีสาน) เข้าหวาน = ข้าวหมาก เข้าเหม้า = ข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่ เกี่ยวมาคั่วให้สุก ตำเอาเปลือกออก เป็นขนม (เหนือ = อีสาน)
เขาะ = ขอด, ขูด บางครั้งใช้ร่วมกัน มีเงินเหลือเท่าใดก็เขาะขอดไปเสี้ยง, แมวเขาะหมากพ้าว = กระต่ายขูดมะพร้าว
เขิง = ขึง เช่น เขิงผ้าหม้าน = ขึงผ้าม่าน เขิงขังเนิงนัง = วุ่นวายกันอยู่ครึ่ง ๆ กลางๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อ
เขี้ยว = ฟัน (อีสาน = แข้ว ) เขี้ยวเค้า = ฟัน? เขี้ยวงา = เขี้ยวแหลมสำหรับฉีกอยู่ระหว่างฟันหน้ากับกราม เขี้ยวซาว = ฟันกรามที่ขึ้นตอนอายุยี่สิบ เขี้ยวเป็นแมง = ฟันผุ เขี้ยวพอแง่ม (เขี้ยวปอแง่ม)= ฟันสึกเป็นแง่ง (สำนวน) โชกโชน ผ่านประสบการณ์มามาก เขี้ยวเว่า = ฟันหลอ 'เขี้ยวเว่าเป่าไฟดับ ลักกินตับเพิ่นเสี้ยงทึงหม้อ' เขี้ยวสุ่น = ฟันที่ขึ้นเบียดกัน เขี้ยวหมา = ฟัน? เขี้ยวหล่อน = ฟันหลุด, ฟันร่วง เขี้ยวแหง้ง = ฟันที่กร่อนเป็นแง่ง
เขือก = เห่อ, แห่ทำตามกัน
แข่ = แต่เดิมใช้เรียก ชนเผ่าที่มีเชื้อสายจีนจากยูนนาน เช่น แข่แม้ว แข่เย้า แข่ลีซอ
แขบ = ขลิบ(เหนือ = อีสาน) แขบฅำ = ขลิบทอง (เป็นคำด่าคล้าย ดอกทอง)
แข็บ = รองเท้าแตะ , กับดัก เช่น แข็บหนู
โข่ = พงรก ป่ารกชัฎ ป่าโข่ป่าเหล่า = ป่าพงรกเรื้อ



ค้น, โค้น (ก๊น, โก๊น) = ซ้น ,แพลง เช่น ตีนค้น = เท้าซ้น,เท้าแพลง แขนค้น = แขนซ้น
ครัวทาน (คัวตาน) = เครื่องไทยทาน
คราบ (คาบ) = มื้ออาหาร ร่องรอยในไทกลาง 'กินให้อิ่มเต็มคราบ' คราบเช้า, คราบงาย = มื้อเช้า คราบทอน (คาบตอน) = มื้อกลางวัน คราบแลง = มื้อเย็น
คลั่ง (กั้ง) = ละเมอ รูปคำนี้น่าจะเป็นคำควบกล้ำ อาศัยการออกเสียง คลอง => กอง คลาน => กาน คลี่ => กี้ ? ร่องรอยในไทกลาง คือ คลุ้มคลั่ง, คลั่งไคล้ คืออาการที่มีลักษณะขาดสติ ไม่รู้สึกตัว
ควี่ (กวี้) = คลี่ บาน (เหนือ = อีสาน)
ค้อ ๑ (ก๊อ) = ทับทิม (ถ้าเป็นผลไม้เรียก หมากค้อ ถ้าเป็นหินรัตนชาติเรียก แก้วค้อ )
ค้อ ๒ (ก๊อ) = ต้นไม้จำพวกปาล์ม บางพื้นที่ใช้ใบสานมุงหลังคา ชื่อ เขาค้อ มาจากต้นไม้ชนิดนี้
คอง ๑ (กอง) = ถนนในหมู่บ้าน, ซอย,ทางเดิน โดยรูปคำน่าจะเป็น คลอง คือแนวหรือร่องรอยที่มีการเคลื่อนที่ผ่านประจำ (อีสาน = รอย รอยมือ เรียก คลองมือ , รอยตีน เรียก คลองตีน , ทางน้ำไหลเรียก คลองน้ำ สอ.๒๕๓๒) แผลงเป็น ครรลอง = แนวทางปฏิบัติ
คอง ๒ (กอง) = รอ คอยท่า (อย่างร้อนใจ) (เหนือ = อีสาน) คองหา = เฝ้ารอหา
ค้อน (ก๊อน)= เกี่ยวช้อนด้วยปลายวัสดุยาว ๆ
ค็อบแค็บ (ก๊อบแก๊บ) = เกี๊ยะ, รองเท้าไม้
คัด (กั๊ด) = คัด, จุก, แน่น เช่น คัดดัง = คัดจมูก คัดท้อง = อิ่มจนแน่น โดนเตะจนคัด = โดนเตะจนจุก
คา (กา) = ลงท้ายคำถามมีความหมายเท่ากับ หรือ จำกันบ่ได้คา? = จำกันไม่ได้หรือ? จะไว้ใจได้คา? = จะไว้ใจได้หรือ?
ค้าน (ก๊าน) = แพ้
ค่าย (ก้าย) = เบื่อหน่าย เช่น ถ้าเมินพอค่ายพอแคน = รอนานจนน่าเบื่อ
คำ ๑ (อ่าน กำ) = ความ เช่น คำคึด คำฝัน คำสีเนห์ = ความคิด ความฝัน ความเสน่หา, รู้คำ = รู้ความ,เชื่อฟัง,แสนรู้ ฟังคำ = ฟังความ, เชื่อฟัง
คำ ๒ (อ่าน กำ) = คำ เช่น คำอู้, คำปาก, คำฟู่ คำจา = คำพูด,คำเจรจา คำเข้า = คำข้าว
คำเดียว (กำเดียว) = ครู่เดียว, ประเดี๋ยว ถ้าคำเดียวเน่อ = รอประเดี๋ยวนะ
คึด (กึ๊ด) = คิด คึดบ่ลุก = คิดการไม่สำเร็จ, คึดยาก = ลำบากใจ หนักใจ (ที่จะ..) , คึดฮอด, คึดเทิงหา = คิดถึง
คืน (กืน) = (ติดลูก) ดก
คุ้น (กุ๊น) = เชื่อง, คุ้นเคย ตรงข้ามกับ แห (เหนือ = ใต้)
เค้า (อ่าน เก๊า) = ต้น แรก เค้า เช่น เค้าไม้ (อีสาน = กกไม ้) (กลาง = โคนไม ้) ลูกเค้า (เหนือ.) ลูกกก (อีสาน) ลูกคนแรก (กลาง)
เค้าแร้ (เก๊าแฮ้) = รักแร้
เคียด (เกี๊ยด) = ขึ้ง, เคียด (อีสาน = โกรธ)
แค้น (แก๊น) = สำลัก เช่น แค้นเข้า = สำลักข้าว สำนวนไทกลางว่า จะสับไม่ให้แค้นคอกา
แคน (แกน) = เสียด เช่น แคนป้าง = เสียดตรงลิ้นปี่ แคนตับ = หมั่นไส้,ไม่ถูกโรค
แคร่ (แค่) = ไต้จุดไฟ , แคร่นั่ง
ใคร่หัว = หัวเราะ (เหนือ อีสานใช้ หัว ) ใคร่หัวใส่ = หัวเราะเยาะ ใคร่หัวเหลิ๋ด ๆ ใคร่หัวแหล็ด ๆ = หัวเราะลั่น, หัวเราะร่วน
ไค่ (ไก้) = อืด,ขึ้นอืด,พอง หน้าไค่ (หน้าไก้) = หน้าบาน รากไค่ (ฮากไก้) = สำนวนประชดคล้าย"แดกให้อิ่มจนขึ้นอืด" บางทีใช้ รากเลือด คือ"แดกจนอาเจียนออกมาเป็นเลือด" ใต้ใช้ แตกเลือด





ฅนเดียว = เอง, ลำพัง เช่น ไผบ่ได้บอก มันเยียะฅนเดียว = ใครไม่ได้บอก มันทำเอง
ฅ่วน = ตะแกรงสานด้วยไม้ไผ่แขวนเหนือเตาไฟให้ควันรม ใช้เก็บข้าวของ ป้องกันมอด
ฅวัก = กระทงใส่อาหารเย็บด้วยใบตอง
ฅวัด = ควัก
ฅวี = รังควาญ เบียดเบียน
ฅอก = คุก, เรือนจำ
ฅ้อนหน้าแหว้น = ค้อนตะลุมพุก
ฅ่อม = สึกหรอ , กร่อน
ฅอเอิม = คอพอก
ฅาย = (อาหาร)เซ็ง อาหารสดประเภทยำหรือตำที่ี่ปรุงทิ้งไว้นานจนหมดรสชาติ
ฅิง = ตัว ร่างกาย ขนฅิง = ขนบนร่างกาย ฟื้นฅิง = คืนสติ รู้สึกตัว รู้ฅิง = สำนึกตัว (เหนือ = อีสาน)
ฅ่ำ = เคี่ยวเข็ญ ข่มเหง เบียดเบียน มักใช้คู่ ฅ่ำเข
ฅำ = ทองคำ ฅำผาย = ทองคำที่ถลุงแล้ว ฅำผง , ฅำผุย = ทองคำที่ยังไม่ได้ถลุ (เหนือ = อีสาน)
เฅิ้น = ตกค้าง เหลือ บ่าวเฅิ้น, สาวเฅิ้น = คนที่หาคู่ไม่ได้
เฅิบ = เก๊ ปลอม กำมะลอ ทางค์เฅิบ (ตางเคิบ)= เหรียญปลอม เพี้ยนเสียงมาจาก เคลือบ
แฅ่งโฅะ, แฅ่งโด้ (หรือขาโฅะ, ขาโด้) = ขาเสีย, ขากระเผลก, ขาเป๋ (ใต้ = แฅ่งโด๊ะ (สงขลา) ขาเฉ (นครศรีฯ)
แฅว่น = กำนัน มักเรียก พ่อแฅว่น (ป้อแคว่น) ประมาณ ๑๐๐ ปีที่แล้วเรียกตำแน่งกำนันว่า พญา ก็มี



งอง = ขอสับขนาดเล็ก, จอบเล็ก ๆ มีรูปเป็นวงเดือนใช้งานขุดตื้น ๆ เช่นขุดเห็ดถอบ งองเขาะหมากพ้าว = ส่วนใบมีดที่มีฟันเหมือนใบเลื่อยของ แมวขูดมะพร้าว (กระต่ายขูดมะพร้าว) (อีสาน = ง่อง )
ง่อน = ท้ายทอย (เหนือ = อีสาน) ง่อนง็อก,ง่อนงก = หัวทุย " ว่าหื้อเพิ่นบ่ซวามง่อนตัว " = ว่าแต่คนอื่นไม่ดูตัวเอง
งืด = พิศวง งงงวย งง มึนงง สงสัย แปลก ประหลาด อัศจรรย์ (อีสาน = งึด )
เงื่อนสะทก (สะต๊ก) = เงื่อนกระตุก
เงื่อนสับเบ็ด = เงื่อนตะกรุดเบ็ด
แง็บ, แหง็บ = งับ เช่น มีดแง็บ คือ กรรไกร มักออกเสียงเพี้ยนเป็น มีดยับ ตัวอย่างอื่น หมาแหง็บน่อง, แหง็บประตู, แหง็บขี้ข้าง



จก = ล้วง จกกระเป๋า = ล้วงกระเป๋า
จ่ม = บ่น (เหนือ = อีสาน)
จ้วย, ส้วย = เฉียง เฉ
จ่อง = ดึง รั้ง (เหนือ = อีสาน)
จ้อง = ร่ม (เหนือ = อีสาน)
จอด ๑ = จรด เช่น หัวจอดตีน วอก ๓๒ ตัวจอดแอว = มีลิง ๓๒ ตัวอยู่รอบเอว หมายถึงเป็นคนมีเล่ห์กลมากไม่ควรคบหา
จอด ๒ = บัดกรี
จ่อน = พังพอน (อีสาน = จอนฟอน )
จ่อม = หย่อนลงจำเพาะที่ จ่อมเบ็ด = ตกเบ็ด
จะค้วย (จะก๊วย) = ปาท่องโก๋ คำนี้มาจากภาษาจีน แต่เดิมทางเหนือใช้คำว่า จะก๊วย มาก่อนที่จะเรียก ปาท่องโก๋ ตามไทยกลาง ซึ่งตรงกับทางภาคใต้ที่ยังเรียกว่า อิ่วจาก้วย อยู่จนทุกวันนี้
จะได = อย่างไร, ยังไง เป็นจะได = เป็นยังไง เยียจะได? = ทำอย่างไร น่าจะมาจากคำว่า ฉันใด
จะล่าน = พล่าน, ทะยาน น้ำเดือดจะล่าน ๆ = น้ำเดือดพล่าน พุ่งจะล่าน = พุ่งพล่าน แล่นทะยาน
จะอั้น = อย่างนั้น บ่ดีเยียะจะอั้น = ไม่ควรทำอย่างนั้น
จะอี้ = อย่างนี้ จะอี้ก่ะ = อย่างนี้สิ อู้จะอี้หมายฅวามว่าจะได? = พูดอย่างนี้หมายความว่ายังไง?
จั้ง = ที่พึ่ง ที่อาศัย (เหนือ = อีสาน)
จาง (จ๋าง) = จืด ไม่มีรสชาติ จางเจิ๋ดเผิ๋ด, จางแจ็ดแผ็ด = จืดไม่ได้เรื่อง จางปากจางฅอ = อาการเบื่ออาหาร
จ่าง = กระชาก ยื้อยุด จ่างฅอ = กระชากคอ
จ่าน = ริเริ่ม , ทำท่าจะ
จ่าว = ผัดทอดด้วยน้ำมันเล็กน้อยเพื่อให้เครื่องปรุงหรือแกงที่สุกแล้วหอมขึ้น เช่น จ่าวน้ำพริกแกง จ่าวหอมเทียม ถ้าใช้น้ำมันมากทอดเรียก จืน (จื๋น)
จาว่า (จ๋าว่า) = สมมุติว่า, ติ๊ต่างว่า
จำ ๑ (จ๋ำ) = ใช้ บังคับ ฝืนใจให้ทำ เช่น จำหื้อไปเยียะการ ร่องรอยในภาษาไทยกลาง = จำใจ
จำ ๒ (จ๋ำ) = ยอตกปลา ตกจำ = ยกยอจับปลา
จิ ๑ = แตะต้อง,ถูก, สัมผัส, บ่จิบ่จี้ = ไม่แตะไม่ต้อง, ไม่ยอมเกี่ยวข้อง จิใส่กัน = ล้อให้เป็นแฟนกัน, จิโทษใส่ = ป้ายความผิดให้
จิ ๒ = จุด จิบอกถบ (บอกถ๋บ)= จุดประทัด
จิ่ม = กับ ด้วย ใกล้ ช่างซอมักจะลงท้ายบทขับของตนด้วย " จิ่มแลนอ "
จี้ = (ผึ้ง)ต่อย (อีสาน = เผิ้งตอด )
จีม (จี๋ม) = ลิ่ม
จืน (จื๋น) = ทอดด้วยน้ำมันมาก เช่นการจืนแฅบหมู
จุก (จ๋ก)= หยุด
จุนปาก (จุ๋นปาก) = ทำปากจู๋
เจ็บหัว = ปวดหัว เจ็บท้อง = ปวดหัว
เจี้ย = เรื่องเล่า นิทาน เรื่องขำขัน
เจ้า = คำลงท้ายประโยค เหมือน ค่ะ ขา
ใจฅิ่นใจฅ้อ = จิตใจคับแคบ ตระหนี่ถี่เหนียว




โดย: สาว17 วันที่: 5 เมษายน 2550 เวลา:9:10:47 น.  

 
แวะมาอ่านคำไท


โดย: Zantha วันที่: 5 เมษายน 2550 เวลา:9:42:07 น.  

 


โดย: โสมรัศมี วันที่: 5 เมษายน 2550 เวลา:9:54:01 น.  

 


โดย: เบลล์ IP: 202.143.159.2 วันที่: 7 มกราคม 2551 เวลา:12:31:04 น.  

 
D ตอนเช้า

แวะมารายงาน

ตัวนะ

ปรายริ้ว


โดย: กาลครั่งหนึ่ง IP: 125.24.242.122 วันที่: 30 ตุลาคม 2551 เวลา:10:00:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.