ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
12 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
มงคลชีวิตข้อที่ 5 - 9

มงคลข้อที่ ๕ เคยทำบุญในกาลก่อน

วิธีทำบุญมีอยู่ ๑๐ อย่างคือ

๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐชุกรรม การทำความเห็นให้ตรงฯ ชนทั้งหลายเหล่าใด แต่ชาติก่อนมีความเพียรก่อสร้างสั่งสมกองการบุญกุศลทั้งหลาย แต่กาลก่อนดังกล่าวมาย่อมให้สำเร็จสมบัติ ๓ คือ

๑. มนุษย์สมบัติ
๒. สวรรค์สมบัติ
๓. นิพพานสมบัติ

ด้วยพระศาสดาทรงตรัสไว้ว่า "บุคคลใดได้สร้างกุศลไว้ดีแล้วแต่ปางก่อน ย่อมเป็นนิสัยทางมรรคผลแห่งบุคคลนั้นได้สำเร็จดังสิ่งที่หวัง"

-----------------------------------------------------------------------------

มงคลข้อที่ ๖ ความตั้งตนไว้ชอบ

การตั้งตนไว้ในกุศลกรรมบท ๑๐ ประการ และมรรคมีองค์ ๘ ประการ

กายกรรม ๓ อย่าง
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยอาการขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม

วจีกรรม ๔ อย่าง
๑. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ
๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดส่อเสียด
๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อฯ

มโนกรรม ๓ อย่าง
๑.อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา
๒. อัพยาปาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
๓. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรมฯ

มรรคมีองค์ ๘
๑.สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ ๔ มี
๑.๑ ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
๑.๒ สมุทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์
๑.๓ นิโรธ คือ ทางดับทุกข์
๑.๔ มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ
๒.๑ ดำริที่จะออกจากกาม
๒.๒ ดำริที่จะไม่พยาบาท
๒.๓ ดำริที่จะไม่เบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔
๓.๑ มุสาวาท เวรมณี คือไม่พูดปดล่อลวงอำพรางท่านผู้อื่น
๓.๒ ปิสุณาย วาจาย เวรมณี ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้ผู้อื่นแตกร้าวจากกันด้วยความอิจฉา
๓.๓ ผรุสาย วาจาย เวรมณี ไม่กล่าวคำหยาบ ด่าชาติตระกูลผู้อื่น
๓.๔ สัมผัปปลาปา เวรมณี ไม่กล่าวคำที่หาประโยชน์มิได้ในชาตินี้ และชาติหน้า
๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือ เว้นจากการทุจริต ๓
๔.๑ ปาณาติปาตา เวรมณี ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิต ให้ตายด้วยกาย และวาจา
๔.๒ อทินนาทานา เวรมณี ไม่ลักฉ้อข้าวของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ด้วยกาย และวาจา
๔.๓ กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เป็นบุรุษไม่ร่วมประเวณีในสตรีที่มีคนหวงแหนรักษา เป็นสตรีไม่นอกใจสามีไปคบบุรุษอื่น
๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ เพียรในที่ ๔ สถาน มีดังนี้คือ
๖.๑ เพียรระวัง คือ ระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในจิตใจ
๖.๒ เพียรละ คือ ละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
๖.๓ เพียรเจริญ คือ ละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
๖.๔ เพียรรักษา คือ รักษาความดีที่ทำแล้ว ไม่ให้เสื่อมไป ให้อยู่ในจิตใจของตนตลอดไป
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบคือ ระลึกในสติปัฏฐานทั้ง ๔
สติปัฏฐาน แปลว่า การตั้งสติไว้เป็นประธานเป็นเบื้องหน้า
การตั้งมั่นแห่งสติ หรือว่าสติที่เข้าไปตั้งมั่นในอารมณ์ มี ๔ ประการคือ
๑. สติกำหนดพิจารณาว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
๒. สติกำหนดพิจารณาดูเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข เป็นอารมณ์ว่า เวทนานี้ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
๓. สติกำหนดพิจารณา ดูใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ
๔. สติกำหนดพิจารณาดูธรรมที่เป็นกุศล ที่บังเกิดขึ้นกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ ในที่นี้จะไม่ขออธิบาย
บุคคลใดตั้งตนไว้ในกุศลกรรมบท ๑๐ อย่างและ มรรค์มีองค์ ๘ เป็นมงคลอันประเสริฐ

----------------------------------------------------------------------------

มงคลข้อที่ ๗ ความได้ฟังมามาก

การฟังแล้วจะได้ประโยชน์ต้องฟังด้วยดี คือสนใจตั้งใจฟัง ฟังแล้วต้องพิจารณาใคร่ครวญตาม แล้วจึงจะเชื่อเหมือนกับมีคำวลีย่อมา ๔ คำ คือ สุ จิ ปุ ลิ

๑. สุ สุตตะ การฟัง การฟังที่ดีต้องตั้งใจฟัง ฟังแล้วอย่าพึ่งเชื่อ การไม่เชื่อ นั้นไม่ใช่ไม่เชื่อเลย ต้องคิดตามในหัวข้อที่กำลังฟัง
๒. จิ จิตตะ ใจจดจ่อ เมื่อมีใจจดจ่อในเรื่องที่เราฟังแล้ว ทำให้เกิดแง่คิดเป็นคำถามขึ้น ก็ต้องดูในหัวข้อต่อไป
๓. ปุ ปุจฉา การถาม เมื่อมีความสงสัยอันเกิดจากการขบคิดปัญหา ก็ต้องถามในคำถามที่เราสงสัยให้หายคลางแคลงในสิ่งนั้นๆ แต่เมื่อถามแล้วได้คำตอบแล้ว เพื่อกันลืมทีหลังเราก็ต้องทำในข้อต่อมาว่า
๔. ลิ ลิขิต การเขียน การเขียนในสิ่งที่เราได้คำตอบ เพื่อที่จะได้ไม่ลืมในภายหลังเมื่อถึงเวลาที่เราทบทวนในิส่งที่เราสงสัยอีก

เมื่อบุคคลใดที่ได้ฟังมาแล้ว ไม่ลืมคำว่า สุ จิ ปุ ลิ บุคคลนั้นก็จะได้ชื่อว่าเป็นพหูสูตร

----------------------------------------------------------------------------

มงคลข้อที่ ๘ ความมีศิลปะ

หมายถึง ความเข้าใจ เชี่ยวชาญ ช่ำชองในวิทยาการ ศาสนและศิลปะต่างๆ อย่างเป็นผู้รู้จริง เข้าใจได้จริง และก็ทำได้เห็นผลอย่างจริงๆ ตัวอย่างเช่น นักบวชในศาสนาพุทธ เวลาเจริญพระพุทธมนต์ ก็เจริญพระพุทธมนต์อย่างมีศิลป อักขระแต่ละตัว ก็ออกเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงกลาง เสียงเบา เพื่อให้ผู้ฟังได้ฟังแล้วมีอรรถรส ฟังแล้วซึ้งซึมเข้าไปในใจ ให้มันซึมสิงเข้าสู่ภายใน ให้มันก้องกังวานอยู่ในจิตใจ เมื่อเจริญเสร็จแล้ว ทำให้จิตใจของเราโปร่ง โล่ง เบา สบาย สงบ นั่นเป็นการเจริญพระพุทธมนต์อย่างมีศิลป อีกตัวอย่างหนึ่ง นักหัตถกรรมไม่ว่าจะเป็นช่างปั้น ช่างแกะสลัก จักสาน ถ้าสนใจใส่ใจเพียรพยายามฝึกฝนจนช่ำชองชำนาญ พร้อมกับรู้จักคิดวิธี รูปแบบ ลวดลายที่แปลกๆ ใหม่เข้าต่อสมัย และประโยชน์ในการใช้สอย แถมยังมีความสมบูรณ์ด้วยลวดลายอ่อนช้อยสวยงามเป็นที่ติดตามตรึงใจต่อผู้พบเห็น จนเป็นที่ยอมรับในผลงานนั้นๆ โดยมิได้มีข้อจำกัดที่ชาติ ตระกูล ความรู้ อายุ เพศ เช่นนี้ก็ถือได้ว่า ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศิลปะในการดำรงชีวิต ชีวิตดำรงอยู่ได้ด้วยศิลปะ สรุปก็คือไม่ว่าจะมีอาชีพใดๆ ทุกคนก็สามารถสร้างศิลปในการทำงานนั้นๆ ได้ และมันจะทำให้เราเป็นคนที่ทำงานแล้ว ไม่เบื่อ ไม่เซ็ง มันจะตรงกับคำว่า ชีวิตการงานเพื่อความเบิกบาน

----------------------------------------------------------------------------

มงคลข้อที่ ๙ ความศึกษาวินัยดี

บุคคลผู้อยู่ร่วมกับสังคม พึงศึกษารู้จักกฎเกณฑ์กติกา ระเบียบวินัย ของสังคมนั้นๆ เมื่อเข้าไปร่วมกับสังคมนั้นจะได้ไม่เก้อเขิน ไม่ประหม่า ไม่พลาดพลั้งผิดต่อกติกานั้นๆ แม้แต่จักมิได้เข้าสังคมใดๆ ตัวเราก็จำต้องมีระเบียบวินัยเอาไว้กำกับกิริยา อาการ กาย วาจา มิให้ผิดพลาด ฟุ้งซ่าน ต่อตน และคนอื่น จัดได้เป็นผู้กล้าแข็ง เชื่อมั่นในตนเอง องอาจ มั่นคง เช่นนี้จึงจักถือว่าเป็นผู้มีชีวิตเป็นสาระรักษาและวินัยดี


ที่มา :
//www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=4536625038981
//www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=4577529885172
//www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=4549131600260
//www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=4597281929849



Create Date : 12 ตุลาคม 2552
Last Update : 12 ตุลาคม 2552 14:55:07 น. 0 comments
Counter : 1324 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.