<<
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
17 มิถุนายน 2558
 

รายงานพิเศษ : แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว - ปลดล็อกปฏิรูป?

          รายงานพิเศษ:แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว-ปลดล็อกปฏิรูป?
                                                       เตือนใจ เจริญพงษ์

ช่วงนี้ผู้คนทั้งประเทศต่างสนใจและให้ความสำคัญต่อประเด็น
การแก้ร่าง รธน.และการขออยู่ต่อของบิ๊กตู่
ความเห็นต่อไปนี้ของนักวิชาการ
พิจารณาแล้วตรงไปตรงมาดี
ไม่หมกเม็ด หรือมีวาระซ่อนเร้น
ขอรวบรวมไว้เป็นกรณีศึกษา ดังนี้คะ 
รายงานพิเศษ : แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว - ปลดล็อกปฏิรูป?
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 19:59 น.



กรณีที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 
เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 
ทั้ง 7 ประเด็น นักวิชาการวิเคราะห์ ดังนี้
ยุทธพร อิสรชัย
รองอธิการบดี ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
คิด ว่าทั้ง 7 ประเด็นน่าจะเป็นลักษณะประนีประนอมทุกภาคส่วนในสังคม
 รวมไปถึงเป็นการปลดล็อกการบริหารงานของรัฐบาลด้วย 
เพราะปัญหาสำคัญที่สุดของรัฐบาลตอนนี้คือปัญหาเศรษฐกิจ 
ซึ่งคิดว่าหลังจากนี้น่าจะมีการปรับครม. 
โดยมีการเสริมทัพรัฐมนตรีเศรษฐกิจเข้ามา 
และสิ่งที่หลายคนคาดหมายคือการเอานายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 
มาเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจด้วย อย่างที่รู้กันว่านายสมคิดเป็นบุคคลหนึ่ง
ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองด้วย จึงเป็นการปลดล็อกให้การบริหารงาน
ของรัฐบาลมีความคล่องตัวขึ้น
ส่วน การเตรียมยุบสปช.เปลี่ยนเป็นสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 
มองว่าเป็นการประนีประนอมกันมากกว่า เพราะมีคนส่วนหนึ่งมองว่า
การทำงานของสปช.ยังไม่มีความเป็นรูปธรรม ตลอด 1 ปีที่ผ่านมาการปฏิรูป
ยังไม่เห็นผลที่เป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ การปฏิรูปยังไม่มีการจัดระบบที่ดีพอ 
สิ่งที่ตามมาคือไม่เกิดผล แต่แทนที่หากมีการลงมติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญแล้ว
ตั้งสปช.ใหม่ ก็เป็นการทำงานต่อในสภาขับเคลื่อนฯ สร้างความต่อเนื่อง
นงานปฏิรูป และยังเป็นการปลดล็อกหรือประนีประนอม
ด้วยการเปิดโอกาสให้กลุ่มที่เห็นต่าง ได้เข้ามาทำงานปฏิรูปด้วย
ส่วนเมื่อเปลี่ยนเป็นสภาขับ เคลื่อนฯ แล้วจะทำให้งานปฏิรูป 
เป็นรูปธรรมได้เลยหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ในขณะนี้ 
เพราะเรายังไม่เห็นว่าสภาขับเคลื่อนฯ ตั้งมาเพื่อวัตถุประสงค์อะไร 
บทบาท อำนาจหน้าที่เป็นอย่างไร เพราะการปฏิรูปต้องมีรายละเอียดมากกว่านี้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวันนี้การทำประชามติจะตอบโจทย์
คนที่ต้องการประชามติ แต่จะเกิดความพอใจเรื่องวิธีการหรือไม่ 
อีกทั้งการที่ให้การทำประชามติสามารถถามในประเด็นอื่นๆ ได้ด้วย 
มีโอกาสที่จะเป็นการเปิดช่องให้ถามเรื่องการขยายเวลาให้รัฐบาล
ทำงานต่อได้ เพราะสปช. และ สนช.สามารถส่งคำถามได้
ฝ่ายละ 1 คำถาม อาจจะใช้โอกาสนี้ในการสอบถามประเด็น
ดังกล่าวด้วยได้

สุขุม นวลสกุล
อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง
การ แก้ไขประเด็นที่เปิดทางให้ผู้เคยถูกตัดสิทธิ์ให้สามารถกลับมา
มีบทบาทในฝ่าย บริหารและนิติบัญญัติได้ เชื่อว่าจุดประสงค์หลัก
คือต้องการกลุ่มคนเหล่านี้มาเป็นรัฐมนตรี อาจเป็นการส่งสัญญาณว่า
จะมีการปรับครม.ในเร็วๆ นี้ 
เพราะกระแสที่คสช.อยากให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 
และคนอื่นๆ ที่มีความรู้ความสามารถอย่างนายพินิจ จารุสมบัติ 
ซึ่งสาเหตุอาจมาจากปัจจัยปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นหลัก
ที่ทำให้ต้องมีการปรับ ครม. ส่วนเรื่องที่ว่าเป็นการสร้างความปรองดอง
หรือความชอบธรรมในการปฏิรูปนั้นน่า จะเป็นแค่เพียงการยกเหตุผลเท่านั้น

ส่วนการตั้งสภาขับ เคลื่อนการปฏิรูปประเทศ มองได้ทั้งสองมุมว่า
มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ถ้าคนมองในแง่ดีคือคนกลุ่มเดิมกลุ่มนี้สามารถดูแล
และขับเคลื่อนการปฏิรูปต่อ ไป จะได้ไม่ทำผิดวัตถุ ประสงค์
ในการทำรัฐประหาร หรือที่เรียกว่าไม่ทำให้เสียของ 
ข้อเสียแน่นอนว่าคงไม่พ้นการถูกโจมตีว่าเป็นการสืบทอดอำนาจ 
ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกปฏิเสธมาโดยตลอดว่าจะไม่มีการสืบทอดอำนาจ 
แต่ดูจากเจตนาแล้วนี่คือช่องทางรองรับ หากเกิดอะไรขึ้นมา
ก็ยังมีตำแหน่งในสภาขับเคลื่อนฯ ไว้ทำงานต่อไป

ขณะ ที่เรื่องการกำหนดตัวกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คน 
หากร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบของสปช. 
หรือการทำประชามติ นั่นอาจเป็นเพราะเงื่อนไขของเวลา 
หากต้องมีการตั้งผู้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่จริง การใช้วิธีและรูปแบบเดิมๆ 
จะทำให้เกิดความล่าช้า แต่การใช้เพียง 21 คน 
สามารถกำหนดว่าต้องทำให้เสร็จเมื่อไหร่ รวดเร็วกว่า 
และความวุ่นวายก็น้อยกว่า

ถ้าถามว่าประเด็นใดน่าห่วงที่สุด น่าจะเป็นเรื่องทำประชามติ 
เพราะการปล่อยให้สปช. หรือ สนช. เป็นผู้เสนอประเด็นขึ้นมา
คงมีโอกาสที่จะนำไปสู่วิกฤตในอนาคต แต่ถามว่าประเด็นอย่างปฏิรูป
ก่อนเลือกตั้ง เอาเข้าจริงจะกล้าทำให้เกิดความเสี่ยงเช่นนั้นหรือไม่

เพราะการทำประชามติคือการเปิดให้มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น
แม้แต่ในกฎหมายเองยังระบุว่าก่อนทำประชามติต้องทำให้ประชาชน
เกิดความเข้าใจทุก ฝ่าย ถ้าทำประชามติภายใต้สถาน 
การณ์ที่บีบบังคับจะทำให้เกิดการยอมรับหรือไม่

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
การ แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 
และให้มีการตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 200 คน 
สะท้อนว่าการปฏิรูปประเทศที่คิดว่าสามารถทำได้คือ ความเข้าใจผิด 
เพราะมันปราศจากการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น 
ข้อเสนอลอยตัวค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท หรือการเข้าเอาคืนพื้นที่ป่าไม้ 
ก็ทำให้เสียแรงสนับสนุนไปเยอะ กลไกที่นำมาใช้ไม่รู้จักรับฟัง
ปัญหาอย่างเพียงพอ จึงต้องมีการแก้ไขโรดแม็ปให้อยู่ทำหน้าที่ต่อไป 
พยายามหาทางลงจากหลังเสือโดยไม่ให้ถูกเสือแว้งกัดคอ

ทั้ง 7 ประเด็นแก้ไขคือ กระบวนการปูทางให้มีการทำประชามติรัฐธรรมนูญ
ได้อย่างตามใจ พร้อมเปิดช่องให้สามารถนำคนที่ติดพันธะทางกฎหมาย
มาร่วมงานได้ แต่จะสัมพันธ์ต่อการยืดอายุรัฐบาลหรือไม่ 
ยังถือว่าไม่ชัดเจน แต่หากมีความฉลาดพอก็ต้องไม่อยู่ต่อ 
ด้วยการผลักดันให้มีการล่ารายชื่อ 50,000 คน เพื่อนำไปสู่การทำประชามติ 
แต่ควรหาวิธีอื่นที่ดีกว่านี้ หากมีการทำประชา มติเพื่ออยู่ต่ออีก 2 ปี
เมื่อไร จะเกิดแรงเสียดทานสูงมาก เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า
คนส่วนใหญ่กำลังอดทนรอเลือกตั้ง หากไม่มี กระแสต้านจะยิ่งกระจาย
ไปทุกหย่อมหญ้า เชื่อว่าไฟลุกแน่

ส่วน ข้อกำหนดให้ สนช. และ สปช. 
สามารถเสนอคำถามประชามติได้ 1 ข้อ 
เชื่อว่าเกิดจากการประเมินของคสช.ที่เห็นว่า มีคนหลายฝ่ายไม่พอใจ
ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังจัดทำ จึงจำเป็นต้องเปิดช่องระบาย 
หวังลดแรงเสียดทานจากทุกฝ่ายให้น้อยลง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ 
คำถามที่จะมีการเสนอจากทั้ง 2 สภาว่า
จะมีคำถาม อยู่ต่ออีก 2 ปี นิรโทษกรรม หรือ ขออภัยโทษ หรือไม่ 
หากมีถือว่าเป็นเรื่องที่น่าหวาดเสียวมาก
ทาง ครม. และ คสช. จำเป็นต้องประเมินคำถามเหล่านี้ให้ดี 
อย่าให้มีออกมาได้ มิเช่นนั้นสุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งอีกเช่นกัน/จบ
..................................................................................................................................




Create Date : 17 มิถุนายน 2558
Last Update : 19 กันยายน 2558 3:28:18 น. 0 comments
Counter : 624 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com