<<
สิงหาคม 2558
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
28 สิงหาคม 2558
 

ย้อนรอย 'วิโรจน์ นวลแข' ก่อนวันพิพากษาจำคุก18ปี

 ขออนุญาตนำข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจรายวันเรื่องนี้
มารวบรวมไว้เพื่อการศึกษาต่อไป 

//www.bangkokbiznews.com/news/detail/662783

ย้อนรอยเส้นทาง "วิโรจน์ นวลแข" ก่อนวันพิพากษาจำคุก18ปี คดีปล่อยกู้แบงก์กรุงไทย
วิโรจน์ นวลแข,กรุงไทย,ปล่อยกู้,พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

คำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเงินที่ พิพากษาให้ 
นายวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย ต้องโทษจำคุก 18 ปี 
ฐานอนุมัติสินเชื่อกว่า 8,000 ล้านบาท ให้กับบริษัทในเครือกฤษฎามหานคร 
ที่นำเงินไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว


กล่าวสำหรับ วิโรจน์ นวลแข ในวัย 68 ปี เส้นทางการทำงานของวิโรจน์ นวลแข ส่วนใหญ่จะอยู่ในแวดวงตลาดทุนเป็นหลัก เริ่มต้นทำงานฝ่ายต่างประเทศ ธ.กสิกรไทย จนก้าวนั่งเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทเงินทุนภัทรธนกิจ เมื่อปี 2525 ถือเป็นไฟแนนซ์แถวหน้าของไทย และเป็นไฟแนนซ์เพียง 3 รายที่รอดจากการถูกปิดกิจการในปี 2540

หลังจากนั้นวันที่ 9 กรกฎาคม 2544 เขาก็รับงานใหญ่อีกครั้งมานั่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารที่มีสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของไทย

วิโรจน์มาด้วยความมั่นใจว่าจะพลิกโฉมกรุงไทยให้เป็นธนาคารแถวหน้าแข่งขันกับแบงก์พาณิชย์ได้ เหมือนกับที่เขาทำให้ภัทรเป็นไฟแนนซ์ชั้นนำ

นโยบายการทำธุรกิจของธนาคารกรุงไทยในยุดวิโรจน์ที่โด่งดัง ก็คือ แคมเปญ “อัศวินม้าขาว” เขาทำนโยบายปล่อยกู้ลูกค้าที่เป็นเอ็นพีแอล เพื่อหวังช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้และมีส่วนช่วยฟื้นเศรษฐกิจ แต่กรณีของการปล่อยกู้บริษัทในเครือกฤษฎามหานครนั้น วงเงิน 8 พันล้านบาท ต้องเป็นการอนุมัติโดยบอร์ดใหญ่ที่มีกรรมการผู้จัดการกรุงไทยเป็นคนเสนอเรื่อง

สำหรับคดีดังกล่าวยื่นฟ้องในสมัยของนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2555 โดยอัยการสูงสุด ได้รวบรวมพยานหลักฐานจากสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จำนวน 150 แฟ้ม 17 ลัง ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ 1 และจำเลยอีก 4 กลุ่ม ประกอบด้วยกรรมการบริหาร , กรรมการสินเชื่อ , เจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารกรุงไทย จำกัด ( มหาชน) และกลุ่มบริษัทเอกชน ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,ความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ,ความผิด พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ,ความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และ ความผิด พ.ร.บ.บริษัท มหาชน จำกัด พ.ศ.2535  

โดยศาลฎีกาฯ ได้ประทับฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำ อม.3/2555 แต่เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 หลบหนีคดี ศาลฎีกา ฯ จึงให้ออกหมายจับ ติดตามตัว พ.ต.ท.ทักษิณ มาดำเนินคดี โดยให้จำหน่ายคดีเฉพาะส่วนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไว้เป็นการชั่วคราวก่อนจนกว่าจะได้ตัวมา ขณะที่องค์คณะ ฯ ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วน นายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย และบริษัทในเครือของบริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) กับพวกรวม 26 ราย โดยองค์คณะฯ ได้เริ่มไต่สวนพยานตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค.56 และได้ไต่สวนพยานปากสุดท้ายเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 8 ก.ค.58 รวมระยะเวลาประมาณ 1 ปี 9 เดือน ซึ่งได้ใช้เวลาไต่สวนพยานทั้ง 2 ฝ่าย รวม 32 นัด ขณะที่คดีดังกล่าวฝ่ายอัยการ ยื่นบัญชีพยานไต่สวน 22 ปาก ส่วนจำเลยที่ 2-27 เตรียมพยานไต่สวนรวม 32 ปาก ซึ่งจะเป็นตัวจำเลย 19 ปาก รวมพยานโจทก์-จำเลยที่จะไต่สวนคดีนี้ทั้งสิ้น 54 ปาก  

สำหรับพฤติการณ์คดีนี้ ได้เริ่มทำสำนวนตั้งแต่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และเมื่อ คตส.หมดวาระก็ได้โอนเรื่องส่งให้ ป.ป.ช.พิจารณาต่อ และได้ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.2551 ซึ่งคดีนี้ตามสำนวนได้มีการกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวกร่วมกันกระทำความผิด กรณีธนาคารกรุงไทยฯ อนุมัติสินเชื่อจำนวนมากโดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของรัฐ โดยข้อเท็จจริงพบว่า ผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้สินเชื่อกลุ่ม บมจ.กฤษดามหานคร ที่มีสถานะอยู่ในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคาร เนื่องจาก ผอ.ฝ่ายกลั่นกรองสินเชื่อธุรกิจนครหลวง เคยจัดอันดับความเสี่ยงของกลุ่มกฤษดามหานครในอันดับ 5 คือไม่สามารถอนุมัติสินเชื่อให้ได้  

ต่อมามีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีเงื่อนไขระบุว่า บมจ.กฤษดามหานครฯ ไม่สามารถที่จะขอสินเชื่อได้อีก เนื่องจากมียอดขาดทุนสะสมสูง คือมียอดสะสมสูงมาก แต่ได้มีการอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทในกลุ่มกฤษดามหานคร 3 กรณี คือ 1. การอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทอาร์เค โปรเฟสชั่นนัล จำกัด จำนวนเงิน 500ล้านบาท 2. การอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด วงเงิน 9,900 ล้านบาท (วงเงินไฟแนนซ์ 8,000 ล้านบาท วงเงินซื้อที่ดินเพิ่ม 500 ล้านบาท และวงเงินพัฒนาโครงการ1,400 ล้านบาท) และ 3. การอนุมัติขายหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพของ บมจ.กฤษดามหานคร ให้กับบริษัท แกรนด์ คอมพิวเตอร์คอมมูนิเคชั่น จำกัด จำนวนเงิน 1,185,735,380 บาท ถือว่าผู้เกี่ยวข้องมีพฤติการณ์ ร่วมกันหรือสนับสนุนการกระทำความผิดกรณีธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ เป็นการกระทำโดยทุจริต เพื่อฟื้นฟูกิจการของ บมจ.กฤษดามหานคร ประโยชน์ส่วนตนกับพวก โดยบริษัทเอกชนผู้ขอกู้ 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท อาร์เค โปรเฟสชั่นนัล จำกัด,บริษัท โกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเตรียล พาร์จ จำกัด และ บริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากบริษัทเอกชนดังกล่าว/จบ

..................................................................................................................................




Create Date : 28 สิงหาคม 2558
Last Update : 19 กันยายน 2558 20:48:36 น. 0 comments
Counter : 484 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com