<<
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
16 มิถุนายน 2558
 

สังคมชนชั้น.

                                                  สังคมชนชั้น...........

                                                             เตือนใจ เจริญพงษ์

เรื่องนี้ไปๆมาๆเหมือนผงเข้าตา

ถือเป็นงานเขียนชั้นครูที่น่าศึกษามาก

จาก คอลัมน์ ธรรมนัว/มติชนรายวัน 14 มิ.ย.2558

ชื่อเรื่องว่า...ศีลธรรมแห่งการเหยียด โดย วิจักขณ์ พานิช ดังนี้

 สี่ห้าปีที่แล้ว เวลาได้ยินคำว่า"สงครามชนชั้น"

ผมจะรู้สึกว่ามันเป็นคำที่เชยมาก 

จำได้เลยครับว่าแกนนำเสื้อแดงชอบยกคำนี้ขึ้นมาปราศรัย

บนเวทีอยู่บ่อยๆ พูดทีไรเรียกเสียงเฮ ปลุกใจคนที่มาร่วมชุมนุม

ให้ฮึกเหิม มีเป้าหมายร่วมในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

ได้อย่างทรงพลัง

สาเหตุที่ไม่เคยมองภาพความขัดแย้งทางการเมือง

เป็นสงครามชนชั้น เพราะส่วนตัวผมไม่เคยมอง

...ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย 

หรือแม้แต่แกนนำเสื้อแดงในฐานะตัวแทนของชนชั้นผู้ถูกกดขี่จริงๆ 

เวลาผ่านไป ยิ่งเห็นชัดว่ามองไม่ผิดครับ 

โดยเฉพาะกรณีการพยายามผ่าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย

อย่างค้านทุกสายตา เมื่อใดก็ตามที่ได้ยินคนกลุ่มนี้พูดถึงคำ

ว่า "สงครามชนชั้น" ผมจึงมองมันเป็นแค่วาทกรรม

ที่ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของกลุ่มตนเสียมากกว่า 

กระทั่งเกิดม็อบมวลมหาประชาชน มาจนถึงรัฐประหารปี57 

ดีกรีของ discrimination (การแบ่งแยก) 

ในสังคมไทยเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ 

รัฐประหารครั้งนี้ทำให้วัฒนธรรมการกดขี่ช่วงชั้น

ที่ฝังรากลึกเผยชัดขึ้นจนบาดตา แสดงออกอยู่ในคำพูด 

การกระทำ ความคิด และความเพิกเฉย

ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ของคนที่มีหน้ามีตา มีการศึกษา มีอำนาจ 

และมีสถานะทางสังคมจำนวนมาก

เริ่มต้นด้วยขบวนการดิสเครดิต

.... ระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้งว่าใช้การไม่ได้ 

เพราะชาวบ้าน "โง่" "รับเงิน" "ซื้อเสียง" หรือ "ถูกจ้างมา"

อย่างข้อความในเพจ กปปส.ที่โพสต์ไว้เมื่อปลายปี 2555 

ที่ว่า 

"สหรัฐในอดีตไม่ให้ผู้หญิงและคนผิวดำมีสิทธิเลือกตั้ง 

เพราะคนเหล่านี้ไม่มีความรู้เพียงพอที่จะเลือก 

และถูกซื้อเสียงได้ในราคาเพียงห้าดอลลาร์ 

ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่สุด 

ก็ยังเคยมีการจำกัดคนมีสิทธิเลือกตั้ง 

มีการลองผิดลองถูกเพื่อให้ได้นักการเมืองที่ดีที่สุด 

ลองเปรียบเทียบกับการเมืองไทยเอง ก็แล้วกัน"


แทบไม่ต่างจากที่พบได้ในสังคมแห่งการกดขี่ทั้งหลาย 

อย่างในสังคมของคนขาว หรือสังคมของเจ้าอาณานิคมตะวันตก

ในยุคหนึ่ง 

นี่เป็นครั้งแรกๆ ที่ผมรู้สึกว่ามีคนไทยกลุ่มหนึ่งกล้า

ที่จะแสดงออกความคิดแบบ discrimination 

หรือการเหยียดชนชั้นอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ

 พวกเขามองว่า "คนไม่เท่ากัน"

คือคุณค่าที่สังคมไทยควรยึดถือเป็นศีลธรรมอันดีงาม 

กระทั่งการเหยียดกันทางการเมืองถูกนำไปอ้างเ

ป็นความชอบธรรมของการล้มการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557

ได้สำเร็จ

หลังทหารยึดอำนาจ

มีกลุ่มนักศึกษา นักวิชาการ และประชาชน 

ออกมาต่อต้านรัฐประหารตั้งแต่วันแรก 

ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนปัจจุบัน 

คนกลุ่มเดิมก็พร้อมจะดิสเครดิตพลังทางสติปัญญาเหล่านั้น

ว่าเป็นพวกควายแดงหรือรับเงินทักษิณอีกเช่นเคย 

การเหยียดพัฒนากลายเป็นความรุนแรงทางอารมณ์

ถึงขั้นตะโกนบอกให้เจ้าหน้ารัฐเข้าปราบปรามนักศึกษา

และประชาชนที่ออกมาแสดงจุดยืนต่อต้านการทำรัฐประหาร


ทุกครั้งที่ได้ยินถ้อยคำเหยียดทางการเมือง 

อย่าง "รับเงินมาเท่าไหร่?" ผมจะอดสงสัยไม่ได้ครับว่า 

ที่มาของคำถามนี้มาจากอะไร? ทำไม "เงิน"

ถึงได้เป็นปัจจัยสำคัญ....

ที่ส่งผลต่อความคิดต่างทางการเมืองได้มากเท่านี้ 

คนประเภทไหนกันถึงเชื่อว่าเงินซื้อความคิดได้ 

หรือทุกคนถูกซื้อได้ด้วยเงิน?

คิดต่างจากตน = ถูกซื้อ? 

ชนะเลือกตั้ง = ซื้อเสียง? 

ออกมาชุมนุมเพราะจน? 

รับจ้างชุมนุมเพราะไม่ยอมทำมาหากิน? 

ให้ความเห็นใจช่วยเหลือนักโทษการเมือง 

= มีท่อน้ำเลี้ยงอยู่เบื้องหลัง?

คนประเภทไหนกันที่มองเรื่องอุดมการณ์ 

หรือการต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองเป็นเงินไปเสียหมด?


ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมามีข่าวใหญ่ว่าคณะรัฐประหาร

มีไอเดียจะยกเลิกค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท โดยอ้างว่า

เป็นนโยบายของรัฐบาลชุดที่แล้วที่ทำให้ไม่มีนักลงทุนต่างชาติ

อยากเข้ามาลงทุนในบ้านเรา 

สมบัติ บุญงามอนงค์ แสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กไว้อย่างน่าสนใจ

ว่า "ซื้อเสียง ไม่มีการศึกษา ยากจน ค่าแรง 300 ประชานิยม... 

สรุปปัญหาของประเทศนี้คือ "คนจน" ว่างั้นเถอะ" 

หลังจากนั้นไม่กี่วันผู้นำเผด็จการก็ผุดไอเดีย "ช่วยเหลือคนจน" 

ด้วยการขายข้าวเกรดบี ราคาถูก เพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้แก่คนที่มีรายได้น้อย


เพื่อที่จะได้ชื่อว่าเป็น "ผู้มีเมตตาช่วยเหลือคนยากจน"

พวกเขาจำเป็นต้องรักษาโครงสร้างความไม่เป็นธรรม

ที่ให้กำเนิดแนวคิดเรื่องความยากจนเอาไว้ 

คนจนช่างน่าสงสารและต้องจนต่อไป

เพื่อจะได้เป็นวัตถุแห่งทานของพวกเขา 

หากคนทุกคนได้รับการส่งเสริมศักยภาพ (empower) 

ได้รับการเคารพเสมอกัน ก็จะไม่หลงเหลือคนจน

ให้พวกเขาโปรยทานอีกต่อไป 

ดังนั้น แทนที่จะพัฒนาประเทศ

ไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย 

ให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ 

และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างเท่าเทียม 

รัฐบาลเผด็จการกลับมีแนวคิดยกเลิกค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท 

แทนที่ด้วยการ"ให้ความช่วยเหลือ" ขายข้าวเกรดบี ราคาถูก 

เพื่อช่วยเหลือคนมีรายได้น้อย 

พวกเขามองว่า "ประชานิยม" เป็นปัญหา 

แต่ไม่คิดว่านโยบายที่ไม่เห็นหัวประชาชนนั้นกลับยิ่งสร้างปัญหา 

ท้ายที่สุดแล้ว โครงสร้างการกดขี่เอาเปรียบ

ที่ทำให้คนชั้นล่างไม่สามารถลืมตาอ้าปากทางเศรษฐกิจก็ยังคงอยู่ 

แถมยังเพิ่มดีกรีการขูดรีดขึ้นภายใต้ระบอบการปกครอง

ที่ไม่เคารพเสียงของประชาชนอีกด้วย


ตลกร้ายคือ ในขณะที่รัฐบาลเผด็จการ

มีแก่ใจเมตตาช่วยเหลือคนจนอยู่นั้น 

ก็มีข่าวการจัดอันดับมหาเศรษฐีไทยประจำปี 2558 

โดยนิตยสารฟอร์บส์ประเทศไทย 

แม้เศรษฐกิจไทยในปีนี้เติบโตช้าลง 

ท่ามกลางบรรยากาศภายในประเทศที่อยู่ภายใต้

การบริหารของรัฐบาล คสช. 

แต่มูลค่าทรัพย์สินของ 50 มหาเศรษฐีไทย

กลับเพิ่มสูงขึ้นกว่า 1 แสนล้านเหรียญ 

เทียบเป็น 1 ส่วน 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี 

โดยในการจัดอันดับล่าสุด มีเจ้าสัวซีพี รั้งอันดับ 1

ซึ่งปีที่ผ่านมามีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25


นายทุนที่รวยเอารวยเอาจากระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาด

ก็ยังคงรวยอย่างฉุดไม่อยู่กันต่อไปครับ 

ตรงกันข้ามกับประชาชนคนเล็กคนน้อย

ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะขาดเสถียรภาพทางการเมือง

ภายใต้ระบอบเผด็จการกันโดยถ้วนหน้า 

ประชาชนออกมาต่อต้านรัฐประหารถูกแปะป้ายว่ารับเงิน 

ถูกจ้างมา ประชาชนเห็นต่างถูกจับ ถูกยัดข้อหาผู้ก่อการร้าย 

ชาวบ้านเลือกพรรคการเมือง

ที่พวกเขาได้ประโยชน์จากนโยบายก็ถูกมองว่าโง่

 นับวันยิ่งเห็นชัดว่าการที่เผด็จการทหารเข้ามายึดอำนาจ

ก็เพื่อรักษาโครงสร้างทางสังคมที่เอื้อประโยชน์

แก่เจ้าคนนายคนให้คงอยู่ต่อไป 

โดยมีกลุ่มคนชั้นกลางมีการศึกษาที่ปรารถนาจะไต่เต้า

สถานะทางสังคมสู่การเป็นเจ้าคนนายคน ให้การสนับสนุน 

ค่านิยมของการดูถูกคนนั้นฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยมานานแล้วครับ 

แต่เหตุปัจจัยทางสังคมเพิ่งขับเน้นให้นิสัยสันดานนี้

ปรากฏชัดขึ้นเท่านั้น การเหยียดได้กลายเป็นทัศนคติทางการเมือง

ที่ยอมรับกันได้ เหมือนความเชื่อที่ว่าคนไม่เท่ากัน 

และคนทุกคนไม่ควรมีหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงเสมอกัน

ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ 

ที่น่าเศร้าคือการศึกษาไทย

ไม่เคยมีส่วนช่วยให้ความเชื่อนี้เบาบางลง 

แต่กลับยิ่งสร้างคนมีการศึกษาสูงที่ดูถูกคน

และมองคนไม่เท่ากันมากขึ้น 

เช่นเดียวกันกับเรื่องศาสนธรรม 

แม้จะหมั่นถือศีล ปฏิบัติธรรม ทำบุญทำทานมากเพียงไร 

หากไม่เคยตั้งคำถามต่อค่านิยมการเหยียดชนชั้น 

"ทาน ศีล ภาวนา" ที่ทำๆ กัน

คงเป็นได้แค่เพียงการเสริมสร้างอัตตาของคนดี

ที่หมั่นสร้างความรู้สึกดีให้แก่ตัวเอง

ด้วยงานบุญงานกุศล การช่วยเหลือคนยากคนจน

เป็นเพียงการรักษาความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น

ระหว่างผู้ช่วยเหลือกับผู้ได้รับการช่วยเหลือ 

สะท้อนความเมตตาปรานีจอมปลอม/จบ

.......................................................................................................................





 

Create Date : 16 มิถุนายน 2558
0 comments
Last Update : 19 กันยายน 2558 3:29:55 น.
Counter : 1083 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com