<<
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
7 มิถุนายน 2558
 

เสียงสะท้อนจากนักวิชาการต่อการเมืองไทยขณะนี้?

เสียงสะท้อนจากนักวิชาการต่อการเมืองไทยขณะนี้

                                                         เตือนใจ เจริญพงษ์

กระแสการวิพากษ์การเมืองยุคนายกตู่
ค่อยๆกระเพื่อมขึ้นมาทุกขณะ
ตั้งแต่ความน่าเชื่อถือในการยกร่างรัฐธรรมนูญ
....การปฎิรูปการเมือง
....การเลือกตั้ง
....การที่นายกตู่จะอยู่ต่ออีก 2 ปี
.....2 มาตรฐานกับการเลือกปฎิบัติที่ไม่เป็นธรรมในคดีการเมือง
เป็นต้น
เราๆภาคประชาชนก็เริ่มอึดอัดกันมากขึ้น
แปลกแต่จริง ที่ว่า "อำนาจ" ช่างหอมหวาน
ใครได้อำนาจไว้ในมือ.. จะหลงละเมอ....
ครั้งหนึ่งคนกลุ่มหนึ่ง...เป็นครูบาอาจารย์
...มาเป็นข้าราชการ....เป็นนักการเมือง
ตอนนี้ถูกกล่าวขานว่าเป็น...เด็กเลี้ยงแกะซะแล้ว
อนิจจา...."กูรูนักกฎหมาย" บ้านเราทั้งหลาย 
เห็นทีต้องเผาตำรากฎหมายทิ้งเสียแล้วกระมัง
จังหวะดังกล่าวนี้ ผู้คนหลายวงการออกมาแสดงความคิดเห็น
เรามาฟังกันและใช้วิจารณญาณในการเชื่อ...หรือไม่เชื่อกันดีกว่า
ดังนี้
.......................................................................................................

7 มิ.ย.- รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง 
อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
กล่าวถึงกรณี...การเสนอให้ทำประชามติ
เพื่อให้รัฐบาลชุดปัจจุบันอยู่ต่อเพื่อดำเนินการปฏิรูปให้เสร็จสิ้น
ก่อนจะมีการเลือกตั้งว่า....
สิ่งที่นายไพบูลย์นิติตะวัน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สปช.
ได้เสนอและอ้างเสียงส่วนใหญ่นั้นทำไม่ได้ 
ตนเห็นว่าเรื่องการทำประชามติจะต้องตั้งอยู่บนหลักการบางอย่างที่ถูกต้อง 
ทั้งนี้ประชามติเกิดจากหลักการประชาธิปไตยทางตรง 
และทำกันในเรื่องนโยบายสาธารณะ ขอบเขตอำนาจรัฐ 
ส่วนเรื่องการได้มาซึ่งผู้มีอำนาจรัฐไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาทำประชามติ 
ตนได้รับการสั่งสอนจากอาจารย์ ซึ่งขณะนี้ก็ดำรงตำแหน่งอยู่ในสปช. 
ที่สอนหลักเสียงส่วนใหญ่ ว่าการอ้างเสียงส่วนใหญ่จะต้องมีกติกา
และพื้นฐานบางอย่าง 
ดังนั้นสิ่งที่ทำประชามติได้ต้องไม่ละเมิดหลักการพื้นฐานประชาธิปไตย 
แม้ประเทศเราจะเขียนรัฐธรรมนูญกรณีไม่มีกฏหมายใดใช้ได้
ก็ให้ไปดูประเพณีการปกครอง แต่ก็ต้องถามว่า 
เราจะกลับไปยึดหลักของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หรืออย่างไร 
ตนคิดว่าประเทศไทยพัฒนามามากเเล้ว 
ไม่ใช่จะเอาทุกอย่างมาทำประชามติ 
คิดว่ามีพวกนักกฏหมายที่อธิบายแบบเด็กเลี้ยงแกะ 
จึงอยากถามว่าสังคมจะอยู่ได้อย่างไร 
กับการสร้างกติกาที่ไร้หลักการเช่นนี้ 
ส่วนโพลการเมืองที่สนับสนุนการทำประชามติให้รัฐบาลอยู่ต่อ นั้น 
จากที่ตนเคยทำวิจัยเเละศึกษาเรื่องโพลการเมืองมานั้น 
ที่จริงไม่สามารถเชื่อได้ เพราะมีกระบวนการที่บกพร่องหลายประการ 
ตนถือเป็นขยะที่ไม่สามารถเชื่อถือได้ 
จึงฝากสื่อมวลชนให้ระวังการนำโพลมาประกอบการนำเสนอ

ด้านนายจอน อึ้งภากรณ์ อดีตสว.กทม.
กล่าวว่าการทำประชามติเพื่อให้ผู้นำรัฐบาลอยู่ต่อเป็นธรรมเนียม
ทางการเมืองของประเทศที่มีวัฒนธรรมทางการเมือง
แบบไม่เป็นประชาธิปไตยหรือเห็นได้ชัดในประเทศ
เผด็จการที่ต้องการครองอำนาจยาวนาน

ที่มาข้อมูล:มติชน รายวัน 7 มิย.2558
.....................................................................................................

คอลัมน์ โครงร่างตำนานคน โดย การ์ตอง

มติชนรายวัน 

ต้องยอมรับความจริงการเข้าควบคุมอำนาจ

ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ "คสช." 

ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน 

ด้วยความจำเป็นที่ต้องยุติความวุ่นวายจากความแตกแยกของคนในชาติ 

และขยายบทบาทมาสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 

ผู้นำบริหารประเทศ แม้ว่าจะทำให้ประเทศพ้นจากความวุ่นวายมาได้ 

แต่เป็นเงื่อนไขให้มีปัญหาด้านอื่นอยู่ไม่น้อย

//www.matichon.co.th/online/2015/06/14336751361433675167l.jpg

โดยเฉพาะเรื่องที่ "พล.อ.ประยุทธ์" 
พูดเองในที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ว่า
 "ผมและคณะรัฐมนตรีถูกต่างประเทศกดดันอย่างมาก 
เวลาไปประชุมต่างประเทศ แม้นานาชาติล้วนยอมรับผม 
แต่ทุกคนมักย้อนถามว่าประเทศไทยเมื่อไรจะเลือกตั้ง"

ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ยุคสมัยที่ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครอง
หลักของประเทศต่างๆ ในโลก ทำให้นานาชาติมักออกแรงกดดัน
ประเทศที่การปกครองหลุดจากกรอบของหลักการประชาธิปไตย

และการกดดันให้ใช้กติกาเดียวกันหรือคล้ายกันในการสานสัมพันธ์นั้น 
ก่อให้เกิดมาตรการที่ส่งผลกระทบต่อการทำมาค้าขายของกันและกันไม่น้อย 
ซึ่งผลที่ตามมาคือสะเทือนต่อการบริหารจัดการภายในประเทศ 
ในยุคโลกาภิวัฒน์ ประเทศต่างๆ 
จำเป็นต้องเชื่อมโยงสานสัมพันธ์กันมากขึ้น

ดังนั้นการหาทางนำประเทศคืนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด
จึงคือความจำเป็น

อย่างไรก็ตาม 
ความเป็นไปภายในหลายเรื่องยังเป็นความกังวลว่า 
หากคืนสู่ประชาธิปไตยโดยไม่จัดการเงื่อนไขบางประการให้เรียบร้อย 
แล้วที่สุดความวุ่นวานที่สงบลงด้วยการใช้อำนาจเด็ดขาด
เข้าจัดการจะกลับคืนมาอีก

ดังนั้นจึงมีบางฝ่ายเห็นว่า "พล.อ.ประยุทธ์" 
ควรจัดการเรื่องราวบางอย่างที่จะเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดความวุ่นวาย
ให้จบลงเสียก่อน

ในนามของการปฏิรูปการเมือง 
ก่อนที่จะคืนอำนาจให้ประชาชนด้วยหลักประกันที่ว่าประเทศชาติ
จะไม่วุ่นวายขึ้นมาอีก

ซึ่งล่าสุดมีการเสนออย่างเป็นทางการ โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติหลายคน
ให้ "พล.อ.ประยุทธ์" ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะปฏิรูปประเทศเรียบร้อย 
โดยประเมินไว้ว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปีนับจากนี้

เรื่องนี้แม้ไม่ยอมรับโดยตรง แต่ "พล.อ.ประยุทธ์" 
ไม่ปฏิเสธอย่างเด็ดขาด

คำตอบให้ความรู้สึกว่าเปิดทางไว้ให้ 
โดยให้ผู้ที่เสนอไปจัดการให้เกิดการยอมรับจากนานาประเทศ
และประชาชน

มีการเสนอว่าน่าจะทำ "ประชามติ" ให้ "พล.อ.ประยุทธ์" 
ทำหน้าที่ต่อ

ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง 
เพราะจากการเป็นผู้นำด้วยวิธีใช้กำลังของกองทัพเข้าควบคุมอำนาจและขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

ซึ่งนานาชาติถือว่าไม่ได้เป็นผู้นำที่มาจากประชาชน

หากมีการทำ "ประชามติ" เพื่อให้ประชาชนโหวตให้ทำหน้าที่
ผู้นำประเทศต่อไป

นั่นหมายถึงที่มาของ พล.อ.ประยุทธ์จะเปลี่ยนจากผู้นำ
ที่ใช้อำนาจทหารเข้าควบคุมประเทศ

....มาเป็นผู้นำที่เชื่อมโยงกับประชาชน

.....มาจากการโหวตของประชาชน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ "ความชอบธรรมตามกติกาประชาธิปไตย"

นับจากนั้นไม่มีใครพูดได้แล้วว่า "พล.อ.ประยุทธ์" 
เป็นผู้นำที่ไม่ได้มาจากประชาชน

เป็นปัจจัยที่จะทำให้ "นานาชาติ" 
ใช้เป็นเหตุผลที่จะยอมรับได้อย่างสะดวกใจ

..................................................................................................
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา 
อดีตรองนายกฯ และแกนนำพรรคเพื่อไทย 
ให้สัมภาษณ์กรณีสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) 
เสนอให้ทำประชามติเพื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ 
และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ทำการปฏิรูปประเทศ
ไปอีก 2 ปีก่อนการเลือกตั้งว่า เสนอให้รัฐบาลชุดนี้อยู่ต่อ 
ถามว่าจะอยู่ต่อได้อย่างไร หากไม่แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 
ถ้าไม่แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ 

รัฐบาลก็ต้องไปเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่ออยู่ต่อ 
ตนไม่คิดว่ารัฐบาลจะมีความคิดที่จะอยู่ต่อ 
แต่คงเป็นพวกไม่อยากลงเลือกตั้ง
 แต่ชอบนั่งในตำแหน่งที่มาจากการแต่งตั้งมากกว่า 
เพราะถ้ารัฐบาลอยู่ต่อ บุคคลเหล่านี้ก็จะอยู่ในตำแหน่งต่อด้วย 
โดยไม่สนว่าประเทศจะเป็นอย่างไร 
และรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้รับผลกระทบอย่างไร 
ประชาชนน่าจะเห็นกันอยู่

“ตอนที่พล.อ.ประยุทธ์เข้ามาเป็นนายกฯ น่าจะตระหนักอยู่เหมือนกันว่า 
รัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจมีปัญหาและอุปสรรคในการบริหารต่างๆ 
จึงพูดชัดเจนว่าจะอยู่ตามกรอบเวลาเท่านั้น เท่านี้ 
ซึ่งการกำหนดกรอบเวลาก็ทำให้ภาคธุรกิจ นักลงทุน 
ประเทศต่างๆ พอมองเห็นอนาคตประเทศไทยอยู่ว่า
เมื่อไรจะกลับเข้าสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย 
แต่หากทำไม่ได้อย่างที่พูดอาจจะมีผลกระทบตามมาอีก 
มองว่าไม่มีเหตุผลอะไรที่ควรทำประชามติเพื่อต่ออายุให้ตัวเอง 
เพราะตามกรอบที่พูดไว้ทำให้คนเขาอดทนรออยู่ได้ 
การที่จะไปขยายต่างๆ หรือการที่ประเทศไม่ได้อยู่ในระบอบประชาธิปไตย
ไม่ได้เป็นผลดีต่อประชาชน การกลับเข้าสู่การปกครองที่เป็นประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเราถือว่าทำได้เร็วเท่าไรก็เป็นประโยชน์
ต่อคนทั้งประเทศมากเท่านั้น”นายพงศ์เทพกล่าว

นายพงศ์เทพยังกล่าวถึงการเดินหน้าทำประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหามาก การทำประชามติจะทำให้กมธ.ยกร่างฯ 
ฟังเสียงคนอื่น ไม่ดื้อดึง เอาแต่ความเห็นของตัวเอง 
เพราะใครได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วก็ไม่เป็นผลดีต่อประเทศ 
ส่วนวิธีการทำประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น 
ควรใช้เวลาน้อยที่สุด และมีทางเลือกที่เหมาะสมให้กับประชาชน 
หากประชาชนไม่รับร่างนี้ ประชาชนจะเสนอทางเลือกใดได้บ้าง
ที่มาข้อมูล:มติชนรายวัน 8 มิย.2558
............................................................................................................................
เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. นายจาตุรนต์ ฉายแสง 
อดีต รมว.ศึกษาธิการ แกนนำพรรคเพื่อไทย 
โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ล่าสุด 
คสช.และครม.มีมติร่วมกัน
ให้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 
ใน 7 ประเด็น การแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวในครั้งนี้
จึงเสมือนเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโรดแม็พให้ยาวออกไป 
โรดแม็พแบบนี้ง่ายที่ผู้ที่มีอำนาจรับผิดชอบจะบอกว่า 
พร้อมทำตามโรดแม็พเต็มที่ เพราะโรดแม็พไม่คงที่ 
แต่เปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อย ๆ ส่วนการลงประชามตินั้น 
คงไม่ได้เป็นไปแบบเสรี
พราะไม่อนุญาตให้มีการแสดงความเห็นสนับสนุน
หรือคัดค้านได้อย่างเต็มที่ คงหวังอะไรไม่ได้มาก 

ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญนี้มีโอกาสจะถูกคว่ำโดย สปช.ง่ายขึ้นมาก 
เพราะเมื่อ สปช.ลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 
ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร สปช.ก็จะต้องถูกยุบเลิกไป 
พร้อมกับมีองค์กรใหม่เกิดขึ้นคือ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป 
แบบนี้การคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ สปช.ก็ไม่มีอะไรต้องสูญเสีย 
และการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญมีส่วนช่วยให้ คสช. หรือรัฐบาล
อยู่ในอำนาจต่อไปนาน ๆ การแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวครั้งนี้
เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ สปช.คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ 
เพื่อให้กระบวนการทั้งหลายทั้งปวงยืดออกไป ก็คงไม่ผิดนัก
 แต่ไม่ว่าจะคว่ำหรือไม่คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ทุกอย่างได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง./จบ
ที่มาข้อมูล:มติชนรายวัน:12 มิย.2558.
..................................................................................................

9 มิย.2558 คุณสุทธิชัย หยุ่น เขียนไว้ที่กรุงเทพธุรกิจรายวัน

สูตรปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง กับ ‘รัฐบาลเปลี่ยนผ่าน’

จะบอกว่าเป็นความบังเอิญหรือเป็นเรื่องทำให้เห็นว่าบังเอิญก็แล้วแต่ 

ความเคลื่อนไหวของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) 

บางกลุ่มให้มีการ “ปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้ง” กับคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่ว่า

 “ถ้าจะให้อยู่ต่อก็ไปถามประชาชนกันเอง” ช่างสอดคล้องต้องกันอะไรเช่นนั้น

แรกเริ่มที่ได้ยินข้อเสนอ “ปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้ง” 

ก็ยังงง ๆ อยู่ว่าในทางปฏิบัติหมายถึงอะไร แปลว่า คสช., สปช. กับ สนช.

 และรัฐบาลจะอยู่ต่ออีกสองปีแล้วจึงจะมีการเลือกตั้งใช่หรือไม่

ถ้าอย่างนั้น หัวหน้า คสช. และนายกฯจะต้องออกมาแก้ Roadmap 

ที่วางเอาไว้อย่างไร จะอ้างเหตุผลอันใด

และมีอะไรรับรองว่าสองปีจะเห็นผลการปฏิรูปอย่างแท้จริง

อะไรเป็นไม้วัดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการปฏิรูปในสองปี?

ยิ่งจะมีความงงงันมากขึ้นเมื่อมีข้อเสนอจาก สปช. 

บางท่านว่าการจะให้ปฏิรูปสองปีก่อนเลือกตั้งนั้นควรจะถามความเห็นประชาชน 

และการถามความเห็นประชาชนก็ควรจะใช้วิธีทำประชามติ

ก็ไหน ๆ จะทำประชามติเรื่องร่างรัฐธรรมนูญแล้ว 

ก็ใส่คำถามเรื่องปฏิรูปสองปีก่อนเลือกตั้งเข้าไปในประชามติเสียเลย

นี่คือข้อเสนอของ สปช. ที่ต้องการจะทำทั้งสองเรื่องควบคู่กันไป

เพราะ สปช. ที่ผลักดันเรื่องนี้ไม่อยากจะเป็นคนเสนอเอง 

ต้องการให้เป็นเรื่องของประชาชน 

ซึ่งบางเสียงก็บอกว่าอาจจะมีการล่ารายชื่อของประชาชน

เพื่อให้มีการทำประชามติเรื่องนี้

คนที่ผลักดันเรื่องนี้ไม่ต้องการจะได้ชื่อว่าพยายามจะให้ คสช. 

และรัฐบาลของนายกฯประยุทธ์ จันทร์โอชา “สืบทอดอำนาจ”

นักข่าวถามนายกฯเรื่องจะอยู่ต่อ นายกฯไม่ได้ปฏิเสธ 

แต่บอกว่าท่านไม่ได้ต้องการสืบทอดอำนาจ แต่ถ้าจะให้ทำงานต่ออีกระยะหนึ่ง 

ก็พร้อม แต่ต้องให้ประชาชนส่งเสียงออกมาให้ชัดเจน

และยังบอกว่าใครก็ตามที่ผลักดันเรื่องนี้ต้องไปช่วยอธิบายกับคนไทย

และต่างประเทศให้เข้าใจเสียด้วย

เพราะแน่นอนว่าจะต้องมีคนที่คัดค้านเรื่องนี้เพราะเท่ากับเป็นการทำผิดสัญญา

ที่เขียนไว้ใน Roadmap เดิมว่าจะมีการเลือกตั้งเมื่อรัฐธรรมนูญผ่านขั้นตอนทั้งหลาย 

ซึ่งตีความกันมาตลอดว่าเร็วที่สุดคือไตรมาสแรกของปีหน้า

 และช้าที่สุดก็คือไตรมาสที่สามของปีหน้า
แต่หากต้องทำการปฏิรูปสองปีก่อนแล้วจึงมีการเลือกตั้ง 

ก็แปลว่าจะต้องมีการแก้ไขเรื่องใหญ่ ๆ ทั้งหมดโดยที่ยังไม่มีใครตอบได้

ว่าจะขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นโดยได้รับฉันทามติของคนไทยส่วนใหญ่ได้อย่างไร

มีคำถามว่าถ้าจะทำอย่างนั้นก็เขียนระบุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญว่าอย่างไร

คำถามต่อมาก็คือว่าสองปีที่จะปฏิรูปให้เสร็จก่อนเลือกตั้งนั้น 

ใครจะเป็นผู้ประเมินว่าการปฏิรูปทุก ๆ ด้านของประเทศได้บรรลุถึงเป้าหมาย

ที่วางเอาไว้หรือไม่อย่างไร

เพราะไม่มีใครตอบได้ว่าการปฏิรูปที่จะทำให้เสร็จก่อนเลือกตั้งนั้น

จะวัดกันด้วยสูตรไหน ใครเป็นคนบอกว่าสองปีจะทำได้ 

และใครจะเป็นคนฟันธงว่าสองปีแล้วการปฏิรูปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

หรือไม่อย่างไร

แน่นอนว่า มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่เป็นห่วงว่าหากมีการเลือกตั้งตามกำหนดเดิม 

นักการเมืองที่เข้ามาอาจจะเอาข้อเสนอเรื่องปฏิรูปทิ้งถังขยะเลยก็ได้ 

เพราะข้อเสนอปฏิรูปหลายข้อเป็นการปรับเปลี่ยนกฎกติกา

ที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของนักการเมืองอย่างปฏิเสธไม่ได้

ความห่วงกังวลเรื่องนี้มีผลทำให้เชื่อกันว่าหากทำตาม Roadmap เดิม 

ความพยายามจะปฏิรูปบ้านเมืองก็จะไร้ผล และการรัฐประหารครั้งนี้

ก็จะ “เสียของ” อีกรอบหนึ่ง ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาใหญ่ ๆ 

ของประเทศชาติอย่างที่อ้างเป็นเหตุผลของการก่อรัฐประหารแต่อย่างใด

แต่การกระทำใด ๆ ที่ตีความได้ว่าเป็นการ “สืบทอดอำนาจ” ของ คสช. 

ก็จะเปิดจุดอ่อนให้มีการโจมตีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกเช่นกัน
ดังนั้น จึงควรจะต้องมีสูตรของ “รัฐบาลเปลี่ยนผ่าน” 

ที่ประชาชนมีสิทธิมีเสียงในการทำให้การปฏิรูปเกิดขึ้นอย่างแท้จริง

เพื่อปูทางสู่การเลือกตั้งที่โปร่งใส, ยุติธรรมและตรวจสอบได้อย่างเปิดเผย

สูตรที่ว่านี้เป็นอย่างไร ผมเชื่อว่าผู้รู้ในบ้านเมืองมีมากมาย 

หากมีจิตใจมุ่งทำงานเพื่อผลประโยชน์ของชาติที่แท้จริง ยอมเสียสละ 

และไม่ชิงความได้เปรียบทางการเมือง 

ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะถกแถลงเพื่อหาข้อสรุปได้ /จบ

..........................................................................................................................








 

Create Date : 07 มิถุนายน 2558
0 comments
Last Update : 19 กันยายน 2558 3:36:34 น.
Counter : 981 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com