<<
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
19 มิถุนายน 2558
 

ไม่มี ‘ปฏิวัติซ้อน’แต่มี ‘ปฏิรูปซ้ำ’



วันพฤหัสบดี ที่ 18 มิถุนายน 2558 กรุงเทพธุรกิจรายวัน

อ่านเรื่องนี้ของคุณสุทธิชัย หยุ่น แล้วโดนใจมากคะ


นายกฯประยุทธ์ จันทร์โอชาประกาศว่าให้เลิกพูดถึงเรื่อง “ปฏิวัติซ้อน” 
ได้แล้วเพราะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ และรู้แล้วว่าใครเป็นคนปล่อยข่าวนี้

ท่านผู้บัญชาการทหารบกยืนยันว่ากองทัพมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 

ไม่มีเรื่องรัฐประหารซ้ำซ้อนแน่นอน

ขณะเดียวกับที่คณะรัฐมนตรีและ คสช. ประชุมร่วมกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจบ

ก็ประกาศยุบสภาปฎิรูปแห่งชาติหรือ สปช. หลังลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญใหม่วันที่ 4 กันยายนที่จะถึงนี้

เมื่อยุบ สปช. ก็จะต้องมี “สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทย” 

(ยังไม่เห็นคำย่อทางการ ผมจึงขอเรียกเป็น สขคป. ไปพลางก่อน) 

มีสมาชิกไม่เกิน 200 คน (จากเดิม 250 คนใน สปช.) โดยนายกฯเป็นผู้แต่งตั้ง 

และไม่ต้องนำความขึ้นทูลเกล้าฯ และผู้ที่เคยเป็นสมาชิก สปช. ชุดเดิม

ก็สามารถได้รับการแต่งตั้งใน สขคป. ได้ ทำหน้าที่เสนอแนะการปฏิรูปเท่านั้น 

ไม่เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญอีก)

มีคนวิเคราะห์ว่านี่คือ “ปฏิรูปซ้ำ”

สาเหตุของการยุบ สปช. และตั้ง สขคป. นั้น

ไม่ได้มีการชี้แจงอย่างเป็นทางการ 

แต่ดูเหมือนนายกฯประยุทธ์ จันทร์โอชาท่านจะบ่น

ว่าการทำงานและแสดงความเห็นของสมาชิก สปช. 

บางคนบางกลุ่มที่มาจากหลายวงการมีความสับสนโกลาหล 

ไม่ตรงกับเป้าหมายของการตั้ง สปช. อะไรทำนองนั้น

จึงเป็นที่มาของการทำไปปรับไป

ความจริงเราไม่รู้ว่าเป้าหมายแรกเริ่มของการตั้ง สปช. เป็นอย่างไร

 แต่ก็น่าจะเข้าใจได้ว่า คสช. ต้องการจะให้มีตัวแทนจากผู้คนจากสาขาวิชาชีพต่าง ๆ 

เพื่อช่วยกันระดมความคิดในการปฏิรูปประเทศชาติใน 11 หัวข้อ

เพื่อให้ประเทศชาติพ้นจากวิกฤตที่ผ่านมา

การแสดงความเห็นของสมาชิก สปช. ย่อมจะต้องมีความหลากหลาย

และร้อนแรงเป็นธรรมดา เพราะนั่นคือกระบวนการปกติของการ “ระดมสมอง”

 และหนีไม่พ้นว่าจะต้องมีเรื่อง “ล้ำเส้น” 

และพฤติกรรมเหมือนนักการเมืองในการล็อบบี้และหาเสียงเช่นกัน 

เพราะนี่คือวัฒนธรรมแบบไทย ๆ ที่เข้าใจประชาธิปไตยไปในทิศทางเช่นนั้น

ดังนั้นการบอกว่าการทำงานของ สปช. เป็นเรื่องวุ่นวายสับสน

ก็เห็นจะไม่ถูก เพียงแต่ว่าเมื่อไม่ได้ทำความเข้าใจถึงบทบาทของ สปช. อย่างชัดเจนแล้ว

 สมาชิก สปช. บางท่านก็เข้าใจว่าท่านทำหน้าที่เป็น ส.ส. หรื ส.ว. 

แทนที่จะเป็นผู้ระดมความเห็นจากคนทุกวงการเพื่อเสนอทางออกให้กับบ้านเมืองเพื่อการ

ปฏิรูปอย่างแท้จริง

อีกทั้งผู้นำ คสช. ก็อาจจะไม่เคยชินกับการที่มีผู้แสดงความเห็นที่แปลกแยกไปจากที่

ท่านต้องการได้ยินได้ฟัง และเมื่อไม่มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันในระดับต่าง ๆ 

ก็จึงทำให้เกิดช่องว่างของการสื่อสาร

ผลที่ตามมาก็คือประชาชนไม่รู้ว่า สปช. ได้ทำอะไรเพื่อการปฏิรูปบ้านเมืองบ้าง

แต่การตั้ง “สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ” 

โดยนายกฯมาแทนหลังวันที่ 4 กันยายน

ก็ไม่ได้แปลว่าจะปฏิรูปจะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่า

เพราะดูจากมติ ครม. ในประเด็นนี้ก็จะเห็นว่า สขคป. มีเพียงหน้าที่ “เสนอแนะ”

 การปฏิรูปเท่านั้น มิได้มีสิทธิมีเสียงอะไรที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

ที่เป็นรูปธรรมได้มากมายนัก

ยิ่งเมื่อ สขคป. ใหม่นี้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ 

เพราะอำนาจหน้าที่เรื่องนี้จะไปอยู่กับ “กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ” 21 ท่าน

ที่จะมาแทนคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเดิมก็ยิ่งทำให้เห็นว่าองค์กรเกี่ยวกับ

การ “ปฏิรูป” ใหม่ไม่น่าจะมีบทบาทในการผลักดันอย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่า สปช.

 อะไรมากมายนัก

คำว่า “ขับเคลื่อน” มีความหมายกว้าง 

ไม่ต่างอะไรกับ “ผลักดัน” นัก 

และแตกต่างไปจากข้อเสนอของ สปช.บางท่านก่อนหน้านี้

ที่ให้ “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป” มีตัวตนอยู่แม้หลังเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่แล้ว 

(ทำให้เกิดข้อวิพากษ์เรื่อง “สืบทอดอำนาจ”) อย่างเห็นได้ชัด

เราใช้คำว่า “ปฏิรูป” กันซ้ำซาก 

แต่ความเคลื่อนไหวที่แท้จริงที่จะให้ “ยกเครื่อง”

 ประเทศไทยไปสู่ความเปลี่ยนแปลงให้พ้นความขัดแย้ง, 

ประชานิยม, และคอร์รัปชั่นทุกระดับชั้น, และยกมาตรฐานการศึกษา

เพื่อสร้างอนาคตของบ้านเมืองยังไม่เกิด

เพราะลึก ๆ แล้วคนมีอำนาจยังกลัวความเปลี่ยนแปลง

ที่ทำให้ทุกฝ่ายต้องเสียสละ, รวมถึงผู้กุมอำนาจในทุกวงการของสังคมด้วย/จบ

................................................................................................................................




Create Date : 19 มิถุนายน 2558
Last Update : 19 กันยายน 2558 3:26:53 น. 0 comments
Counter : 1329 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com