Group Blog
 
 
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
18 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
ทะเบียนบ้านของคนต่างชาติ

ทะเบียนบ้านของคนต่างชาติ

1.คนต่างชาติสามารถมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้
ตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำทะเบียนบ้านสำหรับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับกาผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองในกรณีที่คนต่างชาติเป็นสามีหรือภรรยาคุณถ้าหากคุณหรือบิดามารดาของคุณเป็นเจ้าบ้านให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนตามภูมิลำเนาที่บ้านตั้งอยู่ โดยกรอกคำร้องเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร(ทร.13) ขอเพิ่มชื่อบุคคลในทะเบียนบ้านเอกสารที่เตรียมไป คือ สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้านบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หนังสือเดินทางของคนต่างชาติ ทะเบียนสมรสใบอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานหรือหลักฐานอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวรหรือชั่วคราว

2 คนต่างชาติมีบัตรประชาชนพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนพ.ศ.2526 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 มาตรา 5 ใจความสำคัญว่า ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ดังนั้นคนต่างชาติจะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนไม่ได้ ยกเว้นว่ามีสัญชาติไทยแล้ว

3. ถ้าคนต่างชาติชื้ออพาร์เมนต์หรือคอนโดเป็นของเจ้าของ ท่านผู้นั้นสามารถยื่นขอมีทะเบียนบ้านของตนบุคคลต่างด้าวนั้นเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือเป็นคนต่างด้าวตามที่กฎหมายกำหนดมีสิทธิซื้อห้องชุดได้ไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนห้องชุดทั้งหมดในอาคารนั้นและมีสิทธิขอทะเบียนบ้านได้ ประเภท (ทร.13) โดยนำหลักฐานตามข้อ1 ไปติดต่อสำนักงานเขตที่อาคารนั้นตั้งอยู่

4. ถ้าการชื้อ คอนโดมีชื่อทั้งคนต่างชาติ และคนไทยร่วมด้วย เวลาไปทำทะเบียนบ้านใครจะได้เป็นเจ้าบ้านการเป็น เจ้าบ้านไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้น เจ้าบ้านหมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของผู้เช่าหรือในฐานะอื่นใดก็ตาม
หน้าที่ของเจ้าบ้านเจ้าบ้านเป็นผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งเกี่ยวกับการต่างๆ ที่ได้บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 เช่นการแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งบ้านที่อยู่ หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน
ดังนั้นเมื่อคนต่างด้าวและคนไทยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ควรให้คนไทยเป็นเจ้าบ้านเพื่อดำเนินการต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เพราะสื่อสารภาษาไทยได้ดีกว่าคนต่างชาติ

อาจจะไม่จำเป็นในการมีชื่อในทะเบียนบ้านเเต่สามารถเเจ้งเข้าได้เพื่ออนาคตสามารถขอการมีถิ่นที่อยู่ในไทยเพื่อการประกอบธุรกรรมในไทยเช่นเปิดบัญชีธนาคาร หรือ การทำใบขับขี่ เพราะถ้าจดทะเบียนกับคนไทยสามารถขอนำชื่อเข้าทะเบียนบ้านได้หลักเกณฑ์ดังนี้การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านมีหลายกรณี ได้แก่

1. กรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎรเมื่อปีพ.ศ. 2499 (จะต้องเป็นผู้เกิดก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2499)
2. กรณีเพิ่มชื่อตามเอกสารทะเบียนราษฎรแบบเดิมที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนได้แก่ สูติบัตร ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และทะเบียนบ้าน
3. กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศหรือเกิดในต่างประเทศแล้วเดินทางกลับเข้ามา ในประเทศไทยทั้งที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นคนไทย และไม่มีหลักฐาน
4. กรณีอ้างว่าเป็นคนไทยแต่ไม่มีหลักฐานเอกสารมาแสดง
5. กรณีเด็กอนาถาซึ่งอยู่ในความอุปการะของบุคคลหน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ
6. กรณีบุคคลที่ลงรายการในทะเบียนบ้านว่า"ตาย" หรือ "จำหน่าย" มาขอเพิ่มชื่อ
7. กรณีคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
8. กรณีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
9. กรณีที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่ต่อมาได้รับสัญชาติไทย
10. กรณีคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษหรือไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองรวมทั้งผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย

ผู้มีหน้าที่แจ้ง ได้แก่ เจ้าบ้านหรือผู้ขอเพิ่มชื่อ บิดา หรือมารดา กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์ หรือผู้อุปการะเลี้ยงดู กรณีเด็กอนาถา
สถานที่ยื่นคำร้อง ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้ขอเพิ่มชื่อมีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบันเว้นแต่
1. กรณีเพิ่มชื่อตามสูติบัตรแบบเดิมให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ออกสูติบัตรฉบับนั้น
2. กรณีเพิ่มชื่อตามแบบใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะขอเพิ่มชื่อ
3. กรณีเพิ่มชื่อตามทะเบียนบ้านแบบเดิมให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ครั้งสุดท้าย
4. กรณีเพิ่มชื่อของผู้ที่ลงรายการจำหน่ายหรือตายไว้แล้วให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ผู้นั้นเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านก่อนถูกจำหน่ายรายการ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ แบ่งเป็น 2 กรณี
1. กรณีมีหลักฐานมาแสดง
1.1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
1.2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
1.3. รูปถ่ายผู้ขอเพิ่มชื่อ 1รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
1.4. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านฉบับปีพ.ศ.2499 , พ.ศ. 2515 หรือ พ.ศ. 2526
1.5. ใบสูติบัตร(แบบเดิมซึ่งไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)
1.6. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่(แบบเดิมจึงไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)
2. กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดง
2.1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
2.2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2.3. รูปถ่ายของผู้ขอเพิ่มชื่อ 1รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
2.4. บัตรประจำตัวบิดา มารดา(ถ้ามี)
2.5. บัตรประจำตัวพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
2.6. เอกสารประกอบ เช่นหลักฐานการศึกษา (ถ้ามี) ส.ด.9 (ถ้ามี)
ขั้นตอนในการติดต่อ

1. การยื่นเอกสารและหลักฐาน
- กรณีมีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องขอเพิ่มชื่อปรากฎรายการในเอกสารนั้น
- กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน
3. ตรวจสอบรายการในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
4. สอบสวนพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
5. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ขอเพิ่มชื่อผู้แจ้ง และพยานบุคคลที่ให้การรับรองและให้บุคคลดังกล่าว ลงลายมือชื่อ
หรือพิมพ์ลายนิ้วมือตามแบบ ท.ร.25
6. รวบรวมหลักฐานเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติในการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
7. คืนหลักฐานให้ผู้แจ้ง

หากคุณมีข้อสงสัยประการใดให้ติดต่อสอบถามรายละเอียดจากสายด่วน1548 ของศูนย์บริการงานทะเบียนและบัตรฯสำนักบริหารการทะเบียน

ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติจะเป็นเล่มสีเหลือง




Create Date : 18 กันยายน 2555
Last Update : 18 กันยายน 2555 20:44:32 น. 9 comments
Counter : 22871 Pageviews.

 
ถ้าคนต่างชาติไม่มี work permit แต่มีวีซ่าภรรยาไทย ยังไม่มีงานทำ เพราะต้องเลี้ยงลูกเอง สามารถเพิ่มชื่อใน ทร.3 ได้ไหมค่ะ


โดย: KN IP: 113.53.149.63 วันที่: 4 มกราคม 2557 เวลา:11:07:25 น.  

 
ถ้าเราไม่ได้จดทะเบียนสมรสสามารถขอทะเบียนบ้านเล่มเหลืองมั้ยค่ะ.มีเอกสารอะไรบ้างค่ะ


โดย: เพชรดา ประดับศรี IP: 49.230.149.211 วันที่: 9 มิถุนายน 2557 เวลา:20:49:27 น.  

 
ผมอยากถามว่า ถ้าผมจะจดทะเบียนสมรสกับบคนต่างชาติ ต้องทำยังไงบ้างครับ และเค้าจะอยู่ประเทศไทยได้ตลอดไปไหมครับ ถ้าไม่ต้องทำยังไงถึงอยู่ได้ถาวรครับ


โดย: ธนา IP: 202.91.19.201 วันที่: 3 กันยายน 2557 เวลา:19:03:25 น.  

 
พอดีไปสอบถามเรื่องทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มสามีชาวต่างชาติเข้าค่ะ ทางอำเภอยืนยันว่าทำไม่ได้ยังไงก็ไม่ได้ เลยสับสนค่ะ ขอคำตอบจากผู้รู้ด้วยค่ะ


โดย: จารุวรรณ IP: 37.59.6.32 วันที่: 22 สิงหาคม 2558 เวลา:18:15:51 น.  

 
ตอบ comment no.4 ค่ะ ทำได้นะคะ เพราะพึ่งไปทำมา แต่ต้องเตรียมเอกสารหลายอย่างมาก เริ่มแรกไปที่อำเภอเตรียมเอกสารเราและของสามีให้ครบทุกอย่าง ถามที่อำเภอได้ว่าต้องการอะไรบ้างเพื่อขอหนังสือรับรองจากทางอำเภอว่าต้องการเอาชื่อสามีเข้าทะเบียนบ้าน เขาจะออกหนังสือเพื่อที่ให้เราไปยื่นที่ ตม.เพื่อออกหนังสือรับรองให้อีกแบบ เมื่อได้แล้ว เราต้องนำกลับไปยื่นที่อำเภออีกครั้ง เอกสารต้องเตรียมใหม่หมดพร้อมด้วยพยานสองคน ต้องถามที่อำเภอว่าต้องเป็นใคร อาจจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน และญาติหรือคนรู้จักเรา จากนั้นทางทำเภอจะทำเรื่องให้ และรอค่ะ สามีของเราจะได้สมุดทะเบียนบ้านเล่มสีเหลืองต่างจากทะเบียนบ้านของเรา แต่เลขที่ทะเบียนบ้านเดียวกันกับของเรา โชคดีนะคะ


โดย: ทำได้ IP: 49.228.28.41 วันที่: 15 ธันวาคม 2558 เวลา:9:14:42 น.  

 
เยี่ยม


โดย: mas1111 IP: 180.183.207.17 วันที่: 11 มกราคม 2559 เวลา:12:01:32 น.  

 
ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างค่ะ


โดย: mas1111 IP: 180.183.207.17 วันที่: 11 มกราคม 2559 เวลา:12:02:43 น.  

 
ในกรณีที่จดทะเบียนแต่งงานกับต่างชาติ แต่ไม่ได้พำนักอาศัยในประเทศไทย สามารถนำชื่อสามีเข้าทะเบียนบ้านที่ประเทศไทย โดยที่เจ้าเป็นบิดามารดาของฝ่ายไทย จะได้ไหมคะ


โดย: JJ IP: 188.165.240.145 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:1:11:25 น.  

 
ขอถามหน่อยค่ะ พอดีอยากทราบว่า พ่อแม่เราเป็นคนต่างด้าว ตอนแม่ท้อง แม่ไม่ได้ทำบัตรค่ะ
เค้าพึ่งเริ่มทำเมื่อปี47 แต่ดิฉันเกิดปี44ค่ะ
ตอนกรอกข้อมูล พ่อเป็นคนบอกหมอว่า
แม่ดิฉัน เป็นสัณชาติกระเหรี่ยง
พ่อดิฉัน ไม่ได้ระบุสัณชาติ แต่อยู่ในประเทศจีน

พอแม่ดิฉันคลอด ก็ออกมาจาก รพ.
หมอนัดให้ไปรับใบเกิดภายใน7วัน
ซึ่งมีใบสีเขียวมาให้ ตอนนั้นพ่อทะเลาะกับแม่เค้าไม่สนใจเรื่องใบเกิดเลยไป16ปี ส่วนแม่ทำอะไรไม่เป็นเพราะช่วงนั้นพูดไทยไม่เป็น แต่พ่อพูดไทยได้ชัดเพราะเค้าเคยบอกว่าเค้าเป็นคนเหนือ จ.เชียงใหม่
พ่อเสียไปเมื่อปี55
เค้าเคยบอกว่าจะเดินเรื่องให้หนูแต่สุดท้ายไม่ได้ทำเรื่องเสียชีวิตก่อนด้วยโรคตับแข็ง
จนกระทั่งปีนี้
ดิฉันไปขอทำเรื่อง เอกสารที่เอาไปมี ใบสีเขียว(ใบรับรองการเกิด)กับสมุดฝากท้องของแม่
แล้วเอาแม่ไปยืนยัน
ทางเทศบาลได้เอาเลขในสมุดฝากครรภ์
พิมพ์หาข้อมูลก็ดีดขึ้น แต่ดิฉันได้ออกทะเบียนบ้านกลางไปแล้ว แต่งงมาก พ่อกับแม่ไม่มีเลขบัตรประจำตัว แต่ทำไมดิฉันถึงได้เลข7ค่ะ
แถมอำเภอยังถามว่าพ่อแม่ไม่มีใครมีเลข7แล้วดิฉันได้มาอย่างไรแถมชื่อแม่ไม่ตรงกับชื่อในใบสูติ
เพราะเค้าเปลี่ยนชื่อตัวเอง ตัวอย่างชื่อ 12ระบุในใบสูติ แต่บัตรสีชมพูแม่ที่ทำครั้งแรกเมือปี47ชื่อ 2
ชื่อมันขาดคำหน้าไปคือเลข1
แต่พอมาดูบัตรใหม่ของแม่เพิ่งทำปีนี้ ชื่อ 33
แต่ทางอำเภอเค้าทำทะเบียนเล่มเหลืองให้แล้วมีพยานเซนให้ครบแล้ว
เค้าเช็คอีกที มันติดปัญหาที่ดิฉันมีเลข7แต่พ่อแม่ไม่มี ตอนรอคำตอบ ว่าต้องไปจำหน่ายเลขออกแล้วทำใบหมดหรือป่าว
แต่ไม่รู้ว่าจะได้คำตอบวันไหนค่ะเพราะทางอำเภอไม่เคยเจอเคสแบบนี้ค่ะ
ในพอรู้ช่วยบอกทีนะค่ะ อยากทำให้ถูกต้องตามกฏหมายค่ะ ขอบคุนนะค่ะ


โดย: นันท์ IP: 49.49.242.85 วันที่: 6 กันยายน 2560 เวลา:17:49:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

PinePh
Location :
Rome Italy, Bangkok Thailand, AMS Netherlands

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




I dont have anything to say much about myself...if you want to know more please check it out!!!
Friends' blogs
[Add PinePh's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.