Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2557
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
 
6 กุมภาพันธ์ 2557
 
All Blogs
 
จดทะเบียนสมรสในต่างประเทศต้องจดในไทยอีกหรือไม่

LAW: สาวๆ หลายคน จดทะเบียนสมรส ในต่างประเทศ ของสามี แต่ ยังไม่ได้จดที่ไทย ยังมีคนข้องใจว่า ต้องไปจดไหม อย่างไร เเป้งร่ำค้นคำตอบมาให้แล้ว

จดทะเบียนสมรสกับสามีชาวต่างชาติ ในต่างประเทศ ผลทางกฎหมายในประเทศไทย จำเป็นต้องจดที่ไทยอีกหรือไม่

1. เมื่อคุณได้จดทะเบียนสมรสที่ต่างประเทศตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ แล้ว ก็มีผลสมบูรณ์เป็นการสมรสตามกฎหมายไทยแล้วในทันที คุณไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสซ้ำในไทยอีก ทั้งนี้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1459 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้ กฎหมายไม่ได้บังคับว่าคุณจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยเพิ่มเติมอีก อย่างไรก็ตาม ในการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวเป็นการจดแจ้งต่อทางราชการของประเทศนั้นๆ ทางการของประเทศไทยจึงไม่รับทราบแต่อย่างใด ซึ่งหากคุณประสงค์ให้ทางการไทยรับรู้และมีหลักฐานทางทะเบียนที่ประเทศไทยว่าคุณและสามีได้สมรสกันถูกต้องแล้ว คุณสามารถดำเนินการจดแจ้งสถานะครอบครัวต่อสำนักทะเบียนได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมีประโยชน์คือ หากต่อไปคุณประสงค์จะเรียกร้องสิทธิใดๆ ตามกฎหมายจากสามีคุณในฐานะภรรยา คุณก็สามารถอ้างอิงหลักฐานการจดแจ้งสถานะครอบครัวดังกล่าวได้ทันที อันเป็นการสะดวกรวดเร็วและลดขั้นตอนต่างๆ ลงในอันจะพิสูจน์ว่ามีการสมรสโดยชอบระหว่างคุณและสามีแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือ ขอคัดสำเนาทะเบียนสมรสที่จดในต่างประเทศนั้น ติดต่อ Authentications Office นะคะ จากนั้นแปลเป็นภาษาไทย แล้วนำไปให้สถานกงสุลไทยรับรอง จากนั้นคุณนำไปยื่นที่เขตที่คุณมีทะเบียนบ้านอยู่ แจ้งนายทะเบียนว่า คุณต้องการขอจดทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว วิธีนี้เป็นการรับรองการสมรสในต่างประเทศให้มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายไทย
ในนั้นนายอำเภอจะเขียนตามละเอียดตามไปสมรส ตามด้วยมีบุตรกี่คน ... จากนั้นเราก็สามารถเอาชื่อลูกและสามีเข้าทะเบียนบ้านเราได้

เพราะเมื่อคุณจดทะเบียนสมรสที่ต่างประเทศแล้ว ทางอำเภอหรือเขตจะไม่รับจดทะเบียนซ้ำให้ เพราะถือว่าแต่งงานแล้ว
อีกอย่างคือ ถึงแม้ว่าหลักฐานทุกอย่างของคุณยังเป็นนางสาวอยู่ แต่ถ้าต้องการจดทะเบียนสมรสที่เมืองไทย
ทางแฟนคุณจะต้องขอใบรับรองโสดจากทางสถานฑูตประจำประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย แต่ไม่สามารถออกใบรับรองโสดได้ เพราะ ตามบันทึกของต่างประเทศได้ จดทะเบียนสมรสไปแล้ว

การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างประเทศแล้วไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฏหมายไทยเป็นสิทธิของบุคคลนั้นๆ ว่าอย่างใหนเกิดประโยชน์ตัวท่านเองมากที่สุดและไม่ผิดกฏหมายและไม่มีบทลงโทษแต่อย่างใด เพียงแต่ท่านจะเสียสิทธิด้านกฏหมายที่เกี่ยวกับกฏหมายครอบครัวในประเทศไทยเท่านั้น เช่นถ้าท่านไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฏหมายไทยแล้ววันข้างหน้าท่านเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเมื่อปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องหย่า การรับรองบุตร การเรียกค่าเลี้ยงดู การปกครองบุตร การแบ่งทรัพย์สินสมรส การได้สัญญาชาติของบุตร ตามกฏหมายไทยก็จะไม่รับรู้จนกว่าท่านจะจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายไทย การจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายไทยท่านขอจดได้ที่สถานทูตไทยในประเทศนั้นๆ หรือที่ทำการในประเทศไทย

2. การสมรสกับชาวต่างชาติไม่ทำให้คุณเกิดความยากลำบากในการทำธุรกิจและการลงทุนในประเทศไทยแต่อย่างใด คุณยังมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเหมือนพลเมืองไทยทั่วไปทุกประการ อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่คุณสอบถามเรื่องการซื้อที่ดินนั้น เนื่องจากกรณีของคุณเป็นการแต่งงานจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ ทางกรมที่ดินได้วางระเบียบในเรื่องการซื้อที่ดินของคนไทยซึ่งแต่งงานกับชาวต่างชาติไว้ว่า คุณและสามีจะต้องยืนยันร่วมกันต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินนั้น เป็นของคุณทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีปัญหาในเรื่องที่กฎหมายห้ามคนต่างด้าวถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินในเมืองไทย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสโดยชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว ขอซื้อที่ดิน หรือขอรับโอนที่ดินในกรณีอื่นที่คล้ายคลึงกันในระหว่างสมรส หรือในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับคนต่างด้าวแล้วแต่กรณี หากสอบสวนแล้วผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวได้ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่า เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมดเป็นสินส่วนตัว หรือทรัพย์ส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียวมิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมให้ต่อไป
- สำหรับกรณีที่คู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยที่ประสงค์จะซื้อที่ดินนั้นอยู่ต่างประเทศและไม่สามารถยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันกับคู่สมรสต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวไปดำเนินการบันทึกถ้อยคำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือโนตารีพับริคให้ได้ใจความว่าเงินทั้งหมดที่คู่สมรสที่เป็นบุคคลสัญชาติไทยนำไปซื้อที่ดินนั้น เป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของคู่สมรสที่เป็นบุคคลสัญชาติไทยทั้งหมด ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นสินสมรสหรือเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสต่างด้าวมีส่วนร่วมด้วยแต่อย่างใด และให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับรองว่าบุคคลที่ทำหนังสือนั้น เป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยจริง เสร็จแล้วจึงนำเอกสารดังกล่าวมามอบให้เจ้าพนักงานที่ดินที่จะทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ต่อไป
การเปลี่ยนมาใช้นามสกุลของสามี เป็นคนละประเด็นกับการได้สัญชาติ คุณอาจใช้นามสกุลของสามี แต่ยังไม่ได้สัญชาติของสามีก็ได้
หากเป็นเช่นนั้น เท่ากับว่า คุณยังเป็นคนไทย คุณจึงยังมีสิทธิถือครองที่ดินในประเทศไทยได้
เพียงแต่ว่า หากคุณไปซื้อที่ดิน และมีหลักฐานว่าคุณมิใช่คนโสด มีคู่สมรส และแถมเป็นต่างชาติ
ทางการฝ่ายที่ดินก็จะขอให้คู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติ ทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร ยืนยันว่า
การซื้อที่ดินผืนนี้ เป็นการซื้อโดยเงินส่วนตัวของอีกฝ่าย โดยตนที่เป็นคู่สมรสและเป็นคนต่างชาติ
ไม่มีส่วนได้เสียกับที่ดินส่วนนี้

เมื่อทำการซื้อขายที่ดินแล้ว คุณก็จะเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนนั้นแต่เพียงผู้เดียว
คู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติจะไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินผืนนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม
กฏหมายครอบครัว
//www.lawyerthai.com/law/articles.php?articleid=7&cat=482

อ้างอิง: สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ
Internet





Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2557 1:07:06 น. 0 comments
Counter : 1809 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

PinePh
Location :
Rome Italy, Bangkok Thailand, AMS Netherlands

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




I dont have anything to say much about myself...if you want to know more please check it out!!!
Friends' blogs
[Add PinePh's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.