THANON VEE (ถนนวี)

thanonvee
Location :
Paris France

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add thanonvee's blog to your web]
Links
 

 
มองต่างมุม : ความขัดแย้งทางสังคม ตอน 2



แล้วไงต่อ?

Grenoble, June 2007



คราวที่แล้วเราพูดถึง ปัญหา "ความขัดแย้ง" ต้องผ่าน "วิธีการแก้ไข" แล้วได้ "สมานฉันท์"

มีคนบอกว่าไอ้คิดใครๆก็คิดได้ ที่ว่า ต้องมีวิธีการแก้ไข ถึงจะเกิดสมานฉันท์น่ะ

แต่ปัญหาคือ จะมีวิธีการ หรือจะนำกลยุทธ์แบบไหนมาใช้ นี่ต่างหาก สำคัญที่สุด

ครับ อันนี้เห็นด้วยว่าเป็นความคิดที่ถูก ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆเลย


แต่ เรายอมรับมั้ยหล่ะว่า ที่ผ่านมามีหลายๆคนที่มีหน้าที่โดยตรงในการแก้ไขปัญหานี้แต่ไม่หาวิธีการแก้ไข เพื่อให้ได้มาซึ่งสมานฉันท์ในสังคมเลย เท่าที่เห็นก็ ท่องคาถา "สมานฉันท์" เป็นส่วนใหญ่

อย่างที่บอก ไม่รู้ว่าคนเหล่านี้หลงประเด็นจริงๆ หรือแกล้งหลงประเด็นกันแน่

ถ้าเป็นอันแรก จะหลงมาก หลงน้อย ยังงัยเราต้องให้อภัย และควรให้กำลังใจท่านทั้งหลายต่อไป

ทว่า ถ้าเป็นอย่างหลัง บ้านเมืองเราคงถึงคราววิกฤต (จริงๆ)เข้าแล้ว เพราะถ้ามีใครซักคน ที่รู้ว่าควรแก้อย่างไร และอยู่ในหน้าที่ที่กระทำได้ แต่ไม่ทำ หรือทำแต่แกล้งทำไม่ถูกจุด จับแพะชนแกะและถ่วงเวลาไปเรื่อย นั่นหมายความว่าคนๆนั้นไม่อยากให้ "สมานฉันท์"เกิดขึ้น

ถ้ามมีคนแบบที่ว่านี้จริงในสังคม ผลเสียมีแน่นอน ส่วนจะเป็นอย่างไร มากน้อยแค่ไหนหลับตานึกภาพดูเองก็แล้วกัน


ครั้งนี้ คำถามที่สำคัญที่สุด คือ แล้วมี"วิธีการแก้ไข"ความขัดแย้งอย่างไร"

ถ้าตามหลักทั่วๆไปเนี่ย แก้ความขัดแย้งของกลุ่มคน มันก็ต้องตกลงเจรจากัน

ความขัดแย้งจะหายไป ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายรู้สึกว่าตนเองได้รับความยุติธรรม

นั่นหมายถึงว่า ต้องมีจุดร่วมที่เป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย (หรือหลายฝ่าย)และแต่ละฝ่ายต่างก็ยอมรับในจุดร่วมนั้น

ฟังดูเหมือนง่ายนะ แต่ในทางปฏิบัติแล้วมันเป็นสิ่งที่ยากมาก ยิ่งถ้าเป็นความขัดแย้งในบ้านเมืองเราตอนนี้ ยากเป็นเท่าทวีคูณเลยทีเดียว

ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะต่างฝ่ายต่างไม่ยอมเจรจา และไม่ยอมหาข้อตกลงร่วมกัน ไม่ยอมมาคุยกัน

เพราะแต่ละฝ่ายล้วนเชื่อมั่นในเหตุผลของตนว่าถูกที่สุด ของคนอื่นผิดหมด ทั้งๆที่มันมองกันคนละมุม

เพราะแต่ละคนคิดว่าตนเคยเสียเปรียบ เคยเสียประโยชน์ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกปิดกลั้น ถูกจำกัดสิทธิ ฯลฯ วันหนึ่งต้องเอาคืน วันหนึ่งจะต้องได้ชำระสะสราง ฯลฯ

เมื่อเป็นแบบนี้ เชื่อเถอะไม่มีวันยุติความขัดแย้งได้เด็ดขาด

คนเรานี้แปลก แปลกเพราะไม่มีใครยอมรับเลยว่า ทุกๆอย่างที่ตนเรียกร้อง ทุกอย่างที่ทำมันก็เพื่อผลประโยชน์ของตนทั้งนั้น ทุกๆความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มันเกี่ยวกับผลประโยชน์ทั้งสิ้น แต่ไม่ค่อยมีใครยอมรับจุดนี้เท่าไหร่

ถามว่ามันเป็นสิ่งที่ผิดมั้ยที่เรียกร้องผลประโยชน์ให้ตัวเอง เรียกร้องในสิ่งที่ตนควรจะได้

ไม่เลย ไม่ผิดแน่นอน ถ้าผิด คนทั้งโลกคงจะผิดเหมือนกันหมด

ประเด็นสำคัญคือ เมื่อเรามีผลประโยชน์ และสิทธิต่างๆที่จะต้องมีหรือได้ แต่เรากลับลืมนึกไป หรือแกล้งมองข้ามว่าคนอื่นๆ กลุ่มอื่นๆเขาก็มีเช่นกัน

ในเหตการณ์ที่ผ่านๆมาของสังคมไทย ความขัดแย้งก็เกิดมาจากกรณีนี้

คือต่างฝ่ายต่างก็มองเห็นแค่ว่าตนเสียเปรียบแค่ไหน ตนเสียประโยชน์ที่พึงจะได้อย่างไรและจำเป็นต้องเรียกร้องเพื่อให้ได้คืนมาซึ่งสิ่งเหล่านั้น แต่ก็ลืมนึกไปว่า ฝ่ายที่สูญเสียจากการที่เราได้มานั้น จะได้รับผลกระทบอย่างไร

ครับ เราไม่ได้บอกว่าเมื่อตนเองเสียเปรียบ ไม่ด้รับความเป็นธรรม ก็ให้อยู่เฉยๆ ไม่เรียกร้องใดๆเลย

สิ่งที่ควรทำด้วยก็คือ ยอมรับความเห็น และแนวคิดของคนอื่นๆบ้าง อยามองแค่ตนเสียประโยชน์ ตนไม่ได้รับความยุติธรรม จะต้องได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ แล้วจบ มันไม่ใช่

เพราะเมื่อเราได้มันคืนมา หรือได้เพิ่มมา เมื่อนั้นก็ย่อมมีคนอีกกลุ่ม ที่ต้องสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไป

การเรียกร้อง การแก้แค้น การเอาคือ และความขัดแย้ง ก็เกิดขึ้นอยู่เรื่อยไป ไม่มีวันจบสิ้น

ความขัดแย้งก็มีข้อดี แต่ต้องเป็นไปอย่างที่มันควรจะเป็น และความขัดแย้งนั้นต้องยุติลงด้วยความสันติและเกิดประโยชน์จริงๆ แก่ทุกฝ่าย

แต่ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ มันเป็นความขัดแย้งแบบที่ไม่รับฟังความเห็นของคนอื่นหรือกลุ่มอื่นเลย

ผลก็ก็คือ เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่งมันจบนะ แต่มันจบลงด้วยการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแตกหักไปเลย


จะแก้ไขความขัดแย้ง ก็ต้องใช้การเจรจาตกลงร่วมกันของทุกฝ่าย

เจรจาตกลงนั้น ไม่ใช่ลืมทุกอย่างในอดีต แล้วเริ่มใหม่หมด แต่ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา

เมื่อมองเห็นผลประโยชน์ของตน ก็จำเป็นต้องมองเห็นผลประโยชน์ของคนอื่นด้วย

ปัญหาใหญ่ในสังคมเราตอนนี้คือ ทุกคนคิดว่าความคิด และเหตุผลตนนั้นถูกหมด คนที่คิดไม่เหมือนตนนั้นผิด คือเชื่อมั่นในแนวคิดตนฝ่ายเดียว ไม่ยอมฟังเหตุผลคนอื่น
เช่นนี้ การเจรจาตกลงร่วมกันจึงไม่เกิดขึ้น

และถ้าเพียงการตกลงยังไม่เกิดขึ้นแล้ว ปัญหาความขัดแย้งที่มีเห็นทีจะแก้ไขไม่ได้ สมานฉันท์ ที่ทุกคนฝันหา ก็คงเจะอยู่ในฝันของเราต่อไป



สรุปง่ายๆ จะแก้ไขความขัดแย้ง จำเป็นต้องส่งเสริมให้คนในสังคมเปิดใจรับฟังมุมมองคนอื่นๆบ้าง

อย่ามองแค่ว่าตนเสียประโยชน์อย่างไร เสียเปรียบแค่ไหน แล้วสุดท้ายต้องได้สิ่งเหล่านี้มา

อย่าลืมว่า คนอื่นๆก็เป็นเหมือนเรา มีสิ่งที่เขารูสึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเช่นกัน

ตรงกันข้าม ถ้าแต่ละคนใช้ใจมองดูเหตุผลของคนอื่นๆ เปิดใจรับเหตุผลของคนอื่น อย่างนี้ ไม่ว่าจะขัดแย้งเรื่องอะไร การเจรจาและตกลง มันก็เกิด สุดท้าย สมานฉันท์ ก็ตามมา

สิ่งที่ควรตระหนักคือ บางทีผลประโยชน์ของคุน มันมาจากความเสียหายของอีกหลายๆคน

เช่นกันผลประโยชน์ของบางคนก็เป็นผลเสียกับอีกหลายๆคน อย่างนี้ความขัดแย้งก็เกิด

แล้วจะแก้อย่างไรหล่ะ ก็ต้องมาคุยกัน มาตกลงกันด้วยเหตุผล แล้วหาข้อสรุปร่วมกัน

ถ้าต่างฝ่ายต่างเชื่อมั่นในแนวคิดตน ไม่ยอมรับฟังคนอื่น ไม่ยอมเข้าใจคนอื่น อย่างนี้ ความขัดแย้งก็ยืดเยื้อต่อไปไม่จบง่ายๆ

สุดท้าย "ชาติ" คือผู้รับเคราะห์



หวังว่ามันคงไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไรนะ ถ้าผม ในฐานะ สมาชิกคนหนึ่งในสังคม จะเสนอวิธีหรือแนวคิดในแบบของผม เกี่ยวกับปัญหานี้

ประเด็นไม่ใช่ มันเป็นวิธีการที่ถูกหรือผิด ดีหรือเลว คลอบคลุมหรือไม่?ประเด็นไม่ใช่ มันเป็นแนวคิดของใคร?

สิ่งสำคัญคือ เราได้ร่วมกันเสนอแนวทางมากพอหรือยัง? สังคมไทยมีความร่วมมือ ระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหาของส่วนรวมซักครั้งหรือยัง?

ผมมีหนึ่ง วิธีและแนวคิด คุณอีกหนึ่ง คนอื่นๆอีก ร้อย พัน หมื่นฯลฯ

ถามว่าเอาหมื่นวิธีนี้ไปปรับปรุง เรียบเรียง ออกมาซัก สาม สี่ แนวทางใหญ่ กับวิธีการของผู้เชี่ยวชาญระดับ ดร.สาม สี่คน อันไหนมันจะดีกว่ากัน.....

ทุกคนตอบเหมือนกันว่าเป็นอันแรก แต่วีธีแรกนั้น มันเคยเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมหรือยังในบ้านเมืองเรา



นักเรียน (บ้าน) นอก

19.11.2016 : ย้ายหมวดหมู่ ไม่ได้แก้เนื้อหา



Create Date : 01 มิถุนายน 2550
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2559 23:41:11 น. 0 comments
Counter : 200 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.