เกิดมาทั้งทีต้องมีรสชาติ
Group Blog
 
All Blogs
 
พระนามกรมพระราชโอรสพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 (ชื่อเมืองต่างๆ) และเรื่องฐานันดรศักดิ์สำหรับพระเจ้าแผ่นด

เป็นที่น่าสังเกตว่าพระนามกรมของพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นชื่อเมืองแทบทั้งสิ้น
เป็นกรณีเอาอย่าง Prince of Wales หรือ Duke of York หรือไม่ อย่างไรคะ
( **กรณียกเว้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์**)

ที่น่าสนใจคือ พระราชโอรสพระราชธิดาร่วมพระมารดาเดียวกัน จะทรงกรมเป็นชื่อเมืองในเขตใกล้ๆ กันเช่น

พระราชโอรสธิดา(ที่ทรงกรม)ในพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้แก่

๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี

เป็นภาคกลางหมดเลย

พระราชโอรส(ที่ทรงกรม)ในเจ้าจอมมารดาโหมด
๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
๒ใ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
เป็นภาคใต้ตอนบนหมดเลย

พระนามทรงกรมของพระราชโอรส พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารานุกรมประเทศไทย...พระนามทรงกรมของพระราชโอรส พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ ตั้งตามชื่อหัวเมืองในราชอาณาจักร

สุพรรณภาควดี - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๔๗)
พิจิตรเจษฎ์จันทร์ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ (พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๔๗)
สวรรคโลกลักษณาวดี - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี (พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๕๒)
จันทบุรีนฤนาถ - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๗๔)
ราชบุรีดิเรกฤทธิ์ - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๖๓)
ปราจิณกิติบดี - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๔๖๒)
นครไชยศรีสุรเดช - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (พ.ศ. ๒๔๑๙-๒๔๕๖)
รัตนโกสินทร - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร (พ.ศ. ๒๔๒๐-๒๔๖๕)
เทพนารีรัตน์ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. ๒๔๒๑-๒๔๓๐)
ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (พ.ศ. ๒๔๒๓-๒๔๖๖)
เทพทวาราวดี - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี พ.ศ. ๒๔๓๑) (พ.ศ. ๒๔๒๓-๒๔๖๘)
นครสวรรค์วรพินิต - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๘๗)
มไหสูริยสงขลา - (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนมไหสูริยสงขลา พ.ศ. ๒๔๓๔ ต่อมาโปรดให้เปลี่ยนนามกรมเป็น กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔)
กำแพงเพ็ชรอัครโยธิน - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๗๙)
ศรีธรรมราชธำรงค์ฤทธิ์ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๔๒)
พิไชยมหินทโรดม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๕๓)
พิษณุโลกประชานาถ - สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๖๓)
ลพบุรีราเมศวร์ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๗๕)
ลพบุราดิศร - (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมขุนลพบุราดิศร พ.ศ. ๒๔๓๔ ต่อมาโปรดให้เปลี่ยนนามกรมเป็น กรมขุนลพบุรีราเมศวร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙)
สิงหวิกรมเกรียงไกร - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (พ.ศ. ๒๔๒๖-๒๔๙๐)
เพชรบุรีราชสิรินธร - สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๑)
สรรควิสัยนรบดี - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๕๕)
ไชยาศรีสุริโยภาส - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๖๒)
ศรีสัชนาลัยสุรกัญญา - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา (พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๗๖๗)
ชัยนาทนเรนทร - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร (พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๙๓)
อู่ทองเขตขัตติยนารี - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี (พ.ศ. ๒๔๒๙-๒๔๗๔)
นครราชสีมา - สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๖๗)
สงขลานครินทร์ - สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๔๗๒)
เพ็ชรบูรณ์อินทราชัย - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๖๖)
สุโขทัยธรรมราชา - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา พ.ศ. ๒๔๔๘) (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๘๔)
ในจำนวนนี้ มี ๘ พระองค์ ที่เป็นพระราชธิดา คือ กรมขุนสุพรรณภาควดี กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร กรมพระเทพนารีรัตน์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา และกรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
ในบรรดาพระราชโอรส-ธิดาของรัชกาลที่ 5 พระองค์ใดที่มีพระชนมายุยืนที่สุด

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร
เป็นพระราชธิดาในรัชกาล๕ พระองค์สุดท้าย ที่สิ้นพระชนม์
สิ้นพระชนม์ ปี ๒๕๒๕ พระชนมายุ ๙๑ พรรษา ค่ะ

พระราชโอรสธิดา ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงอยู่ถึงรัชกาลปัจจุบัน นอกจากเสด็จฯพระองค์วาปีก็มี

เรียงตามลำดับพระชนมายุนะคะ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ กรมพระยาไชยนาทนเรนทร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
เป็นพระราชโอรสธิดา ลำดับที่ ๕๒ ลงไปแล้วทั้งนั้นเลยนะคะ
เจ้านายที่ทรงมีพระชนมายุ ๖๐ พรรษาขึ้นไปก็มีอยู่ไม่น้อยพระองค์นะคะ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร
และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี

เป็นเจ้านายฝ่ายใน ใน รัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงมีพระชนมายุอยู่ถึงปัจจุบัน
ในหลวงทรงมีพระมหากรุณาเอาพระทัยใส่ทุกพระองค์อย่างดียิ่งจนสิ้นพระชนม์
ทรงสร้างวังราชทัต พระราชทาน เสด็จฯพระองค์เหมวดี
ทุกพระองค์ ในหลวงทรงเสด็จฯพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ เฝ้าเยี่ยมที่วังที่ประทับเสมอ

สำหรับถวายบังคมเจ้านายเหล่านั้น ทรงถวายแน่นอนค่ะ
และในหลวงและสมเด็จฯ ก็ทรงแสดงคาระวะ และพระราชทานเกียรติแก่เสด็จฯอย่างมากเช่นกัน
โดยปกติ หากทรงพระสำราญดี มิได้ประชวร
เสด็จฯ ในรัชกาลที่ ๕ ก็จะทรงประทับเฝ้ากับพื้น แต่ไม่ถึงกับหมอบกราบนะคะ
สมเด็จพระนางเจ้าก็ทรงประทับอยู่กับพื้นเช่นกัน
ในเวลาที่เสด็จฯทรงมาเฝ้าใกล้ๆพระองค์ เพื่อรับพระราชทานหรือถวายของ
ในหลวงก็จะทรงประทับคุกพระชานุลงกับพื้น เพื่อรับของถวายหรือพระราชทานของ

อันที่จริงไม่เฉพาะพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ นะคะ
พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งทรงประทับอยู่เวลานั้น
คือ เสด็จฯพระองค์ประดิษฐารี ซึ่งทรงมีศักดิ์ เหมือนเป็นย่า
ในหลวงก็ทรงเสด็จฯเยี่ยม ณ พระตำหนักในพระบรมมหาราชวังเสมอ
และ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการต่างๆ เป็นต้นว่าการครบรอบพระชนมายุเสด็จฯ
ดูเสด็จฯจะทรงเอ็นดูรักใคร่ ในหลวง และ สมเด็จฯมากนะคะ
ในหลวง และ สมเด็จฯ ก็ดูจะทรงรักและเคารพ เสด็จพระองค์นี้มากเช่นกัน

เจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ ก็ทรงมีพระกรุณามากเช่นกัน
เป็นต้นว่า เจ้าจอมมารดาอ่อน หรือ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ


ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน
ฐานันดรศักดิ์ของพระเจ้าแผ่นดินไทยนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นฐานันดรที่ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดินของประเทศไทยโดยทั่วไป
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นฐานันดรที่ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดินของประเทศไทย ที่ซึ่งยังมิได้ทรงผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระภรรยาเจ้า
ตามประเพณีไทย ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชชายาไทยนั้น จะขึ้นอยู่กับฐานันดรศักดิ์ตั้งแต่กำเนิด เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง จะสามารถมีฐานันดรศักดิ์สูงกว่าเจ้าจอม ฐานันดรศักดิ์ในที่นี้ ได้เรียบเรียงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2467
สมเด็จพระราชินี
ฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระราชินีนั้น ได้ปรากฏขึ้นในรัชกาลพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ คือ ฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระอัครมเหสี ที่มีฐานันดรสูงที่สุด รองลงมาจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานหลังจากสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์นั้น ได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มี 2 พระองค์ ได้แก่
สมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์แรก ได้แก่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์ที่ 2 ได้แก่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ หลังจาก ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างทรงผนวช
สมเด็จพระบรมราชินี
สมเด็จพระบรมราชินี คือ ฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระราชินีที่มีฐานันดรรองลงมาจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และยังมิได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทน เช่น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7
สมเด็จพระราชินี
สมเด็จพระราชินี คือ ฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระราชินี ที่มีฐานันดรรองลงมาจากสมเด็จพระบรมราชินี พระราชทานเมื่อพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ยังมิได้ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เช่น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ (ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับพระบรมราชาภิเษกแล้ว)
พระภรรยาเจ้า
ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระภรรยาเจ้านั้น เป็นฐานันดรสำหรับพระภรรยาที่ทรงเป็นเจ้าหญิงมาตั้งแต่กำเนิด อันได้แก่ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และ หม่อมเจ้า
สมเด็จพระบรมราชเทวี และ สมเด็จพระอัครราชเทวี
สมเด็จพระบรมราชเทวี คือ ฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้าที่สูงที่สุด ก่อนที่จะมีฐานันดรสมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่ 5 มี 2 พระองค์ที่ทรงมีฐานันดรนี้ ได้แก่
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระอัครราชเทวี เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 และมี 2 พระองค์ที่ทรงมีฐานันดรนี้ ได้แก่
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ได้รับการสถาปนาในรัชกาลที่ 5 ในฐานะที่ทรงเป็นพระชนนีของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ได้รับการสถาปนาในสมัยรัชกาลที่ 7
พระนางเจ้า...พระราชเทวี , พระนางเจ้า...พระวรราชเทวี และ พระนางเจ้า...พระอัครราชเทวี
พระนางเจ้า...พระราชเทวี ,พระนางเจ้า...พระวรราชเทวี และ พระนางเจ้า...พระอัครราชเทวี คือ ฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้า ที่มีฐานันดรรองลงมาจากสมเด็จพระบรมราชเทวี พระภรรยาเจ้าที่ทรงมีฐานันดรนี้ ก็อย่าง เช่น
พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 5
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6
พระนางเธอ
พระนางเธอ คือ ฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้า ที่มีฐานันดรรองลงมาจาก พระนางเจ้า...พระราชเทวี พระนางเจ้า...พระวรราชเทวี และ พระนางเจ้า...พระอัครราชเทวี พระภรรยาเจ้าที่ทรงมีฐานันดรนี้ เช่น พระนางเธอลักษมีลาวัณ ในรัชกาลที่ 6
พระอัครชายาเธอ
พระอัครชายาเธอ คือ ฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้า ที่มีฐานันดรรองลงมาจาก พระนางเธอ พระภรรยาเจ้าที่ทรงมีฐานันดรนี้ เท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ มักเป็นเจ้านายที่ประสูติเป็นหม่อมเจ้าหลานเธอในพระมหากษัตริย์มาก่อน เช่น พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ พระอัครชายาเธอในรัชกาลที่ 5
พระราชชายา
ปรากฏพระนามเพียงแค่ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ราชธิดาใน พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระราชชายาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม
เจ้าจอมมารดา คือ ฐานันดรศักดิ์ของเจ้าจอม ผู้ซึ่งมีพระราชโอรส หรือ พระราชธิดา เช่น เจ้าจอมมารดาตลับ และ เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าจอม คือ ฐานันดรศักดิ์ที่พระราชทานให้สำหรับภรรยาของพระมหากษัตริย์ ผู้ที่มีกำเนิดเป็นเจ้าประเทศราช หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง และสามัญชนทั่วไป เช่น เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หมายเหตุ ตำแหน่งเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ไม่ได้รับพระราชทานสถาปนายศให้เป็นเจ้า

พระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา และพระราชสกุล
ลูกหลวง (ชั้นพระบรมวงศ์-พระราชโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์)
เจ้าฟ้า
เจ้าฟ้า เป็นฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากพระภรรยาเจ้า แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่
เจ้าฟ้าชั้นเอก เป็นฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชโอรสธิดา ประสูติแต่พระเจ้าแผ่นดินกับสมเด็จพระอัครมเหสี หรือพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง คือภรรยาที่มีกำเนิดเป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ขานพระนามโดยลำลองว่า ทูลกระหม่อมชาย และ ทูลกระหม่อมหญิง
เจ้าฟ้าชั้นโท เป็นฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชโอรสธิดา ประสูติแต่พระเจ้าแผ่นดินกับพระมเหสีชั้นหลานหลวง คือภรรยาที่มีกำเนิดเป็นพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ หรือพระมเหสีเทวีชั้นรองลงมาที่มีกำเนิดเป็นสามัญชนแต่ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นเจ้า เช่น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีพระราชธิดาในรัชกาลที่ 6 กับ[[พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี] (มีพระกำเนิดเป็นสามัญชน--คุณเครือแก้ว อภัยวงศ์)
นอกจากนี้ เจ้าฟ้าชั้นโทยังหมายถึงผู้ที่เป็นพี่น้องร่วมกับพระมหากษัตริย์ แล้วต่อมาได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้า เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ขานพระนามโดยลำลองว่า สมเด็จชาย และ สมเด็จหญิง
เจ้าฟ้าชั้นตรี เป็นฐานันดรศักดิ์สำหรับเจ้าฟ้าที่พระมหากษัตริย์พระราชทานสถาปนาเป็นกรณีพิเศษ เช่น เจ้าฟ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 1 และ เจ้าฟ้าพระราชโอรสธิดาใน กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าฟ้าเป็นกรณีพิเศษ เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร พระราชธิดาใน สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท กับ พระอัครชายาเธอ เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา ซึ่งทรงเป็นพระราชขนิษฐาใน พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
พระองค์เจ้า (ชั้นลูกหลวง)
พระองค์เจ้า คือฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากเจ้าฟ้า คือพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวงได้แก่
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า คือ ฐานันดรศักดิ์สำหรับ พระราชโอรส-ธิดา ซึ่งประสูติแต่พระเจ้าแผ่นดิน กับเจ้าจอมมารดาสามัญชน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ฯลฯ
หลานหลวง (ชั้นพระอนุวงศ์-พระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์)
1. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า โดยปกติแล้ว คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชนัดดาของพระเจ้าอยู่หัว จำแนกได้อีก ดังนี้
พระโอรส-ธิดา ใน เจ้าฟ้า กับ พระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้าที่เป็นชายาเอก (สะใภ้หลวง) เช่น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตมงคล
หม่อมเจ้าหลานเธอบางองค์ ซึ่งได้รับพระราชทานฐานันดรเป็นพระองค์เจ้าเป็นกรณีพิเศษ เช่น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
2. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชนัดดาของพระเจ้าอยู่หัว จำแนกได้อีก ดังนี้
พระโอรส-ธิดา ใน เจ้าฟ้า กับ หม่อมสามัญชน(ในบางกรณี) เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับ หม่อมสมพันธ์ บริพัตร(ราชสกุลเดิม ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) พระโอรส-ธิดา ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ชั้นลูกหลวง) กับ พระองค์เจ้า เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธินฤมล
หรือหม่อมเจ้าที่รับพระราชทานสถาปนาเป็นพิเศษ
กรณีได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพิเศษก็เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ พระราชบิดาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งประสูติเป็นหม่อมเจ้า (ส่วนพระโอรสธิดาของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านั้น จะมีฐานันดรศักดิ์เป็นสามัญชน คือหม่อมราชวงศ์)
หม่อมเจ้า หม่อมเจ้าหญิง
หม่อมเจ้า(ม.จ.) คือฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากพระองค์เจ้า เป็นชั้นสกุลยศที่ต่ำที่สุดสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ โดยปกติแล้วฐานันดรนี้ จะได้แก่โอรสธิดาในเจ้าฟ้า กับ สามัญชน และ โอรสธิดาใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าที่ได้รับพระราชทานสถาปนาพระยศเป็นพิเศษในบางกรณี
เจ้านายชั้นจะเรียกกันโดยลำลองว่า ท่านหญิง ท่านชาย
ราชนิกุล และสายสัมพันธ์
บุคคลนับเนื่องราชราชสกุล ลำดับรองลงมาจากหม่อมเจ้า แม้มีคำนำหน้านามเป็นพิเศษอยู่ แต่ก็ถือเป็นสามัญชนหม่อมราชวงศ์
หม่อมราชวงศ์(ม.ร.ว.) คือฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากหม่อมเจ้า เป็นคำนำหน้านามสำหรับโอรสธิดาในหม่อมเจ้า เรียกโดยลำลองว่า คุณหญิง คุณชาย
หม่อมหลวง
หม่อมหลวง (ม.ล.) คือบุตรธิดาของหม่อมราชวงศ์ เป็นคำนำหน้านามขั้นสุดท้ายของเชื้อพระวงศ์
ณ อยุธยา
ณ อยุธยา นั้น คือคำต่อท้ายนามราชสกุลของผู้สืบสกุลต่อมาจากหม่อมหลวง ซึ่งให้เป็นที่รู้กันว่าเป็นสามัญชนผู้สืบเชื้อสายในราชสกุลรองจากชั้นหม่อมหลวงลงมา อนึ่ง บุคคลผู้มีนามสกุลต่อท้ายว่า ณ อยุธยา นั้นมิได้เป็นเจ้านายในพระราชวงศ์ (พระราชวงศ์หมายถึงหม่อมเจ้าขึ้นไป) และมิใช่เชื้อพระวงศ์ (หมายถึงสามัญชนผู้มีคำนำหน้านามว่า หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง)
หม่อม
หม่อม นั้น มีอยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้
หม่อมราชนิกุล คือ หม่อมราชวงศ์ หรือ หม่อมหลวง ที่รับราชการ มีความดีความชอบ กระทั่งได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น เช่น หม่อมอนุวัตรวรพงษ์ ซึ่งมีนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิงหนัด ปราโมช
เจ้าชาย เจ้าหญิง ที่ทรงต้องพระราชอาญาถูกถอดพระยศ เช่น หม่อมไกรสร (เดิมคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษรณเรศ)
สตรีสามัญชนผู้เป็นภรรยาของเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า ลงมาถึงชั้นหม่อมเจ้า เช่น หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ หม่อมไฉไล ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ฯลฯ
ชายผู้ดี ใช้เรียกกันอย่างลำลองใช้เมื่อครั้งกรุงเก่าและตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น หม่อมมุก พระสวามีในพระเจ้าน้องนางเธอ กรมหลวงนรินทรเทวีในรัชกาลที่ ๑ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์

พระภรรยาของเจ้าชาย
มีทั้งหมด 3 ฐานันดร ได้แก่
พระชายา
พระชายา คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระภรรยาของ เจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า ซึ่งเป็นเจ้าหญิงมาตั้งแต่กำเนิด เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ "พระชายา" ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
ชายา
ชายา คือฐานันดรศักดิ์สำหรับภรรยาของหม่อมเจ้า ซึ่งมีกำเนิดเป็นเจ้าเหมือนกัน เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา "ชายา" ในหม่อมเจ้าเศิกสงัด ชุมพล
หม่อม
หม่อม คือคำนำหน้านามสำหรับภรรยาที่เป็นหญิงสามัญชนของเจ้าชาย เช่น หม่อมแจ๊กเควลิน จิตรพงศ์ ณ อยุธยา ในหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์


Create Date : 28 มกราคม 2551
Last Update : 28 มกราคม 2551 16:50:16 น. 0 comments
Counter : 1244 Pageviews.

LowLow
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add LowLow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.