เกิดมาทั้งทีต้องมีรสชาติ
Group Blog
 
All Blogs
 

๔๙ ราชินี (๕)

9 .กรมพระเทพามาตย์

มเหสีกษัตริย์ผู้อยู่ในวัด

กรมพระเทพามาตย์นี้เป็นพระมเหสีดั้งเดิมของพระเพทราชามาตั้งแต่ยังมิได้ราชสมบัติ ครั้นเมื่อพระเพทราชาปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แล้วก็ได้โปรดให้พระอัครมเหสีเดิมเป็นพระอัครมเหสีกลาง ตั้งเจ้าฟ้าศรีสุวรรณหรือพระราชกัลยาณี ซึ่งเป็นพระภคินีของสมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นอัครมเหสีฝ่ายขวา และตั้งเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพ ซึ่งเป็นพระราชธิดาแห่งสมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นพระอัครมเหสีฝ่ายซ้ายกรมพระเทพามาตย์จึงนับเป็นพระราชมารดาเลี้ยงของพระเจ้าเสือ และได้แสดงความรักใคร่เอ็นดูต่อพระเจ้าเสือมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ มีนามว่านายเดื่อด้วยเมื่อพระเพทราชาสวรรคต กรมพระเทพามาตย์จึงทูลลาพระเจ้าเสือไปตั้งตำหนักอยู่ในที่ใกล้พระอารามวัดดุสิต

พระอารามวัดดุสิตนี้ มีความสำคัญมาแต่ในกาลก่อน คือเคยเป็นพระตำหนักมาแล้ว กล่าวคือ เจ้าแม่ผู้เฒ่า ผู้เป็นพระสนมเอกของสมเด็จพระนารายณ์ฯ และเป็นมารดาของเจ้าพระยาโกษาเหล็ก เจ้าพระยาโกษาปาน (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า เป็นพระสนมเอกพระนารายณ์ฯ แต่คงผิด เพราะเจ้าพระยาโกษาเหล็กและเจ้าพระยาโกษาปาน มิได้เป็นโอรสสมเด็จพระนารายณ์) เจ้าแม่ผู้เฒ่านี้ เคยใช้พระอารามวัดดุสิตเป็นพระตำหนักมาก่อน จึงเรียกว่า เจ้าแม่วัดดุสิต (เจ้าแม่วัดดุสิตนี้ เคยขึ้นไปขอพระราชทานอภัยโทษจากสมเด็จพระนารายณ์ฯ ให้แก่หลวงสรศักดิ์ คราวชกปากเจ้าพระยาวิชเยนทร์เป็นผลสำเร็จ)

กรมพระเพทามาตย์ มีบทบาทสำคัญเพียงครั้งเดียว ในสมัยพระเจ้าเสือ และเป็นการขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ผู้อื่นเช่นเดียวกับที่เจ้าแม่วัดดุสิตเคยทำมาแล้ว เรื่องราวนั้นมีดังนี้

ในปีมะเมีย จัตราศก พระเจ้าเสือปรารถนาจะเสด็จไปประพาสล้อมช้างเถื่อนในป่า โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอสองพระองค์ คือ พระบัณฑูรน้อยกับพระเจ้าลูกเธอ กรมพระราชวังบวรเสด็จด้วยคราวนั้นตรงกับฤดูฝน ฝนตกน้ำนองท่วมไปทั้งป่า ผู้คนต้องลุยน้ำเร่งรัดกันตั้งค่ายทั้งวันทั้งคืน กล่าวกันว่าจนกระทั่งเท้าเปื่อยเป็นที่ทุกขเวทนา ล้มตายลงไปเสียก็มากต่อมากระหว่างค่ายหลวงที่ประทับและค่ายล้อมช้างต่อกันนั้น มีบึงขนาดใหญ่ขวางอยู่กลาง พระเจ้าเสือจึงให้พระเจ้าลูกยาเธอทั้งสองพระองค์ เป็นแม่กองกะเกณฑ์คนถมถนนหลวงข้ามบึง เพราะไม่สามารถอ้อมบึงใหญ่ไปทอดพระเนตรช้างเถื่อนในค่ายล้อมได้ครั้งรุ่งขึ้น พระเจ้าเสือก็เสด็จยาตราพระคชาธารข้ามบึง ครั้นไปถึงกลางบึงที่เป็นหล่มลึกที่ดินไม่แน่นพอ เท้าหน้าช้างต้นก็เหยียบถลำจมลงไปแล้วกลับขึ้นได้ จึงค่อยจ้องจดยกต่อไป จึงทรงพระพิโรธแก่พระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ ดำรัสว่า

“อ้ายสองคนนี้ มันเห็นว่ากูแก่ชราแล้ว จึงชวนกันคิดเป็นกบฏ และทำถนนให้เป็นพลุหล่มไว้ หวังจะให้ช้างซึ่งกูขี่นี้เหยียบถลำหล่มล้มลงแล้วมันจะชวนกันฆ่ากูเสีย หมายจะเอาราชสมบัติ”

ครั้นเสด็จข้ามพ้นบึง ขึ้นถึงฝั่งแล้ว ทอดพระเนตรเห็นช้างพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ตามเสด็จมา ก็ทรงพระพิโรธนัก จึงเยื้องพระองค์ทรงพระแสงของ้าว เงื้อจะฟันเอาพระเศียรสมเด็จพระเจ้าลูกเธอกรมพระราชวังบวร แต่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมพระบัณฑูรน้อย เอาด้ามพระแสงขอซึ่งทรงอยู่นั้น ยกขึ้นกันรับพระแสงของ้าวไว้ได้เสียก่อน เพราะทรงชำนิชำนาญในทางกระบี่กระบองและมวยปล้ำ แล้วเอาช้างทรงเข้ากันช้างพระเชษฐา และพากันขับช้างหนีไปพระเจ้าเสือก็ยิ่งทวีความพิโรธและจะไสพระคชาธารไล่ตามไป แต่ควานซึ่งนั่งอยู่ท้ายช้างพระที่นั่ง เกรงว่าพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์จะหนีไปไม่ทัน จึงเอาขอท้ายช้างเกี่ยวท้ายช้างพระที่นั่งเข้าไว้ให้ค่อยรอช้าลง พระเจ้าลูกเธอทั้งสองจึงรีบไสช้างพระที่นั่งแล่นหนีบุกป่าไปได้ต่อมา ตำรวจและข้าราชการทั้งหลายตามจับพระเจ้าลูกเธอทั้งสองได้ และนำมาถวายที่ค่ายหลวง จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์นั้น ได้ยกหนึ่ง 30 ทีแล้วให้พันธนาเข้าไว้ด้วยสังขลิกพันธ์ แล้วดำรัสสั่งว่าให้ลงพระอาญาเฆี่ยนรับเสด็จเพลาเช้ายกหนึ่ง เย็นยกหนึ่งเป็นนิจทุก ๆ วันไปอย่าให้ขาดกว่าจะเสด็จกลับพระนครนายผลข้าหลวงเดิมคนหนึ่งเกรงว่าพระเจ้าลูกเธอจะสิ้นพระชนม์เสียก่อน จึงทูลแนะให้เอาตำรวจไปทูลเชิญสมเด็จพระอัยกีกรมพระเทพามาตย์ ซึ่งเสด็จอยู่ ณ พระตำหนุกริมวัดดุสิตขึ้นมาช่วยกราบทูลขอโทษข้อความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา มีว่า

“เห็นว่าจะทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานให้เป็นมั่นคง ด้วยเหตุว่ากรมพระเทพามาตย์นี้มีคุณูปการเป็นอันมาก ได้อุปถัมภ์บำรุงเลี้ยงรักษาสมเด็จพระราชบิดามาแต่ทรงพระเยาว์นั้น จะว่าไรก็ว่ากันได้ เห็นจะขัดกันมิได้ และซึ่งจะอุบายคิดไปอย่างอื่นนั้น เห็นจะไม่พ้นโทษ”

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์จึงให้หลวงเกษตรรักษา เอาเรือเร็วรีบลงไปเฝ้าสมเด็จพระอัยกีกรมพระเทพามาตย์ กราบทูลเชิญขอให้ขึ้นมาช่วยทูลขอพระราชทานอภัยโทษหลวงเกษตรรักษา จึงลงเรือเร็วรีบลงไป ณ กรุง สามวันก็ถึง จึงเข้าไปเฝ้ากรมพระเทพามาตย์ ณ พระตำหนักริมวังดุสิต กราบทูลให้ทรงทราบทุกประการสมเด็จกรมพระเทพามาตย์จึงรีบเสด็จขึ้นมา แล้วกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ สมเด็จพระเจ้าเสือจึงพระราชทานอภัยโทษให้ พร้อมกับตรัสว่า

“เจ้าคุณจงรับเอามันทั้งสองนั้นลงไปเสียด้วยเถิด อย่าให้มันอยู่กับข้าพเจ้าที่นี่เลย และถ้าจะเอามันไว้ที่นี่ด้วยข้าพเจ้าไซร้ มันจะคิดการกบฏฆ่าข้าพเจ้าเสียอีกเป็นมั่นคง”

กรมพระเทพามาตย์ จึงไปถอดสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ออกจากโทษ แล้วทูลลาสมเด็จพระเจ้าเสือ พาเอาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกลับไปด้วยพระนางเป็นที่พึ่งของผู้อื่นโดยตลอดมา อย่างเช่นเมื่อครั้งพระองค์เจ้าดำถูกพระเจ้าท้ายสระประหารชีวิต พระองค์เจ้าแก้ว ซึ่งเป็นบาทบริกาพระองค์เจ้าดำนั้นเป็นหม้ายอยู่ ก็เสด็จไปทรงผนวชเป็นพระรูปชีอยู่ ณ พระตำหนักวัดดุสิตกับสมเด็จกรมพระเทพามาตย์ด้วยสมเด็จพระเทพามาตย์สวรรคตเมื่อศักราช 1073 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ



- - - - - - - - - - - - - - - -




10. กรมหลวงโยธาทิพ

มีโชคเป็นมเหสีกษัตริย์ฝ่ายขวาได้เพราะตู้หนังสือ

กรมหลวงโยธาทิพนี้ ในขั้นต้นเรียกกันว่า พระราชกัลยาณี เป็นขนิษฐาพระนารายณ์ พระราชกัลยาณีมีความสำคัญต่อราชบัลลังก์เป็นอันมาก เพราะเป็นคู่ทุกข์คู่ยากของพระนารายณ์ และเป็นผู้มีส่วนอย่างสำคัญในการทำให้พระนารายณ์ได้ราชสมบัติ

เรื่องราวเริ่มในรัชกาลเจ้าฟ้าไชย ซึ่งได้ราชสมบัติจากพระราชบิดา คือ พระเจ้าปราสาททอง แต่พระนารายณ์ไม่เห็นด้วย จึงส่งคนสอดออกมาคิดราชการด้วยพระศรีสุธรรมราชาผู้เป็นพระเจ้าอา พระเจ้าอาก็กำหนดเข้าไปครั้งเพลาค่ำ พระนารายณ์ก็พาพระราชกัลยาณี หนีออกมาทางประตูตัดสระแก้ว ไปหาพระเจ้าอา แล้วร่วมกันสุมผู้คนยกเข้ามาในพระราชวัง กุมเอาเจ้าฟ้าไชยไปสำเร็จโทษเสีย ณ วัดโคกพระยา พระเจ้าอาคือพระศรีสุธรรมราชาจึงได้ราชสมบัติแต่เนื่องจากพระราชกัลยาณีมีสิริโฉมงดงามมาก กล่าวกันว่าแม้นใครได้ยลพระราชกัลยาณีแล้ว จะมีเสน่หานั้นเป็นไม่มีเลย

เมื่อพระศรีสุธรรมราชาได้ราชสมบัติแล้วประมาณสองเดือนเศษ ทอดพระเนตรเห็นพระราชกัลยาณีผู้เป็นราชนัดดาทรงพระรูปสิริวิลาศ ก็มีพระทัยเสน่หาผูกพัน ปราศจากลัชชีสมโภค จึงให้หาขึ้นไปบนที่หวังจะร่วมรสสังวาสกับพระราชกัลยาณีพระราชกัลยาณี จึงหนีลงมายังพระตำหนัก แล้วบอกเหตุกับพระนม พระนมจึงเชิญพระราชกัลยาณีเข้าไว้ในตู้พระสมุด แล้วหามออกมา แสร้งว่าจะเอาพระสมุดไปยังพระราชวังบวรสถานมงคล นายประตูก็มิได้สงสัยครั้นไปถึงพระราชวังบวรสถานมลคลแล้ว พระราชกัลยาณีก็ออกจากตู้เข้าไปเฝ้าสมเด็จเชษฐาธิราช คือสมเด็จพระนารายณ์ แล้วทรงพระกันแสงทูลเล่าเหตุการณ์ทั้งปวงเกี่ยวกับพระเจ้าอาให้ฟัง

สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ได้ทรงฟังดังนั้นก็ทรงโทมนัสน้อยพระทัย ตรัสว่า

“พระเจ้าอาก็เหมือนพระบรมราชบิดา… ควรหรือมาเป็นดังนี้ จะละไว้ก็มิได้ ด้วยพระองค์ก่อแล้วจะสานตาม จะเสี่ยงเอาบารมีเป็นที่พึ่ง”

ต่อจากนั้น ก็ตรัสให้หาขุนนางเข้ามาภายในพระราชวัง แล้วจัดแจงแต่งรี้พล สมเด็จพระนารายณ์ฯ เองเสด็จช้างต้นพลายมงคลไอยรา เสด็จไปทางหน้าวัดพลับพลาชัยครั้นสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทราบเหตุจึงจดทัพเข้าสู้ ได้รบพุ่งกันตั้งแต่ค่ำจนรุ่ง โดยฝ่ายพระนารายณ์มีญี่ปุ่นร่วมด้วยต่อมา ทหารฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์ฯ กระทุ้งประตูเข้าไปในวังได้ สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาจึงหนีไปยังวังหลัง แต่ถูกจับได้ พระนารายณ์ฯ ก็ให้ประหารเสียที่วัดโคกพระยาตามประเพณีครั้นพ้นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ฯ แล้ว พระราชกัลยาณีก็มีบทบาทสำคัญอีก คือเมื่อพระเพทราชาขึ้นครองราชสมบัติ ก็โปรดให้พระราชกัลยาณี (เจ้าฟ้าศรีสุวรรณ) เป็นกรมหลวงโยธาทิพ ตำรงตำแหน่งอัครมเหสีฝ่ายขวาข้อนี้ เห็นทีกรมหลวงโยธาทิพจะไม่ร่วมตกลงปลงพระทัยด้วย เพราะเมื่อพระเพทราชาจะเสด็จไปเข้าที่บรรทม ณ ตำหนักตึกกรมหลวงโยธาทิพ พระนางกลับให้ทูลพระอาการว่าประชวรอยู่ เมื่อเสด็จไปคราวหลังพระนางจึงยินยอมต่อมาสมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายขวากระหลวงโยธาทิพ ประสูติราชโอรสได้นามว่า เจ้าพระขวัญกล่าวกันว่า ในวันประสูติเจ้าพระยาขวัญนั้น เป็นอัศจรรย์ด้วยแผ่นดินไหว จึงมีคนนับถือมาก ประกอบกับเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ด้วยเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าพระขวัญพระชนม์ครบ 13 พรรษา จึงมีพระราชพิธีโสกันต์ ณ พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทต่อมา กรมพระราชวังบวร (พระเจ้าเสือ) ทรงพระราชดำริแคลงเจ้าพระขวัญ ด้วยเห็นข้าไทมาก จึงร่วมคิดกับเจ้าฟ้าเพชรคอยทีอยู่เมื่อพระเพทราชาทรงประชวรหนักใกล้สวรรคต จึงให้มหาดเล็กไปทูลเชิญเจ้าพระขวัญ ว่ามีรับสั่งให้ไปเฝ้า เพื่อให้ทรงม้าเทคให้ทอดพระเนตร เจ้าพระขวัญกำลังเสวยผลอุลิตหวานค้างอยู่ เมื่อทราบว่ามีรับสั่งให้หาก็มิได้เสวยต่อไป และซีกซึ่งยังมิได้เสวยนั้นเอาใส่ไว้ในเครื่อง แล้วทูลลาสมเด็จมารดา เสด็จไปเฝ้ากรมพระราชวังบวร ณ พระตำหนักหนองหวาย เมื่อเจ้าพระขวัญไปถึง ก็มีพระบัณฑูรห้ามพระพี่เลี้ยงและข้าไททั้งปวงมิให้เสด็จเข้าไป และให้ปิดประตูกำแพงแก้ว แล้วให้จับเจ้าพระขวัญสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์ ต่อจากนั้นให้เอาพระศพใส่ถุงแล้วใส่ลงในแม่ขัน ให้ข้าหลวงเอาไปฝังไว้ ณ วัดโคกพระยาพี่เลี้ยงและข้าไททั้งปวงจึงชวนกันร้องไห้ แล้วกลับไปทูลเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพ

เหตุการณ์ตอนนี้ เป็นเรื่องราวของอภินิหาร พระราชพงศาวดารกล่าวว่า เจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพ เมื่อเจ้าพระขวัญทูลลาไปนั้น กำลังเข้าที่บรรทมอยู่ พอเคลิ้มหลับก็ได้ยินพระราชบุตรมาทูลว่า ข้าพเจ้าขอพระราชทานผลอุลิตหวานซีกซึ่งเหลืออยู่นั้นเสวยต่อไป ก็ตกพระทัยตื่นขึ้นมาทันทีทันใดพอดีกับมหาดเล็กมาทูลว่าเจ้าพระขวัญถูกปลงพระชนม์ เจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพได้ฟังก็ตกพระทัย ทรงพระกันแสงถึงพระราชบุตร แล้วเสด็จขึ้นไปเฝ้าพระเพทราชา ซึ่งกำลังทรงพระประชวรหนักพระเพทราชาได้ทรงฟังก็ตกพระทัยอาลัยในพระราชโอรส แล้วมอบราชสมบัติให้แก่เจ้าพระยาพิไชยสุรินทร์ และเสด็จสวรรคตในคืนนั้นเองแต่เจ้าพระยาพิไชยสุรินทร์ไม่กล้ารับราชสมบัติ จึงถวายให้พระเจ้าเสือ

เมื่อพระเจ้าเสือได้ราชสมบัติแล้ว กรมหลวงโยธาทิพก็ทูลลาออกไปตั้งพระตำหนักอยู่ที่ใกล้พระอารามวัดพุทไธศวรรย์ พร้อมกับกรมหลวงโยธาเทพพระอัครมเหสีฝ่ายซ้ายของสมเด็จพระเพทราชากรมหลวงโยธาทิพ ทิวงคตที่พระตำหนักนั้นเอง



- - - - - - - - - - - - - - - -





 

Create Date : 28 มกราคม 2551    
Last Update : 28 มีนาคม 2551 11:11:10 น.
Counter : 3251 Pageviews.  

๔๙ ราชินี (๒๔)

49.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


พระนางทรงโปรดเพลง “Home Sweet Home”
พระราชธิดาของพระนางทรงโปรดเพลง “ลาวดวงเดือน”


มีพี่น้องสี่คน เดินออกจากบ้านที่ปากคลองผดุงกรุงเกษม มาขึ้นรถรางชั้นที่หนึ่ง โดยมีคนใช้ตามหลัง พี่ชายทั้งสองเรียนที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ส่วนสองน้องหญิงเรียนที่เซนต์ฟรังฯ

เมื่อถึงโรงเรียน เด็กหญิงหนึ่งในสองก็นั่งลงที่หน้าเปียโน แล้วลงมือเล่นเพลง Home Sweet Home อันเป็นเพลงที่ชวนให้ประหวัดคิดถึงบ้านเกิดเมืองมารดรต่อมาไม่นาน Home Sweet Home ก็ดังขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยฝีมือของคนคนเดิม แต่คราวนี้ภายในเมืองใหม่ คือมหานครลอนดอน และบรรยากาศที่จริงจังยิ่งกว่าครั้งแรก เพราะครั้งนี้การเล่น Home Sweet Home เป็นการเล่นเพราะคิดถึงบ้านจริง ๆ

ครั้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 นักเปียโนคนนั้นก็เขียนจดหมายเล่าเรื่องต่างแดนมาให้เมืองไทย ความสนใจของนักเปียโนอยู่ที่สมเด็จพระเจ้ากรุงอังกฤษ พระบรมราชินี และเจ้าฟ้าหญิงทั้งสองพระองค์ ซึ่งเพิ่งเสด็จกลับจากแอฟริกา

“King, Queen, และเจ้าหญิงทั้งสองเสด็จกลับจากอาฟริกา ครูพาไปดูตรงพระราชวังบักกิงแฮม คนอังกฤษยังรักพระเจ้าแผ่นดินของเขาเสมอ… เราไปยืนข้างหลังเพราะคนแน่น และตัวสูง ๆ กว่าทั้งนั้น ประเดี๋ยวเดียวตำรวจขี่ม้ามา เห็นเราอยู่ข้างหลัง เขาสั่งให้ประชาชนเอาเด็กมาข้างหน้า เลยได้เห็นสบาย

“เจ้าหญิงมากาเร็ตสวยมาก มองเห็นถนัด ส่วนเจ้าหญิงเอลิซาเบธนั้นสง่าสมเป็น Queen ต่อไป คนเชียร์ดังสนั่น เจ้าหญิงเอลิซาเบธนั้นรักมาก วิ่งตามจนกระทั่งเสด็จเข้าไปในวัง ยังพากันไปยืนออขอให้เสด็จออกมาอีก ก็ทรงอนุโลมตาม

“… วันนั้นเจ้าหญิงมากาเร็ตออกมายืนโบกพระหัตถ์ทางเบื้องขวาบนระเบียงต้อนรับประชาชน ทรงฉลองพระองค์ชุดสีฟ้า เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงสีทอง สมเด็จพระบรมราชินีทรงสีชมพู”

นักเปียโนแห่งเซนต์ฟรัง ผู้เขียนจดหมายเล่าถึง King , Queen และ Princess นี้ เต็มไปด้วยความฝันอันสวยงดงามของการเป็นราชินี

ต่อมาหลังจากนั้นอีก 16 เดือน คือเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2492 นักเปียโนผู้เขียนจดหมายคนนั้น ก็ได้มีโอกาสเข้าไปใกล้ราชินียิ่งกว่าเดิม คือแทนที่จะได้รับความเอื้อเฟื้อจากตำรวจ ให้ร่นจากข้างหลังไปยืนอยู่ข้างหน้า คราวนี้ได้มีโอกาสเข้าไปถึงในวังที่ประทับเลยทีเดียวเพราะเธอได้ทรงหมั้นแล้ว

นักเปียโนผู้นี้ คือ ม.ร.ว. หญิงสิริกิติ์ กิติยากร

นครโลซานน์ สวิสส์

7 กันยายน 2492


พระราชพิธีประกอบการทรงหมั้นเป็นทางการระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ได้ทรงพระราชกำหนดแน่นอนแล้วในวันที่ 12 กันยายน 2492 ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ตำบลแอชเบอร์น กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จึงแจ้งให้รัฐบาลทราบ และประกาศแก่ประชาชนด้วย

(ลงนาม) หลวงประเสริฐไมตรี
ราชเลขานุการประจำพระองค์


ข้อความนี้คือโทรเลขจากราขเลขานุการประจำพระองค์มีมาถึงสำนักราชเลขานุการในพระองค์ ประจำประเทศไทย
ต่อไปนี้เราจะได้ศึกษาถึงประวัติของ ม.ร.ว. หญิงสิริกิติ์ กิติยากร หรือสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ แห่งประเทศไทย

หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร กำเนิดในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นประชาธิปไตยได้เพียง 49 วัน ณ บ้านเจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ ตำบลสะพานเหลือง พระนคร

หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร สืบสายโลหิตจากราชสกุลจักรีวงศ์ ทั้งพระบิดาและหม่อมมารดา ต่างสืบสายพระโลหิตราชสกุลมาด้วยกัน ซึ่งจะเห็นได้จากแผนผังดังนี้




เมื่อหม่อมหลวงหญิงบัว กิติยากร ทรงครรภ์ หม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร ต้องย้ายไปประจำสถานทูตไทยในกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา หม่อมหลวงหญิงบัว กิติยากร จึงย้ายจากวังเทเวศร์มาอยู่ที่บ้านเดิมเพื่อรอการคลอด และภายหลังจากคลอดธิดาคนใหญ่ คือหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากรแล้ว ประมาณ 3 เดือน ท่านมารดาก็ได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกา และพำนักอยู่ที่นั่นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร จึงอยู่ในความดูแลของเจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ จนท่านบิดามารดาย้ายกลับประเทศไทย จึงได้รับไปอยู่ ณ วังเทเวศร์

เมื่อเจริญวัยได้ 5 ขวบปี ท่านบิดาจึงให้เข้าศึกษาวิชาเบื้องต้น ณ โรงเรียน ราชินีล่าง ในต้น พ.ศ. 2479 และสอบไล่ได้ชั้นประถมปีที่ 1 ในปีเดียวกันนั้นเอง

พ.ศ. 2480 ย้ายจากโรงเรียนราชินีล่างไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเซนต์ฟรังฯ คอนแวนต์ สามเสน และศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนนี้มาถึง 8 ปี ที่โรงเรียนเซนต์ฟรัง ฯ อาจารย์ผู้ฝึกสอนดนตรี คือมาดามเรอเนย์ และมาดามฟรังซิสก้า ได้สอนให้ ม.ร.ว.หญิง สิริกิติ์ ได้รู้จักโน้ตเพลงเบื้องต้น และการเล่นเปียโน และไม่ช้าไม่นานก็กลายเป็นศิษย์ที่รักของมาดามทั้งสอง นอกจากในทางดนตรีแล้ว ปรากฏว่ายังเก่งในทางวิชาภาษาต่างประเทศ คือ ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสอีกด้วย ทั้ง ๆ ที่มีอายุเพียง 13 ปี

สำหรับในด้านวิชาการเรือนนั้น กล่าวกันว่าหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากรได้รับการอบรมมาโดยเฉพาะ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน จึงมีความสันทัดเป็นพิเศษ สามารถประกอบได้ทั้งอาหารไทยและอาหารฝรั่ง

ระหว่างที่ศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนเซนต์ฟรัง ฯ นี้ เธอเคยรับตำแหน่ง “ราชินี” มาแล้ว เรื่องราวมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งมีการดูหมอกันขึ้นที่วัง ซึ่งหมอตรวจดวงชะตาหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ แล้วก็พยากรณ์ว่า ต่อไปในอนาคตจะได้เป็น “ราชินีแห่งสยาม” พ่อแม่พี่น้องเห็นเป็นเรื่องขบขันที่จะล้อเลียนกัน ต่อมารล้อเลียนรู้ไปถึงในโรงเรียน โดยเธอเองเป็นคนเล่าให้เพื่อสนิทฟัง

เมื่อแรกเข้าศึกษาที่โรงเรียนเซนต์ฟรัง ฯ นั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ได้ศึกษาในชั้นประถม 2 ซึ่งมีอาจารย์สมใจ ชมไพศาล เป็นครูประจำชั้นในปีนั้นพอดี จึงเป็นพระอาจารย์คนแรกของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในโรงเรียนเซนต์ฟรัง ฯ

“ดิฉันเริ่มต้นชีวิตการสอนหนังสือเมื่อจบ ม.6 จากโรงเรียนเซนต์ฟรัง ฯ ใหม่ ๆ อายุ 17 – 18 เท่านั้นเอง ความจริงอยากเรียนต่อเพราะใจชอบอาชีพหมอ พระนางเจ้าฯ ก็ทรงเข้าศึกษาในชั้น ป.2 พร้อมพระขนิษฐา ท่านผู้หญิงบุษบา เข้าชั้น ป.1 ดิฉันเลยได้มีโอกาสถวายการสอนท่านในปีแรกที่ท่านทรงเข้าเซนต์ฟรัง ฯ พอท่านทรงเลื่อนชั้นขึ้นไปเรียน ป. 4 ดิฉันก็ได้เลื่อนขึ้นไปสอน ป. 4 อีก จึงได้เป็นครูประจำชั้นท่านถึง 2 ปี ขณะทรงพระเยาว์นั้น ทรงแตกต่างจากเด็กอื่น ตรงที่เป็นเชื้อพระวงศ์ และจุดเด่นก็คือมีผู้ติดตามคอยดูแลตลอด พร้อมกับมีอาหารมาส่งทุกวัน ท่านจึงไม่ได้เสวยอาหารของโรงเรียนเลย นอกจากเวลามีการทำอาหารในชั่วโมงอนุกาชาด ท่านจึงจะทรงร่วมทำและเสวยด้วย ขณะทรงเป็นนักเรียนนั้น ก็ทรงเป็นเด็กที่มีกิริยามรรยาทเรียบร้อยทั้งการพูดจา การเข้าหาครูบาอาจารย์ ไม่มีกระโดกกระเดก เรียกว่าได้รับการฝึกมาแบบเจ้านายจริง ๆ

“ในด้านการเรียนหรือเล่น ก็ไม่ได้ทรงทำอะไรที่ผิดแผกแตกต่างไปจากเพื่อน ๆ เลย ทรงสนิทสนม เล่นและเรียนเหมือนเด็กทั่ว ๆ ไปทุกอย่าง สมัยก่อนนักเรียนกับครูจะใกล้ชิดและสนิทสนมกันมากกว่าสมัยนี้ เพราะห้องหนึ่งมีนักเรียนเพียง 20 กว่าคน แม้จะย้ายไปอยู่ชั้นอื่นแล้ว ครูกับนักเรียนก็ยังมีโอกาสพูดคุยกันอย่างใกล้ชิดเหมือนกับที่ยังสอนอยู่”

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านเปียโนมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยทรงเริ่มศึกษาเปียโนครั้งแรกที่โรงเรียนเซนต์ฟรังฯ นี้เอง

“พระปรีชาสามารถทางด้านเปียโนนั้น ท่านทรงมีแววมาตั้งแต่เด็กแล้ว ดิฉันมีโอกาสได้ชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด ขณะทรงเรียนเปียโนก็เพราะท่านทรงเรียนระหว่างเวลาพักเที่ยง แล้วก็บังเอิญว่าเปียโนนั้นตั้งอยู่ในห้องเรียนชั้น ป. 4 ซึ่งดิฉันเป็นครูประจำชั้นอยู่พอดี ไม่ว่าท่านจะย้ายไปเรียนชั้นไหน แต่ทุกเที่ยง ท่านก็ต้องมาเรียนเปียโนที่ห้อง ป. 4 นี้ จึงเห็นท่านมาตลอด ส่วนเรื่องความซนของท่านนั้น ดิฉันจำได้ไม่ชัดนักว่าซนมากน้อยเพียงใด แต่ครั้งหนึ่งที่ดิฉันเข้าเฝ้าฯ ในวัง สมเด็จฯ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ขณะแนะนำดิฉันกับผู้ตามเสด็จว่า “นี่เป็นครูสอนที่เซนต์ฟรังฯ ตอนเล็ก ๆ ฉันซนมาก ครูต้องเอาเชือกผูกขาไว้กับโต๊ะ ไม่เช่นนั้น ฉันจะวิ่งรอบห้องเลย” เรื่องซนนี่ ดิฉันจำไม่ค่อยได้ชัดนะคะ จะมีก็แต่ที่ท่านทรงระลึกได้เท่านั้นละค่ะ”

หลังจากข่าวที่แน่นอนเกี่ยวกับการหมั้นแพร่สะพัดไปแล้ว แม่ชีคนเดิมก็ได้กล่าวกับนักเรียนรุ่นเดิมว่า

“เห็นไหมล่ะเธอ เรียกกันเล่น ๆ แต่กลับเป็นจริงไปได้”

อย่างไรก็ตาม มีเหตุการณ์ซึ่งเกือบจะทำให้ ม.ร.ว.หญิง สิริกิติ์ไม่ได้เป็น “ราชินี” อยู่ครั้งหนึ่ง

เหตุดังว่านี้เกิดขึ้นเพราะความพลั้งเผลอของพี่เลี้ยง หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร พลัดตกลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา ณ วังเทเวศร์ พี่เลี้ยงตกใจกระโจนตามลงไปคว้าขึ้นมาได้ ด้วยความเกรงกลัว พี่เลี้ยงจึงอ้อนวอนมิให้เธอเล่าเหตุการณ์ครั้งนี้ให้ท่านตา (พระยาวงศานุประพัทธ์) ทราบ เธอก็ยอมรับคำ ต่อมาอีกหลายวัน หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ก็ได้เล่าให้ท่านตาฟังว่า เธอกระโจนลงไปในแม่น้ำ สิ่งนี้สร้างความวิตกแก่พี่เลี้ยงอย่างใหญ่หลวงว่าความลับที่ปกปิดมานานจะต้องถูกเปิดเผยขึ้นแน่ ๆ แต่ที่ไหนได้ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กลับเล่าต่อไปว่า เธอลงไปต่อสู้กับจระเข้ เมื่อเรื่องกลายเป็นโลดโผนขบขัน แม้ว่าท่านตาจะทราบความจริง ก็ลดหย่อนผ่อนเบาความตึงเครียดลงไปได้มาก

อุปนิสัยของ ม.ร.ว.หญิงสิริกิติ์ กิติยากรนั้น กล่าวกันว่า “มีลักษณะการอ่อนหวานแช่มช้อยตลอดเวลา ช่างพูดับหัวเราะเก่ง อารมณ์เยือกเย็นอย่างประหลาด ในอ่อน เต็มไปด้วยความเมตตาปรานีตามวิสัยของผู้รักดนตรี โดยเฉพาะความทรงจำดีเป็นเลิศ” เมื่อสอบชั้นมัธยมปีที่ 3 ได้แล้ว ก็ลาออกจากโรงเรียนเซนต์ฟรังฯ เพราะท่านบิดาต้องย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศส จึงต้องย้ายไปพำนักอยู่กับท่านบิดาที่สถานเอกอัครราชทูตในกรุงปารีส

ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร อยู่ในวัย 15 ปี และ ประเทศฝรั่งเศสนี่เอง จุดสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กับ ม.ร.ว.หญิง สิริกิติ์ กิติยากรก็เริ่มต้นขึ้น ตามปกติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประทับพำนักอยู่ในนครโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แต่เนื่องจากพระองค์ทรงโปรดดนตรี และการขับรถยนต์อย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้เองเมื่อปรากฏว่า มีวงดนตรีชั้นเลิศหรือนักดนตรีฝีมือเอกมาแสดงในปารีส พระองค์ก็มักจะเสด็จมากรุงปารีส เพื่อทอดพระเนตรและทรงฟังการบรรเลงของวงดนตรีเหล่านั้น ถึงแม้ว่าในการนี้ พระองค์จะต้องขับรถยนต์พระที่นั่งแบบสปอร์ตไปเป็นระยะทางถึง 350 ไมล์

หนังสือพิมพ์ในปารีสเคยลงข่าวว่า

“กษัตริย์ไทยซึ่งประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงโปรดขับรถยนต์พระที่นั่งมายังกรุงปารีส เพื่อทอดพระเนตรการแสดงของวงดนตรีที่มีชื่อเสียงตามสถานมหรสพต่าง ๆ อยู่เสมอ ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่ง ในฐานะที่พระองค์เป็นกษัตริย์อันสูงศักดิ์ ย่อมจะทรงเลือกทางพระราชดำเนินที่สะดวกสบายได้ดีกว่านั้น แต่พระองค์กลับทรงโปรดการเสด็จพระราชดำเนิน ในแบบบุคคลธรรมดาสามัญทั่วไป ยิ่งกว่านั้นยังทรงอำพรางมิให้ใครล่วงรู้ ในความเป็นกษัตริย์ของพระองค์อีกด้วย ดังปรากฏว่าหลายครั้ง พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาโดยลำพัง ปราศจากผู้ตามเสด็จฯ แม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งรัฐบาลสวิสส์ส่งไปถวายความอารักขาและบ่อยที่สุดที่พระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่ง ผ่านเส้นพรมแดนในตอนดึก โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รักษาพรมแดน ต้องติดตามรักษาพระองค์อย่างเข้มแข็ง บางครั้งเกิดความโกลาหลอลเวงขึ้นอย่างน่าขบขัน เนื่องด้วยพระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งความเร็วสูง จนรถยนต์เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามไม่ทัน จึงโทรศัพท์แจ้งไปยังกรุงปารีส เพื่อให้ทางราชการจัดส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปถวายความอารักขา ก่อนที่รัฐบาลฝรั่งเศสจะตระเตรียมรับเสด็จฯ ได้ทันการ พระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าสู่พรมแดนสวิสส์เสียแล้ว เป็นเหตุให้ต้องเตรียมการรับเสด็จฯ เก้ออยู่บ่อย ๆ”

คามปกติทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินไปยังกรุงปารีส ก็ทรงโปรดประทับพำนักที่สถานเอกอัครราชทูตไทย เช่นเดียวกับนักเรียนไทยอื่น ๆ ทั่วไปโดยมิได้ทรงถือพระองค์แม้แต่น้อย และ ณ สถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงปารีสนี้เอง หม่อมเจ้านักขัตมงคลฯ เอกอัครราชทูตพร้อมด้วยครอบครัวได้เฝ้าฯ ถวายปฏิบัติให้ทรงพระเกษมสำราญด้วยความจงรักภักดีโดยตลอดเวลา และเนื่องด้วยเป็นพระญาติวงศ์สืบสายมาจากราชสกุลเดียวกัน ความใกล้ชิดสนิทสนมจึงมีมากขึ้นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสสนทนากับทุกคนในครอบครัวของท่านเอกอัครราชทูตอย่างสนิทสนมยิ่ง และทรงโปรดโต้เถียงขัดแย้งกับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร เกี่ยวด้วยเรื่องดนตรีอยู่บ่อย ๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเพลงในจังหวะบลู แต่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากรโปรดเพลงประเภทคลาสสิก ด้วยเหตุนี้เหตุผลของแต่ละฝ่าย จึงถูกยกขึ้นมาโต้เถียงกันบ่อย ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพยายามที่จะให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร โปรดเพลงจังหวะบลูให้จงได้ หนังสือพิมพ์ในกรุงปารีสฉบับหนึ่งจึงลงข่าวว่า

“ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงโต้แย้งกับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ด้วยเรื่องดนตรีเช่นเคย และไม่ทรงสามารถหาเหตุผลใด ๆ มาอ้างให้เป็นที่พอพระราชหฤทัยได้ ทรงพระราชดำเนินกลับไปกลับมาอยู่ในห้องรับแขกนั้น พระพักตร์เคร่งขรึม จนหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากรกลั้นแย้มสรวลไว้ไม่ได้ ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งให้ทุกคนในที่นั้นติดตามเสด็จไปยังสถานมหรสพแห่งหนึ่ง ซึ่งมีวงดนตรีที่พระองค์ทรงโปรด กำลังแสดงอยู่ทรงตรัสว่า ไปฟังเพลงดีกว่า วันนี้ยอมแพ้”

นักเรียนฝรั่งเศสคนหนึ่ง ได้เขียนลงหนังสือพิมพ์ในกรุงปารีส เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 แสดงความรักดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

“กษัตริย์ไทยวัยหนุ่ม พระชนมมายุ 20 พรรษาเศษ พำนักอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ทรงมีความสามารถในทางดนตรีอย่างน่าพิศวง และทรงโปรดปรานยิ่งนัก ในตำหนักที่ประทับมีเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด แทบทุกคืนจะมีการร่วมวงทรงเล่นดนตรีกับพระสหายประมาณ 6 – 7 คน ซึ่งโดยมากเป็นนักเรียนไทย ณ สวิตเซอร์แลนด์ทั้งสิ้น กษัตริย์หนุ่มทรงนำวงบรรเลงเพลงไปตามโน้ตของนักแต่งเพลงเอกเก่า ๆ ได้ทุกเพลงอย่างไพเราะ บางเพลงเป็นเพลงที่ทรงแต่งขึ้นเอง และทรงแยกเสียงเขียนโน้ตเองเสร็จ ทำนองไพเราะแปลกหูอย่างน่าประหลาด โดยเฉพาะองค์กษัตริย์หนุ่มทรงเล่นเครื่องดนตรีได้แทบทุกชนิดบางเพลงที่มีทำนองเร็ว ทรงโปรดเล่นทรัมเป้ต ประทับยืนโยกพระวรการ หงายพระพักตร์เข้ากับจังหวะเสียงของทรัมเป้ต แหลมกระโชกกระชั้นคล้ายกับนักดนตรีเอกผู้หนึ่ง ถึงจังหวะที่โน้ตบังคับให้ทรัมเป้ตต้องเล่นเสียงสูง พระองค์ก็ทรงพระพักตร์ขึ้นสู่เบื้องสูง เอนพระวรกายไปสู่เบี้องหลังเสียงยิ่งสูงพระองค์ก็ยิ่งเอนหงายมากขึ้น จนเสียงสูงจางหายไป แล้วกลับลงเสียงต่ำอย่างรวดเร็ว ไปตามทำนองของเพลงตอนนี้ พระองค์ทรงโยกวรกายเข้ากับจังหวะเพลงอย่างน่าดู และรู้สึกว่าทรงสนุกสนานไปกับลีลาของเพลงนั้น ทำให้ผู้ฟังเกิดความครึกครื้นตามไปด้วยอย่างลืมตัว พระอิริยาบถซึ่งแสดงได้โดยไม่ขัดเขินเช่นนี้ ถ้าเป็นบุคคลสามัญจะต้องเป็นนักดนตรีเอกของโลกในอนาคตได้เป็นแม่นมั่น”

วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2491 เกิดเหตุร้าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงขับรถยนต์พระที่นั่งออกจากนครโลซานน์ พร้อมด้วยผู้ติดตามเสด็จฯ อีกผู้หนึ่ง เพื่อเสด็จไปยังกรุงปารีส ได้ทรงประสบอุปัทวเหตุ รถยนต์พระที่นั่งชนกับรถยนต์บรรทุกคันหนึ่งใกล้นครเจนีวา ทรงได้รับบาดเจ็บ พระอาการค่อนข้างสาหัส

สำหนักแถลงข่าวรอยเตอร์ และวิทยุ บี.บี.ซี ได้กระจายข่าว “ทรงประสบอุปัทวเหตุ” ไปทั่วโลก

ทางด้านกรุงเทพฯ หม่อมเจ้านิกรเทวัญ ราชเลขานุการในพระองค์ รับสั่งกับบรรดาหนังสือพิมพ์ว่า ขณะนั้นยังไม่ได้รับข่าว และพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานอภิรัฐมนตรีก็ได้มีพระประสงค์จะวิทยุโทรศัพท์ ทูลถามข้อเท็จจริงไปยังเมืองโลซานน์ในขณะนั้น แต่กรมไปรษณีย์โทรเลขไม่สามารถจัดถวายได้ทัน เนื่องจากยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่ได้มีการตกลงกันไว้ ระหว่างสถานีวิทยุโทรศัพท์กรุงเทพฯ และโลซานน์ กำหนดเวลาที่จะใช้วิทยุโทรศัพท์ได้ คือ 20.00 – 21.00 น.

รุ่งขึ้นวิทยุของรอยเตอร์ก็กระจายข่าวว่า

“โลซานน์ 5 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กษัตริย์ปัจจุบันผู้มีชันษาครบ 20 แห่งประเทศไทย ซึ่งทรงได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัส เนื่องจากอุปัทวเหตุทางรถยนต์เมื่อคืนวานนี้นั้น ในตอนบ่ายวันนี้มีข่าวว่า ทรงมีพระอาการดีขึ้นและพ้นเขตอันตรายแล้ว”

ทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนายอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ และสวามีพระพี่นางเธอ ซึ่งร่วมโดยเสด็จไปในรถยนต์ที่คว่ำนั้น ได้ถูกย้ายออกจากสถานที่ที่เกิดอุปัทวเหตุ นำไปส่งโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองโลซานน์ ปรากฏว่านายอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ได้รับบาดเจ็บสาหัสมากกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ข่าวในอันดับต่อมามีว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงได้รับบาดเจ็บมาก อาการค่อนข้างสาหัส พระโลหิตตกมาก แต่ทรงมีพระสติดีอยู่ตลอดเวลา ขณะที่นำพระองค์ไปสู่โรงพยาบาล ทรงสามารถแจ้งพระนามของพระองค์แก่เจ้าหน้าที่ได้ถูกต้อง ทรงมีบาดแผลที่พระพักตร์และพระเศียร พระอัฐิไม่แตกหักหรือเดาะเลย แม้แต่แห่งเดียว ด็อกเตอร์มาเรียว เกรกซ์ แห่งโรงพยาบาลมอร์เซส ซึ่งเป็นผู้รักษาประจำพระองค์รายงานว่า พระอาการร้ายแรงอยู่ที่พระเนตรเบื้องขวา ถูกเศษกระจกรถยนต์พระที่นั่งตำทะลุเข้าภายใน ยังไม่ทราบว่าจะใช้ได้ดังเดิมหรือไม่”

สำนักแถลงข่าว บี.บี.ซี. กระจายข่าวเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 8 ตุลาคมว่า สถานที่อุปัทวเหตุนั้น คือข้างทะเลสาบเยนีวา เมืองมอนเนในสวิตเซอร์แลนด์

ในขณะเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ทรงมีกระแสพระราชดำรัสทางวิทยุกระจายเสียง จากโรงพยาบาลมอร์เซส สวิส ถ่ายทอดออกอากาศมาประเทศไทย มีความว่า

“ฉันปลอดภัยแล้ว ขอฝากความขอบใจมายังคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คณะอภิรัฐมนตรี คณะรัฐบาล และประชาชนของฉัน ที่มีความห่วงใยอาการป่วยของฉัน)

ในวันที่ 17 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2491 มีรายงานเพิ่มเติมจากราชเลขานุการประจำพระองค์ทางโทรเลขว่า

“วันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ โรงพยาบาล เพื่อทรงรับการผ่าตัดพระเนตร”

ครั้นล่วงมาอีกหนึ่งสัปดาห์ ก็มีรายงานผลการผ่าตัดจากเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเบอร์น สวิส ว่า

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินกลับจากโรงพยาบาลแล้ว การผ่าตัดพระเนตรได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ นายแพทย์ผู้ถวายการผ่าตัด แนะนำให้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับ ณ เมืองคาร์ลชั่วคราว ในระหว่างนี้ยังทรงปิดพระเนตรอยู่ จนกว่านายแพทย์จะถอดผ้าปิดพระเนตรออก ซึ่งกำหนดไว้ในต้นเดือนมกราคม 2492

“ภายหลังกำหนดนั้น นายแพทย์ได้ถอดผ้าปิดพระเนตร แล้วได้ถวายคำแนะนำให้ทรงฉลองพระเนตรสีเข้ม ตัดแสงสว่างอันแรงกล้าของธรรมชาติ พระอาการเกือบหายเป็นปกติแล้ว”

หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากรได้ถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในครั้งนี้อย่างซาบซึ้ง โดยเฝ้าฯ ถวายการรักษาพยาบาลอยู่ตลอดเวลาอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ เนื่องมาจากหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร พาครอบครัวเดินทางจากฝรั่งเศสมาเฝ้าฯ เยี่ยมเยียนพระอาการ และได้ฝากฝังพระธิดาไว้ในความดูแลของสมเด็จพระราชชนนี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงขออนุญาตต่อท่านบิดาของหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากรเป็นกรณีพิเศษ

พระตำหนัก “วิลลาวัฒนา” มีเพียงสมเด็จพระราชชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอ และข้าราชบริพารเพียงไม่กี่คน การที่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากรอยู่เฝ้าฯ ถวายการพยาบาล จึงเป็นการแบ่งเบาภาระอย่างยิ่ง

พระตำหนัก “วิลลาวัฒนา” อันเป้นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในสวิส จึงเป็นที่เริ่มต้นแห่งความสัมพันธ์อันแนบแน่นของทั้งสองพระองค์

เหตุการณ์ต่อจากนั้น คือหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร ทรงย้ายจากปารีสไปดำรงตำแหน่งเอกอัตรราชทูตไทย ประจำสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ สาเหตุอันนี้ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะต้องเดินทางมากกว่า 350 ไมล์ เพื่อไปพบหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร โดยทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปสุดทางที่คาเลย์ แล้วเสด็จไปทางชลมารค ขัามไปยังโดเวอร์ และเสด็จไปยังลอนดอนด้วยรถยนต์อีกต่อหนึ่ง หรือไม่ก็เสด็จพระราชดำเนินโดยทางเครื่องบิน จากสวิสข้ามไปยังเกาะอังกฤษ

อังกฤษจึงเป็นจุดใหม่แห่งความหวังอันสดชื่นของพระองค์ นอกเหนือจากปารีสและโลซานน์

วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 เป็นวันครบรอบปีที่ 16 แห่งวันชาตะของหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร บริเวณสถานเอกอัครราชทูต จึงคับคั่งไปด้วยผู้ร่วมชุมนุมอวยพร ซึ่งส่วนมากเป็นข้าราชการไทยแห่งสถานทูต นักเรียนไทยในอังกฤษและฝรั่งเศสรวมทั้งพระวรวงส์เธอพระองค์เจัาจุลจักรพงษ์ และพระนางเจ้าสุวัฒนาฯ พระมเหสีของล้นเกล้าล้นกระหม่อมรัชกาลที่ 6

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังกรุงลอนดอนในฐานะราชอาคันตุกะอย่างเงียบ ๆ เพื่อร่วมในวันเกิดของหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร โดยทรงปกปิดมิให้ทางอังกฤษทราบการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้

พระองค์ทรงฉลองพระองค์ชุดสีเทาเข้ม เนกไทสีน้ำเงินแก่ หลังจากทรงเสวยเรียบร้อยแล้ว ก็ตรัสชวนนักเรียนไทยร่วมวงดนตรีเป็นการเฉลิมฉลองงาน และคืนนี้เองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเดี่ยวเปียโนและแซ้กโซโฟนให้บรรดาแขกเหรือทั้งหลายฟังรวมทั้งสิ้นหลายเพลงด้วยกัน

และในคืนนี้ด้วยเหมือนกัน ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานแหวนเพชรล้ำค่ำเป็นของขวัญแต่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ ขณะทรงมอบแหวนนั้น รับสั่งว่า

“สิ่งนี้เป็นของมีค่ายิ่ง และเป็นของที่ระลึกด้วย”

แหวนเพชรวงนี้ เป็นเพชรน้ำใสแจ๋วบริสุทธิ์เกาะไว้ด้วยหนามเตย สลักเป็นรูปหัวใจ แต่เดิมสมเด็จพระราชบิดากรมหลวงสงขลานครินทร์ได้ทรงประทานแด่สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ เพื่อเป็นเครื่องแสดงความเสน่หา

ในเดือนสิงหาคมเดียวกันนี้ ก็มีข่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร

เมื่อวันที่ 6 กันยายน หม่อมเจ้านิกรเทวัญ ราชเลขานุการในพระองค์ได้ทรงยืนยันข่าวทรงหมั้นนี้ว่า

“…พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากรแล้วอย่างเงียบ ๆ ณ ที่ประทับนครโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ แต่เมื่อวันที่19 กรกฎาคม 2492 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แจ้งมาให้ทราบเป็นทางราชการ และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้รับทราบ และแจ้งไปให้รัฐบาลทราบเรียบร้อยแล้ว”

หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเสนอข่าวเบื้อหลังการหมั้นว่า ในราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2492 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีรับสั่งให้หม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทยประจำลอนดอน ไปเฝ้าที่สวิตเซอร์แลนด์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินไปพบกับเอกอัครราชทูตไทยประจำราชสำนักเซนต์เจมส์ที่โฮเต็ลแห่งหนึ่ง และได้รับสั่งถึงเรื่องการหมั้น เมื่อได้เจรจากันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ซึ่งตามเสด็จเข้าไปทีหลัง มีรับสั่งตอนหนึ่งว่า

“ขอให้ทำกันเฉพาะภายในครอบครัวเท่านั้น เพราะเมื่อคราวฉันเองก็ทำอย่างนี้ จะมีอะไรขัดข้องไหม?”

ซึ่งหม่อมเจ้านักขัตมงคลกราบทูลว่า ตามแต่จะมีพระราชประสงค์

วันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2492 วิทยุโทรเลขจากลอนดอนแจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทราบหมั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ธิดาแห่งเอกอัครราชทูตไทยในกรุงลอนดอน ได้ทำให้สถานเอกอัครราชทูตไทยเป็นที่ซึ่งมีผู้คนไปกันคับคั่งตลอดวันวานแต่บ่ายไปจนถึงค่ำ ส่วนโทรศัพท์ก็ดังไม่ขาดระยะ ล้วนแล้วไปด้วยผู้ที่ไปแสดงความยินดีและสอบถามข่าวสำหรับบริการหนังสือพิมพ์อังกฤษและสำนักข่าวนานาชาติ

บรรดาหนังสือพิมพ์อังกฤษทั้งปวงได้พากันลงข่าวหมั้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ไว้ในหน้าเด่นที่สุด และหนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงพิมพ์รูปหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร บ้างเป็นรูปถ่ายเล่น ๆ ในเครื่องแต่งกายนักเล่นสกีก้าวลงจากรถยนต์ และบางฉบับก็ลงพิมพ์ภาพที่ตั้งใจถ่ายจริง ๆ

Star เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ที่มีโอกาสสัมภาษณ์หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร โดยโทรศัพท์ทางไกล และว่าในระหว่างที่เธอศึกษานั้น จะมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพียงวันละ 1 ชั่วโม

Sunday Times น.ส.พ.ในสิงคโปร์ฉบับวันที่ 18 กันยายน 2491 ลงข่าวว่า

“หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ธิดาอายุ 17 ปี ของท่านเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน ผู้มีสิริโฉมอันทรงเสน่ห์ ดวงเนตรดำขลับ มีความรักในองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชแห่งประเทศไทย พระชนมายุ 22 พรรษา ซึ่งเธอได้พบเห็นครั้งแรกเมื่อปีกว่ามานี้”

มีสรุปข่าวตอนท้ายว่า

“ฉันยังเด็กมาก และไม่เคยมีความรักก่อน” หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากรกล่าว “มันทำให้ฉันรู้สึกตื่นเต้นเหมือนกัน”

หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากรอธิบายเกี่ยวกับการอภิเษกสมรสว่า

“เรายังไม่ตกลง แต่คาดว่าอาจจะเป็นในราวปีนี้หรือต้นปีหน้า การอภิเษกสมรสจะทำกันอย่างง่าย ๆ เพียงแต่จะมีจดทะเบียนเท่านั้น จะไม่มีการทำพิธีรีตองอะไร แต่อาจจะมีการฉลองกันบ้างในระหว่างครอบครัว”

หลังจากเสด็จนิวัติพระนครแล้วก็เป็นเรื่องของการอภิเษกสมรส ซึ่งมีขึ้นก่อนจะถึงพระบรมราชาภิเษกในช่วงระยะเวลาไม่ห่างกันนัก

วันอภิเษกสมรสกำหนดไว้ในวันที่ 28 เมษายน 2493 ส่วนวันบรมราชาภิเษกหมายกำหนดการระบุว่า เริ่มแต่วันที่ 4-8 พฤษภาคม วันที่ 5 พฤษภาคม เป็นวันที่จะทรงกระทำพิธีราชาภิเษกขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติพร้อมกับได้ทรงสถาปนาพระบรมราชินีตามพระราชประเพณี

พิธีการเนื่องในการอภิเษกสมรสนี้ มีข้อน่าสังเกตที่น่าทึ่งอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้มีขึ้น กล่าวคือ เพื่อนของเจ้าสาวต้องอุ้มไก่ขาว ถือไม้เท้าผีสิง กับอุ้มแมวสีสวาท และเชิญพระแสงศาสตราวุธ บรรดาเพื่อนเจ้าสาวทั้งนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร กับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงคิดเลือกเอง

วันที่ 28 เมษายน พุทธศักราช 2493 เวลา 9.30 น. วันดังกล่าวนี้ตรงกับทางจันทรคติ คือวันศุกร์ ขึ้น 12 ค่ำ ปีขาล เป็นชั่วระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครองราชย์มาได้ 1,422 วัน วาระแห่งพระราชพิธีอภิเษกสมรสได้กระทำขึ้น ณ วังสระปทุม สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นราชินี

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ถูกต้องตามกฎหมายและพระราชพิธีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระอัครมเหสี เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน พระพุทธศักราช 2493 เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี




หลังจากนั้นอีก 4 ปี น.ส.พ.สยามนิกรประจำวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2497 บรรยายถึงพระบรมราชินีของไทย ซึ่งเหมาะสมแก่การดำรงตำแหน่ง “นางแก้ว” ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทุกประการ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีจะทรงมีเวลาว่างเพียงใดนั้น แล้วแต่งานพระราชพิธีและงานเชิญเสด็จ ก็มักมีเป็นพัก ๆ ตามเทศกาล เช่นในฤดูฝนก็มีน้อยกว่าในฤดูหนาวหรือแล้งเป็นต้น เมื่อพ้นจากพระราชภารกิจที่จะต้องกระทำแล้ว ในวันหนึ่ง ๆ สมเด็จฯ ยังมีพระราชภารกิจส่วนพระองค์อยู่อีกไม่น้อย ทรงมีมูลนิธิการกุศลและสมาคมองค์การต่าง ๆ อยู่ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เช่น มูลนิธิสงเคราะห์คนตาบอด สมาคมนักเรียนเเก่าสายปัญญาและเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ เป็นต้น

มีอยู่บางวันเท่านั้น ที่จะมีเวลาว่างเป็นส่วนพระองค์จริง ๆ เวลานั้นแหละจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำผมเข้าไปทำพระเกศา หรือไม่ก็ช่างตัดฉลองพระองค์ร้านกรแก้ว เข้าไปวัดและเลือกฉลองพระองค์สำหรับไปในพระราชพิธีต่าง ๆ “สมเด็จ” ทรงโปรดใช้ผ้าซึ่งทอด้วยฝีมือคนไทยที่สุด นาน ๆ ครั้งจะเห็นทรงใช้ผ้าต่างประเทศสักที

ในตอนเช้าสมเด็จฯ มักโปรดทรงพระอักษร หรือทรงอักษร หรือทรงพักผ่อน ปล่อยพระองค์ตามสบาย เช่นเดียวกับหญิงสามัญจะพึงทำในเวลาว่างงาน ในตอนเย็นมักเสด็จลงพระราชอุทยาน ทรงทำสวนและรดน้ำต้นไม้ดอกเอง ด้วยความเพลิดเพลินพระราชหฤทัย เมื่อเสร็จแล้วก็ทรงพระราชดำเนินรอบ ๆ สนามในพระที่นั่ง พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ถ้าหากล้นเกล้าฯ ทรงมีพระธุระ สมเด็จฯ ก็ทรงพระราชดำเนินพระองค์เดียวโดยมีข้าราชบริพารฝ่ายหญิงตามเสด็จเป็นดังนี้เสมอ เพราะทรงทราบดีว่า การเดินก็เป็นการออกกำลังกายที่สะดวกดีที่สุดอย่างหนึ่ง

ต้นไม้ดอกที่รับสั่งให้หามาปลูกนั้นมักมีแปลก ๆ และใหม่เสมอ ต้นไม้ดอกที่สมเด็จฯ ทรงโปรดมาก เป็นดอกไม้หอม เช่น มะลิ กุหลาย พุทธชาด และมณฑา เป็นต้น พระนิสัยโปรดต้นไม้นี้ ติดต่อมาจนถึงทูลกระหม่อมทั้งสองพระองค์ด้วย โดยเฉพาะทูลกระหม่อมฟ้าชายโปรดมากเหมือนกัน ในวันประสูติปี 2497 ก็ทรงปลูกต้นสักไว้เป็นที่ระลึก เมื่อปี 2496 ทรงปลูกต้นกัลปพฤกษ์

ในเวลากลางคืนซึ่งมักล่วงเข้า 21 นาฬิกาแล้วเสมอ วันไหนจะทรงสำราญพระราชหฤทัยก็ทรงโปรดให้ฉายภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ซึ่งล้นเกล้าฯ ทรงถ่ายไว้เอง หรือมีผู้ทูลเกล้าถวายทอดพระเนตร แต่ไม่เคยเลยที่จะทอดพระเนตรลำพังพระองค์ มักมีรับสั่งให้พระประยูรญาติ พระสหาย และข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดไปร่วมสนุกด้วยเสมอ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงได้รับยกย่องจากโลกว่าเป็นสตรีที่ทรงแต่งพระวรกายงามที่สุดผู้หนึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจำนวน 2,000 คน ได้ออกเสียงเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2505 เลือกสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถแห่งประเทศไทย เป็นสตรีที่ทรงแต่งพระวรกายงามที่สุดในโลกผู้หนึ่ง นับเป็นปีที่สองที่พระองค์ทรงได้รับเลือกต่อจากปี พ.ศ. 2503

ตามข่าวนั้น ยกย่องว่าสมเด็จพระราชินีไทย ทรงเข้าพระทัยในการนำเอาผ้าไหมไทยอันงามยิ่ง มาประดิษฐ์เป็นฉลองพระองค์แบบตะวันตกได้อย่างแนบเนียน

นิตยสารจุรัส เดอฟรองส์ ฉบันประจำวันที่ 6 กันยายน 2504 ได้ตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับนายปีแอร์ บัลแมง นักออกแบบเสื้อมีชื่อของโลก พร้อมกันนี้ยังได้รับอนุญาตจากปีแอร์ นำแบบเสื้อชุดล่าสุดที่เขาออกตีพิมพ์อย่างสวยงามด้วย ส่วนใหญ่เป็นชุดต้อนรับลมหนาวและชุดราตรี

ในบรรดาแบบเสื้อชุดล่าสุดนี้นิตยสารดังกล่าวได้ตีพิมพ์ด้วยภาพสี มีชุดราตรีอยู่ชุดหนึ่งได้ตั้งชื่อว่า “สิริกิติ์” ซึ่งแสดงแบบโดย “อันนา” เป็นชุดราตรีคนละท่อน กระโปรงกำมะหยี่ยาวไม่รัดรูป เสื้อเป็นผ้าปักสีส้มและสีเขียว จูรัส เดอฟรองส์ได้กล่าวว่า ในการตั้งชื่อใครเป็นแบบเสื้อนี้ปรากฎว่านายปีแอร์ไม่เคยตั้งชื่อใครเป็นชื่อแบบเสื้อมาก่อนเลย นับว่านายปีแอร์ได้ยกย่องพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถของไทยเราเป็นอย่างมาก

ตอนหนึ่งของข้อความในนิตรยสารนี้ ได้แสดงรายชื่อของบรรดาลูกค้าประจำของนายปีแอร์ และในจำนวนลูกค้านี้ นิตยสารได้กล่าวไว้ด้วยว่า นายปีแอร์ยังได้รับเกียรติให้ออกแบบฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ แห่งประเทศไทย

หนังสือพิมพ์สตาร์บุลเลตินแห่งฮ่อนโนลูลูสดุดีว่า “บารมีของความงดงามประหนึ่งตุ๊กตาที่อาจชนะตำแหน่ง “ราชินีแห่งราชินี” หากมีการประกวดพระราชินีกันขึ้น ผู้สื่อข่าวในฮาวายถวายบังคมทูลถึงความรับผิดชอบของพระองค์ และฐานะพระราชชนนีแห่งสมเด็จเจ้าฟ้าชายหญิงทรงมีพระราชเสาวนีย์ตอบว่า ทรงพอพระทัยในพระราชกิจต่าง ๆ ในฐานะพระราชินี แต่ทว่า

“ฉันรักที่จะเป็นแม่มากที่สุด”

นิวยอร์กไทม์ หนังสือพิมพ์ชั้นนำและมีอิทธิพลฉบับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ฉบับประจำวันที่ 27 มิถุนายน 2503 ลงพิมพ์ข้อวความตอนหนึ่งว่า

“สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งสองประการคือ ทรงเป็นทั้งสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระราชมารดาของสมเด็จเจ้าฟ้าทั้งสี่พระองค์อย่างสมบูรณ์ยิ่ง”

ในงานเลี้ยงถวายพระกระยาหาร ณ โรงแรมเมย์ฟลาเวอร์ในกรุงวอชิงตัน นักข่าวสังคมได้ถวายสมญาว่า

“สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถแห่งประเทศไทย ทรงเป็น The Golden girl พระองค์ทรงชุดไหมไทยสีทอง บนพระอังสาทรงกลัดเข็มรูปครุฑประดับเพชร”

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ฉบับประจำกรุงปารีส วันที่ 27 มิถุนายน 2503 ลงข่าวพาดหัวเรื่อ “เครื่องแต่งพระองค์สำหรับเสด็จประพาส 130 ชุด สร้างโดยบัลแมง” ดำเนินความว่าพระองค์มีนามเลื่องลือว่าเป็นพระราชินีที่งดงามที่สุดในตะวันออก ในการเสด็จประพาสเป็นเวลา 4 เดือน ก็ทรงมีเครื่องฉลองพระองค์มากมาย น่าพิศวงขนาดเทพนิยาย พร้อมด้วยเครื่องประดับพระองค์ซึ่งน้อยคนนักจะแข่งได้ บุรุษผู้มีโชคดีได้สร้างเครื่องฉลองพระองค์ถวายการเสด็จะประพาสครั้งนี้ คือนายปีแอร์ บัลแมง ช่างตัดเสื้อแห่งกรุงปารีส สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จถึงกรุงนิวยอร์กพร้อมด้วยเครื่องฉลองพระองค์ที่สุภาพสตรีผู้นีอออกแบบถวายประมาณ 130 ชุด และในฉบับเดียวกันนั้นขยายความว่า

“สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงฉลองพระองค์ตามสีของวัน คือ วันอาทิตย์สีแดง, วันจันทร์สีเหลือง, วันอังคารสีชมพุ, วันพุธสีเขียว, วันพฤหัสบดีสีแสด, วันศุกร์สีฟ้า, วันเสาร์สีม่วง และในการเสด็จครั้งนี้ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีเครื่องฉลองพระองค์แบบประเพณีไทยไปด้วยซึ่งพระองค์จะทรงในงานพิธีที่เป็นทางราชการท่านผุ้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เขียนคำกลอนสดุดีพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ด้านงานส่งเสริมการทอผ้าไหมมัดหมี่ไว้ว่า

เมื่อชีวิตชาวชนบทไม่สดชื่น
พระจะรื่นเริงหทัยกระไรได้
ทรงสอดส่องทุกข์สุขทุกแห่งไป
ชนถิ่นใดยากจนเยี่ยมยลพลัน
ชาวอีสานส่วนมากมักยากไร้
อาชีพทำนาไร่ไม่คงมั่น
หญิงทอผ้าเลี้ยงไหมไปวันวัน
ทรงส่งเสริมอาชีพนั้นให้บันลือ
บัดนี้ไหมมัดหมี่ไทยในชนบท
ได้ปรากฏตระการตาพาเลี่องชื่อ
จึงทรงใช้และชวนไทยให้ร่วมมือ
ได้ผลคือเกิดพลังความหวังเอย


คำกลอนนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือ “มัดหมี่ไหมไทยสายใยในชนบท” ซึ่งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ จัดพิมพ์ขึ้นในงานนิทรรศการ “มัดหมี่ไหมไทยสายใยชนบท” ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปีที่แล้ว มีเรื่องราวน่าสนใจน่าศึกษาถึงความเป็นมาที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสนพระทัยฟื้นฟู และส่งเสริมงานทอผ้าไหมมัดหมี่ของประชาชนในชนบท จนกระทั่งเป็นอาชีพเสริมงานทอผ้าไหมมัดหมี่ของประชาชนในชนบท จนกระทั่งเป็นอาชีพเสริมที่เลี้ยงครอบครัวได้ ทำให้มรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทยได้ฟื้นคืนชีพขึ้นใหม่ จนกระทั่งกลายเป็นที่นิยมเลื่อมใสของคนไทย ตลอดจนชาวต่างชาติทั่วไปในทุกวันนี้

การส่งเสริมการทอผ้าไหมมัดหมี่ในภาคอีสานนี้ ชาวบ้านทำกันได้โดยไม่ต้องมีครูไปสอน ไปให้การอบรมเลย เนื่องจากเขาทำกันอยู่เป็นประจำ สืบทอดมาแต่ปู่ย่าตายาย ทุกครัวเรื่องจะรู้จักปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าไหมใช้กันเองสวมใส่ในวันสำคัญ เช่น ไปวัด ไปงานแต่งงานลูกหลาน ทอให้ลูกสาวในวันแต่งงาน เป็นต้น หากทรงส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ให้เขาทอได้มากขึ้น จนพอนำออกขายเป็นรายได้ ก็จะตรงกับพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ อนึ่ง การทอผ้านี้ก็ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มเติมขึ้นมาก เพราะใช้อุปกรณ์ที่ทำและหาได้ในครัวเรือน ลวดลายก็ประดิษฐ์จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เป็นดอกไม้ ใบไม้ ลายสัตว์ หรือลายพื้นบ้าน ซึ่งย่ายายได้สอนกันต่อ ๆ มา

ในครั้งนั้น สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ มีกระแสพระราชดำรัสชมชาวบ้านที่มาเฝ้า ฯ ว่า

“ผ้าสวย”

เขาก็กราบบังคมทูลซื่อ ๆ ว่า

“ผ้าของคนจนใส่นี่หรือสวย”

ก็รับสั่งว่า

“ชอบจริง ๆ ถ้าจะให้ทำให้จะได้ไหม”

ได้รับคำกราบบังคมทูลตอบว่า

“จะใส่หรือเปล่าจ๊ะ ถ้าใส่จริง ฉันก็จะทำให้”

จึงรับสั่งว่า

“ใส่ซิจ๊ะ”

ที่นครพนมนี้เอง เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการผ้าไหมมัดหมี่ในสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ

ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และคุณหญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ นางสนองพระโอษฐ์ออกไปติดต่อรับซื้อผ้าไหมมัดหมี่จากชาวบ้านจนถึงบ้านของเขา ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดนครพนม ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ฯลฯ เริ่มแรกนั้นชาวบ้านไม่ยอมขาย เนื่องจากอายว่าเป็นผ้าของคนบ้านนอก ไม่สวย ไม่งาม ราชเลขานุการ ต้องชี้แจงพระราชประสงค์อยู่นานจึงเข้าใจ เริ่มต้นนั้นให้ราคาถุงละ 500 บาท ซึ่งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองแต่ละจังหวัด ผู้ให้ความร่วมมือในการนำทางบอกว่าเป็นราคาที่สูงเกินไป แต่สมเด็จ ฯ ก็รับสั่งให้ให้ราคาเขาให้คุ้มค่าแรง และขอให้ถือว่าเป็นการให้เหมือนกับ “แม่ให้ลูก” ราคานี้จึงอาจสูงกว่าราคาแท้จริงของผ้าอยู่บ้าง อีกประการหนึ่ง การที่คณะราชเลขานุการ ฯ ออกไปรับซื้อถึงบ้าน ก็เท่ากับไม่ต้องผ่านคนกลาง ชาวบ้านจึงได้รับเงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย

สมเด็จ ฯ มีพระราชดำริว่า การที่คนเราได้อยู่ดีกินดี เมื่อมีลูกลูกก็จะเกิดมาเป็นเด็กสมบูรณ์ มีร่างกายแข็งแรง มีสมองดี มีสายตาดี หากแม่ไม่สมบูรณ์เสียแล้ว ลูกที่เกิดมาก็จะด้วยคุณภาพ จึงควรจะส่งเสริมให้ทุกคนได้เป็นคนทีคุณภาพ เพื่อไม่ให้คนไทยที่จะเกิดต่อ ๆ ไป ต้องเป็นคนด้อยคุณภาพลงเรื่อย ๆ ฉะนั้น เมื่อจัดหางานให้คนทำ ก็ต้องให้ค่าแรงเขาให้เหมาะสม ต้องรักษาผู้มีฝีมือไว้

การรับซื้อผ้าไหมมัดหมี่จากชาวบ้านนั้น คณะทำงานจะต้องจดชื่อและที่อยู่ของผู้ทอผืนที่สวยพิเศษเก็บไว้ เพื่อเป็นตัวอย่างของสีและลายผ้าให้ทอต่อไป

สมเด็จ ฯ จะทรงตรวจคุณภาพผ้าไหมที่คณะทำงานออกไปรับซื้อ และพระราชทานคำแนะนำให้ชาวบ้านขยายพิมทอผ้า เพื่อผ้าจะได้มีหน้ากว้างตามมาตรฐาน และให้ทอติดต่อกันยาวขึ้น แทนที่จะทอยาวเพียงถุงเดียว หรือ 2 ถุง ก็ให้ทอเป็นเมตร ๆ ยาวติดต่อกัน ส่วนด้านคุณภาพนั้น พระราชทานคำแนะนำให้ทอให้แน่น เพื่อผ้าจะได้เนียนเรียบ และให้ระมัดระวังเรื่องการย้อมขอให้สีเสมอและใช้สีที่มีคุณภาพ

สำหรับเส้นไหมที่ใช้ทอ โปรดให้ใช้ไหมพันธุ์พื้นบ้านทอทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง โดยมีพระราชดำริว่า เส้นไหมพันธุ์พื้นบ้านนั้นมีลักษณะเงาเหลือบเป็นประกายพิเศษ ทั้งโปรดให้ใช้ไหมน้อย คือ ไหมที่สาวออกจากรังไหมชั้นใน ซึ่งเป็นไหมเส้นเล็กละเอียดและเรียบ ไม่เป็นปุ๋มปมไหมน้อยนี้เป็นไหมชั้นดีที่สุด ทอผ้าแล้วเนื้อผ้าจะเป็นแพรนุ่ม รวมทั้งไม่ยับง่ายด้วย

จากการรับซื้อผ้าไหมมัดหมี่ ต่อมามีการตั้งกลุ่มสมาชิกปลูกหม่อมเลี้ยงไหม สาวไหมและทอผ้าไหม ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านภาคอีสานจะทำเป็นเองหมดทุกขั้นตอน แต่ก็มีบางคนไม่ถนัดการทอผ้า ก็จะโปรดให้สาวไหมนำเส้นไหมส่งอย่างเดียว ทรงรับซื้อไว้เพื่อพระราชทานแกผู้ที่ถนัดการทอ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาสาวไหมเอง ถ้าชาวบ้านร่วมมือกันเองทำผ้า 1 ผืน โดยแบ่งงานกัน เวลาแบ่งเงินค่าแรง ผู้ทอจะได้รับเงินส่วนแบ่งมากที่สุด ทั้งนี้เพราะส่วนที่ยากและประณีตที่สุด อยู่ที่การทอ ที่จะต้องให้ลวดลายที่มัดและย้อมไว้ตรงตามต้องการ

ภายหลัง เมื่อมีพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เป็นที่ประทับยามเสด็จเยี่ยมราษฎรภาคอีกสานแล้ว สมเด็จ ฯ โปรดเสด็จเยี่ยมเขาเหล่านั้น จนถึงบ้านอย่างทั่งถึง สมาชิกกลุ่มผ้าไหมจึงมีจำนวนมากขึ้นทั่วไปทั้งภาคอีสาน ได้โปรดให้เก็บลายผ้าไหมที่มีลักษณะเฉพาะท้องถิ่นไว้ ในปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มผ้าไหมจำนวนประมาณ 7,000 คน

ทรงเผยแพร่การใช้ผ้าไหมมัดหมี่โดยทรงเป็นผู้ใช้ผ้าไหมมัดหมี่ทุกโอกาส ทั้งโปรดให้ข้าราชบริพารใช้ด้วย เพื่อช่วยเหลือให้ราษฎรมีรายได้เพิ่ม ในส่วนพระองค์จะโปรดใช้ผ้าไหมมัดหมี่ทำฉลองพระองค์ทั้งแบบไทยและแบบสากล เพื่อทรงใช้ทั้งภายในประเทศและเวลาเสด็จต่างประเทศ

ผู้ออกแบบฉลองพระองค์มักเป็นช่างคนไทย เมื่อจะเสด็จเยือนต่างประเทศจึงขอให้นายปิแอร์ บัลแมง ช่างฝรั่งเศสจัดถวาย

ชาวญี่ปุ่นชื่อโหกาโกะ คาโมนิ เห็นว่าผ้าไหมมัดหมี่เหมาะจะทำเป็นกิโมโนของญี่ปุ่น จึงนำไปตัดเป็นกิโมโนใช้

ในวันที่ 20 กันยายน 2499 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างที่ทรงผนวชตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน รวม 15 วัน

ประเทศไทยจึงมีพระบรมราชินีนาถเพิ่มขึ้นมาอีกองค์หนึ่ง หลังจากได้เคยมีในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างเสด็จประพาสต่างประเทศ

ต่อจากนี้ไปก็จะเสนอข้อความเกี่ยวกับพระจริยาวัตร ซึ่ง ม.ล. ติ๋ว ชลมารคพิจารณ์ ท.จ. หัวหน้าพระเครื่องต้น (ไทย) ในการให้สัมภาษณ์ทางวิทยุกระจายเสียงไทยโทรทัศน์ เฉพาะเรื่องเกี่ยวกับบนโต๊ะเสวยของสองล้นเกล้าฯ

ห้องเครื่องในเขตพระตำหนักจิตรลดา แบ่งออกเป็น 4 แผนก คือ ห้องเครื่องต้น (ไทย) ห้องเครื่องต้น (ฝรั่ง) และห้องเครื่องของข้าราชบริพาร และเครื่องต้นแต่ละเวลานั้น ได้เชิญพร้อมทั้งเครื่องไทยและฝรั่งโดยเริ่มด้วยเครื่องฝรั่งก่อน แล้วจึงตามด้วยเครื่องไทย

ส่วนห้องเครื่องต้น (ไทย) ซึ่ง ม.ล. ติ๋ว เป็นผู้ควบคุมนั้น ยังแบ่งออกเป็น 2 แผนก คือห้องเครื่องต้นเครื่องคาว (ไทย) และห้องเครื่องต้นเครื่องหวาน (ไทย) โดยมีลูกมือสตรี 18 คน อันห้องเครื่องต้นไทยนี้ประกอบพระกระยาหารวันละ 4 เวลาคือ

เครื่องเช้าเวลาหลังบรรทมตื่น

เครื่องกลางวัน เวลา 11.00 น.

เครื่องบ่าย เวลา 13.00 น.

เครื่องค่ำ เวลา 20.00 น.

สำหรับเครื่องกลางวันนั้นประกอบเพิ่มสำหรับส่งไปยังโรงเรียนจิตรลดา เป็นพระกระยาหารกลางวันของทูลกระหม่อมทั้ง 4 พระองค์ และเป็นเวลากลางวันของครูกับนักเรียนทุกคนในโรงเรียนแห่งนี้ด้วย

แต่ในบางเวลา ถ้าหากทรงมีพระราชประสงค์จะพระราชทางเลี้ยงเป็นพิเศษแก่ผู้ใดขณะใด ก็เป็นหน้าที่ของแผนกห้องเครื่องต้นไทยนี้ด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงโปรดเสวยพระกระยาหารไทยอย่างธรรมดา

ต่อไปนี้เป็นเมนูรายการชื่อพระกระยาหาร เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504

เครื่องกลางวัน

1.แกงจืดวุ้นเส้น
2.ปลาหมึกสดผัดขี้เมา
3. ผัดถั่วงอก
4. ผักผัดน้ำมัน น้ำพริก ปลาทู
5. ปลาดุกฟู


สำหรับนักเรียนโรงเรียนจิตรลดา และทูลกระหม่อมฟ้าชาย – ฟ้าหญิง

1.แกงจืดไก่ต้มฟักเขียว
2.ผัดผักกวางตุ้ง



เครื่องบ่าย

ขนมปั้นสิบทอด

เครื่องค่ำ

1.แกงเผ็ดป่าไก่
2.ไข่เค็มต้ม
3.ลูกชิ้นเนื้อวัวเปรี้ยวหวาน
4.ผักดิบ กะปิคั่ว
5.ปลาช่อนทอด



สำหรับเครื่องพระกระยาหารนี้ สองล้นเกล้า ฯ โปรดง่าย ๆ เช่น ผัดถั่วงอก ก็ผัดอย่างธรรมดา อย่างที่เราผัดนั่นเอง จะมีเครื่องน้อยกว่าด้วยซ้ำไป เพราะใส่หมูกุ้งเพียงนิดเดียว ถ้าใส่มากก็เคยรับสั่งว่า นี่ผัดถั่วงอกหรือผัดหมู กุ้ง ชื่อผัดถั่วงอก ก็ควรผัดตามชื่อ

นอกจากนี้ ยังทรงโปรดเสวยอาหารไทยอีกหลายอย่าง เช่น แกงเลียง แกงส้มมะละกอกับกุ้ง แกงคั่วกุ้งกับสับปะรด และผัดผักบุ้ง

สมเด็จพระราชชนนี ทรงกวดขันทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าชาย เจ้าฟ้าหญิงเป็นอย่างยิ่ง เพราะทรงตั้งเป็นระเบียบว่า พระกระยาหารกลางวันที่เสวยพร้อมกับพระสหายที่โรงเรียนนั้น ห้ามเติมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา น้ำส้ม หรือน้ำซอส รับสั่งว่าเขาทำได้อย่างไร ต้องเสวยไปตามนั้น

ก่อนจะเชิญพระกระยาหารเครื่องต้นออกจากห้องเครื่อง จะจัดพระกระยาหารทุกสิ่งลงในถาดเงิน ปิดด้วยครอบหวายชั้นหนึ่งก่อน แล้วคลุมด้วยถุงหุ้มเครื่องผูกปากถุงด้วยเชือก แล้วติดตราลงบนดินสอพอง ส่วนโถพระกระยาหารและแกงต่าง ๆ ซึ่งต้องการความร้อน จะบรรจุลงในองค์ถังสำหรับใส่โถพระกระยาหาร ซึ่งมีช่องว่างครอบองค์ภายในสำหรับใส่น้ำร้อนหล่อบรรจุแล้วปิดฝา องค์ถึงผูกเชือกแล้วตีตราเช่นเดียวกัน เสร็จแล้วมหาดเล็กเชิญกราบถวายบังคม แล้วจึงยกเชิญออกจากห้องเครื่องไปยังพระตำหนัก และ ณ ที่นั่นจะมีพนักงานอีกพวกหนึ่งรับและจัดการเชิญเครื่องตามระเบียบอีกต่อไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกับสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรสธิดา 4 พระองค์ คือ


สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ทรงประสูติ โรงพยาบาลมองต์ชัวชี โลซานน์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494


สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ บรมจักรยาดิสร สันตติวงศ์เทเวศร์ ธำรงสุบริบาล อธิคุณปการมหิศราดุลยเดช ภูมิพลนเรศวรางกูล กิตติสิริสมบูรณ์ ศลางวัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ทรงประสูติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระนคร ประเทศไทย


สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินทรเทพรัตนสุดากิตติวัฒนา ดุลโสภาคย์ ทรงประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2498 ณ ประเทศไทย


สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครกุมารี ทรงประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ ประเทศไทย

เมื่อถึงโรงเรียน เจ้าฟ้าหญิงองค์หนึ่งก็ประทับลงที่หน้าเปียโน แล้วทรงเล่นเพลง “Jingle Belle” และ “ลาวดวงเดือน”

Vive le roi !

Vive la reine !

Vive le prince !

Vivent les princesses !

ด้านความห่วงใยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ นั้น สมเด็จ ฯ ทรงเล่าไว้ในความทรงจำตามเสด็จต่างประเทศว่า

“…เผอิญพระเจ้าอยู่หัวเริ่มประชวรหวัด ตอนเสด็จถึงเบลเยียม ถ้าได้บรรทมพักผ่อนเสียสักวันหรือ 2 วัน พระอาการคงจะไม่กำเริบ นี่ต้องเสด็จออกงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำไม่เว้นว่าง เสด็จเดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ อากาศค่อนข้างเย็น ฝนตกทุกวัน ทำให้ทรงโดนละอองฝนที่หนาวเย็นอยู่ตลอดเวลา…

“…ข้าพเจ้าสงสารเห็นพระทัยท่านยิ่งนัก ถ้าข้าพเจ้าเจ็บถึงขนาดนั้น ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะทนสู้ไหวหรือไม่ ยิ่งเห็นพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวซีดเซียว พระเนตรปรือเพราะพิษไข้ ข้าพเจ้าก็ยิ่งกลุ้มใจ แต่สุดปัญญามิรู้จะแก้ไขอย่างไร

“ข้าพเจ้าทราบดีว่าท่านจะทรงอดทนจนถึงที่สุดทีเดียว ไม่มีวันที่จะทรงยอมแพ้เป็นอันขาด

“นึกถึงประโยคที่พวกฝรั่งชอบพูด “Happy as a King แล้ว ครั้งนั้น ข้าพเจ้าอยากจะหัวเราะก้ากออกมาอย่างเยาะเย้ยและขมขื่น…”

ที่มา : 49 ราชินีไทย / พิมาน แจ่มจรัส

- - - - - - - - - - - - - - - -





 

Create Date : 28 มกราคม 2551    
Last Update : 28 มีนาคม 2551 11:04:12 น.
Counter : 1429 Pageviews.  

๔๙ ราชินี (๒๓)

48. สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี



ราชินีของพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์เดียวที่เสด็จไปสวรรคต ณ ต่างประเทศ

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เป็นพระราชินีอันเป็นที่เริ่มต้นของ “ยุคใหม่” หลายอย่างด้วยกัน


เป็นพระราชินีองค์แรกของระบบประชาธิปไตย และองค์สุดท้ายของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์


เป็นราชินีเดียวองค์แรกของพระมหากษัตริย์ (ตามแบบตะวันตก)


เป็นพระราชินีเดียวของไทย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสละราชสมบัติ (ยกเว้นพระราเมศวร ซึ่งสละราชสมบัติให้ขุนหลวงพระงั่ว โดยถูกบังคับกลาย ๆ)


เป็นพระราชินีที่ต้องระเหเร่ร่อน หนี “ราษฎร์ภัย” ไปไกลถึงต่างแดน


เป็นพระราชินีเดียว ที่ตกเป็นจำเลยของรัฐบาล

ข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดก็คือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เกือบจะไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์ และพระนางรำไพพรรณี เกือบจะไม่ได้เป็นพระราชินีทั้งนี้เพราะเหตุว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ หรือกรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ทรงเป็นเพียงพระอนุชาพระองค์น้อยที่สุด ในจำนวนเจ้าฟ้าชายร่วมพระชนนีถึง 5 พระองค์ คือกรมหลวงพิษณุโลก เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ และเจ้าฟ้าจุฑาธุช แล้วจึงถึงกรมขุนสุโขทัยฯแต่การกลับปรากฏว่า พระเชษฐาสิ้นพระชนม์ไปทีละองค์อย่างรวดเร็ว ราชสมบัติจึงมาถึงกรมขุนสุโขทัย และแม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ จะเสด็จสวรรคตแล้ว พระปกเกล้าฯ ก็ยังไม่เต็มพระทัยจะรับราชสมบัตินัก หรืออาจจะเป็นเพราะได้ทรงผนวชแล้ว ประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศน์วิหาร ในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ถึงกับมีพระประสงค์จะชักชวนพระองค์ไว้ในสมณเพศตลอดไป เพื่อปกครองสังฆมณฑล

ครั้นจำต้องลาผนวชเมื่อหมดพรรษาแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยฯ จึงเสด็จเข้ารับราชการทหารตามเดิม และพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ได้ตรัสขอหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี พระธิดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ ซึ่งมีพระราชหฤทัยรักใคร่กันมานานแล้วให้ทำการอภิเษกสมรส

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2447 เป็นพระธิดาองค์เดียวในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ กับพระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าอาภาพรรณี พระนามเดิมว่า หม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์

เมื่อครั้งยังทรงเป็นหม่อมเจ้าหญิง และเจริญพระชันษาได้ 2 ขวบ พระบิดาได้นำเข้าไปถวายตัวแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ตามราชประเพณีของเจ้านายสมัยก่อนที่ถวายตัวเข้าไปอยู่ในวังตั้งแต่พระชันษาได้ 2-3 ขวบ ซึ่งในระยะนั้นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถประทับอยู่ที่พระตำหนักสวนสี่ฤดู พระราชวังดุสิต หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีก็ได้ทรงเริ่มเรียน ก ข – ก กา ขณะที่ประทับอยู่ ณ พระตำหนักสวนสี่ฤดู พระราชวังดุสิต

ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พุทธศักราช 2453 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับในพระบรมมหาราชวันตลอดระยะเวลางานพระราชพิธีพระบรมศพ ขณะนั้นหม่อมเจ้ารำไพพรรณีมีพระชันษา 6 ปี ก็ได้ตามเสด็จพระราชดำเนินไปประทับในพระราชบรมมหาราชวังด้วย และได้เสด็จเข้าทรงศึกษาในโรงเรียนราชินีพร้อมด้วยหม่อมเจ้าเล็ก ๆ ทั้งหลาย วิชาที่ทรงศึกษา คือ วิชาเลขและภาษาไทย โดยทรงศึกษาตั้งแต่เวลา 09.00 – 12.00 น. การเดินทางไปโรงเรียนก็เสด็จโดยรถสองแถวของกรมรถยนต์หลวง ซึ่งเป็นรถใช้สอยธรรมดาของราชสำนักในขณะนั้น มีคุณเฒ่าแก่นั่งควบคุมดูแลไปจากวังหลวง นักเรียนสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องแบบ เจ้านายเล็ก ๆ จึงแต่งฉลองพระองค์ทรงผ้าลายเปลี่ยนสีไปตามวัน เสื้อเป็นผ้าดอกแบบเสื้อชั้นในคอสี่เหลี่ยม มีลูกไม้ติดระบาย และที่ลูกไม้นั้นก็สอดโบสีตามวันเอาไว้ด้วย

เมื่อเสร็จการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานจากที่ประทับในพระบรมมหาราชวังพญาไท ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นใหม่ ได้ประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้เป็นการถาวรจนตลอดพระชนมชีพของพระองค์

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ต้องพระราชประสงค์ที่จะให้หม่อมเจ้ารำไพพรรณีได้อยู่เฝ้าถวายงานอย่างใกล้ชิด จึงโปรดเกล้าฯ ให้ครูจากโรงเรียนราชินีซึ่งเป็นข้าหลวงเดิมมาถวายอักษรหม่อมเจ้ารำไพพรรณีที่พระตำหนัก โดยไม่ต้องเสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนราชินี แต่พอถึงเวลาสอบไล่ก็โปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปสอบที่โรงเรียน และในขณะที่ทรงศึกษาวิชาต่าง ๆ นั้น ก็ได้ทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษด้วยเป็นพิเศษ และในกาลต่อมาก็ได้ทรงศึกษาด้วยพระองค์เองจนทรงมีความรู้อย่างกว้างขวาง

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สมัยที่ทรงพระเยาว์นั้นเรียกขานพระนามว่า “ท่านหญิงนา” พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงนิพนธ์หนังสือชื่อ เกิดวังปารุสก์ เล่าถึงที่มาของพระนามนี้ว่า “เพื่อนเล่นที่ข้าพเจ้ารักมากที่สุดเป็นหญิง และแก่กว่าข้าพเจ้าราวสามปี เป็นหม่อมเจ้าธิดาของเสด็จปู่สวัสดิ์ ทรงนามว่า รำไพพรรณี และเรียกกนในเวลานั้นว่า ท่านหญิงนา หม่อมเจ้าหญิงนั้นโดยมากจะเรียกกันว่า ท่านหญิงใหญ่ ท่านหญิงเล็ก ท่านหญิงน้อย ดังนี้เป็นต้น การถูกเรียกว่าท่านหญิงนานั้น ผู้อ่านบางคนอาจจะเห็นว่าแปลก เรื่องราวเป็นเช่นนี้ เมื่อเล็ก ๆ อยู่เป็นเด็กที่มีรูปร่างอ้วน จึงถูกล้อว่าเป็นเต่า สำหรับไทยเราการถูกเรียกว่าเต่าเมื่อเล็ก ๆ ไม่เป็นของเสียหาย แม้ทูลหม่อมลุงก็เคยถูกสมเด็จย่าเรียกว่าเต่า อย่างไรก็ดี เมื่อท่านหญิงนายังเล็ก ๆ อยู่ ได้ถูกถามว่า “อยากเป็นอะไร อยากเป็นเต่าทองหรือเต่านา” ท่านหญิงองค์เล็กได้ยิ้มและตอบว่า “อยากเป็นเต่านา” และก็เลยกลายเป็นท่านหญิงนาตั้งแต่นั่นมา”

เมื่อหม่อมเจ้ารำไพพรรณีมีพระชันษาได้ 8 ปีเศษ และผ่านการพระราชพิธีเกศากันต์ (โกนจุก) แล้วก็ได้ทรงรู้จักคุ้นเคยกับร้อยโท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ที่เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารจากประเทศอังกฤษ และเสด็จนิวัติกรุงเทพมหานครแล้ว ได้เสด็จไปประทับที่พระราชวังพญาไทของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีเป็นครั้งคราว จึงได้ทรงรู้จักสนิทสนมคุ้นเคยกับพระญาติทั้งหลายทั้งชายหญิง และในบรรดาพระญาติที่เป็นหญิงนั้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ต้องพระอัธยาศัยในหม่อมเจ้ารำไพพรรณีมากกว่าองค์อื่น ๆ จนในพุทธศักราช 2460 เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทรงพระผนวชและประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักทรงพรต วัดบวรนิเวศน์วิหาร จนครบไตรมาส และทรงลาสิกขาแล้ว ก็ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่ามีพระราชหฤทัยผูกพันในหม่อมเจ้ารำไพพรรณี ใคร่ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตที่จะเษกสมรสกับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ประกอบพิธีอภิเษกสมรสพระราชทาน โดยมีพิธีขึ้นตำหนัก ณ วังสุโขทัย สามเสน และพระราชพิธีอภิเษกสมรสที่พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน นับว่าเป็นพิธีอภิเษกสมรสรายแรก หลังจากที่โปรดเกล้า ฯ ให้ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเษกสมรสแห่งเจ้านาย ในพระราชวงศ์พุทธศักราช 2461 ขึ้นใช้บังคับ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินให้แก่สมเด็จพระเจ้าจ้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชาและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างตำหนักขึ้นพระราชทานเป็นเรือนหอ เมื่อแรกที่ทั้งสองพระองค์เสด็จมาประทับนั้น มีตำหนักสำคัญอยู่ในบริเวณวังเพียงสองหลัง คือตำหนักใหญ่ และตำหนักริมคลองสามเสน ส่วนตำหนักไม้ที่อยู่เคียงกันกับตำหนักใหญ่นั้น มาสร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลัง หลังจากที่เสด็จมาประทับแล้วราว 2-3 ปี และด้วยเหตุที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ทรงกรมเป็นกรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ตั้งแต่พุทธศักราช 2448 วันนี้จึงมีพระนามว่า วังสุโขทัย และชวนให้ทรงคิดนำโอ่งดินเผาสุโขทัยมาตกแต่งเป็นเครื่องประดับสนามในวัง และแม้ว่าตำหนักในวังสุโขทัยจะเป็นเพียงตึกสองชั้นขนาดย่อม ๆ หลังหนึ่ง แต่ก็เป็นตำหนักและเป็นวังสุโขทัยที่มีความหมายต่อสมเด็จพระเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเป็นอย่างยิ่ง เพราะที่นี่เป็นเรือนหอของพระองค์ เป็นบ้านที่ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุข พร้อมกับพระราชสวามีมาเป็นเวลาช้านาน ข้าน้ำคนหลวงในวังสุโขทัยที่ทันรู้เห็นเหตุการณ์ในครั้งนั้น ย่อมจะยังรำลึกถึงภาพแห่งความสุขที่เจ้านายทั้งสองพระองค์ประทับอยู่ในวังสุโขทัยได้ ทุกวันในยายมเช้าหลังจากเสวยพระกระยาหารร่วมกับพระชายาแล้ว สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ก็จะทรงขับรถยนต์พระที่นั่งด้วยพระองค์เองไปทรงปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้บังคับกองร้อย กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ฯ ในเวลากลางวันหม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระชายา ก็ทรงดูแลกิจการต่าง ๆ ในตำหนัก เช่นเดียวกับแม่บ้านทั่วไป เสด็จลงทรงทำสวนบ้าง ทรงทำโน่นบ้างนี่บ้างตามพระอัธยาศัย ครั้นใกล้คำเมื่อพระราชสวามีเสด็จกลับจากการทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทั้งสอบพระองค์ก็จะทรงกีฬาและเสวยเครื่องว่างและพระกระยาหารค่ำด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวยังไม่มีพระราชโอรสและพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ทรงศึกษาราชการแผ่นดินในหน้าที่ของพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่พุทธศักราช 2467 บางครั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ต้องทรงทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมสภาเสนาบดี ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ประทับอยู่ในพระนคร ซึ่งก็ได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยจนหยั่งรุ้ในราชการนั้น ๆ และทรงปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ด้วยความเรียบร้อย จึงได้รับพระมหากรุณา
ธิคุณจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ต้องทรงทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมสภาเสนาบดี ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ประทับอยู่ในพระนครซึ่งก้ได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยจนหยั่งรู้ในราชการนั้น ๆ และทรงปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ด้วยความเรียบร้อย จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าห้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

หลังจากที่ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกรมหลวงได้ไม่ถึงเดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ด่วนสวรรคตในวันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2468 พระบรมวงศ์และเสนาบดีได้ประชุมกันก่อนที่จะสว่างของวันนั้น เพื่อปรึกษาหารือปัญหาการสืบราชสมบัติและการพระราชพิธีพระบรมศพ ที่ประชุมได้เปิดพระราชหัตถเลขานิติกรรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏความทรงแสดงพระราชประสงค์ว่า หากพระนางเจ้าสุวัทนาซึ่งทรงพระครรภ์อยู่.ประสูติพระราชโอรส ก็ให้พระราชโอรสได้สืบราชสมบัติต่อไป แต่ถ้าไม่มีพระราชโอรสก็ใคร่ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ทรงรับเป็นรัชทายาทสืบสันติวงศ์ตามพระราชประเพณี แต่สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้นเองไม่เต็มพระราชหฤทัยจะรับราชสมบัติ ทรงอ้างว่าพระองค์ไม่เคยแก่ราชการแผ่นดินเพียงพอ เจ้านายที่มีอาวุโสพอจะรับราชสมบัติก็ยังน่าจะมี แต่ที่ประชุมได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ไว้วางใจในพระองค์ โดยเฉพาะสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งอยู่ในข่ายสมควรได้รับราชสมบัติด้วยพระองค์หนึ่งได้ทรงรับรองแข็งแรง ว่าจะถวายความช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถทุกสถาน จึงต้องทรงยินยอมรับอัญเชิญขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี มิได้ทรงตะหนักมาก่อนเลยว่า จะต้องทรงรับพระราชภาระในตำแหน่งพระบรมราชินีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพราะทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เล็กเท่านั้น แต่เมื่อพระบุญญาธิการสนับสนุนให้เสด็จขึ้นดำรงฐานันดรศักดิ์เป็นพระบรมราชินี เป็นศูนย์รวมของสตรีทั้งชาติ ที่จะต้องทรงเป็นผู้นำทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม และก็ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจได้อย่างเรียบร้อยงดงามทุกประการ

เดือนมกราคม พุทธศักราช 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ไปทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศในทวีปยุโรป และประทับทรงรับการผ่าตัดและรักษาพระเนตร ณ ประเทศอังกฤษ ในระหว่างนั้นการเจรจาความเมืองกับรัฐบาลทางกรุงเทพฯ ก็ยังดำเนินอยู่อย่างสืบเนื่อง แต่แล้วก็มีความคิดเห็นขัดแย้งกัน ระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับรัฐบาลในเรื่องหลักการสำคัญ ๆ เช่นรัฐบาลได้แต่งตั้งพรรคพวกเข้าเป็นสมาชิกผู้เทนราษฎรประเภทที่สอง และรัฐบาลไม่ได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างเพียงพอ ไม่ตรงกับพระราชปณิธานอย่างแน่วแนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงสละพระราชอำนาจ อันเป็นของพระองค์เองมาแต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป และจะไม่ทรงยินยอมที่จะให้ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร การเจรจาดำเนินอยู่เป็นเวลานานแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในที่สุดทรงเห็นว่าเมื่อไม่อาจทรงขอร้องหรือทักท้วงให้รัฐบาลแก้ไขนโยบายโดยกระแสพระราชดำริอย่างหนึ่งอย่างใดได้แล้ว ก็เสมือนกับพระองค์ไม่ทรงสามารถช่วยเหลือคุ้มครองประชาชนตามสิทธิของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยได้เลย ดังนั้นในวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2477 ขณะที่ยังประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ จึงทรงเลือกโอกาสสุดท้ายที่จะแสดงความไม่เห็นพ้องกับคณะผู้บริหารประเทศด้วยการตัดสินพระราชหฤทัยว่า

“บัดนี้ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียงในนโยบายของประเทศโดยแท้จริง ไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือหรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป”

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติแล้ว พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พร้อมด้วยพระประยูรญาติสนิทบางพระองค์ ได้ประทับอยู่ในชนบทใกล้กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทรงวางพระองค์เยี่ยงคหบดีชนบท ทรงจัดสวน เลี้ยงนก เลี้ยงปลา เสด็จประพาสทัศนศึกษาตามโบราณสถาน ทรงติดต่อกับผู้ที่ทรงคุ้นเคย และทรงไปเยี่ยมพบปะนักศึกษาไทยในการประชุมประจำปีของสามัคคีสมาคม ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของคณะกรรมการสามัคคีสมาคมในประเทศอังกฤษ

ในเวลาที่ประทับอยู่ในประเทศอังกฤษนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรอยู่เนือง ๆ เนื่องเพราะพระพลานามัยของพระองค์ไม่ใคร่จะสมบูรณ์ แต่ก็ทรงมีสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี คอยเฝ้าถวายการรักษาพยาบาลสนองพระเดชพระคุณอย่างใกล้ชิดโดยตลอด ครั้นถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2484 ขณะประทับ ณ พระตำหนักคอมพ์ตัน ตำบลเวอร์จิเนียวอเตอร์ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตโดยฉับพลันด้วยพระหทัยวาย ขณะนั้นทรงมีพระชนมพรรษา 48 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงจัดการเรื่องพระบรมศพและถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นการภายใน ในวันที่ 3 มิถุนายน ศกนั้น นับเป็นงานพระบรมศพที่เรียบและง่ายที่สุดตั้งแต่มีชาติไทยมา ไม่มีพระเมรุมาศ ไม่มีเสียงประโคมย่ำยาม ไม่มีแม้แต่พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม นับว่าเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ซึ่งต้องทรงต่อสู้กับความเศร้าโศกโทมนัสด้วยพระขันติธรรมที่สูงยิ่งปิ่มว่าจะเอาพระชนม์ไม่รอด

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ยังต้องประทับอยู่ในประเทศอังกฤษต่อไป เพราะการคมนาคมติดต่อระหว่างประเทศยังไม่มีความปลอดภัยเนื่องจากอยู่ในภาวะสงคราม และเมื่อประเทศไทยจำต้องยอมประกาศสงครามเข้าข้างฝ่ายญี่ปุ่น เป็นศัตรูโดยเปิดเผยกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ในคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น คนไทยที่รักชาติซึ่งพำนักอยู่ในต่างประเทศจำนวนหนึ่งได้ประกาสตัวเป็นเสรีไทย ทำงานประสานกับเสรีไทยในกรุงเทพมหานคร สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 แม้จะมิได้ทรงมีพระนามร่วมในคณะเสรีไทยอย่างเป็นทางราชการ แต่ก็ได้พระราชทานพระกรุณาอุดหนุนจุนเจือกิจการของเสรีไทยในประเทศอังกฤษอย่างสม่ำเสมอ ข้าราชบริพารฝ่ายหน้าใกล้ชิดที่มีอยู่เพียงไม่กี่คนก็โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชอนุญาตให้ไปเป็นทหารในคณะเสรีไทย เสรีไทยในประเทศอังกฤษมีจำนวนทั้งหมด 36 คน ก่อนไปเข้าค่ายฝึกทหารก็โปรดพระราชทานเลี้ยงเป็นการบำรุงขวัญ ใครได้ลาพักก็มาถึงพระบารมีอยู่ที่ตำหนัก จนถึงกับมีการเฉลิมพระสมัญญาว่าทรงเป็น “อภิเสรีไทย” ในเรื่องนี้ต่อมาได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ว่า

“ฉันเป็นแต่เพียงไปลงชื่อกับเขา เป็นกำลังใจให้กับคนที่ทำงานฉันเองไปช่วยเขาทางด้านกาชาด แต่ฉันทำอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างที่พวกเสรีไทยฝึกโดดร่มฝึกอาวุธกัน ฉันก็ไปช่วยเขาทำนอง ตอนนั้นไม่ได้อยู่ในลอนดอนหรอก น่ากลัวมากทีเดียว แต่ก็มาลอนดอนอาทิตย์ละครั้งสองครั้ง”

ต่อมาในพุทธศักราช 2492 รัฐบาลได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ขอพระราชทานให้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับสู่พระนคร เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ ที่อันควรแก่พระบรมราชอิสริยยศ ร่วมกันกับสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ยาธิราชเจ้าในพระบรมมหาราชวัง พร้อมกันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายครบถ้วนตามพระราชประเพณี

เมื่อสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจากประเทศอังกฤษกลับสู่ประเทศไทยในพุทธศักราช 2492 นั้น รัฐบาลได้ใช้พระตำหนัก วังสุโขทัย เป็นสานที่ทำงานของกระทรวงสาธารณสุขเสียแล้ว สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงได้เชิญเสด็จสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ไปประทับอยู่ที่ตำหนักของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในวังสระปทุม อยู่นานถึงสามปีจึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับที่พระตำหนักวังสุโขทัย อีกครั้งหนึ่ง

พระตำหนักวังสุโขทัย ซึ่งจัดเป็นที่ประทับชั้นหลังนี้ ได้จัดอย่างเรียบง่ายตามพระราชอัธยาศัยของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ผู้เป็นเจ้าของวัง ชั้นล่างประกอบด้วยห้องรับแขกห้องหนึ่ง ห้องเสวยห้องหนึ่ง และห้องสำหรับใช้ประชุมหรือประกอบพระราชพิธีอีกห้องหนึ่ง ส่วนชั้นบนจัดเป็นเขตที่สำราญพระราชอิริยาบถอย่างแท้จริง มีห้องเสวยอย่างลำลองห้องหนึ่งเชื่อมต่อกันกับห้องทรงพระสำราญ ซึ่งเป็นทางแยกไปสู่ห้องพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขนาดเล็ก ๆ ทรงฉลองพระองค์อย่างลำลอง แววพระเนตรเต็มไปด้วยความอ่อนโยนและแสดงพระเมตตาคุณอย่างชัดเจน คล้ายกับจะทรงคุ้มครองพระตำหนักนี้ให้ร่มเย็นเป็นสุขตลอดกาลนาน

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพื้นที่ในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งในระยะนั้นเส้นทางคมนาคมยังเต็มไปด้วยหลุมบ่อและฝุ่น ถนนหนทางยังไม่ได้ราดยาง บางแห่งต้องใช้แพขนานยนต์ หรือสะพานจำลองข้ามผ่านลำน้ำสายต่าง ๆ และในที่สุดทรงเลือกได้ที่ดินบริเวณตำบลบ้านแก้ว จังหวัดจันทบุรี ด้วยทรงเห็นว่าเป็นทำเลที่มีธรรมชาติงดงามมีความเงียบสงบต้องกับพระราชอัธยาศัยของพระองค์ และระยะทางก็อยู่ไม่ห่างไกลจากตัวเมืองจนเกินไปนัก

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงกู้เงินจากธนาคารไปจัดซื้อที่ดินบริเวณสองฝั่งคลองบ้านแก้วจากเจ้าของที่ดินเติมหลายราย รวมได้เนื้อที่ 687 ไร่ พระราชทานชื่อว่า “สวนบ้านแก้ว” และโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารทำการปรับที่ดินพร้อมกับสร้างที่ประทับชั่วคราวทำด้วยไม้ไผ่หลังคามุงจาก โดยได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรมครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2493 ขณะนั้นยังไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือนรับรอง พระตำหนักและเรือนข้าราชบริพารขึ้น โดยการก่อสร้างให้เป็นไปด้วยความประหยัดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กล่าวคือ จ้างช่างให้มาสอนคนงานที่ “สวนบ้านแก้ว” ให้รู้จักการสร้างเตาเผาอิฐแล้วทำการเผาอิฐ เผากระเบื้องมุงหลังคา เพื่อนำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น สำหรับไฟฟ้านั้นโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารตั้งเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้าขึ้นใช้ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าก็นำไปใช้กับเครื่องสูบน้ำทำการสูบน้ำจากคลองบ้านแก้วขึ้นมาใช้ต่อไป ต่อมากรมชลประทานได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวาย และกรมทางหลวงก็ได้ทำการปรับปรุงสภาพถนนหนทางให้ดีขึ้น

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี มีพระราชประสงค์ที่จะให้ “สวนบ้านแก้ว” ดำเนินกิจการในด้านการปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกไม้ผลนานาชนิด ทั้งที่เป็นพืชไม้ผลในท้องถิ่นและพืชและไม้ผลจากที่อื่น ตลอดจนมีการเลี้ยงสัตว์ เพื่อที่จะให้ “สวนบ้านแก้ว” เป็นไร่ตัวอย่างมากกว่าเป็นการค้า โดยทำการทดลองว่าหากปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดใดได้ผลดี ก็จะทรงนำเอาความรู้นั้นออกเผยแพร่แก่ประชาชน โดยมีนักวิชาการเกษตรจากสถานีทดลองเกษตรจังหวัดจันทบุรีที่เป็นข้าราชบริพารเก่ามาช่วยเหลือแนะนำทางด้านวิชาการ ชาวบ้านที่มารับจ้างทำงานใน “สวนบ้านแก้ว” ส่วนมากก็มีสวนเป็นของตนเองอยู่ด้วย การนำความรู้ที่ได้จาก “สวนบ้านแก้ว” ไปปฏิบัติที่สวนของตนจึงเป็นไปอย่างได้ผลดี และมีใจรักที่จะทำนุบำรุงสวนของตนให้มีสภาพที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วย ทั้งนี้ก็เพราะได้พบเห็นตัวอย่างอันประเสริฐจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ที่มีพระวิริยะอุตสาหะในการทำไร่ “สวนบ้านแก้ว” ด้วยพระองค์เองอยู่เสมอ ๆ อาทิ ทรงเกี่ยวข้าว สีข้าว ปลูกถั่วลิสง เก็บเมล็ดถั่วลิสง ตลอดจนดูแลเลี้ยงสัตว์พันธุ์ต่าง ๆ บางครั้งถึงกับทรงขับแทรกเตอร์และตัดหญ้าด้วยพระองค์เอง ทั้งยังทรงปลูกไม้ดอกไม้ประดับไว้เป็นจำนวนมาก จนปรากฏว่าที่ “สวนบ้านแก้ว” มีไม้ดอกไม้ประดับหลากชนิดงดงามเป็นยิ่งนัก

ระหว่างประทับอยู่ ณ “สวนบ้านแก้ว” นี้ ยังได้ทรงพัฒนาการทอเสื่อจันทบูรอันเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่เป็นอาชีพหลัก ซึ่งมีชื่อเสียงอย่างหนึ่งของชาวจังหวัดจันทบุรีให้เจริญก้าวหน้าไปกว่าเดิมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการทอเสื่อจันทบูรของแม่ชีที่วัดญวน แล้วทรงพบข้อบกพร่องต่าง ๆ เช่น สีที่ย้อมกกที่จะนำไปทอเป็นเสื่อนั้นไม่คงทน สีมักจะตกและมีสีที่จะใช้ย้อมกกเพียงไม่กี่สี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงงานทอเสื่อกกจันทบูรขึ้นที่ “บ้านสวนแก้ว” สั่งซื้อกกตากแห้งจากชาวบ้านมาเป็นวัตถุดิบในการทอเสื่อ และมีพระราชดำริให้ปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตใหม่ให้ทันสมัยและมีคุณภาพดียิ่งขึ้น เช่น ให้ค้นคว้าผลิตสีที่จะใช้ย้อมกกให้มีมากสีขึ้น ใช้กรรมวิธีฟอกให้ขาวก่อนแล้วจึงย้อมสี วิธีนี้ทำให้สีที่ย้อมกกคงทนถาวรและได้กกหลากสีขึ้น เป็นต้น

โรงงานทอเสื่อของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ที่มีลูกจ้างเพียง 30 คน แยกทำหน้าที่ในแผนกฟอกกกให้ขาว แผนกย้อมกก แผนกทอ และแผนกตัดเย็บนั้น นอกจากจะทอเสื่อออกจำหน่ายจนเป็นที่นิยมแพร่หลายและเรียกกันว่าเสื่อจันทบูรสมเด็จฯ แล้ว ยังผลิตของใช้ประเภทอื่น ที่ทำจากเสื่อกกอีก เช่น กระเป๋าเอกสาร กระเป๋าถือสตรี ถาด ที่รองถ้วยแก้ว ที่รองจาน กล่องใส่กระดาษเช็ดมือ ฯลฯ โดยทรงเป็นผู้ออกแบบและตรวจตราคุณภาพสิ่งของ ที่ผลิตขึ้นด้วยพระองค์เอง และสินค้าต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาจากโรงงานนั้น โปรดเกล้าฯ ให้ติดเครื่องหมายการค้า เป็นรูปคนหาบกระจาด ใช้ชื่อว่า “อุตสาหกรรมชาวบ้าน” ถึงแม้ว่าจะมีลูกจ้างคนงานไม่มากนัก แต่โรงงานแห่งนี้ก็สามารถผลิตสินค้าได้ดีมีคุณภาพ ทำให้มีรายได้ถึงเดือนละหลายหมื่นบาท และเมื่อผู้มาฝึกงานหรือลูกจ้างของโรงงานแห่งนี้ลาออกไปประกอบกิจการของตนเอง ก็ได้นำประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานในโรงงานไปดำเนินกิจการของตนเองได้ผลเป็นอย่างดี เป็นผลให้กิจการในด้านนี้แพร่หลายออกไปตามครัวเรือนต่าง ๆ ของราษฎรมากขึ้นทุกที ซึ่งก็ต้องพระราชประสงค์ที่จะเผยแพร่ความรู้ในด้านการประกอบอาชีพแก่ประชาชนให้มากที่สุด

พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงบำเพ็ญระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรมที่ “สวนบ้านแก้ว” จังหวัดจันทบุรี คือทรงอุปถัมภ์โรงพยาบาลประจำจังหวัดจันทบุรีให้กลายเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่โตทันสมัยในปัจจุบัน เรื่องเล่าสืบต่อกันมาในขณะที่เสด็จพระราชดำเนินไปหาที่ดินในจังหวัดจันทบุรีเมื่อพุทธศักราช 2493 นั้น ได้ทรงช่วยข้าราชบริพารเตรียมพระกระบาหาร และทรงทำมีดบาดพระดัชนีเป็นรอยแผลเล็ก ๆ เมื่อทำความสะอาดบาดแผลแล้ว ต้องพระราชประสงค์ผ้าพลาสเตอร์ปิดแผล แต่ไม่มีข้าราชบริพารคนใดใจคณะนำติดไปด้วย จึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงพยาบาลประจำจังหวัดจันทบุรี ซึ่งสร้างมาตั้งแต่พุทธศักราช 2453 แพทย์และพยาบาทต่างวิ่งกันวุ่นในโรงพยาบาลหลังเล็ก ๆ ที่ทรุดโทรมและมีอยู่เพียงหลังเดียวนั้น ที่สุดก็ค้นหาได้เศษพลาสเตอร์ยาวประมาณหนึ่งนิ้วครึ่งนำมาถวาย ทำให้ทรงสลดพระราชหฤทัยยิ่งนักว่า หากประชาชนธรรมดามาพึ่งโรงพยาบาลในยามเจ็บไข้ จะได้รับความไม่สะดวกเพียงไร

เมื่อประมาณพุทธศักราช 2497 โปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงละครในพระราชินูปถัมภ์เพื่อจัดหาทุนก่อสร้างตึกผ่าตัดให้แก่โรงพยาบาลประจำจังหวัดจันทบุรี และเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จในพุทธศักราช 2497 ได้พระราชทานนามตึกหลังนี้ว่า “ตึกประชาธิปก” และพระราชทานตราศักดิเดชน์ ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ อันเป็นพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นตราประจำตึก และทรงสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานไว้ที่มุขหน้าตึกนั้นด้วย ต่อมาพระยาบริรักษ์เวชการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ขอให้รัฐบาลปรับปรุงโรงพยาบาลนี้ให้มีขนาดใหญ่และทันสมัยยิ่งขึ้น คือขยายจากโรงพยาบาล 50 เตียงเป็น 150 เตียง พร้อมด้วยอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อเป็นโรงพยาบาลหลัก และสร้างวิทยาลัยพยาบาลเพื่อเป็นศูนย์กลางของการศึกษาวิชาพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยของภาคตะวันออก การก่อสร้างได้แล้วเสร็จในพุทธศักราช 2498 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เปลี่ยนนามโรงพยาบาลเป็น “โรงพยาบาลพระปกเกล้าฯ” เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดป้ายชื่อ “ตึกประชาธิปก” และ “โรงพยาบาลพระปกเกล้าฯ” ในวันที่ 147 พฤษภาคม 2499

ในพุทธศักราช 2511 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ไม่ต้องพระราชประสงค์ที่จะประทับอยู่นอกกรุงเทพมหานครอีกต่อไป เนื่องจากทรงมีแต่พระประยูรญาติและข้าราชบริพารที่เป็นสตรีเป็นส่วนใหญ่ที่ยากจะตามเสด็จพระราชดำเนินไปอยู่ในต่างจังหวัด ประกอบกับทางกระทรวงศึกษาธิการมีความสนใจจะหาที่ดินสร้างวิทยาลัยครูจันทบุรี จึงตัดสินพระราชหฤทัยขาย “สวนบ้านแก้ว” ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการไปในราคาถูก เพื่อเป็นวิทยาทานไปในตัวด้วย แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับที่พระตำหนักวังสุโขทัยเป็นการถาวร แต่มิได้ทรงละทิ้งกิจการทอเสื่อและผลิตสินค้าจากเสื่อ โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินกิจการเช่นเคยแต่ในปริมาณงานที่ลดลง และโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระตำหนักน้ำในวังสุโขทัยที่อยู่ติดริมคลองสามเสนเป็นสถานที่ทอเสื่อและผลิตสินค้าที่ทำจากเสื่อภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของพระองค์เอง

ในวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2527 มีประกาศสำนักพระราชวังเรื่อง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 เสด็จสวรรคต

“สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ประชวรสวรรคตด้วยพระหทัยวาย โดยพระอาการสงบ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2527 เวลา 15 นาฬิกา 50 นาที ณ พระตำหนักวังสุโขทัย

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเศร้าสลดพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังจัดการพระบรมศพถวาย พระเกียรติยศตามราชประเพณี ประดิษฐานพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

“อนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ถวายมีกำหนด 100 วัน ตั้งแต่วันสวรรคตเป็นต้นไป”

- - - - - - - - - - - - - - - -




 

Create Date : 28 มกราคม 2551    
Last Update : 28 มีนาคม 2551 11:04:23 น.
Counter : 468 Pageviews.  

๔๙ ราชินี (๒๒)

46. พระนางเจ้าสุวัทนา


พระมหากษัตริย์ไทย ทรงร่วมแสดงละครเป็น “นายมั่นปืนยาว” ทำให้ได้เจ้าจอมองค์ใหม่


“ให้แม่ติ๋ว แม่ยอดชีวิตของโต เพื่อที่ระลึกถึง”

ถ้อยคำนี้มีอยู่หลังพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ซึ่งพระราชทานให้แก่เจ้าจอมองค์ใหม่ คำว่า “โต” หมายถึงพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ย่อมาจากคำว่า “ทูลกระหม่อมโต” อันเป็นพระนามเดิม คำว่า “ติ๋ว” หมายถึงนางสาวติ๋ว อภัยวงศ์ ธิดาเจ้าคุณอภัยภูเบศร์ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ได้ทรงเปลี่ยนให้เป็นนางสาวสุวัทนา อภัยวงศ์ เมื่อได้มีประกาศเป็นทางการเลื่อนนางสาวสุวัทนา อภัยวงศ์ เป็นเจ้าจอมสุวัทนาแล้ว พระองค์ก็พระราชทานพระบรมรูปให้โดยจารึกอักษรตามที่กล่าวมาแล้ว

สาเหตุที่พระองค์ได้พบกับพระนางเจ้าสุวัทนานั้น กล่าวกันว่าเนื่องจากการแสดงละครเรื่อง “พระร่วง” เพื่อเก็บเงินที่ ร.ร. มหาดเล็กหลวง โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วยในบทบาทของนายมั่นปืนยาว และพระนางเจ้าสุวัทนา แสดงในบทตัวละครหญิงที่จะต้องรบกับฝ่ายขอมพระนางเจ้าสุวัทนานั้น ในระยะหลังนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อ “ชีวิต” ของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง โดยเหตุที่ทรงพระครรภ์อยู่ และเป็นเครื่องชี้ว่าจะได้มงกุฏราชกุมาร ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ต่อไปหรือไม่

เพื่อที่จะได้ให้ท่านเข้าใจชีวิตในราชสำนักไทย ตอนหัวเลี้ยวหัวต่อแห่งการเปลี่ยนกษัตริย์ขอเล่าเรื่องภายในราชวังตอนนี้ให้ละเอียดสักหน่อย ซึ่งในชั่วโมงนี้ชั่วโมงเดียว มีการคอยอยู่ถึง 2 อย่าง คือคอยว่าพระนางเจ้าสุวัทนาจะประสูติพระราชโอรสหรือธิดา และคอยอยู่ต่อไปอีกว่า ถ้าได้พระราชโอรสหรือธิดาแล้วจะเป็นผลสืบเนื่องไปถึงพระชนมชีพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งกำลังทรงประชวรอยู่เพียงใดหรือไม่

“มัทธนะพาธา” หรือ “ความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากความรักของพระองค์กำลังดำเนินต่อไป และในขณะที่ทรงนิพนธ์ “มัทธนะพาธา” หรือตำนานดอกกุหลาบเป็นภาษาอังกฤษ พระองค์ก็ประชวรพระโรคพระอันตะ”

ข้าราชการสำนักทั้งมวลรู้ดีว่าพระชนมชีพของพระองค์ ขึ้นอยู่กับการทรงครรภ์ของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชชายา ซึ่งใกล้กำหนดประสูติเข้าไปทุกที เป็นที่ทราบกันว่า ได้พระราชทานพระนามไว้ล่วงหน้าแล้วด้วยซ้ำไป ว่าถ้าเป็นพระราชโอรสจะทรงพระนามว่ากระไร พระราชธิดาทรงพระนามว่าอย่างไร รวมทั้งเพลงเห่กล่อมเจ้าฟ้าน้อยนั้นด้วยเวลาประมาณ 3 น.เศษ ในขณะที่ประทับอยู่ที่พระราชวังพญาไท ก่อนบรรทมได้เสด็จเข้าห้องสรง คงทิ้งมหาดเล็กห้องบรรทมไว้เพียงลำพังคนเดียว คือนายจ่ายวด (หลวงภูมินาทสนิท) ในขณะกำลังสรงอยู่นั้น นายจ่ายวดได้ยินพระกระแสเสียงแผ่วเบาเรียกว่า “สืบ-สืบ” (นายจ่ายวดเดิมชื่อสืบ ตังคะรัตน์) หลวงภูมินาท จึงตรงเข้าอุ้มพระองค์มายังห้องบรรทม แล้วจัดการให้ติดตามตัวขุนนางชั้นผู้ใหญ่ พร้อมกับคณะแพทย์

คืนสำคัญคือวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2468 ขณะที่พระอาการกำลังเพียบอยู่นั้น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชชายา ก็ได้ประสูติพระราชธิดาซึ่งได้ทรงนามตามที่ทรงตระเตรียมไว้ล่วงหน้าแล้ว คือสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภาพรรณวดี การประสูติพระราชธิดาครั้งนี้ ราชวัลลภชั้นผู้ใหญ่ไม่กล้าเข้าไปกราบทูล เพราะกำลังประชวรหนัก นายแพทย์ลงความเห็นว่า พระชนมชีพจะไม่ยืดไปเกิน 24 ชั่วโมงแน่ สมควรเข้าไปถวายข่าวการประสูติพระราชธิดาได้แล้ว เพื่อจะได้ทราบข่าวดีเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต พระยาอัศวินฯ ได้เข้าไปกราบถวายบังคมทูลกระซิบในขณะที่หลับพระเนตรอยู่บนพระที่ ว่าพระนางเจ้าประสูติแล้ว และทูลถามว่า

“You Majesty, Do you want to see your baby?”

“Yes, Sure” คือพระดำรัสตอบอย่างช้า ๆ ขณะลืมพระเนตรขึ้น

เจ้าพระยารามฯ จึงอัญเชิญพระราชธิดาไปยังพระที่ ทรงพยายามที่จะเบือนพระพักตร์มาทอดพระเนตรพระราชธิดา แต่ไม่สำเร็จ เจ้าพระยารามฯ จึงทอดพระราชธิดาลงเคียงข้างพระองค์ เมื่อทรงรู้สึกเช่นนั้น ได้พยายามที่จะยกพระหัตถ์ลูกไล้พระราชธิดา แต่ก็ไม่สามารถจะทรงกระทำได้เช่นกันเจ้าพระยารามฯ จึงทำหน้าที่ยกพระหัตถ์มาวางบนพระอุระของเจ้าฟ้าหญิงเพียงชั่วครู่หนึ่ง แล้วเจ้าพระยารามฯ ก็อัญเชิญกลับ ครั้นเมื่อพ้น 24.00 น. ไปแล้ว ก็เสด็จสวรรคตหลังจากดำรงทรงพระชนมชีพอยู่ได้ 46 พรรษา นี่คือเหตุผลว่าทำไม พระนางเจ้าสุวัทนาจึงมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงพระชนมชีพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ

- - - - - - - - - - - - - - - -


47. พระนางเธอลักษมีลาวัณ



นางเอกละคร นักประพันธ์ กวีและมเหสีผู้เคราะห์ร้าย

งามสิ่งใด ไม่อร่าม เท่าความรัก ชวนใจรัก ให้คิด พาจิตต์เหลิง
รักมิสม ตรมกลุ้ม ดังสุมเพลิง เราบรรเทอง เริมสวาท เพราะมาทปอง
นี่แหละหนอ ข้อกรรม ที่ช้ำจิต
สุดจะคิด ผันแปร แก้หม่นหมอง


ใครจะกล้า พร่าโศก โรคคนอง

นำสนอง รักข้า ครานี้เอย ฯ


ฉันไม่บ้า แม้ใครบ้า มาว่าฉัน

ก็ผู้นั้น นั่นแหละบ้า จึงว่าเขา


เราไม่บ้า แม้ใครบ้า มาว่าเรา

มันก็เข้า คนที่ว่า เป็นบ้าเอย ฯ


นัยนา คู่นี้ ที่แถลง

ให้ใจแจ้ง จ่อรัก สลักจิต


กรคู่นี้ ที่เหนี่ยว เกี่ยวกอดชิด

บอกว่ามิตร ต้องการ สมานใจ


กรรณคู่นี้ ที่สดับ รักบอกรัก

ให้ประจักษ์ จิตแน่ ไม่แก้ไข


โอถจิ้มลิ้ม ยิ้มยวน ชวนชื่นใจ

รักจะไม่ รู้ลา ระอาเอย ฯ



กลอนทั้งหมดนี้ เป็นพระนิพนธ์ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ ผู้มีความเป็นศิลปินและกวีอย่างแท้จริง ถ้าจะนับตามพระชาติกำเนิด พระบาทคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ก็ทรงเป็นศิลปินโดยแท้ คือทรงเป็นเจ้าของละครคณะปรีดาลัย ซึ่งนับเป็นละครยุคใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 คือใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิง ร้องเพลงไทยมีบทร้องแล้วใช้บทเจรจาแทรก และถ้าจะนับตามสิ่งแวดล้อม ก็ปรากฏว่าพระนางเธอลักษมีลาวัณ ก็ได้ทรงคลุกคลีอยู่กับงานละครอยู่เป็นเวลานาน

พระนางเธอลักษมีลาวัณ มีพระนิสัยถือพระองค์เป็นของพระองค์เอง ทรงมีมานะและเชื่อในความสามารถของพระองค์ ทรงมั่นในพระปัญญาและความกล้าหาญพระนางทรงใช้เวลาว่างประพันธ์กวีนิพนธ์ต่าง ๆ และบทละครโดยทรงใช้พระนามว่า “ปัทมะ” ครั้นล่วงมาในยุคหลัง ก็ได้นิพนธ์เป็นร้อยแก้วซึ่งบางครั้งก็ทรงใช้พระนามเดิมเช่น “ชีวิตหวาม” “เรือนใจที่ไร้ค่า” “ยั่วรัก” “โชคเชื่อมชีวิต” และอื่น ๆ อีกเป็นอันมากเฉพาะในด้านนาฎกรรม ได้ทรงตั้งละครขึ้นคณะหนึ่งใช้ชื่อ “ปรีดาลัย” เป็นการสืบสนองพระบิดา

เมื่อ พ.ศ.2476 ได้ทรงปฏิวัติการแสดงละครให้เป็นชายจริงหญิงแท้ มีเพลงร้องประกอบทั้งทำนองไทยและสากล โดยมีวงดนตรีวงใหญ่ ที่มีฝรั่งเป็นผู้เล่นถึง 40 คน เบิกโรงด้วยฉากระบำฟากฟ้า แล้วแสดงเรื่อง “พระอาลัสะนัม” อันเป็นพระนิพนธ์ของพระบิดา เริ่มแสดงครั้งแรกที่ศาลาเฉลิมกรุงในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2477 และต่อมาใน พ.ศ.2478 ก็ได้ไปแสดงที่โรงมหรสพนครเขษม ละครที่แสดงนี้ใช้เรื่องที่เป็นพระนิพนธ์ของพระนางบ้างของ น.ม.ส. บ้าง เช่น “ศรีธนญชัย” นิพนธ์ของหม่อมเจ้าทองต่อ ทองแถม ทรงใช้นามปากกาว่า “คันธาลีมาส” เป็นต้น

ใน พ.ศ.2476 ได้ร่วมกับบริษัทสหศินิมาจำกัด แสดงที่ศาลาเฉลิมกรุง และครั้งสุดท้ายได้แสดงที่ศาลาเฉลิมนคร เมื่อปี พ.ศ. 2488 – พ.ศ. 2489 นอกจากโรงมหรสพดังกล่าวแล้ว ยังทรงจัดหาเงินช่วยการกุศลบ่อย ๆ เช่น กองทัพเรือ และงานฉลองรัฐธรรมนูญ ในระยะหลังปรากฎว่าได้ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถโดยเสด็จประพาสยุโรป ละครปีดาลัยจึงสิ้นสุดลง

ในด้านการแสดง พระนางก็เคยทรงแสดงละคนในหมู่ข้าราชสำนักหลายเรื่อง และในการแสดงนั้นก็มักจะทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระนางเธอลักษมีลาวัณเป็นนางเอก เรื่องที่เด่น ๆ เช่น “กุศโลบาย” อันเป็นละครพูด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงแปลมาจากภาษาต่างประเทศ ชื่อ The Royal Family พระนางเธอลักษมีลาวัณ ทรงแสดงเป็นเจ้าหญิงแอนเจล่า ในเรื่อง “วิวาห์พระสมุทร” ทรงแสดงเป็นเจ้าหญิงอันโดรเมดา

พระนางเธอลักษมีลาวัณ ประสูติเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 ทรงได้รับการศึกษาอันดีเยี่ยม โดยเฉพาะในด้านโคลงฉันท์กาพย์กลอน และร้อยแก้ว ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะทรงได้รับการถ่ายทอดมาจากพระบิดา คือ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (ต้นตระกูล วรวรรณ ณ อยุธยา)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพบพระนางเธอลักษมีลาวัณในงานประกวดการเขียนภาพ ที่พระราชวังพญาไท (โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าฯ ปัจจุบันนี้) พร้อม ๆ กับพระองค์เจ้าหญิงวัลลภาเทวีซึ่งต่อมาโปรดให้ทำพิธีหมั้นและสถาปนาเป็นพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี เพื่อเตรียมการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส แต่ต่อมาอีก 4 เดือน ก็โปรดให้ถอนหมั้นโดยมิได้คาดฝัน (พระบรมราชโองการประกาศเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2464 “มีความเสียพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ทรงทราบตระหนักแน่ชัดขึ้นว่า การจะไม่เป็นไปโดยเรียบร้อย สมพระราชประสงค์อันดีที่กล่าวมาแล้ว เพราะเหตุที่พระราชอัธยาศัยของพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีมิได้ต้องกัน”)

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงถอนหมั้นในครั้งนี้เอง ทำให้จุดแห่งการเพ่งเล็งตกไปอยู่ “ท่านติ๋ว” หรือหม่อมเจ้าหญิงลักษมีลาวัณ พระขนิษฐภคินีต่างมารดา ซึ่งทรงมีความงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระองค์เจ้าหญิงวัลลภาเทวี ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2464 จึงโปรดให้หม่อมเจ้าหญิงลักษมีลาวัณ เป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า และอีก 4 เดือนต่อมาก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น “พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ” โดยทรงมีเหตุผลว่า

“พระราชดำริว่า พระวงศ์เธอพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณเป็นที่พอพระราชหฤทัย ดังมีความแจ้งอยู่ในประกาศราชโองการ วันที่ 4 เมษายน พระพุทธศักราช 2464 นั้นแล้ว บัดนี้ได้ทรงพระราชวินิจฉัยแล้วว่า จะได้ทรงทำการราชาภิเษกสมรส ณ เบื้องหน้า จึงเป็นการสมควรที่จะยกย่องพระเกียรติยศยิ่งขึ้น”

ต่อมา ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2465 เมื่อพระนางมีพระชนมายุได้ 23 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ตรัสว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณรับราชการฉลองพระเดชพระคุณ และประพฤติพระองค์เรียบร้อยดี เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย จึงทรงประกาศยกย่องเป็นพระนางเธอลักษมีลาวัณ

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะได้รับทายาท จึงโปรดให้แยกพระนางเธอลักษมีลาวัณไปชั่วคราว เพื่อจะได้เป็นแบบ Monogamy ตามแบบอย่างตะวันตก

ในระยะที่แยกกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ นี้เอง พระนางเธอลักษมีลาวัณได้ทรงใช้เวลาว่างเขียนบทประพันธ์ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองลงในนิตยสารต่าง ๆ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ เสด็จสวรรคต

เมื่อเดือนตุลาคม ในปี พ.ศ.2504 ประชาชนชาวไทยก็ต้องได้รับความเศร้าสลดครั้งยิ่งใหญ่ นั่นคือเมื่อได้ทราบข่าวว่า พระนางเธอลักษมีลาวัณถูกลอบปลงพระชนม์ สาเหตุแห่งการลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้ ก็ไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากการแย่งชิงทรัพย์ และผู้ร้ายก็ไม่ใช่ใครอื่น คือบุคคลที่พระนางเธอลักษมีลาวัณทรงชุบเลี้ยงมาเป็นเวลานาน ให้คอยรับใช้ภายในพระตำหนักที่ประทับ ณ สี่แยกพญาไท พระศพพระนางเธอลักษมีลาวัณ ได้รับการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายในที่ประดิษฐานพระศพ ณ ศาลามรุพงศ์วัดมกุฏกษัตริยาราม ในวันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2504

พระนิพนธ์ร้อยแก้ว ซึ่งทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือแจกงานสมายุมงคลครบห้ารอบ มีบางตอนว่า

“…ผู้ชราย่อมรักสันติสุขคล้ายกับในยามค่ำ เราย่อมปิดประตูบ้านเรือน เพื่อพักผ่อนหลับนอนหาความสงบ หมดเวลาต่อสู้กับโลกแล้ว เพราะเป็นไม้ใกล้ฝั่ง นั่งคอยความตาย แต่ก่อนจะตาย ก็ใคร่จะได้รับความบันเทิงใจติดตัวกลับไปบ้าง…”

- - - - - - - - - - - - - - - -





 

Create Date : 28 มกราคม 2551    
Last Update : 28 มีนาคม 2551 11:06:19 น.
Counter : 653 Pageviews.  

๔๙ ราชินี (๒๑)

45. สมเด็จพระนางเจ้าอินทศักดิ์ศจี



เป็นราชินีเพราะทรงพระครรภ

์วิลเลียม เชกสเปียร์ กวีเอกของอังกฤษได้แต่งเรื่อง “โรเมโอและจูเลียต” ขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลเรื่อง “โรเมโอและจูเลียต” เป็นภาษาไทย สมเด็จพระนางเจ้าอินทศักดิ์ศจี เป็นผู้ได้รับการอุทิศบทแปลเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก “โรเมโอและจูเลียต” เริ่มพากย์ไทย ว่า


“บทกาพย์ละครของ กวีเลิศประเสริฐศรี

เชกสเปียร์ปะริญมี กิติเลื่องณโลกา

กล่าวเรื่องอุภัยพง ศะบุราณวิวาทา

มีบุตระสองรา ฤติรักษะโดยธรรม

แต่แสนจะสงสาร รติพรากเพราะเวรกรรม

รับบาปบิดาทำ กลิราญประหารกัน

หนุ่มสาวก็จำพราก จรจากสมรผัน

จนปราศะชีวัน บ่มิเสื่อมมโนสมร

ข้าเพียรประพันธ์บท วรนาฎะกากร

เพื่อเพิ่มวรักษร ณ สยามะภาษา

ข้าขออำนวยไท้ วรราชะชายา

พระอินทระศักดิ์นา ริศะจีวิไลยวรรณ

เพื่อเป็นพะยานรัก ฤติร่วมสิเน่ห์กัน

ยืนจนประจบพรร ษะชีวิตนูสลายฯ”


คืนวันหนึ่งมีการแสดงระบำหลวงเรื่อง “ศุภลักษณ์วาดรูป” สถานที่แสดงคือนาฏศาลาในสวนศิวาลัย แขกผู้มีเกียรติยิ่ง 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ และสมเด็จพระนางเจ้าอินทศักดิ์ศจี ท้องเรื่องของระบำนั้น พระนารายณ์ได้แสดงอวตารต่าง ๆ ให้นางศุภลักษณ์ดู สมเด็จพระนางเจ้าอินทศักดิ์ศจีทรงสนพระราชหฤทัยมาก ว่าอวตารปางต่าง ๆ นั้นคืออย่างไร พระองค์จึงรับสั่งว่า วันหนึ่งข้างหน้าจะต้องนิพนธ์เรื่องนี้ขึ้น

ปัจจุบันนี้ ถ้าเข้าไปในหอพระสมุดแห่งชาติ จะพบหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งเป็นบทประพันธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ และอุทิศความดีให้สมเด็จพระนางเจ้าอินทศักดิ์ศจี “หนังสือเล่มนั้นชื่อ ลิลิตนารายณ์สิบปาง” คำอุทิศว่า “เรื่องนี้ข้าแต่งให้ ราชินี

อินทศักดิ์ศจี นิ่มน้อง

โดยเธอกล่าววาที เชิญแต่ง

ซึ่งเฉพาะเหมาะต้อง จิตข้าประสงค์”


นี่คือเรื่องราวของความรักการดำเนินไปของความรัก และอานุภาพของความรัก ฝ่ายบุรุษคือ พระมหากษัตริย์ของไทย และฝ่ายสตรีคือ สมเด็จพระบรมราชินีความรักที่ไม่มีอวสานนี้ เริ่มต้นมาอย่างไร

เรื่องแรก เราจะต้องรู้ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ยังไม่มีความรัก จวบจนพระชนมายุ 40 พรรษา จนเป็นที่กล่าวกันโดยทั่วไปว่า พระองค์ทรงหมกมุ่นกับเรื่องราวของชาตินิยมจนเกินไป

เกี่ยวกับความรักของพระองค์ครั้งแรก ที่รั่วไหลออกมานอกพระราชวังก็คือ หลังจากการประกวดภาพเขียนที่พระราชวังพญาไทผ่านพ้นไปแล้วมีข่าวว่า พระองค์ทรงพบรักแรกพบกับ ม.จ.หญิงวัลลภาเทวี
วรวรรณ พระธิดาของเสด็จในกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ซึ่งมาร่วมในงานนี้ด้วย หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีประกาศพิธีหมั้นเป็นทางการ ระหว่างพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ กับ ม.จ.หญิงวัลลภาเทวี และได้มีประกาศติดตามมา โดยสถาปนาพระอิสริยยศของ ม.จ.หญิงวัลลภาเทวี ว่า

“…ทรงพระราชปรารภถึงงานที่จะได้กระทำราชพิธีราชาภิเษกสมรสในภายหน้า และเวลานี้ให้กระทำพระราชพิธีหมั้นแล้ว เป็นการสมควรที่จะให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์นี้ชั้นหนึ่ง”

“จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมเจ้าหญิงวัลลภาเทวี เป็นพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าหญิงวัลลภาเทวี ตั้งแต่นี้สืบไป”

แต่หม่อมเจ้าหญิงพระองค์นี้ไม่มีโชคได้เป็นพระบรมราชินี เพราะหลังจากนั้นเพียง 3-4 เดือนมีข่าวว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ได้ทรงถอนหมั้น ม.จ.หญิงวัลลภาเทวีเสียแล้ว

เหตุผลในการถอนหมั้นครั้งนี้ไม่มีแน่ชัด นั้นไม่ใช่เรื่องของบุพเพสันนิวาส จึงมีอันบันดาลให้เป็นไป แต่เรื่องของบุพเพสันนิวาสนั้นมี เพราะผู้ที่จะได้เป็นพระบรมราชินีสืบต่อไปนั้น คือคุณประไพ สุจริตกุลเมื่อคุณประไพ สุจริตกุลถวายตัวเป็นพระสนมใหม่ ๆ นั้น ได้โปรดฯ ให้คุณท้าวภัณฑสารานุรักษ์ หัวหน้าคลังฝ่ายในนำเงินไปพระราชทาน 4,000 บาท ตามพระราชประเพณี รวมทั้งพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้าฯต่อมาหลังจากนั้นไม่นาน คุณประไพ สุจริตกุลก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระวรราชายาเธอ พระนางอินทศักดิ์ศจี พร้อมกับพระราชทานตราปฐมจุลจอมเกล้าฯความคาดหมายโดยทั่วไปที่ว่าพระนางอินทศักดิ์ศจี คงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระราชินีนั้น ไม่ผิดพลาดนัก เพราะประกาศในวันที่ 1 มกราคม 2465 อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ มีว่า

“พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า พระวรราชายาเธอ พระอินทศักดิ์ศจี ได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณมาโดยซื่อสัตย์กตเวที มีความจงรักภักดีในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ทรงตระหนักในพระราชหฤทัยว่า จะทรงสถาปนายกย่องขึ้นให้มีพระอิสริยยศสูงในตำแหน่งพระราชินีก็ควรแล้ว

“จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศพระวรราชชายาเธอพระอินทศักดิ์ศจี เป็นสมเด็จพระนางเจ้าอินทศักดิ์ศจีพระบรมราชินี…”

อย่างไรก็ตาม เป็นที่เปิดเผยว่า สาเหตุที่ทรงโปรดฯ ให้พระนางอินทศักดิ์ศจี ดำรงตำแหน่งพระบรมราชินีครั้งนี้ เพราะเหตุว่าทรงพระครรภ์เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงปรารถนาที่จะได้พระราชโอรสเพื่อสืบราชสันตติวงศ์อย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นการแปลกเลย ที่พระองค์จะทรงเตรียมพระราชพิธีรับขวัญมกุฏราชกุมารไว้ เมื่อทรงแต่งตั้งพระบรมราชินีแล้วแต่สิ่งนั้นก็ไม่ได้ดำเนินไปสมดังพระราชประสงค์ เพราะพระบรมราชินีมิได้ทรงพระครรภ์จนครบกำหนดประสูติ แต่ได้ทรงตกเสียในระยะไม่กี่เดือนให้หลัง หลังจากที่พระบรมราชินี ไม่สามารถจะธำรงรักษาพระครรภ์ไปจนครบถ้วนทศมาสแล้ว เป็นที่รู้กันภายในราชสำนักว่า พระองค์ทรงมีพระปริวิตกอยู่ไม่ใช่น้อย ๆ ในเรื่องเกี่ยวแก่พระราชบัลลังก์ แม้แต่ในวาระก่อนจะสวรรคตเพียงไม่กี่ชั่วโมง พระองค์ยังคอยสดับฟังข่าวคราวเกี่ยวกับการประสูติ ว่าเสียงที่พระองค์จะได้ยินนั้นเป็นเสียงของปืนใหญ่ยิงสลุต อันหมายถึงการได้พระราชโอรสหรือเสียงประโคมของสังคีตดนตรี อันบ่งบอกว่าพระองค์ได้พระราชธิดาแล้วในที่สุดเหลือเวลาอีกเพียง 1 ชั่งโมงจะเสด็จสวรรคต ก็มีเสียงประโคมของดุริยสังคีต อันเป็นสัญลักษณ์ว่าพระองค์ได้มกุฏราชกุมารี เจ้าคุณรามฯ เป็นผู้บังเอิญเชิญไปถวายให้ทอดพระเนตร

ทรงถามว่า “หญิงหรือชาย” เจ้าคุณรามกราบทูลว่า “หญิง” มีรับสั่งว่า “ก็ดีเหมือนกัน” แล้วเสด็จสวรรคต ต่อไปนี้ อยากจะขอเสนอพระราชพินัยกรรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ เพราะนับเป็นพินัยกรรมที่แปลกประหลาดฉบับหนึ่ง พระราชพินัยกรรมฉบับนี้ทำไว้ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2463 ณ พระราชวังพญาไท ต่อหน้าผู้สำเร็จการ เสนาบดี และจางวางมหาดเล็ก มีใจความดังนี้

“…เวลานี้ ข้าพเจ้ากำลังมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ จึงขอสั่งข้อความไว้ดังต่อไปนี้


ถ้าข้าพเจ้าสวรรคตลง ณ แห่งใดแห่งหนึ่ง นอกจากในพระมหาราชวัง ให้เชิญพระบรมศพโดยเงียบ ๆ เข้าไปยังที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ให้จัดการสรงน้ำพระบรมศพในที่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน แล้วจึงให้เชิญไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท


ในเวลาที่ตั้งพระบรมศพที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และในเวลาอื่น ๆ ต่อไปนี้ตลอดห้ามมิให้มีนางร้องไห้ ถ้าผู้ใดรักใคร่ข้าพเจ้าจริง ปรารถนาจะร้องไห้ ก็ให้ร้องจริง ๆ เถิด อย่าร้องละครเล่นเลย


ในการทำบุญ 7 วัน ทุก ๆ 7 วันไปจนถึงงานพระเมรุ ขอให้นิมนต์พระ ซึ่งข้าพเจ้าได้เคยชอบพอมาเทศน์ อย่างได้นิมนต์ตามใจ และนอกนั้นก็ให้นิมนต์พระเปรียญ ที่มีท่าทางจะเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาต่อไป


งานพระเมรุ ขอให้กำหนดภายหลังวันสวรรคตเร็ววันที่สุดที่จะทำได้ ถ้าจะได้ภายในฤดูแล้งแห่งปีสวรรคตแล้ว ก็ยิ่งดี เพราะการไว้พระบรมศพนาน ๆ เป็นการเปลืองเปล่า ๆ


ในการทำบุญ 7 วัน เมื่อไว้พระบรมศพก็ดี และในงานพระเมรุก็ดี ขอให้จัดการทำพิธีกงเต๊ก ถ้าไม่มีใครศรัทธาทำให้ ข้าพเจ้าก็ขอให้ทายาทของข้าพเจ้าหานักพรต อานัมนิกาย จีนนิกายมาทำให้ข้าพเจ้า


ส่วนงานพระเมรุ ขอให้ทางวังตัดกำหนดการลงให้น้อย คือตัวพระเมรุให้ปลูกด้วยถาวรวัตถุ ใช้ถาวรวัตถุนั้นเอง เป็นพลับพลาทรงธรรม


ก่อนที่นะยกพระบรมศพไปสู่พระเมรุ ให้มีงานศราทรพรตที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทวันเดียว


ญาติวงศ์ของข้าพเจ้าและข้าราชการกระทรวงทะบวงกรมต่าง ๆ ถ้ามีความปรารถนาจะทำบุญให้ข้าพเจ้า ก็ให้ทำเสียให้เสร็จในขณะที่ตั้งพระบรมศพอยู่ก่อนงานพระเมรุ ส่วนงานพระเมรุ ขอให้เป็นงานหลวงอย่างเดียว


สังเกต ขอให้จัดของที่จะเป็นประโยชน์สำหรับพระสงฆ์ที่จะได้รับไป และให้เลือกพระสงฆ์ที่จะได้สังเคตนั้น ให้เลือกพระสงฆ์ที่จะใช้สังเคตจริง ๆ จะไม่เอาไปขาย


ส่วนของแจก ขอให้เลือกเป็นหนังสือ 2 อย่าง อย่างหนึ่งเนื่องด้วยกิจการที่ข้าพเจ้าได้ทำเป็นประโยชน์มาแล้วแก่แผ่นดิน อีกอย่างหนึ่งขอให้เป็นหนังสือที่จะเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา


ในการแห่พระบรมศพตั้งแต่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปจนถึงวัดพระเชตุพน ให้ใช้พระยานมาศตามประเพณี จากวัดพระเชตุพนไปพระเมรุ ขอให้จัดรถเสียใหม่ เป็นรถปืนใหญ่บรรทุกพระบรมศพ เพราะข้าพเจ้าเป็นทหาร อยากจะใคร่เดินทางระยะสุดนี้เป็นอย่างทหาร


ในกระบวนแห่นี้ นอกจากทหาร ขอให้จัดมีเสือป่าและลูกเสือให้สมทบกระบวนด้วย และขอให้นักเรียนโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เข้ากระบวนด้วย


การโยนโปรย ขอให้งดไม่ต้องมีทุกระยะ และพระโกศขอให้ใช้เจ้าหน้าที่กรมภูษามาลา


การอ่านพระอภิธรรมนำพระบรมศพ ถ้าสิ้นสมเด็จพระมหาสมณะ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นวรสิริวัฒน์ไปแล้ว ขอให้นิมนต์พระญาณวราภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น) วัดบวรนิเวศน์ หรือพระราชสุธี (อุปโม) วัดราชาธิวาส แต่ถ้าแม้ท่านทั้งสองนี้ จะนำไม่ได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งแล้ว ให้นิมนต์พระราชาคณะผู้ทรงศักดิ์สูงกว่ารูปใด ๆ ในคณะธรรมยุกตินิกาย


ในการถวายพระเพลิงเมื่อแตรทหารบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีจบแล้ว ขอให้รวมแตรสั้น เป่าเพลงสัญญาณนอน


ส่วนงานพระบรมอัฐิขอให้ทำตามระเบียบที่เคยทำมาแล้วเมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง


พระอังคารขอให้บรรจุใต้ฐานพระพุทธชินสีห์ในวัดบวรนิเวศวิหาร ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งขอให้กันเอาไว้ ไปบรรจุใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ที่พระปฐมเจดีย์ในโอกาสอันเหมาะ ซึ่งไม่ติดต่อกับงานพระเมรุ

“พระบรมราชโองการนี้ ได้กระทำไว้เป็น 3 ฉบับ ความต้องกัน พระราชทานให้เสนาบดีกระทรวงรักษาไว้ฉบับ 1 ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กรักษาไว้ฉบับ 1 ราชเลขาธิการรักษาไว้ฉบับ 1 และทรงกำชับเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 นี้ ให้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้เสด็จขึ้นเสวยสืบสันตติวงศ์ เพื่อได้ทรงทราบพระราชประสงค์นี้โดยตลอดถ้วนถี่

- - - - - - - - - - - - - - - -




 

Create Date : 28 มกราคม 2551    
Last Update : 28 มีนาคม 2551 11:06:35 น.
Counter : 635 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

LowLow
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add LowLow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.