แสงสีฟ้าจากหน้าจออันตราย ! แต่ป้องกันได้แค่ทำตามนี้
แสงสีฟ้าจากหน้าจออันตราย แต่ป้องกันได้

แสงสีฟ้าจากหน้าจออันตราย และหากไม่อยากให้แสงสีฟ้าทำร้ายสายตา มาป้องกันแสงสีฟ้าจากหน้าจอมือถือและคอมพิวเตอร์ตามนี้เลยเถอะ

การจ้องหน้าจอมือถือ แท็บเล็ต หรือจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ รู้ใช่ไหมคะว่าพฤติกรรมเหล่านี้ทำร้ายสายตาของเรามากเลยทีเดียว ทั้งทำให้แสบตา ตาแห้ง ปวดกระบอกตา และบางรายอาจมีอาการมองเห็นภาพเบลอด้วย

          แต่ครั้นจะให้เลิกแชท เลิกใช้สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ไปเลยก็คงยาก ถ้าอย่างนั้นมีทางเดียวคือต้องรู้จักถนอมสายตาจากแสงสีฟ้าอันตรายเหล่านี้ ด้วยวิธีป้องกันแสงสีฟ้าง่าย ๆ ที่เรานำมาฝากนี่เลย

แสงสีฟ้าจากหน้าจออันตราย แต่ป้องกันได้

//img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 1. ปรับแสงสว่างและความคมชัดของหน้าจอให้รู้สึกสบายตา ภายใต้ระดับความสว่างที่ 300-500 ลักซ์ หรือสังเกตได้ง่าย ๆ จากการที่เราไม่ต้องหรี่ตาเวลามองหน้าจอ รวมทั้งพยายามลดแสงสว่างบริเวณรอบ ๆ เช่น ปิดไฟดวงที่สะท้อนลงบนหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

//img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 2. ติดแผ่นกรองรังสีไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ แม้ว่าจะช่วยลดการกระจายรังสีจากจอคอมพิวเตอร์ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แล้วแต่คุณภาพของสินค้า แต่อย่างน้อย ๆ ก็ช่วยลดแสงจ้าจากจอคอมพิวเตอร์ลงได้ ส่วนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตสามารถติดฟิล์มกรองแสงได้ด้วยเช่นกัน

แสงสีฟ้าจากหน้าจออันตราย แต่ป้องกันได้

//img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 3. ตำแหน่งของจอภาพควรห่างจากดวงตาประมาณ 18-24 นิ้ว หรือประมาณช่วงแขนเอื้อม และปรับให้ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 15-20 องศา เพราะหากระยะห่างระหว่างตากับจอภาพไม่สัมพันธ์กัน จะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าและปวดตาได้ง่าย 

//img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 4. กะพริบตาบ่อย ๆ ควรกะพริบตาให้ได้ 1-2 ครั้งต่อ 10 วินาที เพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงดวงตาอยู่เสมอ วิธีนี้จะช่วยลดความอ่อนล้าของสายตาได้มาก

//img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 5. ใช้สูตร 20-20-20 คือ ทุก ๆ 20 นาที ควรละสายตาจากหน้าจอไปมองบริเวณอื่น ๆ โดยให้มองห่างจากบริเวณที่นั่งอยู่ประมาณ 20 เมตร เป็นเวลา 20 วินาที เพื่อรีเฟรชสายตาให้ได้ปรับตัวใหม่ และเป็นการออกกำลังกายสายตาไปในตัว

//img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 6. ปรับขนาดตัวอักษรให้ใหญ่พออ่านสบายตา การปรับขนาดตัวอักษรให้มองเห็นได้ชัดเจน จะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อดวงตาได้เป็นอย่างดี พูดง่าย ๆ คือเราไม่จำเป็นต้องเพ่งสายตาอ่านตัวหนังสือมากเกินความจำเป็น

แสงสีฟ้าจากหน้าจออันตราย แต่ป้องกันได้

//img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 7. สวมแว่นกรองรังสีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อถนอมสายตาไม่ให้ปะทะกับแสงสีฟ้าบนหน้าจอโดยตรง วิธีนี้จะช่วยปกป้องดวงตาเราจากแสงสีฟ้าได้พอสมควร

//img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 8. ทำความสะอาดหน้าจอ โดยเฉพาะฝุ่นละอองและรอยเปื้อนบนจอทั้งหลาย หากทำความสะอาดหน้าจอได้หมดจดจะช่วยลดทอนการเปล่งแสงสีฟ้าได้ด้วยนะ

//img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 9. จำกัดเวลาอยู่หน้าจอ ไม่ควรจ้องหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดนานเกิน 2 ชั่วโมงต่อครั้ง เพราะหากเล่นนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง อาจทำให้สายตาอ่อนล้าและปวดเกร็งได้

แสงสีฟ้าจากหน้าจออันตราย แต่ป้องกันได้

//img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 10. วางต้นกระบองเพชรไว้ข้าง ๆ คอมพิวเตอร์ ผลวิจัยของสถาบัน Recherches en Geobiologie ของสวิตเซอร์แลนด์ และนักวิจัยในอเมริกาพบว่า หนามของต้นกระบองเพชรเป็นสื่อดูดรังสีจากทีวีและคอมพิวเตอร์ได้ รวมทั้งกระบองเพชรยังอาจดูดรังสี UV ที่เปล่งออกมาจากอุปกรณ์ไฮเทคไว้สังเคราะห์แสงแทนแสงแดดด้วยในตัว

การถนอมสายตาจากแสงสีฟ้าที่หน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นข้อปฏิบัติที่น่าทำสำหรับคนทุกวัยทุกอาชีพไปแล้วนะคะ เพราะปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของเราแทบทุกด้าน ฉะนั้นก็อย่าลืมนำวิธีป้องกันแสงสีฟ้าที่เราบอกต่อไปทำตามกันด้วย เพื่อสุขภาพดวงตาที่ดีของเราทุกคนนะจ๊ะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักที่ปรึกษา กรมอนามัย
Huffington Post
BLUE LIGHT EXPOSED
สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช



Create Date : 26 ตุลาคม 2558
Last Update : 26 ตุลาคม 2558 12:52:30 น.
Counter : 676 Pageviews.

1 comments
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: peepoobakub วันที่: 13 มีนาคม 2560 เวลา:15:56:39 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1394611
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



All Blog