ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองทั่วโลกสูงขึ้น

ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอทั่วโลกพุ่ง สาเหตุหลักเกิดจากการสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองทั่วโลกพุ่ง thaihealth

แฟ้มภาพ

ทั้งนี้มูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างความรู้ ความเข้าใจในโรคถุงลมโป่งพองที่ถูกต้องจึงมุ่งสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการดูแลสุขภาพและโทษภัยของการสูบบุหรี่ เพื่อช่วยลดอัตราความเสี่ยงสู่การเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้ในอนาคตด้วยงาน "วันรณรงค์ถุงลมโป่งพองโลก" ที่มาพร้อมกับกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การอภิปรายเรื่อง "เกมปริศนา...ในโรคปอด" การให้บริการด้านการตรวจวัดความดันสมรรถภาพการทำงานของปอด วัดปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกับทีมกายภาพบำบัดนอกจากมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการหายใจของมูลนิธิพร้อมให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดอีกด้วย โดยภายในงานได้มีผู้ป่วยพร้อมครอบครัว และบุคลากรทางแพทย์ให้ความสนใจเข้าร่วมงานจำนวนมาก

สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพองมากกว่า 90% เกิดจากการสูบบุหรี่ที่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน รวมถึงการสูดเอามลพิษเข้าไปในปอด ซึ่งผู้ป่วยจะมีอากาป่วยอย่างช้าๆ และใช้เวลาหลายปี จึงทำให้ผู้ป่วยไม่เห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น จนต่อมาผู้ป่วยเริ่มมีการอักเสบในหลอดลมและเนื้อปอด มีความยืดหยุ่นของปอดลดลง หลอดลมบวม ต่อมสร้างเมือกในหลอดลมโตขึ้นจนสร้างเสมหะเพิ่มขึ้นและกล้ามเนื้อหลอดลมหดตัว อันเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจแบบเรื้อรังจนกระทั่งลมที่ผู้ป่วยเป่าออกมามีความเร็วที่ลดลงมากกว่าคนปกติ ที่ส่งผลให้มีลมค้างอยู่ในปอดผู้ป่วยจึงมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก เริ่มมีอาการเหนื่อยที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยต้องออกแรงจึงมีความสามารถในการทำงานน้อยลง และอาจมีอาการหอบรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก็เป็นได้

สถานการณ์ปัจจุบันของโรคถุงลมโป่งพองในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับเช่นเดียวกับทั่วโลก โดยนับเป็นหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้นๆ ของประชากรไทย จึงถือได้ว่าโรคถุงลมโป่งพองเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทยอีกโรคหนึ่ง ซึ่งพบว่าในจำนวนผู้สูบบุหรี่ 10 ล้านคน จะมีผู้ป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพองกว่า 1 ล้านคนและมีจำนวน 3 แสนคนในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นผู้ป่วยที่มีอาการชัดเจนซึ่งต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตประมาณปีละ 1.5 หมื่นคน นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่าโรคนี้มักพบในผู้ชายอายุระหว่าง 30-50 ปี มากกว่าผู้หญิงสองเท่า เนื่องจากผู้สูบบุหรี่มักเป็นเพศชาย แต่อย่างไรก็ตามได้มีการศึกษาที่พบถึงสิ่งที่น่ากังวลในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาว่า ผู้หญิงมีอัตราการสูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้อัตราการป่วยและเสียชีวิตจากบุหรี่ในเพศหญิงมีแนวโน้มที่ค่อยๆ สูงขึ้น ในขณะที่เพศชายกลับมีแนวโน้มลดลงในบางประเทศ

"ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีสมรรถภาพปอดลดลงมากกว่าคนปกติ เมื่อเจอสิ่งกระตุ้นบางอย่างจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบได้ เช่น มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ซึ่งนอกจากจะทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยแย่ลงแล้ว ยังทำให้โรคลุกลามได้เร็วขึ้นด้วย แต่ปัจจุบันวิวัฒนาการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้นจึงทำให้มีวิธีการรักษาที่สามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยให้ความร่วมมือตามข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นอย่างดี ได้แก่ การหยุดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด การไปพบแพทย์และเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ การตรวจสมรรถภาพปอดอย่างน้อยปีละครั้ง การกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพื่อช่วยลดการกำเริบของโรค"

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก โดย ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประธานมูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทย




Create Date : 22 มกราคม 2559
Last Update : 22 มกราคม 2559 11:14:41 น.
Counter : 359 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1394611
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



All Blog