ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง และโรคลมหลับ

ถ้าคุณกำลังนั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเพลียๆ แต่ละนาทีผ่านไปเนิบช้า และทุกวินาทีเต็มไปด้วยความรู้สึกล้า ง่วงๆ ซึมๆ เบลอๆ เหนื่อยหน่ายกับชีวิต เป็นไปได้ว่าความเครียดสะสมบวกกับกิจวัตรซ้ำซากทำให้คุณรู้สึกอึนๆ นอยด์ๆ แต่ก็เป็นไปได้อีกเช่นกันว่าร่างกายคุณกำลังเข้าข่าย “ผิดปกติ” ขึ้นแล้ว

ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง และโรคลมหลับ thaihealth

อาการข้างต้นนี้อาจไม่เลวร้ายถึงขั้นเป็น “โรค” แต่ก็ไม่ควรไว้วางใจได้ นั่นเพราะคุณมีโอกาสตกอยู่ใน “ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง” หรือทางการแพทย์เรียกว่า ไฮโปไกลซีเมีย

อาการดังกล่าวไม่ได้มีสาเหตุหรือเกิดจากสิ่งเร้าภายนอก หากแต่เกิดจากภายในตัวของคุณเองมูลเหตุที่นำมาซึ่งภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังคือ การดำเนินชีวิตแบบผิดๆ ส่งผลให้ร่างกายมี “ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ”ไม่มีเรี่ยวแรงทำอะไรตลอดทั้งวัน ศัพท์สากลเรียกภาวะนี้ว่า Chronic Fatigue Syndrome (CFS)

อาการหลักๆ หรือสัญญาณที่บ่งชี้ว่าคุณกำลังเข้าสู่ CFS นั่นก็คือ เพลีย-หมดแรง ทั้งที่พักผ่อนเพียงพอ หรือนอนมาแล้วหลายชั่วโมง เมื่อตื่นขึ้นมาก็ไม่สดชื่น อยากนอนซ้ำอีก สมองคิดอะไรไม่ออก ตื้อ สับสน บางรายมีอาการปวดเมื่อย-ปวดเนื้อปวดตัว-ปวดหลัง หนักเข้าคือลุกขึ้นเดินแล้วการทรงตัวไม่ดี เป็นตะคริวบ่อย เท้าเย็น

บ่อยครั้งที่คุณเกิดอาการ ก็จะพึ่ง “ความหวาน”โดยเชื่อว่าจะทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวยสดชื่นขึ้นดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม กาแฟ หรือแม้แต่เครื่องดื่มชูกำลัง แต่นั่นคือ “ความเชื่อผิดๆ” เพราะยิ่งเราบริโภคความหวานเข้าสู่ร่างกายมาก ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะพุ่งขึ้นสูง ร่างกายก็จะผลิตอินซูลินออกมาเพื่อควบคุมให้ระดับน้ำตาลต่ำลง แต่แล้วคุณก็บริโภคหวานเข้าไปอีกตับอ่อนของคุณก็จะต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นและทำงานตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องดี

ภาวะ CFS มักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทำงานช่วงอายุราวๆ 25-45 ปี โดยสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ชัดเจน แต่สามารถป้องกันได้โดยเฉพาะการ “หลีกเลี่ยงน้ำตาล”คือไม่ควรเพิ่มน้ำตาลเข้าไปในร่างกาย ผ่านการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง

ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง และโรคลมหลับ thaihealthนอกจากนี้ จำเป็นต้องควบคุมอารมณ์ไม่ให้เครียดจนเกินไป ขณะเดียวกันต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากการพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเองขณะนอนหลับ สำหรับอาหารที่ควรจะรับประทานเพิ่มคืออาหารจำพวกโปรตีน วิตามิน ธาตุเหล็ก และแมกนีเซียม

อีกหนึ่งอาการที่มีระดับความรุนแรงจนกลายเป็น “โรค” คือการ “นอนหลับง่ายเกินไป” เรียกได้ว่าหลับได้ทุกเวลา ทุกการกระทำ หลับกะทันหัน หลับทั้งยืน หลับขณะขับรถ หรือแม้กระทั่งหลับขณะมีเพศสัมพันธ์ โรคนี้เรียกว่า “โรคลมหลับ” แม้จะยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ชี้ชัดว่าโรคดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นเพราะสารเคมีในสมองกลุ่มสารสื่อประสาท Hypocretin ผิดปกติ โดยโรคนี้เกิดขึ้นกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

ข้อมูลจาก รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า นายกสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน ประสาทวิทยา ระบุว่า โรคลมหลับมี 4 อาการหลัก คือ 1.ง่วงนอนฉบับพลัน วันๆ หนึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลายครั้ง  2.กล้ามเนื้ออ่อนแรง คอตก ผล็อยหลับได้ทันที 3.อาการผีอำ 4.เห็นภาพหลอนขณะกำลังจะหลับ ส่วนใหญ่เป็นภาพที่น่ากลัวและรูปร่างประหลาด

โรคลมหลับจะค่อยๆ มีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ระยะแรกจะง่วงนอนในเวลากลางวัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศร้อนอาการจะเป็นมากขึ้น ต่อมาจะนอนไม่หลับในเวลากลางคืน และจะนอนหลับในช่วงกลางวันบ่อยขึ้น ในที่สุดอาการจะรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ คำแนะนำก็คือให้รีบพบแพทย์ตั้งแต่มีอาการระยะแรก

ที่มา : เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต




Create Date : 07 พฤษภาคม 2558
Last Update : 7 พฤษภาคม 2558 9:47:50 น.
Counter : 775 Pageviews.

2 comments
  
แวะมาให้กำลังใจ
ขอบคุณข้อมูลดีๆ
โดย: ชมพร (ชมพร ) วันที่: 7 พฤษภาคม 2558 เวลา:11:55:14 น.
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: peepoobakub วันที่: 14 มีนาคม 2560 เวลา:13:33:44 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1394611
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



All Blog