แนะตรวจความเสี่ยงปอดอุดกั้นเรื้อรัง

สูบบุหรี่เสี่ยงปอดอักเสบ แพทย์แนะตรวจสมรรถภาพปอดเป็นประจำเลี่ยงโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

แนะตรวจความเสี่ยงปอดอุดกั้นเรื้อรัง thaihealth

ศ.พญ.สุมาลี เกียรติบุญศรี หน่วยโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤตคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เผย การสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่อันตรายและทำให้ปอดอักเสบเกิดการอุดกั้นจนร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

"โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง" (COPD) เป็นโรคหนึ่งที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่มักจะถูกมองข้ามหรือไม่ได้รับการวินิจฉัยและเป็นสาเหตุการตายอันดับ 5 ของโลก องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30 ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากยังไม่มีการป้องกันและรณรงค์กันอย่าง จริงจัง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้น จะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบเรื้อรัง ซึ่งทำให้โครงสร้างของหลอดลมเปลี่ยนไปจากปกติทำให้แคบลง อันเนื่องมาจากการสูดสารพิษต่าง ๆ อย่าง ควันบุหรี่หรือสารเคมี ที่มีผลทำให้เกิดอาการอักเสบ และแม้ว่าการสูบบุหรี่จะเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แต่ก็ไม่ได้เป็นเหตุเดียวที่ทำให้เป็นโรคนี้ได้

อดอุดกั้นเรื้อรังถือเป็นกลุ่มโรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจ ประกอบด้วย โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคถุงลมโป่งพอง ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นจะมีอาการหายใจติดขัด หอบ ไอเรื้อรัง เหนื่อยง่ายและมีเสมหะมาก

ในประเทศไทย ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญคือ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ ไอ มีเสมหะ แพทย์แนะนำให้เข้ารับการตรวจ สอบสภาพปอดอยู่สม่ำเสมอ เพื่อจะได้ตรวจหาอาการของโรคพบแต่เนิ่น ๆ และรับการรักษาที่ถูกต้อง โดยการใช้ยาพ่น ยารับประทาน สิ่งสำคัญคือ ต้องลดพฤติกรรมเสี่ยงที่จะไปสัมผัสกับสารพิษโดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ร่วมกับการออกกำลังกายและรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร

วิธีการที่ใช้ในการตรวจวัดทางการแพทย์ ได้แก่ การตรวจสมรรถภาพปอด คือการตรวจวัดอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอดด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer) เพื่อบ่งชี้ถึงการเสื่อมสภาพของปอด ซึ่งก่อนการตรวจ ไม่ควรออกกำลังกายก่อนมาตรวจอย่างน้อย 30 นาที ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดบริเวณอกและท้อง เลี่ยงการทานอาหารจนอิ่มมากก่อนตรวจ 2 ชั่วโมง งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ส่วนผู้ป่วยโรคหืดต้องหยุดยาขยายหลอดลมก่อนตรวจ

วิธีทดสอบ เริ่มจากยืนตัวตรงตามสบาย จากนั้นหนีบจมูก แล้วหายใจเข้าจนเต็มที่อมกระบอกเครื่องเป่า และปิดปากให้แน่นไม่ให้มีลมรั่วออกภายนอก เมื่อหายใจออกมาต้องหายใจออกให้เร็วและแรงอย่างเต็มที่กว่าจะไม่มีอากาศออกจากปอดอีก ซึ่งควรจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 วินาที

จากนั้น จะวัดจำนวนของอากาศที่วัดได้เมื่อหายใจออกหรือ FVC :  Forced Vital Capacity และตรวจหาความผิดปกติ ซึ่งอาจจะมีการอุดกั้นของหลอดลม ความยืดหยุ่นของปอดลดลง หรือมีความผิดปกติทั้ง 2 อย่างรวมกัน ซึ่งต้องตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อรักษาต่อไป

นี่เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในการตรวจวินิจฉัย แต่ในกระบวน การรักษายังมีขั้นตอนอีกมาก ทั้งยังต้องใช้วิธีการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกันไป แต่อย่าลืมข้อสำคัญในเรื่องการไม่สูบบุหรี่ เพราะอย่างที่อธิบายไว้ บุหรี่ถือเป็นสาเหตุหลักส่วนหนึ่งของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต




Create Date : 04 เมษายน 2558
Last Update : 4 เมษายน 2558 21:09:38 น.
Counter : 851 Pageviews.

1 comments
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: peepoobakub วันที่: 14 มีนาคม 2560 เวลา:14:08:51 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1394611
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



All Blog