All Blog
การตรวจกรองในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อน กลุ่มอาการดาวน์
การตรวจกรองในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อน กลุ่มอาการดาวน์

อัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคกลุ่มอาการดาวน์ (Down's syndrome) ในคุณแม่ทั่วไป และอัตราที่เพิ่มขึ้นในคุณแม่ที่อายุมากกว่า 35 ปี ปัจจุบันเราสามารถตรวจพบได้แต่เนิ่นๆ ด้วยการเจาะน้ำคร่ำ และการเจาะเลือดคุณแม่เพื่อตรวจ triple makers

การวินิจฉัยก่อนคลอด
ปัจจุบันนี้การวินิจฉัยก่อนคลอด เพื่อคู่สามีภรรยาจะได้หลีกเลี่ยง การมีลูกพิการแต่กำเนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะปัญญาอ่อน ที่พบบ่อย เช่น กลุ่มอาการดาวน์ และความผิดปกติ ของโครโมโซมอย่างอื่น มีหลายวิธีด้วยกัน ตั้งแต่การตรวจสอบด้วย คลื่นเสียง ความถี่สูง หรืออัลตราซาวนด์ ซึ่งสามารถบอก ลักษณะโครงสร้างของทารกที่ผิดปกติได้ เช่น ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural Tube Defects) มือเท้าด้วน หรือความพิการของร่างกาย ส่วนอื่นๆ หรือตัวเตี้ยแคระ (dwarf) การตรวจวิเคราะห์โครโมโซม จากเซลล์น้ำคร่ำในหญิงตั้ง ครรภ์ที่มีอายุมาก (โดยปกติถือกันว่าอายุ 35 ปีขึ้นไป) ซึ่งขบวนการขั้นตอน ค่อนข้างยุ่งยาก ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเป็นพิเศษของสูติแพทย์ และยังต้องอาศัยห้องปฏิบัติการ ซึ่งจำต้องมีความช่ำชองสูง มีการควบคุมคุณภาพ (Quality control) ที่ดี จึงจะสามารถให้ผล ที่แม่นยำได้ ยิ่งไปกว่านั้นค่าใช้จ่ายก็ค่อนข้างสูง ที่สำคัญที่สุดควรคำนึงก็คือ ความปลอดภัยต่อ มารดาและทารกในครรภ์

อัตราเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ทุกคน มีอัตราเสี่ยง (risk) ไม่เท่ากัน ที่จะมีลูกพิการแต่กำเนิด หรือปัญญาอ่อน เป็นที่ยอมรับกันว่าหญิงอายุมากกว่า 35 ปี ขณะตั้งครรภ์ มีอัตราเสี่ยงที่สูงกว่า หญิงตั้งครรภ์ เมื่ออายุน้อย การศึกษาวิจัยในต่างประเทศพบว่า หญิงตั้งครรภ์ทุกอายุ มีอัตราเสี่ยงด้วยกันทั้งสิ้น *และหญิงบางคนอายุน้อย แต่ก็มีลูกพิการ หรือปัญญาอ่อนได้ ในทางตรงกันข้ามหญิงอายุมาก (เกิน 35 ปี) บางคนก็อาจมีอัตราเสี่ยงที่น้อยกว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยได้ และจำนวนหญิง ตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อย คือตั้งแต่ 18-33 ปี นั้น ก็มีจำนวนมากถึงร้อยละ 60-80 ของหญิงตั้งครรภ์ ทั้งหมด ดังนั้น การวินิจฉัยก่อนคลอด โดยวิธีการเจาะน้ำคร่ำ จึงไม่ใช่วิธีการเดียวที่สามารถ บอกถึงความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้

* จากข้อมูลการศึกษาวิจัยของหน่วยเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

การเจาะน้ำคร่ำในหญิงตั้งครรภ์
การเจาะน้ำคร่ำ อาจมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ จากรายงานในต่างประเทศ พบว่า ทุกหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการเจาะน้ำคร่ำ 100 คน ทารกที่ปกติอาจแท้งไป 1 คน

ข้อดี
คู่สามีภรรยา สามารถมีทางเลือกที่จะดำเนิน การตั้งครรภ์ต่อไป ในกรณีที่ตรวจพบ ทารก ปกติ หรือตัดสินใจเลือกที่จะยุติการตั้งครรภ์ หากพบทารกที่ผิดปกติ

ข้อเสีย
1. อาจมีการตกเลือด (bleeding)
2. อาจมีการติดเชื้อ (infection)
3. อาจมีการแท้งเกิดขึ้น (miscarriage)

การเจาะเลือดในหญิงตั้งครรภ์เพื่อตรวจกรอง ความพิการแต่กำเนิด/กลุ่มอาการดาวน์
ปัจจุบันความก้าวหน้า อันสำคัญทางการแพทย์ ที่จัดว่าเป็นประโยชน์ และให้ความปลอดภัย แก่หญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์มากที่สุด ก็คือการเจาะเลือดแม่ โดยการใช้ serum markers ได้แก่ maternal serum alphafetoprotien (MSAFP), estriol และ total หรือ beta HCG ที่เรียกว่า DOUBLE หรือ TRIPLE MARKERS โดยใช้ข้อมูลอายุแม่ มาประกอบ และใช้คอมพิวเตอร์ ในการคำนวณอัตราเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์แต่ละคน จึงได้ผล แม่นยำที่สุด เนื่องจาก การแปลผล (interpretation) ที่ค่อนข้างยุ่งยาก

วิธีตรวจกรอง (Screening method) และอัตราการตรวจพบความผิดปกติ (Detection rate*)
1. อายุแม่เพียงอย่างเดียว: อัตราการพบความผิดปกติ = 30 %
2. อายุแม่ + AFP อัตราการพบความผิดปกติ = 37 %
3. Double test (AFP , hCG) อัตราการพบความผิดปกติ = 58 %
4. Triple test (AFP , unconj E3 , hCG) อัตราการพบความผิดปกติ = 70 %
5. Quadruple test (AFP , unconj E3 , hCG , inhibin A) อัตราการพบความผิดปกติ = 75 %

ข้อดีของการเจาะเลือดหญิงตั้งครรภ์
Serum markers เหล่านี้เป็นเครื่องบอกถึงอัตราเสี่ยง ในหญิงตั้งครรภ์แต่ละคนได้เป็น อย่างดี และมีความแม่นยำสูง ในต่างประเทศได้มีการตรวจกรอง โดยการเจาะเลือดแม่มาเป็น เวลาหลายปีแล้ว โดยคำนวณด้วย computer program ซึ่งในขณะนี้เป็นที่ยอมรับแพร่หลาย ไปทั่วโลก
นอกจากนี้ ประโยชน์ข้างเคียงจาการเจาะเลือดในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อตรวจกรองความพิการ แต่กำเนิดนี้ สามารถบอกอัตราเสี่ยงของความพิการแต่กำเนิดอย่างอื่นที่พบบ่อยได้แก่ ภาวะหลอดประสาทไม่เปิด , Omphalocoele , Gastroschisis , Renal agenesis และ Congenital nephrosis ได้อีกด้วย
ที่สำคัญที่สุดก็คือ การเจาะเลือดหญิงตั้งครรภ์ เหมือนกับการเจาะเลือดทั่วไป ไม่มีอันตราย ต่อมารดา หรือทารกในครรภ์ ดังนั้นจึงเป็นวิธีตรวจกรองความพิการแต่กำเนิดที่ปลอดภัย สะดวกรวดเร็ว ขั้นตอนง่ายมาก ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการเจาะน้ำคร่ำ และมีความแม่นยำสูง

การให้คำปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์
คู่สามีภรรยา ควรได้รับคำปรึกษา แนะนำทางพันธุศาสตร์ ก่อนได้รับการวินิจฉัยก่อนคลอด ทุกราย แพทย์จะเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่อาจพบได้บ่อย อุบัติการของโรค และความ พิการแต่กำเนิด หลายอย่างที่พบบ่อย อัตราเสี่ยงของคู่สามีภรรยา ตัดสินใจที่จะรับการ เจาะน้ำคร่ำหรือไม่ หลังจากได้ข้อมูลแล้ว หากตรวจพบทารกที่ผิดปกติ หรือพิการ คู่สามีภรรยา ควรมีเวลาตัดสินใจ ที่จะเลือกดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปหรือไม่ แต่ต้องเป็นการตัดสินใจ ของคู่สามีภรรยาที่สอดคล้องกันเท่านั้น

การตรวจกรอง Triple markers
ผลบวก (screen positive) อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้น และสมควรได้รับการตรวจ พิเศษต่อไป เช่นตรวจน้ำคร่ำ หรืออัลตราซาวนด์
ผลลบ (screen negative) อัตราเสี่ยงไม่เพิ่มขึ้น และไม่จำเป็น ต้องมี การตรวจพิเศษ เพิ่มเติม

*เรียบเรียงจากแผ่นพับ "การตรวจกรองในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อน กลุ่มอาการดาวน์ โดยการเจาะเลือดแม่ TRIPLE MARKERS" โดยความร่วมมือเพื่อนำผลงานวิจัยใหม่ สู่บริการทางเทคนิคการแพทย์



Create Date : 24 มิถุนายน 2553
Last Update : 24 มิถุนายน 2553 13:34:33 น.
Counter : 1070 Pageviews.

0 comment
การควบคุมอาหารในระหว่างตั้งครรภ์
การควบคุมอาหารในระหว่างตั้งครรภ์


การเลือกสรรโภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์
แคลลอรี
• คุณไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเพิ่มปริมาณมากขึ้นเป็นสองหรือสามเท่าจากเดิมในยามที่คุณตั้งครรภ์ เพราะคุณต้องการแคลลอรีเพิ่มขึ้นจากวิถีชีวิตประจำวันปกติเพียง 200 ถึง 300 แคลลอรีต่อวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะเวลา 3 เดือนให้หลังจากเริ่มตั้งครรภ์และช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด
• พบวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณได้พลังงานจากการเลือกรับประทานอาหารนี้
ประเภทอาหาร แคลลอรี (กิโลแคลลอรี)
ขนมปังโฮลวีตหั่นบางๆ 2 ชั้น
+ เนยแข็งหั่นบางๆ 1 ชิ้น
น้ำผลไม้สด 1 แก้ว 190
+ 120
= 310
นมสด 1 แก้ว
ขนมปังกรอบชิ้นเล็กๆ 2 ชิ้น 160
+ 150
= 310
เกณฑ์แนะนำในการควบคุมอาหารเพื่อพลังงานสำหรับร่างกาย
ประเภทอาหาร เกณฑ์แนะนำในการควบคุมอาหารเพื่อพลังงาน
สำหรับร่างกาย (กิโลแคคลอรี/วัน)
ระยะเวลาก่อนตั้งครรภ์ 2,200
ระหว่างตั้งครรภ์
- ระยะ 3 เดือนแรก
เมื่อเริ่มตั้งครรภ์
- ช่วง 3 เดือนให้หลัง
จากตั้งครรภ์และก่อนคลอด +0

+300
ระหว่างตั้งครรภ์ คุณไม่ควรเข้มงวดในการจำกัดอาหารที่ให้พลังงานหรืออาหารที่มีแคลลอรีสูง ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เวลาที่คุณต้องวิตกกังวลเกี่ยวกับอาหารที่มีแคลลอรีสูงหรือให้พลังงานมากเกินไปแต่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งนี้เพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน
โปรตีน
จำเป็นสำหรับการสร้างเนื้อเยื่อเพื่อการเจริญเติบโตของทารกและส่วนประกอบในการตั้งครรภ์ (เช่น รกสำหรับตั้งครรภ์) และฮอร์โมน
ประเภทอาหาร แคลเซียม (ม.ก.)
นมสด 1 แก้ว 300
โยเกิร์ต 1 ถ้วย 200 กรัม 340
เนยแข็งหั่นบางๆ 1ชิ้นครึ่ง 300
ปลาซาร์ดีนรวมก้าง 100 กรัม 300
ซุปผักขม 1 ถ้วย 170
ถั่วนึ่ง 140
เกณฑ์แนะนำในการควบคุมอาหารเพื่อแคลเซียมสำหรับร่างกาย
ระยะเวลา เกณฑ์แนะนำในการควบคุมอาหารเพื่อแคลเซียมสำหรับร่างกาย (มิลลิกรัม/วัน)
ก่อนตั้งครรภ์ 800
ในระหว่างตั้งครรภ์ 1,200
กรดโฟลิก (Folate)
• เกณฑ์มาตรฐานสำหรับแนะนำในการควบคุมอาหารเพื่อแคลเซียมสำหรับร่างกายอยู่ในปริมาณ 400 ไมโครกรัมต่อวัน
• ร่างกายคนเราต้องการโฟลิกเพื่อเสริมสร้างร่างกายตลอดระยะเวลา่ตั้งครรภ์ อีกทั้งยังช่วยก่อให้เิกิดกระบวนการสร้างเซลส์เม็ดเลืองแดงที่แข็งแรงสมบูรณ์อีกด้วย
ประเภทอาหาร ใยอาหารช่วยควบคุมน้ำหนัก
(กรัม)
ธัญพืชจากแป้งสาลี 1/3 ถ้วย 10
ถั่วนึ่ง 1/3 ถ้วย 7
ผักใบเขียวเช่นผักขม ปรุงสุก ครึ่งถ้วย 6
ข้าวโพดต้ม ถ้วยขนาดกลาง 6
กล้วยหอมผลขนาดกลาง 1 ลูก 4
ขนมปังโฮลวีตหั่นบางๆ 2 ชิ้น 3-4
ข้าวกล้อง/ข้าวไม่ขัดสี 1 ถ้วย 3





Create Date : 24 มิถุนายน 2553
Last Update : 24 มิถุนายน 2553 13:33:28 น.
Counter : 688 Pageviews.

0 comment
กระตุ้นพัฒนาการทารกทำได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ลูกในท้องนั้นเป็นดั่งแก้วตาดวงใจ ที่ต้องทะนุถนอมและปกป้องเป็นที่สุด ส่วนหนึ่งนั้นอาจจากสัญชาตญาณตามธรรมชาติของผู้หญิง ที่พอรู้ว่าเริ่มมีชีวิตน้อยๆ อีกชีวิตหนึ่งปฏิสนธิอยู่ภายในร่างกายตนเองแล้ว สัญชาตญาณแห่งความเป็นแม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังไม่มีอยู่ ก็ได้ก่อเกิดและพัฒนาไปพร้อมๆ กับชีวิตน้อยๆ นั้น จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ, สังคม และรูปแบบการใช้ชีวิตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้หญิงไทยเริ่มทำงานนอกบ้านมากขึ้น รูปแบบชีวิตเริ่มแตกต่างจากสมัยก่อน มีความเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น และตามสถิติคนไทยก็มีลูกน้อยลงไปด้วย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ และการเริ่มมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลี้ยงดูเด็กมากขึ้น ทำให้พ่อแม่หันไปเน้นที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีของประเทศที่กำลังพัฒนา
เมื่อพูดถึงคำว่า “คุณภาพ” นั่นหมายถึง ตั้งแต่การตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ไปจนกระทั่งถึงการคลอดลูกเป็นเด็กที่มีคุณภาพ ลองนึกภาพเด็กไทยที่มีคุณภาพเต็มบ้านเมือง คนที่เป็นพ่อเป็นแม่คงสบายใจ ที่ลูกของตนเติบโต ท่ามกลางเพื่อนๆ ในละแวกบ้านหรือในโรงเรียนที่เปี่ยมล้นไปด้วยคุณภาพทั้งทางสติปัญญา, อารมณ์, จริยธรรม อาจฟังดูเป็นยูโทเปียไปหน่อย แต่ก็เป็นโลกแห่งจินตนาการที่น่าสนใจไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ เอาเป็นว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ให้มีคุณภาพได้มากกว่าที่คิด
ซึ่งองค์ประกอบหลักๆ ของการเสริมสร้างคุณภาพให้แก่ทารกในครรภ์ มีตั้งแต่เรื่องอาหารการกินของคุณแม่ที่จะส่งผ่านสารอาหารไปสู่ลูกน้อย – องค์ประกอบทางด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก – เรื่องของพันธุกรรมหรือยีนส์ที่ถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่ ซึ่งเรื่องการกำหนดพันธุกรรมเป็นเรื่องของธรรมชาติที่เราคงยากที่จะเข้าไปแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น เช่น พ่อแม่มีผมสีดำ ตาสีดำ โดยทั่วไปลูกก็จะต้องมีผมดำตาดำเหมือนพ่อแม่ ถ้าเกิดมาแล้วลูกไม่ชอบมีผมดำและตาดำ โตขึ้นก็สามารถไปโกรกสีผมที่ชอบ แล้วใส่คอนแทคเลนส์สีที่ชอบได้ และถ้าพ่อแม่มีรูปร่างเล็ก ตัวไม่สูง โดยทางพันธุกรรมแล้ว ลูกก็จะรูปร่างเล็กเช่นเดียวกัน แต่ในปัจจุบัน เราพบว่าอาหารสามารถช่วยในเรื่องนี้ได้ ตัวอย่างท่าเห็นได้ชัด คือ ประเทศญี่ปุ่น ที่ในสมัยก่อนสงครามโลก ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ จะมีรูปร่างเตี้ย ต่อมารัฐบาลได้รณรงค์ในเรื่องการดื่มนม ทำให้ชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้ ตัวสูงใหญ่ผิดกับพ่อแม่ และปู่ย่าตายายเป็นอย่างมาก
ส่วนเรื่องอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ก็มีความสำคัญต่อทารกในครรภ์ไม่น้อยเช่นเดียวกัน เนื่องจากในระหว่างการตั้งครรภ์ ทารกมีการเจริญเติบโตอย่างมากมายและรวดเร็ว ถ้าคุณแม่ได้รับสารอาหารจำพวกโปรตีนอย่างครบถ้วน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการเสริมสร้างขนาดและคุณภาพของร่างกายและสมอง ก็คาดหวังได้ว่าทารกจะเจริญเติบโตมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีสติปัญญาที่ดีด้วย แต่ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับสารโปรตีนน้อย เซลล์สมองของทารกก็จะเล็กและมีเส้นใยสมองน้อย นอกจากนี้สารจำพวกวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบี นอกจากจะช่วยเสริมสร้างระบบประสาทของทารกในครรภ์แล้ว ยังช่วยให้การทำงานของเซลล์สมองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบทางด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุดอีกเรื่องหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของทารกน้อยในครรภ์ และทุกวันนี้ เราก็ค่อนข้างจะได้ข้อสรุปที่ตรงกันแล้วว่า สิ่งแวดล้อมภายนอกสามารถสร้างเด็กให้เป็นไปตามสภาวะแวดล้อมนั้น ในปัจจุบันเราจะได้เห็นการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมมากขึ้น เพราะเชื่อว่าไม่ว่าเด็กจะมาจากพ่อแม่ที่มีพันธุกรรมแบบใด ก็สามารถเลี้ยงดูให้เติบโตเป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และมีจริยธรรมที่งดงามได้ คนไทยในสมัยก่อนมักมีความเชื่อในเรื่องพันธุกรรม พอเลี้ยงได้ไม่ดี ก็โทษกรรมพันธุ์ ต่อมาเมื่อมีความรู้ในเรื่องการเลี้ยงดูเด็กและวิทยาศาสตร์มากขึ้น ก็เริ่มเข้าใจและยอมรับในเรื่องนี้มากขึ้นตามไปด้วย ก็จะเห็นตัวอย่างจากเรื่องจริงของพ่อแม่หลายคน ที่รับอุปการะเด็กมาเป็นลูก แล้วเด็กนั้นดีกว่าหรือฉลาดกว่าลูกของตนก็มีมากมายหลายกรณีให้เห็น ซึ่งเป็นข้อถกเถียงกันมากมาย และกลายมาเป็นข้อสรุปในเวลาต่อมาว่า สภาพแวดล้อม และการเลี้ยงดูนั้น สามารถสร้างเด็กให้เป็นอย่างไรก็ได้ หรือถ้าใครยังไม่แน่ใจ ก็สามารถส่งลูกของตนเข้าไปให้ได้รับการเลี้ยงดูในเรือนจำต่างๆ ดูได้ เพื่อดูว่า สิ่งแวดล้อม มีผลสำคัญขนาดไหนต่อเด็กที่กำลังเติบโตและเรียนรู้สิ่งต่างๆ
สิ่งแวดล้อมภายนอก อาจแบ่งได้เป็นหลายปัจจัย เช่น
1. ปัจจัยเรื่องมลภาวะ ดร.ลอว์เรนซ์ เอ็ม. สเคลล์ นักวิจัยชาวอเมริกัน ที่เคยทำการศึกษาในเรื่องนี้ มีตัวอย่างมาให้ดูกันว่า แม่ตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณสนามบิน ที่มีเสียงเครื่องบินขึ้น-ลงตลอดเวลา รวมทั้งแรงสั่นสะเทือนที่ทารกในครรภ์สามารถรับรู้ได้นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพด้านอื่นๆ ของทารก เช่น ทารกที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยปกติ, เด็กมักคลอดก่อนกำหนด, เมื่อแรกคลอด ทารกจะกระสับกระส่าย ตกใจง่าย และเลี้ยงยาก ร้องไห้เก่ง เพราะฉะนั้นมลภาวะทางเสียง จึงเป็นปัจจัยต่ออารมณ์ของทารกในครรภ์ได้ เคยมีคุณแม่ที่ไปดูหนังแอ๊คชั่นที่ตื่นเต้นน่ากลัวในโรงหนัง และพบว่า เมื่อถึงตอนที่มีเสียงดัง ตื่นเต้น โกลาหล ลูกในท้องมีปฏิกิริยาดิ้นมากกว่าปกติ ทารกในครรภ์ไม่ได้ดิ้น เพราะสนุกหรือแสดงอาการร่วมไปกับตัวละครเหล่านั้น เหมือนที่เด็กห้าขวบลงไปดิ้นกับพื้นเลียนแบบสัตว์ประหลาดเวลาที่โดนลูกถีบไอ้มดแดง จนต้องลงไปชักดิ้นชักงอกบนพื้น แต่เขาหรือเธอในท้องดิ้นด้วยความตกใจหรือตื่นตระหนกในเสียงดังที่ได้ยิน เหล่านี้เป็นต้น คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมที่เป็นปัจจัยในเรื่องมลภาวะทางเสียง ซึ่งเราจะไปพูดถึงการสร้างสภาวะแวดล้อมทางเสียงที่เป็นประโยชน์ต่อทารกในครรภ์ต่อไป ส่วนสภาวะแวดล้อมด้านอื่น เช่นอากาศที่ไม่ดี ควันรถยนต์ หรือความร้อน ความเย็น ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อทารก แต่จะมีผลต่ออารมณ์และจิตใจของคุณแม่ ซึ่งอาจเป็นผลกระทบถึงทารกในทางอ้อมได้
2. ปัจจัยเรื่องสภาพจิตใจของแม่ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่บีบรัดตัว คุณพ่อก็ทำงาน คุณแม่เองก็อาจต้องออกไปทำงานนอกบ้านด้วย ทำให้คุณพ่ออาจไม่มีเวลาดูแลคุณแม่มากนัก เนื่องจากต้องทำงานหนักขึ้น เพื่ออนาคตของเจ้าตัวน้อยที่อยู่ในท้อง (แต่หารู้ไม่ว่า การไม่เอาใจใส่ตั้งแต่อยู่ในท้องก็มีผลต่ออนาคตทางด้านจิตใจของแม่และลูกได้เช่นเดียวกัน) คุณแม่เองก็อาจคิดไปต่างๆ นานา และรู้สึกว่าไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร ซึ่งถ้าคุณแม่ไปทะเลาะกับคุณพ่อ ทารกในครรภ์ที่มีอายุ 5 เดือนขึ้นไปแล้ว ก็สามารถรับรู้การทะเลาะนั้นได้แล้ว จากทางเสียงที่ได้ยินและจากสภาพอารมณ์ของคุณแม่ เนื่องจากสภาวะทางอารมณ์ของแม่สามารถส่งผ่านถึงลูกได้โดยตรง เช่น ถ้าคุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดี ก็จะมีสารเอนโดฟิน (endophin) หลั่งออกมา ทำให้ลูกในครรภ์ผ่อนคลายไปด้วยและพบว่าสารเอนโดฟิน นอกจากช่วยในการเจริญเติบโตแล้วยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย เห็นมั้ยคะว่า วิทยาศาสตร์การแพทย์น่าทึ่งขนาดไหน
เมื่อเราได้ทราบผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมภายนอกถึงทารกในครรภ์แล้ว ก็ได้มีแพทย์และนักวิจัยที่ทำการทดลองและวิจัยในเรื่องนี้มากมาย มีตัวอย่างที่ประเทศเวเนซูเอล่า ดร.เบียทริซ แมนริเก้ ได้ทำการทดลองโดยการแบ่งกลุ่มหญิงตั้งครรภ์แรก วัย 18-26 ปี ที่มีสุขภาพครรภ์แข็งแรงสมบูรณ์ดี ออกเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกทดลองใช้วิธีการของเธอ ในการกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์ด้านต่างๆ ไปจนถึงเด็กคลอดออกมาและใช้วิธีการของเธอต่อไปอีก จนถึงอายุสองปี ซึ่งมีวีดีโอจำหน่ายด้วยชื่อว่า “Make Way For Baby!” ผลปรากฏว่า กลุ่มแรกที่ผ่านการใช้วิธีกระตุ้นทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ไปจนถึงสองขวบ มีความแตกต่างในทุกๆ ด้านจากเด็กอีกกลุ่มที่ไม่ได้รับการกระตุ้นใดใดเลย รวมไปถึงการทำให้แม่คลอดง่ายขึ้นด้วย เพียงแค่วันที่สอง หลังการคลอด จะเห็นได้ว่า เด็กกลุ่มแรกมีพัฒนาการทางการควบคุมกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวได้ดีกว่ากลุ่มแรก
พอวันที่ 25 สังเกตเห็นได้ว่า เด็กกลุ่มแรก มีพัฒนาการทางการรับรู้เรื่องเสียง, การมองเห็น และปฏิกริยาตอบโต้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการกระตุ้น เช่น เมื่อมีเสียงหรือแสงมากเกินไป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระบบประสาทส่วนกลางที่ได้รับการพัฒนามากกว่า เมื่อเด็กมีอายุครบ 18 เดือน ก็พบว่าเด็กกลุ่มแรกมีพัฒนาการทางด้านภาษา, ความสัมพันธ์ของตาและมือ และวิธีการแก้ปัญหาที่ดีกว่าอีกกลุ่ม ครั้นพอเด็กทั้งสองกลุ่มมีอายุครบสามปี ก็มีการวัดผลกันอีกและพบว่า กลุ่มแรกมีภาวะจิตใจและทักษะในการขับเคลื่อนดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการกระตุ้น เช่น ทักษะทางด้านภาษา ความสามารถทางด้านสายตา ความจำดีกว่า และความฉลาดโดยรวมไปจนถึงการคิดเหตุผล จากนั้นพอเด็กอายุสี่ขวบ ก็มีการทดสอบกันอีก ปรากฏว่า เด็กกลุ่มที่ผ่านการกระตุ้น จะมีทักษะทางการพูดดีกว่า ความฉลาดโดยรวมก็สูงกว่า และพวกเขายังสามารถเก็บข้อมูลของสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีกว่า พวกเขาจัดการกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวันได้ดีกว่า พวกเขาเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดีและคิดแก้ปัญหาได้ดีกว่า นอกจากนั้น พวกเขายังช่างสังเกตและมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สิ่งต่างๆ รวมทั้งมีความเข้าใจในเรื่องพื้นที่และทิศทางมากกว่าด้วย ผลจากการทดสอบตอนเด็กทั้งสองกลุ่มอายุครบห้าขวบ พบว่า ความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มเริ่มมากขึ้นไปอีก เด็กกลุ่มแรกแสดงความรู้ในเรื่องรอบตัวได้มากกว่า มีความสามารถในการอ่านและการเขียนที่ล้ำหน้ากว่า รวมทั้งผลการเรียนที่โรงเรียนก็ดีกว่ามาก
กระตุ้นอย่างไร ?
คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์เองได้ ตั้งแต่เริ่มเข้าเดือนที่ห้า ซึ่งที่จริง ก่อนหน้านี้ คุณแม่ก็สามารถพูดคุยกับลูกหรือสัมผัสลูกได้ แต่ทารกในครรภ์ยังไม่อาจรับรู้มากนัก เนื่องจากช่วงที่เซลล์สมองแบ่งตัวเป็นช่วงอายุครรภ์ 10-18 สัปดาห์ ดังนั้น ช่วง 18 เดือนไปแล้ว จะเป็นช่วงที่เซลล์สมองกำลังเริ่มเจริญเติบโต เรียกว่า “ระยะขยายตัว” ไปจนถึงอายุสองขวบเพราะฉะนั้น จึงถือว่านี่เป็นช่วงโอกาสทองที่พ่อแม่จะป้อนข้อมูลหรือสิ่งดีๆ เข้าสู่สมองลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ มีการทดลองเกี่ยวกับการกระตุ้นพัฒนาการมากมาย ที่พบว่าเมื่อเด็กในช่วงที่กล่าวถึงนี้ ได้รับการกระตุ้น ก็จะเกิดเส้นใยภายในเซลล์สมองเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่ได้รับการกระตุ้น ก้อนสมองก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ ตามวัย จนเด็กอายุครบสองขวบ ก็จะมีขนาดน้ำหนักสมองถึง 90% ของผู้ใหญ่ แต่ไม่ได้มีข้อมูลอะไรมาก เพราะฉะนั้น โอกาสทองนี้ถ้าคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้หลุดมือไป หลังจากนั้น ก็จะไม่ได้ผลในระยะยาวเท่าที่ควร
กระตุ้นโดยการสัมผัส เมื่อคุณแม่สัมผัสหน้าท้องตัวเองที่ยื่นออกมา โดยมีลูกน้อยอยู่ข้างในครรภ์ ทารกสามารถรับรู้ได้ เช่นเดียวกับเวลาที่คุณแม่เคลื่อนไหว มีการทดลองให้คุณแม่ตบที่หน้าท้องเบาๆ เวลาที่ลูกในครรภ์ดิ้นมากหรือเตะ คุณแม่อาจพูดด้วยเสียงดังฟังชัดไปด้วยว่า “ก๊อก ก๊อก ก๊อก” แล้วตบเบาๆ ที่ด้านตรงข้ามกับทิศทางที่ลูกเตะ (ที่ลูกเตะจะเป็นส่วนเท้า ด้านตรงข้ามจะเป็นหัวทารก) เคยมีคุณแม่ ที่ทดลองเล่นแบบนี้กับลูก โดยการเคาะสองทีทุกครั้ง ปรากฏว่าทารกเตะกลับมาสองครั้งเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มาก
กระตุ้นโดยใช้เสียง มีคุณแม่หลายท่านที่เปิดเพลงคลาสสิคหรือเพลงที่ฟังสบายๆ ให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และต่างพบว่า เด็กที่คลอดออกมาจะอารมณ์ดี มีสมาธิดี และชอบเสียงเพลง เด็กบางคนจะคุ้นกับเพลงที่คุณแม่เปิดซ้ำๆ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ พอออกจากครรภ์แม่ก็ยังจดจำเพลงนั้นได้ เมื่อเด็กโยเย อารมณ์ไม่ดี คุณแม่เปิดเพลงเดิมนั้นเท่านั้น เด็กก็จะหยุดร้องโยเยได้ทันที และมีผลการทดลองอีกเช่นกัน ที่พบว่า เด็กที่ได้ฟังดนตรีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ มีแนวโน้มที่จะเป็นคนรักเสียงเพลง ตลอดจนมีความสามารถในการเล่นดนตรีที่ดีกว่าได้ นอกจากเสียงดนตรีแล้ว เสียงของคุณแม่หรือคุณพ่อเอง ก็มีความสำคัญกับลูกน้อยเช่นกัน เนื่องจากเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้ลูกรู้จักพ่อและแม่ของตนตั้งแต่ยังไม่คลอดออกมา ครั้นพอลูกคลอดแล้ว ก็จะจำเสียงแม่ได้ทันที เป็นการสร้างความอบอุ่นใจและความมั่นใจแก่เด็กได้เป็นอย่างมาก คุณแม่สามารถลูบท้องด้านที่เป็นหัวเด็ก และพูดคุยกับลูกไปได้ หรือใช้กระดาษแผ่นใหญ่ม้วนเป็นกรวย เหมือนที่เด็กๆ เล่นกัน แล้วพูดใส่ปลายกรวยที่จ่อไปบนหน้าท้อง หรือคุณแม่บางท่านอาจอยากคุยกับลูกบ่อยๆ เป็นประจำ ก็มีเครื่องมือที่เรียกว่า “infant phone” ที่เป็นเครื่องมือในการพูดคุยกับทารกในครรภ์
กระตุ้นโดยการนั่งเก้าอี้โยก เมื่ออายุครรภ์ห้าเดือนไปแล้ว ทารกในครรภ์จะมีอวัยวะต่างๆ เกือบสมบูรณ์แล้ว สมองก็เริ่มขยายตัว การที่เด็กอยู่ในถุงน้ำคร่ำในท้องแม่ ที่มีการเคลื่อนไหวของน้ำคร่ำรอบๆ ตัวทารก เมื่อแม่เคลื่อนไหว ทารกในครรภ์จะเอนเอียงตามจังหวะของการเคลื่อนไหวของแม่ ผิวหนังของทารกจะรับรู้การสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูกตลอดเวลามีผลต่อการพัฒนาระบบประสาทรับรู้ความรู้สึกของทารก การนั่งโยกเก้าอี้เป็นการพัฒนาเซลล์สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว และทำให้ทารกได้เรียนรู้การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เพราะขณะที่คุณแม่นั่งโยกเก้าอี้นั้น ทารกจะถูกโยกเอนไปมาตามทิศทางของการโยก ซึ่งต่อมา ทารกจะเกิดการเรียนรู้ว่าการโยกไปมานั้นเป็นวัฏจักร หรือเป็นระบบ คือโยกหน้าแล้วตามด้วยหลังเสมอ เป็นอย่างนี้ทุกครั้งไป เมื่อทารกเรียนรู้เช่นนี้แล้วก็จะเกิดการปรับตัวและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมนั้น โดยขณะที่เก้าอี้โยกไปข้างหน้า ทารกเริ่มรู้จักเกร็งตัวไปด้านหลัง ต้านแรงโยกไปด้านหน้า เพื่อพยุงตัวให้อยู่ในแนวกลางเสมอ ซึ่งทารกสามารถทำได้ง่ายเพราะลอยตัวอยู่ในน้ำคร่ำ การกระทำเช่นนี้ เปรียบเสมือนเป็นบทเรียนให้ทารกฝึกใช้ไหวพริบ เข้าใจและปรับตัวตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เข้ามาใหม่ได้ ขณะเดียวกัน การเคลื่อนไหวไปมาก็ช่วยพัฒนาระบบกล้ามเนื้อและการทรงตัว ทารกหลังคลอดจึงพลิกคว่ำและหงายได้เร็วกว่าเกณฑ์ปกติ
กระตุ้นโดยใช้แสง โดยปกติทารกในครรภ์สามารถลืมตาเห็นสิ่งต่างๆ ในมดลูกได้ตอน 29 สัปดาห์ แต่ก่อนหน้านี้ทารกก็สามารถรับรู้ความมืด ความสว่างได้ แม้หลับตาอยู่ แสงจากภายนอกครรภ์เป็นตัวส่งเสริมพัฒนาระบบการมองเห็นของทารก ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้น ผนังมดลูกของแม่จะยิ่งบางลง ทำให้แสงจากภายนอกส่องผ่านเข้าไปได้มากขึ้น ทารกจะเริ่มเรียนรู้เรื่องกลางวันและกลางคืน เพราะในเวลากลางคืน ภายในมดลูกจะมือสนิท ส่วนกลางวันจะมีแสงผ่านเข้าไปได้ รวมทั้งมีเสียงและการเคลื่อนไหวของแม่ เคยมีการทดลองใช้ไฟส่องเข้าไปในโพรงมดลูก และพบว่าทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น แสดงว่าทารกสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดีและมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตาม การเสริมสร้างระบบการมองเห็นของทารกโดยการส่งไฟนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ และมีความละเอียดอ่อนในแง่ปฏิบัติ จำเป็นต้องอาศัยสื่อการสอนอย่างอื่นประกอบร่วมด้วยจึงจะเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้ถูกต้อง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ไม่เหมือนการกระตุ้นโดยวิธีอื่นที่คุณแม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับลูกได้เลย




Create Date : 24 มิถุนายน 2553
Last Update : 24 มิถุนายน 2553 13:32:37 น.
Counter : 574 Pageviews.

0 comment
กรดโฟลิกจำเป็นมากสำหรับการตั้งครรภ์หรือไม่
กรดโฟลิกจำเป็นมากสำหรับการตั้งครรภ์หรือไม่
โดย : นพ.สมเกียรติ คูอมรพัฒนะ
คำถาม กรดโฟลิกจำเป็นมากสำหรับการตั้งครรภ์หรือไม่ มักพบในอาหารจำพวกใดบ้าง
คำตอบ กรดโฟลิกมีความ สำคัญและจำเป็น แต่ก็ไม่มากไปกว่าสารอาหารชนิดอื่น ๆ ในคนปกติ การขาดโฟลิกจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางในคนไทยส่วนใหญ่แล้ว เกิดจากการขาดธาตุเหล็กมีส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดจากการขาดกรดโฟลิก
สำหรับการขาดกรดโฟลิกในสตรีตั้งครรภ์นั้น เคยมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีความสัมพันธ์กับภาวะคลอกตัวก่อนกำหนด และการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่ที่มีการรายงานไว้อย่างน่าเชื่อถือก็คือพบว่าการขาดกรดโฟลิก มีความสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติของระบบประสาทของทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นในสตรีที่เคยมีบุตรที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดของระบบประสาท เช่น ภาวะไม่มีกระโหลกศรีษะมีเนื้องอกของไขสันหลัง เป็นต้นนั้น ควรได้รับการป้องกันโดยการกินกรดโฟลิกในขนาดสูง (4 มิลลิกรัมต่อวัน) ตั้งแต่ก่อนมีการตั้งครรภ์และให้ได้รับต่อไปอีกในระยะ 3 เดือน ของการตั้งครรภ์ด้วย ก็จะช่วยป้องกันความผิดปกติของระบบประสาทของทารกในครรภ์ได้
โดยทั่วไปแล้ว ความต้องการกรดโฟลิกในผู้ใหญ่ต้องการเพียงเล็กน้อยต่อวันคือ วันละ 150 ไมโครกรัม ถ้าเป็นสตรีในระยะตั้งครรภ์ปติ จะต้องการวันละ 500 ไมโครกรัม ในระยะให้นมบุตรต้องการวันละ 250 ไมโครกรัม แหล่งอาหารที่มีกรดโฟลิกมากก็คือ พวกผักที่มีใบเขียวจัด ๆ เครื่องในสัตว์ ผักที่เรากินราก เมล็ดพืช หอยนางรม ปลาแซลมอน และนม ซึ่งอาหารเหล่านี้ (ยกเว้นปลาแซลมอน) สามารถหามารับประทานได้ง่ายดายครับ ส่วนเรื่องการแพ้ท้องนั้น เป็นเรื่องปกติของสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 60-80 ที่มีอาการในระยะ 3 เดือนแรกแล้วมักจะค่อย ๆ หายไปเอง เมื่อตั้งครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
โฟเลท
เรามารู้จักโฟเลทกันก่อน โฟเลท, กรดโฟลิก (Folic acid) โฟลาซิน (Folacin) เป็นชื่อเดียวกันทั้งนั้นค่ะ คือ วิตามินในกลุ่มวิตามินบีที่ละลายน้ำได้

โฟเลทสำคัญต่อสุขภาพ ช่วยสังเคราะห์ยีนหรือสารพันธุกรรม (DNA) ให้คงรูปโครโมโซม จำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่าง ๆ

ผลจากการขาดโฟเลท ทำให้เกิดความผิดปกติของการแบ่งตัวของเซลล์ การสร้างโปรตีน และฮีม ซึ่งเป็นสารสีแดงที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง เกิดภาวะโลหิตจางชนิดที่เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ การขาดโฟเลทนั้น พบได้ง่ายและพบมากในคนที่บริโภคไม่เพียงพอ กลุ่มทารก เด็กที่กำลังเจริญเติบโต และหญิงมีครรภ์ คือ กลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาดโฟเลทมากที่สุด

ปริมาณโฟเลทที่ควรได้รับจะได้รับมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับช่วงอายุ คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันของคนไทย จึงแนะนำว่า ควรบริโภคโฟเลทต่อวันดังตารางที่กำหนดมานี้

วัย ทารก ต่ำกว่า 10 ปี เด็ก 10-19 ปี ผู้ใหญ่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมลูก
ปริมาณไมโครกรัม 20-30 40-65 90-165 150-175 500 250
แหล่งโฟเลท ในสัตว์พบจากตับมากที่สุด ส่วนพืชพบในผักสีเขียว ผักโขม ผักคะน้า ส่วนผลไม้ พบโฟเลทในส้ม และแคนตาลูป

ความร้อนทำลายโฟเลท จึงควรปรุงอาหารประเภทผัก โดยทำให้สุกเร็ว ๆ เพราะความร้อนอาจทำลายโฟเลทได้ 80-90%

อาหารที่เสริมโฟเลท นอกจากแหล่งธรรมชาติในนม ธัญพืช อาหารเช้าสำเร็จรูปบางชนิด ก็เป็นแหล่งโฟเลทที่ดีด้วย

สิ่งขัดขวางการดูดซึมของโฟเลทไปใช้ในร่างกาย ได้แก่ แอลกฮอล์ ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคมะเร็งและเนื้องอกต่าง ๆ

ถ้าได้รับโฟเลทมากไป อาจจะทำให้ไม่เห็นความผิดปกติของการตรวจเลือด วัดภาวะการขาดวิตามินบี 12 ไปบ้าง แต่ก็พบความเป็นพิษน้อย

พึงตระหนักเสมอนะคะว่า โฟเลทนั้นเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ แม้ว่าคุณสามารถได้รับโฟเลท จากการรับประทานผักสด โดยเฉพาะผักใบเขียว แต่ถ้าหากผ่านการหุงต้ม โดยผ่านความร้อน คุณค่าของโฟเลทที่ควรได้รับจะสูญเสียไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันคุณสามารถที่จะเลือก รับประทานอาหารที่จะเสริมวิตามินนี้ เช่น นมเสริมวิตามิน ก่อนซื้อทุกครั้งอย่าลืมตรวจสอบนะคะว่า ผลิตภัณฑ์ที่คุณเลือกซื้อนั้นสามารถโฟเลทในปริมาณ 500 ไมโครกรัม ตามคำแนะนำของคณะกรรมการจัดทำสารอาหารของคนไทย




Create Date : 24 มิถุนายน 2553
Last Update : 24 มิถุนายน 2553 13:31:32 น.
Counter : 803 Pageviews.

0 comment
Sex ระหว่างตั้งครรภ์
Sex ระหว่างตั้งครรภ์
บทความจากนิตยสารแม่และเด็ก

ก่อนอื่นขอย้ำให้แน่ใจกันอีกสักครั้งว่า ระหว่างตั้งครรภ์ไม่ใช่ว่า คุณจะมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้เลย อันที่จริงคุณกลับรู้สึกว่า ตัวเองมีความต้องการทางเพศมากขึ้นกว่าเก่าด้วยซ้ำไป ถ้าทุกครั้งที่คุณรู้สึกอยากผวาเข้าหาอ้อมกอดของสามีสุดที่รัก แต่กลัวว่าการหลับนอนจอส่งผลร้ายต่อลุกในท้องละก็ ลองอ่านข้อเท็จจริงข้างล่างนี้ดูสิคะ แล้วคุณจะเบาใจลงอีกเยอะ
ไม่มีข้ออ้างใดๆ จะมากีดกันไม่ให้คุณมีเซ็กซ์อย่างสุขสมในระหว่างตั้งท้องได้ เพียงแต่มีข้อแม้ว่าคุณต้องศึกษาท่าในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายกับลูกรวมถึงต้องตระหนักถึงสรีระที่เปลี่ยนแปลงไปให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน แค่นี้คุณและเขาก็สามารถใช้เวลาอันแสนสุขบนเตียงร่วมกัน โดยไม่มีอะไรมาให้คอยกังวลใจ

ระหว่างตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่ที่ขึ้นๆ ลงๆ ไม่คงที่จะส่งผลต่อทัศนคติเรื่องเซ็กซ์และทำให้คุณถูกกระตุ้นเร้าได้ง่ายกว่าปกติ ในทางกลับกันตลอดเวลาที่ตั้งครรภ์คุณอาจหมดความสนใจเรื่องเซ็กซ์ไปเลยก็เป็นได้ กระนั้นเราก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่าคุณแม่แต่ละท่านจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่างกันไปอย่างไรบ้าง
หมั่นทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสเข้าไว้

ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เป็นไปได้ว่า คุณแม่จะไร้อารมณ์กับเรื่องอย่างว่าจนน่าตกใจ อาจเป็นเพราะความอ่อนเพลีย อันเกิดจากการแพ้ท้องส่งผลให้คุณไม่มีกระจิตกระใจอยากมีอะไรกับสามี จนกว่าจะเลยช่วงสามเดือนแรกนี้ไปแล้วนั่นแหละ อันที่จริงอาการดังกล่าว เพียงปฏิกิริยาตามธรรมชาติเท่านั้น คุณไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลจนเลยเถิด พานทำให้พ่อของลูกเสียสุขภาพจิตไปด้วย

ในช่วงที่คุณตั้งท้อง ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะขึ้นลงไม่คงที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮอร์โมนเพศทั้ง 2 ชนิดคือ โปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจน (โปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าจากปกติ) ในขณะเดียวกันสรีระจะเปลี่ยนแปลงไป อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ฮอร์โมนทั้งสองยังส่งผลต่อสภาพอารมณ์ของคุณอีกด้วย โดยทั่วไปมันจะไปกระตุ้น ให้เกิดความต้องการทางเพศ ข้อดีอีกอย่างคือ ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น นี่เองเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมผู้หญิงหลายคนจึงบอกว่าระหว่างตั้งท้องรู้สึกว่าตัวเองเซ็กซี่ขึ้น

คู่แต่งงานหลายคู่ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การไม่ต้องมานั่งกังวลในเรื่องคุมกำเนิด อาจทำให้เรารู้สึกปลดปล่อยไม่ต้องกั๊กความรู้สึก เลยทำให้อารมณ์พุ่งขึ้นถึงขีดสุดได้ง่าย และเต็มอิ่มกว่าที่เคยเป็น แต่ยังมีอีกมากมายหลายสาเหตุที่กระตุ้นให้ชีวิตรักของคุณ เร่าร้อนขึ้นในช่วงมีท้อง เช่น ฮอร์โมนเพศหญิงที่พลุ่งพล่านไปทั่วร่างกาย ไปกระตุ้นให้เต้านมและอวัยวะเพศตื่นตัวต่อสิ่งปลุกเร้าง่ายขึ้น ช่องคลอดรวมถึงปุ่มกระสันก็ไวต่อการสัมผัสขึ้นเช่นกัน แถมน้ำหล่อลื่นที่เพิ่มปริมาณขึ้นยังช่วยให้การสอดใส่ทำได้สะดวกขึ้น อารมณ์คุณจึงพุ่งสูงและเป็นสุขอย่างไม่เคยรู้สึกมาก่อน
ข้อควรรู้สำหรับคุณพ่อ

ถึงแม้คุณแม่จะมีความต้องการ มากกว่าที่เคย แต่ตัวคุณพ่อเอง อาจขยักความต้องการไว้ไม่กล้ายุ่งเกี่ยวด้วย เพราะเกรงจะเป็นอันตรายต่อลูกในท้อง คุณแม่จึงต้องช่วยเพิ่มความมั่นใจว่า การมีเซ็กซ์จะไม่ส่งผลร้ายต่อลูก ถ้าหากไม่ร่วมรักกันแบบหักโหม หรือรุนแรงจนเกินไป ทั้งนี้เพราะธรรมชาติ สร้างให้มีสายสะดือที่เหนียวแน่น ช่วยปกป้องลูกน้อยอยู่แล้ว แถมยังมีถุงน้ำคร่ำช่วยโอบอุ้มลูกไว้ กันแรงกระแทกกระเทือน ได้อย่างดีอีกด้วย

การสอดใส่ของคุณพ่อ จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อลูก แม้กระทั่งระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ซึ่งศีรษะเด็กเริ่มหันมาอยู่ในทิศทาง ที่พอดีกับปากช่องคลอดก็ตาม อย่างไรก็ดีเมื่อท้องใหญ่ขึ้น ควรหลีกเลี่ยงท่าร่วมกัน ซึ่งน้ำหนักตัวของฝ่ายชาย โถมทับลงบนหน้าท้องโดยตรง เพราะถือ
3 ท่าหฤหรรษ์

เซ็กซ์ที่ปลอดภัยในระหว่างการตั้งครรภ์ หมายถึง คุณต้องตระหนักรู้ ถึงการเปลี่ยนแปลงของสรีระ และต้องรู้ด้วยว่ามันสัมพันธ์ กับชีวิตรักของคุณอย่างไรบ้าง เราขอเสนอท่วงท่าในการร่วมรักที่สบาย และเหมาะกับครรภ์ที่กำลังขยายใหญ่ และหนักขึ้นทุกวันๆ

" ท่าช้อนคู่ ที่ตั้งชื่อนี้ให้เพราะท่านี้ ดูเหมือนช้อนสองคันวางประกบกัน ให้ทั้งคุณและพ่อของลูกนอนตะแคง โดยที่เขาหันหน้าเข้าประกบหลังคุณแล้ว จึงเข้าทางด้านหลัง ท่านี้ดีตรงช่วยให้คุณ ไม่ต้องแบกรับน้ำหนักท้องที่ใหญ่อุ้ยอ้าย

" ท่าคร่อม ท่านี้คงต้องยกผลประโยชน์ให้ฝ่ายหญิง เพราะจะช่วยให้สามารถ คอนโทรลความหนักเบา ในการสอดใส่ได้ด้วยตัวเอง

" ท่าแนบแน่นล้ำลึก ให้คุณใช้มือและเข่ายันลำตัวไว้ ซึ่งช่วยให้ท้องไม่ถูกกดทับ แต่น้ำหนักจะไปถ่วงอยู่ที่หลังแทน ท่านี้ฝ่ายชายจะเข้าได้ลึกล้ำยิ่ง ฉะนั้นช่วงแรกๆ จึงควรเคลื่อนไหว อย่างระมัดระวังสักหน่อย จนกว่าจะแน่ใจว่าเข้าที่เข้าทาง และฝ่ายหญิงรู้สึกสบาย และไม่อึดอัดแล้วนั่นแหละ ว่าเป็นบริเวณต้องห้ามหรือจะเลือกสรรเอาจาก 3 ท่า ที่แนะนำไว้แล้วก็ไม่ว่ากัน

ที่สำคัญอีกอย่างคือ ตัวคุณพ่อเองต้องสกัดกั้นอารมณ์เอาไว้บ้าง อย่าปล่อยให้เพลิดเพลินจนทำกิจกรรมรักแบบหักโหม ไม่บันยะบันยัง เพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายคุณแม่ ทำให้อ่อนระโหยหมดเรี่ยวแรง นอกจากนี้ในช่วงตั้งครรภ์เต้านมและหัวนมของคุณแม่จะบอบบางระบมได้ง่าย ดังนั้นควรสัมผัสอย่างนุ่มนวลและเบามือสักหน่อย

คุณอาจเคยได้ยินคุณแม่บางท่านบอกว่าช่วงตั้งท้องให้หยุดมีเพศสัมพันธ์ไปเลยเป็นดีที่สุด ที่จริงไม่จำเป็นเลยค่ะ แต่จะจำเป็นก็ต่อเมื่อคุณเคยมีประสบการณ์ตกเลือดมาก่อนในท้องแรกๆ หรือหมอเจ้าของครรภ์วินิจฉัยว่า คุณอาจมีแฝดสาม ซึ่งมีสิทธิ์คลอดก่อนกำหนดได้ ถึงอย่างนั้นก็ยังมีกลเม็ดอื่นอีกมากมาย ที่ทั้งคุณแม่และคุณพ่อสามารถนำมาใช้ เพื่อร่วมกันแบ่งเบาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายได้อย่ากลัวไปเลยค่ะ





Create Date : 24 มิถุนายน 2553
Last Update : 24 มิถุนายน 2553 13:30:41 น.
Counter : 668 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  

มนแพรวา
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]