All Blog
กรดโฟลิกจำเป็นมากสำหรับการตั้งครรภ์หรือไม่
กรดโฟลิกจำเป็นมากสำหรับการตั้งครรภ์หรือไม่
โดย : นพ.สมเกียรติ คูอมรพัฒนะ
คำถาม กรดโฟลิกจำเป็นมากสำหรับการตั้งครรภ์หรือไม่ มักพบในอาหารจำพวกใดบ้าง
คำตอบ กรดโฟลิกมีความ สำคัญและจำเป็น แต่ก็ไม่มากไปกว่าสารอาหารชนิดอื่น ๆ ในคนปกติ การขาดโฟลิกจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางในคนไทยส่วนใหญ่แล้ว เกิดจากการขาดธาตุเหล็กมีส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดจากการขาดกรดโฟลิก
สำหรับการขาดกรดโฟลิกในสตรีตั้งครรภ์นั้น เคยมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีความสัมพันธ์กับภาวะคลอกตัวก่อนกำหนด และการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่ที่มีการรายงานไว้อย่างน่าเชื่อถือก็คือพบว่าการขาดกรดโฟลิก มีความสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติของระบบประสาทของทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นในสตรีที่เคยมีบุตรที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดของระบบประสาท เช่น ภาวะไม่มีกระโหลกศรีษะมีเนื้องอกของไขสันหลัง เป็นต้นนั้น ควรได้รับการป้องกันโดยการกินกรดโฟลิกในขนาดสูง (4 มิลลิกรัมต่อวัน) ตั้งแต่ก่อนมีการตั้งครรภ์และให้ได้รับต่อไปอีกในระยะ 3 เดือน ของการตั้งครรภ์ด้วย ก็จะช่วยป้องกันความผิดปกติของระบบประสาทของทารกในครรภ์ได้
โดยทั่วไปแล้ว ความต้องการกรดโฟลิกในผู้ใหญ่ต้องการเพียงเล็กน้อยต่อวันคือ วันละ 150 ไมโครกรัม ถ้าเป็นสตรีในระยะตั้งครรภ์ปติ จะต้องการวันละ 500 ไมโครกรัม ในระยะให้นมบุตรต้องการวันละ 250 ไมโครกรัม แหล่งอาหารที่มีกรดโฟลิกมากก็คือ พวกผักที่มีใบเขียวจัด ๆ เครื่องในสัตว์ ผักที่เรากินราก เมล็ดพืช หอยนางรม ปลาแซลมอน และนม ซึ่งอาหารเหล่านี้ (ยกเว้นปลาแซลมอน) สามารถหามารับประทานได้ง่ายดายครับ ส่วนเรื่องการแพ้ท้องนั้น เป็นเรื่องปกติของสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 60-80 ที่มีอาการในระยะ 3 เดือนแรกแล้วมักจะค่อย ๆ หายไปเอง เมื่อตั้งครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
โฟเลท
เรามารู้จักโฟเลทกันก่อน โฟเลท, กรดโฟลิก (Folic acid) โฟลาซิน (Folacin) เป็นชื่อเดียวกันทั้งนั้นค่ะ คือ วิตามินในกลุ่มวิตามินบีที่ละลายน้ำได้

โฟเลทสำคัญต่อสุขภาพ ช่วยสังเคราะห์ยีนหรือสารพันธุกรรม (DNA) ให้คงรูปโครโมโซม จำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่าง ๆ

ผลจากการขาดโฟเลท ทำให้เกิดความผิดปกติของการแบ่งตัวของเซลล์ การสร้างโปรตีน และฮีม ซึ่งเป็นสารสีแดงที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง เกิดภาวะโลหิตจางชนิดที่เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ การขาดโฟเลทนั้น พบได้ง่ายและพบมากในคนที่บริโภคไม่เพียงพอ กลุ่มทารก เด็กที่กำลังเจริญเติบโต และหญิงมีครรภ์ คือ กลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาดโฟเลทมากที่สุด

ปริมาณโฟเลทที่ควรได้รับจะได้รับมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับช่วงอายุ คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันของคนไทย จึงแนะนำว่า ควรบริโภคโฟเลทต่อวันดังตารางที่กำหนดมานี้

วัย ทารก ต่ำกว่า 10 ปี เด็ก 10-19 ปี ผู้ใหญ่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมลูก
ปริมาณไมโครกรัม 20-30 40-65 90-165 150-175 500 250
แหล่งโฟเลท ในสัตว์พบจากตับมากที่สุด ส่วนพืชพบในผักสีเขียว ผักโขม ผักคะน้า ส่วนผลไม้ พบโฟเลทในส้ม และแคนตาลูป

ความร้อนทำลายโฟเลท จึงควรปรุงอาหารประเภทผัก โดยทำให้สุกเร็ว ๆ เพราะความร้อนอาจทำลายโฟเลทได้ 80-90%

อาหารที่เสริมโฟเลท นอกจากแหล่งธรรมชาติในนม ธัญพืช อาหารเช้าสำเร็จรูปบางชนิด ก็เป็นแหล่งโฟเลทที่ดีด้วย

สิ่งขัดขวางการดูดซึมของโฟเลทไปใช้ในร่างกาย ได้แก่ แอลกฮอล์ ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคมะเร็งและเนื้องอกต่าง ๆ

ถ้าได้รับโฟเลทมากไป อาจจะทำให้ไม่เห็นความผิดปกติของการตรวจเลือด วัดภาวะการขาดวิตามินบี 12 ไปบ้าง แต่ก็พบความเป็นพิษน้อย

พึงตระหนักเสมอนะคะว่า โฟเลทนั้นเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ แม้ว่าคุณสามารถได้รับโฟเลท จากการรับประทานผักสด โดยเฉพาะผักใบเขียว แต่ถ้าหากผ่านการหุงต้ม โดยผ่านความร้อน คุณค่าของโฟเลทที่ควรได้รับจะสูญเสียไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันคุณสามารถที่จะเลือก รับประทานอาหารที่จะเสริมวิตามินนี้ เช่น นมเสริมวิตามิน ก่อนซื้อทุกครั้งอย่าลืมตรวจสอบนะคะว่า ผลิตภัณฑ์ที่คุณเลือกซื้อนั้นสามารถโฟเลทในปริมาณ 500 ไมโครกรัม ตามคำแนะนำของคณะกรรมการจัดทำสารอาหารของคนไทย




Create Date : 24 มิถุนายน 2553
Last Update : 24 มิถุนายน 2553 13:31:32 น.
Counter : 803 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

มนแพรวา
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]