ต่อไปนี้ ไม่ต้องกลัวการทวงหนี้อีกต่อไป!

พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558

มีผลใช้บังคับจริงในวันที่ 2 กันยายน 2558 เป็นต้นไป (พ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)

วัตถุประสงค์ในการประกาศใช้บังคับ คือ เพื่อป้องกันและแก้ไขการทวงหนี้ที่ไม่เหมาะสมต่อลูกหนี้ เช่น การใช้ถ้อยคำที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรง การคุกคาม การขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย หรือการทำให้เสียชื่อเสียง รวมถึงการให้ข้อมูลเท็จและการสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่บุคคลอื่น

มีรายละเอียดที่สำคัญดังต่อไปนี้
- นิยาม (มาตรา 3)
“ผู้ทวงหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนันและเจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีสิทธิรับชําระหนี้อันเกิดจากการกระทําที่เป็นทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึง ผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าว ผู้รับมอบอํานาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้และผู้รับมอบอํานาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย
“ธุรกิจทวงถามหนี้” หมายความว่า การรับจ้างทวงถามหนี้ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมเป็นปกติธุระ แต่ไม่รวมถึงการทวงถามหนี้ของทนายความซึ่งกระทําแทนลูกความของตน

- ผู้ที่จะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ จะต้องขึ้นทะเบียนต่อนายทะเบียน (มาตรา 5) ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 39)

- ห้ามทวงถามหนี้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ เว้นแต่บุคคลที่ลูกหนี้ได้ระบุไว้ (มาตรา 8) ฝ่าฝืน จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 39)

- กำหนดข้อปฏิบัติในการทวงถามหนี้ (มาตรา 9) ทวงถามหนี้ได้เฉพาะสถานที่ที่ลูกหนี้หรือผู้ที่ลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้แจ้งให้เป็นสถานที่ติดต่อ เว้นแต่ติดต่อไม่ได้ ให้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของบุคคลดังกล่าวได้, โดยติดต่อได้ในเวลา 08.00-20.00 น. ในวันจันทร์ถึงศุกร์ และวันหยุดราชการสามารถติดต่อตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ตามจำนวนครั้งที่เหมาะสม

- ห้ามทวงถามหนี้โดยการใช้ความรุนแรง หรือใช้วิธีที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 11)

(1) การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทําอื่นใดที่ทําให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น

(2) การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่นหรือผู้อื่น

(3) การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา 8 วรรคสอง

(4) การติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวบังคับจํานองด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งเจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

(5) การใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายในการติดต่อลูกหนี้ที่ทําให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหน

(6) การทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกศกําหนด

ความใน (5) มิให้นํามาใช้บังคับกับการทวงถามหนี้เป็นหนังสือเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล

ฝ่าฝืน มาตรา 11 (1) จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 41)
ฝ่าฝืนมาตรา 11 (2)-(6) จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 39)

- ห้ามทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จ (มาตรา 12) ได้แก่

(1) การแสดงหรือการใช้ข้อความที่ทำให้เชื่อว่าการทวงถามหนี้เป็นการกระทำโดยทนายความ สำนักงานทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย

(2) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าการทวงหนี้เป็นการกระทำโดยทนายความ สำนักงานทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย

(3) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี หรือจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน

(4) การติดต่อหรือการแสดงตนให้เชื่อว่าผู้ทวงถามหนี้ดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิตหรือรับจ้างบริษัทข้อมูลเครดิต

ฝ่าฝืน มาตรา 12 (1) จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 41)
ฝ่าฝืนมาตรา 12 (2)-(4) จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 40)

- ห้ามทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม (มาตรา 13) ได้แก่

(1) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ เกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

(2) การเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้

ฝ่าฝืน มาตรา 13 (2) จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 39)

พระราชบัญญัตินี้ ลูกหนี้ สบายใจขึ้น แต่ทนายความ หนาวๆ ร้อนๆ แน่นอน

อ้างอิงจาก https://www.dlo.co.th/node/808




Create Date : 29 มิถุนายน 2558
Last Update : 29 มิถุนายน 2558 21:52:19 น. 0 comments
Counter : 881 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

onizugolf
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




[Add onizugolf's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com