ว่าด้วย อากรแสตมป์

หลายคนอาจเคยเข้าใจผิดว่า “อากรแสตมป์” กับ “แสตมป์” เหมือนกัน

ความจริงแล้ว เป็นคนละอย่าง ใช้แทนกันไม่ได้นะครับ

"อากรแสตมป์" เป็นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง ซึ่งมีการจัดเก็บจากการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์

"แสตมป์" หรือ "ตราไปรษณียากร" เป็นหลักฐานการชำระค่าบริการไปรษณีย์
ที่เกี่ยวกับกฎหมายนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ “อากรแสตมป์” ไม่ใช่ “แสตมป์” นะครับ

ตามประมวลรัษฎากร ได้กำหนดรายละเอียดและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ อากรแสตมป์ไว้ใน หมวด 6 ว่าด้วย อากรแสตมป์ มาตรา 103 ถึง 129 และบัญชีอากรแสตมป์

ส่วนการติดอากรแสตมป์นั้น ขึ้นอยู่กับนิติกรรมหรือสัญญาที่ไปทำว่ากฎหมายกำหนดให้เสียเท่าไหร่ ซึ่งจะมีระบุไว้โดยละเอียดใน บัญชีอากรแสตมป์ >>>>>>>//www.rd.go.th/publish/6162.0.html

หลักๆ ที่เจอกันบ่อยๆ
- สัญญาเช่าที่ดิน ทุกจำนวน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งค่าเช่า เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
- สัญญาเช่าซื้อทรัพย์ ทุกจำนวน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
- สัญญาจ้างทำของ ทุกจำนวน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนด เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
- สัญญากู้ยืมเงิน ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท เสียอากรแสตมป์ 1 บาท (ค่าอากรแสตมป์ทั้งสิ้น ไม่เกิน 10,000 บาท)
- หนังสือมอบอำนาจ มอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว ติดอากรแสตมป์ 10 บาท แต่ถ้ามอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าหนึ่งครั้ง ติดอากรแสตมป์ 30 บาท (ยกเว้น ใบแต่งทนายความ, ใบมอบอำนาจที่ทนายความให้แก่เสมียนทนายความเพื่อไปดำเนินคดีในศาล)

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร

“มาตรา 118 ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114”

- กรณีที่จะต้องติดอากรแสตมป์ ใช้เฉพาะกรณีเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งเท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 42/2545,
-การปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ไม่ใช้กับคดีอาญา (คำพิพากษาฎีกาที่ 27/2546)
- ขีดฆ่าไม่ต้องลงวัน เดือน ปี (คำพิพากษาฎีกาที่ 1178/2519 (ประชุมใหญ่))
- ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าในขณะทำสัญญา สามารถปิดและขีดฆ่าภายหลังทำสัญญาได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 5688/2545)
- ต้องปิดอากรแสตมป์ก่อนศาลชั้นต้นตัดสิน (คำพิพากษาฎีกาที่ 3775/2546)
- กรณีเอกสารเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้เงินไม่มีลักษณะเป็นตราสาร ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 41/2541, คำพิพากษาฎีกาที่ 2547/2544)
- การนำสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับตาม ปวิพ. มาตรา 93 (2) ไม่อยู่ในบังคับต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร (คำพิพากษาฎีกาที่ 750/2541)

อากรแสตมป์ หาซื้อได้ที่ไหนบ้าง
1. สำนักงานสรรพากร ท้องที่ต่างๆ
2. หรือหน่วยงานที่ใช้ต้องใช้ อากรแสตมป์อาจมีไว้บริการเพื่อความสะดวก
3. ร้านเครื่องเขียน (บางแห่ง)

ปล. ที่ทำการไปรษณีย์ ส่วนใหญ่ที่ข้าพเจ้าไป ไม่เคยเห็นว่ามีนะครับ




Create Date : 29 มิถุนายน 2558
Last Update : 29 มิถุนายน 2558 21:51:25 น. 0 comments
Counter : 16178 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

onizugolf
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




[Add onizugolf's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com