ยินดีต้อนรับสู่ club.bloggang.com
...magazine online โดยหนุ่มสาวชาว =Neo=
ทานอาหารนอกบ้านอันตราย!!

ที่มา:นสพ.ผู้จัดการ
แฉ!! “ร้านก๋วยเตี๋ยว” ไม่ผ่านเกณฑ์ เส้น-ผัก-เครื่องปรุง พบสารปนเปื้อนอันตราย
วันนี้ (11 ส.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายวิชาญ มีนชัยนันท์รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าปัจจุบันมีร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศจำนวน 166,760 แห่งเป็นร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายก๋วยเตี๋ยวจำนวน 75,000 แห่งมีตั้งแต่ระดับรถเข็นข้างถนนไปจนถึงระดับห้างสรรพสินค้า และแฟรนไชส์ทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ซึ่งบางร้านถูกลักษณะได้มาตรฐานแต่บางแห่งก็ยังไม่ได้มาตรฐาน โดยมักพบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายในเส้นก๋วยเตี๋ยว โดยเฉพาะพบสารกันเสียประมาณร้อยละ 22ส่วนผักที่ใส่เป็นส่วนผสมมีสารเคมีปนเปื้อนร้อยละ 4-11ขณะที่เครื่องปรุงพบว่ามี การปนเปื้อนใช้น้ำส้มสายชูไม่ได้มาตรฐานร้อยละ26 และตรวจพบ อะฟลาทอกซินในพริกป่น และถั่วลิสง ร้อยละ 19

“การ ตรวจมาตรฐานจะประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยจะให้ เริ่มสุ่มตรวจในเขต กทม.ก่อนที่จะขยายวงไปปริมณฑล และจังหวัดต่างๆโดยอาศัยกำลังจากอาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ส่วนที่เป็นโรงงาน จะต้องมีการพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพีเบื้องต้นจะขอความร่วมมือก่อน ที่จะใช้มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่หากพบว่ายังไม่ได้มาตรฐานคงต้องมีการสั่ง ให้หยุดการผลิตต่อไป”นายวิชาญ กล่าว

นายวิชาญ กล่าวต่อว่า นอกจากอาหารที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบยังมีเรื่องของภาชนะและอุปกรณ์ เช่น หม้อก๋วยเตี๋ยวต้องได้มาตรฐานมีคุณภาพ ชาม และตะเกียบทำด้วยวัสดุที่ไม่ก่อพิษไม่ตกแต่งสี เช่นชามที่ทำจากเมลามีนจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปีหากสารเคลือบหลุดลอกก็จะทำให้พลาสติกไม่สามารถทนความร้อนได้และทำให้มีสาร ปนเปื้อนได้ ด้านสุขาภิบาลต้องถูกลักษณะสถานที่ปรุงจำหน่ายอาหารต้องมีความสะอาด สูงกว่าพื้น 60 เซ็นติเมตรอาหารปรุงสุกมีการปกปิด หรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรคกำจัดเศษอาหารทุกวัน ส่วนผู้ประกอบอาหารต้องแต่งกายสะอาด ตัดเล็บสั้นไม่ทาเล็บ ผูกผ้ากันเปื้อน และผ่านการอบรมด้านสุขาภิบาล

“สธ. กำลังจะดำเนินโครงการก๋วยเตี๋ยวอนามัยส่งเสริมคนไทยสุขภาพดีในช่วงปลายเดือน สิงหาคมนี้โดยจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและผู้ประ กอบการแฟรนไชส์โดยเบื้องต้นกรมอนามัยดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบ การร้านก๋วยเตี๋ยวที่เข้าร่วมโครงการ จากนั้น กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะทำการประเมินผลร่วมกันโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของสถานที่จำหน่ายอาหารประเภท ก๋วยเตี๋ยวโดยร้านที่ได้มาตรฐานจะได้รับป้ายสัญลักษณ์ก๋วยเตี๋ยวอนามัยเพื่อ สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคด้วย” นายวิชาญ กล่าว
=====================================================

ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ประจำวันที่ 25 สิงหาคม 2551
พบสารปรอทในปลาหิมะจากอุรุกวัย เกินมาตรฐานถึง 1 เท่า พร้อมขึ้นบัญชีดำเป็นอาหารกักกัน เตือนปลาลอตเดียวกันกระจายสู่ตลาดแล้ว หวั่นลูกค้ารับสารปรอท ชี้อันตรายถึงสมองฝ่อ แขนขาไม่มีแรงคล้ายคนพิการ จี้รัฐควบคุมอาหารทะเลนำเข้า

แม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะมีการกล่าวเตือนสารพิษที่ผสมในอาหารชนิดต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา อย.ได้สั่งเปรียบเทียบปรับบริษัทนำเข้าปลาหิมะ อาหารทะเลนำเข้าราคาแพง หลังตรวจพบสารปรอทในปริมาณสูงเกินกว่ามาตรฐาน 1 เท่า และขึ้นบัญชีดำเป็นอาหารกักกัน แต่ปลาหิมะที่เหลือในตู้คอนเทนเนอร์เดียวกันไม่ทราบว่า ได้กระจายไปยังร้านอาหารหรือผู้บริโภคอย่างไรบ้าง

นายเสน่ห์ ดิษฐอ่วม เจ้าหน้าที่ด่านอาหารและยาการรถไฟลาดกระบัง ให้ข้อมูลว่า เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้สุ่มตรวจอาหารทะเลแช่แข็งนำเข้าของบริษัทนำเข้า-ส่งออกแห่ง หนึ่ง ซึ่งนำเข้าปลาหิมะจากประเทศอุรุกวัย และที่ผ่านมายังไม่เคยมีรายงานการตรวจปลาหิมะนำเข้าจากประเทศนี้มาก่อน โดยสุ่มหยิบปลาหิมะแช่แข็ง 1 ตัว ส่งไปให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจว่า มีสารตกค้างอันตรายหรือสารโลหะหนักหรือไม่



"ปกติการสุ่มตรวจ 1 ตัวจากทั้งหมดเป็นการทำตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อยู่แล้ว แต่จำไม่ได้ว่าในตู้คอนเทนเนอร์นั้นมีปลาหิมะอยู่จำนวนเท่าไร เพราะแต่ละวันต้องสุ่มตรวจอาหารแช่แข็งจำนวนมาก จำได้เพียงว่าไม่เคยตรวจปลาหิมะแช่แข็งจากอุรุกวัยมาก่อน เลยส่งตัวอย่างไปให้ห้องแล็บกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจหาสารอันตรายทุกชนิด เช่น สารปรอท ตะกั่ว ฟอร์มาลิน ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ พอรู้ว่ามีสารปรอทถึง 1.06 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าสูงมากเพราะมาตรฐานกำหนดให้ปนเปื้อนสารปรอทได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จึงส่งเรื่องไปที่ฝ่ายนิติกร เพื่อให้แจ้งข้อหาไปที่บริษัทนำเข้า แต่เราก็ไม่รู้ว่าปลาหิมะที่ไม่ได้สุ่มตรวจนั้นกระจายส่งไปขายที่ไหนแล้ว บ้าง" นายเสน่ห์กล่าว

เจ้าหน้าที่ด่าน อย.ลาดกระบัง อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้จะไม่สามารถติดตามปลาหิมะที่ปนเปื้อนสารปรอทชุดที่แล้วได้ แต่ในอนาคตจะขึ้นบัญชีดำของระบบกักกัน หมายความว่าตามกฎระเบียบ อย.หากตรวจพบสารปรอทเกินมาตรฐาน 1 ครั้งในอาหารประเภทใดแล้วก็ตาม อาหารประเภทนั้นจะถูกขึ้นบัญชีดำ หากนำเข้าครั้งต่อไปต้องถูกสุ่มตรวจสอบทุกตู้จนปลอดภัยครบ 3 ครั้ง จึงจะหลุดออกจากบัญชีรายชื่อในระบบกักกัน เช่นเดียวกับปลาหิมะจากอุรุกวัย หากมีการขออนุญาตนำเข้าก็ต้องสุ่มตรวจก่อนหากปลอดภัยครบ 3 ครั้ง จึงจะออกจากระบบกักกัน แต่ช่วงนี้ยังไม่พบการนำเข้าปลาชนิดนี้จากอุรุกวัยแต่อย่างใด

ด้านเจ้าหน้าที่กลุ่มกฎหมายและยา อย.กล่าวว่า ขณะนี้ อย.ได้สั่งปรับบริษัทนำเข้าปลาหิมะจากอุรุกวัยแล้ว ถือเป็นกรณีแรกที่ตรวจพบสารปรอทจากปลาหิมะแช่แข็ง จึงสั่งปรับผู้ดำเนินกิจการ 5,000 บาท และสั่งปรับบริษัทอีก 5,000 บาท รวมเป็น 1 หมื่นบาท จึงอยากเตือนให้ผู้ที่นิยมบริโภคปลาชนิดนี้ระวังสารปรอทตกค้างด้วย เพราะเป็นสารโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย นอกจากปลาหิมะแล้วยังตรวจพบสารปรอทในเห็ดหอมอีกด้วย

ขณะที่พนักงานบริษัทนำเข้า-ส่งออกเจ้าของปลาหิมะสารปรอทยอมรับว่า มีการนำเข้าปลาหิมะจากอุรุกวัยจริง ซึ่งบริษัทเองก็ไม่รู้ว่าเหตุใดถึงมีสารปรอทเจือปน เพราะที่ผ่านมาไม่เคยถูกสุ่มตรวจสอบมาก่อน พร้อมกันนี้พนักงานคนเดิมอ้างว่าปลาหิมะชุดนั้นได้ถูกทำลายทิ้งไปหมดแล้ว

นพ.ณรงค์ สายวงศ์ ผู้อำนวยการกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงอันตรายจากการกินอาหารปนเปื้อนสารปรอทว่า จะมีการสะสมในร่างกายโดยเฉพาะสารปรอทที่เป็นโลหะหนัก จะมีอันตรายต่อสมองและอวัยวะต่างๆ สำหรับปลาหิมะปนเปื้อนสารปรอทหากนำมาบริโภคเป็นปลาดิบก็จะยิ่งอันตราย เพราะร่างกายได้รับสารตะกั่วโดยตรง หากไม่แน่ใจว่าปลานำเข้าชนิดใดปลอดภัยหรือไม่ ให้กินปลาไทยแทน เพราะสารอาหารไม่ต่างกันมาก มีทั้งโปรตีนและโอเมก้า 3

เช่นเดียวกับ รศ.ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาติ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปลาหิมะที่มีการปนเปื้อนสารปรอทเกินมาตรฐานถึง 1 เท่า ถือว่ามีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะกับผู้ที่กินบ่อยๆ อย่างต่อเนื่อง เพราะสารปรอทจะเข้าไปสะสมในร่างกาย และส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบปราสาท ทำให้สมองฝ่อ แขนขาอ่อนแรง คล้ายคนพิการ สารปรอทเป็นสารโลหะหนักถ้าปนเปื้อนในอาหารแล้ว ไม่ว่าจะนำอาหารไปปรุงรสหรือผ่านความร้อนก็ไม่สามารถทำให้สารปรอทหายไปได้ ยิ่งไปกว่านั้นตับและไตที่มีหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายก็แทบจะไม่ สามารถขับสารปรอทออกจากร่างกายได้

"ถ้าตรวจพบว่าปลาหิมะนำเข้าจากต่างประเทศมีสารปรอทปนเปื้อนอยู่จริงต้อง รีบออกมาเตือนประชาชน เพราะคนที่กินอาหารที่มีสารปรอทผสม จะไม่รู้ตัวและไม่มีอาการอะไรเลย จนกระทั่งร่างกายสะสมจนถึงระดับหนึ่งสารปรอทค่อยๆ สะสมเป็นก้อนใหญ่จับตัวกับเนื้อเยื่อในระบบประสาท จนส่งผลให้กลายเป็นโรคสมองฝ่อหรือร่างกายพิการ เพราะฉะนั้นการนำเข้าอาหารทะเลแช่แข็งทุกชนิดรัฐบาลต้องเข้มงวด และระมัดระวังตรวจสอบความปลอดภัยจากสารพิษทุกประเภท" นักวิจัยด้านอาหารกล่าว

โรคมินามาตะ (MINAMATA) เป็นโรคที่เกิดจากพิษสารปรอทที่สะสมในร่างกาย ทำอันตรายต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ถ้าสะสมไว้ในปริมาณมากก็จะทำให้ตายได้ พบครั้งแรกที่เมืองมินามาตะ ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียที่มีสารปรอทเจือปนลงในอ่าวมินามาตะ สารปรอทจึงเข้าไปสะสมอยู่ในปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นนำปลาและสัตว์ทะเลมารับประทาน จนประชาชนบริเวณอ่าวมินามาตะกว่า 2,000 คนมีอาการปวดท้อง ท้องร่วง ระบบกล้ามเนื้อถูกทำลาย ประสาทตาและหูเสื่อม โดยตรวจพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้รายแรกเมื่อปี 2499 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมินามาตะแล้วกว่า 2,000 คน

สำหรับปลาหิมะถูกแปลมาจากภาษาจีนกวางตุ้ง เรียกว่าปลาซิดหยี โดย "ซิด" แปลว่า หิมะ ส่วน "หยี" แปลว่า ปลา ขณะที่ต่างชาติเรียกปลาชนิดนี้ว่า ซาเบิลฟิช (Sable fish) แต่ก่อนจะมีเฉพาะตามร้านอาหารญี่ปุ่นในโรงแรมห้าดาว แต่ประมาณ 10 ปีให้หลังภัตตาคารจีนเริ่มนำมานึ่งซีอิ๊วปรุงรส โดยเนื้อปลาที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศยังคงใสเหมือนเดิม และมีการอ้างว่าให้โปรตีนสูงแต่ไขมันต่ำ ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้น ปัจจุบันร้านอาหารทั่วไปเริ่มนำปลาหิมะมาดัดแปลงเป็นอาหารหลากหลายชนิดขึ้น พร้อมกับราคาที่ลดลงเหลือเพียงจานละ 300-500 บาท เช่น ปลาหิมะทรงเครื่อง ปลาหิมะน้ำแดง ปลาหิมะราดซอสเสฉวน ปลาหิมะผัดเต้าซี่ ฯลฯ

ผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารจีนภัตตาคารซีฟู้ดชื่อดังแห่งหนึ่ง บอกว่า ปลาหิมะที่นิยมขายในร้านอาหารทั่วไปจะสั่งนำเข้ามาจากหลายประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ฯลฯ โดยราคาจะแตกต่างกัน แต่ปลาหิมะจากสวิตเซอร์แลนด์จะมีราคาแพงที่สุด ต้องสั่งนำเข้ามาขายเป็นตัว เมื่อแล่เนื้อปลาออกมาแล้วจะขายราคาจานเล็ก 2 ชิ้น 800 บาท ส่วนจานใหญ่ 3-4 ชิ้น 1,600 บาท ลูกค้าส่วนใหญ่มักนิยมสั่งปลาหิมะต้มซีอิ๊ว เพราะจะได้รสชาติมันๆ ของเนื้อปลา
=====================================================

จาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
เตือนระวัง "หน่อไม้ปี๊บ" ปนเปื้อนจุลินทรีย์อาจถึงตาย

สสจ.ลำปาง เตือนระวังเชื้อ "คลอสตริเดียม โบทูลินัม" ปนเปื้อนในหน่อไม้ปี๊บ ชี้ออกฤทธิ์ทำลายกล้ามเนื้อ ระบบทางเดินหายใจ ถึงเสียชีวิต แนะต้มก่อนรับประทาน

นพ.ชิโนรส ลี้สวัสดิ์ รักษาการนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า ในช่วงหน้าร้อนเป็นช่วงที่เชื้อจุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้เกิดโรคระบาดเกี่ยวทางเดินอาหารได้ง่าย

จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังการรับประทานอาหารให้มากขึ้น โดยเฉพาะการรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บ จะต้องระมัดระวังการปนเปื้อนของเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม

เพราะเชื้อดังกล่าวจะทำให้เกิดอาการหนังตาตก พูดไม่ชัด ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ จนกระทั่งเชื้อดังกล่าวไปทำลายระบบทางเดินหายใจ และเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งในช่วงปี 2549 ที่ผ่านมา พบประชาชนป่วยด้วยโรคดังกล่าว

จึงขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการซื้อหน่อไม้อัดปี๊บ ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา และก่อนที่จะนำไปบริโภค ควรต้มในน้ำเดือดประมาณ 15-20 นาที ซึ่งเชื้อดังกล่าวก็จะสามารถตายในความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงและนาน
=====================================================

สคบ.ตรวจพบน้ำดื่มตู้สแตนเลสปนเปื้อนสารตะกั่ว
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 11:34:00

สคบ.เผยน้ำดื่มจากเครื่องทำน้ำเย็นหลายจังหวัดปนเปื้อนสารตะกั่วเกินมาตรฐาน ส่งผลทำลายระบบประสาท เหตุจากผู้ผลิตเครื่องหวังลดต้นทุนใช้วัสดุ-กระบวนการผลิตต่ำมาตรฐาน

ปัจจุบันการบริโภคน้ำจากเครื่องทำน้ำเย็นเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะสถานที่ราชการ โรงเรียน ฯลฯ จากการสำรวจของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตรัง สงขลา ภูเก็ต และจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าเครื่องทำน้ำเย็นมีการปนเปื้อนของสารตะกั่วเกินมาตรฐานความปลอดภัย

โดยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 และ 125
กำหนดให้มีสารตะกั่วปนเปื้อนในน้ำดื่มไม่เกิน 0.015 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำ 1 ลิตรและมาตรฐานของ US EPA กำหนดให้มีสารตะกั่วปนเปื้อนได้ไม่เกิน 0.015 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำ 1 ลิตร

แต่ปริมาณที่ตรวจพบมีการปนเปื้อนของสารตะกั่วเกินมาตรฐานอยู่ที่
0.08-0.20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ซึ่งจุดที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารตะกั่วเกินมาตรฐานเกิดจากภายในเครื่อง ทำน้ำเย็นมีการบัดกรีบริเวณมุมขอบภายในของเครื่องทำน้ำเย็นด้วยตะกั่ว การเชื่อมถังน้ำดื่ม การขึ้นรูปเครื่องทำน้ำเย็นส่วนที่เก็บน้ำ การเชื่อมลูกลอยกับก้านส่วนที่สัมผัสกับน้ำดื่ม การบัดกรีท่อจ่ายน้ำดื่ม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเครื่องทำน้ำเย็นที่ได้มาตรฐานจะต้องใช้วัสดุสแตนเลสอย่าง หนา จะต้องเชื่อมด้วยวัสดุเคลือบที่มีคุณภาพสูง (Argon at High Voltage) ในการเคลือบภายใน แต่ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มักใช้สารตะกั่วในเครื่องทำน้ำเย็นเพราะทำให้ต้น ทุนถูก

ซึ่งพิษร้ายของสารตะกั่วจะทำลายระบบประสาทส่วนปลาย เกิดอาการเป็นอัมพาตที่นิ้วเท้าและมือ ทำลายเซลล์สมอง ทำให้อารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ฉุนเฉียว ฯลฯ

จากปัญหาดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
ได้รับมอบหมายจากการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นผู้ประสานงาน ทั้งภาครัฐและผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาสารตะกั่วปนเปื้อนในน้ำดื่มในโรงเรียนตลอดจนการ กำหนดมาตรฐานของสินค้าดังกล่าว
=====================================================

ที่มาจากหนังสือพิมพ์ *** ข่าวสด

อาหารจานเดียว" เชื้อปนเปื้อนเพียบ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เก็บตัวอย่างอาหารพร้อมบริโภค ในช่วงเดือนต.ค. 2548 ถึงก.พ. 2549 จำนวน 1,395 ตัวอย่าง พบว่า ไม่ได้เกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน 232 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 16.6 เป็นตัวเชื้อโรคบ่งชี้ ความไม่สะอาดจำนวน 208 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15 และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ จำนวน 81 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 5.8 ที่มีปัญหามาก คือ อาหารจานเดียว เช่น ข้าวมันไก่ หมูแดง และอาหารประเภทยำ เช่น ลาบหมู ยำรวมมิตร สลัด
สาเหตุการปนเปื้อน มีทั้งเกิดจากวัตถุดิบ และการปนเปื้อนจากอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันระหว่างของดิบและของสุก เช่น มีด เขียง ในส่วนของน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำแข็งหลอดตรวจวิเคราะห์ 530 ตัวอย่าง ตกเกณฑ์มาตรฐาน 66 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 12.4 พบเชื้อที่บ่งชี้ความไม่สะอาด 52 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 9.8 และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 26 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 4.9
สำหรับวิธีการเลือกซื้ออาหารในช่วงหน้าร้อน ให้เลือกซื้ออาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ สะอาด หรือมีการอุ่นร้อนอยู่เสมอ ส่วนอาหารอาหารสำเร็จรูปควรเลือกซื้ออาหาร ที่มีเลขทะเบียนอาหารและยา (อย.) ซึ่งจะบอกวัน เดือน ปี ที่หมดอายุของอาหาร
=====================================================

ที่มาจากหนังสือพิมพ์ มติชน

ตรวจพบ "ถ้วย-จาน-ชาม เซรามิค" พบสี "ปนเปื้อนตะกั่ว" เตือน!!เสี่ยงโรค
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม นพ.มรกต กรเกษม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้คนไทยเสี่ยงภัยจากสารอันตรายที่ปนเปื้อนมากับอาหารบริโภคมากขึ้นโดย รู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเฉพาะภาชนะใส่อาหารที่มีสีเคลือบ หรือมีลวดลายในถ้วยชามกระเบื้องเคลือบดินเผา หรือเซรามิคกต่างๆ ที่มีวางขายทั่วไปตามตลาดสด,ตลาดนัด

"ชาวบ้านมัก นิยมเลือกส่วนที่มีลวดลายสวยงาม แต่ไม่รู้ถึงอันตรายที่แอบแฝงอยู่ในสีที่ใช้เคลือบลวดลาย เนื่องจากสีเหล่านี้จะมีสารตะกั่วเป็นส่วนผสม เมื่อถูกความร้อนจะสลายตัวออกมาปนเปื้อนกับอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีสภาพเป็นกรด การปนเปื้อนสารตะกั่วไม่สามารถมองเห็นได้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเกิดการสะสมในร่างกายโดยไม่รู้ตัว" นพ.มรกตกล่าว และว่า จากการศึกษาพบว่า สารตะกั่วในภาชนะจะปนเปื้อนมากับอาหารถึงร้อยละ 95 และหากเข้าสู่ร่างกายจะมีฤทธิ์ทำลายระบบประสาทและสมอง ทำให้ความจำเสื่อม ตัวสั่น ทำลายไต ทำลายเม็ดเลือดแดง หากเป็นในเด็กเล็กแม้ได้รับเพียงปริมาณน้อยก็จะมีผลให้เติบโตช้า ไอคิวต่ำ เพราะสมองถูกตะกั่วทำลาย ประสิทธิภาพการเรียนรู้จะลดลง พิษเหล่านี้จะค่อยๆ สะสมในร่างกายมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาชุดตรวจหาสารตะกั่วที่ปนเปื้อนอยู่ในสีที่เคลือบลวดลายภาชนะเหล่านี้ เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยและเตือนภัยแก่ประชาชนได้อย่างทันท่วงที

นพ. มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาชุดตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารทั้งหมด 22 ชนิด ซึ่งรวมทั้งชุดทดสอบสารตะกั่วในถ้วย ชาม จาน ที่เป็นกระเบื้องเคลือบดินเผาด้วยวิธีการตรวจง่ายมาก โดยใช้กระดาษทรายขูดบริเวณลวดลาย เพื่อขัดน้ำยาเคลือบออก จากนั้นใช้ไม้พันสำลีจุ่มน้ำยาที่มีสีเหลืองถูวนไปวนมาบนสีที่เคลือบประมาณ 1 นาที หากสำลีเปลี่ยนเป็นสีชมพูแสดงว่ามีสารตะกั่ว

" จากการตรวจสอบถ้วย จาน ชาม เซรามิคที่วางขายในท้องตลาดทั่วไป โดยเฉพาะตามตลาดนัดหรือวางแบกะดิน จ.นนทบุรี ซึ่งมีราคาถูกประมาณชิ้นละ 10-15 บาท พบว่าภาชนะเซรามิคประเภทจานแบนที่เคลือบลวดลายสีภายใน 14 ตัวอย่าง มีสารตะกั่วทุกตัวอย่าง ส่วนจานแบนสีขาวไม่มีลวดลายด้านใน ตรวจ 8 ตัวอย่าง ไม่พบสารตะกั่วทุกตัวอย่าง และจานเซรามิคที่มีสีแต่ไม่มีลวดลายด้านใน ตรวจ 7 ตัวอย่าง ไม่พบสารตะกั่วเช่นกัน ดังนั้น จึงควรเลือกภาชนะที่ไม่มีลวดลาย แต่หากเป็นถ้วยชามที่มีลวดลายด้านใน ลักษณะรอยลวดลายจะต้องเรียบเป็นเนื้อเดียวกับกระเบื้อง" นพ.มานิตกล่าว และว่า การใช้ถ้วยชามที่มีลวดลายหากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใส่อาหารประเภทที่มี ฤทธิ์เป็นกรด เช่น แกงส้ม เพราะกรดอาจจะทำให้สีละลาย ทั้งนี้ หากสนใจชุดตรวจหาสารตะกั่วสอบถามได้ที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทร.0-2951-1020-1
=====================================================

เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551
สารปนเปื้อนนมผงจีนลามสู่เครื่องดื่มไอศกรีม

กรณี สารเมลามีนปนเปื้อนในนมผงเลี้ยงทารกในจีน จนทำให้มีเด็กเสียชีวิตแล้ว 4 ศพ และป่วยหลายพันคน ลุกลามเข้าสู่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงแล้ว โดยตรวจพบสารปนเปื้อนในไอศกรีมและโยเกิร์ตด้วย ส่วนฮูออกมาเตือนหลายประเทศให้ระวังนมผงจากจีน ขณะที่ ทางการจีนยืนยันว่า นมผงที่ผลิตในจีนมีความปลอดภัย

เมื่อวันพฤหัสบดี เขตปกครองพิเศษฮ่องกงของจีน สั่งเรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์ของบริษัทจีนแห่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความ ปลอดภัยด้านอาหารอยู่ในขณะนี้ หลังจากมีการตรวจกลุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์นม 30 ชนิด ล่าสุด พบผลิตภัณฑ์ 8 ใน 30 ชนิด ซึ่งรวมทั้งเครื่องดื่ม ไอศกรีม และโยเกิร์ต ต่างปนเปื้อนด้วยสารเมลามีน ทั้งนี้ การตรวจโดยสำนักงานความปลอดภัยด้านโภชนาการ เป็นการพิสูจน์ให้เห็นครั้งแรกจากหน่วยงานอิสระว่า ปัญหาอื้อฉาวด้านสุขภาพเรื่องการปนเปื้อนสารเมลามีนในอาหาร ขณะนี้ได้ลุกลามไปในสินค้าอื่น ๆ แล้ว

ขณะเดียวกัน องค์การอนามัยโลก (ฮู) เตือนหลายประเทศให้ระวังอันตรายจากนมผงของจีนที่ปนเปื้อนสารเมลามีน ซึ่งมีการส่งไปขายในต่างประเทศด้วย โดยสำนักงานองค์การอนามัยโลก ประจำกรุงปักกิ่ง เปิดเผยว่า ได้แจ้งไปยัง 167 ประเทศทั่วโลก ให้ระวังอันตรายจากนมผงดังกล่าว เนื่องจากมีการส่งออกไปขายในต่างประเทศ 5 ประเทศ เช่น พม่า และบังกลาเทศ องค์การอนามัยโลกระบุด้วยว่า กำลังร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทางการจีนและเรียกร้องทั้งรัฐบาลและฝ่าย อุตสาหกรรม เปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาเพื่อความโปร่งใส

อย่างไรก็ตาม จีนยืนยันว่า นมผงเลี้ยงทารกส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศมีความปลอดภัย สำนักข่าวซินหัวของทางการจีน รายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมาอ้างคำแถลงของคณะรัฐมนตรีจีนว่า ผลการตรวจสอบของทางการจีนพบว่า ผลิตภัณฑ์นมผงส่วนน้อย หรือ 69 ใน 491 กลุ่มตัวอย่าง ของ 22 ใน 109 บริษัททั่วประเทศที่ถูกตรวจสอบว่า มีสารเมลามีนปนเปื้อนเช่นเดียวกับบริษัท ซานลู่ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ทารกกว่า 1,200 ราย ป่วยเป็นนิ่วในไต หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.18 ของผลผลิตนมผงทั้งสิ้นในประเทศ

สำหรับความคืบหน้าในการจับกุมผู้ต้องสงสัย โฆษกตำรวจในมณฑลเหอเป่ย์ กล่าวว่าจับกุมได้แล้ว 18 คน พร้อมกับยึดของกลางเป็นสารเมลามีนน้ำหนัก 222 กิโลกรัม รวม ทั้งสารเคมีต้องสงสัยชนิดอื่น ๆ อีกหลาย 10 กิโลกรัม

ด้านเว็บไซต์ของรัฐบาล ระบุว่า มีเด็กเสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ศพ จากการบริโภคนมผง ปนเปื้อน ในเขตซินเจียง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น เป็น 4 ศพแล้ว ขณะที่มีเด็กล้มป่วยทั้งสิ้น 6,200 คน.
=====================================================

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 สิงหาคม 2551
กรมวิทย์เต้น สั่งสุ่มตรวจเส้นก๋วยเตี๋ยวปนเปื้อนสารพิษ

กรม วิทย์ สั่งเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจเส้นก๋วยเตี๋ยวในกรุงเทพฯ ปริมณฑล 100 ตัวอย่าง วิเคราะห์หาสารอันตรายเพิ่มตามผลสำรวจของ สกว.คาดทราบผลสัปดาห์หน้า ด้าน อย.ชี้ข้อมูลเส้นก๋วยเตี๋ยวของ สกว.เก่า แล้ว ปัจจุบันสารปนเปื้อนลดลง ระบุ มีโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวได้จีเอ็มพีแล้ว 3 แห่ง ตั้งเป้าปี 2551 เพิ่มเป็น 13 แห่ง

จาก กรณีนักวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ออกมาเปิดเผยถึงสำรวจพบเส้นก๋วยเตี๋ยวมีสารปนเปื้อนหลายชนิดที่อันตรายต่อ สุขภาพ ทั้งสารโพลา เกิดจากน้ำมันทอดซ้ำ สารอะฟลาท็อกซิน จากน้ำมันถั่วที่ใช้เคลือบเส้นก๋วยเตี๋ยวไม่ให้ติดเครื่องจักร รวมทั้งสารกันบูด สารส้ม อะลูมิเนียม นั้น

นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รอง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรมวิทย์ จะประสานกับ สกว.เพื่อขอข้อมูลการวิจัยเพื่อนำมาปรับปรุงระบบการตรวจวิเคราะห์เส้น ก๋วยเตี๋ยวว่าจะมีสารใดที่เป็นอันตรายบ้าง เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการตรวจวิเคราะห์ให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยในวันนี้ (29 ส.ค.)ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ออกสุ่มตรวจเส้นก๋วยเตี๋ยวตามตลาดสด ร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 100 ตัวอย่าง ซึ่งจะต้องเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มาจากโรงงานผลิตคนละแห่ง ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวประมาณ 300 แห่งทั่วประเทศ เพื่อตรวจวิเคราะห์ว่ามีสารปนเปื้อนใดบ้าง

“การ ตรวจวิเคราะห์ครั้งนี้ จะวิเคราะห์หาสารตามที่ผลการวิจัยของสกว.ตรวจพบ เช่น ในกระบวนการผลิตใช้สารโพลา สารอะฟลาท็อกซิน น้ำมันพืช ในปริมาณเท่าใด และน้ำมันที่ติดอยู่กับเส้นเป็นน้ำมันชนิดใด ระหว่างน้ำมันพืช น้ำมันถั่ว หรือน้ำมันเครื่องจักรที่อาจจะติดมาระหว่างกระบวนการผลิต” นพ.นิพนธ์ กล่าว

นพ. นิพนธ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ คาดว่า จากการสำรวจครั้งนี้จะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่กรมวิทย์ฯ ได้ตรวจสอบมา และคาดว่าจะทราบผลภายในสัปดาห์หน้า พร้อมทั้งจะมีการขยายผลโดยสุ่มตรวจเส้นก๋วยเตี๋ยวทั่วประเทศต่อไปด้วย ที่สำคัญ จะมีการนำผลการตรวจไปปรับปรุงกฎหมายการควบคุมการปริมาณและส่วนผสมของสารต้อง ห้ามในกระบวนการผลิตอาหารด้วย

“ที่ผ่านมา กรมวิทย์ไม่สามารถตรวจสอบกระบวนการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวในโรงงานได้ เนื่องจากไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของกรมวิทย์ จึงทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการเติมสารปนเปื้อนอะไรลงไปในกระบวนการ ผลิตได้บ้าง ทางกรมวิทย์ใช้วิธีให้คำแนะนำและรณรงค์การใส่สารในปริมาณที่กฎหมายกำหนด โดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาหารสากล (Codex) แทน” นพ.นิพนธ์ กล่าว

รอง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา กรมวิทย์ได้สุ่มตรวจเฉพาะเส้นก๋วยเตี๋ยวที่วางจำหน่วยตามร้านค้าทั่วประเทศ เพื่อตรวจหาสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก ว่ามีค่าเกินมาตรฐานหรือไม่ เนื่องจากผู้ผลิตมักใส่สารชนิดนี้จำนวนมากเพื่อยืดอายุเส้นก๋วยเตี๋ยวให้นาน ขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ประกอบการใส่สารกันบูดเกินกว่าค่ามาตรฐาน คือ ไม่ 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งผู้บริโภครับประทานก๋วยเตี๋ยว 1 ชาม จะไม่ได้รับอันตรายทันที แต่จะต้องรับประทานเส้นก๋วยเตี๋ยวในครั้งเดียวมากถึง 10 กิโลกรัมเท่านั้น จึงจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะเดียวกัน หากได้รับสารดังกล่าวในปริมาณเล็กน้อยแต่ติดต่อกันเป็นเวลานานก็เป็นอันตราย ต่อสุขภาพได้เช่นกัน

ด้าน ภก.มานิตย์ อรุณากูร รอง เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการสำรวจร้านก๋วยเตี๋ยวครั้งล่าสุด ช่วงกลางปี 2551 พบว่า มีร้านก๋วยเตี๋ยวกว่า 75,000 แห่งทั่วประเทศ ส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบและเครื่องปรุงที่เสี่ยงปนเปื้อนสารอันตราย อย่างเช่น มีการใช้สารกันเสียชนิดเบนโซอิกเกินมาตรฐาน ร้อยละ 22 ผักต่างๆ ที่ใช้เป็นส่วนผสม อาทิ ถั่วงอก คะน้า และต้นหอม พบมีสารกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนร้อยละ 4-11 มีการใช้น้ำส้มสายชูไม่ได้มาตรฐาน ร้อยละ 26 และพบสารพิษอะฟลาท็อกซินที่เกิดจากเชื้อราในพริกป่น ถั่วปน ร้อยละ 18 ซึ่งทั้งหมดต่างเพิ่มอัตราเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งมากขึ้น

“ส่วน ข้อมูลการวิจัยของ สกว.เป็นข้อมูลเก่าเก็บตัวอย่างมาตั้งแต่ปี 2549-2550 แต่เพิ่งมาเปิดเผยข้อมูลในปี 51 ซึ่งหากมีการสุ่มตรวจขณะนี้จะรู้ว่ามีเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีสารปนเปื้อนเกิน มาตรฐานกำหนดลดลงจากผลการสำรวจของ สกว.อย่างแน่นอน” ภก.มานิตย์ กล่าว

ภก. มานิตย์ กล่าวด้วยว่า ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ทาง อย.ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวอย่างมาก โดยได้จัดโครงการอบรม “การผลิตก๋วยเตี๋ยวให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน” ทั่วประเทศ พร้อมจัดหลักสูตรอบรมโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวขนาดใหญ่ที่ส่งจำหน่ายทั่วประ ทศ มีทั้งสิ้น 13 แห่ง โดยมีหนักวิชาการ นักโภชนาการ ให้ความรู้เรื่องสุขอนามัย เทคนิค และวิธีการผลิตที่ปลอดภัย การคัดเลือกวัตถุดิบที่สะอาด ปลอดภัย และถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อพัฒนาเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานการผลิตที่ดี (จีเอ็มพี) ซึ่งขณะนี้ทำสำเร็จแล้ว 3 แห่ง และตั้งเป้าให้ครบทั้ง 13 แห่ง ภายในปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่อย. จะออกกฎหมายกำหนดให้โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวขนาดใหญ่ที่ส่งสินค้าจำหน่าย ทั่วประเทศจะต้องผ่านจีเอ็มพี จึงจะสามารถจำหน่ายได้ถูกต้อง

ทั้ง นี้ มีข้อมูลจาก อย.แจ้งว่า สารเบนโซอิกสามารถรับประทานได้ไม่เกิน 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัมก็สามารถทานได้ไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครทานก๋วยเตี๋ยวได้เกิน1 กิโลกรัมต่อวัน ปกติทานก๋วยเตี๋ยว 1 มื้อ ใช้ก๋วยเตี๋ยวไม่เกิน100 มิลลิกรัม มีสารกันบูดดังกล่าวประมาณ 100 มิลลิกรัม หากทานก๋วยเตี๋ยว 3 มื้อ ก็มีเพียง 300 มิลลิกรัม ก็ไม่เกินในปริมาณที่กำหนด และไม่เป็นอันตราย แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีหลักเกณฑ์กำหนดว่า หากมีในปริมาณที่เกินกว่าที่กำหนดเท่าใด กี่เท่าจึงไม่ปลอดภัย แต่หากเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีปริมาณสารกันบูดเกินการทาน 3 ชามต่อวัน ก็อยู่ในปริมาณที่ไม่เกินกว่ากำหนด
=====================================================

เขียนโดย ผู้จัดการออนไลน์ Monday, 14 January 2008
อย. พบน้ำแข็งหลอดปนเปื้อนเชื้อโรค ทั้ง อี.โคไล และจุลินทรีย์ซาลโมเนลลา ตัวการอาหารเป็นพิษ ทำให้จู๊ดๆ ระบุเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ถือเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน และเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ แถมพบสถานที่ผลิตยังไม่ผ่านเกณฑ์จีเอ็มพี ที่สำคัญ ยังไม่ได้รับอนุญาตผลิตจาก อย.สั่งระงับการผลิตทันทีจนกว่าจะปรับปรุงแก้ไขให้ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการที่มีผู้บริโภคร้องเรียนมายัง อย.ให้ตรวจสอบน้ำแข็งหลอดไม่มีเครื่องหมาย อย.ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2550 เจ้าหน้าที่ อย.พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตดอนเมือง กทม.จึงได้เข้าตรวจสอบสถานที่ผลิตน้ำแข็ง ชื่อร้านเฮ็งง่วนเส็ง เลขที่ 249-250 หมู่ที่ 8 ซอยข้างโรงภาพยนตร์กรุงสยาม ถ.พหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ โดยสถานที่ดังกล่าวเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น 2 คูหา จำหน่ายอาหารสินค้าอุปโภคบริโภค และจัดแบ่งพื้นที่ชั้นล่างเป็นสถานที่ผลิต แบ่งบรรจุน้ำแข็งหลอด เพื่อจำหน่าย ส่วนชั้น 2 เป็นที่พักอาศัย ลักษณะไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานโดยยังไม่ได้รับเลขประจำสถานที่ผลิตที่ไม่เข้า ข่ายโรงงาน และยังไม่ได้จดทะเบียนแจ้งรายละเอียดอาหารจาก อย.ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบสุขลักษณะของสถานที่ผลิตตามหลักเกณฑ์กรรมวิธีที่ดีในการผลิต หรือจีเอ็มพี พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจีเอ็มพี โดยขณะตรวจ พบน้ำแข็งหลอดเก็บในตู้ทำน้ำแข็งยูนิคเก่า และในห้องเย็น อีกทั้งพบผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ฉลากระบุ “แม็กซ์ยูนิค น้ำแข็งยูนิค ใช้รับประทานได้.....” จึงเก็บตัวอย่างน้ำแข็งหลอดแม็กซ์ ยูนิค ส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อตรวจวิเคราะห์ จากผลการตรวจวิเคราะห์ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปรากฏว่า พบบักเตรีชนิด อี.โคไล และเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ ซาลโมเนลลา ซึ่งตามเกณฑ์มาตรฐานกฎหมายต้องไม่พบเชื้อทั้ง 2 ประเภทนี้ จึงถือเป็นอาหารผิดมาตรฐานและเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค

รองเลขาธิการ กล่าวต่อว่า อี.โคไล เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่พบได้ทั่วไปในทางเดินอาหารของสัตว์เลือดอุ่น และคนซึ่งมีหลายสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคและเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย การปนเปื้อนมักพบทั่วไปในอาหารดิบ หรือปนเปื้อนไปกับอาหารที่ปรุงแล้วด้วยการใช้มือสัมผัส หรือติดไปกับภาชนะบรรจุ หรืออุปกรณ์ หรือน้ำที่ไม่สะอาด เมื่อรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อตัวนี้เข้าไป จะมีอาการท้องเสีย อุจจาระเหลว การพบเชื้อในอาหารนี้แสดงว่าอาหารมีการปนเปื้อนอุจจาระและมีการผลิต ปรุง หรือเก็บรักษาอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ สำหรับซาลโมเนลล่า เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษหากเข้าสู่ร่างกาย 6-36 ชั่วโมง จะทำให้เป็นไข้ ปวดศีรษะ ท้องเดิน อาเจียน ถ้าเป็นเด็กอ่อนหรือผู้สูงอายุ อาจมีอันตรายถึงเสียชีวิตได้

“สำหรับการดำเนินมาตรการตามกฎหมายนั้น กรณียังไม่ได้รับเลขประจำสถานที่ผลิตที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (สบ 1) และยังไม่ได้จดทะเบียนแจ้งรายละเอียดอาหาร (สบ 5) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท กรณีสุขลักษณะของสถานที่ผลิตไม่ผ่านเกณฑ์จีเอ็มพี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และให้งดการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารดังกล่าวตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับเลขสารบบอาหาร จาก อย.พร้อมทั้งแสดงฉลากให้ถูกต้อง กรณีพบ “ อี.โคไล” และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค “ซาลโมเนลลา” ถือเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานนั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ซึ่ง อย.จะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป” นพ.นิพนธ์ กล่าว
=====================================================

การปนเปื้อนของเชื้อซัลโมเนลลาในเนื้อหมูและเนื้อไก่ที่จำหน่ายในตลาดสด เขตเทศบาลนครขอนแก่น

สุภาพร เวทีวุฒาจารย์ และ น้อย ทองสกุลพานิชย์

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอนแก่น

ซัลโมเนลลาเป็นเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วงที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทย มีรายงานการศึกษาพบเชื้อซัลโมเนลลาปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ในปริมาณค่อนข้างมาก เพื่อให้ทราบสถานการณ์การปนเปื้อนดังกล่าวในจังหวัดขอนแก่น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น และเทศบาลนครขอนแก่น จึงได้ร่วมมือกันศึกษาสภาพปัญหาการปนเปื้อนของ เชื้อซัลโมเนลลาในเนื้อหมู และเนื้อไก่ ด้วยการสุ่มเก็บจากทุกแผงจำหน่ายในตลาดสดทั้ง 5 แห่งในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ในช่วงเวลาเดือน กุมภาพันธ์ - ธันวาคม 2544 นำมาตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธี Standard Conventional Method จากนั้น ส่งเชื้อซัลโมเนลลาที่แยกได้ไปจำแนกสายพันธุ์ที่ศูนย์ทดสอบเชื้อซัลโมเนลลา และชิเกลลาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 175 ตัวอย่าง เป็นเนื้อหมู 91 ตัวอย่างและ เนื้อไก่ 84 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนทั้งหมด 168 ตัวอย่าง (96.0%) โดยพบการปนเปื้อนในเนื้อหมู 87 ตัวอย่าง (95.6%) และในเนื้อไก่ 81 ตัวอย่าง (96.4%) และผลการจำแนกซีโรวาร์ในเนื้อหมูพบ 16 ซีโรวาร์ ส่วนมากเป็น S. Anatum (47.1%), รองลงมาได้แก่ S. Rissen (22.3%), S. Panama (14.0%) ส่วนเนื้อไก่จำแนกได้ 27 สายพันธุ์ ซีโรวาร์ที่พบมาก ได้แก่ S. Virchow (25.6%) S. Enteritidis (17.4%) และ S. Panama (7.4%) ตามลำดับ ผลจากการศึกษานี้ จึงเป็นข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องได้เกิดความตื่นตัว เช่น ผู้บริโภคจะได้ไม่รับประทานเนื้อที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ และหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคและองค์กรปกครองท้องถิ่นจะได้ดำเนินการแก้ไขขั้นตอนการผลิตอาหารให้เป็นมาตรฐานต่อไป
=====================================================

โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2550 09:23 น.

พบเชื้อบาซิลลัส ซีเรียส ปนเปื้อน น้ำเฉาก๊วย-ข้าวโพด-ชานมเป็นพิษ
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานีได้ทำการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเครื่องดื่ม ที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิทในพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ.อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิทระหว่างเดือนตุลาคม 2548-เมษายน 2550 จำนวน 119 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนในปริมาณที่เกินเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด โดยพบในปริมาณไม่เกิน 200 โคโลนีต่อ 1 มิลลิลิตร จำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5.88 ได้แก่ น้ำเฉาก๊วย 3 ตัวอย่าง น้ำนมข้าวโพด 2 ตัวอย่าง น้ำชานม 1 ตัวอย่าง และน้ำเผือก 1 ตัวอย่าง ที่ อย.กำหนดเกณฑ์ให้พบการปนเปื้อนได้ไม่เกิน 100 โคโลนีต่อ 1 มิลลิลิตร

นพ.มานิตกล่าวว่า ที่พบการปนเปื้อนอาจมีสาเหตุจากการใช้วัตถุดิบที่ด้อยคุณภาพ การล้างวัตถุดิบที่ไม่สะอาดการให้ความร้อนไม่เพียงพอ การไม่ควบคุมความสะอาดในระหว่างกระบวนการผลิต การทำให้เย็นรวมถึงการบรรจุ และที่สำคัญ คือการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์หลังการผลิตไว้ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เชื้อสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรคำนึงถึงอุณหภูมิที่ใช้เก็บผลิตภัณฑ์ก่อนออก จำหน่ายรวมทั้งระยะเวลาในการขนส่งและสำหรับผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแช่เย็นควร เก็บผลิตภัณฑ์ไว้ในตู้เย็นและเลือกซื้อเครื่องดื่มที่บรรจุในภาชนะที่ปิด สนิทมีเครื่องหมาย อย. ทั้งนี้ เชื้อบาซิลลัส ซีเรียส เป็นบักเตรีแกรมบวก รูปแท่ง สร้างสปอร์ทนต่อความร้อน เป็นเชื้อโรคอาหารเป็นพิษที่สำคัญ พบมากในดิน ฝุ่นละอองน้ำ และอาหารทั่วไป มักพบในอาหารธัญพืช โดยเฉพาะข้าวและแป้งข้าวโพดหากผู้บริโภคได้รับเชื้อเข้าไปจะทำให้เกิดอาการ อาเจียนอย่างรุนแรง เป็นตะคริวที่ท้อง ท้องร่วง ปวดท้อง

หน้า 5
=====================================================

กรีนพีซระบุ สารปนเปื้อนน้ำบาดาลไทยสูงเกินมาตรฐาน
กรุงเทพฯ /รายงานกรีนพีซเผยรายงานล่าสุด ระบุน้ำบาดาลรอบพื้นที่เกษตรกรรมในไทยปนเปื้อนไนเตรทปริมาณสูงเกินค่า มาตรฐาน แจงส่งผลร้ายต่อสุขภาพในระยะยาว ชี้เหตุเกิดจากใช้ปุ๋ยเคมีปริมาณมาก
26 พฤศจิกายน 2550

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ กรีนพีซเปิดเผยรายงานเรื่อง “ไนเตรทกับคุณภาพน้ำใต้ดินในประเทศไทย” โดยนายเรเยส ทิราโด นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยและทดลองของกรีนพีซ มหาวิทยาลัยเอ็กเซ็ทเตอร์ ประเทศอังกฤษ รายงานระบุว่า การใช้ปุ๋ยเพื่อการเกษตรในปริมาณมากมีส่วนทำให้ไนเตรทปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ บาดาล ซึ่งเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคของประชาชน ทั้งนี้กรีนพีซตรวจสอบตัวอย่างน้ำบาดาลที่เก็บจากประเทศฟิลิปปินส์และไทยพบ ว่า 30% ของน้ำบาดาลที่ใช้ดื่มของทั้งสองประเทศมีไนเตรทปนเปื้อนในปริมาณสูง

ส่วนบริเวณที่พบมากที่สุดคือพื้นที่เพาะปลูกหน่อไม้ฝรั่ง จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีไนเตรทปนเปื้อนสูงกว่า 3 เท่าของมาตรฐานความปลอดภัยในน้ำดื่มองค์การอนามัยโลก (WHO) และมากกว่า 3 เท่าของมาตรฐานน้ำใต้ดินที่ใช้ดื่มของกรมควบคุมมลพิษ กล่าวคือองค์การอนามัยโลกกำหนดเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยน้ำดื่ม โดยให้มีไนเตรทปนเปื้อนสูงสุดไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/ลิตร แต่ตัวอย่างน้ำที่เก็บจากแหล่งนำใต้ดินใกล้พื้นที่เพาะปลูกหน่อไม้ฝรั่งใน จ.กาญจนบุรี พบว่ามีค่าสูงถึง 152 มิลลิกรัม ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานถึง 3 เท่า

“เราพบไนเตรทปนเปื้อนในแหล่งน้ำบาดาลบริเวณพื้นที่เกษตรกรรมใน จ.กาญจนบุรีและสุพรรณบุรี ซึ่งกรณีนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ปุ๋ยปริมาณ มากกับการเกิดวิกฤตน้ำบาดาล ว่าการปนเปื้อนของไนเตรทในแหล่งน้ำบาดาลมักจะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการใช้ ปุ๋ยในปริมาณมาก สิ่งที่น่าวิตกกังวลมากก็คือทารกและผู้ที่ดื่มน้ำจากพื้นที่ดังกล่าวอาจได้ รับผลกระทบในระยะยาวต่อสุขภาพ เช่น โรคมะเร็งหลายประเภท” นายเรเยส ทิราโด กล่าว

ทั้งนี้ รายงานยังระบุว่า อันตรายที่น่ากลัวที่สุดของการปนเปื้อนไนเตรท คือ โรค blue baby หรือ methemoglobinema ซึ่งจะเกิดกับทารกโดยเฉพาะทารกที่มีอายุต่ำกว่า 4 เดือนที่ดื่มน้ำที่ปนเปื้อนไนเตรท โรค blue baby นี้ สามารถทำให้เกิดอาการผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเนื่องจากขาดออกซิเจน ปวดหัว มึนงง อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หมดสติ กล้ามเนื้อเกร็ง หายใจติดขัด และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้น้ำที่ปนเปื้อนไนเตรทยังสามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน และมะเร็งรังไข่ได้

นอกจากนี้ยังพบว่า แหล่งน้ำบริเวณพื้นที่เพาะปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 6 แห่งใน 11 แห่ง ของ จ.กาญจนบุรี มีปริมาณไนเตรทสูงกว่ามาตรฐานความปลอดภัยในน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก ส่วนที่ จ.สุพรรณบุรีพบว่ามี 2 แห่งที่สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานดังกล่าว

น.ส.ณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า ผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบว่ามลพิษที่พบในแหล่งน้ำไม่ได้มาจากภาค อุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจากภาคเกษตรกรรมด้วย ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรมีมาตรการจัดการกับปัญหามลพิษทางน้ำจากมลพิษภาค เกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพิจารณาออกกฎหมายปกป้องน้ำบาดาล

“เราเชื่อว่าการเกษตรกรรมเพื่อผลิตอหารให้มนุษย์สามารถพัฒนาควบคู่ไปกับ การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำได้ เพราะน้ำสะอาดและปลอดภัยเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ รัฐบาลจึงควรปกป้องแหล่งน้ำอย่างจริงจังโดยออกมาตรการควบคุมปริมาณการใช้ ปุ๋ย หาวิธีจัดการเพื่อลดการสูญเสียของปุ๋ยจากหน้าดิน สนับสนุนการเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เพื่อปกป้องให้แหล่งน้ำสะอาดและปลอดภัยจากสารพิษ” น.ส.ณัฐวิภา กล่าวเสริม

อนึ่ง ก่อนหน้านี้กรีนพีซเปิดเผยการปนเปื้อนของโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว ทองแดง และสังกะสี ในน้ำบาดาลของบ้านหนองเป็ด ซึ่งอยู่บริเวณติดกับนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน ซึ่งพบว่ามีการปนเปื้อนของตะกั่ว ทองแดงและสังกะสีที่แหล่งน้ำประปาบาดาลบริเวณบริเวณดังกล่าวในปริมาณสูงกว่า ค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานน้ำดื่มของไทย โดยพบปริมาณสารตะกั่วและทองแดงสูงกว่ามาตรฐาน 4 เท่า และสังกะสีสูงกว่ามาตรฐานถึง 8 เท่า.
=====================================================



Create Date : 22 กันยายน 2551
Last Update : 22 กันยายน 2551 21:51:57 น. 0 comments
Counter : 1212 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

=Neo=
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add =Neo='s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.