ยินดีต้อนรับสู่ club.bloggang.com
...magazine online โดยหนุ่มสาวชาว =Neo=
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ในมุมมองแพทย์


ส่งโดย: Dr.Suntiparb_Chaiw เมื่อ: 06/05/08 เวลา 14:35:58
เช้าวันนี้ไป ประชุม กอง ประกอบโรคศิลปะเรื่อง การฟ้องร้องร้องแพทย์
ท่านเลขา ของ สนง. คุ้มครอง ผู้บริโภค สรุป ว่า กม,ใหม่คุ้มครอง คนไข้ ว่า สามารถ ไปปยืนหน้าศาล แล้ว ฟ้องร้อง แพทย์ ด้วยปากเปล่าเลย ไม่ต้อง มี พิธีตรีตรอง แบบเก่า ไม่เสีย ค่า ธรรมเนียมศาล ด้วย
สงสัย ต้องไปขายเต้าฮวย ดีกว่า เพราะกฏหมายนี้ มีผล บังคับใช้ได้แล้ว ของ สคบ,
=====================================================

ส่งโดย: cmu06 เมื่อ: 06/06/08 เวลา 10:24:30
เนื่องจากในพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้กำหนดในม.3ว่าผู้บริโภคหมายถึงผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บ ริโภค
จึงไปเปิดหาว่าพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคได้กำหนดว่าอย่างไร

พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค
เป็นกฎหมายด้านสังคมที่กำหนดเพื่อป้องกันผู้บริโภคจากพฤติกรรมที่ฉ้อฉล เกี่ยวพันกับธุรกิจโดยทั่วไป เนื่องจากปัจจุบันนี้ การเสนอขายสินค้าและบริการต่างๆ ต่อประชาชนนับวันมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจการค้าและผู้ที่ประกอบธุรกิจโฆษณา ได้นำวิชาการในทางการตลาดและทางการโฆษณามาใช้ในการส่งเสริมการขายสินค้าและบ ริการ ซึ่งการกระทำดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคไม่อยู่ในฐานะที่ทราบภาวะตลาด และความจริงที่เกี่ยวกับคุณภาพและราคาของสินค้า และบริการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องทันท่วงที นอกจากนั้น ในบางกรณีแม้จะมีกฎหมายให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค โดยการกำหนดคุณภาพและราคาของสินค้าและบริการอยู่แล้วก็ตาม แต่การที่ผู้บริโภคแต่ละรายจะไปฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ประกอบการป หรือผู้ประกอบธุรกิจโฆษณาเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ย่อมจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นการไม่คุ้มค่า และผู้บริโภคจำนวนมากไม่อยู่ในฐานะที่จะสละเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนิ นคดีได้ และในบางกรณีก็ไม่อาจระงับห รือยับยั้งการกระทำที่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภคได้ทันท่วงที

แบ่งออกเป็น 4 หมวด 62 มาตรา ได้แก่

หมวด 1 ว่าด้วยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
1. ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีหน้าที่พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ ดำเนินการ เกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตราย แจ้งข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า และบริการที่อาจก่อความเสียหาย หรือเสื่อมเสียแก่ผู้บริโภค พิจารณาคำวินิจฉัย อุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง วางระเบียบ สอดส่องเจ้าหน้าที่ ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ
2. ให้มีคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
3. ให้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ผู้ประกอบธุรกิจ สนับสนุนการศึกษาวิจัย ให้การศึกษาแก่ ผู้บริโภค เผยแพร่งานทางวิชาการ

หมวด 2 ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
แบ่งเป็น 3 ส่วน
* ส่วนที่ 1 ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา กำหนดห้ามไม่ให้ทำการโฆษณาที่ใช้ข้อความเกินจริง หลวกลวง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ละเมิดสิทธิ และกำหนดให้ผู้ประกอบการที่สงสัยว่าการโฆษณาของตนจะฝ่าฝืนกฎหมาย หรือไม่สามารถขอความเห็นจากคณะกรรมการเฉพาะเรื่องโดยเสียค่าธรรมเนียมได้
* ส่วนที่ 2 การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก กำหนดให้สินค้าที่ผลิตในประเทศ และนำเข้ามาขายเป็นสินค้าควบคุมฉลากที่ต้องมีลักษณะที่ใช้ข้อความที่ไม่ก่อใ ห้เกิดความเข้าใจผิดในสาระของสินค้า ข้อความจำเป็นที่เปิดเผยข้อเท็จจริงที่เป็นสาระตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการว่ าด้วยฉลากกำหนด
ส่วนที่ 2 ทวิ การคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยสัญญา ให้อำนาจคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา มีอำนาจกำหนดประเภทธุรกิจที่ควบคุมการทำสัญญาที่กำหนด ให้ใช้ข้อสัญญาที่จำเป็นที่ไม่ทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ ห้ามใช้สัญญาที่ไม่เป็นธรรม
* ส่วนที่ 3 การคุ้มครองผู้บริโภคโดยประการอื่น กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจให้มีการทดสอบ พิสูจน์สินค้าที่อาจเป็นอันตราย และมีคำสั่งห้ามขายสินค้าที่อาจเป็นอันตรายได้ และกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานอัยการ โดยความเห็นชอบของสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดำเนินคดีทางแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระ ทำละเมิดสิทธิของผู้บริโภค

หมวด 3 ว่าด้วยการอุทธรณ์
กำหนดให้ผู้ได้รับคำสั่งคณะกรรมการเฉพาะเรื่องสามารถอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรร มการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

หมวด 4 ว่าด้วยบทกำหนดโทษ
กำหนดให้มีบทลงโทษทั้งจำและหรือทั้งปรับ โดยมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินหนึ่งปี

ที่มาจาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ //hss.moph.go.th/file_upload/p1574-1.doc
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ //www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/038/32.PDF


และดูจากงานวิจัยของสคบ.ทำ ให้เข้าใจว่า สำหรับบริการทางด้านการรักษาพยาบาล นั้น มีกฎหมายควบคุมอยู่ 2ฉะบับคือ พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 และพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2504 กฎหมายทั้งสองฉบับได้มีบัญญัติความผิดอาญาไว้ หากเรื่องใดมีบัญญัติไว้แล้วในกฎหมาย ว่าด้วยสถานพยาบาล ก็ให้ใช้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย สถานพยาบาล การนำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ทำได้เฉพาะกรณี กฎหมายสถานพยาบาลมิได้กำหนดไว้เท่านั้น (พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 21)

เหมือนกับว่า ความยุ่งยากปัญหาในอาชิพแพทย์ มันมีมากไม่พออย่างนั้นแหละ และแล้ว "ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก"

เท่าที่อ่านดูแล้ว ผมคิดว่า กฎหมายแบบนี้ จะทำให้บรรดาแพทย์เรา ( ที่รู้หรืออ่านรายละเอียดกฎหมายฉบับนี้ ) จะ practise แบบ "defensive medicine" กันมากขึ้น ก็คือเดินตามหลังแบบอเมริกาเลย
ผลก็คือ ค่าใช้จ่ายในทางการแพทย์ จะแพงหนักขึ้นไปอีก ประเทศ สังคมและผุ้บริโภค ก็จะยิ่งแย่

แต่......... จะมาโทษพวกเราฝ่ายเดียวก็คงไม่ได้

( เคยอ่านตำราเศรษฐศาสตร์ ของลูก เขาเอ่ยใว้ว่า กฎอันแรกของทางหลักเศรษฐศาสตร์ ว่า "Everyone is after his or her own interest" นั่นก็คือ "ทุกคนรักษาผลประโยชน์ของตนเองทั้งนั้น" ฉนั้นเวลาคนเข้ามาทำงานใหม่ ถามว่า "แล้วเงินเดือนเขาจะเป็นเท่าไร ก็อย่าไปโกรธหรือโมโหว่า เห็นแก่เงิน เพราะนั่นเป็นหลักธรรมชาติในทางเศรษฐศาสตร์ ) ฉนั้น แพทย์ก็เช่นกัน เราก็ต้องป้องกันตนเอง เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ( กล่าวคือ ไม่ให้ถูกฟ้อง )

อย่างไรก็ดี การรับผิดชอบของฝ่ายเราก็ต้องมีมากขึ้น ไม่ใช่สักแต่จะโทษฝ่ายผู้บริโภคหรือทนายฝ่ายเดียว เช่น ทางกรมการแพทย์ ต่อไปนี้ แทนที่จะส่งแพทย์ใช้ทุนออกไปทำงาน ชนิด จบแล้วไปเลย อาจจะต้องเปลี่ยนเป็น จบแล้ว ต้อง train ก่อน แล้วถึงส่งออก จะได้พอรู้ว่า medicine มันมีอะไร แค่ใหน ( แค่ว่าจบ ปี 6 นั้น แม้แต่กึ๋นก็ยังไม่มีเลย) จะได้รู้ว่า เวลาคนไข้ crash จาก spinal anasthesia นั้น มันหนักแค่ใหน ต้องแก้ หรือ prep คนไข้กันก่อนแค่ใหน ( เพราะเท่าที่ได้ทราบจากหมอดมยาระดับหัวหน้าภาคบอกว่า หากเกิดกับเขาขึ้นมา มันต้อง resuscitate ช่วยกู้กันน่าดูทีเดียว และยิ่งหาก อุปกรณ์ หรือ facility ( สถานให้บริการ ) ที่ไม่พร้อม ผลก็อย่างที่เราเจอกัน ในคดี ที่ร่อนพิบูลย์ และ ที่อุดร )

คำถาม : อยากทราบว่า บ้านเรามีการฟ้องกลับ ในกรณี frivolous lawsuit ( ต้องขอโทษด้วย ไม่ทราบคำศัพย์ไทย ว่าไง คือ แบบ ฟ้องแบบบ้าๆบอๆ คือคดีจะเอาตัง จะแปลว่า "คดีไม่มีมูล" ก็ไม่น่าจะใช่ ) มีหรือเปล่า หากทำได้ ทางแพทย์สภาอาจจะต้องเตรียมทีม สำหรับเล่นงานกรณีอย่างนี้ด้วย ไม่ใช่ว่า เราจะตั้งรับลูกเดียว และอาจจะต้องฟ้อง ทนาย ในกรณีส่งคดีแบบไม่เอาใหน ( กล่าวหาในกรณี malpractise ในวิชาชีพ ทนาย ) คงต้องเล่นเพื่อให้เขาต้องตั้งรับบ้าง คือต้องให้ทางฝ่ายผู้บริโภค รับผิดชอบด้วย ไม่ใช่สักแต่จะฟ้องได้ท่าเดียว

ผมคิดว่า เราเลิกคิดได้แล้วที่ว่า จะให้เราเป็นที่นับถือของสังคมว่า เราเป็นแพทย์ แล้วเขาจะไม่ฟ้อง เราต้องเปลียนใหม่ว่า ทำมาหากินทางแพทย์ ให้ถูกต้องตามวิชาการและดีที่สุด และคงไม่ต้องไปหวังว่า เขาจะมานับถือเรา ( ชนิดไม่ฟ้อง ) คงไม่มีอีกแล้ว แต่...... ขอให้เราให้บริการให้ดีที่สุด และเราก็ได้ค่าตอบแทนมาตามที่ให้ไป จบกัน ที่เหลือต้องคิดว่า เป็นโบนัส ( หากได้ ) มันคงไม่ใช่แบบการแพทย์ สมัย สี่ห้าสิบปีที่แล้ว กันแล้วละ

IMHO ( In My Humble Opinion )
doimaesalong


คณะกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

1. ร.ศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิ
2. นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ เหรัญญิก
3. ร.ศ.ดร.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ กรรมการ
4. ร.ศ.น.พ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ กรรมการ
5. นางสุวรรณา อัศวเรืองชัย กรรมการ
6. น.พ.ประพจน์ เภตรากาศ กรรมการ
7. น.พ.ชูชัย ศุภวงศ์ กรรมการ
8. นายน้ำค้าง มั่นศรีจันทร์ กรรมการ
9.น.พ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ กรรมการ
10. นายชัยรัตน์ แสงอรุณ กรรมการ
11. อาจารย์ยุพดี ศิริสินสุข กรรมการ
12. นายภัทระ คำพิทักษ์ กรรมการ
13. นางบังอร ฤทธิภักดี กรรมการ
14.นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ

Ratio = 4 : 14
=====================================================

ส่งโดย: doctorpond เมื่อ: 06/06/08 เวลา 12:12:16
เห็นด้วยกับอ. CMU06 ครับ จบ 6 ปี และเป็นแพทย์ใช้ทุนนั้น รักษาคนไข้ได้ก็จริง แต่ถามว่าจริงๆแล้วเรารู้อะไรบ้าง โอกาส malpractice สูงมาก การเรียนต่อเฉพาะทางถึงแม้ว่าจะไม่ได้การันตีว่าจะไม่ malpractice และไม่ถูกฟ้อง แต่อย่างน้อยก็ทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นในระดับหนึ่ง อนาคตเราต้องเปลี่ยนทิศทางในการผลิตแพทย์แล้ว ให้เป็นแพทย์เฉพาะทางแบบสุดโต่งเลย ต้องรวบบุคลากรเข้าสู่ศูนย์กลาง เลิกส่งคนออกไปเผชิญชะตากรรมเดี่ยวๆ แล้ว แน่นอนว่าผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจะต้องเดือนร้อน แต่นี่คือวิธีการที่จะต่อสู้กับพรบ. ฉบับนี้
=====================================================

ส่งโดย: หมอหมู เมื่อ: 06/06/08 เวลา 13:02:14
มีข้อมูลมาเพิ่ม ...

" กฎหมายอาญามาตราที่ 64
บัญญัติไว้ว่า บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดใน ทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่า ตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระทำความผิดอาจ จะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดง พยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่า ผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้ เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้"

ถ้าตีความว่า หมอเป็นผู้ให้บริการ ผู้ประกอบการ แล้วผุ้ป่วยเป็นผู้บริโภค ตามพรบ.นี้ มีหวัง เสร็จ แน่ ๆ ... ฟ้องง่ายมาก ๆ แต่ หมอตอ้งไปหาข้อมูลมาเพื่อยืนยันว่า " ไม่จริง "

ยิ่งปัญหาความไม่พึงพอใจยังมีมากแบบนี้ ผมว่า จะยิ่งแย่ไปใหญ่ .. หมอก็คงใช้วิธีป้องกันตนเองไว้ก่อน ... สุดท้ายคนที่เดือดร้อนก็คือ ผู้ป่วย ซึ่งไม่มีทางเลือก

ความเจ็บป่วย ไม่เหมือนกับการซื้อของ ซื้อรถ ซื้อบ้าน .. ซึ่งไม่ซื้อ ก็ได้ ไปหาซื้อเจ้าอื่นก็ได้ ผู้บริโภคสามารถหาข้อมูลได้เอง พิจารณาได้เอง ตามหลักของการตลาด ..

แต่เรื่องความเจ็บป่วยเรื่องทางการแพทย์ มันไม่ใช่แบบนั้น ... ผู้ป่วย ( ผู้บริโภค ) แทบไม่ทราบอะไรเลย .. แพทย์เป็นผุ้ที่มีข้อมุลมากที่สุด เป็นผู้เลือกทางที่คิดว่าดีที่สุด สำหรับผู้ป่วย .. จึงใช้หลักการตลาดทั่ว ๆ ไปไม่ได้ ( ถึงได้มีระเบียบห้ามโฆษณาไงครับ)
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807
=====================================================
ส่งโดย: jangdonkan เมื่อ: 06/07/08 เวลา 00:02:54

สงสัยอนาคต สังคมเราต้องการให้มีการฟ้องไปฟ้องมา ไร้น้ำใจ ไม่ต้องปรานี

ไม่มีการอภัย

เอก็ มัน ๆดีนะ

อย่างนี้ ถ้าหมอตั้งใจดีช่วยคนไข้ แต่ถูกฟ้องร้อง แล้ว หมอใจเสีย เสียใจ อย่างน้ก็สามารถฟ้องร้องกลับเรียกค่าทำชวัญได้หรือไม่

อ้างแต่เรื่องสิทธิ์ แต่ไม่รู้หน้าที่ แล้วสนใจแต่เรียกร้องสิทธ์ ตัวเองโดยที่ก็ไปละเมิดสิทธ์คนอื่น

แพทย์ก้มีสิทธ์ เหมือนกัน ที่จะต้องปฏิเสธการทำงานที่เกินกำลัง ร่างกายที่ตัวเองจะทนไหว

มีสิทธ์ที่จะปกป้องชื่อเสียงตัวเอง จากการถูกใส่ความ

ก็ดีครับทุกคนมีสิทธิ์ ถึงเวลาปรับตัวแล้วครับ อย่าหลงกับภาพมายาเก่าๆ " ที่มีแต่คนไข้น่ารัก ที่พวกเราที่เป็นหมอ ถึงเหนื่อยจนล้า ข้าวไม่ต้องกิน เวลาครอบครัวเอาไว้ก่อน เงินเดือนที่น้อย ก็ ไม่สนใจ สนใจแต่จะพยายาม รักษาคนไข้ของเรา ให้หายเจ็บป่วย รอดพ้นจากความตาย "

แต่ นั่นคืออดีตที่ไม่หวนคืน คนไข้ที่น่ารักเหล่านั้นได้ จากเราไปแล้ว

กลุ่ม คนบางกลุ่ม ได้ชักจูงคนไข้ที่น่ารักของเรา พร้อมกับยื่น มีด ที่เค้า เรียกว่า " สิทธ์ผู้บริโภค " เพื่อไว้จัดการ กับพวกเรา ที่บัดนี้ เค้าเรียก พวกเราว่า "ผู้ให้บริการ "

โอ นี่เรื่องจริงใช่มั๊ยนี่
=====================================================

ส่งโดย: หมอเมืองสยาม เมื่อ: 06/07/08 เวลา 02:52:50
เรื่องนี้อีหรอบเดียวกับฟ้องแพทย์คดีอาญา กล่าวคือสับสนป่นเปคำว่า " รักษาพยาบาล" กับ "อาญากรรม" แล้ว...เลยโบ้ยให้เป็นคดีอาญาโน่น ซึ่งโหลยโท้ยเต็มทน เดี๋ยวนี้หลายประเทศออกกฏห้ามฟ้องแพทย์เป็นคดีอาญาในปัญหา"การรักษา"เรียบแร ้เรไร
งวดนี้ก้อกระแดะหยิบ"การรักษา"ไปปนเปยุ่งๆกับ"บริโภค" ซึ่งผิดถนัด(ตามเคย) การรักษากับบริโภคต่างกันลิบลิ่ว ถ้าจะสาธยายก็คงมีเพียบ ไม่สู้ยากนัก ชะรอยเมื่อพรบ.ตั้งต้นที่คำนิยามก็มั่วตั้วสุดลิ่มทิ่มประตูอย่างงี้เสียแล้ ว มันย่อมเฉโกโฉเกถู่ลู่ถูกังไปทั้งฉบับแหงๆ
ป่วยการที่จะวิเคราะห์!!...
หลักวิธีพิจารณาคดี"การรักษา"นั้นมีเยอะ ข้อหนึ่งที่สำมะคัญยิ่งยวดคือ แพทย์ในฐานะจำเลยควรได้รับการพิจารณาในทางให้ประโยชน์ยิ่งกว่าโจทก์ (ผู้ป่วย) กล่าวคือ กฏหมายจะสันนิษฐานให้เป็นผลร้ายแก่แพทย์ไว้ก่อนไม่ได้ เช่น ลำพังผลข้างเคียง/แทรกซ้อนกับโจทก์(ผู้ป่วย) หรือ การรักษาเหลวเป๋ว กฏหมายจะทึกทักโบ้ยให้แพทย์เป็นคนหัวใจหยาบช้า, เจตนาดุร้ายยิ่งกว่าเสือตั้งแต่เริ่มกระบวนการพิจารณาคดีไม่ได้
ครับ....การอำนวยความยุติธรรมโดยไม่ไตร่ตรองที่มาที่ไปให้ดี จึงไม่ใช่อะไรอื่นเลยนอกจากก่อเคราะห์กรรมให้กับคนดี ซึ่งณ.ที่นี้ก็คือแพทย์เต็มๆครับ..
=====================================================


ส่งโดย: Dr.Tum เมื่อ: 06/07/08 เวลา 21:46:44
เหอะ...ถีบวงการแพทย์เข้าสู่"สงคราม"ชัดๆ..

ก็ดี...ถ้าตูโดน

ก็ฟ้องกลับให้"ตาย"กันไปข้างซะเลย...เป็นแค่"ผู้ให้บริการ"นิ เหอๆๆ

วุ่นกันล่ะทีนี้...

กฎหมาย...ออกโดยมนุษย์...ใช้บังคับกับมนุษย์...

กรณีนี้...ถ้าคิดจะแก้..ที่ตัวบท..คงยากแล้ว..

ต้องไปแก้ที่การนำมาปรับใช้มากกว่า...เพราะตัวบทเขียนไว้หลวมๆ..

ต้องประสานงานกะสคบ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดีๆ..

หากเกิดคำพิพากษาออกมาเป็นบรรทัดฐานแล้ว...จะยิ่งชีช้ำกันมากกว่านี้
=====================================================

เขียนโดย สำนักข่าวไทย
Tuesday, 29 April 2008

กรุงเทพฯ 29 เม.ย.-กฎหมายใหม่ 3 ฉบับเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จะมีผลบังคับใช้ 25 ส.ค.นี้ ให้สิทธิผู้บริโภคกรณีสินค้าไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะการดำเนินคดีอาญาให้ร้องทุกข์ได้แม้ผู้ประกอบการไม่มีหลักฐานสัญญาจ ดทะเบียน และขยายอายุความ 10 ปี

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เปิดงาน "วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย 2551" ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ปัญหาคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ที่การชั่งน้ำหนักระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโ ภค โดยหลักแล้วประเทศกำลังพัฒนา ต้องให้น้ำหนักในการช่วยเหลือผู้บริโภค เพราะมาตรฐานคุณภาพสินค้าของประเทศกำลังพัฒนาด้อยกว่าต่างประเทศ

โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย ต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ในสิทธิของตนเองที่พึงได้รับจากการบริโภคสินค้าและบริการ ปัจจุบันรัฐธรรมนูญ มีการตรากฎหมายว่าด้วยองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งจะต้องเร่งผลักดันการบังคับใช้ เพื่อให้องค์กรที่รวมกันอยู่ในการดูแลผู้บริโภคได้รับการรองรับ และสามารถทำงานได้อย่างอิสระ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นมีการอภิปรายเรื่อง "กฎหมายใหม่ ผู้บริโภคได้สิทธิอะไรเพิ่ม" โดยเป็นการแนะนำให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายใหม่ 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 และ ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

มีนายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า กฎหมายใหม่ โดยเฉพาะ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค มีการแก้ไขวิธีพิจารณาคดี

เพื่อช่วยเหลือให้ผู้บริโภค ซึ่งตกอยู่ในฐานะที่ด้อยกว่าในการต่อสู้กับบริษัทประกอบธุรกิจ โดยกฎหมายใหม่กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบหากสินค้าไม่ปลอดภัย ซึ่งเปลี่ยนวิธีพิจารณาคดี สามารถร้องทุกข์ได้ แม้ไม่มีหลักฐานสัญญาจดทะเบียน นอกจากนี้ ยังแก้ไขอายุความของคดีคุ้มครองผู้บริโภคให้ใช้อายุความ 10 ปี นับจากวันที่รู้ความเสียหายยังสามารถฟ้องได้ และให้เวลาฟ้องร้องภายใน 3 ปี นับจากวันที่รู้ตัวผู้ที่ต้องรับผิดชอบ

นอกจากนี้ การฟ้องร้องจะต้องฟ้องร้องในเขตศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่ เพราะที่ผ่านมาผู้บริโภคถูกฟ้องในเขตศาลอื่น ทำให้แพ้คดีโดยขาดนัด 100 เปอร์เซ็นต์ กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค. 2551 ทั้งนี้ จากข้อมูลของ สคบ.ในรอบ 6 เดือนของปีงบประมาณ 2551 (ต.ค.50-มี.ค.51)
มีผู้ร้องทุกข์ทั้งหมด 2,977 ราย.
=====================================================

ที่มา: //www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1212676326
=====================================================






=====================================================
ส่งโดย: cmu06 เมื่อ: 07/27/08 เวลา 23:10:49
จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
รักษาการสภานายกพิเศษ แพทยสภา
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เรื่อง การขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551
เรียน นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
สิ่งที่ส่งมาด้วย บทความเรื่องการตีความพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

สืบเนื่องจาการประชุมเพื่อปรึกษาหารือเรื่องพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ที่ห้องประชุมกระทรวงสาธารณสุขที่ท่านเป็นประธานในที่ประชุม โดย ผุ้แทนจากฝ่ายศาลได้แสดงความคิดเห็นว่า คดีการบริการทางการแพทย์และโรงพยาบาลควรพิจารณาโดยพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บ ริโภคด้วย ถึงแม้ว่าทางฝ่ายผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ เช่นแพทยสภา แพทยสมาคม สมาคมโรงพยาบาลเอกชน สภาพยาบาล และกลุ่มโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนของกระทรวงสาธารณสุขได้แสดงความวิ ตกกังวลว่า การพิจารณาคดีผู้รับบริการทางการแพทย์โดยยึดถือตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บ ริโภคพ.ศ. 2551 จะก่อให้เกิดคดีฟ้องร้องทางการแพทย์มากขึ้น ประชาชนจะต้องการเรียกร้องมากขึ้นเพราะการฟ้องร้องทำได้ง่าย ส่วนแพทย์ต้องกลายเป็นผู้พิสูจน์ว่าตนเองไม่ได้ทำผิด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความลังเลที่จะตัดสินใจรักษาผู้ป่วยหนัก เพราะมีความเสี่ยงสูงที่ผู้ป่วยจะตายทั้งๆที่แพทย์ได้รักษาอย่างสุดความสามา รถแล้วก็ตามและแพทย์จะถูกฟ้อง อันจะนำไปสู่ความเสียหายแก่ผู้ป่วยหนักที่อาจจะต้องถูกส่งตัวไปที่อื่น(และอ าจไปตายกลางทาง) เพราะแพทย์ไม่กล้าเสี่ยงที่จะรักษาผู้ป่วยเนื่องจากกลัวว่าผู้ป่วยจะตายในมื อ อันจะนำไปสู่ความเสียหายแก่ประชาชนและแพทย์ทั่วไป

จึงเห็นควรจะให้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสภานายกพิเศษของแพทยส ภา ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุม กำกับ และดูแลให้การบริการทางการแพทย์มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยแก่ประชาชนทั่วไป ควรพิจารณาทำคำขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. 2522 และพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคพ.ศ. 2551 เพือให้เกิดความชัดเจนในวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนและบุคลากรผู้ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขได้เข้าใจเจต นารมณ์และวิธีปฏิบัติให้ถูกต้อง

ถ้าพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคพ.ศ. 2551 รวมเอาคดีฟ้องร้องในการรับบริการทางการแพทย์ด้วย ดิฉันเห็นว่า ควรดำเนินการแก้ไขพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนทั่วไปที่จะได้รับการรักษาโดยผู้ประกอบวิชาชีพที ่มีความมั่นใจว่าจะไม่ถูกฟ้องร้องและได้รับการพิจารณาคดีโดยไม่เป็นธรรม ทั้งๆที่มีความตั้งใจดีที่จะช่วยเยียวยาประชาชนผู้ป่วยเจ็บและทุกข์ทรมาน
หวังว่าท่านจะพิจารณาดำเนินการโดยด่วน
ขอแสดงความนับถือ
พญ.เชิดชู อริยศรีวัมนา
อนุกรรมการพัฒนากฎหมาย แพทยสภา


การตีความพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
อนุกรรมการพัฒนากฎหมาย แพทยสภา
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้ บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ดังนี้
( 1 )สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวก ับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโ ภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

( 2 )สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม

( 3 )สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว

( 3ทวิ )สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ

(4) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตาม (1)- (4) ดังกล่าว
ในพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคนี้ ยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็น ประธานกรรมการ และคณะกรรมการประกอบด้วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวงต่างๆดังนี้คือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สหกรณ์ พาณิชย์ มหาดไทย อุตสาหกรรม คมนาคม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 8 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการเฉพาะเรื่องอีก 3 คณะคือ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก และคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
ในเนื้อหาของพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคแบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่

หมวดที่ 1 ว่าด้วยที่มาและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
หมวดที่2 ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค หมวดที่3 ว่าด้วยการอุทธรณ์ และหมวดที่4 ว่าด้วยบทกำหนดโทษ

ในหมวดที่2 นี้ ม.20ได้กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยการใดได้บัญญัติเรื่องใดไว้โดยเฉพาะแล้วให้บังคับตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น และให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ไปใช้บังคับได้เท่าที่ไม่ซ้ำหรือขัดกับบทบัญญัติ ดังกล่าวเว้นแต่
(1) ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคโดยส่วนรวม หากปรากฏเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวยังมิได้ดำเนินการหรือดำเนิ นการยังไม่ครบขั้นตอนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และมิได้ออกคำสั่งเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมายดังกล่าวภายในเก้า สิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากคณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะกรรมกา ร ให้คณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะกรรมการเสนอเรื่องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาออ กคำสั่งตามความในหมวดนั้นได้
(2) ในกรณีตาม (1) ถ้ามีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจปล่อยให้เนิ่นช้าต่อไปได้ ให้คณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะกรรมการเสนอเรื่องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาออ กคำสั่งตามความในหมวดนี้ได้โดยไม่ต้องมีหนังสือแจ้งหรือรอให้ครบเก้าสิบวันต ามเงื่อนไขใน (1)ฯลฯ
ฉะนั้นตามมาตรา 21ของพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 นี้ จะเห็นได้ว่าคดีเกี่ยวกับโรงพยาบาลให้ร้องเรียนกองประกอบโรตศิลปะ และคดีเกี่ยวกับแพทย์ให้ร้องเรียนแพทยสภา
ฉะนั้น การร้องเรียนแพทย์และโรงพยาบาลจึงไม่ควรใช้พ.ร.บ.วิธีพิจาณราคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551มาดำเนินการ

ซึ่งจากข้อมูลของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเอง ได้ให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆจากหน่วยงานท ี่มีหน้าที่เฉพาะดังตารางข้างล่างนี้


ปัญหา หน่วยงาน Website
1. ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอางค์ เครื่องมือแพทย์ วัตถุเสพติด วัตถุมีพิษ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา //www.fda.moph.go.th

2. ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านการรักษาพยาบาลหรือบริการของแพทย์ สำนักงานแพทย์สภา //www.tmc.or.th

3. บริการสถานพยาบาลเอกชน (คลีนิกลดความอ้วน โพลีคลีนิก โรงพยาบาลเอกชน) กองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข //mrd-hss.moph.go.th/home/

4. ราคาสินค้า การกักตุนสินค้า ไม่ติดป้ายราคา มาตราชั่ง ตวง วัด คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น กรมการค้าภายใน //www.dit.go.th

5. พานิชอิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า //www.dbd.go.th

6. การประกันภัยประเภทต่างๆ กรมการประกันภัย //www.doi.go.th

7. คุณภาพและมาตราฐานของผลิตภัณฑ์ สำนักงานมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม //www.tisi.go.th

8. สอบถาม ร้องเรียน การอนุญาตจัดสรรที่ดิน กองควบคุมธุรกิจที่ดิน กรมที่ดิน //www.dol.moi.go.th

9. คดีด้านเศรษฐกิจ กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี //www.ecotecpolice.com/

10. ด้านการท่องเที่ยว สำนักงานตำรวจท่องเที่ยว //home.touristpolice.net/

11. ด้านการขนส่งมวลชน - ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ขนส่งมวลชน กรุงเทพฯ
- กระทรวงคมนาคม - //www.bmta.co.th/
- //portal.mot.go.th/

12. ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย //www.dopa.go.th


ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. 2522และแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2541 นี้ ได้แนะนำให้ประชาชนร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่มีผู้รับผิดชอบดูแลอยู่แล้วต ามกฎหมาย เช่นถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับด้านการรักษาพยาบาลหรือการบริการของแพทย์

คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็แนะนำให้ร้องเรียนแพทยสภา ถ้าจะร้องเรียนเกี่ยวกับการ บริการสถานพยาบาลเอกชน (คลีนิกลดความอ้วน โพลีคลีนิก โรงพยาบาลเอกชน) ก็ให้ร้องเรียนกองประกอบโรคศิลปะ
แต่ต่อมาได้มีการยกร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ที่มีสมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุมทั้ง 3 วาระ) และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 38 ก วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 180วันหลังจากวันประกาศเป็นต้นไป
เมื่อพ.ร.บ.นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ได้ก่อให้เกิดความโกลาหลในหมู่ “ผู้ให้บริการทางการแพทย์” เป็นอย่างมาก เพราะมีนักกฎหมายหลายคนมาออกความเห็นว่า ผู้ที่คิดว่าตนเองหรือครอบครัวได้รับความเสียหายจากการบริการทางการแพทย์และ โรงพยาบาล จะสามารถนำคดีเข้าฟ้องร้องตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคได้ และการฟ้องแพทย์และโรงพยาบาลจะง่ายขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.วิธีพิจารณา คดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551เพราะโจทก์จะฟ้องด้วยวาจาหรือหนังสือก็ได้ตามม.23 และจำเลยจะต้องมีหน้าที่พิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการผลิต การประกอบ การออกแบบ หรือส่วนผสมของสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินการใดๆ ซึ่งศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของคู่ความฝ่าย ที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ ให้ภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวตกอยู่แก่ฝ่ายคู่ความที่เป็นผู้ประกอบธุ รกิจนั้น (ม.29)
ทำให้ผู้ประกอบกิจการบริการด้านการแพทย์ เช่นคลินิก โรงพยาบาลเอกชน หรือ แพทย์ พยาบาลในโรงพยาบาลของราชการเอง มีความเข้าใจว่า การให้บริการทางการแพทย์ก็ตกอยู่ในข่ายที่จะต้องถูกพิจารณาคดีเช่นเดียวกับว ิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนี้ ซึ่งจะทำให้แพทย์มีความลำบากใจที่จะต้อง “ถูกบังคับ” ให้รับรักษาผู้ป่วยซึ่งถือเป็นผู้บริโภคการบริการทางการแพทย์ตามพ.ร.บ.นี้ โดยที่แพทย์อาจไม่พร้อม เนื่องจากขาดความเชี่ยวชาญในอาการป่วยของผู้ป่วยนั้น หรือแม้จะมีความเชี่ยวชาญแต่อาการผู้ป่วยที่อาจจะหนักเกินที่จะรักษาได้ เช่นนายก.เกิดอุบัติเหตุถูกรถชน อาการสาหัส แต่ถ้าแพทย์ไม่ผ่าตัดเอาเลือดที่คั่งในสมองออก นายก.คงจะตาย 100% แต่ถ้าแพทย์ที่เชี่ยวชาญลงมือผ่าตัด นายก.อาจจะมีโอกาสรอดชีวิต 50% และมีโอกาสตาย 50% ฉะนั้นถ้าไม่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องและพิจารณาคดีตามพ.ร.บ.นี้ แพทย์ก็ต้อง “เสี่ยง”ลงมือผ่าตัดเพื่อที่ผู้ป่วยอาจจะโอกาสรอดซัก 50% แต่ถ้าคิดว่าจะเอาพ.ร.บ.นี้มาตัดสินคดีฟ้องร้องแพทย์ แพทย์ก็อาจไม่กล้าเสี่ยงในการรักษานายก. เพราะถ้านายก.ตายไปจากความเป็นไปได้ที่จะเสี่ยงต่อความตาย 50% แพทย์ก็อาจะถูกฟ้องและเสียเวลา เสียความรู้สึก และมีความยากลำบากในการที่จะต้องไปพิสูจน์ให้ศาลเห็นด้วยว่าแพทย์เองได้ทำกา รผ่าตัดอย่างดีที่สุดแล้ว เพื่อตนเองจะได้ไม่ต้องตกเป็นจำเลยต่อศาลอาญาอีกหลังจากที่ศาลผู้บริโภคอาจจ ะตัดสินให้แพทย์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนการเสียชีวิตของผู้ป่วย ที่แพทย์มิอาจที่จะช่วยชีวิตไว้ได้หลังจากแพทย์ได้พยายามจนสุดความสามารถแล้ ว
ฉะนั้นผู้เขียนเห็นว่า การตีความที่จะให้ผู้ป่วยและญาติ ใช้สิทธิการฟ้องร้องแพทย์หรือโรงพยาบาล โดยใช้พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคและพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จึงไม่น่าจะเหมาะสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และจะก่อให้เกิดความเสียหายในระบบบริการทางการแพทย์ โดยแพทย์ก็ไม่อยากจะรับรักษาผู้ป่วยหนักเนื่องจากเสี่ยงต่อความสำเร็จในการร ักษา และยังเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องในคดีผู้บริโภค เสียเวลาและเสียความรู้สึกเมื่อถูกฟ้อง และก็จะเสี่ยงต่อการถูกพิจารณาคดีจากแพทยสภา หรือจากกองการประกอบโรคศิลปะ และอาจถูกดำเนินคดีอาญาต่ออีกด้วย
และผลกระทบจากการที่แพทย์มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากมายหลายเรื่องดังกล่าวนี้ ก็จะส่งผลไปยังประชาชนที่อาจจะขาดโอกาสในการได้รับการตัดสินใจรักษา เพราะเมื่อแพทย์ไม่กล้าตัดสินใจรักษาผู้ป่วยหนักดังกล่าว ก็อาจจะส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่น ซึ่งผู้ป่วยอาจไปตายกลางทาง เพราะการเดินทางอาจนานเกินไปทำให้ผู้ป่วยพลาดโอกาสทองในการที่จะมีชีวิตอยู่

ฉะนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่รักษาการรมว.สธ..อยู่ในขณะนี้ และมีหน้าที่ความรับผิดชอบควบคุมดูแลและกำกับงานของโรงพยาบาลของกระทรวงสาธา รณสุข และดูแลให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานอย่างมีคุณภาพมาตรฐานเพื่อคุ้มครองประชาช นให้มีความปลอดภัยในการไปรับบริการทางการแพทย์ และในฐานะที่เรมช.เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งสภานายกพิเศษของแพทยสภาที่มีหน้า ที่ดูแลกำกับการทำงานของแพทย์เพื่อให้มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของปร ะชาชน ควรทำหนังสือไปยังสำนักงานกฤษฎีกา เพื่อให้ตีความในกฎหมายนี้ว่าเจตนาจะรวมเอาการบริการทางการแพทย์ไว้ในพ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ.2522 ที่จะต้องพิจารณาโดยพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคหรือไม่?

เพราะถ้ากฤษฎีกาตีความว่าการฟ้องร้องในการบริการทางการแพทย์ต้องพิจารณาตามพ .ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคพ.ศ. 2551 แล้ว จะเกิดอันตรายต่อระบบบริการทางการแพทย์อย่างแน่นอน สมควรจะได้มีการรวบรวมรายชื่อประชาชนและผู้ประกอบวิชาชีพให้ได้สองหมื่นชื่อ เพื่อจะได้แก้ไขกฎหมายให้การพิจารณาการฟ้องร้องแพทย์และโรงพยาบาล ไม่ใช้ตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 นี้ เพื่อความปลอดภัยต่อประชาชนและผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข


โดยสรุปก็คือ

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้มีการประกาศ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 125 ตอนที่38 ก ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 23 สิงหาคม 2551 ซึ่งพ.ร.บ.นี้เป็นพ.ร.บ.ที่มีความมุ่งหมายให้เป็นพ.ร.บ.ควบคู่กับพ.ร.บ.คุ้ม ครองผู้บริโภคพ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2541 (เปรียบเทียบกับกฎหมายอาญา แล้วก็ต้องมีกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คือเมื่อมีผู้สงสัยว่าทำความผิดตามกฎหมายอาญาแล้ว จะมีวิธีการดำเนินการสอบสวนและลงโทษตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา)

พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคก็มีวัตถุประสงค์ในการใช้พิจารณาคดีที่สงสัยว ่า
จะมีการละเมิดผู้บริโภคตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

แต่การตีความปัญหาของคำว่า “ผู้บริโภค” ได้กินความกว้างกว่าความเข้าใจเดิม ว่า การเป็นผู้รับบริการทางการแพทย์ ก็เข้าข่ายที่จะสามารถฟ้องร้องขอให้มีการดำเนินคดี ตามบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคได้

ทั้งๆที่พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคนั้น ได้กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะในเรื่องใดๆแล้ว ให้พิจารณาไปตามกฎหมายนั้นๆ เช่น ใช้การร้องเรียนโรงพยาบาล ตามพ.ร.บ.สถานพยาบาล
ที่กองประกอบศิลปะเป็นผู้ควบคุมบังคับใช้กฎหมาย หรือการร้องเรียนบริการของแพทย์ก็ให้ร้องเรียนผ่าน พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรมพ.ศ. 2525 ซึ่งแพทยสภาเป็นผู้ดำเนินการตามกฎหมาย

แต่เมื่อมีพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551 ได้มีความเห็นจากนักกฎหมายจากหลายๆแห่งว่าผู้บริโภคสามารถร้องเรียน
ให้มีการพิจารณาคดีที่สงสัยในการบริการทางการแพทย์และโรงพยาบาลได้โดยตรง
ตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคพ.ศ. 2551

เป็นการตีความครอบคลุมกฎหมายที่มากกว่าเดิม ขยายการครอบคลุมมาถึง บริการทางการแพทย์ด้วย
ทั้งๆที่พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคเดิมให้ไปร้องเรียนกองประกอบโรคศิลปะ
หรือแพทยสภา
แต่พออกพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
กลับขยายความครอบคลุมไปถึงสิ่งที่ไม่เคยครอบคลุมด้วย


ทำให้เกิดความวิตกกังวลในหมู่ ผู้ประกอบการ สถานพยาบาลและผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ว่าการพิจารณาคดีการรับบริการทางการแพทย์ สมควรหรือไม่ที่จะใช้พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคด้วย
=====================================================
ที่มา: //www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1217175049


=====================================================








=====================================================

ส่งโดย: mr.leo เมื่อ: 08/23/08 เวลา 10:06:28
....กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค: ก็แค่กฎหมายที่คลอดจากมดลูกเผด็จการ

เราลองตัดคำว่าดีหรือไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบกับการมีกฎหมายดังกล่าวออกไปก่อน แล้วมาพิจารณากันว่ากฎหมายดังกล่าวมันมีข้อบกพร่องที่ขั้นตอนการออกอย่างไรบ ้าง...ขอออกตัวไว้ก่อนนะครับ ว่ากระทู้นี้ออกแนวกระแนะกระแหน นิดหน่อยซึ่งก็มีส่วนที่ถูกต้องอยู่มาก ใครไม่สนใจอ่าน จะข้ามๆไปก็ได้นะครับ

พรบ.ฉบับดังกล่าว จัดได้ว่าเป็นกฎหมายแบบบ fast food จานด่วน คือมันไม่ได้ follow ตาม practical guideline ที่ถูกต้่องตามครรลองคลองธรรมของการออกกฎหมาย แต่อย่างใดเลย แล้วคำว่าครรลองคลองธรมเป็นเช่นไร

....อันดับแรก ก็คือต้องมาดูว่าใครเป็นคนร่าง แล้วคนร่างดังกล่าวในสถานการณ์ปกตินั้น มีอำนาจหรือความชอบธรรมในการร่างหรือไม่

มาดูข้อนี้กันว่าใครร่างกฎหมายฉบับนี้ ดูเหมือนความเข้าใจทั่วๆไปคือ สนง.คุ้มครองผู้บริโภคเป็นคนร่าง แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ เท่าที่ผมไปหาข้อมูลมาซึ่งกล้ายืนยันความถูกต้อง มือร่างกฎหมายฉบับนี้คือ นาย ธานิศ เกศวพิทักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งเป็นอดีตตุลาการรัฐธรรมนูญคณะที่พิพากษายุบพรรคไทยรักไทยนั่นแหละ ร่วมกับนาย...ผู้พิพากษาศาลอุทรณ์ ( ขออภัย จำชื่อไม่ได้ ไว้วันหลังถ้ามีโอกาสจะไปค้นมาให้ )

ถามว่าในสถานการณ์ปกติ ผู้พิพากษาจะมีสิทธิ์เป็นผู้เล่นหลักธิ์ในการร่าง กม.โดยเฉพาะ กม.ฉบับนี้ซึ่งเป็น กม.ที่อาศัยหลักกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวพันกับคนหลายๆฝ่าย หลายหน่วยงาน จำนวนมาก ( แพทย์เป็นแค่ส่วนหนึ่งเล็กๆเท่านั้นเอง ) ซึ่งกฎหมายมหาชนนั้นต้องอาศัยหลักการมีส่วนร่วม ระดมความคิดเห็นมากมายกว่าจะผ่านมาได้

คำตอบคือไม่ ตามหลักการแยกอำนาจ คนกลางที่เป็นคนบังคับใช้กฎหมาย ( ศาล ) กับคนเขียนกฎ ( นิติบัญญัติ ) นั้นต้องแยกจากกันโดยสิ้นเชิง...แต่พอมีปฏวัติ หลักข้อนี้ถูก ignore โดยสิ้นเชิง มีการลากตุลาการเข้ามาเกี่ยวพันกับ อำนาจบริหาร นิติบัญญัติอย่างมากมาย เมื่อป็นกรรมการอย่างเดียวไม่สนุกขอเป็นคนเขียนกฎด้วยจะเกิดอะไรขึ้น

ดังนั้น พรบ.นี้ จึงเกิดมาจากมุมมองในอุดมคติของคนบนหอคอยงาช้าง มุมมองของคนที่อย่างไรก็ไม่ต้องรับผิดกับการทำงานในหน้าที่ของตนเอง ถามว่าน่ารังเกียจใหมเอาคนกลาง ( ศาล ) มาเป็นคนเขียนกฎเกณฑ์ ผมคิดว่า ( คห.ส่วนตัว ) คงไม่ถึงกับน่ารังเกียจ แต่เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเหมาะสม ที่คนเขียนกฎกับกรรมการเป็นคนเดียวกัน เพราะอาจจะเกิด bias หรือมองในมุมเดียว หรือมองเฉพาะมุมใดมุมหนึ่ง

ประเด็นที่ว่าไม่เหมาะสมซึ่งสำคัญกว่าว่าใครเป็นคนร่างก็คือ มีการมุบมิบ อุ๊บอิ๊บ ร่างกันเอง สรุปกันเอง อยุ่ไม่กี่คน ใช้อุดมคติจินตนาการเขียนกันเอาเองทั้งสิ้น แล้วสรุปว่าดี มันต้องเป็นแบบนี้แหละ โดยไม่มีการเรียกหนาวยงานใดๆทั้งสิ้นไปสอบถาม ชี้แจง ใดๆทั้งสิ้น ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ

ทีนี้เป็นไปได้มั้ยว่าที่ไม่เรียกสภาวิชาชีพแพทย์ชี้แจง หรือเพราะในว่าตอนแรกเลยนั้นเค้ามีเจตนาที่ต้องการหมายถึงสินค้าจริงๆในความ หมายที่เข้าใจกัน เช่นพวกบ้าน รถยนต์ น้ำอัดลม กะปิ น้ำปลา ไม่ได้หมายความรวมถึงการให้บริการทางการแพทย์ว่าเป็นสินค้า

แต่ข้อมูลที่ได้จากทางผู้ผลิตสินค้าอื่นๆคือ ไม่มีผู้ผลิตสินค้ารายใหนถูกเรียกเข้าไปชี้แจงแต่อย่างใดเช่นเดียวกัน

กว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมาทราบกันอีกที กฎหมายก็ผ่านไปเรียบร้อยร้อย จะประกาศใช้อยู่มะรอมมะร่อ

....อันดับถัดมา แล้วใครเป็นหมอตำแยทำคลอด กม.ดังกล่าว แล้วหมอตำแยทำตาม practical guideline ของการทำคลอดกฎหมายหรือไม่...คำตอบคือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่แต่งตั้งโดยคณะปฏิวัติ โดยมีนาย มีชีย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน สนช. แล้วได้ทำตามกฎเกณฑ์หรือไม่ มาดูกัน

ปกติการการออกกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ สภาล่าง ( สภาผู้แทนราษฎร ) นั้นจะมีการพิจารณา 3 ขั้นคือ
วาระแรก...ขั้นรับหลักการ ถ้าไม่รับกฎหมายก็ตก ถ้ารับก็ไปสู่ขั้นต่อไป
วาระสอง...ขั้นแปรญัติ ซึ่งก็คือขั้นการพิจารณา ถกเถียงในข้อกฎหมายดังกล่าว อาจต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณากฎหมายดังกล่าวใหม่ อาจต้องมีการเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องไปให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อความรอบคอบเรียบร้อยอย่างถึงที่สุดก่อน ส่งไปที่ขั้นต่อๆไป
วาระสาม...ขั้นลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกฎหมายดังกล่าว ถ้าเห็นชอบก็ส่งไปที่สภาสูง ( วุฒิสภา ) ให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะส่งไปให้ในหลวงท่านลงพระปรมาภิไธย

ถามว่า ทำไมเรียก กม.ในสมัยเผด็จการ คมช.ว่า กม.จานด่วน กม.ฟสาต์ฟูด เพราะมันไม่ได้ผ่านหลักการ practical guideline ใดๆทั้งสิ้นของการออกกฎหมาย
พิจารณาทีเดียวสามวาระรวดๆๆๆๆ ไม่มีการเรียกใครใดๆไปสอบถาม พิจารณาในวันเดียวแล้วก้ให้ผ่าน แล้ววันนึงมีกฎหมายกี่สิบฉบับให้พิจารณา แล้วคุณคิดว่า สนช.ในยุคปฏิวัตินั้น จะมีเวลากันกี่น่าที กี่ชั่วโมงในการพิจารณา กม.แต่ละฉบับ

ไม่ใช่เฉพาะ พรบ.ผู้บริโภคดังกล่าว แต่ในช่วงปฏวัติมีการผ่านกฎหมายมากมาย เช่น กฎหมายความมั่นคง กม.คุ้มกะลาหัวตัวเองและพวกพ้อง ก็ออกกันแบบเร่งรีบ

คือมีการทำราวกับว่าช่วงเวลาปฏิวัตินั้น ใครอยากทำอะไรก็ทำเป็น golden period ของการตักตวง มือใครยาวสาวได้สาวเอง ต้องเร่งๆทำให้เสร็จ ช้าไปจะไม่ทันกาล

เมื่อไม่นานมานี้ ก็มีการเชิญศาล กฤษฎีกา มาให้ความเห็นว่าสินค้านั้นรวมบริการทางการแพทย์ด้วยหรือไม่ คำตอบคือรวมการแพทย์ด้วยทั้งหมด ทั้งรัฐทั้งเอกชน ( ซึ่งผมก็คาดการไว้อยุ่แล้วว่านักกฎหมาย จะต้องตีความออกมาในแนวนี้ กระแสกำลังเชี่ยว ใครจะกล้าเข้าไปขวาง )

นอกจากนี้เห็นว่าเมื่อเร็วๆนี้ ทางกรรมาธิการสาธารณสุขทั้งของสภาผู้แทนราษฎร ทั้งวุฒิสภา ได้เรียกแพทย์สภาและเครือข่ายเข้าไปชี้แจง ประชุมร่วมกัน ผมไม่แน่ใจว่าจะแก้ไขอะไร หรือผ่อนหนักผ่อนเบาได้มากน้อยขนาดใหน หรือจะสามารถแก้ไขข้อความที่บรรจุในนั้นได้ขนาดใหน เพราะมันผ่านขั้นตอนทางสภาไปแล้ว และได้ตราออกมาเป็นพระราชบัญญัติแล้วเรียบร้อยแล้ว จะใช้มะรืนนี้อยู่แล้ว...แต่ยังงัยก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรนะครับ

สุดท้ายตอนนี้ก็คงต้องใช้กฎหมายฉบับนี้ไปพลางๆก่อน อาจต้องรอให้มีเคสเกิดขึ้นมาจริงๆ แล้วจะได้ดูว่าต้องจัดการแก้ไขกันยังงัย

พยายามมองในแง่บวก กม.ฉบับนี้อาจจะไม่มีอะไรในกอไผ่ก็ได้ เหมือน กม.หลายๆฉบับที่ออกมาแล้วไม่ได้มีการบังคับใช้กันอย่างจัง เหมือนตอนที่ออกกฎมาว่า พนักงานในโรงงานต้องตรวจรับรองผลโดยแพทย์อาชีวอนามัย ช่วงนั้นทั้ง รง.ก็วิ่งวุ่นหาแพทย์อาชีวะไปตรวจกันยกใหญ่เพราะเกรงจะผิกกฎ รพ.หลายๆแห่ง ก็ประกาศรับแพทย์ด้านนี้่กันให้ควั่ก สถาบันอบรมก็มีการเปิดอบรมกันปีละหลายๆรอบ...สุดท้ายเป็นยังงัยผ่านไปสองปี ก็เห็นเงียบๆกันไปหมด
เกือบสุท้ายแล้วครับ ขอให้จดจำชื่อเหล่านี้ไว้ให้ขึ้นใจนะครับ
1.นาย สนธิ บุญยะรัตกลิน* อดีตหัวหน้าคนคุมรถถังกับปืนกล คนนี้ใหญ่สุดๆตอนนั้น
2.นาย สุรยุทธ์ จุลานนท์* อดีตหัวหน้ารัฐบาล
3.นาย มีชัย ฤชุพันธ์ อดีตหัวหน้าคนคุมกฎหมาย
4.นาย บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์* ผบ.สส
5.นาย ชลิต พุกผาสุก* ผบ.ทอ
6.นาย สถิรพันธ์ เกยานนท์* ผบ.ทร.
7.นาย วินัย ภัททิยะกุล* ปลัดกลาโหม
8.นาย อนุพงษ์ เผ่าจินดา* ผบ.ทบ ปัจจุบัน
9.นาย สพรั่ง กัลยาณมิตร*
10.นาย ชาญชัย ลิขิตจิตถะ อดีตหัวหน้าศาล ( อดีตประธานศาลฎีกา ) ที่ไปเป็น รมต.ยุติธรรม ผู้พิพากษาหลายๆคนที่มาร่วมหัวจมท้ายกับคณะปฏิวัติ

* ล้วนเป็นคนที่มียศระดับ พล.อ ทั้งสิ้น แต่ผมขออนุญาติ ไม่ให้ค่า ไม่ให้ราคากับบุคคลเหล่านี้
สุดท้ายรู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดีครับ ส่วนผมน่ะหลบเอาตัวรอดไปตั้งนานแล้วครับ
=====================================================
ที่มา: //www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1219460788


Create Date : 18 กันยายน 2551
Last Update : 18 กันยายน 2551 12:45:49 น. 1 comments
Counter : 1988 Pageviews.

 
หวัดดีคร้าบ ขยัน up blog
เอารางวัลปาย
เอามิตรภาพมาฝาก
ถ้าเหงาๆก็มากวนกันเอง อิๆ
ขอให้ยิ้มได้ทุกวัน คับ
อย่าบอกว่าไม่มีใคร - ดา Endorphine


โดย: พลังชีวิต วันที่: 18 กันยายน 2551 เวลา:16:10:10 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

=Neo=
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add =Neo='s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.