ยินดีต้อนรับสู่ club.bloggang.com
...magazine online โดยหนุ่มสาวชาว =Neo=
โรคเอสแอลอี Systemic lupus erythematosus (ซิสเทมิกลูปัสอีริทีมาโตซัส)




  เอสแอลอี  SLE




ลักษณะทั่วไป
เอสแอลอี เป็นชื่อเรียกทับศัพท์ของอักษรย่อในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคำเดิมว่า Systemic 
lupus erythematosus (ซิสเทมิกลูปัสอีริทีมาโตซัส) โรคนี้มักจะมีความผิดปกติ ของ
อวัยะได้หลายระบบพร้อม ๆ กัน และอาจมีความรุนแรง ทำให้พิการ หรือตายได้ โรคนี้พบ
ประปรายได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ พบมากในช่วงอายุ 20-45 ปี และพบในผู้หญิง มากว่า
ผู้ชายประมาณ 10 เท่า

สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการตอบสนองอย่าง
ผิดปกติต่อเชื้อโรค หรือสารเคมีบางอย่าง ทำให้มีการสร้างแอนติบอดีหรือภูมิต้านทานต่อเนื้อ
เยื่อต่าง ๆ ของตัวเอง จึงจัดเป็น โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune)
ชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับโรคปวดข้อรูมาตอยด์ แต่โรคนี้มักจะมีการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ
เช่น ผิวหนัง ข้อกระดูก ไต ปอด หัวใจ เลือด สมอง เป็นต้น   บางครั้งอาจพบมีสาเหตุกระตุ้น
ให้อาการกำเริบ เช่น ยาบางชนิด (เช่น ซัลฟา, ไฮดราลาซีน, เมทิลโดพา, โปรเคนเอไมด์, 
ไอเอ็นเอช, คลอโพรมาซีน, ควินิดีน, เฟนิโทอิน, ไทโอยูราซิล) การถูกแดด การกระทบกระ
เทือนทางจิตใจ การตั้งครรภ์ ฯลฯ

อาการ
ที่พบได้บ่อยคือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อยตามตัว ปวดและบวมตามข้อ
ต่าง ๆซึ่งโดยมากจะเป็นตามข้อเล็ก ๆ (เช่น ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า) ทั้งสองข้าง คล้าย ๆ กับ โรค
ปวดข้อรูมาตอยด์ (แต่ต่างกันที่ไม่มีลักษณะ หงิกงอ ข้อพิการ) ทำให้กำมือลำบาก อาการ
เหล่านี้จะค่อยเป็นค่อยไป เป็นแรมเดือนนอกจากนี้ผู้ป่วยยังมักจะมีผื่น หรือฝ้าแดงขึ้นที่ข้าง
จมูกทั้ง 2 ข้าง ทำให้มีลักษณะเหมือนปีกผีเสื้อเรียกว่า ผื่นปีกผีเสื้อ (butterfly rash) บาง
รายมีอาการแพ้แดด คือ เวลาไปถูกแดด ผิวหนังจะมีผื่นแดงเกิดขึ้น และ ผื่นแดงที่ข้างจมูก
(ผื่นปีกผีเสื้อ) จะเกิดขึ้นชัดเจน อาการไข้ และปวดข้อจะเป็นรุนแรงขึ้นบางรายอาจมีจุดแดง
(petichiae) หรือมีประจำเดือนมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอาการระยะแรกของโรคนี้ก่อนมี
อาการอื่น ๆ ให้เห็นชัดเจน บางครั้งแพทย์อาจวินิจฉัยว่าเป็นไอทีพี บางรายอาจมีอาการผม
ร่วงมาก มีจ้ำแดง ๆ ขึ้นที่ฝ่ามือนิ้วมือ นิ้วเท้าซีดขาว และเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ เวลาถูก
ความเย็น (Raynaud's phenomenon) ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วไป ตับม้ามโต หรือมีภาวะ
ซีด โลหิตจาง (จากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย)ในรายที่เป็นรุนแรง   อาจมีอาการบวมทั้งตัว 
(จากไตอักเสบ), หายใจหอบ (จากปอดอักเสบ ภาวะมีน้ำในช่องปอด หรือหัวใจวาย) ชีพจร
เต้นเร็วหรือไม่เป็นจังหวะ (จากหัวใจอักเสบ)ในรายที่มีการอักเสบของหลอดเลือดในสมอง 
อาจทำให้มีอาการทางประสาท เช่น เสียสติ ซึม เพ้อประสาทหลอน แขนขาอ่อนแรง ตาเหล่ 
ชัก หมดสติ และอาจตายภายใน 3-4 สัปดาห์ ส่วนมากจะมีอาการกำเริบ เป็น ๆ หาย ๆ
เรื้อรังเป็นปี ๆ

สิ่งตรวจพบ
ไข้ ผื่นปีกผีเสื้อที่แก้ม อาจพบจุดแดง ภาวะซีด ข้อนิ้วมือนิ้วเท้าบวมแดง

อาการแทรกซ้อน
อาจทำให้ไตอักเสบ ปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ หัวใจวาย ไตวาย และอาจเกิดภาวะติดเชื้อร้าย
แรงแทรกซ้อนได้

การรักษา
หากสงสัย ควรแนะนำไปโรงพยาบาลโดยเร็ว การตรวจเลือดพบว่า ค่าอีเอสอาร์ (ESR) สูง,
พบแอนตินิวเคลียร์ แฟกเตอร์ (Antinuclear factor) และ แอลอีเซลล์ (LE cell) ตรวจ
ปัสสาวะ
 อาจพบสารไข่ขาว และเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ อาจทำการตรวจเอกซเรย์   คลื่น
หัวใจและ ตรวจพิเศษอื่น ๆ การรักษาในรายที่เป็นไม่รุนแรง (เช่น มีไข้ ปวดข้อ มีผื่นแดงขึ้น
ที่หน้า) อาจเริ่มให้ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ,ถ้าไม่ได้ผลอาจให้ไฮดรอกซีคลอโรควีน
(Hydroxychloroquine)วันละ 1-2 เม็ด เพื่อช่วยลดอาการเหล่านี้ในรายที่เป็นรุนแรงควร
ให้สเตอรอยด์  เช่น เพร็ดนิโซโลน ขนาด 8-12 เม็ดต่อวัน ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ หรือหลาย
เดือน เพื่อลดการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ เมื่อดีขึ้นจึงค่อย ๆ ลดยาลง และให้ในขนาดต่ำ 
ควบคุมอาการไปเรื่อย ๆ อาจนานเป็นแรมปี หรือจนกว่าจะเห็นว่าปลอดภัยถ้าไม่ได้ผล อาจ
ต้องให้ยากดระบบภูมิคุ้มกัน หรือยากดอิมมูน (lmmunosuppressive) เช่น ไซโคลฟอส
ฟาไมด์ (Cyclophosphamide) อะซาไทโอพรีน (Azathioprine) เป็นต้น ยานี้เป็นยา
อันตราย อาจทำให้ ผมร่วงหรือหัวล้านได้ผมร่วงหรือหัวล้านได้  ผมร่วงหรือหัวล้านได้ เมื่อ
หยุดยา ผมจะงอกขึ้นใหม่ได้  นอกจากนี้ อาจให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้
ยาบำรุงโลหิต (ถ้าซีด)  ยาปฏิชีวนะ (ถ้ามีการติดเชื้อ) เป็นต้น ผลการรักษา ไม่แน่นอนขึ้น
อยู่กับความรุนแรงของโรค และตัวผู้ป่วย บางคนอาจมีโรคแทรกซ้อนและถึงแก่กรรมใน
เวลาไม่นาน บางคนอาจมีอาการกำเริบเป็นครั้งคราว ถ้าผู้ป่วยสามารถมีชีวิตรอดจากโรค
แทรกซ้อนต่างๆ ได้เกิน 5 ปี โรคก็จะไม่กำเริบรุนแรง และค่อย ๆ สงบไปได้   นาน ๆครั้ง
อาจมีอาการกำเริบ แต่อาการมักจะไม่รุนแรง และผู้ป่วย สามารถมีชีวิตเยี่ยงคนปกติได้

ข้อแนะนำ
1. โรคนี้สามารถแสดงอาการได้หลายแบบ เช่น มีไข้เรื้อรังคล้ายมาลาเรีย มีจุดแดงขึ้นคล้าย
ไอทีพี บวมคล้ายโรคไต ชักหรือหมดสติคล้ายสมองอักเหบ   เสียสติ เพ้อคลั่งคล้ายคนวิกลจริต
เป็นต้น ดังนั้นถ้าพบผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นอาการของระบบใด     โดยไม่ทราบ
สาเหตุควรนึกถึงโรคนี้ไว้เสมอ
2. โรคนี้ถึงแม้จะมีความรุนแรง แต่ถ้าติดต่อรักษากับแพทย์เป็นประจำ และปฏิบัติตามคำ
แนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยลดอาการแทรกซ้อน และมีชีวิตยืนยาวได้
3. ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจป้องกันมิให้อาการกำเริบได้ โดยการทำจิตใจให้สบาย อย่าท้อแท้
สิ้นหวัง หรือ วิตกกังวลจนเกินไป ส่วนผู้ที่แพ้แดดง่าย ควรหลีกเลี่ยงการออกกลางแดด ถ้า
จำเป็นต้องออกกลางแดดควรกางร่ม ใส่หมวกใส่เสื้อแขนยาว ควรพยายามหลีกเลี่ยงการติด
เชื้อ เช่น อย่ากินอาหารหรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด อย่าเข้าใกล้คนที่ไม่สบาย อย่าเข้าไปในที่ ๆ มี
คนแออัด เป็นต้น และทุกครั้งที่รู้สึกไม่สบาย ควรรีบไปหาหมอที่เคยรักษา



Create Date : 20 กันยายน 2549
Last Update : 20 กันยายน 2549 2:57:33 น. 0 comments
Counter : 1784 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

=Neo=
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add =Neo='s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.