ยินดีต้อนรับสู่ club.bloggang.com
...magazine online โดยหนุ่มสาวชาว =Neo=
บาดเจ็บจากการออกกำลังกาย

ข้อแนะนำการดูแลการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬา สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข


ศ.คลินิก นายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
สาขาเวชศาสตร์การกีฬา
ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โทปิดิคส์ฯ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ในการออกกำลังกายนั้น หากออกกำลังกายไม่ถูกวิธี ไม่เหมาะสม กับสภาพร่างกายของผู้เล่น หรือออกกำลังกายในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ ตั้งแต่เกิดการบาดเจ็บเล็กที่รุนแรง ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต


การดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา จะได้ผลดีต้องกระทำอย่างถูกวิธี และถูกเวลา โดยขึ้นกับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ประสบการณ์ และอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งจากแพทย์ ผู้ฝึกสอน นักกายภาพบำบัด รวมทั้งตัวผู้เล่นด้วย



การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬา โดยทั่วไปมักเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ




  1. การกระแทกอย่างรวดเร็ว และรุนแรง (contact and acute injury)
  2. การใช้งานอวัยวะมากเกิน หรือซ้ำซาก (overused injury)




สำหรับการดูแลผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเบื้องต้น จะดูแลในส่วนการบาดเจ็บที่เกินทันที ในสนามเป็นส่วนใหญ่ ความรุนแรงของการบาดเจ็บสามารถแบ่งได้หลายระดับ ดังนี้




  1. การบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น การมีแผลถลอก ผิวหนังฉีกขาด มีอาการตะคริว และมีการยืดของเอ็นยึดข้อมากเกิน (sprains)
  2. การบาดเจ็บรุนแรงปานกลาง เช่น เอ็นยึดข้อมีการฉีกขาดบางส่วน (sprain) ส่วนที่ได้รับบาดเจ็บบวม (swelling) และมีอาการปวด (pain) มีอาการเจ็บเมื่อเคลื่อนไหวอวัยวะดังกล่าว รวมทั้งการเคลื่อนไหวทำได้น้อยลง (decrease range of motion)
  3. การบาดเจ็บรุนแรงมาก (severe injuries) เช่น มีกระดูกหัก หรือข้อเคลื่อน มีการเสียรูปของอวัยวะ และมีอาการปวดอย่างมาก
  4. การบาดเจฌบที่เป็นอันตรายต่อชีวิต (life threatening) เช่น มีการบาดเจ็บที่รุนแรง ต่อบริเวณลำคอ หรือศีรษะ มีอาการปมดสติ มีอากาารแสดงความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ (heart attack)



การบาดเจ็บจากการกีฬานั้น มีความรุนแรงแตกต่างกันตามขนาดของกำลัง อัตราความเร็ว ความแข็ง ความอ่อน ความทื่อ หรือคมของสิ่งของที่มากระทบ ทำให้อวัยวะ และเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ ซึ่งเป็นอันตรายต่อนักกีฬา อาจทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที การตัดสินใจว่า จะนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาย หรือโรงพยาบาลหรือไม่นั้น จะต้องทำโดยเร็วที่สุด อย่าลองปฐมพยาบาลอยู่นาน เพราะอาจสายเกินแก้ หรือมาช้าเกินไป



ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งต้องดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬา ทั้งบทบาททางตรง เช่น ทำหน้าที่แพทย์สนาม หรือบทบาทในทางอ้อม เช่น การพบการบาดเจ็บโดยบังเอิญ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ดังกล่าวควรจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติการ ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บให้ได้รับการดูแล และความปลอดภัยในเบื้องต้นได้



การประเมินสภาพการบาดเจ็บ (Athletic Injury Assessment)


ก่อนให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ต้องทำการประเมินสภาพการบาดเจ็บของผู้ป่วยก่อน จึงจะสามารถให้การดูแลที่เหมาะสมได้ โดยทั่วๆ ไป มีข้อควรคำนึง (Athletic Injury Assessment Considerations) ที่เจ้าหน้าที่ควรพิจารณาดังนี้




  1. ทำการประเมินการบาดเจ็บเมื่อไร (When to Assess) เวลาที่เหมาะสมที่สุด ในการเริ่มต้นการประเมินสภาพการบาดเจ็บ คือ ให้ทำการประเมินให้เร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้เนื่องจาก เมื่อเวลาผ่านไปอาการและอาการแสดง (signs and symptoms) ที่เกิดจากการบาดเจ็บ ซึ่งช่วยในการประเมินได้ถูกต้อง อาจจะถูกปิดบัง ด้วยอาการปวด (pain) บวม (swelling) อักเสบ (inflammation) หรือจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (muscle spasms) ได้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินของโรคที่เกิดขึ้น หลังการบาดเจ็บมีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (continuous process) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เจ้าหน้าที่จะต้องทำการประเมิน สภาพการบาดเจ็บเป็นระยะๆ (reassessment)
  2. ทำการประเมินสภาพการบาดเจ็บที่ไหน (Where to Access) การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และออกกำลังกายสามารถเกิดได้ทั้งในสนามแข่งขัน สถานที่ฝึกซ้อม หรือที่อื่นใดก็ตาม ที่สามารถเล่น หรือออกกำลังกายได้ ในทางทฤษฎีแล้ว สถานที่ที่เกิดเหตุบาดเจ็บเป็นที่ที่ถูกต้อง ที่สุดในการประเมินสภาพการบาดเจ็บ แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติไม่สามารถประเมินได้ทุกกรณี ยกต้วอย่างเช่น ในสนามการแข่งขันเมื่อเกิดการบาดเจ็บ จำเป็นจะต้องนำผู้บาดเจ็บออกจากสนามแข่งขันก่อน เพื่อให้การแข่งขันดำเนินต่อไปได้
  3. ทักษะในการประเมินสภาพการบาดเจ็บ (Personal Assessment Skills) การประเมินสภาพการบาดเจ็บ ไม่ใช่งานที่ทำได้ง่าย เนื่องจากผู้ที่ได้รับบาดเจ็บมักมีความตื่นเต้น กลัว และกังวลเกี่ยวกับการบาดเจ็บ ของตนเอง ทำให้ยากในการประเมิน ดังนั้น การประเมินในภาวพดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยทักษะเฉพาะตัวมากพอสมควร เจ้าหน้าที่ควรได้รับวิธีตรวจร่างกายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และการช่วยเหลือเบื้องต้น และควรเข้ารับการฝึก เพื่อทบทวนความรู้ และฝึกทักษะของตนเองเป็นระยะๆ
  4. รู้จักนักกีฬา (Know the Athletes) ยิ่งผู้ประเมินมีความคุ้นเคย หรือรู้จักกับนักกีฬามาก่อน ยิ่งทำให้การประเมินสภาพการประเมินสภาพการบาดเจ็บ และการดูแล ทำให้ได้ดียิ่งขึ้น ประวัติการเจ็บป่วย และภาวะสุขภาพปัจจุบันของนักกีฬา ควรได้รับการบันทึก ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักกีฬาที่เจ้าหน้าที่ควรทราบ ได้แก่ การบาดเจ็บ (current injuries) การเป็นโรค การเป็นภูมิแพ้ เป็นต้น
  5. รู้จักกีฬา (Know the Sport) ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ได้ดี เจ้าหน้าที่จะต้องรู้จักการเล่นกีฬาแต่ละชนิด และความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะต่างๆ รวมทั้งความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อที่จะได้เตรียมตัว ในการดูแลได้ถูกต้อง และเหมาะสม ซึ่งต่างจากผู้ฝึกสอนกีฬา ซึ่งรู้จัก หรือถนัดเฉพาะกีฬาที่ตนฝึกเท่านั้น
  6. ทำให้มีสติ ไม่ตื่นเต้น (Remain Calm) เมื่อเกิดการบาดเจ็บ มีบ่อยๆ ครั้ง ที่งานแรก ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องทำ คือ การทำให้ผู้บาดเจ็บมีสติ ไม่ตื่นเต้น ไม่กลัว หรือไม่วิตกกังวล กับอาการบาดเจ็บที่ได้รับมากนัก คำพูดและการกระทำของเจ้าหน้าที่สามารถช่วยได้ แต่อย่างไรก็ตาม การประเมินสภาพการบาดเจ็บ ก็ไม่ควรกระทำด้วยความรีบด่วนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้
  7. มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา (Be Alert) เจ้าหน้าที่จะต้องมีความตื่นตัวอยู่คลอดเวลา ขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะต้องทำมากกว่า การดูแลการแข่งขัน เพื่อความสนุก หรือชัยชนะในเกมส์การแข่งขันเท่านั้น แต่จะต้องสังเกตการเล่น การเคลื่อนที่ในการเล่นของนักกีฬาทุกคน และให้ความสนใจเป็นพิเศษ สำหรับนักกีฬา ที่มีปัญหาสุขภาพ หรือการบาดเจ็บอยู่ก่อน
  8. มีวิจารณญาณในการติดสินใจที่ดี (Use Good Judgement) ในการประเมินสภาพการบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่จะต้องทำด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ โดยเฉพาะในเกมส์การแข่งขันที่สำคัญๆ และจะต้องสามารถตัดสินใจได้ว่า นักกีฬาควรกลับไปเล่นต่อ หรือรอสังเกตอาการ
  9. ประสบการณ์ (Experience) ประสบการณ์ในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญ เจ้าหน้าที่จะต้องมีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์ อาการและอาการแสดงเฉพาะในแต่ละการบาดเจ็บ รวมทั้งรู้เทคนิคในการประเมินสภาพการบาดเจ็บแต่ละชนิด ปัจจัยเหล่านี้ สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกปฏิบัติ และเริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ช่วยแพทย์สนามก่อน เมื่อปฏิบัติบ่อยๆ ก็จะทำให้เกิดความชำนาญ และมีทักษะมากยิ่งขึ้น
  10. ความอดทน (Patience) เจ้าหน้าที่จะต้องมีความอดทนต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบระหว่างการปฏิบัติงาน เพราะการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา มีได้หลายชนิด และมีความรุนแรงแตกต่างกัน ขณะประเมินสภาพการบาดเจ็บ และให้การปฐมพยาบาลเจ้าหน้าที่ จะได้รับความกดดันอย่างมาก ทั้งจากผู้ฝึกสอน พ่อแม่ และผู้ที่ชื่นชอบในตัวนักกีฬารายนั้นๆ ดังนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องมีความอดทน และอารมณ์มั่นคงอยู่ตลอดเวลา
  11. ทักษะในการส่งต่อผู้ป่วย (Referral Skills) เจ้าหน้าที่จะต้องมีความรู้ และสามารถตัดสินใจได้ว่า การบาดเจ็บใด จะต้องส่งต่อสถานพยาบาล เพื่อได้รับการรักษาที่ทันเวลา และถูกต้องจากแพทย์ต่อไป
  12. แผนการทำงาน (Plan of Action) เจ้าหน้าที่จะต้องมีการวางแผนในการปฏิบัติงาน แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน มีการเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ให้พร้อม มีการวางแผนเกี่ยวกับการบาดเจ็บ เกินขอบเขตความรู้ความสามารถ ของเจ้าหน้าที่




ขั้นตอนการประเมินสภาพการบาดเจ็บ (Assessment Procedures)


ในการประเมินสภาพการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬา แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ




  1. การสำรวจการบาดเจ็บปฐมภูมิ (Primary survey)
  2. การสำรวจการบาดเจ็บทุติยภูมิ (Secondary survey)



ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้



การสำรวจการบาดเจ็บปฐมภูมิ หมายถึง การประเมินสภาพการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้อง กับการประเมินกลไกพื้นฐานของการมีชีวิต (Basic life support machanisms) ซึ่งประกอบด้วย ทางเดินหายใจ (Airway) การหายใจ (Breathing) และการไหลเวียนเลือด (Circulation) หรือที่รู้จักกกันโดยทั่วไปในชื่อ ABCs of life support ถึงแม้ว่า การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬามีโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บ ที่รุนแรงถึงขั้นคุกคามการมีชีวิตรอด (Life-threatening situations) น้อยก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่ก็จะต้องมีความรู้ และตระหนักถึงภาวะดังกล่าวนี้ตลอดเวลา และสามารถปฏิบัติการช่วยชีวิตได้อย่างเหมาะสม และทันท่วงที ในการประเมินสภาพการบาดเจ็บปฐมภูมิ จะต้องทำด้วยความรวดเร็ว และสมบูรณ์ เนื่องจากระยะเวลาของการมีชีวิตรอดมีอยู่จำกัด


เมื่อเกิดการบาดเจ็บขึ้น เจ้าหน้าที่จะต้องประเมินว่า ผู้บาดเจ็บยังมีความรู้สึกตัวอยู่หรือไม่ ถ้าผู้ขาดเจ็บไม่รู้สึกตัว (unconsious) ให้รีบตรวจสอบทางเดินหายใจ (airway) เพื่อดูว่าทางเด้นหายใจเปิดโล่ง หรือมีอากาศผ่านเข้า-ออก ปอดหรือไม่ ถ้าไม่มีให้ทำการเปิดทางเดินลมหายใจ โดยการแอ่นลำคอ และศีรษะ ยกหลายคางขึ้น (chin tilt) และดึงขากรรไกรไปข้างหลัง (jaw trust) หลังจากนั้นให้ตรวจสอบการหายใจ (breathing) ถ้าผู้บาดเจ็บไม่หายใจ ให้ช่วยโดยการเป่าลมเข้าปอด ด้วยการใช้ถุงลม (ambu bag) หรือใช้วิธีเป่าปาก (mount to mount) ต่อไปให้ทำการประเมินการไหลเวียนเลือด (circulation) โดยการตรวจสอบชีพจร หรือการเต้นของหัวใจ ถ้าหัวใจไม่เต้นให้ทำการฟื้นคืนชีวิต (cardiorespiratory resuscitation) หรือเรียกอีกอย่างว่า CPR อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญที่เจ้าหน้าที่ควรตระหนัก เกี่ยวกับการปฏิบัติดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คือ จะต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็ว ไม่ควรเกิน 1-2 นาที ไม่เช่นนั้นการช่วยชีวิต อาจจะไม่ให้ผล หรือเกิดความพิการตามมาได้


แต่ถ้าการบาดเจ็บไม่รุนแรง ผู้บาดเจ็บสามารถพูดคุยได้ โต้ตอบได้ ให้ทำการประเมินการบาดเจ็บทุติยภูมิ และให้การปฐมพยาบาลตามชนิด และความรุนแรงของการบาดเจ็บต่อไป


การสำรวจการบาดเจ็บทุติยภูมิ (Secondary survey) หมายถึง การประเมินสภาพการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทั้งหมด (evaluate all injuries) ซึ่งในทางกีฬสเวชศาสตร์ (sport medicine) มีการใช้บ่อยมาก เพื่อประเมินธรรมชาติ (nature) ตำแหน่ง (site) และความรุนแรง (severity) ของการบาดเจ็บ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติตามลำดับ ก่อน-หลัง ดังนี้ : ซักถามอาการ (history) สังเกต (observation) และตรวจร่างกาย (physical examination)


ในการซักถามอาการ ข้อมูลที่ควรจะได้จากการพูดคุย ได้แก่ การบาดเจ็บหลัก (primary complaint) กลไกการบาดเจ็บเป็นแบบทันทีทันใด หรือค่อยเป็น มีการเจ็บปวดเรื้อรังมาก่อน เป็นการบาดเจ็บซ้ำที่เดิมหรือไม่ ตำแหน่งที่บาดเจ็บ อาการแสดงที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ ระดับความรู้สึกตัว เป็นต้น


ส่วนการสังเกต สิ่งสำคัญที่จะต้องดูคือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดบากเจ็บโดยรวม สังเกตอาการ การทรงตัว ความสามารถในการทำหน้าที่ ของส่วนร่างกาย ได้แก่ การคลำ (palpation) การตรวจสอบการเคลื่อนที่ และการบาดเจ็บต่อข้อต่อต่างๆ (movement procedures) การประเมินระบบประสาท (neurological evaluation) และตรวจสอบการไหลเวียนเลือด (circulatory evaluation) ข้อมูลที่ได้จากการตรวจร่างกาย ได้แก่ ตำแหน่งที่เจ็บ และ/หรือ กดเจ็บ (pain and point tenderness) พิสัยของการเคลื่อนที่ และความแข็งแรงของข้อต่อ (range of motion and strength) การบวม การเสียรูป รวมทั้งอาการ (signs) อื่นๆ ที่เกิดจากอุบัติเหตุ (swelling, deformity and others signs of trauma) ้เป็นต้น


เมื่อทำการประเมินสภาพการบาดเจ็บเสร็จ เจ้าหน้าที่ก็สามารถให้การปฐมพยาบาล หรือช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ควรตระหนักไว้เสมอว่า ควรดำเนินการด้วยความรวดเร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ และให้ถูกต้อง สมบูรณ์มากที่สุด เพื่อให้ผู้บาดเจ็บปลอดภัยที่สุด และสามารถกลับมาเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายได้ดังเดิม



อุบัติเหตุจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬาที่ต้องนำส่งสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาล มีดังนี้





  1. หมดสติเพราะถูกกระแทก (ถึงแม้จะฟื้นคืนสติแล้วก็ตาม) ผู้บาดเจ็บจะต้องได้รับการตรวจเช็คสมองอย่างละเอียด จากแพทย์ทันที เพราะการบาดเจ็บ หรือโรคอาจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว จนแก้ไขไม่ทันก็ได้ เช่น เลือดออกใต่กะโหลกศีรษะ หรือในสมอง ทำให้มีเลือดคั่งกดทับสมองส่วนที่ดี อาจทำให้พิการไปครึ่งซีก หรือไม่รู้สึกตัวไปตลอดชีวิต ในบางครั้ง ถ้สยังตรวจไม่พบในขณะนั้น อาจต้องดูแลผู้ป่วยต่อไปอย่างใกล้ชิดมาก ต้องตรวจอาการทางสมอง และระบบประสาททุกๆ ครึ่งชั่วโมง เพื่อจะได้แก้ไขและให้การรักษาเสียแต่เนิ่นๆ

    ในบางครั้งมีอุบัติเหตุจากการกีฬา ที่มีศีรษะกระทบกระแทก แต่คนไข้ไม่หมดสติ สมองอาจได้รับการกระทบกระเทือน ทำให้มีอาการในภายหลัง จากเลือดที่ออกอย่างช้าๆ ในสมอง หรือใต้กระโหลกศีรษะ ซึ่งบางครั้งนานเป็นเดือน กว่าที่จะแสดงอาการออกมา อาการที่แสดงว่ามีการบาดเจ็บทางสมองในเบื้องต้น ที่เตือนให้เราทราบว่า จะต้องส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลในทันที คือ การมีอาเจียนพุ่ง และปวดศีรษะอย่างรุนแรง ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัว หรือถึบงแม้จะรู้แต่ไม่สามารถบอกกล่าวได้ ดังนั้น คนใกล้ชิดจึงควรจะรู้ถึงอาการแสดงเหล่านี้ จะได้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ทันเวลา และต้องได้รับการตรวจโดยละเอียด


  2. กระดูกหักทุกชนิด กีฬาที่ปะทะกัน โดยเฉพาะรักบี้ และฟุตบอลนั้น อาจทำให้เกิดกระดูกหักได้บ่อยๆ ผลของกระดูกหักนั้นจะเจ็บ บวมมากทันที เพราะเลือดออกมาก รูปร่างเปลี่ยนไป เช่น โก่ง คด งอ สั้น และเจ็บมาก เมื่อมีการเคลื่อนไหว บางครั้งจะได้ยินเสียงกรอบแกรบ เหมือนเสียงกระดาษทรายถูกัน ตรงบริเวณปลายที่หัก เมื่อมีการเคลื่อนไหว นอกจากผู้ป่วยจะเสียเลือด และเจ็บปวดมากแล้ว การนำส่งโรงพยาบาลช้าเกินไป จะทำให้มีสิ่งแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงพิการได้ การนำส่งสถานพยาบาล ต้องใส่เฝือกชั่วคราวไว้ เมื่อจะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่สำคัญคือ อย่าพยายามดึงกระดูกเข้าที่เอง
  3. ข้อเคลื่อน ข้อหลุดทุกชนิด การบาดเจ็บที่ทำให้ข้อเคลื่อน หรือหลุดจากการเล่นกีฬานั้น มักจะไม่เป็นที่ ข้อไหล่ ข้อศอก และข้อนิ้วมือ ผู้ป่วยจะเจ็บปวด บวม ที่บริเวณข้อต่อเนื่องจากเลือดที่ออก เพราะมีการฉีกขาด ของเยื่อหุ้มข้อ และเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ ข้อ อย่าพยายามดึงเข้าที่เอง เพราะนอกจากจะยาก เนื่องจากกล้ามเนื้อรอบข้อหดเกร็งแล้ว ยังจะไปทำอันตรายเนื้อเยื่อที่ดีอีก ถ้าทำไม่ถูกต้องจริงๆ จะทำให้อาการมากขึ้นไปอีก ควรพยุง หรือประคองอวัยวะส่วนนั้น แล้วรีบส่งพบแพทย์ต่อโดยเร็ว เพื่อที่จะเอกซเรย์ดูว่า มีกระดูกแตก หรือหักอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เพราะบางครั้งอาจมีกระดูกแตกขึ้นเรื่อยๆ ร่วมด้วย จากนั้น จึงค่อยดึงเข้าที่ต่อไป
  4. การตกเลือดจากอวัยวะภายใน แบ่งเป็น 3 ตำแหน่ง คือ ทรวงอก ช่องท้อง เชิงกราน และบั้นเอว

    ทรวงอก กระทบกระแทกที่ทรวงอกพบได้บ่อยๆ ในนักกีฬา ที่มีการปะทะกัน เช่น รักยี้ ฟุตบอล บางครั้งมีกระดูกซี่โครงหัก ทิ่มแทงเนื้อปอด หรือปอดชอกช้ำจากการถูกกระแทก ทำให้มีเลือดออกจากปอด ถูกขังอยู่ภายในช่องเยื่อหุ้มปอด กดทับปอด ทำให้เล็กลง พื้นที่ปอดสำหรับหายใจน้อยลง ทำให้การหายใจลำบาก



    ช่องท้อง เมื่อมีการกระทบกระแทกที่ช่องท้อง อวัยวะภายในบอบช้ำ หรือมีเลือดออกในช่องท้อง โดยเฉพาะนักกีฬส ที่มีการกระแทกรุนแรง เช่น มวยสากล มวยไทย หรือรักบี้ บางครั้งถึงตับแตก ม้ามแตก ทำให้ปวดท้องมาก การตรวจสอบง่ายๆ ว่า มีเลือดออกภายในช่องท้องหรือไม่ ทำได้โดยใช้มือคลำที่หน้าท้องไปทั่วๆ ถ้าหน้าท้องผู้บาดเจ็บ เกร็งต้านอยู่คลอดเวลา ทุกๆ ตำแหน่งที่คลำ ให้สงสัยว่า มีการตกเลือดภายในช่องท้อง แต่ถ้าเกร็งต้านเฉพาะที่บาดเจ็บ หรือกระทบกระแทก แสดงว่า บอกช้ำบริเวณนั้น ยังไม่มีการตกเลือด


    เชิงกราน และบั้นเอว ตำแหน่งดังกล่าวนี้ เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ ถ้าปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ แสดงว่า เป็นการบาดเจ็บที่มีเลือดออกที่ไต ซึ่งอยู่ด้านหลังตอนบนของบั้นเอว หรือในปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด แสดงว่า มีการบาดเจ็บที่ระบบวืบพันธุ์ และกระเพาะปัสสาวะ


    สำหรับการฟกช้ำที่มีอาการ หรือสงสัยว่าจะเป็นอันตรายต่ออวัยวะภายใน ก็ต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว


  5. การบาดเจ็บที่ตา มีอาการตาพร่า ตามัว หรือเห็นว่ามีเลือดออกในตาดำ ซึ่งอันตรายมาก
  6. บาดแผลลึก ที่มีเลือดออกมาก เป็นบาดแผลที่ลึกกว่าชั้นผิวหนัง บางครั้งเห็นไขมันปูดออกมาก จะมีเลือดออกเพราะหลอดเลือดบริเวณชั้นใต้ผิวหนังฉีกขาด ต้องทำการปฐมพยาบาลห้ามเลือด และส่งพบแพทย์ทันที ถ้าช้าไป นอกจากจะเสียเลือดแล้ว โอกาสเกิดการติดเชื้อมีได้ง่าย
  7. สิ่งแปลกปลอมเข้าทางทวาร ที่เอาออกไม่ได้ ทุกทวารไม่ว่าจะเป็น จมูก หู ช่องปาก ทวารหนัก หรือทวารเบา ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดค้างอยู่แล้ว ไม่สามารถเอาออกได้เองในที่เกิดเหตุ ต้องนำส่งโรงพยาบาล ใช้เครื่องมือช่วยเอาออกโดยด่วน เพราะอาจมีอันตรายต่างๆ หรือความพิการตามมาอย่างคาดไม่ถึง
  8. บาดเจ็บที่ไม่ทราบสาเหตุ แต่ผู้ป้วยมีอาการมาก บางครั้งอยู่เฉยๆ ก็มีอาการบาดเจ็บที่รุนแรงมากขึ้น ถึงแม้จะมีสาเหตุ แต่เราไม่ทราบหรือค้นไม่พบ ต้องให้แพทย์ตรวจโดยละเอดีย อาจใช้เครื่องมือประกอบการตรวจด้วย เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป




อย่างไรก็ตาม การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายส่วนใหญ่แล้ว มักเกิดกับระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ โดยแบ่งกลุ่มการบาดเจ็บได้ดังต่อไปนี้




  1. การบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ และเอ็น (ฟกช้ำ และฉีกขาด)
  2. การบาดเจ็บต่อข้อ (หลุดและเคลื่อน)
  3. การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อที่เกิดร่วมกับกระดูกหัก



เนื้อเยื่อ (กล้ามเนื้อ เอ็น เนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ) ได้รับบาดเจ็บ เส้นเลือดเล็กๆ บริเวณนั้นจะฉีกขาด ทำให้มีเลือดออกดดยรอบอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้เกิดการบวม และกดทับเนื้อเยื่อข้างเคียง ทำให้มีอาการปวด และยังทพให้การกลับคืนสภาพเดิม ของเนื้อเยื่อช้าลง เพราะฉะนั้นการปฐมพยาบาล จึงมีเป้าหมายเพื่อหยุด และควบคุมการบวม จากหลอดเลือดที่ฉีกขาดดังกล่าว



หลักสำคัญในการปฐมพยาบาล เมื่อได้รับบาดเจ็บ ควรปฏิบัติดังนี้




  1. อย่าตื่นเต้น หรือตกใจ พยายามตั้งสติให้มั่น เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง แล้วจึงทำการพยาบาลตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง ด้วยความรวดเร็ว พร้อมทั้งพูดจาปลอบโยน และให้กำลังใจแก่ผู้บาดเจ็บไปพร้อมกันด้วย
  2. รีบให้การปฐมพยาบาลต่อการบาดเจ็บ ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตก่อนอื่นโดยเร็ว เช่น หัวใจหยุดเต้น การหายใจขัด การตกเลือด เป็นต้น
  3. ให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บนอนราบ และเอียงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง ยกเว้นในกรณีที่มีหลักฐาน หรือเกิดการบาดเจ็บบริเวณลำคอ ให้นอนศีรษะตรง โดยมีหมอน หรือวัสดุอื่นใดที่คล้ายๆ กับประกบศีรษะ เพื่อประคองให้ศีรษะอยู่ในท่าตรงตลอดเวลา
  4. ถ้ามีผู้บาดเจ็บหลายๆ รายพร้อมกัน ให้พิจารณาดูความสำคัญว่า รายใดควรได้รับการปฐมพยาบาลก่อน
  5. ทำการปฐมพยาบาลอย่างนุ่มนวล และรวดเร็ว ด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ที่สะอาด อย่านำเอาความสกปรกมาเพิ่ม
  6. ปลดเปลื้องเครื่องนุ่งห่มที่ทำให้การปฐมพยาบาล ทำได้ไม่สะดวก หรืออาจรัดแน่นเกินไป แล้วใช้ผ้าคลุม หรือห่มแทย เพื่อความอบอุ่น
  7. อย่าให้น้ำ อาหาร หรือยา แก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บที่ช่องท้อง หรือหมดสติ เพราะอาจจะทำให้อาเจียน สำลัก ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงยิ่งขึ้น
  8. ไม่ควรให้ยาแก้ปวดแก่ผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนที่สมอง เพราะจะทไให้บดบังอาการทางสมอง
  9. ก่อนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องให้การปฐมพยาบาลเรียบร้อยก่อนทุกครั้ง
  10. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องทำให้ถูกต้อง ตามลักษณะการบาดเจ็บนั้นๆ เช่น อาจจะใช้การประคอง หาม หรือใช้เปล และควรติดตามดูแลในระหว่างทาง จนกระทั่งถึงมือแพทย์



หลักการปฐมพยาบาลบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และเล่นกีฬา


เริ่มจากการตรวจร่างกาย เพื่อประเมินลักษณะ ความรุนแรงของบาดแผล หรือการบาดเจ็บที่ได้รับ รวมทั้งซักถามอาการจากนักกีฬา เช่น ีบวม หรือกดเจ็บ มีอาการปวดขณะเคลื่อน หรือจยับส่วนนั้นๆ หรือไม่ หลังจากได้ข้อมูลการบาดเจ็บแล้ว ให้เริ่มทำการปฐมพยาบาล โดยปฏิบัติตามอักษรภาษาอังกฤษ ในคำว่า "RICE" โดยที่ R ใช้แทนคำว่า Rest I ใช้แทนคำว่า Ice C ใช้แทนคำว่า Compression E ใช้แทนคำว่า Elevation รายละเอียดของการปฏิบัติตามแนวทาง RICE มีดังนี้






  1. การพัก (Rest) การใช้งานส่วนของร่างกาย ที่ได้รับบาดเจ็บทันที นั่นคือ ให้หยุดพักการเล่นกีฬา โดยเฉพาะในช่วง 6 ชั่วโมงแรก ของการบาดเจ็บ ซึ่งถือว่า เป็นช่วงที่สำคัญ ควรมีการให้พักการใชเงาน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้ว การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายต้องการเวลาพักประมาณ 48 ชั่วโมง ก่อนที่จะมีการเคลื่อนไหว (mobilization) อีกครั้ง
  2. การใช้ความเย็น (Ice) โดยการประควบเย็น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการมีเลือดออก บริเวณเนื้อเยื่อ ลดบวม และอาการปวดได้ ระยะเวลาการประคบเย็น ต้องกระทำให้เหมาะสมกับบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ โดยทั่วไปการประคบเย็น ให้ประคบนานครั้งละ 10 ถึง 20 นาที หยุดประคบ 5 นาที ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่บวม หรือทำวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง วิธีที่นิยมใช้ในการประคบเย็น ได้แก่

    • การใช้เป็นถุงเย็น (ice pack) ซึ่งจะคงความเย็นได้ประมาณ 45-60 นาที และต้องมีผ้าห่อไว้ ไม่ให้ถุงเย็นสัมผัสโดยตรงกับผิวหนัง
    • การใช้ถุงใส่น้ำแข็ง ผ้าชุบน้ำเย็น ในกรณีที่ไม่มีถุงเย็น หรือบริเวณของการบาดเจ็บ กว้างเกินขนาดของถุงเย็น
    • การพ่นด้วยสเปรย์เย็น (cooling spray) อาจใช้ลดปวดเฉพาะที่ได้ชั่วคราว สามารถใช้ได้กับบริเวณที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ไม่หนา เช่น คาง สันหมัด ข้อเท้า

  3. การพันผ้ายืด (Compression bandage) เพื่อกดไม่ให้มีเลือดออกในเนื้อเยื่อมาก มักใช้ร่วมกับการประควบเย็น เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้งสองด้านร่วมกัน การพันผ้ายืดควรพันให้กระชับ ส่วนที่บาดเจ็บ และควรใช้ผ้าสำลีผืนใหญ่รองไว้ให้หนาๆ โดยรอบ ก่อนพันด้วยผ้ายืด ควรพันผ้ายืดคลุมเหนือ และใต้ต่อส่วนที่บาดเจ็บ
  4. การยก (Elevation) ส่วนของร่างกายที่ได้รับการบาดเจ็บ ให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้สะดวก เช่น การนอนวางขา หรือเท้าบนหมอน ในกรณีที่นั่ง ให้วางเท้าบนเก้าอี้ เป็นต้น ในกรณีบาดเจ็บรุนแรง ควรยกสูงไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง นอกจากนี้ การยกส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บ ให้สูง ยังช่วยในการลดการกดของน้ำหนักเซลล์ที่หลั่งออกมา สู่เนื้อเยื่อบริเวณนั้น ทำให้ลดการบวมลงได้



อย่างไรก็ตาม บางหลักปฏิบัติ อาจเพิ่มการป้องกันการบาดเจ็บเพิ่ม (Protection) ด้วย ซึ่งอาจจะพบได้ในบางตำรา ทำให้หลักการปฏิบัติเพิ่มจาก "RICE" เป็น "PRICE" เช่น ในกรณีบาดเจ็บรุนแรง ที่สงสัยว่า มีอันตรายต่อข้อต่อ หรือกระดูก ควรตาม (splint) ด้วยอุปกรณ์ที่แข็ง และขนาดเหมาะสมกับอวัยวะ ซึ่งหาได้ในบริเวณที่เกิดเหตุ เพื่อประคองอวัยวะ และป้องกัน (Protection) ไม่ให้มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อเพิ่มเติม



ข้อควรหลีกเลี่ยง


ควรหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนในรูปแบบต่างๆ ในระยะแรก (48 ชั่วโมง) ของการบาดเจ็บ เพราะจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว มีเลือดออกในบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น นำไปสู่การบวมของเนื้อเยื่อโดยรอบ และจะมีอาการปวดมากขึ้น การหายจะช้าลง


สำหรับการดูแลปฐมพยาบาลการบาดเจ็บ ในแต่ละส่วน เป็นดังนี้




  1. การปฐมพยาบาลบาลเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ
  2. การปฐมพยาบาลบาลเจ็บบริเวณเอ็น
  3. การปฐมพยาบาลบาลเจ็บบริเวณข้อต่อ
  4. การปฐมพยาบาลบาลเจ็บบริเวณกระดูก





  1. การปฐมพยาบาลบาลเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหว วิ่ง หรือออกกำลังกาย คือ กล้ามเนื้อลาย โดยแต่ละใยของกล้ามเนื้อ จะรวมกันเป็นมัดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายกล้ามเนื้อให้แข็งแรง จะทำให้กล้ามเนื้อนั้น ทนต่อการปวดเมื่อยและอักเสบได้ การเสี่ยงต่อการบาดเจ็บก็มีน้อย กล้ามเนื้อมีหน้าที่ยืดและหด ถ้ามีความแข็งแรงยืดหยึ่นดี เมื่อเกิดแรงกระตุก กระชาก ทำให้เกิดการฉีกขาดได้ยาก การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อมีดังนี้

    1. ตะคริว (cramp) เกิดจากการหดเกร็งตัวชั่วคราว ของกล้ามเนื้อนั้นๆ ทั้งมัด ทำให้เห็นเป็นก้อน หรือเป็นลูก จะมีอาการเจ็บปวดมาก และอยู่นอกเหนือการบังคับจากจิตใจ อาจจะเกิดได้บ่อยๆ และซ้ำที่เดิม หรือเป็นหลายๆ มัดพร้อมกันได้ สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง หรือไม่ได้รับการฝึกอย่างเพียงพอ เมื่อวิ่งหรือใช้งานมากเกินไป นอกจากนี้ การที่ร่างกายขาดเกลือแร่บางชนิด เช่น แคลเซียม ฯลฯ หรือในสภาพอากาศที่เย็น หรือการรัดผ้ายืดแน่นเกินไป เลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อน้อย จะยิ่งก่อให้เกิดตะคริวได้ง่ายขึ้น

      การปฐมพยาบาล ในขณะที่กำลังเล่นกีฬา แล้วเกิดเป็นตะคริว ให้หยุดพักทันที จากนั้นเหยียด และยืดกล้ามเนื้อมัดนี้ให้เต็มที่ประมาณ 5-10 นาที เมื่อคลายการเกร็งตัวแล้ว จึงนวดต่อด้วยน้ำมันนวดที่ร้อน ด้วยอุ้งมือเบาๆ ห้ามจับ บีบ หรือขยำ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งตัว เกิดตะคริวได้อีก หลังจากนั้นต้องบริหารกล้ามเนื้อมัดนั้นเป็นพิเศษ เพื่อให้แข็งแรงอยู่เสมอ จะได้ไม่เกิดอาการขึ้นมาอีก โดนทั่วไปแล้วตะคริวมักเกิดกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่น กล้ามเนื้อน่อง แต่ก็สามารถพบได้ในกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครง (intercostal muscles) หลักการทั่วไปในการปฐมพยาบาลตระคริว ในกรณีที่ไม่สามารถยึดกล้ามเนื้อ (passive stretching) ได้ให้ผู้บาดเจ็บพัก และหายใจเข้าออกลึกๆ (deep breathing) และประคบด้วยความเย็น (ice pack) อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อจากตะคริว ก็จะค่อยทุเลาลง


      ตัวอย่าง เมื่อขณะเล่นกีฬาแล้วเกิดเป็นตะคริวที่น่อง มีอาการปวดที่น่องมาก คลำดูจะแข็งเป็นลูก ใช้ขาข้างนั้นต่อไปไม่ได้ การปฐมพยาบาล คือ ให้นักกีฬาผู้นั้นพัก ถอดรองเท้า และถุงเท้าออกให้หมด นั่ง หรือนอนราบ ให้เข่าอยู่ในท่าเหยียดตรง ค่อยๆ ใช้มือดันปลายเท้า ให้กระดกขึ้นเต็มที่อย่างช้าๆ ทำอยู่ในท่านี้ประมาณ 5-10 นาที กล้ามเนื้อน่องจะคลายการเกร็งตัว อาการปวดจะลดลง จากนั้นให้นอนคว่ำ ทาน้ำมันนวดที่ร้อน และนวดด้วยอุ้งมือเบาๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียน ของเลือดให้มาที่กล้ามเนื้อมัดนั้นมากขึ้น



    2. กล้ามเนื้อบวม เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้ย จากการบวมของกล้ามเนื้อในช่องว่างที่จำกัด เพราะมีเยื่อพังผืด ที่ค่อนข้างเหนียวห่อหุ้มอยู่ ทำให้ปวดมาก ปวดอยู่ตลอดเวลา กินยาแก้ปวดก็ไม่หาย ถ้าลองเหยียดกล้ามเนื้อมัดนั้น จะเจ็บปวดอย่างมาก สาเหตุเกิดจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมัดนั้น หรือกลุ่มนั้นน้อย พบในนักวิ่งที่เริ่มต้นฝึกซ้อมหนักเกินไป กล้ามเนื้อยังไม่คุ้นเคย และแข็งแรงพอ มักพบในกล้ามเนื้อที่ขา (หน้าแข้งและน่อง) ในรายที่มีอาการเกิดขึ้น ถึงแม้เจ็บแล้วก็ยังฝืนวิ่งต่อ จะเป็นอันตรายมาก เพราะกล้ามเนื้อที่บวมจะไปกดทับเส้นประสาท หลอดเลือด ทำให้ไม่มีประสาทสั่งงาน และกล้ามเนื้อตาย จึงเกิดเป็นอัมพาต หรือถึงกับเสียขาไปเลยก็ได้

      การปฐมพยาบาล เมื่อมีอการเกิดขึ้นให้หยุดเล่นกีฬาทันที แล้วประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น ยกเท้าสูง หลังจากอาการดีขึ้นแล้ว ต้องฝึกโดยบริหารกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ให้แข็งแรง เพื่อให้ทนการบาดเจ็บชนิดนี้ได้ และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการนี้อีก ค่อยๆ เพิ่มความหนักของการฝึกทีละน้อยๆ และสังเกตอาการด้วย ถ้ามีอาการผิดปกติให้หยุดทันที ระหว่างนี้ก็ต้องบริหารกล้ามเนื้อนี้ให้แข็งแรง ควบคู่กันไปด้วย ก็จะสามารถฝึกหนักเพิ่มไปได้เรื่อยๆ ในรายที่มีอาการมากดังกล่าวแล้ว เมื่อพบแพทย์จะต้องรีบทำการผ่าตัดรักษาทันที โดยเปิดช่องว่างของพังผืด ที่ห่อหุ้มกล้ามเนื้อออก เพื่อให้กล้ามเนื้อขยายตัวได้เต็มที่ ไม่ให้กล้ามเนื้อที่บวมอยู่ในเนื้อเยื่อที่จำกัด ตาย หรือไปกดทับเส้นประสาท และเส้นเลือด ซึ่งถ้าเข้าไป หรือให้การรักษาไม่ถูกต้อง จะทำให้ส่วนปลายของอวัยวะ เช่น ขา เกิดพิการหรือตาย หมดโอกาสเล่นกีฬา อีกต่อไป


    3. กล้าเนื้อชอกช้ำ (contusion) เกิดจากการถูกกระแทกที่กล้ามเนื้อด้วยของแข็ง ทำให้กล้ามเนื้อชอกช้ำ และหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อฉีกขาด มีเลือดคั่งอยู่ในกล้ามเนื้อ ถ้าเป็นมาก หรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง เลือดที่คั่งจะไปจับกันเป็นก้อนเดียว เกิดเป็นพังผืด ทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ไม่เต็มที่ และเกิดการเจ็บปวดได้

      การปฐมพยาบาล เมื่อได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ จากการกระทบกระแทก ให้หยุดพักทันที พร้อมกับประคบน้ำแข็งประมาณ 15-20 นาที เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออก หรือออกน้อยที่สุด จากนั้นใช้ผ้ายืด หรือผ้าพันทับกล้ามเนื้อนั้น เพื่อจะได้มีแรงกด หรือหยุดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดนั้น หลังจากนั้น 1-2 วัน ให้ประคบน้ำร้อน หรือนวดด้วยน้ำมันที่ร้อนเบาๆ เพื่อให้เลือดที่อยู่กระจายตัว และถูกดูดซึมกลับไป ในที่สุดจะได้ไม่มีการยึดติด ด้วยพังผืดที่จะทำให้ประสิทธิภาพ ของกล้ามเนื้อเสียไป


    4. กล้ามเนื้อฉีกขาด (strain) เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ แรงกระทบจากภายนอก และตัวกล้ามเนื้อเอง ดังนี้


      1. เกิดจากแรงกระทบภายนอก เกิดจากการถูกกระทบด้วยของแข็งอย่างแรง ทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาด และมีเลือดออกมาก
      2. จากตัวกล้ามเนื้อเอง เมื่อวิ่งหลบหลุม หรือเปลี่ยนท่าการเล่นกีฬาทันที ทำให้มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อมัดนั้น โดยฉับพลัน เกิดการฉีกขาดขึ้น ทั้งนี้เพราะกล้ามเนื้อมัดนั้นไม่แข็งแรง มีความทนทานน้อย

      เมื่อเกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อทันที เราสามารถแบ่งระดับง่ายๆ โดยใช้มือ หรือนิ่วคลำดู จะพบร่องบุ๋มตรงตำแหน่งที่ฉีกขาด แต่ระยะต่อมาจะบอกได้ยาก เพราะจะมีเลือดออก มากลบร่องตรงที่ฉีกขาด ทำให้ตรวจ หรือวินิจฉัยแบ่งระดับความรุนแรงได้ยาก


      การปฐมพยาบาล เมื่อมีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อเกิดขึ้น การปฐมพยาบาลทั่วไปก็คือ หลุดเล่นกีฬาทันที แล้วประคบน้ำแข็ง 15-20 นาที พัก 5 นาที สลับกันไป จนไม่มีการบวมเพิ่มขึ้น พร้อมๆ กับใช้าผ้ายืดรัด ให้เกิดแรงกดบริเวณนั้น ต้องระวังไม่รัดแน่นจนเกินไป และให้ยกส่วนปลายสูง เพื่อให้เลือดไหลเวียน กลับสู่หัวใจได้สะดวก เป็นการลดอาการบวม หลังจากนั้น 1-2 วัน ให้ประคบน้ำร้อน เพื่อให้หลอดเลือกบริเวณนั้นขยายตัว จะได้ดูดซับเอาเลือดที่ออกกลับไป เมื่อเริ่มมีกล้ามเนื้อฉีกขาด ควรตรวจดูโดยเร็ว โดยการคลำเพื่อดูระดับการฉีกขาด ถ้าเป็นการฉีกขาดระดับที่ 1 เส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fibers) ฉีกขาดน้อยกว่า 10% บวมเล็กน้อย หรือไม่บวม ปวดไม่มาก วิ่งหรือเคลื่อนไหวต่อไปได้ ประมาณ 3 วัน อาการจะหายไป ถ้าเป็นระดับที่ 2 เส้นใยกล้ามเนื้อฉีกขาด 10-50% บวมมากขึ้น ปวดมาก เล่นกีฬาต่อไปไม่ได้ พอเดินได้ หลังจากปฐมพยาบาลแล้ว ต้องทำให้กล้ามเนื้อที่ฉีกขาดนั้นอยู่นิ่งๆ เพื่อให้ไม่มีแผลเป็น หรือมีพังผืดจับน้อยที่สุด โดยการยึดด้วยปลาสเตอร์ (เฝือกอ่อน) 3 สัปดาห์ ก็จะหายเป็นปกติ ถ้ามีการเคลื่อนไหว จะทำให้มีแผลเป็นใหญ่ และมีพังผืดเกิดขึ้น ประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อจะลดลงไป ถ้าตรวจพบโดยใช้นิ้วคลำ พบร่องบุ๋มใหญ่ พบว่า เป็นระดับที่ 3 เส้นใยกล้ามเนื้อมีการฉีกขาด 50-100% บวมมาก ปวดมาก หรือน้อย (ถ้าฉีกขาดสมบูรณ์) เล่นกีฬา หรือเดินต่อไปได้ เพราะกล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้ ต้องรีบส่งพบแพทย์ทันที เพราะต้องรักษา โดยการผ่าตัดเย็บต่อกล้ามเนื้อ และเข้าเฝือก การได้ยาพวกต้านการอักเสบรับประทาน จะทำให้หายเร็วขึ้น



  2. การปฐมพยาบาลบาดเจ็บบริเวณเอ็น เอ็นเป็นตัวเชื่อมระหว่างกล้ามเนื้อ และกระดูก สามารถยืดและหดตัวได้ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ประกอบด้วยเอ็น และเยื่อหุ้มเอ็น การบาดเจ็บที่เอ็นนี้ มักเกิดจากการใช้งานมากเกินไป หรือเกิดจากการบาดเจ็บโดยทางอ้อม ส่วนการบาดเจ็บโดยตรงจากการถูกระทบกระแทกนั้น พบได้ไม่บ่อยนัก (ส่วนใหญ่จะเป็นเอ็นที่อยู่ในตำแหน่งตื้นๆ เช่น ที่ข้อมือ เป็นต้น) การบาดเจ็บเกี่ยวกับเอ็น มีดังต่อไปนี้


    1. ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ (tenovaginitis) ที่พบได้บ่อยๆ จากการเล่นกีฬา คือ บริเวณข้อมือ และนิ้วมือ เนื่องจากการใช้งานมากเกินไป เช่น การเหวี่ยง บิด หรือสะบัดบริเวณข้อมือ และการบีบกำ หรือเกร็งบริเวณนิ้วมือ ทำให้ปลอกหุ้มเอ็นมีการอักเสบ และหนาตัวขึ้น ทำให้ช่องที่เอ็นจะลอดผ่านแคบลง เกิดการติดขัดในการเคลื่อนที่ของเอ็น เกิดการเจ็บปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว มีอาการบวม กดเจ็บ และจะเจ็บมาก เมื่อมีการบิดข้อมือ หรือยืดนิ้วออก

      การปฐมพยาบาล ในรายเฉียบพลัน ให้การปฐมพยาบาลแบบทั่วๆ ไป ใช้น้ำเย็นประคบ พักให้ยาแก้ปวด และยาต้านการอักเสบนาน 3 สัปดาห์ พร้อมๆ กับการรักษาทางกายภาพบำบัด หลังจากเวลาผ่านไป 2 วัน เช่น ประคบร้อนหรือคลื่นเหนือเสียง (อัลตราซาวน์) ถ้าไม่หายให้ฉีดยาต้านการอักเสบ สเตียรอยด์เฉพาะที่ ในรายที่เป็นเรื้อรัง อาจต้องผ่าตัดเปิดปลอกหุ้มเอ็นออก เพื่อให้เอ็นเคลื่อนไหวได้สะดวก การป้องกัน คือ ต้องหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่หนักเกินไปในทันที ต้องค่อยๆ เพิ่มการฝึกทีละน้อยๆ และบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอยู่เสมอ (เอ็นที่อยู่ต่อกล้ามเนื้อ จะแข็งแรงตามไปด้วย)


    2. เยื่อหุ้มเอ็นอักเสบ (paratendinitis) จะมีอาการปวด บวม และกดเจ็บรอบๆ เอ็นนั้นๆ มักพบที่เอ็นร้อยหวาย เอ็นใต้ตาตุ่มด้านนอก สาเหตุเกิดจากการใช้งานมากเกินไป เช่น วิ่งมากเกินไป ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น การอักเสบอาจเป็นแบบเฉียบพลัน มีการอักเสบเกิดขึ้นทีละน้อย สะสมไว้จนเกิดอาการขึ้นมาทันที หรือเป็นแบบเรื้อรัง ซึ่งทั้งที่มีอาการแล้ว แต่ยังใช้งาน หรือเล่นกีฬาต่อไปเรื่อยๆ หรือเพียงแต่พักช่วยคราว แล้วไปเล่นกีฬาอีก ทั้งๆ ที่ยังไม่หาย พวกนี้มักต้องลงเอยด้วยการผ่าตัดรักษา

      การปฐมพยาบาล เหมือนๆ กับหารปฐมพพยาบาลปลอกเอ็นอักเสบ คือ ประควเย็น พัก และให้ยา ในรายที่เป็นการอักเสบครั้งแรกจริงๆ อาจไม่ต้องให้ยา เพียงแต่พักก็สามารถหายได้ แต่ต้องไม่ลืมการบริหาร และฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และเอ็นนั้น ให้แข็งแรงก่อนเสมอ เพื่อจะได้ไม่เกิดการบาดเจ็บซ้ำเดิมอีก


    3. เอ็นอักเสบ (tendintis) เป็นการอักเสบของตัวเอ็นเอง มักพบภายในส่วนกลางของเส้นเอ็น เพราะมีเลือดมาเลี้ยงน้อย เกิดจากการเล่นกีฬา หรือซ้อมหนักเกินไป ใช้งานมากเกินไป หรือเกิดจากอุปกรณ์การเล่นไม่ถูกต้อง เช่น รองเท้าพื้นแข็งเกินไป พื้นที่ หรือสนามเล่นกีฬาแข็งมาก หรือมีการโหมเล่นกีฬาหนักทันที หรือเพิ่มความเร็ว จากการวิ่งอย่างกระทันหัน ที่พบได้บ่อยๆ คือ เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นข้อมืออักเสบ จะมีอาการปวดบวม เจ็บ กดเจ็บ และมักมีอาการปวด ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น หลังจากเล่นกีฬา หรือฝึกซ้อมมากเกินไป เมื่อสายๆ อาการจะน้อยลงไป แต่เมื่อเริ่มเล่นกีฬา จะมีอาการปวดอีก อาการมักเป็นเรื้อรัง และแสดงอาการมากน้อยต่างกันออกไป นักกีฬาที่มีร่างกาย และสมรรถภาพไม่สมบูรณ์ หรือเล่นกีฬาด้วยเทคนิคไม่ถูกต้อง จะเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บ ในลักษณะนี้ได้ง่าย ที่พบได้บ่อยๆ คือ เอ็นบริเวณข้อไหลือักเสบ หรือเอ็นร้อยหวายอักเสบ เช่น นักกีฬาวอลเลย์บอล และนักแบดมินตันที่ต้องตบลูกหนักหน่วง และบางครั้งต้องใช้งานถี่มาก หรือในนักวิ่งที่ซ้อมหนัก และวิ่งบนพื้นที่แข็ง เป็นต้น

      การปฐมพยาบาล ในรายที่มีอาากรเฉียบพลัน ให้ใช้หลักการปฐมพยาบาลทั่วไป คือ พัก และประคบเย็น มักไม่ค่อนใช้วิธีผ่าตัดรักษา การให้พัก และให้รับประทานยาต้านการอักเสบ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ทำให้อาการหายเป็นปกติได้ การป้องกันนั้นต้องค่อยๆ เพิ่มการเล่นกีฬามากขึ้นทีละน้อย อย่าหักโหมฝึก หรือเพิ่มความเร็วในการเล่นอย่างกะทันหัน และต้องบริหารกล้ามเนื้อ ให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้มีเอ็นที่แข็งแรง ที่สำคัญคือ เทคนิคการเล่นกีฬาและอุปกรณ์กีฬาต้องถูกต้อง



    4. เอ็นฉีกขาด มักพบในนักกีฬาสูงอายุ (มากกว่า 40 ปี) เนื่องจากการเล่นกีฬาชนิดที่จะต้องเปลี่ยนทิศทาง และความเร็วทันทีทันใด เช่น วิ่งหลบหลุมหลบบ่อ หรือบิดหมุนตัวทันที เกิดการฉีกขาดของเอ็นเป็นบางส่วน หรือมีการฉีกขาดโดยสมบูรณ์ มักพบที่เอ็นร้อยหวาย ซึ่งเสื่อมจากการใช้งานมาก หรือพวกที่เคยรักษาโดยการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่เข้าไป ในเอ็น (อันตรายมาก) เมื่อมีการฉีกขาดขณะเล่นกีฬา จะมีอาการเจ็บปวดมาก บวม เล่นกีฬาต่อไม่ได้ เพราะเดินหรือวิ่งไม่ได้ ถ้าฉีกขาดมาก ถึงกับขาดอย่างสมบูรณ์ จะทำให้กระดูกข้อเท้าลงไม่ได้ เป็นต้น

      การปฐมพยาบาล ให้ใช้หลักการปฐมพยาบาลทั่วไป ดังได้กล่าวมาแล้ว จากนั้นควรให้แพทย์ทำการรักษาต่อ ถ้าไม่สามารถหายไปได้เองใน 3 วัน แสดงว่ามีการฉีกขาดเป็นบางส่วน ต้องยึด หรือล็อกให้อยู่นิ่งๆ โดยใช้เฝือกปูน หรือเฝือกอ่อน (พันผ้าพลาสเตอร์) นาน 3 สัปดาห์ แต่ถ้ามีการฉีกขาดโดยสมบูรณ์ หรือเกือบสมบูรณ์ (50-100%) ต้องรักษาโดยการผ่าตัดเย็บต่อเอ็น แล้วใส่เฝือกปูนไว้ 3-6 สัปดาห์ จากนั้น จึงบริหารเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บให้แข็งแรงก่อน จึงจะกลับไปเล่นกีฬาได้ตามปกติ การป้องกันที่ง่ายๆ คือ การบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอยู่เสมอ เอ็นก็จะแข็งแรงตามไปด้วย และหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬา ที่จะต้องเปลี่ยนทิศทาง และความเร็วอย่างกะทันหัน



  3. การปฐมพยาบาลบาลเจ็บบริเวณข้อต่อ ข้อต่อประกอบด้วย ปลายกระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปต่อกัน โดยที่มีกระดูกอ่อนหุ้ม ที่ปลายกระดูกอ่อน และปกคลุมโดยรอบด้วยเยื่อบุข้อ (synovial membrane) ซึ่งทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อลื่น และยังมีส่วนควบคุมห่อหุ้มให้แข็งแรง และมั่นคง ภายนอกข้อต่อที่สำคัญ คือ เอ็นยึดข้อ (ligament) มีเอ็นยึดข้อบางอัน เข้าไปอยู่ในข้อก็มี หรือบางทีจะมีหมอนกระดูกอ่อนรองข้อเท้า เช่น ข้อเข่า เป็นต้น

    การบาดเจ็บที่ข้อต่อ มีดังนี้




    1. ข้อเคล็ด ข้อแพลง (sprain) เกิดจากการฉีกขาดของเอ็นที่ยึดข้อต่อ การฉีกขาดอาจเป็นเพียงบางส่วน หรือฉีกขาดทั้งหมด ถ้ารักษาไม่ดี อาจจะทำให้เอ็นยึด หรือติดไม่แข็งแรง หรือติดไม่ดี ผลที่ตามมา คือ เจ็บ ข้อหลวม หรือเกิดข้อเสื่อมในภายหลังได้

      บาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่พบบ่อย คือ ข้อเท้า ข้อเข่า ถ้ามีการฉีกขาดถึงเยื่อบุข้อต่อ จะทำให้เลือดออก คั่งอยู่ภายในข้อ เมื่อดูจากภายนอก จะเห็นว่า ข้อนั้นบวมขึ้นอย่างรวดเร็ว เอ็นยึดข้อเท้ากลุ่มที่เสี่ยงอันตรายมาก คือ กลุ่มที่อยู่ตรงบริเวณตาตุ่มด้านนอก ถ้าข้อเท้าพลิกในลักษณะที่ฝ่าเท้าบิดเข้าใจ จะมีผลให้เอ็นยึดข้อเท้าด้านนอก ที่เกาะติดกับบริเวณตาตุ่มด้านนอกบาดเจ็บ กลุ่มเอ็นยึดที่เข่า ที่เสี่ยงอันตรายมาก คือ กลุ่มที่อยู่ด้านใน และด้านนอกของข้อเข่า ถ้าข้อเข่าพลิกออกด้านนอก (โดยขากางออกทางด้านนอก และเข่าอยู่กับที่) จะทำให้เอ็นด้านในข้อเข่าฉีกขาด ซึ่งพบได้มากกว่าด้านนอกของข้อเข่าฉีกขาด ถ้ามีความรุนแรงมากขึ้น จะทำให้เยื่อบุข้อต่อฉีกขาด ทำให้บวมทั้งข้อต่อ สำหรับข้อเข่านั้น อาจทำให้เอ็นภายในข้อเข่าฉีกขาดร่วมด้วย ซึ่งเป็นบาดเจ็บที่รุนแรง ของข้อเข่าเลยทีเดียว เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที โดยการผ่าตัด จะทำให้ข้อเข่าหลวม (ซึ่งพลาดกันเสมอๆ สำหรับบาดเจ็บของข้อเข่า เนื่องจากการล่าช้า ทำให้ไม่สามารถต่อเอ็นภายในข้อเข่า ที่ฉีกขาดได้ ถ้าไม่ได้ทำการผ่าตัดต่อเอ็นนี้ ภายในเวลาประมาณ 5 วัน นับแต่วันที่ได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากเอ็นภายในข้อเข้านั้น ได้ถูกย่อยไปแล้ว) การทำในภายหลัง จะต้องใช้เส้นเอ็นเส้นอื่นๆ ของร่างกาย มาทดแทย หรือใช้เอ็นเทียม ทำให้วิ่งเลี้ยวไม่ได้ ไม่สามารถหยุดวิ่งได้ทันที ด้วยขาข้างนั้น หรือเมื่อลงบันได จะรู้สึกเข่าจะหลุดลอยออกไป เป็นต้น


      ความรุนแรงของข้อเคลฺด ข้อแพลง แบ่งเป็น 3 ระดับ


      ระดีบที่ 1 มีการฉีกขาดของเอ็นเล็กน้อย หรือมีการยึดของเอ็นบริเวณข้อต่อนั้น กดเจ็บบริเวณที่มีการฉีกขาด แต่จะไม่บวม หรือบวมเล็กน้อย อยู่เฉยๆ จะไม่เจ็บมีการเสียว หรือปวดที่ข้อต่อนั้นน้อยมาก และเดินไม่กะแผลก


      การปฐมพยาบาล ให้พักข้อต่อโดยยกให้สูง และประคบเย็นทันที ปริมาณ 5-10 นาที โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งทุบละเอียด บรรจุในกระเป๋ายาง ถุงพลาสติก หรือห่อผ้า และพันผ้ายืดไว้ ในหนึ่งชั่วโมงแรก หลังบาดเจ็บให้ประคบน้ำแข็งวางต่อเนื่องกัน 15 นาที หลังจากนั้นให้ประคบ 10-15 นาที สลับพัก 10-15 นาที ในชั่วโมงหลังๆ ประคบห่างออกไปเรื่อยๆ ให้ประคบ 4-8 ครั้งต่อวัน การประคบน้ำแข็งให้ประคบแค่ 24 ชั่วโมง หลังบาดเจ็บก็เพียงพอแล้ว ประมาณไม่เกิน 3 วันจะหายเป็นปกติ



      ระดับที่ 2 จะมีความรู้สึกเจ็บปวด มีการเสียวที่ข้อต่อนั้นเล็กน้อย เดินกะเผลก สำหรับข้อเท้านั้น จะทำให้ไม่สามารถเขย่งปลายเท้า หรือยืนบนปลายนิ้วเท้า เวลาเดินจะมีการบวมเฉพาะที่ และถ้าใช้นิ้วกดลงตรงบริเวณนั้น จะมีอาการเจ็บปวเอย่างมาก ควรระวังไม่ให้มีการเคลื่อนไหว หรือหมุนบิดของข้อนั้น เพราะอาการบวม จะมีในทันที เนื่องจากมีการฉีกขาดของหลอดเลือด บริเวณนั้น ทำให้มีเลือดคั่ง บริเวณใต้ผิวหนัง


      การปฐมพยาบาล สิ่งที่ต้องทำทันที คือ การพัก และบกข้อนั้นให้สูงไว้ จากนั้นประคบน้ำเย็นทันที ควรประคบหลายๆ ครั้งติดต่อกัน แต่ละครั้งติดต่อกัน แต่ละครั้งนานประมาณ 5-10 นาที พัก 2-3 นาที ระหว่างพัก ควรเฝ้าดูอาการบวมบริเวณนั้น ถ้าอาการบวมคงที่ ไม่เพิ่มขึ้น เป็นอันเสร็จวิธีประคบเย็น จากนั้นพันข้อต่อนั้นด้วยปลาเตอร์หลายๆ ครั้ง ที่เรียกว่า เฝือกอ่อน (Gibney's strap) ให้ยึดตรึง หรือล็อกข้อนั้นไว้ เพื่อให้เอ็นประสานกัน และติดกันสนิท (สำหรับข้อเท้านั้น ให้ยกกระดกขึ้น และบิดออกทางด้านนอก) จากนั้น พันด้วยผ้ายืด เราจะพันไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ โดยเปลี่ยนปลาสเตอร์ที่พันทุก 1 สัปดาห์ เพราะมันจะยึดและทำให้หลวมได้ เมื่อครบ 3 สัปดาห์ เอาเฝือกอ่อนนี้ออก แล้วค่อยๆ หัดบริหารข้อต่อนั้น โดยเคลื่อนไหวต่อต้านแรง ที่ต่อต้านการเคลื่อนไหว เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบข้อต่อนั้นแข็งแรง เมื่อข้อต่อมีความแจ็งแรงมั่นคง หายเป็นปกติดี สามารถเล่นกีฬาได้อย่างมั่นใจ แต่ถ้าไม่บริหารหลังเอาเฝือกอ่อนออก แล้วไปเล่นกีฬา จะทำให้ข้อต่อนั้นไม่แข็งแรง เกิดมีการพลิก หรือบาดเจ็บได้ง่าย ทำให้เกิดข้อเคล็ด หรือข้อแพลงได้ ซ้ำอีกอยู่บ่อยๆ


      ระดับที่ 3 มักจะมีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มข้อร่วมด้วยเสมอ ทำให้มีเลือดคั่งในข้อ หรือซึมอยู่ใต้ผิวหนัง จะเห็นข้อเท้า หรือข้อเข่านั้น บวมทั้งข้อ มักจะเกิดจากการพลิกอย่างรุนแรง หรือในรายที่ได้รับบาดเจ็บซ้ำเติมภายหลัง ที่ข้อแพลงระดับ 2 นั้น ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเพียงพอ หรือรีบใช้งานเร็วเกินไป


      อาการที่เกิดขึ้น จะเจ็บปวดมาก บวมมาก เมื่อเราตรวจจับข้อเท้า หรือเข่าแยก หรือบิดออกจากกัน จะเห็นว่า มีช่องว่างอ้าออกจากกัน และไม่มั่นคง อาการบวมนั้น จะเกิดขึ้นทันทีทันใด เนื่องจากเยื่อบุข้อต่อฉีกขาด ทำให้เลือดคั่งอยู่ในข้อต่อนั้น จะเห็นข้อบวมชัดเจน บางรายเห็นเป็นกระเปาะ คลำดูจะรู้สึกอุ่นๆ เลือดที่คั่ง อาจเซาะมาใต้ผิวหนัง ทำให้สีเปลี่ยนแปลงไป โดยวันแรกอาจจะมีสีแดงเรื่อๆ หรือเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจน แต่ในวันต่อมา จะมีสีเขียวคล้ำ หรือม่วงคล้ำ จากนั้นค่อยๆ จางหายไป พร้อมอาการบวมในประมาณ ปลายสัปดาห์ที่ 3




      Create Date : 15 ตุลาคม 2551
      Last Update : 15 ตุลาคม 2551 14:00:19 น. 1 comments
      Counter : 3844 Pageviews.

 

การปฐมพยาบาล การรักษาและป้องกันในระยะแรก ปฏิบัติเหมือนระดับที่ 2 ใส่เฝือกปูนปลาสเตอร์อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ การใส่เฝือกนี้สามารถเสริมส้นยาง ที่เฝือกเพื่อเดินลงน้ำหนักได้ ในกรณีบาดเจ็บที่ข้อเท้า เมื่อครบ 4-6 สัปดาห์ เมื่อถอดเฝือกออก จะต้องพันผ้า หรือสวมสนับข้อเท้า หรือสนับข้อเข่า เพื่อช่วยพยุงต่อไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าจะใช้ข้อต่อนั้นได้ตามปกติ จากนั้นเคลื่อนไหว และบริหารเพื่อให้ข้อต่อแข็งแรง แล้วจึงกลับไปเล่นกีฬาได้ตามปกติ


การใช้ยาร่วมด้วย ยาที่ใช้คือ ยาลดบวม วิตามินซี และยาต้านการอักเสบ เพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้สร้าง และติดกันเร็วขึ้น


ข้อควรระวัง และข้อผิดพลาด



  1. รักษาอย่างไม่ถูกต้อง คือ ในทันทีที่ได้รับบาดเจ็บ แทนที่จะพัก กลับทำการนวดเฟ้น หรือจับข้อบิดหมุน ทำให้เอ็นยึดอยู่ฉีกขาดมากขึ้น หรือเอ็นยึดต่อที่ฉีกขาดเป็นบางส่วน จะฉีกขาดโดยสมบูรณ์ เนื้อเยื่อที่ชอกช้ำจะได้รับอันตรายเพิ่มขึ้น ข้อที่ไม่บวม หรือบวมเล็กน้อย จะบวมมากขึ้นไปอีก
  2. การประคบร้อน ซึ่งโดยปกติควรเริ่มหลังจาก 24-48 ชั่วโมงผ่านไปแล้ว เพราะระยะนี้ความร้อนจะช่วยลดการอักเสบ ถ้าประคบร้อนในรายที่ได้รับบาดเจ็บมาใหม่ จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว เลือดยิ่งออกมากขึ้น ยิ่งกว่านั้น บางรายใช้ข้าวสุกร้อนๆ พอกลงไปบริเวณที่บวม ก็จะทำให้ผิวหนังนั้นพอง และเกิดการอักเสบติดเชื้อ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้
  3. การพันผ้า การรัด หรือดามด้วยเฝือกไว้ ถ้าพันผ้าไม่ถูกวิธี หรือแน่นเกินไป เมื่อเกิดอาการบวม ทำให้ผิวหนังถูกกด เน่า บางรายรัดแน่นมากไป จนเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงส่วนปลายนิ้วได้ สุดท้ายทำให้นิ้วเท้าเน่าดำ จนถึงถูกตัดเท้าข้างนั้นไป อย่างน่าเสียดายมาก


  • ข้อเคลื่อน ข้อหลุด (dislocation) พบได้บ่อยในกีฬาที่มีการปะทะกัน เช่น รักบี้ ฟุตบอล ฯลฯ เกิดจากการที่หัวกระดูกหลุดออกจากเบ้า อาจหลุดออกเป็นบางส่วน หรือหลุดออกโดยมสมบูรณ์ จะมีการฉีกขาดของเอ็น พังผืด และเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบข้อ ต่อตรงตำแหน่งที่หลุด ทำให้มีอาการปวด บวม เคลื่อนไหวไม่ได้ ติดขัด หรือถือแม้เคลื่อนไหวได้ แต่ก็เคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ รูปร่างของข้อจะเปลี่ยนไป ที่พบได้บ่อย จากการเล่นกีฬา คือ ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อนิ้วมือ กระดูกสะบ้าหลุด ตัวอย่างเช่น ข้อไหล่หลุดจะพบว่า บริเวณไหล่ที่เคยนูน จะแบนราบลงเป็นเส้นตรง เหมือนไม้บรรทัด และไม่สามารถเอื้อมมือข้างนั้น ไปแตะบ่าด้านตรงข้ามได้ ข้อศอกหลุด จะพบว่า ส่วนข้อศอกนั้นนูนบวมขึ้น มองจากด้านหน้าจะพบว่า ต้นแขนยาวกว่าปลายแขน แต่ถ้ามองมาจากทางด้านหลัง จะพบว่า ต้นแขนสั้นกว่าปลายแขน เป็นต้น

    การปฐมพยาบาล เมื่อมีข้อเคลื่อนหรือหลุดเกิดขึ้น อย่าพยายามดึงเข้าที่เอง เพราะอาจเกิดอันตราย ถึงกระดูกหักได้ หรือบางรายอาจมีกระดูกหักชิ้นเล็กๆ ร่วมด้วย จึงควรเอกซเรย์ให้เห็นชัดเจน ก่อนที่จะดึงเข้าที่ หรือบางรายอาจต้องผ่าตัดรักษา สิ่งแรกที่ควรทำคือ ให้ข้อนั้นอยู่นิ่งๆ ในท่าที่เป็นอยู่ อาจจะใช้มืออีกข้างช่วยประคองในกรณีที่เป็นไหล่ หรือข้อศอก จากนั้นประคบด้วยน้ำแข็ง เพื่อให้เลือดออกน้อยที่สุด แล้วรีบว่งพบแพทย์ให้จัดการรักษาโดยทันที


    สิ่งสำคัญหลังจากที่ดึงข้อต่อเข้าที่แล้ว คือ การยึดตรึงให้ข้อต่อนั้นอยู่นิ่งๆ นาน 3 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เอ็น พังผืด และเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อต่อติดกันเป็นปกติเหมือนเดิม ถ้าไม่ยึดหรือตรึงข้อต่อ หลังจากที่ดึงเข้าที่แล้ว จะทำให้เอ็น พังผืด หรือเนื้อเยื่อที่ฉีกขาดนั้น ติดกันไม่ได้ หย่อน ยืด และหลวม ทำให้มีการหลุดของข้อต่อนั้น ซ้ำแล้วซ้ำอีกในระยะต่อๆ มา ทั้งๆ ที่ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุรุนแรงอะไรเลย ที่พบบ่อยๆ คือ ข้อไหล่ บางครั้งการหลุดของข้อไหล่ในครั้งต่อๆ มา ตัวนักกีฬาเอง สามารถดึง หรือขยับเข้าที่เองโดยง่าย เช่น นักมวย พอชกๆ ไปเกิดไหล่หลุด จึงถอยหลังออกมาจากคู่ชก แล้วขยับไหล่ให้เข้าที่ จากนั้นจึงชกต่อไป หรือนักกีฬาบางคนแค่เหวี่ยงมือไปทางด้านหลัง ข้อไหล่ก็หลุดแล้ว เป็นต้น พวกที่ข้อต่อหลุดซ้ำๆ หลายหนนี้ สามารถรักษาให้หายได้ โดยวิธีผ่าตัดเท่านั้น


  • ข้อบวม (joint swelling) เมื่อวิ่ง หรือเล่นกีฬา และภายหลังการวิ่ง หรือเล่นกีฬา แล้วมีข้อบวมเกิดขึ้น ที่พบได้บ่อยๆ คือ ข้อเข่า อาจเกิดขึ้นในทันทีทันใด เช่น จากอุบัติเหตุ จะมีเลือดออกภายในข้อ หรือเกิดจากการใช้งานมากเกินไป เช่น วิ่งมากเกินไป แล้วมีน้ำสร้างภายในข้อ (ซึ่งเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบของร่างกาย) เป็นผลจากเยื่อหุ้มข้อที่อักเสบเรื้อรัง หรือเคยมีการบาดเจ็บในข้อต่อนั้นอยู่แล้ว

    การปฐมพยาบาล

    เหมือนๆ กับการปฐมพยาบาลที่ได้กล่าว ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องตรวจให้ทราบว่า เกิดจากสาเหตุอะไร อาจจะเป็นเอ็นฉีกขาด หรือจากเยื่อหุ้มที่อักเสบเรื้อรัง เพื่อจะได้รักษาต้นเหตุให้หายไปได้ บางรายอาจต้องผ่าตัดรักษารีบด่วน เช่น เอ็นในข้อเข่าฉีกขาด ถ้าเกิน 5 วันไปแล้ว เย็บต่อไม่ได้เพราะมันจะเปื่อยยุ่ย ต้องเอาเอ็นเทียมมาใส่แทน เป็นต้น ในรายที่เกิดจากการอักเสบ ต้องพัก และบริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง (หน้าเข่า) เพื่อเลือดจะได้มาเลี้ยงมาก ดูดซับอาการอักเสบที่เกิดขึ้นให้หายไป ทำให้ไม่มีอาการ

    การป้องกัน




    1. บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอยู่เสมอ และแข็งแรงเป็นพิเศษในรายที่เป็นเรื้อรัง
    2. เมื่อมีข้อบวมด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ ให้พบแพทย์ทันที เพื่อค้นหาสาเหตุ และการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

  • ข้อติดขัด (lock joint) เมื่อมีการวิ่งเล่นกีฬา หรือเคลื่อนไหว พบว่า มีอะไรบางอย่างขัดอยู่ในข้อ ซึ่งเกิดจากเศษของกระดูก หรือกระดูกอ่อนที่เกิดจากการทำลาย หรือเสื่อมของข้อต่อเอง ภาวะนี้พบน้อย การรักษาทำได้โดย การผ่าตัดเอาเศษกระดูก หรือกระดูกอ่อนออก

  • การปฐมพยาบาลบาดเจ็บบริเวณกระดูก การบาดเจ็บที่กระดูกนั้น ที่เห็นไดัดๆ จากภยันตราย ทำให้มีการแตก หัก หรือร้าวของกระดูก แต่ที่มักละเลยกันไปก็คือ กระดูกแตก หรือร้าวจากการใช้งานมากเกินไป ซึ่งค่อยๆ เกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อย บาดเจ็บบริเวณกระดูกที่เกิดจากภยันตราย พบได้บ่อยๆ ในกีฬาที่มีการปะทะกัน เช่น รักบี้ ฟุตบอล แฮนด์บอล ฮ็อกกี้ เป็นต้น ถือว่าเป็นอุบัติเหตุที่ร้ายแรง เพราะไม่เพียงแต่กระดูกเท่านั้นที่ได้รับอันตราย แต่เนื้อเยื่อที่อยู่ภายใน และภายนอกก็ได้รับอันตรายตามไปด้วย จากความรุนแรงกระทบกระแทก ตำแหน่งที่เกิดกระดูกหัก จะเป็นที่ขาและแขน ส่วนที่กระดูกสันหลัง และกะโหลกศีรษะพบได้น้อยกว่า

    อาการแสดงที่พบได้ คือ ที่บริเวณนั้นตะบวมขึ้นเรื่อยๆ จากเลือดที่ออกจากทั้งของกระดูกเนื้อเยื่อรอบข้าง กดเจ็บ ผิดรูป เช่น คด งอ โก่ง และมีการเคลื่อนไหวได้จากเดิม ที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ถ้ามีการขยับ หรือเคลื่อนไหว บริเวณที่หัก จะได้ยินเสียง "กรอบแกรบ" จากปลายกระดูกหน้าแข้ง เป็นต้น



    กลไกของการเกิดกระดูกหักนั้น มี 2 อย่าง คือ



    1. จากแรงที่กระทบกระแทกที่กระดูกโดยตรง (direct injury) เช่น การชนกันเมื่อเล่นกีฬารักบี้ ทำให้หน้ากระดูกหน้าแข้งหัก หรือถูกตีด้วยไม้ฮอกกี้ที่กระดูกหน้าแข้ง เป็นต้น
    2. จากแรงที่กระทบโดยทางอ้อม (indirect injury) เกิดจากมีแรงมากระทบที่หนึ่ง แต่ทำให้กระดูกอีกที่หนึ่งหัก เช่น ขณะเล่นกีฬา แล้วหกล้มเอามือยันพื้น ในท่าที่เหยียดแขน ทำให้กระดูกไหปลาร้าหัก เป็นต้น หรือเกิดจากการที่มีการหดเกร็งตัว ของกล้ามเนื้อทันทีทันใด ทำให้ส่วนของกระดูกหลุดออกจากที่เดิมได้ เช่น เมื่อมีการหดตัวของกล้ามเนื้อต้นขาทันที จากการวิ่งกระโดดหลบ สิ่งกีดขวางขณะที่กำลังวิ่งมาด้วยความเร็ว ทำให้กระดูกสะบ้าแตกแยกออกจากกัน เป็นต้น


    การปฐมพยาบาล สิ่งแรกที่สำคัญที่สุด คือ ต้องไม่ให้ส่วนของกระดูกที่หักเคลื่อนไหว เพราะอาจเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อใกล้เคียง ทำให้ยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น หรือบางครั้งอาจทำให้ส่วนปลายของกระดูกที่หักทิ่ม ออกมาภายนอก (compound fracture) ซึ่งเป็นสิ่งที่ยุ่งยากอย่างมากต่อการรักษา เพราะต้องทำการผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อเป็นหนองในกระดูก ดังนั้น จึงต้องทำการเข้าเฝือกชั่วคราว เพื่อให้ส่วนของกระดูกที่หักนั้นอยู่นิ่ง ก่อนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทุกครั้ง


    หลักการเข้าเฝือกชั่วคราว (splinting) เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้น จะทำให้กระดูกมีการเคลื่อนไหวตามไปด้วย ดังนั้น การเข้าเฝือกไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ โดยการใช้ส่วนของร่างกาย เป็นตัวดามกระดูกที่หัก เช่น รัดต้นแขนกับลำตัว ในรายที่กระดูกต้นแขนหัก ผูกขาทั้งสองข้างติดชิดกัน ในรายที่กระดูกหน้าแข้งหัก เป็นต้น หรือใช้สิ่งของดามกระดูก เช่น ไม้ กระดาษหนังสือพิมพ์ ฯลฯ ต้องอาศัยหลัก "เหนือหนึ่งข้อต่อ ต่ำหนึ่งข้อต่อ" (One joint above, on joint below) จึงจะยึด หรือดามกระดูกหักนั้น ให้อยู่นิ่งๆ ได้ เช่น กระดูกหน้าแข้งหัก ต้องใช้ไม้ดาม และพันด้วยผ้าตั้งแต่เหนือหัวเข้า จนถึงข้อเท้า เป็นต้น อย่าพยายามดึงกระดูกหักเข้าที่เอง เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่ออื่นๆ มากยิ่งขึ้น การใช้ผ้า หรือเชือกมัดเฝือกชั่วคราวนี้ ต้องระวังอย่าให้แน่นจนเกินไป มิฉะนั้นจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เกิดการบวม และขาดเลือดไปเลี้ยงได้ ถ้ามีผ้าหรือสำลีรองบริเวณกระดูกหัก หรือส่วนที่จะดาม เฝือกก็จะช่วยให้การเจ็บปวดน้อยลง หรือป้องกันการเกิดแผลจากการกดของเฝือกชั่วคราวนั้น



    การประคบเย็นบริเวณนั้น จะช่วยทำให้เลือดออกน้อยลง เพราะบางครั้งอาจเกิดการช็อค เนื่องจากเสียเลือดมากได้ จากนั้นรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนที่สุด



    กระดูกแตก หรือร้าวจากการใช้งานมากเกินไป เกิดจากการใช้งานมากเกินไป ซ้ำๆ ซากๆ และมีการกระแทกกระทั้นบ่อยๆ จะพบในนักวิ่งที่เพิ่มระยะทางในการวิ่งเร็วเกินไป พวกที่วิ่งด้วยความเร็วมากเกินไป และพวกนักกีฬาที่ฝึกซ้อมมากเกินไป ทำให้กระดูกร้าวที่บริเวณต่ำกว่าเข่า เหนือข้อเท้าด้านนอก และบริเวณเท้าได้ ส่วนนักกีฬาที่ยกของหนัก หรือนักกีฬาที่ฝึกร่างกาย โดยการยกน้ำหนัก และนักกีฬาที่ฝึกเล่นกีฬา โดยมีการบิดตัวมากเกินไป เช่น นักกีฬายิมนาสติก นักเทนนิสที่ตีลูกโดยการสะบัดตัว ฯลฯ จะทำให้มีกระดูกร้าวที่กระดูกสันหลังระดับเอวได้


    อาการที่พบ จะมีความเจ็บปวดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งเดียว โดยจะมีอาการเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลา และถ้ายังไม่หยุดวิ่ง หรือเล่นกีฬา ก็จะเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ จนทนแทบไม่ได้ ถ้าใช้นิ้วกดตรงตำแหน่งนั้นก็จะเจ็บ เช่น ที่ขา ส่วนที่หลังนั้น ถ้ามีการบิด หรือหมุนตัวก็จะเจ็บมาก ที่กึ่งกลางหลัง เหนือตะโพกระดับเอว ที่เรารู้ได้ว่า นั่นคือบาดเจ็บที่กระดูก เพราะมันจะแข็ง และอยู่ที่ผิวนอก เช่น ที่หลังเท้า ขาเหนือตาตุ่ม ด้านนอกเล็กน้อย และสันหน้าแข้งตอนบน ส่วนที่บริเวณหลังนั้น ยากต่อการทราบว่า มีกระดูกร้าว นอกจากดูในเอกซเรย์ นอกจากนี้ยังอาจพบกระดูกร้าว ที่บริเวณกระดูกเชิงกราน และหัวหน่าว จากการวิ่ง และการเล่นกีฬาที่หนักได้ โดยเฉพาะนักกีฬาที่อยู่ในวัยรุ่น


    การปฐมพยาบาล เมื่อมีการเจ็บปวดบริเวณขา ดังได้กล่าวแล้ว ในขณะเล่นกีฬา หรือเจ็บปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จุดใดจุดหนึ่ง ให้หยุดวิ่ง หรือเล่นกีฬาทันที พัก ประคบด้วยน้ำแข็ง 15-20 นาที ให้ยาแก้ปวด อาการจะดีขึ้น แต่จะไม่หายปวด ถึงแม้เวลาจะผ่านเลยไป 3 วัน หรือ 3 สัปดาห์แล้วก็ตาม แต่เมื่อมีอาการเจ็บตรงกระดูก ก็ต้องพักรักษาตัว ไม่วิ่ง หรือเดินมากอย่างน้อย 6 สัปดาห์ จนถึง 3 เดือน แล้วแต่ความรุนแรงของกระดูกที่ร้าว ให้ยาบำรุงกระดูกจำพวกแคลเซียม และวิตามินซีขนาดสูง ร่วมด้วย พร้อมๆ กับเอกซเรย์เป็นระยะๆ จะพบว่า หลังจาก 3 สัปดาห์ เป็นต้นไป จะเห็นรอยร่าวของกระดูก และต่อๆ มา ก็จะเริ่มมีเนื้อกระดูกพอกพูกขึ้น จนรอยร้าวหายไป จึงจะหาย และกลับไปเล่นกีฬา หรือวิ่งต่อไปได้ การรักษาโรคกระดูกร้าว จากการใช้งานมากเกินไป ที่ตำแหน่งขานี้ ไม่จำเป็นต้องใส่เฝือก แต่ให้งดการลงน้ำหนักมาก ในระยะแรก อาจต้องใช้ไม้เท้าถือ เพื่อลดการรับน้ำหนักของขา ข้างที่มีกระดูกร้าว ช่วยในการเดินชั่วคราวในช่วง 3 สัปดาห์แรก เมื่อกลับมาเล่นกีฬาหรือวิ่งใหม่ ต้องวิ่งอย่างช้าๆ บนพื้นที่นุ่ม เช่น พื้นหญ้า พื้นทราย และใส่รองเท้าที่มีพื้นนิ่ม เพื่อลดแรงกระแทก จากนั้นจึงค่อยเพิ่มการวิ่ง หรือการเล่นกีฬา จนสามารถเล่นกีฬา หรือวิ่งได้ตามปกติ ซึ่งต้องใช้เวลาในช่วงนั้น ประมาณ 3 ถึง 6 เดือน



    ส่วนกระดูกร้าวบริเวณสันหลัง ระดับเอวนั้น จะมีอาการปวดบริเวณกึ่งกลางหลัง จากที่เริ่มแวดทีละน้อยๆ แล้วมากขึ้นเรื่อยๆ (โดยเฉพาะนักกีฬาที่เล่นกีฬายกน้ำหนัก และนักกีฬาที่เล่นกีฬา ดดยมีการบิด หรือสะบัดลำตัว) ถ้ามีอาการดังกล่าวนี้ให้พักทันที เพราะอันยตรายมาก จากนั้นจึงพบแพทย์ และทำการเอกซเรย์หาพยาธิสภาพของโรคปวดหลังทันที เพราะถ้ามีการร้าวในระยะแรกนั้น สามารถจะหายได้ แต่ถ้าปล่อยให้เป็นมากขึ้น จะทำให้มีการหัก หรือขาดของกระดูกสันหลัง ส่วนที่เป็นเสาบ้าน ซึ่งต้องหยุดเล่นกีฬา ที่ต้องใช้หลังทันที ต้องเล่นกีฬาที่เบาๆ ลง เพราะถ้าเล่นกีฬาหนัก หรือยกของหนัก หรือมีการหมุนบิดตัว จะทำให้กระดูกสันหลังเลื่อนไปข้างหน้า มีการกดทับเส้นประสาทของไขสันหลัง ทำให้เกิดเป็นอัมพาตได้ โรคนี้สำคัญมาก เพราะส่วนมากมักจะทราบช้า และเป็นมาก ทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬาได้อย่างเดิม ดังเช่นกีฬาระดับโลก หลายๆ คน ประสบอยู่ ทั้งๆ ที่กำลังมีชื่อเสียงรุ่งโรจน์



    ตำแหน่งของกระดูกร้าวที่พบได้บ่อยๆ จากการเล่นกีฬา



    1. บริเวณเท้า (metatarsal) มักเกิดที่ฝ่าเท้าอันที่ 2, 3 และ 4 พบในนักกีฬา หรือนักวิ่งที่เล่นกีฬา หรือวิ่งบนพื้นแข็ง และการวิ่งที่วิ่งขึ้นลงจากที่สูง การเกิดกระดูกร้าวบริเวณนี้ ไม่ได้เกิดจากรูปทรงของเท้าที่ผิดปกติ แต่จะเกิดจากวิธีการวิ่ง หรือเล่นกีฬาที่ผิด เช่น ฝึกมากเกินไป วิ่งเร่งความเร็วมากเกินไป บนพื้นที่แข็ง หรือทางลาดขึ้นลง การรักษาในระยะแรกที่เกิดกระดูกร้าว ไม่จำเป็นต้องใส่เฝือก แต่ถ้ายังเล่นกีฬา หรือวิ่งต่อไป ทั้งๆ ที่เกิดกระดูกร้าวแล้ว ก็จำเป็นต้องใส่เฝือกนาน 4-6 สัปดาห์ แต่บางตำแหน่า ที่เอ็นกล้ามเนื้อยึดเกาะด้วย อาจต้องเข้าเฝือกนานถึง 2 เดือน
    2. บริเวณเหนือข้อเท้าด้านนอก (lower 1/3 of fubula) เกิดที่กระดูกอันเล็กเหนือตาตุ่มด้านนอก มักพบในนักกีฬา หรือนักวิ่งที่มีฝ่าเท้าแบนคว่ำบิดออกนอก นักกีฬาที่ฝึก หรือวิ่งมากเกินไป เล่นกีฬา หรือวิ่งบนพื้นแข็งซ้ำๆ ซากๆ จะเริ่มมีอาการเจ็บปวดขึ้นทีละน้อยๆ ที่ด้านนอกของเท้า เหนือตาตุ่มประมาณ 5 ถึง 8 เซนติเมตร อาจจะมีบวมเล็กน้อย แต่ที่แน่ๆ คือ มีจุดกดเจ็บตรงตำแหน่งนี้ ถ้าอาการไม่มาก หรือได้รับการรักษาในระยะแรก ก็ไม่ต้องใส่เฝือก แต่ถ้าอาการมาก เนื่องจากปวดเวลาเดิน ต้องใส่เฝือกนาน 3-6 สัปดาห์ ที่ดีที่สุด คือ ใส่เฝือกพวกไฟเบอร์กลาส ที่เปียกน้ำได้ เพื่อที่จะได้ออกกำลังวิ่ง รอการหาย แต่ต้องเป็นการวิ่งในน้ำ เมื่อหายก็สามารถเล่นกีฬา หรือวิ่งต่อไปได้ตามปกติเร็วขึ้น
    3. บริเวณกระดูกหน้าแข้ง (upper 1/3 of tibia) เกิดที่กระดูกอันใหญ่ของขา ตำแหน่งด้านในตอนบนของขา ต่ำกว่าเข่าประมาณ 5-10 เซนติเมตร พบบ่อยในนักกีฬา หรือนักวิ่งที่มีขาโก่ง หรือนักกีฬาที่ฝึกหนักเกินไป พวกที่ฝึก หรือวิ่งบนพื้นที่แข็งซ้ำๆ ซากๆ จะมีอาการเจ็บมากขึ้นทีละน้อยๆ และมีจุดกดเจ็บ กระดูกร้าวที่เกิดขึ้นบริเวณนี้ จะไม่เห็นในาภพเอกซเรย์ในตอนแรกๆ จนกระทั่งเวลาผ่านไปประมาณ 1-6 เดือน จึงจะเห็นภาพกระดูกร้าวในฟิล์มเอกซเรย์

      การรักษา ก็คล้ายคลึงกับที่กระดูกเหนือตาตุ่มด้านนอกร้าว



      เนื่องจากเป็นระยะเวลานานกว่าที่จะกรากฎ ภาพกระดูกร้าวให้เห็นในเอกซเรย์ หรือเห็นภาพเอกซเรย์ เมื่อตอนที่เริ่มมีการสร้างเสริมของกระดูกแล้ว ทำให้ลักษณะภาพในเอกซเรย์ คล้ายๆ กับกระดูกที่เกิดจากโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง ทำเอาตื่นตกใจไปตามๆ กัน ทั้งหมด และคนไข้ (เคยมีตัวอย่างมาแล้ว) แต่ถ้าได้ทราบเรื่อง หรือประวัติการเจ็บป่วยโดยละเอียด ก็จะรู้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าตกใจจนเกินไป


      การป้องกันกระดูกร้าว บริเวณขาจากการใช้งานมากเกินไป


      ต้องหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬา โดยเฉพาะการวิ่งบนพื้นที่แข็ง เป็นระยะเวลานานๆ หรือสม่ำเสมอ ไม่ควรฝึกหนักจนเกินไป ไม่ควรวิ่งเร่งความเร็วบ่อยๆ ในการวิ่งระยะยาว ไม่ควรวิ่งกระแทกกระทั้นบนพื้นวิ่ง ที่ขึ้น หรือลงจากที่สูง ใส่รองเท้าพื้นนิ่ม เพื่อลดและซึมซับแรงกระแทกที่เท้า โดยเฉพาะนักกีฬา หรือนักวิ่งหน้าใหม่ ควรฝึกอย่างช้าๆ บนพื้นที่นิ่ม เช่น พื้นหญ้า หรือทราบ อละต้องรู้จักประมาณตน ไม่หักโหมจนเกินไป นอกจากนี้ยังต้องปรับโครงสร้างที่ผิดรูป โดยอุปกรณ์เพื่อลดการเกิดอันตราย จากโรคนี้ เช่น เสริมรองเท้าสำหรับที่คว่ำบิดออก หรือขาโก่งให้ถูกต้อง เพื่อลดการเกิดกระดูกร้าวตามตำแหน่งที่ล่อแหลม ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น


    4. บริเวณกระดูกสันหลังระดับเอว เกิดที่บริเวณกระดูกสันหลัง ตรงส่วนที่คล้ายๆ กับเป็นเสาบ้าน มักพบในนักกีฬาที่ยกน้ำหนักมากๆ เช่น นักยกน้ำหนัก นักเพาะกาย นักกีฬาที่ฝึกหนัก โดยการยกน้ำหนัก และในนักกีฬาที่เล่น หรือฝึกด้านการหมุน หรือบิดลำตัว และบั้นเอว เช่น นักกีฬายิมนาสติก นักกีฬาเทนนิสที่ตีลูกแบคแฮนด์ โดยการบิด และสะบัดตัว นักเต้นกายบริหารที่หมุนบิดลำตัว อยู่อย่างซ้ำๆ ซากๆ เมื่อเล่น หรือฝึกบ่อยๆ จะทำให้กระดูกสันหลังบริเวณดังกล่าวเสื่อมสลาย เกิดการร้าว หรือหักได้ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะถ้ายังไม่หยุด หรือรับการตรวจรักษา จะทำให้มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลัง (เนื่องจากไม่มีตัวยึดเหนี่ยว) เกิดเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทของไขสันหลัง ทำให้เป็นอัมพาตได้ การตรวจพบในระยะแรกที่เริ่มมีอาการ และยังไม่มีการร้าว หรือหักของกระดูกมากนัก สามารถรักษาให้หายเป็นปกติดังเดิมได้ แต่ถ้ามีการหักของกระดูกบริเวณนี้แล้ว การทำให้หายเป็นปกติทำได้ยาก เพราะกระดูกเชื่อมติดกันได้ยาก นอกจากจะทำให้เป็นโรคปวดหลังเรื้อรังแล้ว ยังไม่สามารถเล่นกีฬาที่มีการหมุนของลำตัว ระดับบั้นเอวได้อีก (ดังที่ประสบในนักกีฬาระดับโลก ที่มีชื่อเสียงหลายคน จนต้องเลิกเล่นกีฬาชนิดที่กำลังทำชื่อเสียง และเงินทองไปอย่างน่าเสียดาย) การป้องกัน และการรักษานั้น นอกจากจะต้องบริหารให้มีกล้ามเนื้อหลังที่แข็งแรง เป็นพิเศษอยู่เสมอแล้ว บางครั้งอาจต้องใส่เสื้อเกราะ เพื่อประคองกระดูกสันหลังระดับเอว เมื่อออกกำลังกายและการทำงานบางอย่าง ที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่บริเวณหลังด้วย




  • การเตรียมเครื่องมือปฐมพยาบาล ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะการทำหน้าที่แพทย์สนาม เจ้าหน้าที่จะต้องมีการเตรียมเครื่องมือ และเครื่องใช้ดังต่อไปนี้




    1. กระเป๋าน้ำแข็ง / ผ้าห่อน้ำแข็ง
    2. อุปกรณ์ทำแผล

      • ผ้าก๊อซม้วนพันแผล
      • ผ้ายึดม้วน (Elastic bandage)
      • พลาสเตอร์ปิดแผล
      • สำลี และก๊อซปิดแผลที่ปราศจากเชื้อโรค

        • ปลาสเตอร์เหนียวที่ปราศจากเชื้อ ใช้ในการปิดแผลแตกแทนการเย็บแผล
        • น้ำยาทำแผล และล้างแผล เช่น แองกอฮอล์ 70% น้ำเกลือสำหรับล้างแผล
        • ชุดเครื่องมือเย็บแผล



    3. เครื่องมือ

      • คีมคีบสำลี และผ้าก๊อซ (forceps)
      • กรรไกร กรรไกรตัดเล็บ
      • ถุงมือปราศจากเชื้อ ถุงมือธรรมดา
      • ปรอทวัดไข้
      • เครื่องวัดความดันโลหิต
      • เครื่องหูฟัง

    4. ยา

      • ยาแก้ปวดชนิดเม็ด เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน
      • น้ำสบู่ฟอกแผล
      • ยาทานวด หรือครีมชนิดลดบวม และชนิดที่ทำให้ร้อน
      • กลูโคส
      • อะดรีนาลิน
      • สเปรย์ฉีดยาชาเฉพาะที่
      • ยาต้านการอักเสบ ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้วิงเวียน ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาแก้ไอ ยาชาเฉพาะที่ ยาล้างตา





    สำหรับศูนย์พยาบาลที่จัดตั้งในตำแหน่ง ที่มีการแข่งขัย ต้องมีการเพิ่มเติมดังนี้




    • เครื่องมือสำหรับการปฐมพยาบาลช่วยชีวิต
    • เปลหาม หรือเตียงสำหรับเข็นคนไข้
    • น้ำเกลือ หรือเครื่องมือสำหรับให้น้ำเกลือ
    • ไม้หรือแผ่นอลูมิเนียม สำหรับดามเมื่อมีกระดูกหัก
    • ไม้เท้า ไม้ยันรักแร้เพื่อช่วยเดิน
    • รถพยาบาล



     



     



    เอกสารอ้างอิง




    1. Flegel MJ. Sport first aid. Updated ed. Champaign (IL): Human Kinetics Publishers, Inc; 1997.
    2. Read M, Wade P. Sports Injuries self-diagnosis and rehabilitation of common aches and pains. Hong Kong: Butterworth-Heinemann; 1997.
    3. Sherry E, Bokor D. Sports medicine problems and practical management. London: Greenwich Medical Media Ltd.; 1997.
    4. Butcher JD, McGrall M. Return to play. In: Johnson R, editors. Sports medicine in primary care. Philadelphia: W.B. SAUNDERS COMPANY; 2000. p 78-84.
    5. Peterson L, Renstrom P. Sports Injuries. Their prevention and treatment. Singapore: Toppan Printing Company (S) Pte Ltd; 1996.
    6. Garrick J.G., Webb D.R. Sports Injuries Diagnosis and Management. 2nd ed. Philadelphia: W.B. Saunders Company; 1999.
    7. Moore K.L., Agur M.R. Essential Clinical Anatomy. 2nd ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2002.
    8. Read T.F. A Practiceal Guide to Sports Injuries. 1st ed. Bostpn: Butterworth-Heinemann; 2000.
    9. Williams J.P.R. Barron's Sports Injuries. 1st ed. New York: Barron's Education Series, Inc; 1988.
    10. Tippett S.R. Coaches Guide to Sport Rehabilitation. 1st ed. Champaign (IL): A Division of Human Kinetics Publishers, Inc; 1990.
    11. ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์. การปฐมพยาบาลเนื่องจากการบาดเจ็บ จากการกีฬา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด; 2543.



    โดย: =Neo= วันที่: 15 ตุลาคม 2551 เวลา:0:35:55 น.  

    ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
    Comment :
      *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
     

    =Neo=
    Location :


    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed

    ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




    Group Blog
     
    All Blogs
     
    Friends' blogs
    [Add =Neo='s blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.