Group Blog
 
All blogs
 

นกกระจ้อยป่าโกงกาง

นกกระจ้อยป่าโกงกาง gerygone suphurea (flyeater / golden-bellied gerygone) เป็นนกที่มีขนาดเล็กเพียงประมาณ 9 ซม.เท่านั้น






ตัวเล็กและมีหางที่สั้น นกกระจ้อยป่าโกงกางมีขนคลุมตัวด้านบนสีน้ำตาลอมเทา ด้านล่างสีเหลือง อาจเป็นเหลืองอ่อนหรือเหลืองเข้ม มีปาก ตา สีดำ หัวตาและขอบหางสีขาว ลำตัวตัวด้านบนกับด้านล่างสีตัดกันอย่างเห็นได้ชัด







นกกระจ้อยป่าโกงกางมักอาศัยตามป่าโกงกางตั้งแต่อ่าวไทยลงไปถึงคาบสมุทรทางใต้ ซึ่งสามารถพบได้ในเขตเกษตรกรรมและป่าโปร่งได้ด้วย







นกกระจ้อยป่าโกงกางมีเสียงร้องแหลม ใส ยาว เหมือนเสียงผิวปาก หากเราผิวปากเลียนเสียง บางทีเค้าก็จะออกมาให้เห็นตัวชัดๆ มักพบตามลำพัง หรือเป็นคู่ หากินตามกิ่งไม้ต่ำๆ

ภาพนกเหล่านี้ ถ่ายมาจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนที่มหาชัย ซึ่งเมื่อเดินไปตามทางศึกษาธรรมชาติจะได้ยินเสียงร้องแหลมใสของเค้าแทบจะตลอดเวลาทีเดียว


ข้อมูล :

A Guide to the birds of Thailand โดย น.พ.บุญส่ง เลขะกุล และ Philip D. Round

คู่มือดูนก เล่ม 2 โดย รุ่งโรจน์ จุกมงคล





 

Create Date : 16 สิงหาคม 2548    
Last Update : 17 กรกฎาคม 2552 12:09:50 น.
Counter : 5458 Pageviews.  

นกโพระดกคอสีฟ้า

..เสียงนกโพระดกมันร้องโฮก ป๊ก โฮก ป๊ก อยู่หนไหน..

"โพระดก"

ชื่อนกในวงศ์ Megalaimidae ตัวอ้วนป้อม สีเขียว หน้าสีแดง เหลือง หรือน้ำตาลแล้วแต่ชนิด ปากหนาแข็งแรง ปลายแหลมใหญ่ มีขนแข็งตรงโคนปาก กินผลไม้ มีหลายชนิด เช่น โพระดกธรรมดา (Megalaima lineata) โพระดกหูเขียว (M. faiostricta) โพระดกคอสีฟ้า (M. asiatica).

จาก : เครือข่ายพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน





นกโพระดกคอสีฟ้า Megalaima asiatica (blue-throated barbet) เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทย พบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ในบางพื้นที่

เป็นนกที่มีขนาดตัวประมาณ23 ซม.ขนคลุมลำตัวส่วนใหญ่สีเขียว บริเวณคางใต้คอคอด้านข้างและบริเวณหน้าสีฟ้า หน้าผากและตอนท้ายกระหม่อมสีแดง กลางกระหม่อมมีแถบสีดำพาดกลางและยาวลงมาทางด้านข้างของหน้า , ใต้คอตอนล่าง ใต้บริเวณที่เป็นสีฟ้า มีแต้มสีแดง นกทั้งสองเพศสีสันคล้ายกัน แต่ตัวผู้มีแนวโน้มที่จะตัวใหญ่กว่า นิโน่ย


นกโพระดกคอสีฟ้ามักอยู่โดดเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่อาจพบเป็นฝูงใหญ่ได้ ถ้ามีแหล่งที่มีอาหารมากๆ อย่างต้นไม้ที่มีผลสุกเต็มต้น ช่วงฤดูผสมพันธุ์จะส่งเสียงร้องบ่อยมากทั้งเช้าและเย็น เวลาร้องจะหมุนคอไปรอบทิศทาง ทำให้จับต้นเสียงได้ค่อนข้างยาก หากตัวหนึ่งร้องแล้ว ก็มักจะมีตัวอื่นร้องรับแทบจะในทันที

ช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนมิถุนายน เป็นช่วงที่นกโพระดกคอสีฟ้าจับคู่ทำรัง โดยนกทั้งสองตัวจะช่วยกันขุดโพรงในต้นไม้ หรือกิ่งไม้ใหญ่เพื่อทำเป็นรัง หรือบางทีก็อาจใช้โพรงที่เกิดเองตามธรรมชาติ หรือโพรงที่เป็นรังเก่าของนกหัวขวาน หรือนกโพระดกคู่อื่น หรือรังเดิมของตัวเอง





โพรงจะสูงจากพื้นราว2 - 8เมตร มันจะใช้โพรงเดิมเป็นประจำทุกปี ปกติไม่มีวัสดุรองในโพรง วางไข่ครอกละ 3 - 4 ฟอง นกทั้งสองเพศช่วยกันกกไข่ และ เลี้ยงลูกอ่อน ใช้เวลาฟักราว 14 - 15 วัน และเลี้ยงลูกอ่อนอีกราว 30 วัน ลูกนกจึงจะแยกออกไปหากินตามลำพัง






นกโพระดกคอสีฟ้ารังนี้ถ่ายจากยอดพะเนินทุ่ง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นกทำรังบนต้นไม้ที่สูงจากพื้นมาก แต่เนื่องจากเป็นต้นไม้บนภูเขาด้านล่าง ระดับที่สูงจากพื้นหลายเมตร กลายเป็นระดับสายตาเมื่ออยู่บริเวณศาลาชมวิวของพะเนินทุ่ง ทำให้นักดูนกได้ดูนกโพระดกคู่นี้อย่างเต็มอิ่ม ถ้าพวกเค้ากลับมาทำรังที่เดิมอีก เราก็คงจะได้เห็นเค้าอีกในปีต่อไป





ข้อมูลที่น่าอ่านเพิ่มเติม :

//www.bird-home.com/

honolulu zoo : blue-throated barbet







 

Create Date : 06 สิงหาคม 2548    
Last Update : 28 เมษายน 2555 14:33:18 น.
Counter : 4548 Pageviews.  

นกเขนน้อยไซบีเรีย

siberian blue robin

The Siberian Blue Robin, Luscinia cyane, is a small passerine bird that was formerly classed as a member of the thrush family Turdidae, but is now more generally considered to be an Old World flycatcher, family Muscicapidae. It, and similar small European species, are often called chats.

It is a migratory insectivorous species breeding in eastern Asia across to Japan. It winters in southeast Asia and Indonesia.

The breeding habitat is coniferous forest with dense undergrowth, often beside rivers or at woodland edges. It feeds on the ground but is very skulking. In winter, this bird also tends to stay in dense vegetation.

This species is larger than the European Robin. The breeding male is unmistakable with blue upperparts and white underparts. The female is much drabber, with brown upperparts and whitish underparts. Her dark eye stands out against the paler brown face.

This species is a very rare vagrant to Europe, and has vagrant status even as far east as India.

Retrieved from "//en.wikipedia.org/wiki/Siberian_Blue_Robin"





ฟังเสียงของนกเขนน้อยไซบีเรีย คลิกที่นี่ค่ะ

นกเขนน้อยไซบีเรียเป็นนกที่มีขนาดตัวประมาณ 13.5-14.5ซม. ลักษณะเด่นที่ทำให้จำแนกชนิดได้ชัดเจนคือมีขนคลุมลำตัวด้านบนสีน้ำเงินเข้ม ด้านล่างสีขาว แต่ลักษณะนี้จะมีอยู่เฉพาะในนกตัวผู้เต็มวัยเท่านั้น



นกตัวเมียจะมีขนคลุมลำตัวด้านบน สีน้ำตาลอมเทา , ใต้คอ มีสีเนื้ออกมีสีขาวอมเหลือง ด้านข้างของคอและอก มีลายเกล็ดสีน้ำตาล มากน้อยแตกต่างกันในนกตัวเมียแต่ละตัว ขนคลุมโคนหางด้านล่างสีขาว นกตัวเมียบางตัวมีสีน้ำเงินคล้ำปะปนบางส่วนที่ตะโพกและขนคลุมโคนหางด้านบน และบางตัวมีสีน้ำเงินคล้ำที่ขนหางด้วย (สำหรับภาพนกตัวเมีย และวัยเด็ก เชิญที่นี่


นกเขนน้อยไซบีเรียเป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์สำหรับประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในเมืองไทย พบได้ทั้งประเทศ โดยแรกพบในแต่ละปี จะพบที่บริเวณชายฝั่ง เช่นป่าชายเลน สวนผลไม้ก่อนโดยเค้าจะแวะพักเติมพลังหลังเดินทางไกล แล้วนกจึงออกหาที่อยู่ที่เหมาะสม โดยจะพบอาศัยหากินในป่าที่มีความชื้น มีร่มเงา หากินตามแหล่งที่มีน้ำขังและมีสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเล็กๆอาศัย เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหาร





แหล่งที่พบนกเขนไซบีเรียได้ง่ายที่สุดและพบประจำทุกปี คือบริเวณที่ชื้น และ ร่มครึ้มหลังร้านอาหารบริเวณน้ำตกกองแก้ว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ. ปราจีนบุรี บริเวณที่นกใช้เป็นแหล่งหากินจะมีร่มไม้ใหญ่ปกคลุม พื้นล่างร่มครึ้มมีน้ำซึมผ่านตลอดเวลาทำให้พื้นดินชื้นแฉะ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด แมลง หนอน





ภาพชุดนี้ถ่ายที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่(นี่เอง) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ที่ผ่านมานี้ โดยเป็นการเผชิญหน้ากันเป็นครั้งแรกหลังบังไพร ทำให้ได้เห็นพฤติกรรมการหากินอย่างสบายๆของเค้า




จริงๆแล้วการใช้บังไพร ก็ไม่ใช่การหลบซ่อนตัวเองจากนก นกรู้ตลอดเวลาว่าเรานั่งอยู่ เพียงแต่การหลบอยู่หลังบังไพรทำให้นกรู้สึกว่าถูกคุกคามน้อยลง เพราะไม่เห็นเราเป็นคน มีแขนขา และสามารถเข้าทำร้ายเค้าได้ หากเค้ารับไม่ได้ ก็จะหลบเข้ารกเข้าพงไป (สักพัก เราก็ควรจะถอนตัวออกมา) แต่ถ้าเค้ารับได้ ก็จะหากินไปตามปกติ และเราก็จะเก็บเกี่ยวพฤติกรรมน่ารักๆของเค้าได้อย่างเต็มที่

เข้าป่าคราวหน้า ถ้าอยากดูพฤติกรรมนกอย่างจุใจ ก็อย่าลืมพกบังไพรติดตัวไปด้วยนะคะ


ข้อมูล :

"//en.wikipedia.org/wiki/Siberian_Blue_Robin"

htttp://bird-home.com




 

Create Date : 05 สิงหาคม 2548    
Last Update : 16 กรกฎาคม 2552 22:26:37 น.
Counter : 2635 Pageviews.  

นกกระเบื้องคอขาว

นกกระเบื้องคอขาว Monticola gularis ( white-throated rock-thrush) มีหน้าตาหล่อแบบนี้







ในบรรดานกกระเบื้องทั้ง 3 ชนิดที่พบในเมืองไทย คือ

1.นกกระเบื้องผา (blue rock-thrush)
2.นกกระเบื้องท้องแดง ( chestnut-bellied rock-thrush)และ
3.นกกระเบื้องคอขาว (white-throated rock-thrush)

นกกระเบื้องคอขาวเป็นนกที่มีขนาดเล็กที่สุด คือประมาณ 19 ซม. และหุ่นก็ยังผอมเพรียวกว่าชนิดอื่นด้วย

โดยนกทั้งหมด เป็นนกอพยพมาในช่วงฤดูหนาว

นกกระเบื้องคอขาวมีสีฟ้าสดใสที่บริเวณหัว และหัวไหล่ คอมีแถบสีขาวเล็กๆขนาดพอสังเกตได้ชัดเจน มีคอ ท้อง และขนคลุมโคนหางและสะโพกสีน้ำตาลแดง ปีกสีดำอมน้ำตาล มีแถบสีขาว







ลักษณะที่กล่าวมานี้เป็นลักษณะของนกตัวผู้

นกตัวเมียจะมีลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างสีขาวมีลายเกล็ดสีดำ และดูเป็นลายเกล็ดทั้งตัว มีแถบสีขาวที่คอเช่นเดียวกับตัวผู้

ยังไม่มีภาพเพราะตอนที่ถ่ายภาพมามีแต่ตัวผู้ตัวเดียว







ในฤดูร้อน เค้าจะทำรังวางไข่อยู่ที่แถบตะวันออกของประเทศจีน เกาหลีเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ของไซบีเรีย
สำหรับประเทศไทย และประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราจะพบเค้าในฤดูหนาว โดยจะพบที่ประเทศไทยในราวเดือน พฤศจิกายน ถึงมีนาคมเป็นอย่างช้า







ภาพที่ถ่ายมานี้ถ่ายจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์2548ที่ผ่านมา เป็นการพบและรู้จักกันเป็นครั้งแรกของเรา โดยพบว่าเค้าหากินอยู่บริเวณเดิมเป็นเวลานาน และหลายวันพอสมควร







เราจะพบนกชนิดนี้ได้ทุกภาคของประเทศไทย แต่จะพบเป็นบางพื้นที่เท่านั้น เช่นที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยเค้าชอบอยู่ในป่าดงดิบ และป่าโปร่ง ตั้งแต่ที่ราบจนถึงความสูงประมาณ1200เมตร ชอบเกาะที่กิ่งไม้ที่ไม่รก และหากินบริเวณที่ค่อนข้างโล่ง แต่มีเงาไม้บัง

อย่างไรก็ตาม เป็นนกอพยพที่ไม่ค่อยพบตัวได้ง่ายนัก








แหล่งข้อมูล :

บ้าน-นก : กระเบื้องคอขาว

A Guide to the Birds of Thailand

คู่มือดูนก โดย รุ่งโรจน์ จุกมงคล




 

Create Date : 31 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 17 กรกฎาคม 2552 10:41:40 น.
Counter : 3190 Pageviews.  

นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า

นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า chloropsis cochinchinensis (blue-winged leafbird)

เป็นนกที่มีขนาดตัวประมาณ 19 ซม. ขนคลุมลำตัวสีเขียวทั้งตัว มีแต้มสีฟ้าที่หัวปีก มีแถบสีฟ้าที่ปลายปีก และมีขนหางสีเขียวและสีฟ้า ปากสีดำยาวเรียวโค้ง สำหรับสอดเข้าในดอกไม้เพื่อหาน้ำหวานโดยนกตัวผู้และนกตัวเมียจะมีลักษณะต่างกันดังนี้


นกตัวผู้มีหัวและอกช่วงบนสีเหลือง คอสีดำ มีแถบสีฟ้าเข้มที่ข้างคอ







นกตัวเมียไม่มีสีดำที่คอ หัวสีเขียว ปลายปีกสีฟ้า






นกชนิดนี้ทานน้ำหวานและผลไม้สุกเป็นอาหาร ชอบหากินบนต้นไม้ที่มีใบหนาทึบมากกว่าต้นไม้ที่มีไม่ค่อยมีใบ และมีสีกลมกลืนกับใบไม้ ถ้าไม่ขยับตัวจะไม่รู้เลยว่ามีนกที่นั่น
เพื่อพรางตาจากศัตรู นกชนิดนี้มักหากินตัวเดียว หรือเป็นครอบครัวเล็กๆ โดยจะแยกหากินแต่อยู่ใกล้ๆกัน หรือพบหากินกับนกเล็กๆอื่นๆ






เราพบนกก้านตองปีกสีฟ้าแทบทุกครั้งที่ออกไปดูนก แต่ทุกครั้งที่พบมักพบเค้าใกล้แหล่งน้ำซึ่งทำให้เห็นได้แบบค่อนข้างชัดเจน เช่นที่แก่งกระจานก็จะพบเค้าหากินอยู่บนต้นไม้เหนือลำธารบริเวณลานกางเตนท์ ที่ภูเขียวระหว่างแอบดูนกเล่นน้ำ เขียวก้านตองปีกสีฟ้าก็มาโล้เถาวัลย์ และลงเล่นน้ำอยู่พักหนึ่ง และที่เขาใหญ่ก็พบเค้ามาเล่นน้ำในแอ่งน้ำเล็กๆในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง และค่อนข้างแล้ง ก็เลยได้มาแต่ภาพตากปีกเปียกๆอย่างนี้หละ







ถ้าสนใจภาพและเรื่องราวของนกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า สามารถดูและชมภาพเพิ่มเติมได้ที่บ้าน-นก ค่ะ




 

Create Date : 30 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 17 กรกฎาคม 2552 16:23:09 น.
Counter : 4120 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  

จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add จันทร์น้อย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.