Group Blog
 
All blogs
 
นกแขกเต้า

นกแขกเต้า Psittacula alexandri (Red-beasted Parakeet) อยู่ในวงศ์นกแก้ว ซึ่งมีหัวโต ปากงุ้ม พบในประเทศไทยจำนวน 7 ชนิด 4 ชนิดมีหางยาว คือ นกแก้วโม่ง( Alexandrine Parakeet ) นกแก้วหัวแพร ( Blossom-headed Parakeet ) นกกะลิง (Grey-headed Parakeet ) และนกแขกเต้า (Red-breasted Parakeet) และอีก 3 ชนิดไม่มีหางยาวยื่นออกมา ชอบเกาะห้อยหัวลงจึงเรียกว่านกหก ได้แก่นกหกใหญ่ ( Blue-rumped Parrot ) นกหกเล็กปากแดง ( Vernal Hanging Parrot ) และนกหกเล็กปากดำ (Blue-crowned Hanging Parrot)

(สังเกตว่านกที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่าparakeet จะเป็นนกแก้ว ส่วนนกที่เรียกว่าparrot ที่เราแปลว่านกแก้ว กลายเป็นชื่อนกหก หมดเลย)







นกแขกเต้ามีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 36 เซนติเมตร มีหัวโต คอสั้น ปากงองุ้ม ปีกยาวและแคบ หางยาว ขนหางคู่กลางยาวมากและเรียวแหลมสีเขียวอมฟ้า ขาสั้นแต่ใหญ่แข็งแรง หัวสีม่วงแกมเทา ที่หน้าผากมีเส้นสีดำลากไปจรดหัวตาทั้งสองข้าง มีแถบสีดำลากจากโคนปากลงไปสองข้างคอคล้ายเครา อกสีออกแดง ขนคลุมลำตัวส่วนที่เหลือเป็นสีเขียว นก 2 เพศแตกต่างกันตรงที่นกตัวผู้มีปากบนสีแดง อกมีสีแกมม่วง นกตัวเมียมีปากสีดำ อกมีสีชมพูอมส้ม






เช่นเดียวกับนกแก้วชนิดอื่น นกแขกเต้าทำรังในโพรงไม้ โดยเมื่อถึงฤดูหนาว นกที่จับคู่แล้วจะแยกตัวออกมาหาที่ทำรังตามโพรงไม้ธรรมชาติ หรือตามโพรงรังของสัตว์อื่น หรือโพรงรังเก่าที่เคยใช้ ทั้งสองจะช่วยกันทำความสะอาดโพรงรังจนเกลี้ยง ไม่มีการนำวัสดุมารองรัง เมื่อเรียบร้อยแล้ว นกจะวางไข่ราว3-4ฟอง เปลือกไข่ค่อนข้างกลม สีขาว ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ ใช้เวลาราว 17-19 วันลูกนกก็ออกจากไข่ พ่อแม่นกจะขยอกอาหารออกมาจากกระเพาะพัก ซึ่งเป็นอาหารที่ย่อยแล้วบางส่วน แล้วป้อนลูกนก 3-4 สัปดาห์ต่อมาลูกนกก็จะออกจากรังโดยมีพ่อแม่ตามป้อนอีกระยะหนึ่ง ลูกนกจะอยู่รวมฝูงกับพ่อแม่ หรือรวมอยู่ในฝูงอื่น







นอกฤดูผสมพันธุ์ นกชนิดนี้จะอยู่รวมเป็นฝูง อาจเป็นหลายครอบครัวอยู่รวมกัน หากินบนต้นไม้ ห้อยตัว ใช้ปากช่วยเกาะเกี่ยว ส่งเสียงร้องสั้นๆไม่น่าฟังทั้งขณะบินและพักผ่อน นกชนิดนี้อาศัยตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง สวนผลไม้ ส่วนใหญ่มักพบในระดับพื้นราบ แต่ก็สามารถพบได้จนถึงระดับความสูง 1200 เมตรจากระดับน้ำทะเล อาหารของนกชนิดนี้ได้แก่ผลไม้สุก เมล็ดธัญพืช มีวิธีกินโดยบินกระพือปีกอยู่กับที่แล้วใช้ปากเด็ดข้าว หรือเมล็ดหญ้าทั้งรวงแล้วนำไปกินบนต้นไม้ ในการกินผลไม้จะใช้เท้าปลิดแล้วใช้เท้าจับไว้ก้มลงจิกกิน

เราจะพบนกชนิดนี้ในประเทศไทยได้แทบทุกภาค เว้นภาคใต้ โดยสามารถพบได้ทั้งตามป่าเขาและแหล่งชุมชนที่มีต้นไม้สูงใหญ่ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเป็นต้น สำหรับนกแขกเต้าคู่นี้ ปรกติอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่อยู่ที่วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่มีโพรงสำหรับทำรังอยู่หลายรัง โดยเฉพาะโพรงรังที่นกทั้ง2ตัวใช้อยู่นี้เป็นโพรงที่นกชนิดนี้ใช้ทำรังมาแล้วหลายปี


ข้อมูลจาก:

//www.bird-home.com

เครือข่ายพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน


Create Date : 09 มกราคม 2550
Last Update : 9 มกราคม 2550 21:27:36 น. 7 comments
Counter : 9876 Pageviews.

 
แวะมาดูภาพนแขกเต้า..

สวยจังเลย......

ขอบคุณที่นำเสนอให้ชมน่ะ

แล้วก็ขอบคุณที่แวะไปบอกชื่อนกที่บ้านให้ด้วยค่ะ

นกกินปลี นกหัวจุก แล้วก็นกเขาที่บ้านเยอะมากเลย...

ชอบเสียงนกประกอบเพลงจัง ธรรมชาติดี



โดย: Link_conner55 (Link_conner55 ) วันที่: 9 มกราคม 2550 เวลา:22:26:55 น.  

 
รูปสวย คมกริบมากๆเลยครับ ยังไม่เคยตามไปดูเลย ทางเหนือก็ไม่ค่อยมี


โดย: UnEdiTED วันที่: 24 มกราคม 2550 เวลา:22:54:26 น.  

 
มาหาความรู้มาชมภาพงามๆครับ


โดย: เขาพนม วันที่: 25 มกราคม 2550 เวลา:20:12:27 น.  

 
Blog สวยมากครับ ข้อมูลเพียบ
ขออนุญาติ add blog นะครับ


โดย: pichsud (Pichsud ) วันที่: 26 มกราคม 2550 เวลา:18:30:15 น.  

 
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาชมค่า...

คุณpichsud
ขอaddกลับนะคะ
จะได้แวะไปดูภาพวาดนกสวยๆมั่ง


โดย: จันทร์น้อย วันที่: 27 มกราคม 2550 เวลา:20:45:05 น.  

 
สีสวยมากๆค่ะ


โดย: แม่ลูกแฝด วันที่: 31 มกราคม 2550 เวลา:23:00:39 น.  

 
ไม่ค่อยเห็นใครถ่าย ภาพสวยมากเชียวค่ะ


โดย: Noklek (Maeseefai ) วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:10:59:14 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add จันทร์น้อย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.