Group Blog
 
All blogs
 

นกแซวสวรรค์

นกแซวสวรรค์ Terpsiphone paradisi ( asian paradise-flycatcher ) มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 19.5 - 23.5 ซม. แต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีหางคู่กลางยื่นยาวออกมากกว่า 25 ซม. ทำให้ดูสวยงามมาก








นกตัวผู้มีสีขนคลุมลำตัว 2 แบบ คือขนคลุมลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมส้ม และสีขาว ขณะที่ตัวเมียมีเพียงแบบสีน้ำตาลอมส้มแบบเดียว

นกแซวสวรรค์มีขนคลุมหน้า และคอสีเทาเข้มออกน้ำเงิน หัวสีเข้มกว่าหน้ามีขนยื่นขึ้นไปข้างบนเล็กน้อยดูคล้ายเป็นหงอนสั้นๆ บริเวณอกสีเทา และท้องสีออกขาว ขนคลุมปีก ไหล่ หาง สีน้ำตาลอมส้ม ปากหนาใหญ่โคนปากกว้าง นกตัวผู้และตัวเมียจะคล้ายกันในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์เพราะตัวผู้จะไม่มีขนหางยาวในช่วงนี้ แต่ตัวผู้จะมีสีเข้มกว่าตัวเมีย








ชนิดที่มีขนคลุมลำตัวสีขาวจะมีหัวและคอสีดำเป็นมันเงา ขนนอกจากนั้นเป็นสีขาวแต่มีแกนขนสีดำทำให้ดูมีลายสีดำๆ ในช่วงฤดูผสมพันธุ์เค้าจะมีหางยาวดูสวยสง่ามาก

หากต้องการดูรูปนกแซวสวรรค์หางยาวเชิญคลิกข้างล่างค่ะ

//www.bird-home.com

//www.bird-stamps.org/cspecies/14502800.htm


นกแซวสวรรค์กินแมลงเป็นอาหารโดยเค้าใช้วิธีบินโฉบจับแมลงกลางอากาศมากินที่กิ่งพัก อาศัยตามป่าเบญจพรรณป่าโปร่ง ป่าเชิงเขา ป่าดงดิบ ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 1500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในช่วงอพยพจะมีรายงานการพบบ่อยในเขตเมือง สวนสาธารณะใกล้เมือง ป่าโกงกาง แต่ก็จะพบอยู่ในช่วงเวลาไม่นานเพราะเค้าจะต้องอพยพไปต่อ เพื่อหาแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์และเหมาะสมที่จะอาศัยอยู่มากกว่า








นกแซวสวรรค์ในประเทศไทยมีทั้งที่เป็นนกประจำถิ่นและนกอพยพ ชนิดที่ทำรังวางไข่ในประเทศไทยมักทำรังวางไข่ในช่วงเดือนมีนาคม ถึง มิถุนายน โดยทำรังเป็นรูปกรวยหงายจากใบไม้ใบหญ้ายาวๆ ยึดเข้าด้วยกันด้วยใยแมงมุม ตามง่ามกิ่งไม้เล็กๆสูงจากพื้นดินประมาณ 1-15 เมตร ทั้ง 2 เพศช่วยกันทำรัง กกไข่และเลี้ยงลูก ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ12-13 วัน เมื่อออกจากไข่พ่อแม่จะเลี้ยงที่รังอีกสิบกว่าวันก็จะทิ้งรังหากินร่วมกับพ่อแม่ระยะหนึ่งแล้วแยกไปหากินตามลำพังหรือร่วมกับลูกนกจากรังอื่น







ภาพนกแซวสวรค์ถ่ายมาจากน้ำตกชันตาเถร จังหวัดชลบุรี
ส่วนแบบหางยาวและขนสีขาวยังไม่เคยเห็นเลยค่ะ คงต้องหาทางไปดูที่อช.แก่งกระจานและป่าละอูในโอกาสหน้าเสียแล้ว



ข้อมูล: //www.bird-home.com





 

Create Date : 24 กันยายน 2548    
Last Update : 18 กรกฎาคม 2552 15:30:50 น.
Counter : 6716 Pageviews.  

นกสาลิกาเขียว

The Green Magpie (Cissa chinensis) is a member of the Crow family, roughly about the size of the Eurasian Jay or slightly smaller. It is a vivid green in colour, slightly lighter on the underside and has a thick black stripe from the bill (through the eyes) to the nape. The tail is quite long and tapered with white tips. This all contrasts vividly with the reddish fleshy eye rims, red bill and legs. The wing primaries are reddish maroon also and make this one of the most striking and distinctive members of the whole family.

It is found from the lower Himalayas in north eastern India in a broad south easterly band down into central China, Malaysia, Sumatra and northwestern Borneo in evergreen forest (including bamboo forest), clearings and scrub.

This bird seeks food both on the ground and in trees, and takes a very high percentage of animal prey from countless invertebrates, small reptiles, mammals and young birds and eggs. It will also take flesh from a recently killed carcass.

The nest is built in trees, large shrubs and often in tangles of various climbing vines. There are usually 4–6 eggs laid.

The voice is quite varied but often a harsh peep-peep. It also frequently whistles and chatters


From : //en.wikipedia.org/







นกสาลิกาเขียว Cissa chinensis ( green magpie) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์เดียวกับกา แต่เป็นกาขนสี ไม่ใช่กาขนดำ เพื่อนๆของเค้าได้แก่ นกขุนแผน (blue magpie) นกกะลิงเขียด ( rufous treepie) โดยกาขนสีนี้จะมีขนาดเล็กกว่ากาที่มีขนสีดำ


นกสาลิกาเขียวมีขนาดประมาณ 38 ซม. มีปากยาว หนาสีแดงสด หัวโต ลำตัวอวบหนา ปีกกว้าง สั้น และ หางยาว(มักยาวกว่าภาพประกอบ) ขนปกคลุมลำตัว ส่วนใหญ่สีเขียวสด หน้าและกระหม่อมสีเขียวอมเหลือง ขนบริเวณกระหม่อมช่วงหลังและท้ายทอยจะยาวฟูออกมาเล็กน้อย ตาใหญ่และมีวงรอบตาสีแดงสด ม่านตาสีน้ำตาลไปจนถึงแดง หัวตาสีดำและมีแถบยาวหนาสีดำลากต่อผ่านตาไปจนถึงท้ายทอย ปีกสีน้ำตาลแดงสด ขนปลายปีกและปีกด้านหลังสีดำ ขนกลางปีกด้านในมีสีดำและส่วนปลายสีขาว เวลาที่นกหุบปีกจะมองดูเห็นเป็นลายดำสลับขาวอยู่ตรงกลางหลัง ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ใช้แยกนกชนิดนี้จากนกสาลิกาเขียวหางสั้น( eastern green magpie)ซึ่งไม่มีลายนี้







เวลาบินจะเห็นปีกสีน้ำตาลแดงตัดกับลำตัวสีเขียวสดหางยาวสีเขียวสด โดยขนหางคู่กลางยื่นยาวออกไปมากกว่าและช่วงปลายมีสีเขียวอ่อน ส่วนขนหางด้านล่างมีสีขาวสลับด้วยสีดำตอนปลาย ขาสีส้มสดไปจนถึงสีแดงสด ลำตัวสีเขียวค่อนข้างคล้ำ โคนหางด้านล่างสีขาว (จาก //www.bird-home.com)


อย่างไรก็ตามสีเขียวของนกสาลิกาเขียวอาจเปลี่ยนเป็นสีฟ้าได้ในบางโอกาส เพราะเม็ดสีในขนนกสาลิกาเขียวสามารถเปลี่ยนสีจากจากสีเขียว เหลือง และ แดง ไปเป็นสีฟ้า ขาว และ น้ำตาล ได้ตามลำดับ แต่ก็พบไม่บ่อยนัก เท่าที่พบคือจะเปลี่ยนจากสีฟ้าทั้งตัว หรือบางส่วน


นกสาลิกาเขียวเป็นนกที่มีอยู่ค่อนข้างมาก พบได้ตามป่าทั่วไป เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว แต่อาจมองเห็นตัวได้ยาก เพราะสีกลมกลืนกับใบไม้และชอบหากินอยู่ในพุ่มที่รกทึบ


บางทีเสียงที่ดังเจี๊ยวจ๊าวของเค้าก็เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้สายตาของเรามองหาเค้าเองโดยอัตโนมัติ







นกสาลิกาเขียวเป็นนกที่อาศัยตามป่าดงดิบและ ป่าเบญจพรรณจากที่ราบจนถึงความสูง 1800 เมตร อาหารเป็นพวกหนอน แมลง ตัวอ่อนและไข่ของแมลง ที่พบตามพื้นป่า ผลไม้สุกบางชนิดที่ร่วงหล่นตามพื้น สัตว์เลื้อยคลาน ขนาดเล็ก ไข่นกและลูกนก กระรอกขนาดเล็ก จิ้งจก ตุ๊กแกป่าตัวเล็กๆ







นกชนิดนี้เริ่มทำรังวางไข่ในช่วงเดือนเมษายนถึง พฤษภาคม โดยเค้าจะแยกจากกลุ่มเล็กๆของตัวเองออกมาจับคู่ตามลำพัง ทำรังตามง่ามไม้ภายในทรงพุ่มของไม้ที่มีใบดกทึบ สูงจากพื้นประมาณ 4 - 5 เมตร โดยใช้กิ่งไม้มาสานกันเป็นรูปกระจาดแบนหยาบๆ อาจประกอบด้วยกิ่งไผ่ รากไม้ และ ใบไม้มาสานกันหยาบๆ รองพื้นรัง รังจะมีขอบด้านหนึ่งสูงกว่าอีกด้านหนึ่ง บางครั้งทำรังในกอไผ่ด้านที่ติดที่โล่งหรือเป็นทางด่านสัตว์ วางไข่ ครั้งละ 3 - 7 ฟอง ส่วนมากพบ 5 ฟอง เปลือกไข่พื้นสีเขียวอ่อน สีเนื้อ ไปจนถึงสีขาว และ มีจุดประสีน้ำตาล และสีเทากระจายอยู่ พ่อแม่นกจะช่วยกันกกไข่ ใช้เวลาราว 17 - 19 วันไข่จะฟักเป็นตัว


ข้อมูลจาก //www.bird-home.com




 

Create Date : 07 กันยายน 2548    
Last Update : 7 กันยายน 2548 17:58:52 น.
Counter : 5155 Pageviews.  

นกกะรางคอดำ (นกซอฮู้)

นกกะรางคอดำ (นกซอฮู้) Garrulax chinensis (black-throated laughingthrush) มีขนาดตัวจากปลายปากจรดปลายหาง ประมาณ 26.5-30ซม. มีขนบริเวณหูสีขาว ใบหน้าและคอสีดำ กระหม่อมและคอด้านหน้าสีเทา ลำตัวด้านบนสีเทาแกมเขียวจนถึงสีน้ำตาลแกมเขียว ตัดกับใบหน้าสีดำและกระหม่อมสีเทา อกสีออกเทา สีข้างและ ตะโพกสีเขียวเข้มอมน้ำตาล มีขีดเล็กๆสีดำลากผ่านตาหน้าผาก มีแต้มเล็กๆสีขาว ปลายหางสีดำและค่อนข้างแผ่ออกเป็นหางพลั่ว ลำตัวด้านล่างสีเทา สีข้างและ ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีน้ำตาลแกมเขียว (//www.bird-home.com)








สามารถพบนกกะรางคอดำได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้งและป่าดงดิบเขา ป่าชั้นรอง ในบริเวณที่มีไม้พุ่มรกทึบ ป่าไผ่ ตั้งแต่พื้นราบ จนกระทั่งความสูง 1,525 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนใหญ่หากินตามพื้นดิน อาหารได้แก่ แมลง ตัวหนอน และ ผลไม้ป่าสุกบางชนิด ที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน โดยมีแหล่งกระจายพันธุ์ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ








ปกติมักพบอาศัยอยู่เป็นฝูง ตั้งแต่4-12 ตัว อาจเป็นฝูงของตัวเอง หรือรวมกับกะรางชนิดอื่นๆ หรือนกจับแมลงอื่นๆ เป็นนกที่มีเสียงร้องไพเราะ จนมีคนนิยมนำไปเลี้ยงโดยเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคใต้







นกกะรางที่เห็นนี้ถ่ายภาพมาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ขณะที่นกกะรางฝูงหนึ่ง ประมาณ6-7 ตัวออกมากินและเล่นน้ำที่บริเวณบังไพรถาวรที่เจ้าหน้าที่เขตจัดทำขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สังเกตพฤติกรรมนก เจ้าคู่นี้ออกมายืนดื่มน้ำเป็นแฝดกันดูน่ารักมาก







สำหรับเรา การเผชิญหน้าครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง นับจากครั้งแรกที่พุทธมณฑลที่บริเวณป่าไผ่ที่เราได้เจอนกกะรางทั้ง 3 ชนิด คือ กะรางคอดำ กะรางสร้อยคอเล็ก และกะรางสร้อยคอใหญ่ รวมฝูงหากินอยู่บนพื้น ซึ่งการพบที่พุทธมณฑลนี้แปลกมากเพราะไม่มีการกระจายพันธุ์ของนกชนิดนี้ปรากฎในแผนที่เลย เข้าใจว่าเค้าคงอพยพออกมาหากินไปเรื่อยๆเหมือนนกพญาไฟเล็ก เพราะหลังจากได้พบแล้ว เค้าก็พากันหายไปภายในสองสัปดาห์


แต่ถ้าใครบังเอิญเจอเค้าในนั้น ก็อย่าจับไปเลี้ยงละกันนะคะ คนดี


ข้อมูล : //www.bird-home.com




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2548    
Last Update : 15 มิถุนายน 2553 17:34:08 น.
Counter : 16854 Pageviews.  

นกพญาปากกว้างหางยาว

พญาปากกว้าง :

ชื่อนกในวงศ์ Eurylaimidae ลำตัวอ้วนป้อม ปากใหญ่ หัวโต ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบ กินแมลง สัตว์เล็กๆ และผลไม้เป็นอาหาร มีหลายชนิด เช่น พญาปากกว้างสีดำ (Corydon sumatranus) พญาปากกว้างท้องแดง (Cymbirhynchus macrorhynchos) พญาปากกว้างหางยาว (Psarisomus dalhousiae).


ที่มา : เครือข่ายพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน







นกพญาปากกว้างหางยาว Psarisomus dalhousiae (long-tailed broadbill) มีความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 11.6 - 13.2 ซม. นกทั้งสองเพศสีคล้ายกัน ลำตัวค่อนข้างป้อมแต่เนื่องจากมันมีขนยาวจึงดูลำตัวค่อนข้างเพรียวกว่านกพญาปากกว้างชนิดอื่นๆ หัวโตไม่สมตัวและมีลักษณะแบนกว้าง คอสั้น ปากสีเขียวจางๆอมเหลืองปลายจะงอยปากสีฟ้าโคนปากบนออกสีฟ้าด้านใต้ของปากล่างตรงโคนปากเป็นสีเหลืองอมชมพู ปากตอนโคนแบนกว้างมากแต่ขอบของปากบนไม่คลุมลงไปข้างๆ ขอบปากล่างแบน ปลายปากบนเป็นของุ้มแหลมคมคล้ายตะขอ ปากของมันนอกจากจะแบนกว้างแล้ว ยังอ้าได้กว้างอีกด้วยที่โคนปากไม่มีขนเส้นแข็งๆแบบนกพญาปากกว้างชนิดอื่นๆ แต่ว่าขนที่หัวตาจะยื่นออกมาล้ำโคนปากดวงตากลมโต มีม่านตา 2 ชั้น ชั้นในสีชมพูชั้นนอกสีฟ้า มีหนังเปลือยเปล่าแคบๆสีเหลืองอมเขียวอยู่รอบตา หน้าผาก หลังตา ใต้คาง และ คอ ล้วนมีสีเหลืองสด และสีเหลืองที่คอยังยาวเลยไปถึงหลังคอ แต่ไม่บรรจบกัน กระหม่อมสีดำเหมือนสวมหมวก สีคลุมลำตัวและปีกสีเขียวอมฟ้า ท้องสีเขียว อ่อนอมเหลือง ขนคลุมปีกตอนบนสีเขียวสด ขนกลางปีกสีเขียวคล้ำ ขอบด้านในสีดำ ปลายปีกขนสีฟ้าสด แต่มีขอบขนด้านในสีดำและสีขาวที่กลางขน เมื่อมันคลี่ปีกบินจึงเห็นเป็นแถบกลมสีขาวอยู่กลางสีเขียวขอบดำ สวยงามทีเดียว ขนหางสีฟ้าสดปลายขลิบสีดำ นิ้วเท้า สีเขียวอมเหลือง (//www.bird-home.com)







แหล่งอาศัยหากินของพญาปากกว้างหางยาวเป็นป่าดงดิบในระดับความสูง 500-2,000 เมตร แต่อาจลงมาหากินต่ำถึงระดับ 50 เมตรจากระดับน้ำทะเลบ้างในบางครั้ง อาหารได้แก่ จักจั่น ด้วงหนวดยาว แมลงปีกแข็ง ไข่ และตัวอ่อน ของแมลง เป็นต้น โดยมักพบอยู่เป็นฝูงประมาณ15ตัว อยู่บนต้นไม้ระดับเรือนกลางถึงระดับยอด โดยจะบินหากินไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูทำรังวางไข่ ก็จะแยกตัวออกไปเป็นคู่







ฤดูผสมพันธุ์ ทำรัง วางไข่ของนกพญาปากกว้างอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนกันยายน โดยจะทำรังด้วยใบพืชยาวๆ ใบไผ่ รากไม้เล็กๆ เถาวัลย์เส้นยาว นกมักทำรังในช่วงเช้า ซึ่งวัสดุยังชื้น ฉีก หรือ ดึงออกมาเป็นเส้นยาวได้ง่าย นกจะนำมาพันกับปลายไม้เป็นปม แบบหัวจุก มีสายยาวห้อยลงมา ก่อนจะนำใบหญ้ายาวๆมาพัน และ สานจน เป็น รังคล้ายรังนกกระจาบ แต่หยาบกว่ามาก มีทางเข้าออกอยู่ด้านข้าง เมื่อรังใกล้เสร็จจะสังเกตได้จาก นกจะทำ กันสาดยื่นออกมาเหนือทางเข้ารัง เพื่อกันฝน









นกพญาปากกว้างหางยาวมักกลับมาทำรังที่บริเวณเดิม โดยอาจเสริมรังเก่าให้แน่นหนาแล้วใช้ใหม่ หรือทำรังใหม่ใกล้บริเวณเดิม เช่นภาพที่เห็นนี้ถ่ายมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ รุ่นพี่นักดูนกหลายท่านบอกว่าเค้ามาทำรังที่นี่หลายปีแล้ว โดยจะมาในช่วงเวลาใกล้เคียงวันเดิม คือช่วงปลายเดือนมีนาคม


โดยปกติแล้วนกพญาปากกว้างหางยาวไม่ใช่นกที่เราจะพบเห็นได้ง่ายนัก เพราะเป็นนกที่อาศัยหากินในป่าดงดิบ แต่ในช่วงทำรัง พวกเค้าจะเลือกหาสถานที่ที่คิดว่าปลอดภัย และต้องหาวัสดุมาสร้างรัง ดังนั้นจึงมีจุดที่แน่นอนที่จะพบเค้าได้ในระยะเวลาหนึ่ง

คนที่ต้องการเห็นตัวเค้าชัดๆจึงสามารถเห็นได้ในช่วงเวลานี้เอง







สำหรับปีนี้ นับว่าเป็นปีทองของคนที่อยากพบตัวนกพญาปากกว้างหางยาว เมื่อพวกเค้าพากันตบเท้าออกมาสร้างรังในที่ที่มีคนพลุกพล่านอย่างเช่นหน้าห้องน้ำชาย ลานกางเตนท์ผากล้วยไม้ นอกจากใกล้ผู้คนแล้วก็ยังทำรังต่ำมากจนใครๆก็มองเห็นอีกด้วย







นกทั้งสองเพศจะช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงลูก อ่อน ใช้เวลาฟัก 14 - 15 วัน ลูกนกจะอยู่ในรังประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะหัดบินและทิ้งรังไปหากินร่วมกับพ่อแม่ แม้จะหากินเองได้แล้ว แต่ก็ยังรวมฝูงอยู่กับพ่อแม่และ นกตัวอื่นๆในฝูงเดียวกัน เมื่อถึงวัยผสมพันธุ์จึงจะแยกออกไปจับคู่กับนกต่างฝูงออกไป



ข้อมูล :
//www.bird-home.com




 

Create Date : 20 สิงหาคม 2548    
Last Update : 28 เมษายน 2555 14:05:54 น.
Counter : 5614 Pageviews.  

นกเดินดงหัวสีส้ม

The Orange-headed Thrush (Zoothera citrina) is a member of the thrush family, Turdidae.

It is common in well-wooded areas of India, China and southeast Asia. Most populations are resident. The species shows a preference for shady damp areas, and like many Zoothera thrushes, can be quite secretive.

Orange-headed Thrushes are omnivorous, eating a wide range of insects, worms and fruit. They nest in trees. They do not form flocks.

Males of this small thrush have uniform grey upperparts, and orange head and underparts. Females and young birds have browner upperparts


จาก //en.wikipedia.org/wiki/Orange-headed_thrush


นกเดินดงหัวสีส้ม Zoothera citrina (orange-headed thrush) มีขนาดจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 22 เซ็นติเมตร เป็นนกที่มีหัว คอ และท้องสีส้มสดใสจนมองเห็นได้ชัดเจน ท้องช่วงล่างและขนคลุมโคนหางด้านล่างเป็นสีขาว บริเวณลำตัวด้านบนและปีกมีเทาอมฟ้าในเพศผู้







และมีน้ำตาลอมเขียว ในเพศเมีย






นกชนิดนี้ปกติจะชอบหลบซ่อนตัว อยู่บนกิ่งไม้ไม่สูงมากนัก แต่บางตัวเมื่ออยู่ที่เดิมนานๆ มีคนไปดูอยู่เรื่อยๆ เมื่อเห็นว่าไม่มีอันตราย นกตัวนั้นก็จะ ค่อนข้างคุ้นคน ก็จะลงมาหากินที่พื้นดิน และยอมให้เข้าใกล้ได้พอสมควร นกเดินดงหัวสีส้มเป็นนกที่พบทั่วไปในอนุทวีป อินเดีย และพบบ่อยๆในประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงในหมู่เกาะชวา ( //www.bird-home.com/)


นกเดินดงหัวสีส้มในประเทศไทย มีทั้งที่เป็นนกประจำถิ่นและเป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ (ช่วงตุลาคม-พฤษภาคม) ชนิดที่เป็นนกอพยพจะเป็นชนิดที่มีผู้พบเห็นมากกว่า โดยสามารถพบได้ในหลายแหล่ง ทั่วประเทศไทย


อาหารของนกชนิดนี้ได้แก่ ผลไม้ป่าสุกที่ร่วงหล่นตามพื้นป่า แมลง หนอน ตัวอ่อนของแมลง มด ปลวก แมงมุม หอยทาก ทาก ปลิง ฯลฯ ถ้าเป็นลูกไม้สุก จะกินจากต้น หรือ ที่ร่วงหล่นตามพื้นป่า ( //www.bird-home.com/)



สถานที่ที่เราจะพบนกชนิดนี้ได้บ่อยๆ ก็คืออุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งนกมักจะออกมาเดินโชว์ตัวถึงบริเวณลานกางเตนท์ที่บ้านกร่าง ส่วนอีกที่ เป็นที่ คืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บริเวณ หลังร้านอาหารผากล้วยไม้1 และ หลังห้องน้ำผากล้วยไม้2








สำหรับที่ผากล้วยไม้ เราอาจพบเค้าออกมาหากินพร้อมกับนกชนิดอื่นๆ เช่นนกเดินดงพันธุ์ญี่ปุ่น นกเดินดงลายเสือ นกแต้วแล้วน้ำเงิน และที่แทบจะขาดไม่ได้คือ นกกางเขนดง ทั้งที่เป็นสถานที่ที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์เสียเลย แต่เพื่อให้ได้ชมนกงามๆเช่นนี้ นั่งรอนานแค่ไหน กลิ่นยังไง ก็ต้องทน





(ภาพนี้ตั้งใจให้สังเกตพื้นที่ที่นกยืนอยู่ ว่ามีอะไรบ้าง)



แหล่งข้อมูล:

//www.bird-home.com/

//en.wikipedia.org/wiki/Orange-headed_thrush

A Guide to the Birds of Thailand โดย น.พ.บุญส่ง เลขะกุล และ Philip D.Round







 

Create Date : 19 สิงหาคม 2548    
Last Update : 28 เมษายน 2555 14:21:39 น.
Counter : 5947 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  

จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add จันทร์น้อย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.