ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 

คนสู้โรค (สุขภาพดีด้วยจักรยาน) 10 กรกฎาคม 2555

คนสู้โรค (สุขภาพดีด้วยจักรยาน) 10 กรกฎาคม 2555


คนสู้โรคร่วมกับสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย จัดกิจกรรม เรียนรู้ “สุขภาพดีด้วยจักรยาน” ฟังประสบการณ์จริงของผู้มีสุขภาพดี แข็งแรงด้วยการขี่จักรยาน เรียนรู้ความปลอดภัยในการขี่จักรยานเพื่อการท่องเที่ยว และผ่อนคลาย ปิดท้ายด้วยสกู๊ปการจัดสร้างอาการป่วยรองรับผู้ป่วยเด็ก

คนสู้โรค (สุขภาพดีด้วยจักรยาน) 10 กรกฎาคม 2555




 

Create Date : 15 กรกฎาคม 2555    
Last Update : 15 กรกฎาคม 2555 9:53:58 น.
Counter : 1377 Pageviews.  

อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซา โรคของสาวกลัวอ้วน

โรคกลัวอ้วน

ฉันกลัวอ้วน (e-magazine)!!!

สื่อต่าง ๆ ในทุกวันนี้ที่ล้วนแล้วแต่มีหญิงสาวเอวบางร่างน้อย ซึ่งก็ทำเอาวัยรุ่นสมัยใหม่อยากจะมีหุ่นไซส์ sss กับเขาบ้าง และนั่นเองที่ทำให้สาว ๆ หลายคนเลือกที่จะไม่รับประทานอาหาร หรือรับประทานแล้วพยายามเอาออกด้วยสารพัดวิธีที่อันตราย จนเป็นที่มาของ โรคกลัวอ้วน หรือ อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซา (Anorexia Nervosa)

รู้จักกับโรคกลัวอ้วน

โรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) เป็นภาวะที่บุคคลปฏิเสธที่จะรับประทานอาหารเพื่อคงน้ำหนักไว้ในระดับปกติ โดยมีทัศนคติที่ผิดต่อรูปร่าง และน้ำหนักตัวผิดปกติ คนที่เป็นโรคนี้ จะเป็นคนที่กลัวอ้วน กลัวเอามาก ๆ เห็นน้ำหนักตัวเองเป็นศัตรู ปฏิเสธอาหารอย่างมากจนผ่ายผอม

          ในสังคมปัจจุบันสนใจน้ำหนักตัว ไม่ต้องการอ้วน ไม่ต้องการหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน คาดว่ามีผู้ป่วยโรคกลัวอ้วนเสียจนผอมเกินไปราวร้อยละ 0.5-1.8 ของประชากร มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นราว 5-10 รายต่อประชากร 1 แสนคน พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า ในผู้ป่วยทั้งหมดจะเป็นผู้ชาย ไม่เกินร้อยละ 5-10

          อาการของโรคมักเริ่มตอนวัยรุ่น โดยเฉลี่ยจะเริ่มเป็นเมื่ออายุ 17 ปี มีบ้างที่เป็นตอนเรียนมัธยมต้น หรือตอนโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว พบมากในประเทศอุตสาหกรรม หรือประเทศที่เจริญแล้ว ประเทศด้อยพัฒนาจะพบน้อยกว่า

สาเหตุ

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม ผู้ป่วยมักเป็นวัยรุ่นที่เป็นเด็กดี หรือเด็กตัวอย่าง ส่วนใหญ่มักมีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์แบบ ย้ำคิดย้ำทำ ขาดทักษะในการใช้ชีวิตในสังคม มีความเป็นตัวของตัวเอง มีปัญหาความขัดแย้งในจิตใจเรื่องความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกไม่มีค่า มักทำตามความคาดหวังของผู้อื่นเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ

          นอกจากนี้ ยังเกิดจากการมองภาพตนเองบิดเบือน มองเห็นสัดส่วนร่างกายอ้วนไป ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อ้วน มักปฏิเสธว่าไม่หิว ไม่ป่วย บอกว่าสบายดี มักแยกแยะความหิวไม่ได้ บางรายพบปัจจัยที่เกี่ยวกับครอบครัว ถูกเลี้ยงดูแบบใกล้ชิด หรือปกป้องมากเกินไป

ปัจจัยทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่ ค่านิยมยึดติดอยู่กับความผอมบาง ต้องการสวย เชื่อว่าผู้หญิงผอม คือ แฟชั่น คิดว่าคนอ้วนเป็นคนที่ดูแลตนเองไม่ดี หรือคิดว่าคุณค่าวัยรุ่นขึ้นอยู่กับรูปร่างหน้าตาที่น่ารักหรือหุ่นดี

          การที่วัยรุ่นมีวิกฤติของชีวิต เช่น ความต้องการเป็นตัวของตัวเอง ค่านิยม สัมพันธภาพกับผู้อื่น บางครั้งอาจเกิดความขัดแย้งกับบิดามารดา โดยเฉพาะการมีสัมพันธภาพกับเพื่อนต่างเพศ


ส่องกระจก

อาการ

          ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียน หรือนักศึกษาสาวที่ขยันเรียน มีความรับผิดชอบสูง ผลการเรียนดี เป็นคนค่อนข้าง "สมบูรณ์แบบ" บิดามารดามักประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานสูง ผู้ป่วยมักไม่ชอบงานสังคมสังสรรค์นัก

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานราว 15% เช่น ควรหนัก 60 กิโลกรัม ก็หนักเพียง 50 กิโลกรัม หรือควรหนัก 50 กิโลกรัม ก็เหลือแค่ 42 กิโลกรัม หรือน้อยกว่าเป็นต้น

          โรคนี้ถือเป็นความผิดปกติทางจิตใจชนิดหนึ่ง โดยมีความเชื่อผิดเกี่ยวกับน้ำหนักและรูปร่างตัวเอง บางคนยังเชื่อว่า น้ำหนักมากเกินไป ทั้ง ๆ ที่ความจริงอยู่ในขั้นผอมแห้ง บางคนเชื่อว่าอวัยวะบางส่วนของตัวอ้วนไป ความคิดเต็มไปด้วยเรื่องเกี่ยวกับอาหาร น้ำหนักตัว และการควบคุมอาหาร ในที่สุดเมื่อสนใจแต่เรื่องพวกนี้ ก็จะไม่มีเวลาสนใจเรื่องอื่น ทำให้การเรียน การทำงาน และมนุษยสัมพันธ์แย่ลง

ผู้ป่วยจะกลัวมาก ๆ เกี่ยวกับการที่น้ำหนักเพิ่มขึ้น และที่แปลกคือ เมื่อยิ่งผอม น้ำหนักลด กลับยิ่งกลัวมากขึ้นไปอีก ความกลัวน้ำหนักเพิ่มนั้น มากเสียยิ่งกว่ากลัวตายจากการปฏิเสธอาหาร แทนที่จะรู้สึกผ่อนคลายหรือเบาใจ เมื่อน้ำหนักลดลงได้เขากลับกลัวมากขึ้นไปอีก

          จะพบอาการไม่มีประจำเดือนได้บ่อยในผู้ป่วยโรคนี้ สาเหตุเกิดจากความเครียดอย่างรุนแรงจากการอดอาหาร ทำให้ฮอร์โมนของสมองที่ควบคุมการมีประจำเดือนลดลง การอดอาหารยังไปกดการหลั่งของฮอร์โมนเพศ ทำให้ขาดความสนใจทางเพศ การพัฒนาทางเพศจะล่าช้าในผู้ป่วยพวกนี้ สาเหตุอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ผู้ป่วยมักแยกตัวจากสังคม เพราะขาดความเชื่อมั่น นับถือตัวเองและกลัวว่าเมื่อเข้าสังคมแล้วจะดำเนินชีวิตอย่างที่ทำอยู่ไม่ได้

ผู้ป่วยมักมีความประพฤติแบบย้ำคิด-ย้ำทำร่วมด้วย ชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยพิธีรีตอง ส่วนตัวอาจนับเมล็ดข้าวที่รับประทาน คำนวณพลังงานที่ได้จากอาหาร ชั่งน้ำหนัก วัดสัดส่วนของร่างกาย ผู้ป่วยโรคนี้จะปฏิเสธความเจ็บป่วยของตัวเองไม่ยอมรับว่าป่วย ทำให้รักษาลำบาก คิดว่าความคิดตนเองถูกต้อง ส่วนคนอื่นต่างหากที่เพี้ยนไป

ลดน้ำหนัก

การรักษา

ประเมินว่าผู้ป่วยมีโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่ และมีโรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง

เป้าหมายเบื้องต้นในการรักษาคือ ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากการอดอาหาร ผู้ป่วย และครอบครัว จะได้รับคำแนะนำและอธิบายถึงแผนการรักษา

นักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ ล้วนมีความสำคัญในการร่วมทีมรักษา เริ่มแรกต้องค่อย ๆ เพิ่มอาหาร เพื่อป้องกันกระเพาะขยายตัว ป้องกันการบวมและหัวใจล้มเหลว

บางกรณีต้องรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล เช่น ผู้ป่วยที่น้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 30 ของน้ำหนักปกติ ผู้ป่วยที่มีความคิดฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยที่ติดยาระบาย หรือยาขับปัสสาวะและกรณีที่รักษาแบบผู้ป่วยนอกแล้วไม่ได้ผล

การรักษาในโรงพยาบาลจะใช้เวลาประมาณ 10-12 สัปดาห์ จึงจะเพียงพอสำหรับการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ ก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ควรลองปล่อยผู้ป่วยกลับบ้านเฉพาะวันหยุดดูก่อน เพื่อปรับตัวสักระยะหนึ่ง เมื่อกลับบ้านได้แล้วยังต้องนัดกลับมาติดตามการรักษาไปอีกเป็นเดือน หรือเป็นปีทีเดียว เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

เริ่มการรักษาทางจิตตั้งแต่แรก และติดตามไปเรื่อย ๆ จนผู้ป่วยปกติ

พฤติกรรมบำบัดมีส่วนในการรักษามาก ทั้งวิธีให้รางวัลและลงโทษ

ในผู้ป่วยอายุน้อยการใช้วิธีครอบครัวบำบัดจะได้ผลดีมาก ต้องระลึกเสมอว่าโรคนี้มีผลกระทบต่อครอบครัวทั้งหมด การให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งแวดล้อมของครอบครัว จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

การดูแลและวิธีแก้ไข

เสริมให้วัยรุ่นมีความเชื่อมั่นในตนเอง

เสริมพลังอำนาจในตนเองให้รู้สึกว่าสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้

เรียนรู้ที่จะเคารพตนเอง เชื่อว่าตนเองเป็นอิสระ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ ครอบครัว หรือสังคมเท่านั้น

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

ส่งเสริมทักษะในการใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่น








ลิขสิทธิ์บทความของ e-magazine.info
ติดตามบทความ สุขภาพ หรืออ่าน แมกกาซีน




 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2555    
Last Update : 13 กรกฎาคม 2555 8:06:26 น.
Counter : 2581 Pageviews.  

ผู้หญิงถึงผู้หญิง 9 กรกฎาคม 2555

ผู้หญิงถึงผู้หญิง 9 กรกฎาคม 2555


ผู้ดำเนินรายการ ผู้หญิงถึงผู้หญิง : พิมลวรรณ ศุภยางค์/ พัชรศรี เบญจมาศ/ มีสุข แจ้งมีสุข/ กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์

ผู้หญิงถึงผู้หญิง วันที่ 9 กรกฏาคม 2555 by kaewchai




 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2555    
Last Update : 10 กรกฎาคม 2555 7:51:45 น.
Counter : 1337 Pageviews.  

สโมสรสุขภาพ (อยู่ดีมีสุข - คลองโคน สมุทรสงคราม) 6 กรกฎาคม 2555

สโมสรสุขภาพ (อยู่ดีมีสุข - คลองโคน สมุทรสงคราม) 6 กรกฎาคม 2555


อยู่ดีมีสุข - คลองโคน สมุทรสงคราม 6Jul12

สโมสรสุขภาพ (อยู่ดีมีสุข - คลองโคน สมุทรสงคราม) 6 กรกฎาคม 2555




 

Create Date : 07 กรกฎาคม 2555    
Last Update : 7 กรกฎาคม 2555 9:04:23 น.
Counter : 1238 Pageviews.  

สโมสรสุขภาพ (บริโภคน้ำตาลอย่างฉลาด) 5 กรกฎาคม 2555

สโมสรสุขภาพ (บริโภคน้ำตาลอย่างฉลาด) 5 กรกฎาคม 2555


บริโภคน้ำตาลอย่างฉลาด 5Jul12

สโมสรสุขภาพ (บริโภคน้ำตาลอย่างฉลาด) 5 กรกฎาคม 2555




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2555    
Last Update : 6 กรกฎาคม 2555 7:27:43 น.
Counter : 1330 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.