"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
30 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 
จีนบูรณะบ้านเกิดทะไลลามะ ครอบงำ สร้างสรรค์ หรือ ทำลาย?

จีนบูรณะบ้านเกิดทะไลลามะ ครอบงำ สร้างสรรค์ หรือ ทำลาย?
ลามะในวัดทิเบตแห่งหนึ่งที่มณฑลกันซู่ ชูภาพองค์ทะไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณของพวกเขา (แฟ้มภาพปี 2555 รอยเตอร์ส)

เอเอฟพี - ในเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นเดือนที่ชนชาติทิเบตหวนนึกถึงอดีต ครุ่นคิดถึงอนาคตของพวกเขา ในวันที่ 10 มี.ค. ถือเป็นวันรำลึกการลุกฮือต่อต้านอำนาจปกครองจีนของชาวทิเบตบนแดนหลังคาโลก ที่ปัจจุบันเป็นเขตปกครองตัวเองชนชาติทิเบตของจีน การลุกฮือในครั้งนั้นเมื่อปี 2502 จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของชาวทิเบต

และองค์ทะไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณต้องลี้ภัยไปยังอินเดีย ซึ่งต่อมาได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นทิเบตที่เมืองธรรมศาลา นอกจากนี้ เมื่อเดือน มี.ค. ปี 2551 ยังเกิดจลาจลใหญ่ในลาซา เมืองเอกของเขตปกครองตัวเองชนชาติทิเบต ซึ่งการจลาจลดังกล่าวได้แผ่ขยายไปยังเขตชุมชนทิเบตอื่น ได้แก่ ในมณฑลเสฉวน และมณฑลชิงไห่

       ในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลจีนได้จัดการสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งเกี่ยวกับ “จิตวิญญาณทิเบต” นั่นก็คือ การพัฒนาพื้นที่บริเวณที่เป็นบ้านเกิดของทะไลลามะอย่างขนานใหญ่ เบื้องหลังของภูเขาอันไกลโพ้น เป็นหมู่บ้านที่ครอบครัวของทะไลลามะองค์ที่ 14 ผู้นำแห่งจิตวิญญาณของชาวทิเบตถือกำเนิด และได้อาศัยอยู่เมื่อครั้งปฐมวัย

ถูกสั่งบูรณะรอบนอกตัวเรือน ที่ล้อมด้วยกำแพงสูงล้อมรอบสามเมตร และติดกล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัยจำนวนมาก

       อาคารบ้านช่องในหมู่บ้านหงไอ้ บนยอดเขาสูงละลิ่ว เป็นเพียงสถานที่ที่เหลือแห่งเดียวในแผ่นดินใหญ่ ที่มีไว้เพื่ออุทิศเป็นสรณสถานของทะไลลามะ ผู้ที่ทางการปักกิ่งกล่าวหาว่าเป็นนักลัทธิแบ่งแยกดินแดน และหมาป่าในคราบนักบวช

บ้านเกิดของทะไลลามะกลายมาเป็นสัญลักษณ์ ที่รัฐบาลจีนมองเป็นหนามยอกอก ด้วยหวาดระแวงว่าชาวทิเบตจะยังคงความศรัทธาและอาจนำมาซึ่งการแบ่งแยกดินแดน จึงระดมเงิน 2.5 ล้านหยวนลงไป เพื่อทำการบูรณะบ้านดังกล่าวตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว ท่ามกลางความวิตกของบรรดานักสิทธิมนุษยชนตะวันตก ที่มองเห็นปัญหาการย้ายถิ่นและการสร้างที่อยู่อาศัยแบบสมัยใหม่นั้น เป็นการรุกรานวัฒนธรรมทิเบตอย่างบ้าคลั่ง



จีนบูรณะบ้านเกิดทะไลลามะ ครอบงำ สร้างสรรค์ หรือ ทำลาย?
ภาพเมื่อวันที่ 26 ก.ค.2556 ผู้แสวงบุญทำคารวะ ณ วัดไป๋หม่า ในอำเภอผิงอัน มณฑลชิงไห่ (ภาพเอเอฟพี)

ครอบงำ?
       เซอริ่ง วูเซอร์ กวีทิเบตให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า “ครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อพัฒนาเมืองสมัยใหม่ แต่เป็นการครอบงำจากจีนชัดๆ”

       หมู่บ้านหงไอ้ หรือในภาษาทิเบตว่าตัคเซอร์ เป็นเขตวัฒนธรรมที่สำคัญของชาวทิเบตนานหลายร้อยปีมาแล้ว ตั้งอยู่ทางแถบตะวันตกของมณฑลชิงไห่ ห่างออกไปจากเขตปกครองตนเองทิเบตหลายร้อยกิโลเมตร

สำหรับชาวทิเบตแล้ว การเปลี่ยนแปลงสิ่งก่อสร้างอันเป็นศาสนสถาน ถือเป็นการทำลายประเพณีดั้งเดิม ทั้งนี้บ้านเกิดขององค์ทะไลลามะเป็นบ้านชาวนา ตามความเชื่อทิเบต หลังจากที่องค์ทะไล ลามะสิ้นพระชนม์แล้ว คณะลามะชั้นสูงจะออกเดินทางแสวงหาเด็กชายที่เกิดใหม่ ที่เชื่อว่าเป็นองค์ทะไล ลามะกลับชาติมาเกิด

ในช่วงทศวรรษ 1930 ก็มีการแสวงหาทะไล ลามะองค์ใหม่ คณะลามะฯ ได้มาพบเด็กชายนามว่า “ลาโม ทอนดุป” และทำการทดสอบจนแน่ใจคือทะไล ลามะ กลับชาติมาเกิด

เด็กน้อยจากหมู่บ้านหงไอ้ ถูกนำตัวไปยังกรุงลาซา เมื่อวัยสี่ขวบ ต่อมาในปี 2493 ในวัย 15 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ทะไลลามะ เทนซิน เกียตโซ องค์ที่ 14 เป็นประมุขทางการปกครองและทางศาสนาแห่งทิเบต ทว่า...เก้าปีต่อมาคือในปี พ.ศ. 2502 ชาวทิเบตพ่ายแพ้ในการการลุกฮือต่อต้านอำนาจปกครองจีน

ทะไล ลามะก็ลี้ภัยออกจากทิเบต ไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในเมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ภายใต้ข้อเสนอให้ลี้ภัยของรัฐบาลอินเดีย ธรรมศาลากลายเป็นเมืองอนุรักษ์วัฒนธรรมทิเบตของโลกนับแต่นั้นเป็นต้นมา

       ส่วนฐานที่มั่นการต่อสู้ของชาวทิเบตในหมู่บ้านหงไอ้ มีรายงานระบุว่าถูกทำลายราบคาบโดยพวกกลุ่มสมาชิกกองกำลังพิทักษ์แดง (Red Guard) ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมระหว่างปี 2503-2513 และได้ฟื้นฟูบูรณะขึ้นใหม่ในอีกราวสิบปีต่อมา

       หัวหอกในการดูแลรักษาบ้านก็คือ กนโฑ ทาสึ หลายชายของทะไลลามะ และเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งก็ได้อาศัยอยู่บ้านหลังถัดจากบ้านเกิดองค์ทะไลฯ



จีนบูรณะบ้านเกิดทะไลลามะ ครอบงำ สร้างสรรค์ หรือ ทำลาย?
ภาพบ้านเกิดองค์ทะไลลามะ จากภายนอก ในหมู่บ้านหงไอ้ อำเภอผิงอัน มณฑลชิงไห่ (แฟ้มภาพเอเอฟพี)

สร้างสรรค์ ?
       เจ้าหน้าที่ผู้นำเงินทุนไปปรับแปลงสภาพบ้านเกิดทะไลลามะ บอกว่าคงต้องปรับใหม่หมด อย่างไรก็ดี เขามองว่าเป็นความปรารถนาดี ที่จะทำให้นักแสวงบุญรู้สึกปีติเมื่อเดินทางมาถึง เงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่ง ของงบประมาณการผลักดันด้านที่อยู่อาศัยท้องถิ่นของทิเบตที่ตั้งไว้สูง 1,500 ล้านหยวน

สื่อรัฐบาลจีนเผยว่า นอกเมืองออกไปในดินแดนอันกว้างใหญ่ทางตะวันตกของจีน เริ่มกลายเป็นดินแดนที่ผุดโรงงานคับคั่ง เศรษฐกิจพัฒนาเปรี้ยงปร้าง โรงงานห้างร้านต่างชาติเรียงรายสลอน

       ซุน ซิวจ้ง ให้สัมภาษณ์กับสื่อทางการจีนแห่งซินหวาว่า “ดินแดนอันเย็นยะเยือก ไร้การพัฒนา ตอนนี้ได้แปลงเป็นเมืองที่เจริญ เศรษฐกิจรุ่งโรจน์”

       ใบไม้ร่วงเต็มพื้นถนนในหมู่บ้านอันเงียบสงบ ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีเดินเลาะมาตามลำพัง พลันมีเสียงทักมาทางด้านข้าง “คุณห้ามเข้า”

 “เขาห้ามฝรั่งเข้า ตำรวจเขาไม่ให้เข้า” ชายชาวบ้านบอกนักข่าว ระคนกับเสียงสุนัขที่ชาวทิเบตเลี้ยงไว้เตือนภัยเห่าไม่หยุดปาก

       เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ไม่ให้ผู้มาเยือนบ้านเกิดทะไลลามะเข้าสู่นิวาสสถาน แม้ทำเรื่องขออย่างเป็นทางการมาแล้วก้ตาม “เราไม่ต้องการให้เรื่องนี้กระโตกกระตากไปถึงหูทะไล ลามะ” เจ้าหน้าที่ฯ บอกกับนักข่าว

       คงมีเพียงสำนักข่าวซินหวา ผู้ได้เข้าไปทำข่าวรายเดียวเท่านั้น ซินหวาเคยลงข่าวว่า “แผนการปรับปรุงอาคารดังกล่าวจะยังให้มีการคงสภาพดั้งเดิมเอาไว้ ทว่าจะมีการปูพื้นสนามใหม่ เสริมตัวคานของบ้านให้แข็งแรงขึ้น ส่วนภาพสุสานต้องมีการระบายสีใหม่”

       ประชาชนในท้องที่เผยว่า ผู้บริจาคมักจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปนมัสการภายในได้ หากมองจากด้านนอกจะเห็นธงผืนใหญ่ของผู้สวดมนต์ และตัวสิ่งก่อสร้างสีทองอยู่ด้านใน ขณะนี้ติดตั้งกล้องวงจรปิดและถังขยะไฮเทคบริเวณรอบนอกสุดเรียบร้อยแล้ว



จีนบูรณะบ้านเกิดทะไลลามะ ครอบงำ สร้างสรรค์ หรือ ทำลาย?
ชาวทิเบตกำลังไหว้สักการะในวัดทิเบตแห่งหนึ่งในมณฑลเสฉวน (แฟ้มภาพ 2555 รอยเตอร์)

ทำลาย ?
       รูดี้ คง นักเขียนชาวแคนาดา ที่อาศัยอยู่ในจีนมานานหลายปี และเคยเดินทางไปเยือนอารามบ้านเกิดของทะไลลามะในปี 2543 เขาเป็นหนึ่งในนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนน้อยนิด ที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าไปด้านใน เขาตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการบูรณะใหม่ในครั้งนี้ว่า

ตัวอาคารดูต่างไปจากเดิม มีการเติมแต่ง ตัวหลังคาก็ไม่สูงชะลูดเหมือนอย่างเก่า มันเหมือนกับการสร้างใหม่ทั้งหลัง ผมไม่เคยจำได้เลยว่า มันมีกำแพงสีอึมครึมล้อมรอบอาคารดังกล่าวมาก่อน

       ชาวทิเบตกลัวการพัฒนาเมือง จะทำลายศาสนาสถานซึ่งเป็นเสาหลักวัฒนาธรรมของพวกเขา ทว่า...ผู้นำจีนบอกว่าการพัฒนาให้เป็นสมัยใหม่ เป็นการยกมาตรฐานการใช้ชีวิตของชาวทิเบต

       โซฟี ริชาร์ดสัน ผู้อำนวยการติดตามและรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนจีนในสหรัฐฯ เผยเมื่อเดือนปีที่แล้วว่า จำนวนประชาชนที่ต้องถูกสั่งย้ายบ้านในชนบทนั้นมากกว่าในยุคเหมา เจ๋อตงอย่างคาดไม่ถึง

       หงไอ้ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล มีประมาณ 70 ครัวเรือน ท่ามกลางแมกไม้สีเขียว เมื่อสิ้นสุดเขตที่ถนนเข้าไปถึง และปลายลำธารสายเล็ก ก็คือบริเวณเขตก่อสร้างที่ฝุ่นตลบ รถเครนกำลังตอกเสาเข็มสนั่น ตึกสูงเริ่มก่อร่างขึ้นมาแล้ว

       ชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของจีน ก็จะได้ย้ายเข้าไปในพื้นที่พัฒนา วูเซอร์เผยว่า วัฒนธรรมท้องถิ่นทิเบตถูกทำลายมานานหลายปีแล้ว

       วูเซอร์เผยว่า “เมื่อเดินทางไปยังตัคเซอร์ในปี 2550 มีคนบอกว่าบ้านชาวทิเบตจริง ๆ มีเพียง 40 หลังคาเรือนเท่านั้น ชาวทิเบตขณะนี้ก็ไปเลียนแบบชาวฮั่น พูดภาษาทิเบตกระท่อนกระแท่น”

บางทีปักกิ่งอาจต้องการฟื้นฟูบ้านเกิดทะไลลามะขึ้น เพื่อทำให้คณะลามะอาวุโสทิเบตเชื่อมั่น และยอมเลือกทะไลลามะองค์ต่อไปบนพื้นแผ่นดินจีน แต่ในมุมมองของผม การบูรณะเอาใจเหล่านี้ หวานปานน้ำผึ้ง “ทว่ามันอาบยาพิษ”


จีนบูรณะบ้านเกิดทะไลลามะ ครอบงำ สร้างสรรค์ หรือ ทำลาย?
ชาวทิเบตกำลังเดินกราบอัษฎางคประดิษฐ์เป็นวิถีจารึกแสวงบุญในวัฒนธรรมศาสนาแบบทิเบตหรือวัชรยานบริเวณวัดโจคังในกรุงลาซาของเบตปกครองตัวเองชนชาติทิเบตเมื่อวันที่ 6 มี.ค.2557 (ภาพ รอยเตอร์ส)


จีนบูรณะบ้านเกิดทะไลลามะ ครอบงำ สร้างสรรค์ หรือ ทำลาย?
การเดินทางจาริกแสวงบุญของชาวทิเบตในเสฉวน ท่ามกลางขุนเขาแห่งแม่ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ (แฟ้มภาพ 2555 รอยเตอร์ส)

 

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

รอยเตอร์ส - เอเอฟพี

อาทิตยวารสิริสวัสดิ์ค่ะ    




Create Date : 30 มีนาคม 2557
Last Update : 30 มีนาคม 2557 7:52:28 น. 0 comments
Counter : 1721 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.