Group Blog
 
<<
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
20 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 
เกี่ยวกับเรื่องยูโด ในส่วนของ "ท่าอุจิโกมิ"

ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าไม่เคยเข้าไปสัมผัสกับการสอบสายยูโดที่ไทยโดยเฉพาะในขั้นแรกสุดการสอบจากสายขาวไปสายเขียวที่เป็นการสอบแบบไม่มีการแข่งขันการสอบตัวนี้เท่าที่ผมรู้คร่าวๆมันแบ่งออกเป็นหกส่วนเริ่มจากแรกสุดการทำท่าทำความเคารพ มันเป็นหลักสากลอยู่แล้วที่คนเล่นยูโดต้องเข้าใจในการทำความเคารพทั้งแบบยืนและแบบนั่งถัดมาในส่วนที่สองคือการตบเบาะ การตบเบาะมีหลากหลายประเภทก็ว่ากันไป มีถึง8ประเภทยืนๆเหย่งๆนั่งๆ คราวก่อนที่ผมกลับไปเมืองไทยและได้รู้ถึงการตบเบาะ8ประเภทผมถึงกับงงไปพักใหญ่ๆก่อนที่จะแก้อาการงงด้วยการไปขอน้องสายเขียวช่วยอธิบายลำดับของการตบเบาะทั้ง8ประเภทให้ผมได้เข้าใจส่วนลำดับที่สามคือการเข้าท่าอุจิโกมิส่วนที่สี่จะเป็นการที่ทุ่มตามท่าที่กรรมการเป็นคนบอกให้ทุ่มส่วนที่ห้าเป็นการเข้าท่าล๊อค สำหรับส่วนที่สี่กับห้าเป็นเรื่องทั่วๆไปเกี่ยวกับท่ายืนและท่านอนของยูโดที่ต้องรู้และส่วนสุดท้ายเป็นการรันโดริสำหรับผมคำว่ารันโดริมันคือการฝึกซ้อมตนเองและเป็นการฝึกซ้อมที่ไม่ทำให้ตัวเองเป็นตัวถ่วงคู่ซ้อมแต่ไอ้ปัญหาแปลกประหลาดนั้นคือเรื่องของการสอบในส่วนที่สาม การเข้าท่าอุจิโกมิ


ก่อนหน้านี้คำว่าอุจิโกมิในความหมายของผมนั้นคือการเข้าท่าท่าอุจิโกมิ มันคือห่าอะไรผมไม่เข้าใจทั่วๆไปอาจารย์จะใช้คำว่าอุจิโกมิก็คือการให้นักเรียนฝึกเข้าท่าแล้วท่าก็อาจจะบังคับว่าให้ฝึกทำอุจิโกมิในท่าเซโอนาเกะ ฮาไรโกชิ หรือว่าอาจจะอิสระให้นักเรียนเลือกท่าที่จะเข้าทำอุจิโกมิเองนี้คือส่วนของการทำอุจิโกมิในความคิดผมจนกระทั่งวันนี้ผมได้มีโอกาสย้อนกลับไปเรียนรู้ขั้นพื้นฐานใหม่อีกครั้งนึง (จริงๆผมก็ย้อนกลับไปเรียนรู้พื้นฐานตัวนี้มาหลายครั้งแล้วแหละครับจนกระทั่งครั้งนี้มันแว๊บเข้ามาในสมองและปะติดปะต่อกันเป็นเรื่องราวสมบูรณ์ครบวงจรกับคำว่าท่าอุจิโกมิซะที)


หลักพื้นฐานเบื้องต้นของยูโด (เอาแบบพื้นสุดๆ) มันอยู่ที่คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น5ตัว

1.ชูชิน หรือที่ภาษาไทยเรียกว่าจุดศูนย์ถ่วง

2.คุสุชิ แปลออกมาคงจะใกล้เคียงกับคำว่า การทำลายสมดุลย์ของคู่ต่อสู้

3.สกุริ ภาษาไทยแปลว่าการสร้างท่าหรือการเข้าท่าโดยที่ตนเองไม่เสียสมดุลย์

4.คาเคะ หรือการทุ่มโดยที่เราเป็นคนควบคุมร่างกายคู่ต่อสู้และทิศทางในการทุ่มพูดเป็นภาษาไทยจะประมาณว่าหลังจากที่เราทำลายสมดุลย์คู่ต่อสู้ได้แล้วให้เราเข้าท่าไปโดยที่เราไม่เสียสมดุลย์ถัดจากนี้ก็จะเป็นการทำคาเคะหรือการทุ่มไปในทิศทางที่เราควบคุมร่างกายของคู่ต่อสู้เอาไว้

5.ไทซาบากิ คือการขยับร่างกายในการสร้างแรงในการทำคุสุชิและเป็นการขยับทำสกุริโดยที่เราเอาประโยชน์จากการขยับร่างกายมาใช้

แรกเริ่มต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า “ชูชิน” หรือที่แปลว่าจุดศูนย์ถ่วงซะก่อนเพราะคำนี้มันจะค่อยๆขยายความไล่ไปมาจนครบวงจรในการทุ่มของยูโดได้ทั้งหมดซึ่งรวมไปถึงพระเอกของเราในวันนี้ที่จะพูดกันถึงเรื่อง “ท่าอุจิโกมิ” คนทั่วไปยืนแบบทั่วไปปกติมันก็ไม่ได้ล้มไปไหนนั้นเป็นเพราะจุดศูนย์ถ่วงของเราอยู่ระหว่างหว่างขาทั้งสองข้าง(ใต้ไข่ของเรานั้นแหละ)หลักของยูโดในการทำคุสุชิหรือการทำลายสมดุลย์ของหุ่นนี้ก็คือการทำให้จุดศูนย์ถ่วงมันย้ายออกมาจากบริเวณใต้ไข่ของหุ่นอาจจะเป็นด้านหน้าด้านหลัง ด้านเฉียงๆ(ในกรณีที่ยืนขาขวาหรือขาซ้ายอยู่หน้า) รวมไปถึงด้านข้างเรียกว่าครบ8ทิศทาง เพียงแต่การทำให้ศูนย์ถ่วงของหุ่นเสียไปด้านข้างนั้นทำได้ยากยกตัวอย่างเช่นการผลักคนจากด้านหน้าหรือด้านหลังทำได้ง่ายกว่าการผลักคนจากด้านข้าง


ต่อ...ต่อ...ต่อ เดี๋ยวจะออกทะเลจนเกินไป เอาแบบเข้าใจง่ายๆหุ่นยืนปกติอาจจะแยกขากว้างประมาณไหล่เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้นคนที่จะทำการทุ่มให้จับคอเสื้อของหุ่นทั้งสองข้างและทำการดึงมาด้านหน้าเล็กน้อย หุ่นให้ความร่วมมือด้วยนะครับโดยการไม่งอหลังงอท้อง พยายามทำตัวเป็นท่อนไม้ท่อนนึงที่ถูกดึงมาด้านหน้าเล็กน้อยจนเอียงดึงแค่เพียงเล็กน้อยพอหุ่นเอียงมาด้านหน้าก็จะทรงตัวไม่อยู่แล้วเรียกว่าเสียสมดุลย์ตรงนี้แหละคือหลักพื้นฐานของการทำคุสุชิ หรือการทำลายสมดุลย์คู่ต่อสู้นั้นเองเรื่องถัดมาขณะที่คนทุ่มดึงหุ่นมาด้านหน้า หุ่นเริ่มเสียสมดุลย์หุ่นก็เสือกกลัวจะล้มขึ้นมา และก็เสือกอีกโดยการก้าวขาข้างนึงออกไป จังหวะที่ขาก้าวออกไปเหยียบพื้นนั้นมันเกิดผลที่ตามมาคือหุ่นไม่ล้มแล้วอธิบายได้ง่ายๆว่า หุ่นจะล้มก็เพราะว่าศูนย์ถ่วงของหุ่นถูกดึงออกไปด้านหน้าพอจังหวะที่หุ่นก้าวขาออกไปหนึ่งก้าว ศูนย์ถ่วงของหุ่นได้กลับมาสมดุลย์อีกครั้ง(ศูนย์ถ่วงกลับมาอยู่ใต้ไข่ดังเดิม)ทำให้หุ่นไม่ล้มซะแล้วตรงนี้ไม่เรียกว่าการทำคุสุชิซะแล้ว จริงอยู่เรามีการดึงหุ่นเสียสมดุลย์จากการที่ศูนย์ถ่วงเคลื่อนออกไปด้านหน้าแต่ว่าพอหุ่นก้าวขาศูนย์ถ่วงจุดใหม่ได้เกิดขึ้น หากเราเข้าใจผิดไปว่าเราได้ทำคุสุชิจากการดึงไปแล้วก็ต่อไปด้วยการเข้าท่าสกุริและตามด้วยการทุ่มคาเคะการทุ่มครั้งนี้ไม่ถือว่าเป็นการทุ่มที่สมบูรณ์ในแบบฉบับของยูโดนั้นก็เพราะว่าไม่มีคุสุชินั้นเองเพราะหลักของการทำคุสุชิคือการทำลายสมดุลย์ของหุ่นวิธีการทำลายสมดุลย์นั้นทำโดยการทำให้จุดศูนย์ถ่วงของหุ่นย้ายออกมานอกบริเวณใต้ไข่นั้นเอง


เปลี่ยนจากการดึงเป็นการผลักบ้าง เช่นกันหุ่นที่ยืนอยู่โดนผลักถ้าหากไม่ก้าวขาข้างนึงถอยหลังลงไปก็จะต้องล้มนั้นเป็นเพราะศูนย์ถ่วงถูกดันไปด้านหลัง และพอหุ่นก้าวขาถอยหลังลงไปจุดศูนย์ถ่วงจุดใหม่ได้เกิดขึ้นทำให้หุ่นทรงตัวอยู่ได้และไม่ล้ม


การทำลายให้ศูนย์ถ่วงเคลื่อนที่ออกมาจากบริเวณที่มันควรจะอยู่นั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องทำให้ศูนย์ถ่วงย้ายออกมาเยอะมาก(ประมาณ5เซนก็เพียงพอที่จะจัดการทุ่มโดยที่ไม่ต้องใช้แรงได้แล้ว)และก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้แรงมหาศาลในการดึงหรือดันให้ศูนย์ถ่วงกระเถิบออกมาเพราะการใช้แรงจำนวนมากสามารถทำให้จุดศูนย์ถ่วงสั่นคลอนและเคลื่อนที่ไปในทิศทางการดึงหรือการดันได้แล้วก็ตามแต่ออกแรงเยอะการขยับของคนทุ่มก็จะช้าตามไปด้วยในขณะที่หุ่นก็ยังมีขาก้าวออกมาเพื่อย้ายจุดศูนย์ถ่วงกลับไปในตำแหน่งเดิมเพื่อรักษาสมดุลย์ได้เช่นกัน


วิธีการฝึกในขั้นแรกทำได้โดยการเอามือจับเสื้อที่อยู่บริเวณไหล่ทั้งสองข้างของหุ่นซ้อมจากนั้นให้ทำการดึงหุ่นเข้าหาตัว โดยการใช้แรงขยับจากข้อมือทั้งสองข้างเท่านั้นข้อศอกและไหล่ของคนดึงไม่ต้องขยับตามไปด้วย หลังจากที่ดึงได้แล้วลองเปลี่ยนเป็นการดันดูบ้างแบบเดียวกันใช้แรงจากการขยับข้อมือเท่านั้น ไหล่และศอกไม่ต้องออกแรง


หลังจากที่สามารถดึงและดันได้แล้ว ก็ให้จับแบบปกติคือมือข้างนึงจับที่คอเสื้อส่วนมืออีกข้างนึงจับที่แขนเสื้อ ผมจับขวา มือขวาก็จะจับบริเวณคอเสื้อของหุ่นในขณะที่แขนซ้ายจะจับบริเวณแขนเสื้อช่วงข้อศอกของหุ่นแล้วลองทำการดึงดูโดยใช้แรงจากข้อมืออย่างเดียว ถัดมาก็เพิ่มการก้าวขาขวาออกไปด้านหน้าก่อนจะทำการดึงโดยใช้แรงจากข้อมือขาขวาที่ก้าวออกไปนี้สำคัญมากคือต้องงอเข่าเล็กน้อยเล็กน้อยคือประมาณไหนเอาง่ายๆคือการงอเข่าแล้วคนที่งอเข่านั้นมองไม่เห็นนิ้วหัวแม่โป้งขาที่งอเป็นใช้ได้ถึงตรงจุดนี้มันเริ่มจะใกล้เคียงกับคำว่า “ท่าอุจิโกมิ” แล้ว


ถึงจะใกล้เคียงกับท่าอุจิโกมิ แต่มันก็ยังไม่ใช่ท่าอุจิโกมิที่ดีเพราะยังขาดการเอาน้ำหนักตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ดังนั้นก่อนการก้าวขาขวาออกไปให้เราถอยหลังเล็กน้อยและเอาทำตัวแบบเข่าอ่อนขาไม่มีแรงยืนน้ำหนักตัวของเราจะถูกเทลงไปที่เข่าทั้งสองข้างในขณะที่มือของเรายังจับอยู่ที่คอเสื้อกับแขนเสื้อของหุ่นอยู่แน่นอนลักษณะแบบนี้หุ่นจะอึดอัดจากการโดนน้ำหนักตัวของเราเทลงไปและต้องการที่จะดันมันกลับขึ้นมาจังหวะที่ต้องการดันกลับขึ้นมานี้ เราก้าวขาขวาออกไป(อย่าลืมงอเข่านะครับ สำคัญมาก)พร้อมๆกับการดึง(เหมือนเดิม)โดยใช้แรงจากข้อมือ ที่ต่างจากเดิมคือมือซ้ายที่จับแขนเสื้อของคู่ต่อสู้นี้หมุนบิดขึ้นด้านบนคล้ายๆกับการดูนาฬิกาข้อมือ(แต่เปรียบเทียบครับสำหรับท่าอุจิโกมินี้ยังไม่ต้องหันไปดูข้อมือครับผม) ทำได้ถูกต้องอันนี้แหละถึงเรียกว่า“ท่าอุจิโกมิ” ที่แท้จริง


อธิบายเกี่ยวกับเรื่องแขนซ้ายหมุนบิดคล้ายกับการดูนาฬิกานี้มันมีเป้าหมายอยู่2ประการประการแรกถ้าหากแขนเราไม่หมุนบิดดึงมาเฉยๆพอดึงสุดเท่าไหร่มันก็เท่านั้นไปต่อไปได้แต่ถ้าเราบิดขึ้นบนพอดึงมาสุดแล้วเรายังสามารถที่จะดึงยาวต่อออกไปได้อีกทำให้ได้ประโยชน์จากการทำคุสุริสกุริและคาเคะ ประการที่สองการดึงบิดแบบนี้หุ่นที่เป็นคู่ซ้อมแขนถูกดึงบิดตามมามันจะเป็นลักษณะใกล้เคียงกับล้อรถจักรยานจากนิ้วก้อยข้อมือ ศอก ไหล่ หลัง ในการม้วนตัวตบเบาะทำอุเกมินั้นเองถ้าดึงเข้ามาเฉยๆโดยไม่บิดแขนดูนาฬิกาข้อมือหุ่นมันก็จะมือยื่นออกไปตรงๆหัวก็จะปักลงพื้นตรงๆอุเกมิก็จะลำบากตามไปด้วย


ท่าอุจิโกมินี้เป็นพื้นฐานของการเข้าท่าที่เรียกว่าพื้นที่สุดจากท่าทางของท่าอุจิโกมิอันนี้มันจะเปลี่ยนไปยังท่าที่เราต้องการจะฝึกได้ยกตัวอย่างเช่นเอามือขวาย้ายไปโอบเอวหุ่นแล้วหมุนตัวก็จะเป็นท่าโอโกชิ เอามือขวาย้ายไปล๊อคแขนขวาของหุ่นก็จะกลายเป็นท่าอิปปงเซโอนาเกะ สลับขาซ้ายออกไปพร้อมกับยืดขาขวาเล็กน้อยไปสู่ท่าไทโอโตชิและ.....โอ้ยเยอะแยะทั้งท่าอุจิมาตะ ฮาไรโกชิ ฮาเนโกชิ และอื่นๆ ตรงนี้ผมถึงเข้าใจแล้วว่าทำไมการสอบสายขาวไปสายเขียวมันถึงต้องมีการบรรจุท่าอุจิโกมิในการสอบ


ถึงจุดๆนี้ผมอยากจะรู้จริงๆว่า สายเขียวที่สอบผ่านๆกันมาและเอาสายสีเขียวมาคาดกันได้อย่างภาคภูมิใจนั้นเข้าใจความหมายของท่าอุจิโกมิกันแล้วรึยัง


สำหรับเรื่องคุสุชิ สกุริ คาเคะ รวมถึงไทซาบากิรู้สึกว่าผมเคยเขียนถึงความสัมพันธ์ของ4ตัวนี้ไว้เมื่อนานมาแล้วคราวนี้ไม่ขอพูดถึง อย่างที่บอกตั้งแต่ต้นว่าพระเอกในวันนี้คือเรื่องของ “ท่าอุจิโกมิ”




Create Date : 20 มีนาคม 2557
Last Update : 20 มีนาคม 2557 1:33:38 น. 1 comments
Counter : 3599 Pageviews.

 



โดย: LittleDaimon วันที่: 5 มิถุนายน 2557 เวลา:16:35:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.