bloggang.com mainmenu search





หอมแดง




ศรีสะเกษ - ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยถึงโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการผลิต การเก็บรักษา และการตลาดหอมแดง แบบครบวงจรภายใต้แนวคิดทางการตลาด

เพื่อรองรับการเปิดตลาดการค้าเสรีของไทยกับต่างประเทศ โดยมีแผนการช่วยเหลือ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ว่าระดับต้นน้ำ เกษตรกรขาดความรู้ เทคโนโลยีสนับสนุน โดยเฉพาะการคัดเลือกสายพันธุ์แท้ที่เหมาะสม ต้านทานโรค ให้ผลผลิตดี

ขาดการจัดการความรู้วิธีการเพาะปลูก ยังคงใช้ความรู้จากประสบการณ์ลองผิดลองถูก คณะวิจัยจึงร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 กรมวิชาการเกษตร พัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงจังหวัดศรีสะเกษ ให้ได้รับผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด คุ้มค่าการลงทุน

ระดับกลางน้ำ เกษตรกรยังขาดความรู้ด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวการเก็บรักษาสินค้า การแปรรูปเบื้องต้น การยืดอายุการเก็บรักษาและการบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ

จึงช่วยวางแผนการบริหารจัดการศูนย์รับซื้อหอมแดง แนะนำระบบการเก็บรักษา การลดต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลังและโลจิส ติกส์ ระดับปลายน้ำ ขาดความรู้ในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า หอมแดงจากศรีสะเกษมีคุณสมบัติที่ดี แตกต่างจากแหล่งอื่นอย่างไร

ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปหอมแดงและการตลาดเชิงรุก ยกระดับจากผู้ปลูกไปสู่ผู้ส่งออกที่มีศักยภาพ สามารถที่จะผลิตแข่งขันได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาตราสินค้า บรรจุภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ป้อนเข้าสู่ตลาด

เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หอมแดงเป็นพืชเศรษฐกิจแปรรูปใหม่ ที่มีศักยภาพของไทย โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดอาเซียนซึ่งมีชาวมุสลิมจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน เป็นตลาดเป้าหมายที่มีความต้องการหอมแดงจำนวนมาก

นักวิจัยไทยหวังหอมแดงเป็นสินค้าเกษตร ที่มีเสน่ห์เฉพาะตัวและมีแต้มต่อในการแข่งขันในเวทีโลก เกษตรกรจะอยู่รอดได้ต้องเริ่มด้วยคนไทยช่วยกัน เกษตรกรมั่นคงอยู่ได้ในอาชีพปลูกหอมแดง และช่วยเศรษฐกิจไทยให้มั่งคั่งอย่างยั่งยืน

หน้า 29

ขอบคุณ ช่าวสดออนไลน์


ภุมวารสิริสวัสดิ์ค่ะ
Create Date :28 กุมภาพันธ์ 2555 Last Update :28 กุมภาพันธ์ 2555 16:24:46 น. Counter : Pageviews. Comments :0