bloggang.com mainmenu search

ความเจริญทางด้านจิตใจของ คนในแต่ละชาตินั้นจะสื่ออกมาผ่านงานศิลป์ ชาติใดที่ใจละเอียดปราณีตงดงามชาตินั้นจะมีงานศิลป์ที่ละเลียดละออ ชาติไทยเราก็เช่นกัน เราเป็นชาติที่ย่างเหยียบบนแผ่นดินทอง ที่สมบูรณ์ทุกอย่าง เมื่อเทียบกับชาติอื่น ถือว่าเราไม่อายเขา

แต่ทำไม วันนี้ลูกสยามหลานไทยทั้งหลายจึง พยายามเหยียบย่ำความเป็นไทยเพื่อต่อขาต่อตัวให้ตนเองดูสูงเทียบชาติอื่นที่เห็นว่าดีงาม

การทำเช่นนั้น คนอื่นที่หมายรวมทั้งไทยและเทศไม่ได้มองว่าคุณดีและสูงส่งขึ้นมาเลย แต่เขาจะมองว่าคุณ เนรคุณแผ่นดินแม่

พล่ามมาซะยาว แท้จริงอยากให้ทุกคนได้ดูงานศิลป์ ของไทยเรา ที่ใครเขาเลียนแบบได้ยากแค่นั้นครับ

บุษบกมาลา มีเครื่องยอดขนาดเล็ก มีหลังคาซ้อนชั้นเป็นยอดแหลม มีบันแถลงเป็นเครื่องประดับ เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ บุษบกที่ประกอบเกรินทั้งซ้ายขวา เรียกว่า “บุษบกมาลา” เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ ที่ผสมผสานงานฝีมือ ทั้งถมทอง คร่ำ ลงยาสี เครื่องเงินเครื่องทอง แกะสลักไม้ ตกแต่งปีกแมลงทับ และย่านลิเภาหรือซุ้มยอด

สีวิกากาญจน์ พระราชยานสำหรับเจ้านายฝ่ายในที่สูงศักดิ์ มีเครื่องบนเป็นกัญญา หลังคาลดชั้น หน้าบันจำหลักฉลุทองคำ ลงยาราชาวดี
มี รูปกมลาสน์ ลีลาศหงส์ รวยระกา จำหลักทองฉลุ ลงยาราชาวดี ตัวรวยและนาคสะดุ้ง จำหลักทองฉลุซับพื้นปีกแมลงทับ หางหงส์ผูกเป็นเทพถวายกรเบือน
ประกอบ เครื่องทรงทองคำประดับเพชร ช่อฟ้าทองคำ จำหลัก ลงยา สันบนจำหลักฉลุทองลงยาราชาวดี ปักบราลีรูปพรหมประนมกร ผืนหลังคานอกฉลุ จำหลักลายพุ่มเข้าบิณฑ์ ก้านแย่งทองพื้นซับปีกลายแมลงทับ เชิงกลอนจำหลักทองลงยา ทวยรูปนาคหกจำหลักทองลงยา เสาบัวปลายเสา และเชิงเสาล่างจำหลัก ทองลงยา
ตัว เสาลายพุ่มเข้าบิณฑ์ก้านแย่ง ผูกม่านทอง แผงบังม่าน จำหลักทองรูปนกไม้เทศ ฐานสิงห์หน้ากระดานล่างจำหลักไม้ ปิดทองคำเปลว ลายปฏิญาณน้อยใหญ่ จำหลักฉลุอย่างวิจิตรด้วยไม้โมกทั้งตัว ราวหน้าและราวหลังจำหลักฉลุอย่างวิเศษยิ่ง พื้นสานเส้นเงินแล่ง ลายดอกสี่กลีบ ลาดด้วยสุจหนี่ไหมแดงครั่ง ปักไหมทองลายดวงกุดั่นรักร้อย มีคานหามจำหลักไม้ลายพุ่มเข้าบิณฑ์ก้านแย่ง สอดในห่วงขาจำหลักทองลงยาอย่างประณีตยิ่ง ผู้ทำ ๑๖๐ คน ใช้เวลาทำ ๑ ปี ๖ เดือน



พระที่นั่งพุดตานคร่ำทอง สร้างจำลองแบบพระที่นั่งพุดตานจำหลักไม้ ที่พระบวรราชวัง ชั้นทรงพระที่นั่งสร้างด้วยเหล็กคร่ำทอง ท้องไม้ ชั้นบนคร่ำทอง พื้นซับปีกแมลงทับ รายรูปเทพยุตาถวายกร ชั้นถัดลงมา คร่ำทองพื้นซับปีกแมลงทับ รายด้วยครุฑยุดนาคบนฐานสิงห์ ลายหน้ากระดาน คร่ำทองหนุนซ้อนชั้น รูปสัตว์หิมพานต์ บัวปากฐานลายพุดตานคร่ำทอง ประดับดอกลอยเพชร ลายพนักคร่ำทอง หัวเสาเม็ด ทรงมัณฑ์ลายเฟือง ติดพลอยแดง ปฏิญาณใหญ่ คร่ำทองฉลุซ้อนชั้น ซับพื้นในปีกแมลงทับ กระดานพิงลายก้านต่อดอกพุ่มเข้าบิณฑ์ ขอบแข้งสิงห์ ฉลุในซับปีกแมลงทับ ผู้ทำ ๙๒ คน ใช้เวลาทำ ๒ ปี

งานแกะสลักไม้ หนึ่งในงาน ช่างสิบหมู่ ซึ่งช่างแกะสลักไม้ ได้แกะลวดลายของไม้ เล่าเรื่องตำนานเพชรรัตน์
ฉากจำหลักไม้ ตั้งประกบด้วยเสาเม็ดทรงมัณฑ์บนม้าไม้ขาคู้ จำหลักลายใบเทศ พื้นฉากจำหลักไม้เรื่อง ตำนานเพชรรัตน์ ความว่าเทพยดาเจ้าทั้งหลาย อีกทั้งฤาษีสิทธิ์ และคนธรรพ์พากันขึ้นเฝ้าพระอิสวร ทูลถามบ่อเกิดแห่งเพชรรัตน์ ทั้ง 9 ประการ

พระ อิศวรแนะให้ไปถามพระฤาษีอังคต ผู้มีอายุยาวมาแต่ครั้งกฤดียุค พระฤาษีจึงเล่าว่า บรรดาเทพนิกร ฤาษีสิทธิ์พิทยาธรทั้งปวง ประสงค์จะอำนวยเพชรรัตน์ทั้ง 9 จึงทูลให้มเหสักข์นาม มหาพลาสูร สร้างไว้เป็นสวัสดิมงคลแห่งโลกย์ ท้าวจึงบำเพ็ญตบะอยู่ 7 วัน จนสิ้นชีพ อีก 7 วัน ร่างของท้าวเธอจึงแปรสภาพไปเป็นแก้ว 9 ชนิด คือ หัวใจเป็นเพชร และทับทิม นัยน์ตาขวาเป็นแก้วไพฑูรย์ นัยน์ตาซ้ายเป็นแก้วโกเมน ลิ้นเป็นแก้วประพาฬ น้ำเลี้ยงหัวใจเป็นแก้วจันทกานต์
อนึ่ง เมื่อท้าวมหาพลาสูรสิ้นชีวิต มีพระยาพาสกินนาคราช สูบโลหิตท้าวจนแห้ง นาคนั้นถูกครุฑจับไป ระหว่างทางสำรอกเลือด เป็นแก้วนาคสวาสติ และมรกฏ น้ำลายเป็นครุฑธิการ

ผ้าปัก ปักตามผ้าปักของนางวันทอง

เสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ความเก่า สำนวณที่ ๒ ตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง คัดลอกพิมพ์มาเฉพาะ ส่วนที่ใช้ปักม่านมาให้อ่านครับ ตรงหน้าที่ ๒๘ ถึง หน้า ๒๙

ม่านนี้ฝีมือเจ้าวันทอง นั่นก็ฝีมือน้องพี่จำได้
ปักเปนเขาพระเมรุไกร โตใหญ่สูงเยี่ยมมหิมา
มีรูปรามสูรอสุรี ไล่ชิงมณีเมขลา
ปักเปนองค์พระสุริยา เสด็จคลาล่องโลกชโลธร
ทรงรถโอภาสประหลาทเลิศ แสนประเสริฐเทียมเทพไกรสร
แล้วปักเปนองค์พระศศิธร เสด็จจรแจ่มแจ้งจักรพาฬ
รถทิพย์เทียมม้าพลาหก บุษบกลอยล่องส่องแสงฉาน
แล้วปักพระอินทรจรจักรวาฬ สำราญทรงช้างเอราวัณ
มีพระมเหษีทั้งสี่นาง งามสำอางดังหนึ่งแสร้งประสงค์สรรค์
มีเขาวินัตกนั้นเรียงรัน อัสสกรรณอิสินธรยุคุนธร
แล้วปักเปนไกลาสประหลาทผา พระอุมากับองค์มหิศร
มีสระอโนดาตอันบวร พระสี่กรทรงอนันตนาคา
นางลักษณวดีลักษมี มเหษีบำเรออยู่ซ้ายขวา
มีคนธรรพเทพกินรา ถัดมาสถานพิมานครุฑ
ทั้งวิทยาธรนารีผล ติดต้นไม้ใหญ่ลม้ายสุด
รูปร่างแลกับอย่างมนุษย์ มีสมุทรวารีสีทันดร
ฝูงนาคามัจฉาชล่าโลด ช้างน้ำดำโดดแลสลอน
ชมพลางทางคิดจิตต์อาวรณ์ เอาดาบซอนรานสานกระจายลง

เรือพระที่นั่งจำลองศรีสุพรรณหงส์


เรือพระที่นั่งจำลองศรีสุพรรณหงส์ สร้างจำลองจากเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ ในรัชกาล ที่ 1 ลำเรือสร้างด้วยเงินถมทอง ศีรษะหงส์จำหลักทองลงยาราชาวดี ตาและเขี้ยวประดับเพชร ปากห้อยพู่พุ่มทองระย้าประดับเพชร ทองจำหลักลงยาฉลุซับพื้นปีกแมลงทับ หางจำหลักทองลงยา ประดับเพชรหลังและหน้าเรือ กงในจำหลักไม้โมกอย่างประณีตฉลุปิดทอง ฯลฯ ซึ่งเรือพระที่นั่งจำลองลำนี้ ใช้เวลาทำ 2 ปี 9 เดือน โดยช่างฝีมือ กว่า 180 ชีวิต

ฉากปักสระโบกขรณี


ฉากปักสระโบกขรณี ฉากปักรูปนกไม้น้ำ มีพระยาราชหงส์มาเล่นลอยวาริน ฉากนี้ใช้เวลาปัก 2 ปี 2 เดือน โดยช่างฝีมือ 34 คน ปักด้วยเส้นไหมละเอียดอ่อนนุ่ม ใช้ไหมคัดอย่างดี บรรจงปักได้งดงาม ประหนึ่งภาพเขียนสี


ม้านิลมังกร


ม้านิลมังกร เขี้ยวเป็นเพชร เกล็ดเป็นเงิน ลิ้นเป็นปาน ม้านิลมังกรตัวนี้จำหลักขึ้นตามที่ปรากฎในเรื่องพระอภัยมณี เป็นม้าวิเศษ พาหนะของสุดสาครโอรสพระอภัยมณี ในวรรณคดีของสุนทรภู่ เหลือเชื่อว่างานศิลป์ชิ้นนี้ใช้เวลาทำเพียง 2 เดือน ด้วยช่างฝีมือ 11 คน

งานศิลป์แผ่นดิน ครั้งที่ 5งานศิลป์แผ่นดิน ครั้งที่ 5

อันนี้สุพรรณเภตรา หรือเรือทองคำนั้นเอง ฝรั่ง งง ครับ ยูทำได้ไง หุๆๆ

โต๊ะพระราชทานเลี้ยง
โต๊ะพระราชทานเลี้ยง

จำลองโต๊ะพระราชทานเลี้ยงเมื่อคราว 60 ปี ครองราชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งวันนั้นผ้าปูโต๊ะปูด้วยผ้าสีขาว แต่วันนี้จำลองด้วยผ้าไหม และงานบนโต๊ะนี้เป็นผลิตภันฑ์ของโรงฝึกศูนย์ศิลปชีพจิตรดาหมดเลย
นกยูงที่อยู่บนโต๊ะเป็นนกยูงทองคำทำจากแผนกเคื่องเงินเครื่องทอง ใช้ทองคำ 100%
ปก เมนูอาหาร ทำจากไม้แกะสลัก แกะด้วยไม้โมกมัน และข้างในใส่เมนูซึ่งเป็นชิ้นเดียวที่แขกสามารถนำกลับไปได้ นับว่าเป็นของขวัญอันทรงคุณค่า

นอกจากนั้น ยังมีนี้ โขน ความภูมิใจของชาติ

อันนี้เอามาจากการแสดงตอน พรหมมาศ //www.vcharkarn.com/vcafe/167551/1

หัวโขนต่างๆ ตั้งให้ชม ครับ โปรดชมด้วยความเคารพ

เศียรพ่อแก่ น่าจะเป็นพระภรตมุนี หรือไม่ก็พระนารทมุนี

เด็กๆ กับการเรียนรู้ ในงานศิลป์ของชาติ

ศีรษะพระคเนศ


พระพรต

ศีรษะพาลีหรือพระยากากาศ



หัวนี้เป็นของหนุมานที่เราอาจไม่ได้เห็นบ่อยนัก เพราะสวมมงกุฎด้วย
ที่จริงวานรหรือลิงขาวก็มีอยู่หลายตัว แต่หนุมานจะอ้าปากและมีเขี้ยวแก้วอยู่ที่เพดาน
ภาพนี้ถ่ายหัวโขนที่อยู่ในตู้กระจกจึงมีแสงเงาสะท้อนให้เห็นนะครับ


การแสดงครั้งนี้ อนุญาตให้ผู้ชมถ่ายภาพได้ แต่ขอร้องไม่ให้รบกวนท่านอื่น โดยการเปิดแฟลช
จึงนำภาพมาให้ชมได้บ้าง
ฉากเหาะเหินเดินอากาศ ค่อนข้างเสียความรู้สึกมาก
ผู้ชมที่อยู่ชั้นล่าง จะเห็นหนุมานหรือพระอินทร์ ฯลฯ เหาะได้เหนือก้อนเมฆ
แต่เมื่อชมด้านบน จะถูกขอบม่านข้างบนบังหมด



ฉากที่ 1 ท้องพระโรงกรุงลงกา
ทศกัญฐ์ได้ข่าวว่าหลานสองตนคือ มังกรกัณฐ์และแสงอาทิตย์เสียทีแก่พระราม
ถึงกับเสียชีวิตในสนามรบ ก็ร้อนใจ

ทศกัณฐ์ ไม่รู้ว่าจะมีปัญหาในการมองหรือเปล่า เพราะเขี้ยวยาวมากมาบังตา

อินทรชิตสั่ง"รุทการ"ให้ไปเตรียมทัพ
โดยให้"การุณราช"แปลงเป็นช้างเอราวัณ
ทหารทั้งหลายให้แปลงกายเป็นเทวดา นางฟ้า ฯลฯ

อินทรชิต ร่ายมนต์เพื่อแปลงร่างเป็นพระอินทร์

กองทัพพระอินทร์จำแลง(อินทรชิต)

กองทัพสวาของพระลักษมณ์

ช้างเอยช้างนิมิต เหมือนไม่ผิดช้างมัฆวาน
เริงแรงกำแหงหาญ ชาญศึกสู้รู้ท่วงที




เมื่ออินทรชิตมองเห็นว่าข้าศึกยกทัพกันมานับแสน
ก็สั่งให้รูปมายาทั้งหลาย จับระบำรำฟ้อน ยั่วยวนกองทัพวานร

พระลักษมณ์ชมความงามของกองทัพพระอินทร์จำแลง

"จับระบำรำร่ายส่ายหา ชำเลืองหางตา ทำทีดั่งเทพอัปสร"
"ลอยฟ้ามาในเวหน"

กองทัพจำแลงของอินทรชิตก็ยินดีปรีดากันทั่วถ้วน
ฝ่ายอินทรชิตเสียไพรพลไปเพียง 2 ตน คือ
การุณราช ที่แปลงเป็นช้างทรงเอราวัณ และ
โลทัน ที่แปลงเป็นเทพบุตรควาญท้ายช้างเอราวัณ
ในขณะที่ฝ่ายพระลักษมณ์นั้น เสียสิ้นทั้งกองทัพ ไม่มีผู้ใดรอดเลย

พระราม เมื่อเสด็จมาถึงที่สมรภูมิ เห็นไพร่พลล้มตายก็เศร้าใจยิ่งนัก
สังเกตสีหน้าพระราม ที่แสดงความเศร้าเสียใจออกมาทางใบหน้าด้วย

ไงครับดู แล้วรู้สึกว่าชาติเราสูงส่งเนอะ



//board.postjung.com/561970.html
Create Date :27 กรกฎาคม 2554 Last Update :27 กรกฎาคม 2554 20:23:33 น. Counter : Pageviews. Comments :0