bloggang.com mainmenu search

เรื่องดีดีมีไว้แบ่งปัน

ตัดผมบ่อย ผมจะยาวเร็ว จริงหรือไม่

ขอบอกว่าไม่จริง เพราะเรื่องนี้เคยทดลองกันมาแล้ว

โดยให้เด็กผู้หญิงสองคนที่มีผมเท่ากันและการเิจริญของเส้นผมเท่ากัน
โดยให้คนหนึ่งตัดผมเดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 นิ้ว
ส่วนอีกคนตัดเดือนละครั้ง ครั้งละ 2 นิ้ว
อีกหลายเดือนต่อมาก็ยังปรากฏว่าผมของเด็กผู้หญิงทั้ง 2 คนยาวเท่ากัน

"ปรกติผมของคนเราจะยาวเดือนละประมาณครึ่งนิ้ว
ผมจะหนาและงอกงามมากที่สุดเมื่อช่วงวัยรุ่น ไม่เกี่ยวกับการตัดผมบ่อย ๆ "

ที่มา หนังสือ ลูกช่างถาม ตอบไม่ได้...อายแย่เลย...!!?


เชื่อไหมเหตุวิวาทเป็นที่มาทำให้โต๊ะบิลเลียดเป็นสีเขียว
บิลเลียดมีต้นกำเนิดมาจากเกมของฝรั่งเศสในศตวรรณที่ 15 ที่เรียกว่า "palle-maille"ซึ่ง เล่นกันบนหญ้าหรือฟาง เมื่อโต๊ะบิลเลียดรุ่นแรกสุดถูกสร้างขึ้น พื้นผิวโต๊ะ จึงถูกทำใหู้ดูเสมือนหญ้า เชื่อกันว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ค.ศ.1638-1715) ทรงเป็นเจ้าของโต๊ะบิลเลียดรุ่นแรกนี้อยู่ตัวหนึ่งด้วย
ต่อ มาสันนิษฐานว่า เนื่องจากบรรดาผู้ผลิตโต๊ะบิลเลียดในประเทศอังกฤษต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของตน มีเอกลักษณ์โดดเด่นจากของผู้ผลิตรายอื่นหรืออาจเพื่อเพิ่มยอดขาด จึงริเริ่มผลิตโต๊ะบิลเลียดหลายสีออกจำหน่าย อย่างไรก็ตามโต๊ะบิลเลียดสีส้ม ซึ่งเป็นสาเหตุของคดีทะเลาะวิวาทอย่างรุนแรง
ได้ช่วยนำมาสู่ข้อสรุปอย่างถาวรว่า สักหลาดที่ใช้หุ้มพื้นผิวโต๊ะบิลเลียดต้องเป็นสีเขียวสีเดียวเท่านั้น
เรื่อง มีอยู่ว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1871 ณ เมืองพลีมัท ชายผู้หนึ่งถูกฟ้องด้วยข้อหา "ก่อเหตุวิวาทมวยหมู่อันนำมาซึ่งความเสียหายร้ายแรง" เหตุวิวาทนี้เกิดขึ้น ในระหว่างการแข่งขันบิลเลียดบนโต๊ะสีส้ม โดยผู้แข่งขันฝ่ายหนึ่งกล่าวหาว่า ฝ่ายตรงข้ามเคลื่อนลูก แม้คณะผู้พิพากษาวินิจฉัยแล้วว่าชายผู้นี้มีความผิด จริง แต่เมื่อพิจารณาเหตุแวดล้อมว่าแสงสว่างในช่วงการแข่งขันไม่เพียงพออีก ทั้งสีของโต๊ะยังทำให้มองเห็นลูกสีแดงได้ไม่ถนัด ดังนั้นจึงมิได้ตัดสินลง โทษชายผู้นี้แต่อย่างใด เพราะเห็นว่าสีส้มของโต๊ะก็มีส่วนทำให้เกิดเหตุ วิวาทนี้ขึ้น
ด้วย สายตาอันยาวไกล คณะผู้พิพากษาได้เสนอแนะว่า "เพื่อให้การเล่นบิลเลียดในภายภาคหน้าเป็นไป ด้วยความปรองดองสมานฉันท์ โต๊ะบิลเลียดควรเป็นสีเขียวมาตรฐานเพื่อให้ดูเด่น ขัดตัดกับลูกสีแดง"
ที่มา 108 ซองคำถาม
ที่มาของสำนวน ไม่เป็นสับปะรด

เคยได้ยินคำว่า "ไม่เป็นสับปะรดไหมครับ" คำนี้ไม่เกี่ยวกับสับปะรดเลย จริง ๆ แล้ว คำนี้ใช้กันมานานแล้วสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า สรรพรส แปลว่า หลากหลายรส มีรสทั้งหลาย เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ครบหมด

ดัง นั้นอาหารที่ ไม่เป็นสรรพรส คืออาหารที่ไม่ค่อยมีรสชาติ ไม่เปรี้ยวหรือหวาน หรือมัน หรือเค็ม อย่างใดทั้งสิ้น นานเข้าคนที่ฟังไม่เข้าใจจึงพูดลาก เข้ามาหาคำว่าสับปะรด จากไม่เป็นสรรพรสเพี้ยนมา เป็น ไม่เป็นสับปะรด แล้วมีความหมายเปรียบเทียบว่า หมายถึงการทำอะไรที่ไม่ได้เรื่องนั่นเอง

ที่มา รายการคุณพระช่วย

ทำไมถึงใช้ No. แทน Number ทั้ง ๆ ที่ไม่มีตัว o

เคยสงสัยกันไหมครับว่า ทำไมถึงใช้อักษรย่อ No. แทน Number
ทั้ง ๆ ที่ไม่มีตัว o ในคำว่า Number

คำตอบคือ จริง ๆ แล้ว No. ไม่ได้เป็นอักษรย่อของ Numberนะสิครับ
No. นั้นเป็นอักษรย่อของ numero ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า number

ที่มา //www.randomhouse.com/wotd/index.pperl?date=19971217
//en.wikipedia.org/wiki/No.


เพื่อนเจ้าสาวมีไว้ทำไม
เพื่อนเจ้าสาวเขาก็มีไว้ยืนเฉย ๆ นั่นแหละ
เพราะสมัยก่อนผู้หญิงไทยมักถูกเลี้ยงให้อยู่แต่ในบ้าน
จึงออกจะเก้อเขินหรือตกประหม่าเมื่อต้องออกงานสังคม
โดยเฉพาะในพิธีสมรสซึ่งเป็นวันสำคัญของชีวิต
การมีเพื่อนเจ้าสาวจึงทำให้สาวเจ้าอุ่นใจ
และไม่เคอะเขินจนเป็นลมไปเสียก่อน---นี่ว่าตามคอนเสปต์แบบไทย ๆ

ส่วนทางตะวันตกในยุคโบราณนั้น
เจ้าสาวกับเพื่อนเจ้าสาวมองดูเหมือนกันมากจนแทบจะแยกไม่ออก
เจ้าสาวเลือกเพื่อนเจ้าสาวที่รูปร่างหน้าตาคล้ายเธอที่สุด
และในวันงานเจ้าสาวกับเพื่อนเจ้าสาวก็ยังแต่งตัวด้วยชุดที่เหมือนกันไม่ผิดเพี้ยน

ความเหมือนนี้เป็นอุบายที่คนโบราณคิดขึ้นเพื่อลวงให้วิญญาณชั่วร้ายสับสน
เนื่องจากเชื่อกันว่าวิญญาณชั่วร้ายอาจริษยาในความสุขและโชคลาภที่กำลังจะมาสู่เจ้าสาว
ดังนั้นเจ้าสาวจึงแวดล้อมตัวเองด้วยเพื่อนเจ้าสาวซึ่งเหมือนเธอราวกับแกะ
ยิ่งเพื่อนเจ้าสาวมีจำนวนมากเท่าใด ยิ่งประกันความปลอดภัยของเจ้าสาวเพิ่มขึ้นเท่านั้น
(คล้ายกับคติความเชื่อของคนไทยที่ว่า “คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย”)

ตามกฎของอาณาจักรโรมัน การแต่งงานจำต้องมีสักขีพยาน ๑๐ คน
นักประวัติศาสตร์บางคนจึงเชื่อว่า
ธรรมเนียมเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวในปัจจุบันน่าจะสืบทอดมาจากยุคโรมันโบราณ

ในเวลาต่อมาเพื่อนเจ้าบ่าวเพื่อนเจ้าสาวมีภารกิจเพิ่มขึ้น
โดยต้องทำหน้าที่บอดี้การ์ดให้แก่คู่สมรสด้วย ทั้งนี้ดังปรากฏหลักฐานว่า
ในสมัยกลางนั้นถือเป็นเรื่องปรกติธรรมดาที่ชายผู้หมายปองเจ้าสาวแต่ไม่สมหวัง
มักพาสมัครพรรคพวกบุกเข้าชิงตัวเจ้าสาวไปในระหว่างพิธีแต่งงาน

เชื่อกันว่าหญิงสาวผู้ทำหน้าที่เป็นเพื่อนเจ้าสาวนั้น
จะนำทั้งลางดีและลางร้ายมาสู่ตนเอง ตัวอย่างเช่น

ถ้าเธอสะดุดล้มระหว่างทางเดินไปยังแท่นพิธี เธอจะหมดโอกาสแต่งงานโดยสิ้นเชิง
และถ้าหญิงสาวคนใดทำหน้าที่เป็นเพื่อนเจ้าสาวครบสามครั้ง
เธอต้องอยู่เป็นโสดไปตลอดชีวิต
ยกเว้นแต่ว่าเธอจะทำหน้าที่เพื่อนเจ้าสาวอีกสี่ครั้งรวมเป็นเจ็ดครั้ง
ทั้งนี้เพราะสำหรับผู้ที่เชื่อถือโชคลางแล้ว
เลขเจ็ด---จำนวนวันของสัปดาห์ถือเป็นเลขนำโชค
เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงของระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์

ส่วนผู้ที่ไม่เชื่อถือโชคลางก็แย้งว่า
สำหรับหญิงสาวผู้บากบั่นทำหน้าที่เป็นเพื่อนเจ้าสาวมาถึงเจ็ดครั้งเจ็ดคราแล้ว
การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อตัวเธอนั้นย่อมต้องเป็นไปในทางที่ดีขึ้นแน่นอน

ที่มา 108 ซองคำถาม
//pbmath.exteen.com/20090329/entry
Create Date :06 มิถุนายน 2554 Last Update :6 มิถุนายน 2554 15:18:16 น. Counter : Pageviews. Comments :0