[
สารบัญกลุ่มเรื่องที่กำลังศึกษา]
Georg von Békésy (1899 - 1972) เดิมทีแกเป็นวิศวกรสื่อสารในบูดาเปส ฮังการี และเริ่มสนใจเกี่ยวกับกลไกการได้ยินในตอนที่กำลังศึกษาหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพโทรศัพท์ เพื่อให้เข้าใจกลไกนี้นะครับ Békésy ได้ผ่าเอา cochlea ออกมาจากหูของศพคนและสัตว์อย่างระมัดระวัง การค้นคว้าและวิจัยจริงจังในเรื่องนี้เอง ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี 1961
Békésy ได้สร้างโมเดลเชิงกลของ cochlea อยู่หลายโมเดล เพื่อแสดงให้เห็นถึงการสั่นของ basilar membrane รูปต่อไปนี้เป็นโมเดลหนึ่ง

ท่อทองเหลืองมีพลาสติกปิดรอยบากเปิดยาวด้านบน ซึ่งพลาสติกมีความหนาไม่คงที่ และปลายด้านหนึ่งของท่อถูกปิดด้วยลูกสูบ ส่วนปลายอีกด้านปิดด้วยฝาธรรมดา เติมน้ำให้เต็มท่อ เราจะได้ท่อที่ความยืดหยุ่นของพลาสติกไม่คงที่ตามแนวยาวทำนองเดียวกับ basilar membrane ทีนี้พอลูกสูบถูกชักเข้าชักออกด้วยความถี่ต่าง ๆ จะพบว่า จุดที่ถูกกระตุ้นสูงสุดมีการย้ายที่ไปยังจุดต่าง ๆ ตามแนวท่อ ซึ่งเรารู้สึกถึงจุดนี้ได้โดยการเอาท่อนแขนทาบลงเบา ๆ ที่สันของพลาสติก (โมเดลอันนี้ พร้อมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ Békésy ใช้ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยฮาวาย)
ความสำเร็จส่วนใหญ่ของ Békésy มาจากเทคนิคละเอียดอ่อนที่แกพัฒนาขึ้นเพื่อผ่าเอา cochlea ออกจากซากศพที่ยังไม่เน่า สามารถเปิดบางส่วนของ basilar membrane ได้ด้วยการใช้ไมโครโฟนกับเครื่องมือขนาดเล็กจิ๋วที่แกออกแบบเอง ระบายของเหลวใน cochlea ออก แล้วเติมน้ำเกลือซึ่งแขวนลอยด้วยผงอะลูมิเนียมกับถ่านหินเข้าไปแทน ทีนี้ Békésy ก็สังเกตการกระเจิงของแสงจากผงนั่นแหละครับ ทำให้ค้นพบการเคลื่อนไหวแบบเป็นลูกคลื่นของ basilar membrane ตอนที่ cochlea ถูกกระตุ้นด้วยเสียง
Békésy ศึกษาหูของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลากหลายจำนวนมาก มีเรื่องเล่าสนุก ๆ เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความตื่นเต้นของแกตอนที่รู้ว่ามีช้างตายในสวนสัตว์บูดาเปส Békésy ก็ตามซากช้างไปถึงโรงงานกาวท้องถิ่น (เค้าจะเอาคอลลาเจนจากหนัง เอ็น กระดูกและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ของช้างไปทำกาว) เพื่อผ่าเอา cochlea ออกมา สุดท้ายก็สมใจและดีใจนะครับ เพราะว่าสังเกตเห็น traveling wave ใน basilar membrane ของช้าง
(หมายเหตุ เนื้อหาเรียบเรียงจากบางส่วนของ 5.2 Structure of the Ear, The Science of Sound 3rd Ed, โดย Rossing, Moore, กับ Wheeler)
ข้อมูลอ่านเพิ่มเติมสนุก ๆ
Georg von Békésy: A Biographical Memoir โดย Floyd Ratliff
Concerning the Pleasures of Observing, and the Mechanics of the Inner Ear เป็น Nobel Lecture โดย Békésy
ขอบคุณเจ้าของบล็อกที่มาแบ่งปันความรู้