5 ขั้นตอนจัดทำหลักสูตรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภาคท้องถิ่น ที่คุณครูต้องเตรียมให้พร้อม เพราะการพัฒนาของเด็กเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ฉะนั้นในช่วงเวลาแห่งการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก คุณครูปฐมวัยจึงควรมั่นใจและตรวจสอบหลักสูตรที่จะนำไปใช้กับเด็กอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสิ่งที่เราสอนเด็กไปจะเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด วันนี้ ‘รัฐกุล’ เราจึงนำ 5 ขั้นตอน การจัดทำหลักสูตรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฉบับภาคท้องถิ่น ควรที่จะเริ่มจากขั้นตอนไหนบ้าง ? ต้องจัดเตรียมข้อมูลและหลักสูตรอย่างไร ? สามารถอ่านได้จากบทความนี้ได้เลยค่ะ
1.ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่าง ๆ
ก่อนอื่นที่จะเริ่มเตรียมหลักสูตรสำหรับพัฒนาเด็ก เราต้องเริ่มศึกษาข้อมูลหลักสูตรเสียก่อน โดยจะเริ่มศึกษาข้อมูลเช่น หลักสูตรแกนกลางศึกษาปฐมวัย พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ รวมไปถึงกฏหมายที่เกี่ยวข้องและแนวคิดการจัดการประสบการณ์เรียนรู้ ไม่เพียงแค่ศึกษาหลักทฤษฎีเท่านั้นคนเป็นครูปฐมวัยควรที่จะศึกษาตัวเด็กด้วย เช่น ศึกษาเรื่องของเด็กและครอบครัว สภาพแวดล้อม,ความต้องการของชุมชน,จุดเด่น,จุดด้อย และปัญหาที่ตัวเด็กมี เพื่อที่จะมาวิเคราะห์ว่าเด็กต้องการสิ่งใด อย่าง เช่น หากเด็กมีจุดด้อยเรื่องภาษาอังกฤษ เราอาจจะนำเกมการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เด็กต้องเสริมการเรียนรู้มาทำให้เด็กสนใจได้ ซึ่งสิ่งที่เราจะนำมาเล่นกับเด็กต้องสอดคล้องกับความต้องการของสังคม และความต้องการของเด็ก เพื่อให้เด็กได้เต็มใจเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอีกด้วย
2.ออกแบบหลักสูตรการพัฒนาเด็ก
การออกแบบหลักสูตรจะมีอยู่คร่าว ๆ ประมาณ 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนการวางแผนในหลักทฤษฎี เริ่มจากการวางแผนจัดทำโครงร่างหลักสูตรที่วิเคราะห์มา ตั้งระยะเวลาว่าหลักสูตรนี้ว่าจะใช้เวลาดำเนินการเท่าไหร่ จากนั้นทำการอบรมทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องกับหลักสูตร และทำเครื่องมือนิเทศของหลักสูตรนั้น ต่อมาจะเป็นขั้นตอนการแต่งตั้งคณะกรรมการของหลักสูตร โดยในกลุ่มคณะกรรมการจะมี ผู้บริการอปท,ผู้ทรงคุณวุฒิ,หัวหน้าศูนย์,ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้เกี่ยวข้อง หลังจากเสร็จขั้นตอนการแต่งตั้งแล้วก็จะเป็นขั้นตอนการลงมือจัดทำหลักสูตรโดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งก่อนหน้า โดยภายในหลักสูตรจะต้องประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์,พันธกิจ,เป้าหมาย,ตัวบ่งชี้,สภาพที่พึงประสงค์ พร้อมโครงสร้างหลักสูตรที่ประกอบด้วยผลวิเคราะห์ก่อนหน้า สาระการเรียนรู้รายปี,คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย เพื่อกำหนดให้เหมาะสมกับอายุและเวลาเรียน จากนั้นจะเป็นการจัดแผนประสบการณ์ การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน การสร้างสื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้ ปิดท้ายด้วยการประเมินผลพัฒนาการของเด็ก
3.ตรวจสอบหลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
หลังจากขั้นตอนการดำเนินจัดทำหลักสูตร ก็มาถึงขั้นตอนการตรวจสอบและประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยการตรวจสอบจะดูจากความครบถ้วนของหลักสูตร ดูถึงความถูกต้อง ชัดเจนและสอดคล้องต่อการพัฒนาของเด็กหรือไม่ โดยดูจากองค์ประกอบและการจัดประสบการณ์ของหลักสูตร ในกรณีเมื่อหลักสูตรผ่านแล้วผ่านมติคณะกรรมการสถานศึกษา ก็จะมีการประกาศใช้หลักสูตรดังกล่าว ซึ่งจะลงนามด้วยหัวหน้าสถานศึกษา,หัวหน้าศูนย์หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าสถานศึกษา
4.การนำหลักสูตรไปใช้
มาถึงขั้นตอนในการนำหลักสูตรมาใช้จริง จะเริ่มจากการประชุมย่อย หรือ Focus Group Meeting เพื่อที่จะอธิบาย และ ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรนี้แก่คุณครูให้เข้าใจในแก่นของหลักสูตร จากนั้นจะมีการบริหารจัดการหลักสูตร โดยจะดูจากความร่วมมือในการใช้หลักสูตรดังกล่าว มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างครูผู้ดูแลเด็ก และผู้บริหารที่ให้การส่งเสริมหลักสูตร โดยระหว่างนี้ต้องมีการรายงานผลของหลักสูตรโดยเป็นระยะ และถ้าหากเห็นว่าผลที่ออกมาดีแล้ว จึงจะเริ่มนำหลักสูตรปรับไปใช้กับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ศูนย์เด็กเล็กนั่นเอง ซึ่งในขั้นตอนนี้จะเห็นได้ชัดว่าทุกหลักสูตรกว่าจะนำไปใช้กับเด็กต้องผ่านการประเมินจากทั้งผู้เชี่ยวชาญและการใช้หลักสูตรจริง เพื่อที่จะให้ตัวเด็กได้รับการเรียนรู้ที่ดี และเจริญเติบโตด้วยสิ่งที่ปลูกฝังที่สอดคล้องกับสังคมนั้น ๆ
5.การติดตามประเมินผลหลักสูตร
ขั้นตอนสุดท้ายนี้ติดตาม / นิเทศ และประเมินผลการใช้หลักสูตร โดยจะเริ่มต้นจากการประเมินเอกสารประกอบหลักสูตร ว่ามีความถูกต้องทางด้านเนื้อหาหรือไม่ ดูถึงความชัดเจนและสอดคล้องกับสังคมของเด็กที่ต้องเรียนรู้ จากนั้นจะประเมินระบบของหลักสูตรว่าผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตรงตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ดูไปถึงการสอนและระบบการจัดการของโรงเรียน และท้ายที่สุดคือการดู Output หรือ ผลของเด็กที่เรียนรู้หลักสูตรนี้ ว่าได้มีทักษะเพิ่มเติมขึ้นมาจากเดิมหรือไม่ ดูพัฒนาการของปฐมวัยว่าดีขึ้น และได้รับความรู้จากหลักสูตรที่ทำการประเมิน การจะจัดหลักสูตรการเรียนรู้อาจจะดูไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเท่าไหร่นัก แต่เพียงหากเราใส่ใจและตั้งใจที่ทำออกมา เพื่อก่อประโยชน์กับเด็ก อย่างไรก็ตามผลสัมฤทธิ์ของความตั้งใจจะต้องออกมาประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน |
บทความทั้งหมด
|