บทบาทของการประเมินพัฒนาการเด็กและแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ต่อการสื่อสารระหว่างคุณปฐมวัยและผู้ปกค การศึกษาระดับปฐมวัย จัดเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์และจิตใจ และด้านสังคม ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต โดยจะต้องมีมาตรฐานของพัฒนาการตามสภาพที่พึงประสงค์ ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพดี และมีความสุข มาตรฐานที่ 4 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม มาตรฐานที่ 5 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย มาตรฐานที่ 6 ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย มาตรฐานที่ 7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื้นได้อย่างมีความสุข และปฏิบัติเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมตามวัย มาตรฐานที่ 11 มีจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้ ในปัจจุบันผู้ปกครองมักจะให้ความสนใจในเรื่องของการพยายามให้บุตรหลานของตนอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง โดยไม่ได้คำนึงถึงพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก คือ ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์และจิตใจ และด้านสังคม มักจะเน้นการท่องจำความรู้เพื่อสอบแข่งขัน เน้นด้านเนื้อหาสาระมากกว่าการพัฒนาทักษะกระบวนการหรือคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิต อันจะส่งผลให้เด็กปฐมวัยขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้และขาดทักษะในหลาย ๆ ด้านไป ซึ่งทักษะเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เด็กปฐมวัยควรจะมี คุณครูปฐมวัยจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทเป็นอย่างมากในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับพ่อแม่และผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยแต่ละคน อีกทั้งเด็กปฐมวัยแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน เหตุเพราะสภาพแวดล้อมที่เด็กได้เติบโตขึ้นมานั้นไม่เหมือนกัน ดังนั้นคุณครู พ่อแม่ และผู้ปกครองของเด็กจะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก จะต้องมีการร่วมมือกันในการช่วยกันพัฒนาเด็กให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการไปพร้อม ๆ กัน “การประเมินพัฒนาการเด็กและแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย” จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการสื่อสารกันระหว่างคุณครูกับผู้ปกครองเพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยคุณครูปฐมวัยจะต้องมีการสังเกตพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยแต่ละคนเป็นประจำ จากนั้นก็ให้บันทึกพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ก็ตาม จากนั้นนำไปสรุปลงในเอกสารตามระเบียบการวัด และประเมินผล อันได้แก่ สมุดรายงานประจำตัวปฐมวัย (สมุดพกปฐมวัย) และสมุดประจำชั้น โดยคุณครูปฐมวัยจะต้องนำผลการประเมินที่ได้ไปสื่อสาร พูดคุยกับพ่อแม่และผู้ปกครองตลอดจนบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เพื่อเป็นรากฐานในการช่วยเหลือและพัฒนาเด็กให้โตขึ้นอย่างมีพัฒนาการที่เหมาะสมในทุก ๆ การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในประเมินเด็ก ก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคุณครูและผู้ปกครอง เพื่อที่ว่าคุณครูจะได้มีโอกาสพูดคุย แลกความเปลี่ยนคิดเห็น ให้คำแนะนำ ให้ความรู้ชี้แนะแนวทางแก่ผู้ปกครองเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันจะช่วยให้เกิดการพัฒนาเด็กปฐมวัย ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
การจัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักสูตร และเพื่อพัฒนาเด็กให้เกิดการพัฒนาในแต่ละด้านอย่างเหมาะสมตามวัยต่อไป |
บทความทั้งหมด
|