แนวคิดหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ฉบับปี พ.ศ.2560 Part 2 ต่อจากบทความที่แล้ว “หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย” คือ หลักสูตรการศึกษาของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็กตั้งแต่ร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้ทุกอย่างสอดคล้องกันกับสังคมในยุคปัจจุบัน เพื่อเป็นการเตรียมรากฐานให้ตัวเด็ก สำหรับการพัฒนาในหลักสูตรของเด็กในช่วงอายุที่โตขึ้น วันนี้ ‘รัฐกุล’ จึงขอนำแนวคิดหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ฉบับปี พ.ศ.2560 ส่วนเพิ่มเติมจากบทความที่แล้ว มาขยายให้ทุกท่านได้เข้าใจยิ่งขึ้น จะมีแนวคิดใดอีกบ้าง สามารถอ่านได้ที่บทความนี้เลยค่ะ
แนวคิดเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูควบคู่การพัฒนาของเด็ก
ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กแล้ว ผู้สอนจะต้องสามารถทำไปพร้อมกับการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กด้วยโดยจะสอดแทรกการสอนทางด้านพัฒนาการผ่านการอบรม ให้มีกระบวนการที่ทำให้เด็กตอบสนองต่อธรรมชาติได้เป็นอย่างดี โดยที่ต้องเหมาะสมแก่วัยและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสังคมของตัวเด็ก
แนวคิดเกี่ยวกับการบูรณาการ
บูรณาการ หรือ Integration หมายถึง การประสานกลมกลืนของกระบวนการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนเป้าหมาย โดยในที่นี้คือการผสมผสานความรู้ ทักษะ และกระบวนการดำเนินงาน รวมกันทุกวิชาโดยไม่มีแบ่งแยก เพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาตัวเด็กให้ได้ยิ่งขึ้นนั่นเอง
แนวคิดเกี่ยวกับสื่อ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
เนื่องด้วยในยุคปัจจุบันที่โลกก้าวสู่ยุค 4.0 การที่จะสอนให้เด็กพัฒนานั้นอาจจะใช้เครื่องมือเทคโนโลยี เป็นตัวช่วยให้เด็กสามารถเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการจะสอนและสื่อถึง โดยสื่อนั้นจะต้องเอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อให้เด็กมีการพัฒนาตามจุดมุ่งหมาย
แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินตามสภาพความเป็นจริง
การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้กระบวนการสอนสอดคล้อง กับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และกิจวัตรประจำวัน โดยการประเมินตามสภาพความเป็นจริงนั้นจะช่วยทำให้เรารู้ว่าเด็กพัฒนาไปถึงขั้นไหน มีการล่าช้าตรงไหนบ้าง ซึ่งจะทำให้เราสามารถส่งเสริมตัวเด็กได้อย่างถูกจุด
แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และชุมชน
เพราะสภาพแวดล้อมของเด็กไม่ได้มีเพียงโรงเรียนหรือครอบครัว แต่ยังมีชุมชนที่เป็นที่อยู่ ดังนั้นทุกส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเด็ก จึงต้องร่วมมือกันในการส่งเสริมและเป็นตัวอย่างที่ดี เพื่อให้เด็กได้มีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างก้าวหน้า ปลูกฝังให้เขาเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมในอนาคต
แนวคิดเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความเป็นไทยและความหลากหลาย
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีหลักของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นควรส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักถึงหลักนี้และความเป็นไทยที่พอดี นอกจากนี้ยังต้องสอนให้เขารู้จักถึงความหลากหลายของเชื้อชาติและวัฒนธรรม เพื่อให้เด็กได้ก้าวทันยุคสมัยและสังคมในปัจจุบันนั่นเอง การได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ดีตั้งแต่ช่วงปฐมวัย จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเจริญเติบโตมาเป็นเด็กที่ดีและมีคุณภาพในอนาคต ดังนั้นผู้สอนทุกท่านรวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ไม่ว่าจะครอบครัว หรือ ชุมชน จึงควรร่วมมือกันเพื่อบ่มเพาะพวกเขาอย่างเต็มที่เพื่อผลลัพธ์ที่ดีในภายภาคหน้า
สำหรับครั้งหน้าความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับเด็กช่วงปฐมวัยเรื่องใดที่เราจะนำมาฝาก สามารถติดตามได้ทั้งทางหน้าแฟนเพจของรัฐกุล และทางหน้าเว็บไซต์ และสำหรับใครที่อยากได้เครื่องมือในการใช้วัดประเมินผลเด็ก สมุดปพ. หรือโปรแกรมและสื่อการเรียนรู้ สามารถติดต่อเราได้ที่ช่องทางติดต่อทางหน้าเว็บไซต์ได้เลยค่ะ |
บทความทั้งหมด
|