การจัดทำองค์ประกอบหลักสูตรปฐมวัย ปี2560 Part 1 ในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาสำหรับปฐมวัยนั้น จะต้องมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยการจัดหลักสูตรในทางที่ดีนั้นควรจะให้ครูผู้สอนทำความเข้าใจกับหลักสูตรที่จัดทำ และทำการนำเสนอกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการประเมินตรงตามขั้นตอนที่ควรจะเป็น ส่วนทางด้านการจัดองค์ประกอบของหลักสูตรนั้น ก็ควรที่จะเป็นไปตามขั้นตอนเช่นกัน ซึ่งตรงจุดนี้ขั้นตอนในการจัดทำองค์ประกอบหลักสูตรปฐมวัยมีทั้งหมด 12 ขั้นตอน ได้แก่
สำหรับบทความนี้ของ ‘รัฐกุล’ เราจะนำเสนอ สรุปของการจัดทำองค์ประกอบหลักสูตรปฐมวัย ทั้ง 6 ข้อแรก ว่าสรุปได้ความเป็นเช่นไร ต้องทำตามขั้นตอนแบบไหนบ้าง คุณครูท่านไหนที่อยากอ่านสรุปสามารถอ่านได้ผ่านทางบทความนี้ได้เลยค่ะ
ปรัชญาการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา ปรัชญาการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา เป็นการอธิบายแนวคิด ทฤษฎี และความเชื่อในการพัฒนา เด็กปฐมวัย โดยสถานศึกษาจะต้องกำหนดปรัชญาซึ่งจะเริ่มจากการพิจารณาร่วมกันกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการพยายามทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาและตัวเด็ก เช่น ผู้บริหาร ครู ครอบครัว ชุมชน ร่วมมือกันให้ความสำคัญในการให้การศึกษาและพัฒนาตัวเด็ก และมอบบทบาทให้ครูเป็นผู้มีส่วนในการอบรมและพัฒนาตัวเด็กในสถานศึกษา
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วิสัยทัศน์ เป็นการที่สถานศึกษากำหนดวิสัยทัศน์ของการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยเป็นการแสดงซึ่งเจตนารมณ์ อุดมการณ์ อนาคตที่พึงประสงค์ ที่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริง และแสดงอัตลักษณ์ของสถานศึกษา เพื่อเป็นการจุดประกายความคิดของบุคลากรในการพัฒนาตัวเด็ก โดยวิสัยทัศน์ที่ดีต้องมีความชัดเจน เหมาะสม และมีระยะเวลาที่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นภายในปีใด
พันธกิจ พันธกิจคือการที่สถานศึกษากำหนดภาระงานสำคัญ โดยจะต้องคำนึงและอยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ ที่กำหนดว่าต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้สามารถเกิดขึ้นได้จริง ตามระยะเวลาที่ถูกตั้งไว้ เพื่อให้วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ถึงเป้าหมายได้ลุล่วงทันเวลา โดยทั้งนี้ต้องวัดความสำเร็จจากการพัฒนาของตัวเด็กที่ไปในทิศทางเดียวกับวิสัยทัศน์กำหนดไว้
เป้าหมาย เป็นการกำหนดความคาดหวังหลังจากการดำเนินการทำพันธกิจตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ โดยเป้าหมายนั้นจะต้องสามารถกำหนดได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเด็ก ครูผู้สอน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเด็ก อย่างเช่น ผู้ปกครอง จุดหมาย จุดหมายเป็นการกำหนดความคาดหวังที่จะเกิดกับเด็กหลังจากจบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยแล้ว โดยในขั้นตอนนี้จะเป็นการนำจุดหมายที่ หลักสูตรปฐมวัย ปี 2560 กำหนดไว้มาใช้ในการจัดทำองค์ประกอบของหลักสูตรของสถานศึกษา
มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จะเป็นตัวบ่งชี้การพัฒนาที่ได้และผ่านมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์นั้นส่วนใหญ่จะวัดจากการดูการพัฒนาของเด็กผ่าน 4 องค์ประกอบที่อยากให้เด็กพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ การเข้าสังคม และการใช้สติปัญญา โดยทั้งนี้สถานศึกษาอาจจะกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ให้สอดคล้องกับสถานศึกษาและสภาพแวดล้อมของเด็กเป็นรายบุคคลได้
ระยะเวลาเรียน สถานศึกษาต้องกำหนดโครงสร้างเวลาในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กใน 1-3 ปีการศึกษาปีนี้โดยจะประมาณระยะเวลาเรียนรู้ตามอายุของเด็ก หรือ ระยะเวลาของการที่เด็กเริ่มเข้าสถานศึกษา โดยต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 180 วันต่อปีการศึกษา อาจแบ่งเป็น 2 ภาคเรียนหรือ 3 ภาคเรียน ใน 1 ปีการศึกษา แต่ละวันต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
สาระการเรียนรู้รายปี สถานศึกษาต้องมีการกำหนดสาระการเรียนรู้รายปี โดยยึดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์ ประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ให้ครบทั้ง 12 มาตรฐาน ตามที่หลักสูตรปฐมวัย ฉบับปี 2560 กำหนดไว้ โดยทั้งนี้สามารถเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ หรือ การสั่งสอนประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตามอัตลักษณ์และเอกลักษณะของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความสอดคล้องของทุกองค์ประกอบและวิธีการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี สำหรับรายละเอียดการจัดทำองค์ประกอบหลักสูตรปฐมวัย ปี 2560 นี้ เป็นรายละเอียดในแบบการ ‘สรุป’ ขั้นตอนต่าง ๆ หากคุณครูท่านไหนอยากอ่านแบบสรุปเจาะเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ สามารถอ่านได้ในบทความก่อนหน้าที่ทางหน้าเว็บไซต์ของรัฐกุลได้เลยค่ะ เรามีบทความที่จงเจาะองค์ประกอบของหลักสูตรปฐมวัยที่สำคัญไว้เป็นที่เรียบร้อย และบทความหน้าจะเป็นอีกส่วน 6 ข้อ ที่เหลือเรียงตามลำดับขั้นตอนการจัดองค์ประกอบหลักสูตร ตามที่ระบุไว้ในช่วงเกริ่นนำของบทความค่ะ สามารถรอติดตามอ่านบทสรุปที่เหลือของเราได้ ผ่านช่องทางเดิมอีกเช่นเคย สำหรับวันนี้เราหวังว่าการสรุปนี้จะช่วยให้คุณครูย่นระยะเวลา ในการอ่านจากหลักสูตรฉบับเต็มไม่มากก็น้อยนะคะ |
บทความทั้งหมด
|