12 มาตรฐานคุณลักษณะพึงประสงค์ ตามหลักสูตรปฐมวัย ฉบับปี 2560 ว่าด้วยเรื่องหลักสูตรปฐมวัย ฉบับปี 2560 นอกจากการกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ หลักการ และ จุดหมายแล้ว ก็ยังมีการกำหนด มาตรฐานคุณลักษณะพึงประสงค์ไว้อีก 12 ข้อ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับตัวเด็ก เพื่อใช้เป็นตัวบ่งชี้และวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ที่จะประเมินพัฒนาการเด็ก ซึ่งทั้งนี้ตัวผู้สอนไม่เพียงแค่สอนลักษณะพึงประสงค์แก่เด็กเท่านั้น แต่ตัวผู้สอนต้องทำความเข้าใจในตัวเด็กเป็นรายบุคคล ต้องสังเกตถึงการกระทำและการพัฒนาการ หากเจอเด็กที่ไม่สามารถทำตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้ ตัวผู้สอนจะต้องรีบเร่งเข้าแก้ไขทันที โดยการหาจุดบกพร่องและแก้ไขให้ตัวเด็กรับการพัฒนา เพราะถ้าหากลักษณtพึงประสงค์ของเด็กไม่เป็นไปตามมาตรฐานแล้วนั้น จะทำให้ตัวเด็กมีปัญหาทางด้านสังคมได้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ต้องดูแลในส่วนตรงนี้เป็นพิเศษ สำหรับวันนี้ ‘รัฐกุล’ เราได้นำ 12 มาตรฐานคุณลักษณะพึงประสงค์ ทั้ง 12 ข้อ ของแต่ละช่วงวัยไว้ให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ครูผู้สอนสามารถอ่านและนำไปปรับใช้กับการสอนของคุณได้เลยค่ะ
มาตรฐานที่ 1 เด็กเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี 1.1) น้ำหนักและส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์ แบ่งเป็นช่วงอายุ 3-4 ปี , 4-5ปี และ 5-6 ปี โดยช่วงอายุเหล่านี้ต้องมีน้ำหนักและส่วนสูงเป็นไปตามกำหนดของกรมอนามัย 1.2) มีสุขภาพอนามัยที่ดี เด็กในวัย 3-4 ปี : ตัวเด็กจะต้องยอมรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำสะอาด,รู้จักการล้างมือ ก่อนและหลังการรับประทานอาหารรวมไปถึงทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ รู้จักนอนพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างเป็นเวลา โดยทั้งหมดนี้จะมีผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะและคอยควบคุม เด็กในวัย 4-5 ปี : ตัวเด็กจะต้องยอมรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำสะอาด,รู้จักการล้างมือ ก่อนและหลังการรับประทานอาหารรวมไปถึงทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ รู้จักนอนพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างเป็นเวลา โดยทั้งหมดนี้จะต้องทำเป็นได้ด้วยตัวเองอย่างมีวินัย เด็กในวัย 5-6 ปี : ตัวเด็กจะต้องยอมรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่หลากหลายและดื่มน้ำสะอาด,รู้จักการล้างมือ ก่อนและหลังการรับประทานอาหารรวมไปถึงทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ รู้จักนอนพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างเป็นเวลา โดยทั้งหมดนี้จะต้องทำเป็นได้ด้วยตัวเองอย่างมีวินัย 1.3) รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น เด็กในวัย 3-4 ปี : เล่นกิจกรรมอย่างปลอดภัย โดยมีผู้ชี้แนะดูแล เด็กในวัย 4-5 ปี : เล่นกิจกรรมอย่างปลอดภัย ด้วยตัวเอง เด็กในวัย 5-6 ปี : เล่นกิจกรรมอย่างปลอดภัย ด้วยตัวเองและป้องกันความปลอดภัยแก่ผู้อื่น มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน 2.1) เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว ประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้ เด็กในวัย 3-4 ปี : เด็กต้องสามารถเดินตามแนวที่กำหนดได้ กระโดดสองขาขึ้นลงอยู่กับที่ได้ วิ่งแล้วหยุดได้ และสามารถรับลูกบอลโดยใช้มือและลำตัวช่วย เด็กในวัย 4-5 ปี : เด็กต้องทรงตัวเดินต่อเท้าเป็นเส้นตรงโดยไม่ต้องกางแขนได้ กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้โดยไม่เสียการทรงตัว วิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ รวมไปถึงสามารถรับลูกบอลโดยใช้มือทั้งสองข้าง เด็กในวัย 5-6 ปี : เด็กต้องสามารถเดินต่อเท้าถอยหลังเป็นเส้นตรงได้โดยไม่ต้องกางแขน สามารถกระโดดขาเดียวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสียการทรงตัว รวมไปถึงการสามารถวิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อย่างคล่องแคล่ว และรับลูกบอลที่กระดอนจากพื้นได้ 2.2) ใช้มือ-ตา ประสานสัมพันธ์กัน เด็กในวัย 3-4 ปี : เด็กต้องสามารถเริ่มใช้กรรไกรตัดกระดาษให้ขาดได้ด้วยมือเดียว วาดวงกลมตามวัสดุได้ และสามารถร้อยวัสดุที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม.ได้ เด็กในวัย 4-5 ปี : ใช้กรรไกรตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้ และสามารถวาดรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมเท่ากันได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงการร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 ซม.ได้ เด็กในวัย 5-6 ปี : ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งได้ วาดรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้อย่างมีมุมชัดเจน และสามารถร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25 ซม.ได้ มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข 3.1) แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม เด็กในวัย 3-4 ปี : แสดงอารมณ์ ความรู้สึกได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์ เด็กในวัย 4-5 ปี : แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ตามสถานการณ์ เด็กในวัย 5-6 ปี : แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม 3.2) มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น เด็กในวัย 3-4 ปี : กล้าพูดกล้าแสดงออก และแสดงความพึงพอใจในผลงานของตัวเอง เด็กในวัย 4-5 ปี : กล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมและรู้สถานการณ์ รู้จักการแสดงความพอในใจในตนเองและผลงานของตนเองได้ เด็กในวัย 5-6 ปี : กล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ รู้จักการแสดงความพอในใจในตนเองและผลงานของตนเองและของผู้อื่นได้ มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว 4.1)สนใจ มีความสุขและแสดงออก ผ่านงานศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว สำหรับมาตรฐานในข้อนี้จะเหมือนกันในเด็กทุกวัย คือเด็กต้องสนใจ มีความสุข และ แสดงออกผ่านงานศิลปะ เสียงเพลงดนตรี และรวมไปถึงการขยับตัวทำท่า ออกลีลาการเคลื่อนไหว มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม 5.1) ซื่อสัตย์สุจริต เด็กในวัย 3-4 ปี : บอกหรือชี้ได้ว่าสิ่งใดเป็นของตนเองและสิ่งใดเป็นของผู้อื่น เด็กในวัย 4-5 ปี : ขออนุญาตหรือรอคอยเมื่อต้องการสิ่งของของผู้อื่นเมื่อมีผู้ชี้แนะ เด็กในวัย 5-6 ปี : ขออนุญาตหรือรอคอยเมื่อต้องการสิ่งของของผู้อื่นด้วยตนเอง 5.2) มีความเมตตากรุณา มีน้ำใจช่วยเหลือแบ่งปัน เด็กในวัย 3-4 ปี : แสดงความรักและแบ่งปันต่อเพื่อนและสัตว์เลี้ยงได้ โดยมีผู้ชี้แนะ เด็กในวัย 4-5 ปี : แสดงความรักและแบ่งต่อเพื่อนรวมไปถึงให้ความช่วยเหลือได้ โดยมีผู้ชี้แนะ เด็กในวัย 5-6 ปี : แสดงความรักความเมตตาต่อเพื่อนและสัตว์เลี้ยง ช่วยเหลือแบ่งปันเพื่อนได้ด้วยตนเอง 5.3) มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เด็กในวัย 3-4 ปี : แสดงสีหน้าหรือท่าทางรับรู้ความรู้สึกผู้อื่น เด็กในวัย 4-5 ปี : แสดงสีหน้าหรือท่าทางรับรู้ความรู้สึกผู้อื่น เด็กในวัย 5-6 ปี : แสดงสีหน้าหรือท่าทางรับรู้ความรู้สึกผู้อื่นอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ 5.4) มีความรับผิดชอบ เด็กในวัย 3-4 ปี : ทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จเมื่อมีผู้อื่นช่วยเหลือ เด็กในวัย 4-5 ปี : ทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จเมื่อมีผู้ชี้แนะ เด็กในวัย 5-6 ปี : ทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จได้ด้วยตนเอง มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 6.1) ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เด็กในวัย 3-4 ปี : แต่งตัวและรับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง ใช้ห้องน้ำโดยมีผู้ช่วยเหลือ เด็กในวัย 4-5 ปี : แต่งตัว รับประทานอาหาร และใช้ห้องน้ำโดยตนเอง เด็กในวัย 5-6 ปี : แต่งตัว รับประทานอาหาร และใช้ห้องน้ำอย่างถูกหลักอนามัยได้ด้วยตนเอง 6.2) มีวินัยในตนเอง เด็กในวัย 3-4 ปี : เก็บของเล่นและเข้าแถวเรียงตามลำดับได้โดยมีผู้ชี้แนะ เด็กในวัย 4-5 ปี : เก็บของเล่นและเข้าแถวเรียงตามลำดับได้ด้วยตนเอง เด็กในวัย 5-6 ปี : เก็บของเล่นเข้าที่ อย่างเรียบร้อยและเข้าแถวเรียงตามลำดับได้ด้วยตนเอง 6.3) ประหยัดและพอเพียง เด็กในวัย 3-4 ปี : ใช้สิ่งของเครื่องใช้ได้อย่างประหยัดและพอเพียงได้โดยมีผู้ชี้แนะ เด็กในวัย 4-5 ปี : ใช้สิ่งของเครื่องใช้ได้อย่างประหยัดและพอเพียงได้โดยมีผู้ชี้แนะ เด็กในวัย 5-6 ปี : ใช้สิ่งของเครื่องใช้ได้อย่างประหยัดและพอเพียงได้ด้วยตนเอง มาตรฐานที่ 7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและความเป็นไทย 7.1) ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เด็กในวัย 3-4 ปี : มีส่วนร่วมดูแลรักษาธรรมชาติและทิ้งขยะได้ถูกที่โดยมีผู้ชี้แนะ เด็กในวัย 4-5 ปี : มีส่วนร่วมดูแลรักษาธรรมชาติและทิ้งขยะได้ถูกที่โดยมีผู้ชี้แนะ เด็กในวัย 5-6 ปี : ส่วนร่วมดูแลรักษาธรรมชาติและทิ้งขยะได้ถูกที่ได้ด้วยตนเอง 7.2) มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย และรักความเป็นไทย เด็กในวัย 3-4 ปี : ปฏิบัติตนตามมารยาทไทย กล่าวขอบคุณ และหยุดเดินเมื่อเพลงชาติขึ้นโดยมีผู้ชี้แนะ เด็กในวัย 4-5 ปี : ปฏิบัติตนตามมารยาทไทย กล่าวขอบคุณ และยืนตรงเคารพธงชาติด้วยตนเอง เด็กในวัย 5-6 ปี : ปฏิบัติตนตามมารยาทไทย กล่าวขอบคุณ และยืนตรงเคารพธงชาติด้วยตนเองอย่างรู้กาลเทศะ มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 8.1) ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล สำหรับมาตรฐานในข้อนี้จะเหมือนกันในเด็กทุกวัย ด้วยการเล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กทุกคนที่เหมือนและต่างกันตนเอง 8.2) มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เด็กในวัย 3-4 ปี : เล่นร่วมกับเพื่อน และยิ้มทักทายผู้ใหญ่เมื่อมีผู้ชี้นำ เด็กในวัย 4-5 ปี : เล่นร่วมกับเพื่อน ทำงานเป็นกลุ่มได้ และยิ้มทักทายผู้ใหญ่ที่คุ้นเคยได้ด้วยตนเอง เด็กในวัย 5-6 ปี : เล่นร่วมกับเพื่อนและทำงานได้อย่างมีเป้าหมาย ยิ้ม ทักทายและพูดคุยกับผู้ใหญ่และบุคคลที่คุ้นเคยได้เหมาะสมกับสถานการณ์ 8.3) ปฏิบัติเบื้องต้นในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เด็กในวัย 3-4 ปี : ปฏิบัติตามข้อตกลง และปฏิบัติตนเป็นผู้นำเมื่อมีผู้ชี้แนะ รวมไปถึงยอมรับการประนีประนอมแก้ไขปัญหาเมื่อมีผู้ชี้แนะ เด็กในวัย 4-5 ปี : มีส่วนร่วมสร้างข้อตกลง ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยมีผู้ชี้แนะ และปฏิบัติตนเป็นผู้นำได้โดยตนเอง ยอมรับการประนีประนอมแก้ไขปัญหาโดยปราศจากการใช้ความรุนแรง โดยมีผู้ชี้แนะดูแล เด็กในวัย 5-6 ปี : มีส่วนร่วมสร้างข้อตกลงและปฏิบัติตามข้อตกลงด้วยตนเอง ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและ ผู้ตามได้เหมาะสมกับสถานการณ์ ประนีประนอมแก้ไขปัญหาโดยปราศจากการใช้ความรุนแรงด้วยตนเอง มาตรฐานที่ 9 การใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย 9.1) สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ เด็กในวัย 3-4 ปี : ฟังผู้อื่นพูดจนจบและพูดโต้ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง สามารถเล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้ เด็กในวัย 4-5 ปี : ฟังผู้อื่นพูดจนจบและสนทนาโต้ตอบสอดคล้องเรื่องที่ฟัง รวมไปถึงสามารถเล่าเรื่องได้อย่างต่อเนื่อง เด็กในวัย 5-6 ปี : ฟังผู้อื่นพูดจนจบและสนทนาโต้ตอบอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกับเรื่องที่ฟัง เล่าเป็นเรื่องราวต่อเนื่องได้ 9.2) อ่าน เขียน และวาดภาพสัญลักษณ์ได้ เด็กในวัย 3-4 ปี : อ่านภาพและพูดด้วยภาษาของตน รวมไปถึงขีดเขียนอย่างมีทิศทางได้ เด็กในวัย 4-5 ปี : อ่านภาพ สัญลักษณ์ พร้อมทั้งชี้หรือกวาดตามอง ข้อความตามบรรทัด เขียนคล้ายตัวอักษร เด็กในวัย 5-6 ปี : อ่านภาพ สัญลักษณ์ด้วยการชี้หรือกวาดตามองจุดเริ่มต้นและจุดจบของข้อความ เขียนชื่อของตนเองตามแบบ เขียนข้อความด้วยวิธีที่คิดขึ้นเอง มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ 10.1) มีความสามารถในการคิดรวบยอด เด็กในวัย 3-4 ปี : บอกลักษณะของสิ่งต่าง ๆ จากการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัส จับคู่หรือเปรียบเทียบ สิ่งต่าง ๆ โดยใช้ลักษณะหรือหน้าที่การใช้งานเพียงลักษณะเดียว คัดแยกสิ่งต่าง ๆ ตามลักษณะหรือหน้าที่การใช้งาน และสามารถเรียงลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างน้อย 3 ลำดับ เด็กในวัย 4-5 ปี :บอกลักษณะและส่วนประกอบของสิ่งต่าง ๆ จากการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัส จับคู่หรือเปรียบเทียบความแตกต่างหรือความเหมือนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้ลักษณะหรือหน้าที่การใช้งานเพียงลักษณะเดียว จำแนกและจัดกลุ่มสิ่งต่าง ๆ โดยใช้อย่างน้อยหนึ่งลักษณะเป็นเกณฑ์และ สามารถเรียงลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างน้อย 4 ลำดับ เด็กในวัย 5-6 ปี : บอกลักษณะและส่วนประกอบของสิ่งต่าง ๆ จากการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัส จับคู่หรือเปรียบเทียบความแตกต่างหรือความเหมือนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้ลักษณะหรือหน้าที่การใช้งานวสองลักษณะ จำแนกและจัดกลุ่มสิ่งต่าง ๆ โดยใช้อย่างน้อยสองลักษณะเป็นเกณฑ์ และสามารถเรียงลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างน้อย 5 ลำดับ 10.2) มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล เด็กในวัย 3-4 ปี : ระบุผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำเมื่อมีผู้ชี้แนะ สามารถคาดเดาหรือคาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น เด็กในวัย 4-5 ปี : ระบุสาเหตุหรือผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำเมื่อมีผู้ชี้แนะ คาดเดาหรือคาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นหรือมีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูล เด็กในวัย 5-6 ปี : อธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำด้วยตนเอง สามารถคาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น และมีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุผล 10.3) มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ เด็กในวัย 3-4 ปี : ตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ และรู้จักการแก้ไขปัญหาแบบลองผิดลองถูก เด็กในวัย 4-5 ปี : ตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ และเริ่มเรียนรู้ผลที่เกิดขึ้น สามารถระบุปัญหาและ แก้ปัญหาโดยลองผิดลองถูก เด็กในวัย 5-6 ปี : ระบุปัญหาและแก้ปัญหาโดยลองผิดลองถูก ระบุปัญหาสร้างทางเลือกและเลือกวิธีแก้ปัญหา มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 11.1) ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เด็กในวัย 3-4 ปี : สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเอง เด็กในวัย 4-5 ปี : สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองโดยมีการดัดแปลง และแปลกใหม่จากเดิมหรือทำให้ผลงานมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น เด็กในวัย 5-6 ปี : สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองโดยมีการดัดแปลง ให้แปลกใหม่จากเดิมหรือทำให้ผลงานมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น 11.2) แสดงท่าทาง/เคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ เด็กในวัย 3-4 ปี : เคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเอง เด็กในวัย 4-5 ปี : เคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองอย่างหลากหลายและแปลกใหม่ เด็กในวัย 5-6 ปี : เคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองอย่างหลากหลายและแปลกใหม่ มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย 12.1) มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ เด็กในวัย 3-4 ปี : สนใจฟังหรืออ่านหนังสือด้วยตนเอง กระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม เด็กในวัย 4-5 ปี : สนใจซักถามเกี่ยวกับสัญลักษณ์หรือตัวหนังสือที่พบเห็น กระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม เด็กในวัย 5-6 ปี : สนใจหยิบหนังสือมาอ่านและเขียนสื่อความคิดด้วยตนเองเป็นประจำอย่างต่อเนื่องกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ 12.2) มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ เด็กในวัย 3-4 ปี : ค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ ตามวิธีการที่มีผู้ชี้แนะ ใช้ประโยคคำถามว่า “ใคร” “อะไร” ในการค้นหาคำตอบ เด็กในวัย 4-5 ปี : หัดค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ ตามวิธีการด้วยตนเอง ใช้ประโยคคำถามว่า “ที่ไหน” “อะไร” ในการค้นหาคำตอบ เด็กในวัย 5-6 ปี : ค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่าง ๆ โดยใช้วิธีการที่หลากหลายด้วยตนเอง ใช้ประโยคคำถามว่า “เมื่อไร” “อย่างไร” ในการค้นหาคำตอบ สำหรับ “ 12 มาตรฐานคุณลักษณะพึงประสงค์ ” ตามที่กล่าวมาด้านบนนั้น เป็นสิ่งที่คุณครูผู้สอนต้องทำการอบรมและคอยสังเกตตัวเด็กเขาอยู่แล้ว ดังนั้นเราต้องใส่ใจในเด็กว่าสามารถทำได้ตามมาตรฐานเหล่านี้หรือไม่ อย่างละเอียดรอบคอบ ก็ถือว่าเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และในกรณีที่หากตัวเด็กไม่เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว ผู้สอนต้องหาวิธีแก้ไขปัญหา โดยอาจจะปรับและสอนเขาให้เข้าใจได้อย่างละเอียด และปรับให้เข้ากับตัวเด็ก เพื่อที่เขาจะได้พัฒนาเท่าทันทุกคนนั่นเอง 20 mg tadalafil tablets tadalafilise.cyou/#
โดย: Kevinjoync IP: 37.139.53.22 วันที่: 19 สิงหาคม 2566 เวลา:16:38:40 น.
|
บทความทั้งหมด
|