🕊️ต้นมะยม🕊️ ![]() ชื่อพื้นเมืองยม (ใต้) มะยม (ทั่วไป)หมักยม , หมากยม (อุดรธานี, อีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus acidus (Linn.) Skeels. วงศ์EUPHORBIACEAE มะยม เป็นพันธุ์ไม้ที่คนไทยมักปลูกไว้ตามบ้าน ริมน้ำ และตามสวนทั่วไปในทุกภาค มะยมตามตำราหรพมชาติ ถือเป็นไม้มงคล จึงนิยมปลูกในทิศตะวันตกคนโบราณมีความเชื่อกันว่า การปลูกต้นมะยมไว้ในบ้าน เพื่อให้ผู้คนนิยมชมชื่น เพราะมีนะเมตตามหานิยม มะยมเป็นไม้ผลดก ผลมะยมมีรสเปรี้ยงอมหวาน สามารถรับประทานสด และนำไปปรุงเป็นอาหาร หรือขนมได้ มะยมเป็นไม้สูง ขนาดกลาง เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในร่ม ปลูกในดินร่วนซุย ความชื้นเหมาะสม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ![]() ประโยชน์ทางยา แพทย์แผนโบราณมักนิยมใช้รากมะยมตัวผู้ (มะยมตัวผู้สังเกตได้จากต้นที่ออกดอกเต็มต้น และร่วงหล่นโดยไม่ติดลูก) ในการปรุงยา ซึ่งจะมีคุณภาพที่ดีกว่าตัวเมีย ราก สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง ดับพิษเสมหะ ประดงโลหิต เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ แก้เม็ดผดผื่นคัน ใบ รสจืด ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาทต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้ผื่นคัน ไข้หัด เหือด สุกใส ดอก ใช้สด ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระน้ำในตา ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง ประโยชน์ทางอาหาร คนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน รู้จักการนำมะยมมาเป็นผักโดยใช้ยอดใบอ่อนเป็นผักจิ้ม กับน้ำพริก ส้มตำ หรือนำมาชุบแป้งทอด รับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำยา นอกจากนี้ ยอดอ่อนนำมาแกงเลียง และผลแก่นำมาแกงคั่ว บางภาคก็นำมารับประทาน ร่วมกับส้มตำ ลาบ ก้อย หรือนำผลแก่ไปปรุงเป็นส้มตำ ก็ย่อมได้ นอกจากนี้ ผลแก่ยังนำมารับประทานสด จิ้มน้ำปลาหวาน พริกเกลือ หรือปรุงเป็นแยม มะยมกวน มะยมดอง เป็นต้น ประโยชน์ต่อสุขภาพ รสฝาด มัน หวาน เปรี้ยว กลิ่นหอม มีประโยชน์สรรพคุณดับพิษไข้ แก้ไข้ เป็นต้น ![]() ด้วยชื่อ "มะยม" ตามความเชื่อโบราณเขาเชื่อกันว่า การปลูกต้นมะยมจะทำให้คนนิยมชมชอบ รักใคร่ มีชื่อเสียง ไม่มีคนคิดร้ายหรือเป็นศัตรูนั่นเอง และหากปลูกต้นมะยมไว้ทางทิศตะวันตก จะช่วยป้องกันวิญญาณร้าย ภูตผีปีศาจได้ด้วย ในวงการแพทย์แผนไทยนิยมใช้มะยมตัวผู้เพราะมีสรรพคุณทางยาสูง ใบมะยมมีรสจืดมัน เป็นยาแก้ไอ บำรุงประสาท ขับเสมหะ แก้พิษไข้ อีสุกอีใส ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียวรับประทานดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ไข้หัวต่าง ๆ แก้โรคหัดเหือด ต้มรวมกับใบหมากผู้หมากเมีย ใบมะเฟือง อาบแก้ผื่นคัน พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง และฝีดาษ เปลือกลำต้นสด ๑ ฝ่ามือหรือประมาณ ๓๐-๕๐ กรัมนำมาสับเป็นชิ้นๆต้มกับน้ำ ๑ ลิตร กรองน้ำดื่มสรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ ส่วนรากมะยม สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยขับน้ำเหลืองให้แห้ง ประดง ดับพิษเสมหะ โลหิต ![]()
คลิกที่ชื่อ น้องโอเล่ มันไม่มาหน้ามะยมนะจ๊ะ มันให้ไปวินหมูยออย่างเดียวเลย สงสัยลืมตั้งหน้ามั้ง
มะยมนี่ ที่บ้านมีอยู่ต้น ปลูกทิศตะวันตก ตามตำราเป๊ะ เสียดายมาตรอมใจตายไปซะนี่ พึ่งจะได้กินมะยมจิ้มพริกกะเกลือ ไม่กี่หนเอง อ่านสรรพคุณแล้ว ยอดเยี่ยมกระเทียมโทน ไม่เป็นไร เดี๋ยวปลูกใหม่ก็ได้เนอะ ![]() ![]() ![]() โดย: multiple
![]() ถ้าที่บ้าน อ.เต๊ะ ที่ปลูกมะยมนี่ มองจากหน้าประตูรั้ว ทิศตะวันตก จะอยู่ข้างซ้ายของตัวบ้าน แล้วก็หน้าบ้านหันไปทางทิศใต้จ๊ะ งงมั้ยจ๊ะ555
งั้นเอาง่ายๆทิศตะวันตกของตัวบ้านอยู่ด้านไหนก้ปลูก ด้านนั้นแหละ ด้านซ้ายหรือขวาไม่สำคัญ ขอให้เป็นทิศตะวันตกของบ้านแหละจ้า ![]() ![]() ![]() โดย: multiple
![]() ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับคุณโอเล่
การไหว้เป็นความงดงามอย่างหนึ่งของภาษาร่างกายจริงๆครับ ![]() โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() เห็นแล้วนึกถึงตอนเด็กครับ ปากซอยมีต้นมะยม ก็ไปรูดใบมาหวดน่องเพื่อนเล่น ปรากฎ...เพื่อนร้องไห้ 5555
โดย: จันทราน็อคเทิร์น
![]() อยากมีสักต้นเลยค่ะ
ไหว้งามมากค่ะ ไหว้พระเถอะนะคะ คุณโอเล่ วันนี้วันพระด้วยค่ะ ![]() โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() หวานเป็นลม ขมเป็นรยา เปรี้ยวก้เป็นยาด้วยเลยค่ะ ![]() ![]() ![]() โดย: เริงฤดีนะ
![]() ![]() มะยมออกผลดกมากค่ะคุณโอเล่
นึกไปถึงมะยมเชื่อมเสียบไม้สีแดงๆด้วยค่ะ อร่อย สรรพคุณเค้าเยอะดีจัง ขอบคุณข้อมูลนะคะ ![]() โดย: Sweet_pills
![]() ![]() โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~*
![]() |
บทความทั้งหมด
|
สวัสดียามเช้าครับคุณโอเล่
แค่เห็นรูป
ความเปรี้ยวปากก็บังเกิดแล้วนะครับ 555
ผมชอบกินมะยมมากตอนเป็นเด็กครับ