50 ปี "ไอน์สไตน์"

ไม่รู้เป็นไร เวลาได้ยินอะไร ได้ฟังเรื่องอะไรที่มันมาจากอดีตๆ แล้วมันมักจะโดนใจ .. รู้สึกถึงความ classic ของมัน ... อย่างเรื่องของ ไอน์สไตน์ เป็นต้น ...

ตอน ป. 3 จำได้ว่าเคยอ่านการ์ตูนประวัติคนสำคัญของโลก ... แล้วก็มีไอน์สไตน์ที่อ่านแล้วอ่านอีก รู้สึกชอบมากๆ ... โตมาก็ได้เรียนวิชาฟิสิกส์ พวกทฤษฎีบ้าๆบอๆของเขา พอรู้แล้วก็ทึ่ง คิดในใจตลอดเวลยว่า ... "คิดได้ไงวะ"

เมื่อปีก่อนก็ซื้อหนังสืออีกเล่มนึง ชื่อ "The Universe in a Nutshell" ของ Stephen William Hawking ที่ว่าเป็น ไอน์สไตน์ 2 ... ไว้วันหลังจะพูดถึงอีตานี่อีกคน

พอดีวันนี้ได้อ่านบทความใน web ผู้จัดการ (//www.manager.co.th) อ่านแล้วก็ได้รู้อะไรอีกหลายแง่มุมของผู้ชายคนนี้

---------------------------------------------
ที่มา ผู้จัดการ Online "50 ปี ไอน์สไตน์"

  นอกจากปีนี้จะครบรอบปีที่ 100 แห่งความมหัศจรรย์ที่ยอดนักวิทยาศาสตร์แห่งยุค “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” สร้างไว้แล้ว ยังเป็นปีที่ 50 หรือครึ่งศตวรรษที่อัจฉริยะแห่งยุคจากลาโลกนี้ไป แม้ว่าไอน์สไตน์จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่พลิกโลกด้วยสมการ E=mc² อันโด่งดัง แต่ทว่าในช่วงบั้นปลายของชีวิตนักฟิสิกส์ผู้ปราดเปรื่องท่านนี้กลับปวดร้าวจาก “ระเบิดนิวเคลียร์” อันเป็นด้านมืดของการค้นพบอันยิ่งใหญ่
       

       วันนี้ (18 เม.ย.) เมื่อ 50 ปีที่แล้ว (2498) “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” สุดยอดนักฟิสิกส์แห่งศตวรรษได้สิ้นใจลง ณ โรงพยาบาลในเมืองพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยวัย 76 ปี หลังจากที่ไอน์สไตน์เข้าโรงพยาบาลด้วยโรคหัวใจตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย.2498 ต่อมาเพียง 3 วันเท่านั้นนักฟิสิกส์สุดปราดเปรื่องแห่งยุคนิวเคลียร์ก็จากโลกนี้ไป
       

       หลังจากที่ไอน์สไตน์เสียชีวิตลง ดไวท์ ไอเซนฮาว (Dwight Eisenhower) ประธานาธิบดีสหรัฐในขณะนั้น ได้กล่าวไว้อาลัยถึงสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ของโลกว่า ไม่มีผู้ใดทำให้เกิดองค์ความรู้แห่งศตวรรษที่ 20 ยิ่งใหญ่และกว้างขวางไปกว่าเขาได้...ไอน์สไตน์เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ที่อยู่ในยุคนิวเคลียร์ เขามีพลังในการสร้างสรรค์ในฐานะปัจเจกชนในสังคมเสรี
       
       ทันทีที่ไอน์สไตน์เสียชีวิต สมองของเขาถูกแยกออกมาและเก็บรักษาไว้เพื่อทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์โดย ดร.โธมัส ฮาร์วีย์ (Thomas Harvey) นักพยาธิวิทยาซึ่งทำหน้าที่ชันสูตรศพเขา ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องทั้งจากกองมรดกและบุตรชายของไอน์สไตน์ โดยไอน์สไตน์ว่าหวังว่าจะมีการศึกษาสมองของเขา เมื่อเขาตาย
       

       ดร.ฮาร์วีย์ได้ตัดสมองออกเป็นชิ้นขนาดต่างๆ กันถึง 240 ชิ้นจนปี 2539 ได้ส่งให้คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแม็กมาสเตอร์ (McMaster Universtity) เมืองออนตาริโอ ประเทศแคนาดา โดยพวกเขาได้เสนอรายงานผลการวิจัยสมองของไอน์สไตน์เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับสมองคนฉลาดปกติทั่วไป เป็นชาย 35 คน หญิง 56 คน พบว่า บริเวณส่วนล่างของสมองด้านข้าง (inferior parietal region) ของไอน์สไตน์ ใหญ่กว่าของคนปกติธรรมดาถึง 15 % สมองบริเวณดังกล่าว อยู่ในระดับเดียวกับหู มีหน้าที่เกี่ยวกับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
       

       นอกจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ยังพบอีกด้วยว่า ร่องสมองของไอน์สไตน์ หายไปบางส่วนโดยที่สมองของคนทั่วไปจะมีร่องสมองจากส่วนหน้า ต่อเนื่องไปยังสมองส่วนหลังซึ่งร่องที่หายไปบางส่วนนี้ อาจจะเป็นกุญแจสำคัญที่แสดงความเป็นอัจฉริยะของไอน์สไตน์ เนื่องจากทำให้เส้นประสาทและเซลล์สมองบริเวณนั้น สามารถเชื่อมโยงเข้าหากันและทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น
       
       ไอน์สไตน์นั้นมีความฉลาดและชื่นชอบในวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่เด็ก ขณะที่ไอน์สไตน์น้อยเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษา ในเมืองมิวนิกเขาสนใจและสอบได้คะแนนดีในวิชาคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียวโดยไม่สนใจวิชาอื่นๆ จึงทำให้ครูเห็นว่าเขาเป็นเด็กสมองทึบ และถูกขอให้ออกจากโรงเรียน เพราะมีพฤติกรรมที่แปลกแยก
       แต่ทว่าวิชาคณิตศาสตร์นี่ล่ะ ที่ทำให้ไอน์สไตน์ได้กลายเป็นสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ของโลกในเวลาต่อมา
       
       ในปี 2439 ไอน์สไตน์ได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนโปลีเทคนิกแห่งสวิสเซอร์แลนด์ ในซูริกเพื่อฝึกฝนเป็นครูสอนฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ และในปี 2445 ไอน์สไตน์เข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายเทคนิกประจำสำนักงานสิทธิบัตรของสวิตซ์เป็นเวลา 7 ปี
       
       ระหว่างที่ไอน์สไตน์ทำงานอยู่ที่สำนักงานสิทธิบัตรนั้น เขาได้ใช้เวลาว่างศึกษาทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ โดยในช่วงปี 2444 และปี 2447 เขาได้ตีพิมพ์งานวิจัยออกมาถึง 4 เรื่อง แต่ทว่าในปี 2448 กลับกลายเป็นปีมหัศจรรย์ของโลก เพราะไอน์สไตน์ได้เสนอว่า แสงมีคุณสมบัติของการเป็นอนุภาคเวลา โดยอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ซึ่งผลงานชิ้นนี้ทำให้ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2465
       

       ในปีเดียวกันนี้ไอน์สไตน์ได้เสนอวิธีวัดขนาดของโมเลกุล เพื่อเป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกที่สถาบัน ETH (Federal Institute of Technology) ในสวิตเซอร์แลนด์ และถัดมาอีก 1 เดือนเขาก็ได้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ นอกจากนี้ไอน์สไตน์ก็ยังได้ศึกษา และอธิบายการเคลื่อนที่แบบบราวเนียน (Brownian motion) ว่าเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นว่าโมเลกุลมีจริงด้วย ซึ่งผลงานเหล่านี้นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายต่างเห็นว่าสมควรได้รับรางวัลโนเบล
       
       ดังนั้นการผลิตผลงานถึงระดับรางวัลโนเบลหลายชิ้นภายในปีเดียวของไอน์สไตน์ทำให้โลกยอมรับว่า เขาเป็นสุดยอดแห่งอัจฉริยะ และปี 2448 นับเป็นปีมหัศจรรย์ของไอน์สไตน์และของโลกด้วย อีก 10 ปีต่อมา ขณะที่เขาทำงานอยู่ที่เบอร์ลิน เขาได้ทำงานชิ้นสำคัญที่สุดในชีวิตเสร็จคือได้สร้าง “ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป” ขึ้นมา ซึ่งทฤษฎีของไอน์สไตน์เหนือกว่าทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของนิวตัน โดยทฤษฎีนี้สามารถอธิบายลักษณะการโคจรที่อปกติของดาวพุธได้อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่ทฤษฎีของนิวตันให้ผลผิดพลาด
       
       ไอน์สไตน์รับเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในอเมริกาช่วงปี 2482 โดยหวังว่าจะไปๆ มาๆ ระหว่างเบอร์ลินกับพรินซ์ตัน แต่ว่าในปีนั้นนาซีเรืองอำนาจ ไอน์สไตน์ซึ่งตั้งใจที่จะไปอเมริกาเป็นการชั่วคราวเปลี่ยนเป็นการถาวร เขายื่นขอสัญชาติอเมริกันเมื่อปี 2478 และเข้าทำงานที่พรินซ์ตัน โดย พยายามรวมกฎของฟิสิกส์ นับเป็นงานลึกซึ้งมาก จนถึงกับรำพันออกมาว่า
       
       ”ฉันได้พาตัวเองไปติดอยู่ในปัญหาวิทยาศาสตร์ ที่ดูเหมือนจะหมดหวัง และที่แย่กว่านั้น เพราะคนแก่อย่างฉัน ยังคงเป็นคนนอกสำหรับสังคมที่นี่อยู่นั่นเอง”
       

       ตลอดชีวิตไอน์สไตน์ต่อสู้เพื่อสันติภาพเสมอมา ตั้งแต่ก่อนลี้ภัยนาซีออกจากเยอรมนี เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง มีข่าวคราวว่าเยอรมนีกำลังพัฒนาระเบิดปรมาณู ไอน์สไตน์กลัวว่าเยอรมนีจะพัฒนาระเปิดปรมาณูได้ก่อนจึงทำจดหมายถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin Delano Roosevelt) เสนอให้ศึกษาการพัฒนาระเบิดปรมาณู และบอกถึงคุณประโยชน์ของแร่ยูเรเนียมที่สามารถนำมาสร้างระเบิดปรมาณูที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูงได้ด้วยปฏิกิริยาแบบลูกโซ่
       
       ขณะที่อเมริกากำลังพัฒนาระเปิดปรมาณู โดยใช้ชื่อโครงการว่าแมนฮัตตัน ในปี 2483 ไอน์สไตน์ได้ปฏิเสธที่จะร่วมในองค์กรพัฒนาระเบิดปรมาณู แต่การพัฒนาระเบิดก็ทำได้สำเร็จ และนำมาทิ้งที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ
       
       เมื่อไอน์สไตน์รู้ข่าวการระเบิด และผู้คนที่ต้องตายไปจำนวนมหาศาล เขาถึงกับเอามือกุมศีรษะ และอุทานอย่างปวดร้าวว่า "โธ่? ไม่น่าเลย"
       
       เมื่อสงครามเลิกไอน์สไตน์ ก็ลงนามในสัญญาที่ขอให้ยุติการใช้ระเบิดปรมาณู และให้หันมาใช้ปรมาณูเพื่อสันติแทน เขาเขียนในสัญญาว่า "แน่นอนเราทุกคนมีความคิดความรู้สึกไม่เหมือนกัน แต่เราก็มีฐานะเป็นมนุษย์เช่นกัน เราควรจดจำไว้เสมอว่าถ้าการเกี่ยวข้องระหว่างตะวันออกกับตะวันตกถูกตัดสินออกมาในรูปการณ์ใดก็ตาม อันจะนำมาซึ่งความพึงพอใจมาสู่ทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์ หรือต่อต้านคอมมิวนิสต์(โลกเสรี)ก็ตาม ผลแห่งการตัดสินใจไม่ควรออกมาในรูปของสงคราม"
       
       ในปี 2487 เขาช่วยหาทุนต่อต้านสงครามโดยนั่งลงเขียนบทความเรื่องทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษด้วยลายมือตนเอง และนำออกประมูลได้ราคาถึง 6 ล้านดอลลาร์ หนึ่งอาทิตย์ก่อนเสียชีวิต ไอน์สไตน์เซ็นชื่อในจดหมายฉบับสุดท้ายของเขา จดหมายนี้ส่งถึงเบอร์ทรานด์ รัสเซลล์ (Bertrand Russell) เพื่อยืนยันว่า เขายินยอมให้ใส่ชื่อของเขาในจดหมายเปิดผนึก เพื่อวิงวอนชนชาติทั้งหลายให้ยุติการใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อทำลายล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ด้วยกันเอง จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
       
       น่าเสียดายที่ไม่มีใครทราบ ประโยคสุดท้ายที่ไอน์สไตน์กล่าวออกมาเป็นภาษาเยอรมัน ขณะนั้นในห้องมีเพียงพยาบาลแค่คนเดียว ซึ่งเธอไม่เข้าใจภาษาเยอรมันที่ไอน์สไตน์เอ่ยขึ้นมา ดังนั้นคำพูดสุดท้ายของไอน์สไตน์จึงยังเป็นปริศนาต่อไป
       
       อย่างไรก็ดี แม้กระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต เขายังคงชิงชังวิธีการทำลายล้างอันน่าสะพรึงกลัวของระเบิดนิวเคลียร์ที่นักฟิสิกส์มีส่วนสร้างให้กับโลก เขาเคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า
       
       "หากข้าพเจ้ารู้ล่วงหน้าว่าทฤษฎีของข้าพเจ้า จะนำไปสู่การทำลายล้างอย่างมหันต์เช่นนี้ ข้าพเจ้าขอเป็นช่างทำนาฬิกาเสียดีกว่า"






Create Date : 18 เมษายน 2548
Last Update : 18 เมษายน 2548 14:23:28 น.
Counter : 1148 Pageviews.

3 comments
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (6) ผู้ชายในสายลมหนาว
(10 ม.ค. 2568 14:17:46 น.)
ไฮไลท์ บุนเดสลีก้า มึนเช่นกลัดบัค - บาเยิร์น มิวนิค nokeja
(12 ม.ค. 2568 11:41:09 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันแวนด้าหลายสี ทนายอ้วน
(6 ม.ค. 2568 15:58:07 น.)
#สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ newyorknurse
(12 ม.ค. 2568 00:10:07 น.)
  
น้องมีนก็เป็นอีกคนหนึ่งเหมือนกันนะค่ะที่ที่ชื่นชอบวิทยาศาสตร์และศรัทธาในตัวของคุณลุงไอน์สไตน์ เพราะว่าคุณลุงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่คนทั้งโลกรู้จักและยอมรับ
น่าดีใจแทนคนทั่งโลกจังเลยที่ว่ามีคนที่ฉลาด เก่ง มีความพยายาม มุ่งมานะ ในการศึกษาต่างๆ ทั้งยังเป็นอาจารย์อีกด้วย น่าชื่นชมจังเลย
น้องมีนจะขอให้คนที่มีความสามารถคนต่อๆไปยึดถือแบบอย่าง ลุงไอน์สไตน์ เป็นตัวอย่างที่ดี และมีนเองก็จะตั้งใจเรียน ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะที่ได้เปิดโอกาสให้น้องมีนมีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ ค่ะ...
โดย: เด็กหญิงณัฐรดา จิตยุติ IP: 117.47.52.251 วันที่: 24 มกราคม 2551 เวลา:11:50:44 น.
  
โดย: 2126639 IP: 203.172.201.4 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:14:38:11 น.
  
ขอบคุงค๊าบๆๆๆๆๆ ผมได้งานส่ง อาจารย์แว้วววววววววววว
โดย: แชมป์ อ่ะ IP: 61.7.166.46 วันที่: 21 มีนาคม 2551 เวลา:16:51:37 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Khajochi.BlogGang.com

mkhajorn
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด