23.15 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
23.14 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]

ความคิดเห็นที่ 6-169
ฐานาฐานะ, 31 ตุลาคม เวลา 00:14 น.

             คำถามในสุภสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=11249&Z=11547

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-170
GravityOfLove, 31 ตุลาคม เวลา 00:52 น.

             ตอบคำถามในสุภสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=11249&Z=11547

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. กล่าวกันว่า พระนครสาวัตถี ไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายเลย
             ๒. คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยินดีกุศลธรรม
เครื่องนำออกไปจากทุกข์ เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์ (เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ)
คือการปฏิบัติผิด
             คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ยินดีกุศลธรรม
เครื่องนำออกไปจากทุกข์ เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์คือการปฏิบัติชอบ
             ๓. การงานของฆราวาส และฝ่ายบรรพชา มีผลมากก็มี มีผลน้อยก็มี
             กล่าวคือ ถ้าการงานนั้นสมบูรณ์ดี ก็มีผลมาก ถ้าไม่สมบูรณ์ดี ก็มีผลน้อย
             ๔. ผู้ที่ถูกนิวรณ์ ๕, กามคุณ ๕ ครอบงำ เช่น พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตรเป็นต้น
ย่อมไม่รู้ไม่เห็น หรือย่อมไม่ทำให้แจ้งชัดซึ่งญาณทัสนะวิเศษของพระอริยะอย่างสามารถ
ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
             ๕. ปีติอันอาศัยเบญจกามคุณ เปรียบเหมือนไฟอาศัยหญ้าและไม้เป็นเชื้อติดอยู่
             ปีติที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม เปรียบเหมือนไฟไม่มีหญ้าและไม้เป็นเชื้อติดอยู่ได้
             ปีติที่เว้นจากกามเว้นจากอกุศลธรรม คือ ปิติที่เกิดจากปฐมฌานและทุติยฌาน
             ๖. ธรรม ๕ ประการที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศลนั้น
เป็นบริขารของจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีธรรม ๕ ประการ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม
ย่อมได้ความปราโมทย์ประกอบด้วยธรรม ความปราโมทย์อันประกอบด้วยกุศลนี้ เป็นบริขารของจิต
เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน
             ๗. ปฏิปทาเครื่องให้ถึงพรหมโลก
             ๘. สุภมาณพโตเทยยบุตรถึงไตรสรณคมน์
             ๙. พราหมณ์โปกขรสาติเป็นผู้มีรูปงาม เขาเกิดในดอกบัว จึงเป็นสังเสทชะกำเนิด
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โยนิ_4

             ๑๐. ปีติอันอาศัยกามคุณ เปรียบเหมือนไฟที่อาศัยหญ้าและไม้เป็นเชื้อติดโพลงอยู่
ย่อมเป็นไฟที่มีโทษ เพราะมีควันขี้เถ้าและถ่านฉันใด
             ปีติอันอาศัยกามคุณ ๕ เกิดขึ้นย่อมมีโทษ เพราะมีชาติ ชรา พยาธิ มรณะและโสกะเป็นต้นฉันนั้น
             ไฟชื่อว่าเป็นของบริสุทธิ์ เพราะไม่มีควันเป็นต้น ซึ่งปราศจากเชื้อ คือหญ้าและไม้ฉันใด
             ปีติอันประกอบด้วยโลกุตตรและฌานทั้งสอง ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะไม่มีชาติเป็นต้นฉันนั้น
             ๑๑. กรรมที่ทำประมาณได้ เรียกว่ากามาวจร
             กรรมที่ไม่มีประมาณ (กรรมที่เป็นมหัคคตะ ) คือกรรมในรูปาวจรหรืออรูปาวจร
(ในพระสูตรนี้คือ พรหมวิหาร)
             วิบากกรรมของกามาวจร ไม่ได้โอกาสให้ผลในรูปภพและอรูปภพ

ความคิดเห็นที่ 6-171
ฐานาฐานะ, 31 ตุลาคม เวลา 15:16 น.

GravityOfLove, 13 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในสุภสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=11249&Z=11547

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
...
12:52 AM 10/31/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             คำว่า บริขารของจิต เคยได้ศึกษาในพระสูตรมาบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-172
GravityOfLove, 31 ตุลาคม เวลา 19:53 น.

             คำว่า บริขารของจิต เคยได้ศึกษาในพระสูตรมาบ้าง?
             ตอบว่า สังคีติสูตร
             [๓๔๕] ทานวัตถุ ๘ อย่าง
             ๑. ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ ๑-
             ๒. ให้ทานเพราะกลัว
             ๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา
             ๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา
             ๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
             ๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่
จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้หุงต้ม ย่อมไม่สมควร
             ๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงาม ย่อมจะ
ระบือไป
             ๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015

             คุณฐานาฐานะกรุณาอธิบายอีกครั้งได้ไหมคะว่า ข้อ ๘ หมายความว่าอย่างไร
กำลังเข้ากับบรรยากาศฤดูกาลทอดกฐินเลย
             การทอดกฐิน เรียกว่า ทำบุญหรือทำทานคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-173
ฐานาฐานะ, 31 ตุลาคม เวลา 20:32 น.

GravityOfLove, 12 นาทีที่แล้ว
             คำว่า บริขารของจิต เคยได้ศึกษาในพระสูตรมาบ้าง?
             ตอบว่า สังคีติสูตร
...
7:53 PM 10/31/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             คุณฐานาฐานะกรุณาอธิบายอีกครั้งได้ไหมคะว่า ข้อ ๘ หมายความว่าอย่างไร?
กำลังเข้ากับบรรยากาศฤดูกาลทอดกฐินเลย
             อธิบายว่า
             ผู้ให้รู้ว่า เมื่อให้แล้ว จิตจะยินดีในการให้ทานนั้น ยินดีปลื้มใจว่า
เราได้ทำทาน เราทำสิ่งที่ไม่เบียดเบียน ไม่เป็นเวรภัยแก่ตนเองและผู้อื่น ฯลฯ
และรู้ว่า เมื่อจิตยินดีในกุศลอย่างนั้น ย่อมดำเนินไปในกรรมฐานไปได้ดี
และเขาก็ทำอย่างนั้น คือให้ทานนั้น และประกอบในกรรมฐานนั้น
อันเป็นเหตุให้บรรลุมรรคผลได้ เป็นอันว่า การให้ทานในข้อ 8 นี้
มีผลมาก มีอานิสงส์มากที่สุด เพราะให้ถึงมรรคผลได้เลย.

             ทานสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1340&Z=1436
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=49

             การทอดกฐิน เรียกว่า ทำบุญหรือทำทานคะ?
             คำว่า บุญ นั้นในบุญกิริยาวัตถุมี 10 ประการ
             การทำทาน ก็เป็นบุญกิริยาวัตถุ อย่างหนึ่ง
             การทอดกฐิน เป็นการทำทาน เพราะถวายปัจจัยได้แก่ผ้าแก่สงฆ์
ที่จำพรรษาครบ 3 เดือน เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็เข้าฤดูหนาว ผ้าที่ถวายนั้น
ย่อมสามารถกำจัดความหนาวอันมีในฤดูหนาว
             ทั้งทำให้พระภิกษุสงฆ์ได้อานิสงส์ 5 ประการต่อไปอีก 4 เดือน.
             การทอดกฐิน เป็นการส่งเสริมสังฆกรรมด้วย
             บุญอื่นๆ ในการทอดกฐิน ก็เป็นอันได้ทำด้วย เช่น
การช่วยเหลือในกิจที่ควร การกราบไหว้พระภิกษุ การไหว้ผู้ใหญ่ในตระกูล
การสมาทานศีล การได้ฟังธรรม ฯลฯ

             คำว่า บุญกิริยาวัตถุ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=บุญกิริยาวัตถุ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อานิสงส์+๕+ประการ&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=จำพรรษา

ความคิดเห็นที่ 6-174
GravityOfLove, 31 ตุลาคม เวลา 20:52 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-175
ฐานาฐานะ, 31 ตุลาคม เวลา 21:59 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สุภสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11249&Z=11547

              พระสูตรหลักถัดไป คือสคารวสูตร [พระสูตรที่ 50].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              สคารวสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11548&Z=11877
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=734

              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              เทวทหสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1&Z=511
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=1

              ปัญจัตตยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=512&Z=792
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=28

              กินติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=793&Z=939
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=42

              สามคามสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=940&Z=1184
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=51

              สุนักขัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=67

ความคิดเห็นที่ 6-176
GravityOfLove, 31 ตุลาคม เวลา 22:19 น.

             คำถามสคารวสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11548&Z=11877

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ข้อ [๗๓๗]
             ๒. ข้อ [๗๕๘]
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-177
ฐานาฐานะ, 5 พฤศจิกายน เวลา 23:56 น.

GravityOfLove, 31 ตุลาคม เวลา 22:19 น.
...
10:18 PM 10/31/2013

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. ข้อ [๗๓๗]
              อธิบายว่า ข้อนี้ต่อเนื่องมาจากปลายของที่แล้ว 736 ส่วนว่า
              ท่านพระโคดม มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้ถึงบารมีชั้นสุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน
ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้ถึงบารมี
ชั้นที่สุดเพราะยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ ท่านพระโคดมเป็นคนไหน
ของจำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้น?

              อธิบายว่า ประกอบด้วยความเห็นส่วนตัวว่า
              สมณพราหมณ์ที่ปฏิญาณตนว่า ถึงที่สุดแล้วในลัทธิของตน
ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น ความมี 2 นัยคือ
              1. กล่าวว่า ความประพฤติแบบเขา เป็นเบื้องต้นของการถึงที่สุดอย่างที่เขาได้ถึงแล้ว
              2. สามารถกล่าวแสดงความประพฤติที่จะให้ถึงอย่างที่เขาได้ถึงแล้ว คือสอนได้.

              คำว่า ท่านพระโคดมเป็นคนไหนของจำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้น?
              เป็นคำถามกว้างๆ ว่า พระผู้มีพระภาคทรงเป็นจำพวกใด?

              [๗๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภารทวาชะ เรากล่าวความต่างกันแห่งสมณพราหมณ์
ทั้งหลายผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะยิ่งในปัจจุบัน แม้จะปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ได้ ดูกรภารทวาชะ
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้พึงฟังตามกันมา เพราะการฟังตามกันมานั้น จึงเป็นผู้ถึงบารมี
ชั้นที่สุดเพราะยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ เหมือนพวกพราหมณ์ผู้ทรงไตรวิชา
ฉะนั้น. อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะผู้ยิ่งในปัจจุบัน ปฏิญาณอาทิ-
*พรหมจรรย์ เพราะเพียงแต่ความเชื่ออย่างเดียว เหมือนพวกพราหมณ์นักตรึกนักตรองฉะนั้น.
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่ได้ฟังตามกันมา
ก่อน ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ ดูกรภารทวาชะ
ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่ได้ฟังตามกันมาในก่อนถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์
เราเป็นผู้หนึ่งของจำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนี้พึงรู้ได้โดยบรรยายแม้นี้. เหมือน
สมณพราหมณ์เหล่าใด รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่ได้ฟังตามกันมาใน
ก่อน ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ เราเป็นหนึ่งของ
จำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้นฉะนั้น.
              อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงแยกแยะออกเป็น 3 จำพวก คือ
              1. พวกฟังๆ กันมา เช่น ศึกษาจากอาจารย์มาเป็นต้น
              2. พวกที่ใช้ความเชื่อ กล่าวคือ เชื่อว่าตนคิดได้ถูกต้อง  
น้อมใจเชื่อว่า เขาคิดได้ถูกต้องแล้ว
              3. พวกที่รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน กล่าวคือ ปัญญา.
พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า เราเป็นผู้หนึ่งของจำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้น
คือ จำพวกที่ 3.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๒. ข้อ [๗๕๘]
              [๗๕๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สคารวมาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ความเพียรอันไม่หยุดหย่อนได้มีแล้วแก่ท่านพระโคดมหนอ ความเพียรของสัตบุรุษได้มีแล้ว
แก่ท่านพระโคดมหนอ สมควรเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าแต่ท่านพระโคดม เทวดา
มีหรือหนอแล? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภารทวาชะ ก็ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้โดยฐานะ.
              ส. ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า เทวดามีหรือหนอ ดังนี้ ตรัส
ตอบว่า ดูกรภารทวาชะ ก็ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้โดยฐานะ ดังนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้อยคำของ
พระองค์เป็นถ้อยคำเปล่า เป็นมุสามิใช่หรือ?
              พ. ดูกรภารทวาชะ ผู้ใดเมื่อถูกถามว่า เทวดามีอยู่หรือ พึงกล่าวว่าข้อที่ว่า เทวดามีอยู่
เป็นอันรู้กันได้โดยฐานะ ก็เท่ากับกล่าวว่า เรารู้จักเทวดา เมื่อเป็นเช่นนั้น วิญญูชนพึงถึง
ความตกลงในเรื่องนี้ว่า เทวดามีอยู่ดังนี้ ได้โดยส่วนเดียวแท้.
              ส. ก็ทำไม ท่านพระโคดมจึงไม่ทรงพยากรณ์แก่ข้าพเจ้าเสียด้วยคำแรกเล่า?
              พ. ดูกรภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีอยู่ดังนี้นั้น เขาสมมติกันในโลกด้วยศัพท์อันสูง.

              อธิบายว่า คำว่า เทพ เป็นคำที่มีความหมายนัยมาก
              เช่น สมมติเทพ, อุปปัตติเทพ, วิสุทธิเทพ ดังนั้น การตรัสตอบอย่างนั้น
เป็นอันตรัสตอบนัยว่า ไม่ว่าเทพที่มาณพถามถึงจะมีความหมายอย่างใด
ก็ทรงรู้ว่ามีในความหมายนั้นๆ.
              คำว่า เทพ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เทพ

ความคิดเห็นที่ 6-178
GravityOfLove, 6 พฤศจิกายน เวลา 16:04 น.

             ข้อ [๗๕๘] ยังงงๆ อยู่ค่ะ
             คือพระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เรารู้จักเทวดา แต่ถ้าตอบ (ง่ายๆ ไป) ว่า รู้
วิญญูชนจะตกลงใจว่า เทวดามีอยู่โดยส่วนเดียว (เพราะความจริงเทวดามีหลายส่วน)
             เขาทูลถามว่า ทำไมพระองค์ไม่ตอบอย่างนี้แต่ทีแรกเล่า
             ตรัสตอบว่า เป็นศัพท์สูง (ดังนั้นท่านไม่น่าจะเข้าใจแต่ทีแรกอย่างง่ายดายหรอก)

             เข้าใจอย่างนี้ พอได้ไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 6-179
ฐานาฐานะ, 6 พฤศจิกายน เวลา 16:58 น.

GravityOfLove, 43 นาทีที่แล้ว
...
4:04 PM 11/6/2013

              พ. ดูกรภารทวาชะ ผู้ใดเมื่อถูกถามว่า เทวดามีอยู่หรือ พึงกล่าวว่าข้อที่ว่า เทวดามีอยู่
เป็นอันรู้กันได้โดยฐานะ ก็เท่ากับกล่าวว่า เรารู้จักเทวดา เมื่อเป็นเช่นนั้น วิญญูชนพึงถึง
ความตกลงในเรื่องนี้ว่า เทวดามีอยู่ดังนี้ ได้โดยส่วนเดียวแท้.
              ส. ก็ทำไม ท่านพระโคดมจึงไม่ทรงพยากรณ์แก่ข้าพเจ้าเสียด้วยคำแรกเล่า?
              พ. ดูกรภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีอยู่ดังนี้นั้น เขาสมมติกันในโลกด้วยศัพท์อันสูง.
--------------------------------------
              เรารู้จักเทวดา เมื่อเป็นเช่นนั้น วิญญูชนพึงถึงความตกลงในเรื่องนี้ว่า
เทวดามีอยู่ดังนี้ ได้โดยส่วนเดียวแท้.
              นัยว่า
              เรารู้จักเทวดา เมื่อเป็นเช่นนั้น วิญญูชนพึงถึงความตกลงในเรื่องนี้ว่า
เทวดามีอยู่แน่นอน.

              ส. ก็ทำไม ท่านพระโคดมจึงไม่ทรงพยากรณ์แก่ข้าพเจ้าเสียด้วยคำแรกเล่า?
              พ. ดูกรภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีอยู่ดังนี้นั้น เขาสมมติกันในโลกด้วยศัพท์อันสูง.
              นัยว่า น่าจะเป็นดังนี้ว่า
              คำว่า เทวดา เป็นศัพท์สูง น่าจะมีความหมายว่า มีความหมายมากมาย
หากตอบไปว่า มีอยู่ ดังนี้แล้ว บางคนอาจคิดไปเองว่า สมมติเทพเท่านั้น
การตอบอย่างนี้ ครอบคลุมทั้งหมด.

ความคิดเห็นที่ 6-180
GravityOfLove, 6 พฤศจิกายน เวลา 17:47 น.

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เรารู้จักเทวดา ถ้าเราตอบเช่นนี้ วิญญูชนพึงถึงความตกลงในเรื่องนี้ว่า
เทวดามีอยู่แน่นอน แต่จะเข้าใจว่ามีโดยความหมายเดียว (เพราะความจริงเทวดามีหลายความหมาย)
             เขาทูลถามว่า ทำไมพระองค์ไม่ตอบอย่างนี้แต่ทีแรกเล่า
             ตรัสตอบว่า เพราะคำว่าเทวดาเป็นศัพท์สูง (มีหลายความหมาย)

             อย่างนี้ไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 6-181
ฐานาฐานะ, 6 พฤศจิกายน เวลา 18:14 น.

              พ. ดูกรภารทวาชะ ผู้ใดเมื่อถูกถามว่า เทวดามีอยู่หรือ พึงกล่าวว่าข้อที่ว่า เทวดามีอยู่
เป็นอันรู้กันได้โดยฐานะ ก็เท่ากับกล่าวว่า เรารู้จักเทวดา เมื่อเป็นเช่นนั้น วิญญูชนพึงถึง
ความตกลงในเรื่องนี้ว่า เทวดามีอยู่ดังนี้ ได้โดยส่วนเดียวแท้.

              ตอบว่า อยู่ที่ว่า คำว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น คืออะไร?
              1. ผมแปลว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น คือ เมื่อตอบอย่างนั้น (อย่างยาก)
              2. คุณ GravityOfLove อาจแปลว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น คือ เมื่อตอบอย่างนั้น (อย่างง่าย)

              คำว่า ได้โดยส่วนเดียวแท้ คืออะไร?
              1. ผมแปลว่า โดยแน่นอนไม่ลังเล
              2. คุณ GravityOfLove อาจแปลว่า โดยความหมายเดียว.

ย้ายไปที



Create Date : 16 ธันวาคม 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 20:44:13 น.
Counter : 526 Pageviews.

0 comments
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 34 : กะว่าก๋า
(12 เม.ย. 2567 05:52:40 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 33 : กะว่าก๋า
(11 เม.ย. 2567 05:15:42 น.)
สมบัติรูป สมบัตินามที่ถูกรูป ปัญญา Dh
(10 เม.ย. 2567 18:24:46 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด