23.12 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
23.11 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]

ความคิดเห็นที่ 6-137
ฐานาฐานะ, 17 ตุลาคม เวลา 03:23 น.

GravityOfLove, 6 ชั่วโมงที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
              ๔๖. เอสุการีสูตร เรื่องเอสุการีพราหมณ์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10535&Z=10724&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
8:54 PM 10/16/2013

              ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงดังนี้ :-
              ๑. บัญญัติการบำเรอพราหมณ์ คือ
พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ หรือศูทรพึงบำเรอพราหมณ์
              ๒. บัญญัติการบำเรอกษัตริย์ คือ
กษัตริย์ แพศย์ หรือศูทรพึงบำเรอกษัตริย์
              ๓. บัญญัติการบำเรอแพศย์ คือ
แพศย์ หรือศูทรพึงบำเรอแพศย์
              ๔. บัญญัติการบำเรอศูทร คือ
ศูทรเท่านั้นพึงบำเรอศูทรด้วยกัน
ควรแก้ไขเป็น
              ๑. บัญญัติการบำเรอพราหมณ์ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ หรือศูทรพึงบำเรอพราหมณ์
              ๒. บัญญัติการบำเรอกษัตริย์ คือ กษัตริย์ แพศย์ หรือศูทรพึงบำเรอกษัตริย์
              ๓. บัญญัติการบำเรอแพศย์ คือ แพศย์ หรือศูทรพึงบำเรอแพศย์
              ๔. บัญญัติการบำเรอศูทร คือ ศูทรเท่านั้นพึงบำเรอศูทรด้วยกัน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              เราย่อมไม่กล่าวว่า
              พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ไม่พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง
ควรแก้ไขเป็น
              เราย่อมไม่กล่าวว่า พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ไม่พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง
หรือ
              เราย่อมไม่กล่าวว่า พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง
              แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ไม่พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง

ความคิดเห็นที่ 6-138
ฐานาฐานะ, 17 ตุลาคม เวลา 03:24 น.

             คำถามในเอสุการีสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10535&Z=10724

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-139
GravityOfLove, 17 ตุลาคม เวลา 07:22 น.

             ตอบคำถามในเอสุการีสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10535&Z=10724

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ถ้าบำเรอแล้ว มีแต่ความชั่ว ไม่มีความดี สิ่งนั้นไม่ควรบำเรอ
             ถ้าบำเรอแล้ว มีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว สิ่งนั้นควรบำเรอ
             ๒. คนประเสริฐหรือเลวทราม ไม่ใช่เพราะเกิดในสกุลสูง หรือเพราะมีวรรณะอันยิ่ง
หรือเพราะมีโภคะมาก
             ๓. ถ้าบุคคลบำเรอสิ่งใดอยู่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาย่อมเจริญ
สิ่งนั้นควรบำเรอ
             ๔. พระพุทธองค์ย่อมบัญญัติโลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะว่า
เป็นทรัพย์อันมีอยู่ของบุรุษ

ความคิดเห็นที่ 6-140
ฐานาฐานะ, 17 ตุลาคม เวลา 16:02 น.

GravityOfLove, 8 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในเอสุการีสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10535&Z=10724
...
7:22 AM 10/17/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             อีกประการหนึ่งที่ได้จากพระสูตร ก็คือ
             สภาพสังคมทั่วไป ความเชื่อของพราหมณ์ในขณะนั้น.

ความคิดเห็นที่ 6-141
ฐานาฐานะ, 17 ตุลาคม เวลา 16:04 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า เอสุการีสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10535&Z=10724

              พระสูตรหลักถัดไป คือธนัญชานิสูตร [พระสูตรที่ 47].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              ธนัญชานิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10725&Z=11069
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=672

              วาเสฏฐสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11070&Z=11248
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=704

              สุภสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11249&Z=11547
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=709

              สคารวสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11548&Z=11877
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=734

ความคิดเห็นที่ 6-142
GravityOfLove, 17 ตุลาคม เวลา 19:59 น.

             คำถามธนัญชานิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10725&Z=11069

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้ประดิษฐานธนัญชานิพราหมณ์ไว้ในพรหมโลก
ชั้นต่ำ ในเมื่อยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-143
ฐานาฐานะ, 17 ตุลาคม เวลา 20:15 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
              คำถามธนัญชานิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10725&Z=11069

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้ประดิษฐานธนัญชานิพราหมณ์ไว้ในพรหมโลก
ชั้นต่ำ ในเมื่อยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป
              ขอบพระคุณค่ะ
7:59 PM 10/17/2013

              อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              พระธรรมเทศนาอันแสดงอริยสัจ 4 ที่พึงแสดงเพื่อให้ผู้สดับได้โอกาส
บรรลุมรรคผล เป็นสิ่งที่พึงแสดงให้ยิ่งๆ ขึ้นไปกว่าปฏิปทาอันให้อุบัติในพรหมโลก.

ความคิดเห็นที่ 6-144
GravityOfLove, 17 ตุลาคม เวลา 21:21 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-145
GravityOfLove, 17 ตุลาคม เวลา 21:34 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
             ๔๗. ธนัญชานิสูตร เรื่องธนัญชานิพราหมณ์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10725&Z=11069&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน
เขตพระนครราชคฤห์
             สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเที่ยวจาริกไปในทักขิณาคีรีชนบท พร้อมด้วย
ภิกษุหมู่ใหญ่
             ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาอยู่ในพระนครราชคฤห์ ได้เข้าไปหาท่านพระ
สารีบุตรถึงทักขิณาคีรีชนบท
             ท่านพระสารีบุตรได้ถามภิกษุนั้นว่า พระผู้มีพระภาคสบายดีหรือไม่
             ภิกษุนั้นกราบเรียนว่า พระองค์ท่านสบายดี
             ท่านพระสารีบุตรก็ถามถึงภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย แล้วถามถึงธนัญชานิพราหมณ์ว่า
สบายดีอยู่หรือ ยังเป็นผู้ไม่ประมาทหรือ
             ภิกษุนั้นตอบว่า
             ที่ไหนได้ ธนัญชานิพราหมณ์ของเราจะไม่ประมาท เขาอาศัยพระราชาเที่ยว
ปล้นพวกพราหมณ์และคฤหบดี อาศัยพวกพราหมณ์และคฤหบดีปล้นพระราชา
             ภรรยาของเขาผู้มีศรัทธา ซึ่งนำมาจากสกุลที่มีศรัทธา ทำกาละเสียแล้ว
เขาได้หญิงอื่นมาเป็นภรรยาหา ศรัทธามิได้ เขานำมาจากสกุลที่ไม่มีศรัทธา
             ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า
             ได้ฟังว่าธนัญชานิพราหมณ์เป็นผู้ประมาท เป็นอันได้ฟังชั่วหนอ
             ทำไฉน จะได้พบกับธนัญชานิพราหมณ์สักครั้ง
             ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ในทักขิณาคิรีชนบทตามควรแล้ว จึงหลีกจาริกไป
ทางพระนครราชคฤห์ เที่ยวจาริกไปโดยลำดับ จนถึงพระนครราชคฤห์
             เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ ภายหลังภัต
กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปหาธนัญชานิพราหมณ์ถึงที่อยู่
             ท่านพระสารีบุตรถามว่า ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทหรือ?
             ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า
             ที่ไหนข้าพเจ้าจะไม่ประมาท เพราะข้าพเจ้าต้องเลี้ยงมารดาบิดา เป็นต้น
ต้องทำกิจสำหรับมิตรและอำมาตย์ แก่มิตรและอำมาตย์ เป็นต้น แม้กายนี้ก็ต้องให้
อิ่มหนำต้องให้เจริญ
             ท่านพระสารีบุตรถามว่า
             บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม
เพราะเหตุแห่งบิดามารดา บุตรและภรรยา ทาสกรรมกรและคนรับใช้ มิตรและอำมาตย์
ญาติสาโลหิต แขก ปุพเปตชน เทวดา พระราชา การเลี้ยงกาย
นายนิริยบาลพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก
             เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม
เพราะเหตุแห่งมารดาบิดาเป็นต้น ขอนายนิริยบาลอย่างพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย
             หรือมารดาบิดาของผู้นั้นเป็นต้น จะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้เป็นผู้ประพฤติ
ไม่ชอบธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลายเป็นต้น ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?
             ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า
             ไม่ใช่เช่นนั้น ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาลก็พึงโยนลงใน
นรกจนได้
             ท่านพระสารีบุตรถามต่อไปว่า
             บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดาเป็นต้น กับบุคคลผู้ประพฤติ
ชอบธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดาเป็นต้น ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?
             (ประพฤติไม่ชอบธรรม ในที่นี้หมายถึงไม่มีศีล ๕ หรือศีล ๑๐
ประพฤติชอบธรรม ในที่นี้หมายถึงการไถนาค้าขายเป็นต้น ที่ชอบธรรม)
             ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า
             ผู้ที่ประพฤติไม่ชอบธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดาเป็นต้น ไม่ประเสริฐ
             ส่วนผู้ประพฤติชอบธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดาเป็นต้น ประเสริฐ
             เพราะว่าการประพฤติชอบธรรมประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรม
             ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า
             การงานอย่างอื่นที่ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจเลี้ยงมารดาบิดา
เป็นต้น โดยไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่
             ธนัญชานิพราหมณ์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรแล้วลุกจากไป
             ต่อมา ธนัญชานิพราหมณ์เป็นไข้หนัก จึงให้บุรุษคนหนึ่งไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาค และนิมนต์ท่านพระสารีบุตรมา ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
             ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเยี่ยมธนัญชานิพราหมณ์แล้วถามถึงอาการ
             ธนัญชานิพราหมณ์กราบเรียนว่า
             ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก
เจริญขึ้นไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวียิ่งขึ้น ไม่ลดถอย

ว่าด้วยทุคติ-สุคติภูมิ
             ท่านพระสารีบุตรถามว่า นรกกับกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไหนจะดีกว่ากัน?
             ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานดีกว่า
             ท่านพระสารีบุตรถาม ธนัญชานิพราหมณ์ตอบ มีใจความดังนี้
             ปิตติวิสัยดีกว่ากำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
             มนุษย์ดีกว่าปิตติวิสัย
             เทวดาชั้นจาตุมมหาราชดีกว่ามนุษย์
             เทวดาชั้นดาวดึงส์ดีกว่าเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
             เทวดาชั้นยามาดีกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์
             เทวดาชั้นดุสิตดีกว่าเทวดาชั้นยามา
             เทวดาชั้นนิมมานรดีดีกว่าเทวดาชั้นดุสิต
             เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีดีกว่าเทวดาชั้นนิมมานรดี
             ท่านพระสารีบุตรถามว่า เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีกับพรหมโลก ไหนจะดีกว่ากัน?
             ธนัญชานิพราหมณ์ถามว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า พรหมโลกหรือ?
             ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรดำริว่า พราหมณ์เหล่านี้น้อมใจไปในพรหมโลก ถ้ากระไร
เราพึงแสดงทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหมแก่ธนัญชานิพราหมณ์เถิด แล้วจึงกล่าวว่า
             ดูกรธนัญชานิ เราจักแสดงทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหม ท่านจงตั้งใจฟัง
             ทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหมคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วย
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปทุกทิศ แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า
             ธนัญชานิพราหมณ์กล่าวว่า
             ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า
ตามคำของข้าพเจ้าว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก
เขาถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า
             ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้ประดิษฐานธนัญชานิพราหมณ์ไว้ในพรหมโลก
ชั้นต่ำ ในเมื่อยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พรหมวิหาร_4

             เมื่อท่านพระสารีบุตรหลีกไปไม่นาน ธนัญชานิพราหมณ์ทำกาละแล้วไปบังเกิด
ยังพรหมโลก
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า
             สารีบุตรนี้ได้ประดิษฐานธนัญชานิพราหมณ์ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ำ
ในเมื่อยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป
             ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลตามคำที่
ธนัญชานิพราหม์ขอร้องมา
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ดูกรสารีบุตร ทำไมเธอจึงประดิษฐานธนัญชานิพราหมณ์ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ำ
ในเมื่อมีกิจอันจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปได้ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไปเล่า?
             ท่านพระสารีบุตรทูลว่า
             ข้าพระองค์มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า พราหมณ์เหล่านี้น้อมใจไปในพรหมโลก
ถ้ากระไร เราพึงแสดงทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหมแก่ธนัญชานิพราหมณ์เถิด ดังนี้
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ธนัญชานิพราหมณ์ทำกาละไปบังเกิดในพรหมโลกแล้ว
             (ตรัสเพราะทรงมีพระประสงค์ว่า เธอจงไป ณ ที่นั้นแล้วแสดงธรรมแก่พราหมณ์นั้น)

[แก้ไขตาม #6-146]

ความคิดเห็นที่ 6-146
ฐานาฐานะ, 18 ตุลาคม เวลา 20:00 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
             ๔๗. ธนัญชานิสูตร เรื่องธนัญชานิพราหมณ์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10725&Z=11069&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
9:33 PM 10/17/2013
             ย่อความได้ดีครับ
             การใช้คำว่า เพราะเหตุแห่งบิดามารดาเป็นต้น เพื่อละเหตุอื่นๆ โดยนัยเดียวกัน
ควรให้แน่ใจว่า เหตุอื่นๆ ได้เคยกล่าวไว้ครบถ้วนในย่อความแล้ว.

พระผู้มีพระภาค และนิมนต์ท่านพระสารีบุตรมา ท่านพระสารีบึตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
             แก้ไขเป็น
พระผู้มีพระภาค และนิมนต์ท่านพระสารีบุตรมา ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

             ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า
แก้ไขเป็น
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

ความคิดเห็นที่ 6-147
ฐานาฐานะ, 18 ตุลาคม เวลา 20:04 น.

             คำถามในธนัญชานิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10725&Z=11069

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. ขอให้แจกแจงข้อดีและข้อเสียของธนัญชานิพราหมณ์
ทั้งก่อนและหลังได้ฟังธรรมจากท่านพระสารีบุตร.

ความคิดเห็นที่ 6-148
GravityOfLove, 19 ตุลาคม เวลา 07:46 น.

             ตอบคำถามในธนัญชานิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10725&Z=11069

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ทำชั่วเพื่อมารดาบิดาเป็นต้น นรกก็ไม่ยกเว้น
             ๒. มีวิธีอื่นที่ทำเพื่อมารดาบิดาเป็นต้น โดยไม่ต้องทำชั่ว
             ๓. ธนัญชานิพราหมณ์ก่อนตายได้เจริญพรหมวิหารตามคำแนะนำของ
ท่านพระสารีบุตร เมื่อตายไปได้บังเกิดในพรหมโลกชั้นต่ำ
             พระผู้มีพระภาคตรัสให้ท่านพระสารีบุตรไปแสดงธรรมที่พรหมโลกนั้น เพราะกิจ ...
             ๔. ประตูตัณฑุลปาลิในที่นี้หมายถึงประตูเล็กประตูหนึ่ง เพราะกรุงราชคฤห์
มีประตูใหญ่ ๓๒ ประตูประตูเล็ก ๖๔ ประตู
--------------------------------
             2. ขอให้แจกแจงข้อดีและข้อเสียของธนัญชานิพราหมณ์
ทั้งก่อนและหลังได้ฟังธรรมจากท่านพระสารีบุตร.
ข้อเสียก่อนฟังธรรม
             ๑. เบียดเบียนคนอื่นโดยอ้างว่าทำเพื่อมารดาบิดา เป็นต้น
             ๒. เมื่อภรรยาตายแล้วได้ภรรยาใหม่ ซึ่งเป็นคนไม่มีศรัทธา
ข้อดีก่อนฟังธรรม
             ๑. ได้ภรรยา (ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว) ที่มีศรัทธา
             ๒. เมื่อเห็นท่านสารีบุตร ก็นิมนต์ดื่มน้ำนมสด
ข้อเสียหลังฟังธรรม
             ๑. แม้จะชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตร แต่ก็ไม่ได้
ทำความเคารพ จากไปเลย
ข้อดีหลังฟังธรรม
             ๑. ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตร
             ๒. เมื่อป่วยหนักให้คนไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค และนิมนต์ท่านพระสารีบุตร
             ๓. ก่อนตายเจริญพรหมวิหารตามที่ท่านพระสารีบุตรแนะนำ
เมื่อตายไป ได้บังเกิดในพรหมโลก

ความคิดเห็นที่ 6-149
ฐานาฐานะ, 19 ตุลาคม เวลา 21:58 น.

GravityOfLove, 14 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในธนัญชานิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10725&Z=11069
...
7:45 AM 10/19/2013
             ตอบคำถามได้ดีครับ
             เพิ่มเติมเล็กน้อยว่า
             ๒. เมื่อเห็นท่านสารีบุตร ก็นิมนต์ดื่มน้ำนมสด
             ประโยคว่า
             ธนัญชานิพราหมณ์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรกำลังมาแต่ไกล
จึงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร แล้วได้กล่าวว่า นิมนต์ดื่มน้ำนมสดทางนี้เถิด
ท่านสารีบุตร ท่านยังมีเวลาฉันอาหาร.
             นิมนต์ดื่มน้ำนมสด แสดงว่า คือยินดีในการให้
             ท่านยังมีเวลาฉันอาหาร แสดงว่า รู้พระวินัยอยู่บ้าง หรืออีกอย่างคือ รู้จักกาล.

ความคิดเห็นที่ 6-150
GravityOfLove, 19 ตุลาคม เวลา 22:32 น.

จริงด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที



Create Date : 16 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 12:55:24 น.
Counter : 464 Pageviews.

0 comments
:: คิลานะ :: กะว่าก๋า
(15 ก.ค. 2567 22:00:43 น.)
ธรรมะวันนี้ ๑๓ ก.ค. ๒๕๖๗ **mp5**
(13 ก.ค. 2567 07:24:15 น.)
: ธรรมTrip 2 รวมมิตรรวมใจ : กะว่าก๋า
(11 ก.ค. 2567 05:47:59 น.)
:: คำถามโง่ๆของคนที่คิดว่าตนฉลาด :: กะว่าก๋า
(10 ก.ค. 2567 05:11:48 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด