21.6 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
21.5 พระสูตรหลักถัดไป คือลฑุกิโกปมสูตร [พระสูตรที่ 16]

ความคิดเห็นที่ 8-51
ฐานาฐานะ, 23 สิงหาคม เวลา 20:07 น.

             พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ
             บท ๔
             [๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทสี่อันยืนยันได้ที่เรายกขึ้นแสดงแล้ว อันวิญญูบุรุษ
จะพึงรู้เนื้อความได้ด้วยปัญญาไม่นานเลย มีอยู่ เราจักแสดงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักรู้
ทั่วถึงเนื้อความแห่งบทสี่อันยืนยันได้ ที่เรายกขึ้นแสดงแล้วนั้น.
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกไหนเป็นข้าพระองค์ทั้งหลาย และพวกไหนจะเป็นผู้รู้ทั่วถึง
ธรรมได้?
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่เป็นอามิส
ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติเหมือนดังของตลาด ซึ่งมีราคาขึ้นๆ ลงๆ
เห็นปานนี้ว่า ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำเหตุนั้น ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ไม่พึงมีแก่เรา
เราไม่พึงทำเหตุนั้น ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่า ตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการ
ทั้งปวงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของ
พระศาสดาแล้วประพฤติด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา เราเป็นสาวก พระผู้มี-
*พระภาคย่อมทรงรู้ เราไม่รู้. ...
//84000.org/tipitaka/read/?13/239

             พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ
             {๒๓๙}[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย คำอธิบายสัจจะ ๔ ประการมีอยู่ เมื่อยกคำอธิบาย
ดังกล่าวขึ้นมาแสดง วิญญูชนพึงเข้าใจเนื้อความได้ด้วยปัญญาในไม่ช้า เราจักแสดง
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักเข้าใจถึงเนื้อความได้”
             ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นคน
เช่นไร  และผู้เข้าใจถึงธรรมได้ เป็นคนเช่นไร”
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับแต่
อามิสอยู่ ข้องอยู่ด้วยอามิส  แม้ศาสดานั้นก็ยังไม่ต่อรองเลยว่า  ‘เมื่อสิ่งเช่นนี้พึง
มีแก่เรา  เราพึงทำสิ่งนั้น เมื่อสิ่งเช่นนี้ไม่พึงมีแก่เรา  เราก็ไม่พึงทำสิ่งนั้น’ ตถาคต
ไม่ข้องอยู่ด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงจะสมควรกับการต่อรองหรือ  สาวกผู้มีศรัทธา
ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา  ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดา
เราเป็นสาวก   พระผู้มีพระภาคทรงรู้  เราไม่รู้’

ความคิดเห็นที่ 8-52
ฐานาฐานะ, 23 สิงหาคม เวลา 20:08 น.

             คำถามในกีฏาคิริสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3981&Z=4234

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 8-53
GravityOfLove, 23 สิงหาคม เวลา 20:49 น.

ขอบพระคุณค่ะ

             ตอบคำถามในกีฏาคิริสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3981&Z=4234

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. คุณของการฉันอาหารมื้อเดียว คือ
             ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกําลัง และอยู่สําราญ
             ๒. ฉันอาหารมื้อเดียว หมายถึงการฉันอาหารในเวลาเช้า
คือตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลาเที่ยงวัน
             แม้ภิกษุฉันอาหาร ๑๐ ครั้ง ในช่วงเวลานี้ก็ชื่อว่า ฉันอาหารมื้อเดียว
             ๓. ทรงแสดงถึงเวทนาที่ควรเสพและไม่ควรเสพ
             ๔. บุคคลมีอยู่ ๗ จำพวกเหล่านี้
             บุคคลที่ไม่มีกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทมี ๒ จำพวก คือ
อุภโตภาควิมุตบุคคลและปัญญาวิมุต (เพราะท่านเป็นพระอรหันต์)
              บุคคลผู้ที่มีกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทมี ๕ จำพวก
คือบุคคลนอกนั้น ๕ จำพวก
             ๕. ในบรรดาภิกษุฉัพพัคคีย์ ๖ รูป พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเป็นคณาจารย์
             ชนทั้ง ๖ เหล่านี้ คือ ปัณฑุกะ  โลหิตกะ  เมตติยะ ภุมมชกะ อัสสชิ ปุนัพพสุกะ
             พระอัสสชิในพระสูตรนี้คือข้อ 2
             1. พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นพระเถระรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์
              เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก และเป็นอาจารย์ของพระสารีบุตร
             2. ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุ ๖ รูป ซึ่งประพฤติเหลวไหลที่เรียกว่า พระฉัพพัคคีย์ คู่กับพระปุนัพพสุกะ << พระสูตรนี้
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ฉัพพัคคีย์&detail=on

             ๖. ในฉัพพัคคีย์เหล่านั้น พระปัณฑุกะและพระโลหิตกะพาบริวารของตนไปอยู่ ณ กรุงสาวัตถี
             พระเมตติยะ พระภุมมชกะไปอยู่ ณ กรุงราชคฤห์
             พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในกีฏาคิรีนิคม
             ๗. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงให้ภิกษุละการฉันอาหารในเวลาวิกาลทั้งสองนี้พร้อมกัน
เพราะกุลบุตรที่ยังไม่เคยชินกับการละอาหารในเวลาวิกาลทั้งสองพร้อมกัน จะลำบาก
             ทรงให้ละการฉันอาหารนั้นคนละคราว คือ
             ให้ละอาหารในเวลาวิกาลในเวลากลางวันคราวหนึ่ง
และให้ละอาหารในเวลาวิกาลในเวลากลางคืนคราวหนึ่ง
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263
             ๘. กกจูปมสูตร - ทรงให้ละอาหารในเวลาวิกาลกลางวัน
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263

             กีฏาคิริสูตร - ทรงให้ละอาหารในเวลาวิกาลกลางคืน
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222&bgc=seashell

             ภัททาลิสูตร - ทรงให้ละอาหารในเวลาวิกาลกลางวัน

ความคิดเห็นที่ 8-54
ฐานาฐานะ, 23 สิงหาคม เวลา 21:04 น.

GravityOfLove, 10 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในกีฏาคิริสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3981&Z=4234
...
8:48 PM 8/23/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             คำถามเบาๆ ว่า
             ก่อนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงให้ละการฉันอาหารในเวลาวิกาล
             ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์บริโภคอาหารในเวลาวิกาลหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 8-55
GravityOfLove, 23 สิงหาคม เวลา 21:17 น.

พระภิกษุไม่ว่าจะเป็นพระอรหันต์หรือไม่ก็ตาม
ย่อมทำตามพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ
ถ้าพระองค์ไม่ทรงห้าม ก็น่าจะฉันได้หากต้องการค่ะ

แต่ถ้าพระองค์ตรัสสอนแล้วว่า การฉันก่อนวิกาลครั้งเดียว
มีอานิสงส์ ๕ ประการดังกล่าว
โดยที่ยังไม่ทรงบัญญัติเป็นพระวินัย
คิดว่าพระอรหันต์จะทำตามพระดำรัสแนะนำค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-56
ฐานาฐานะ, 23 สิงหาคม เวลา 21:33 น.

             คำเฉลยว่า พระอรหันต์ไม่บริโภคอาหารในเวลาวิกาลตลอดชีวิต.

             อุโปสถสูตร [บางส่วน]
             พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี
งดจากการฉันในเวลาวิกาลจนตลอดชีวิต
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=20&A=5421&w=งดจากการฉันในเวลาวิกาลจนตลอดชีวิต

ความคิดเห็นที่ 8-57
ฐานาฐานะ, 23 สิงหาคม เวลา 21:36 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า กีฏาคิริสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3981&Z=4234

              พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬวัจฉโคตตสูตร [พระสูตรที่ 21].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
              จูฬวัจฉโคตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4235&Z=4315
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=240

              อัคคิวัจฉโคตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4316&Z=4440
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=244

              มหาวัจฉโคตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4441&Z=4660
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=253

              ทีฆนขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4661&Z=4768
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269

              มาคัณฑิยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4769&Z=5061
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=276

ความคิดเห็นที่ 8-58
GravityOfLove, 23 สิงหาคม เวลา 21:53 น.

เหตุผลเพราะดำรงอยู่ในศีลใช่ไหมคะ (ศีล ๘ ข้อที่ ๖)
พระอรหันต์และพระอริยบุคคลมีศีลบริสุทธิ์ใช่ไหมคะ

ศีลและพระวินัย คนละอย่างกันใช่ไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 8-59
ฐานาฐานะ, 23 สิงหาคม เวลา 22:12 น.

พระอรหันต์และพระอริยบุคคลมีศีลบริสุทธิ์ใช่ไหมคะ
              ถูกต้องครับ.
              น่าจะเป็นเพราะว่า
              พระอรหันต์บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง
ดังนั้น ศีลบางอย่างที่บัญญัติไว้ หรือยังไม่บัญญัติไว้
ท่านก็รักษาตามธรรมดาของท่านเอง โดยไม่ต้องสมาทานเลย.

              อย่างนางวิสาขาบรรลุโสดาบัน ก็มีศีล 5 บริสุทธิ์
แต่ก็ยังครองเรือน กล่าวคือ ยังมีการเสพกามอยู่ แต่ห่างไกลจาก
กาเมสุมิจฉาจาร.
              บางคราว นางวิสาขาก็สมาทานอุโบสถศีล
เมื่อนั้น ก็รักษาศีลด้วยตั้งใจสมาทานไว้.
              แต่พระอรหันต์ ไม่ต้องสมาทานเลย ท่านเว้นจาก
เมถุนธรรมโดยประการทั้งปวง และไม่ฉันในเวลาวิกาล

ศีลและพระวินัย คนละอย่างกันใช่ไหมคะ
              ความหมายคล้ายกันมาก
              ศีล เป็นเครื่องสำรวมกายและวาจา
              พระวินัย เป็นการบัญญัติ เพื่อให้กายวาจาบริสุทธิ์

ความคิดเห็นที่ 8-60
GravityOfLove, 23 สิงหาคม เวลา 22:18 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
-------------------------------
             คำถามจูฬวัจฉโคตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4235&Z=4315

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ในบทว่า ธมฺมสฺส จ อนุธมฺมํ ธรรมสมควรแก่ธรรมนี้ สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าธรรม.
             การพยากรณ์แก่มหาชนชื่อว่า อนุธรรม (ธรรมสมควร).
             ๒. ชื่อว่าเพศคฤหัสถ์นี้เลว ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้.
เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์นั้นบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง.
แต่ภุมมเทวดายังดำรงอยู่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะมีโอกาสที่จะแฝงตัวอยู่ได้.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8-61
ฐานาฐานะ, 24 สิงหาคม เวลา 07:48 น.

GravityOfLove, 8 ชั่วโมงที่แล้ว
เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
-------------------------------
              คำถามจูฬวัจฉโคตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4235&Z=4315

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. ในบทว่า ธมฺมสฺส จ อนุธมฺมํ ธรรมสมควรแก่ธรรมนี้ สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าธรรม.
              การพยากรณ์แก่มหาชนชื่อว่า อนุธรรม (ธรรมสมควร).
อธิบายว่า
              น จ  ภควนฺตํ  อภูเตน  อพฺภาจิกฺขนฺติ  ธมฺมสฺส  จานุธมฺมํ  พฺยากโรนฺติ
น จ  โกจิ  สหธมฺมิโก  วาทานุวาโท คารยฺหํ  ฐานํ  อาคจฺฉตีติ  ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=13&item=241&Roman=0

              ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำที่ไม่เป็นจริง และชื่อว่าพยากรณ์
ถูกสมควรแก่ธรรมแลหรือ อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง
จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้จะพึงติเตียนแลหรือ?
//84000.org/tipitaka/read/?13/241

              ความว่า พยากรณ์หรือพูดอย่างนี้ (ในประโยคที่กล่าวถึงพระสัพพัญญุตญาณ)
สมควรแก่ธรรม หรือเหมาะสมถูกต้องตรงต่อพระสัพพัญญุตญาณหรือไม่?

             ๒. ชื่อว่าเพศคฤหัสถ์นี้เลว ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้.
เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์นั้นบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง.
แต่ภุมมเทวดายังดำรงอยู่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะมีโอกาสที่จะแฝงตัวอยู่ได้.
             ขอบพระคุณค่ะ
10:18 PM 8/23/2013
อธิบายว่า สันนิษฐานว่า ในสวรรค์หรือกามาวจรเทวโลก เป็นไปด้วยกาม
ดังนั้น กามาวจรเทวโลกจึงไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้
             แต่ว่า สันนิษฐานว่า ภุมมเทวดา แม้จะเป็นกามาวจรเทวโลก แต่พอมีโอกาส
หรือการหลีกเร้นหรือสถานที่อันวิเวกจากกาม เช่น ตามภูเขา ตามป่า
พอจะดำรงคุณนี้ไว้ได้ กล่าวคือ มีสภาพสงัดจากกาม จากการคลุกคลีด้วยกาม.

ความคิดเห็นที่ 8-62
GravityOfLove, 24 สิงหาคม เวลา 12:24 น.

อนุธรรม และ อนุวาทะ เหมือนกันหรือไม่คะ

ความคิดเห็นที่ 8-63
ฐานาฐานะ, 24 สิงหาคม เวลา 16:23 น.

             อนุธรรม ตามธรรม สอดคล้องกับธรรม.
             อนุวาทะ น่าจะมาจาก วาทะ (ก่อน) , อนุวาทะ (หลัง)
             วาทะ การกล่าว, อนุวาทะ กล่าวตาม หรือกล่าวสอดคล้องกับวาทะ.

ความคิดเห็นที่ 8-64
GravityOfLove, 24 สิงหาคม เวลา 19:24 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 12 ธันวาคม 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:55:04 น.
Counter : 462 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของความว่าง : กะว่าก๋า
(18 เม.ย. 2567 04:00:35 น.)
หลักของสติ **mp5**
(16 เม.ย. 2567 12:14:57 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 31 : กะว่าก๋า
(9 เม.ย. 2567 05:58:44 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด